ถ่านหิน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 8.1K views



ถ่านหินถือเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ถ่านหินที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศไทยนั้นมีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ พีต ลิกไนต์ บิทูมินัส แอนทราไซต์ โดยจัดแบ่งตามปริมาณคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบหลัก

ภาพ : shutterstock.com

ถ่านหิน (coal) เกิดจากการทับถมตัวของซากพืชบกตามธรรมชาติ ที่รวมตัวอยู่ในแอ่งตะกอนแหล่งน้ำ เช่น บึง หนองน้ำ หรือแหล่งน้ำตื้นๆ ที่เต็มไปด้วย โคลน เลน เมื่อถูกอัดทับถมกันเป็นเวลานานนับล้านๆ ปี ภายใต้ความดันสูง ซากพืชมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นถ่านหินชนิดต่างๆ ที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณแตกต่างกัน

การแบ่งคุณภาพถ่านหิน ขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนในถ่านหิน ค่าความร้อนที่ได้เมื่อเผาถ่านหินนั้นๆ รวมทั้งลำดับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ในประเทศไทยมีถ่านหินอยู่หลายชนิด ดังนี้

ชนิด

ปริมาณคาร์บอน

ลักษณะ

แหล่งที่พบ

พีต 60%

เป็นถ่านหินลำดับแรกที่เกิดจากกระบวนการทับถมของซากพืช ยังเห็นเป็นลักษณะของซากพืชอยู่ในเนื้อถ่านหิน มีลักษณะเป็นเนื้อไม้พรุนๆ คล้ายฟองน้ำสีน้ำตาลอ่อนและแก่จนถึงสีดำ อมน้ำไว้มาก เมื่อแห้งติดไฟได้ดีเหมือนถ่านไม้​

พบในที่ราบน้ำท่วมถึง เช่น ป่าชายเลน หรือหนองน้ำ ในสุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส

ลิกไนต

55-60%

แปรสภาพมาจากพีต ซากพืชในพีตสลายตัวหมด ไม่เห็นโครงสร้างของพืช เนื้อแข็ง สีเข้ม ความชื้นน้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า ใช้บ่มใบยาสูบ เผาไหม้แล้วมีควันและกลิ่นแรง

ลำปาง เชียงใหม่ กระบี่ สงขลา สุราษฏร์ธานี

บิทูมินัส 80-90%

มีสีดำมัน เผาไหม้แล้วให้ค่าความร้อนสูง แต่มีควันมาก ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้า เผาไหม้ได้เปลวไฟสีเหลือง

ลำพูน ตาก

แอนทราไซต

มากกว่า 81%

เป็นถ่านหินที่มีการแปรสภาพสูงสุด ทำให้น้ำและสารระเหยหมดไป เหลือแต่คาร์บอน เนื้อแข็ง สีดำ มันวาวแบบกึ่งโลหะ แตกแบบก้นหอย คิดไฟยาก ติดไฟแล้วให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ให้ความร้อนสูง ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีที่สุด ให้ค่าความร้อนสูงสุด

ในประเทศไทยพบแค่เซมิแอนทราไซต์ (กึ่งแอนทราไซต์) พบที่หนองบัวลำภู เลย

ในประเทศไทยพบถ่านหินตั้งแต่คุณภาพต่ำสุดถึงคุณภาพสูง แต่มีลิกไนต์และซับบิทูมินัสมากที่สุด อยู่ที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

หินน้ำมัน เกิดจากพวกพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว สะสมรวมกันกับเศษหินดินทรายต่างๆ อยู่ในที่ๆ เคยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในอดีต เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด เรียงเป็นชั้นบางๆ มีสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อน แทรกอยู่ในเนื้อหินมีลักษณะคล้ายยางเหนียวๆ เรียกว่า คีโรเจน เมื่อให้ความร้อน 150-300 องศาเซลเซียส คีโรเจนจะสลายตัวให้น้ำมันที่คล้ายน้ำมันดิบ