"เรือดำน้ำระเบิด" ว่าด้วยความลึกของมหาสมุทรและทำไมการสำรวจจึงเสี่ยง

24 มิ.ย. 2566 | 02:15 น.

"เรือดำน้ำระเบิด" ถือเป็นโศกนาฏกรรมใต้ทะเล หลังดำดิ่งลงไปเพื่อสำรวจซากเรือไททานิก เเต่สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับความลึกของมหาสมุทรและเหตุผลว่าทำไมการสำรวจจึงมีความเสี่ยง

การเดินทางไปยังซากเรือไททานิกจบลงด้วยโศกนาฏกรรมผู้โดยสารทั้ง 5 คนบน เรือดำน้ำไททัน ที่หายไป และเสียชีวิตจากการระเบิดครั้งใหญ่ การเสียชีวิตของพวกเขาได้รับการยืนยันเมื่อวันพฤหัสบดี เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการระเบิดทำลายล้างเกิดขึ้นในขณะที่เรือดำน้ำหยุดสื่อสารประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาทีหลังจากดำดิ่งลงไปใต้มหาสมุทรหรือไม่

สรุปการค้นหาผู้รอดชีวิตที่ใช้เวลากว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งทั่วโลกจับตามองอย่างใกล้ชิด ครอบครัวและเพื่อนของผู้สูญหายในเรือดำน้ำ ได้แสดงความเคารพต่อบุคคลอันเป็นที่รักของพวกเขา ซึ่งเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นที่จดจำไม่แพ้ ซากเรือ “ไททานิก” เป้าหมายการสำรวจครั้งนี้

บริษัท OceanGate ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ซีอีโอ สต็อคตัน รัช , นายชาห์ซาดา ดาวูด มหาเศรษฐีชาวปากีสถาน และ นายสุไลมาน ดาวูด บุตรชายของเขา, ฮามิช ฮาร์ดิง และ พอล เฮนรี นาร์โกเล็ต เสียชีวิตอย่างน่าเศร้าในอุบัติเหตุดังกล่าว

ด้านการสืบสวน หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ จะนำการสอบสวนเหตุการณ์เรือดำน้ำไททัน คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งชาติ  "หน่วยยามฝั่งสหรัฐได้ประกาศการสูญเสียเรือดำน้ำไททันใต้น้ำว่าเป็นความเสียหายทางทะเลครั้งใหญ่ และจะนำไปสู่การสืบสวน” NTSB ทวีต

\"เรือดำน้ำระเบิด\" ว่าด้วยความลึกของมหาสมุทรและทำไมการสำรวจจึงเสี่ยง

ขณะที่ CNN  รายงานว่าคณะกรรมการความปลอดภัยด้านการขนส่งของแคนาดากำลังเริ่มการสอบสวนการระเบิดของไททันด้วย 

ความลึกของมหาสมุทรและทำไมการสำรวจจึงเสี่ยง

ยานพาหนะใต้น้ำที่สูญหายไปในทะเลเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ค่อนข้างใหม่ทำให้นักท่องเที่ยวและลูกค้าที่จ่ายเงินสามารถสำรวจความลึกของมหาสมุทร ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นด้วยตามนุษย์มาก่อน 

แม้ว่าผู้คนจะสำรวจพื้นผิวมหาสมุทรมาหลายหมื่นปีแล้ว แต่มีเพียงประมาณ 20% ของพื้นทะเลเท่านั้นที่ได้ทำแผนที่ ตามตัวเลขปี 2022 จาก National Oceanic and Atmospheric Administration

นักวิจัยมักกล่าวว่าการเดินทางไปอวกาศนั้นง่ายกว่าการจมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทร ในขณะที่นักบินอวกาศ 12 คน ใช้เวลารวมกันทั้งหมด 300 ชั่วโมงบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการสำรวจ Challenger Deep อ้างอิงจาก Woods Hole Oceanographic Institution

 

\"เรือดำน้ำระเบิด\" ว่าด้วยความลึกของมหาสมุทรและทำไมการสำรวจจึงเสี่ยง

Challenger Deep เป็นสถานที่ที่ลึกที่สุดในโลก มีความลึกระหว่าง 35,755 ถึง 35,853 ฟุต (10,898 ถึง 10,928 เมตร) ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของร่องลึกบาดาลมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนา ครอบคลุมพื้นที่ใต้น้ำอันกว้างใหญ่ ก้นของมันยาวประมาณ 7 ไมล์ (11 กิโลเมตร) และกว้าง 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ความดันที่จุดต่ำสุดอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 16,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) นั่นหมายถึงแรงดันที่พื้นผิว 1,000 พันเท่า หรือเทียบเท่ากับการถูกบดขยี้ด้วยน้ำหนักของเครื่องบินจัมโบ้ 50 ลำ

ทุกๆ ความลึก 10 เมตร หรือ 33 ฟุต ของมหาสมุทร ความดันจะเพิ่มขึ้น 1 ชั้นบรรยากาศ ตามข้อมูลของ NOAA องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ บรรยากาศเป็นหน่วยวัดที่ 14.7 ปอนด์/ตารางนิ้ว (How does pressure change with ocean depth?) แรงดันขนาดนั้น จะเกิดหายนะต่อโครงสร้างขนาดเล็กได้

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยและนักสมุทรศาสตร์ ยังเชื่อว่า Challenger Deep ไม่ใช่จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรโลก

ในความเป็นจริงเรามีแผนที่ดวงจันทร์และดาวอังคารที่ดีกว่าแผนที่โลกของเรา ดร. ยีน เฟลด์แมน นักสมุทรศาสตร์กิตติมศักดิ์ขององค์การนาซาซึ่งทำงานมากกว่า 30 ปีในองค์การอวกาศ กล่าว

มีเหตุผลบางอย่างที่การสำรวจใต้ทะเลลึกโดยมนุษย์มีข้อจำกัดมาก การเดินทางไปยังส่วนลึกของมหาสมุทร หมายถึงการเข้าสู่ดินแดนที่มีแรงกดดันมหาศาลเมื่อลงไปไกลขึ้น เป็นความพยายามที่มีความเสี่ยงสูง สภาพแวดล้อมมืดจนมองแทบไม่เห็น อุณหภูมิที่หนาวเย็นจัด

เรือดำน้ำที่หายไปพร้อมผู้โดยสาร 5 คน เพื่อสำรวจซากเรือเรือไททานิก มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ยากต่อการค้นหาและกู้คืน ดร.เจมี พริงเกิล ผู้เชียวชาญด้านนิติธรณีศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคีล ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การค้นหาในน้ำค่อนข้างยุ่งยาก เพราะพื้นมหาสมุทรมีความขรุขระมากกว่าบนบก 

ทำไมการทำแผนที่มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย 

จากมุมมองทางวิทยาศาสตร์ การเดินทางไปยังพื้นมหาสมุทรแทบไม่ช่วยพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับความลึกลับของมหาสมุทร

แม้มนุษย์จะชอบสิ่งที่เหนือกว่า สูงสุด ต่ำสุด และนานที่สุด แต่มนุษย์สำรวจความลึกของมหาสมุทรได้เพียงเล็กน้อย และมีการทำแผนที่พื้นมหาสมุทรจำนวนน้อยมาก” ดร.ยีน เฟลด์แมน นักสมุทรศาสตร์กิตติมศักดิ์ องค์การนาซา กล่าว 

และตั้งข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่ที่เป็นเเบบนั้นมาจากต้นทุน เพราะเรือที่ติดตั้งเทคโนโลยีโซนาร์จะทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป เชื้อเพลิงเพียงอย่างเดียวมีต้นทุนถึง 40,000 ดอลลาร์ต่อวัน  อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีความพยายามในการสร้างแผนที่ของพื้นมหาสมุทรที่เรียกว่า Seabed 2030 ซึ่งพบว่า ยังมีพื้นที่ว่างอีกขนาดใหญ่ที่ยังไม่ถูกสำรวจ โดยเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตจำนวน 2.2 ล้านชนิด ที่เชื่อว่ามีอยู่ในมหาสมุทรของโลก เเละมีเพียง 240,000 ชนิด เท่านั้นที่ได้รับการอธิบายโดยนักวิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์การสำรวจมหาสมุทร

เรือดำน้ำลำแรกสร้างโดยวิศวกรชาวดัตช์ คอร์เนลิส เดร็บเบล ในปี 1620 กระทั่งการสำรวจท้องทะเลของมนุษย์เกิดขึ้นในปี 1960 ด้วยการดำน้ำของ ตรีเอสต์ ไปยัง Challenger Deep ซึ่งอยู่ใต้น้ำกว่า 10,916 เมตร หรือ 35,800 ฟุต เป็นการเดินทางที่อันตรายอย่างยิ่ง

ข้อมูล :

James Cameron's Epic Dive to Challenger Deep

cnn 

What is the Challenger Deep?

Seabed 2030