¿Nuevo/a cliente?

อักษรเบรลล์ (Braille) คืออะไร?

Descargue e imprima este artículo en formato de fácil lectura.
Guardar como PDF

อักษรเบรลล์ (Braille)

อักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษ: Braille) คือ อักษรซึ่งใช้วิธีการเขียนที่สัมผัสได้ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นหรือตาบอด ประดิษฐ์โดยหลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ชาวฝรั่งเศส เป็นรหัสพิเศษที่สร้างจากจุด 6 จุดในช่อง
Download Arrow
Download FREE teacher-made resources covering '(Braille) คืออะไร'

อักษรเบรลล์ คือ

อักษรเบรลล์

บทความวันสำคัญและความรู้ทั่วไป Twinkl Teaching Wiki

อักษรเบรลล์คืออะไร

อักษรเบรลล์ ตารางเทียบอักษรเบรลล์ ภาษาอังกฤษ

อักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษ: Braille) คือ อักษรซึ่งใช้วิธีการเขียนที่สัมผัสได้ สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นหรือตาบอด ประดิษฐ์โดยหลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1824 อักษรเบรลล์เป็นรหัสพิเศษที่สร้างจากจุด 6 จุดในช่อง คล้ายกับดีไซน์ของโดมิโน่ มีลักษณะเป็นจุดนูนขนาดเล็ก จุดเหล่านี้มีการผสมกัน 63 แบบ ซึ่งหมายความว่าสามารถแปลอักษรเบรลล์เป็นภาษาต่าง ๆ ได้ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถอ่านจุดเหล่านี้โดยใช้ปลายนิ้วสัมผัสเพื่อสัมผัสรูปแบบต่าง ๆ

อักษรเบรลล์สามารถใช้แทนตัวอักษรต่าง ๆ ตัวเลข ไปจนถึงสูตรทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน หรือดนตรีได้

อักษรเบรลล์ ตัวเลข

ดาวน์โหลดสื่อการสอนอักษรเบรลล์ ตัวเลข (Braille Number Flashcards)

วันอักษรเบรลล์

สื่อการสอน PowerPoint วันอักษรเบรลล์ 4 มกราคม (World Braille Day)

วันอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษ: World Braille Day) ตรงกับวันที่ 4 มกราคม เพราะเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลุยส์ เบรลล์ ผู้ประดิษฐ์อักษรเบรลล์ ที่เกิดในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1809 เขาตาบอดจากอุบัติเหตุในวัยเด็ก อย่างไรก็ตาม เขาตั้งใจแน่วแน่ที่จะเอาชนะอุปสรรคนี้ และได้รับแรงบันดาลใจจากระบบการเขียนตอนกลางคืนของ Charles Barbier ด้วยอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น เบรลล์ได้คิดค้นระบบการอ่านเขียนตัวอักษรสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่าอักษรเบรลล์

ราวปี ค.ศ. 1854 ระบบอักษรเบรลล์เริ่มถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เริ่มจากโรงเรียนที่เบรลล์เคยเรียน ก่อนที่โรงเรียนอื่น ๆ ในฝรั่งเศสได้นำไปใช้กัน และเผยแพร่ไปทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ได้ปรับเปลี่ยนอักษรเบรลล์ตามความเหมาะสมในการใช้งาน

หลุยส์ เบรลล์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1852 เพียง 2 ปี ก่อนที่ระบบการเขียนการอ่านหนังสือสำหรับคนตาบอดที่เขาคิดค้นขึ้นจะเป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

สำหรับในประเทศไทย มีการนำอักษรเบรลล์เข้ามาใช้ครั้งแรกในปี 1939 หรือ พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์เจเนวีฟ คอลฟิลด์ (Genevieve Caulfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนสำหรับผู้พิการแห่งแรกของประเทศไทย ด้วยความร่วมมือกับนายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ในการกำหนดโค้ดอักษรเบรลล์ไทยขึ้น ประกอบด้วยพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกด ก่อนจะมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2015 สหราชอาณาจักรได้กำหนด Unified English Braille (UEB) เวอร์ชันดัดแปลง เพื่อช่วยสร้างความสอดคล้องให้กับผู้ที่ใช้สื่อภาษาอังกฤษทั่วโลก ซึ่งได้มีการนำมาปรับใช้ในประเทศไทยด้วย

ความสำคัญของอักษรเบรลล์

วันอักษรเบรลล์กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น การประดิษฐ์อักษรเบรลล์ได้เปลี่ยนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตา รวมทั้งส่งเสริมแนวคิดด้านโอกาสความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก เราอาจสังเกตเห็นอักษรเบรลล์ได้ในที่ต่าง ๆ เช่น ในปุ่มลิฟต์เพื่อบอกตัวเลขชั้น หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้าบางชนิด

วิวัฒนาการของนวัตกรรมด้านสื่อสารสนเทศสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องดังกล่าวสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้ ไม่ต่างจากบุคคลทั่วไปที่มองเห็นปกติ ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันการช่วยเหลือพิเศษหรือการช่วยการเข้าถึง (accessibility) ในระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สื่อการสอนเกี่ยวกับอักษรเบรลล์

ปริศนาไขรหัสอักษรเบรลล์

เรียนรู้อักษรเบรลล์ด้วยกิจกรรมไขรหัสสนุก ๆ ที่จะชวนให้นักเรียนถอดรหัสคำจากอักษรเบรลล์ที่กำหนด ใบงานนี้มาพร้อมตารางเทียบอักษรเบรลล์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ลองมาไขปริศนากันเลย

บัตรคำภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอักษรเบรลล์

เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับอักษรเบรลล์ด้วยบัตรคำหรือแฟลชการ์ด นักเรียนจะได้เรียนรู้คำศัพท์ เช่น inventor, educator, blind, visually imparied, code และ disability ผู้สอนอาจลองให้เด็ก ๆ ค้นหาความหมายและพูดคุยเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ในบัตรคำเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมได้อีกด้วย

ข้อมูลบางส่วนจาก:

Búsquedas relacionadas

Teach difficult concepts with ease, with the help of our weekly newsletter...
Inscríbete
¿Seguro/a?
No tienes que salir a no ser que estés en un ordenador compartido o público.
Salir Mantenerme conectado/a