ReadyPlanet.com
bulletDYNO Exit Light
dot
dot
bulletUPS เครื่องสำรองไฟ
bulletVoltage Stabilizer/AVR
bulletTransformer หม้อแปลงไฟฟ้า
bulletPower Supply DC
bulletVFD Inverter "DELTA"
bulletอุปกรณ์กันระเบิด Explosion Proof
bulletLighting Fixture (โคมไฟ)
dot
dot
bulletPressure Gauge
bulletSolar Street Light
bulletปั๊มน้ำ Stac Pump
bulletPower tools
dot
dot
bulletHand tools accessory
bulletElectrical accessory
dot
dot


การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน

 การเลือกซื้อและใช้งานเครื่องไฟฉุกเฉิน

   

     Emergency Light แบบ Complete set หรือเรียกเป็นทางการว่า โคมไฟฟ้าฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ Self-Contained Emergency Lighting ในปัจจุบันควรเลือกแบบหลอดไฟ LED เท่านั้น เพราะกินไฟน้อย ให้ความสว่างสูง สำรองไฟได้นาน มีขนาดเล็กกะทัดรัด ทนทานกว่า และราคาก็ถูกกว่าแบบหลอด Halogen

     ก่อนอื่นต้องพิจารณาแยกแยะว่าต้องการนำไปใช้กับพื้นที่ใด ต้องการความสว่างเป็นอย่างไร การสำรองไฟนานมากน้อยเท่าใด และความสะดวกในการติดตั้งใช้งาน

     

     ความสว่างหลอดไฟ Spot Light LED มีขนาดตั้งแต่ 3, 6, 9 และ 12W มีทั้งแบบ โคม และ โคมคู่กัน ให้ความสว่างมากน้อยตามต้องการ ถ้าเป็นห้องขนาดไม่ใหญ่นัก ก็ควรเลือกขนาด 3-9W ก็สามารถให้ความสว่างได้เพียงพอ หากเป็นพื้นที่กว้าง เช่น ห้องโถงทางเดินอาคารโรงงาน ก็ควรเลือกหลอดขนาด 9-12W จะให้ความสว่างได้ไกลครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่า ควรเลือกแบบโคมไฟคู่ จะกระจายแสงได้ดี และหันปรับทิศทางได้ตามต้องการ ราคาจะคุ้มค่ากว่าโคมเดี่ยว (วสท 2004 กำหนดค่าความสว่างไว้ที่ตรงกลางทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 1Lux )

     ระยะเวลาการสำรองไฟ ควรเลือกตั้งแต่ ชั่วโมงขึ้นไป หรือบางพื้นที่ ต้องการสำรองไฟนานขึ้น ก็เลือก 3-4 ชั่วโมง ตามความต้องการ (กฎกระทรวงและวสท. 2004 กำหนดการสำรองไฟไว้ไม่น้อยกว่า 1.5-2ชม.) การทดสอบการทำงานของเครื่องทุก ๆ  3เดือน ให้เครื่องจ่ายไฟนาน 30นาที และรายปีจะต้องจ่ายไฟ 1ชม. หลังจากเครื่องจ่ายไฟแล้ว จะต้องประจุไฟแบตเตอรี่ได้เต็มภายใน 24 ชั่วโมง

 

     ตัวเครื่องและการทำงาน ต้องมีไฟแสดงการทำงานสภาวะปกติ และหากเครื่องเกิดมีปัญหาจะต้องมีไฟเตือนให้เห็น มีสวิตช์ทดสอบการทำงานของเครื่อง บางรุ่นมีฟังก์ชั่นพิเศษเพิ่มความสะดวกเช่นมี Remote ทดสอบการทำงานของเครื่อง มีระบบ Automatic Test ทดสอบตัวเองและคายประจุแบตเตอรี่ทุก ๆ 30วัน ทำให้เพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานและยืดอายุ Battery

      อายุการใช้งาน โดยปกติของแผงวงจรอิเล็คทรอนิคส์ จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5ปี ส่วน Battery จะมีอายุใช้งานโดยประมาณ 3ปี ดังนั้นควรมีการทดสอบการใช้งานและเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน 

     เครื่องไฟฉุกเฉินและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปต้องผ่านการทดสอบ และได้รับมาตรฐาน มอก.1955-2551 จึงจะสามารถวางขายในบ้านเราได้ตามกฎหมาย ส่วนด้านคุณลักษณะของเครื่องไฟฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ จะต้องได้รับมาตรฐาน มอก.1102-2538 จึงจะทำให้เรามีความมั่นใจในการเลือกใช้งานมากยิ่งขึ้น




NEWS

วิธีการติดตั้ง Sealing Fitting
การติดตั้ง DYNO Exit Light
ไฟฉุกเฉิน DYNO แบตเตอรี่ลิเที่ยม
การติดตั้งหลอดไฟ LED T8
การติดตั้งใช้งานไฟฉุกเฉิน Emergency light 220Vac
การติดตั้งใช้งาน Central Unit Emergency light
การติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉินระบบ220V
ทำไมถึงควรเลือกป้ายไฟสะท้อนแสง
คู่มือการใช้งานของแบตเตอรี่ 3K
การเลือกรูปแบบและขนาดป้าย Exit sign
การดูแลบำรุงรักษา Deep Cycle Battery (แบบแห้ง)
การใช้งานและดูแลแบตเตอรี่แห้ง SLA Maintenance Free Battery