อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากอินเดียประดิษฐานไทย

วธ.ร่วมกับอินเดียอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตร-โมคคัลลานะจากอินเดีย ประดิษฐานที่ไทยชั่วคราว เฉลิมพระเกียรติในหลวง

15 ม.ค.2567 – นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดยสถานเอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ การดำเนินการครั้งนี้สืบเนื่องมาจากโครงการธรรมยาตราจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง : สักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 19 มีนาคม 2567 ซึ่งรัฐบาลได้จัดพิธีอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะบูชาถึงวันที่ 3 มีนาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

รมว.วธ. กล่าวว่า จากนั้นจะอัญเชิญไปประดิษฐานในส่วนภูมิภาคใน 3 จังหวัด ให้ประชาชนได้เข้าสักการบูชาได้แก่ ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 5 – 8 มีนาคม 2567 ที่หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 10 – 13 มีนาคม 2567 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี และภาคใต้ ระหว่างวันที่ 15 – 18 มีนาคม 2567 ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จังหวัดกระบี่ หลังจากนั้นรัฐบาลอินเดียจะอัญเชิญต่อไปยังราชอาณาจักรกัมพูชาต่อไป

” พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย ณ กรุงนิวเดลี พร้อมพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสถูปโบราณปิปราห์วา เมืองสาญจี สาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เป็นความร่วมมือดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐอินเดีย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย เป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมสถาบันศาสนาให้เป็นกลไกสำคัญสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ของประเทศชาติในภาพรวม รวมทั้งยกระดับประเทศไทยให้เป็นสถานที่สำคัญในการจัดเทศกาลงานที่สำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ” นายเสริมศักดิ์ กล่าว

รมว.วธ. ระบุว่า การจัดงานในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่จะหล่อหลอมพลังความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ขอเชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในอาเซียน ในเข้าร่วมสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อันเป็นการเสริมสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศตวรรษแห่งธรรม (Dharma Centuries) ด้วยการนำหลักธรรม ความเชื่อของศาสนาเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรมของประชาคมโลกเพื่อสร้างความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติสืบไป สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนวัฒนธรรม 1765

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาเมืองเพชร ดัน'พระนครคีรี'มรดกโลก

ครม.สัญจรแรกหลังรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่แข็งขันตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ของ จ.เพชรบุรี ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ อ.เขาย้อย

วธ.พา'โนรา'อวดโฉมเทศกาลไทยกลางกรุงโตเกียว

10 พ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดทำแผนโครงการส่งเสริมและเผยแพร่อำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยในกรอบทวิภาคีประจำปี

'สุดาวรรณ' รมว.วธ. ไฟแรงชูนโยบาย'หนึ่งภูมิภาค หนึ่งมรดกโลก'

9 พ.ค.2567- ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางเข้ากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นวันแรก ถือฤกษ์ดีเวลา 08.19 น. เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ วธ. ประกอบด้วย จุดที่ 1 ศาลตา- ยาย จุดที่ 2 ศาลพระภูมิ จุดที่ 3 พระพิฆเนศวร์

'รมว.สุดาวรรณ' เข้ากระทรวงวัฒนธรรม 9 พ.ค.นี้

6 พ.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตนจะเดินทางเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤษภาคม2567 เวลา 8.00 น. ในส่วนการทำงานไม่ได้มีเรื่องอะไรที่หนักใจ

ชุมชนวัดพระธาตุผาเงา สัมผัสอัตลักษณ์บ้านสบคำ

อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งลาว ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทยวน พม่า  เมี่ยน ม้ง ลั้วะ อาข่า ลาหู่ โดยเฉพาะในชุมชนวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ต.เวียง อ.เชียงแสน  เป็นชุมชนตั้งอยู่ในเขตประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนน้อย

ดนตรีภาษาสากล ถักทอมิตรภาพไทย-รัสเซีย

คณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้าน Pyatnitsky ซึ่งรวบรวมนักแสดงมากฝีมือ ทั้งนักร้อง นักเต้นรำ และนักดนตรีชั้นยอดจากภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย  จัดการแสดงเพลงรัสเซียในรูปแบบศิลปะดั้งเดิมสุดไพเราะ งดงามตระการตา ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย