'จดหมายที่หายไป' กับ' การดำรงอยู่ของแสตมป์ไทย'

ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้คนทั้งโลกส่งจดหมาย ผ่านระบบไปรษณีย์น้อยลงเรื่อยๆ  ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบไปถึงตราไปรษณีย์ติดจดหมาย ต้องผลิตลดลงตามกระแสของโลก โดยนายพสุ  อุณหะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า  ตั้งแต่โลกมีอินเตอร์เน็ต และมีการส่งอีเมล์  เมื่อ 20ปีก่อน ทำให้การส่งจดหมายของคนไทยลดลง ซึ่งเริ่มปัจจุบันมีการส่งจดหมาย 800 ล้านฉบับ แต่คาดว่าจะลดลงเรื่อยๆ ในอัตราปีละไม่ต่ำกว่า 9% ทำให้การใช้แสตมป์ติดจดหมายต้องลดลงตามไปด้วย


ขณะที่ บทบาทของไปรษณีย์ไทย ยังคงต้องผลิตแสตมป์ในวาระและวันสำคัญต่างๆ  ซึ่งแสตมป์ยังเป็นที่สนใจของนักสะสม ปัจจุบันในประทศยังมีนักสะสมหลักแสน อีกทั้งแสตมป์ไทย ยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก เพราะมีการพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษทำให้แสตมป์ที่ออกมามีคุณภาพดี  เทคนิคนี้มีแต่ในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้นที่ยังทำอยู่

“ทุกวันนี้ ยังคงมีแต่ญี่ปุ่นที่ยังส่งจดหมายเยอะมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ปัจจุบัน จดหมายที่ส่งในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นจดหมายธุรกิจ ทำให้แสตมป์ผลิตที่ส่งจดหมายลดลง แต่ก็มีอีกกลุ่มที่เป็นนักสะสม ที่เน้นสะสมแสตมป์ที่สวยงาม มีดีไซน์ หรือเป็นรุ่นที่เป็น Limited Edition ซึ่งทำให้เรายังคงต้องผลิตแสตมป์ต่อไป”

พสุ อุณหะนันทน์

พสุ กล่าวว่า แสตมป์ถือว่าเป็น ซอฟต์เพาเวอร์ของประเทศไทย เพราะแสตมป์ไทยมีความสวยงามเมื่อเทียบกับแสตมป์ของประเทศอื่นๆ และมีฐานะเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนไม่มาก เมื่อเทียบกับการซื้องานศิลปะชิ้นใหญ่ๆ การสะสมแสตมป์จึงเหมือนการลงทุน เพราะมูลค่าของแสตมป์จะสูงขึ้นตามกาลเวลา จึงเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนในอนาคต จึงอยากให้คนรุ่นใหม่สนใจสะสมแสตมป์มากยิ่งขึ้น แม้ว่าในปี2568 ทางไปรษณีย์ไทย จะปรับราคาแสตมป์จากดวงละ 3บาท เป็น 5บาท แต่มองว่าแสตมป์ที่ออกมายังคุ้มค่าลงทุน เพราะบางชุดออกแบบโดยศิลปินแห่งชาติ การซื้อแสตมป์ก็เหมือนซื้องานศิลปินท่านนั้น ในราคาที่ย่อมเยามากๆ


“ความเป็นซอฟต์เพาเวอร์ของแสตมป์ยังมาจาก การมีบทบาท ที่เปรียบเสมือนบันทึกเหตุการณ์ต่างๆในประวัติศาสตร์  หรือมีความเป็น Story Telling บันทึกเรื่องราวแต่ละเหตุการณ์  เช่น เรามีแสตมป์ออกมา ในช่วงโควิดระบาด  ทำนองให้กำลังใจร่วมกันต่อสู้ไปด้วยกัน เป็นต้น” พสุกล่าว


ในแง่การปรับตัวให้แสตมป์ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป พสุ กล่าวว่า   มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม เช่น การทำแสตมป์ NFT ที่ได้จัดทำเป็นครั้งแรกของอาเซียนในปี 2022  สอดรับกับกระแสสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้ามาปฏิวัติวงการศิลปะทั่วโลก  และกำลังพัฒนาแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนแสตมป์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสำหรับกลุ่มเหล่านักสะสม เนื่องจาก ที่ผ่านมาในการซื้อขายยังมีการหลอกลวง ถ้ามีแพลตฟอร์มขึ้นมา ก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้  นอกจากนี้ ยังทำบริการ  iStamp ตามกระแสการตลาดรู้ใจ หรือ Personalize Marketing  เพื่อผลักดันให้ทุกคนสามารถมีแสตมป์ส่วนตัว

 ขณะเดียวกัน ยังให้ความสำคัญกับการเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น  ที่เรียกว่าเป็น Niche Market   เพื่อให้เกิดดีมานด์ ที่เกิดจากความหลากหลายของการดีไซน์ที่ตรงใจคนทุกกลุ่ม  โดยดึงนักอออกแบบและผู้ที่มีชื่อเสียงเข้ามารังสรรค์งาน   เช่น น้องจิน Little Monster เพจ Gluta Story เป็นต้น ให้มาออกแบบแสตมป์ในวันวันเด็กแห่งชาติ และอีสปอร์ตเดย์  นับเป็นการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านดิจิทัล

“แสตมป์ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่ใช้เพื่อแทนค่าฝากส่งในระบบไปรษณีย์หรือการสะสมเท่านั้นแต่ยังทรงคุณค่าและมีมูลค่าในตัวของมันเองรวมทั้งเป็นสื่อที่สะท้อนมุมมองในด้านงานศิลป์อีกด้วย ในอนาคตแสตมป์ยังจะมีบทบาทในการเพิ่มเติมฟังก์ชันการใช้งานให้มีลูกเล่นที่หลากหลายมากขึ้น แสตมป์ประเภทกระดาษอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกแทนที่ด้วยแสตมป์ดิจิทัล แต่สิ่งที่ยังคงเป็นแรงดึงดูดในการเลือกใช้ หรือเก็บสะสมยังคงเป็นความโดดเด่นในด้านศิลปะ และการออกแบบ ซึ่งตลาดสำคัญคาดว่าจะอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” พสุกล่าว

ด้าน นายเจนวิทย์ อภิชัยนันท์ อุปนายกฝ่ายกิจกรรม สมาคมนักสะสมตราไปรษณียากร แห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  กล่าวว่า  สำหรับกลุ่มนักสะสมมองว่าแสตมป์นั้นมีคุณค่าและอรรถประโยชน์มากกว่าเฉพาะการใช้งานเพื่อเป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ เพราะเป็นเสมือนสิ่งพิมพ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึกเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของสังคมในแต่ละช่วงเวลา แฝงด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่สะท้อนประวัติศาสตร์ มีความน่าสนใจและดีไซน์ความสวยงามที่แตกต่าง อีกทั้งยังตอบโจทย์กลุ่มนักสะสมรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้นด้วย โดยคาดว่าประเภทของแสตมป์ที่จะทวีมูลค่าในอนาคต ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุของแสตมป์ ความต้องการในท้องตลาด ปริมาณการผลิต ข้อมูลเฉพาะของแสตมป์ และความสมบูรณ์ของสภาพดวงแสตมป์

ขณะที่ นางสาวมยุรี นาคนิศร นักออกแบบแสตมป์ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ตลอด 20 ปี ที่ได้ร่วมออกแบบแสตมป์ให้กับไปรษณีย์ไทยเป็นอะไรที่สนุกและท้าทายเป็นอย่างมากเพราะนักออกแบบแสตมป์ไม่ใช่เพียงคนวาดรูปหรือถ่ายภาพเพื่อมาทำแสตมป์เท่านั้น แต่นักออกแบบแสตมป์ยังต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางกายภาพ เพื่อเลือกมุมมองที่น่าสนใจของแต่ละหัวข้อที่ได้รับโจทย์มา จึงจะถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานแสตมป์แต่ละชุดได้ ซึ่งยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้นักออกแบบต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอทั้งเทคนิคการวาดที่มีการนำเอาอุปกรณ์ดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในการออกแบบ เทคนิคการพิมพ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รูปแบบการนำเสนอที่ทำให้แสตมป์ รวมถึงการทำงานร่วมกับศิลปินหรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงในช่วงนั้น เพื่อให้วงการและตลาดแสตมป์ยังคงคึกคักอยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง

แสตมป์โสฬศ

ในเดือนตุลาคมนี้ ยังเป็นวาระการเฉลิมฉลอง 140 ปี กิจการไปรษณีย์ไทย และ140 ปี แสตมป์ไทย ไปรษณีย์ไทยจึงได้นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์แสตมป์ไทยดวงแรกของไทย ผ่านนิทรรศการ “16 เรื่องเล่าจากแสตมป์โสฬศ” เสมือนเป็นการเตรียมความพร้อมสู่งานแสดงตราไปรษณียากรโลก  ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้   ณ ไปรษณีย์กลางบางรัก อีเวนต์ใหญ่ระดับโลกที่คนไทยจะได้ชมความตระการตาและความยิ่งใหญ่ของแสตมป์ทั่วโลก  ระหว่างวันที่ 27 พ.ย ธ.ค. 2566 ณ ไปรษณีย์กลางบางรัก


ไฮไลต์ของงานไปรษณีย์โลก ยังมีการนำแสตมป์ราคาแพงที่สุดในโลก  ในเอเชีย และไทย   ชมการจำลองห้องสะสมแสตมป์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมกับ การแสดงแสตมป์จาก 60 ประเทศทั่วโบก หรือ 2,400 เฟรม มาจัดแสดง  การจำหน่ายแสตมป์และสิ่งสะสมชุดพิเศษที่ได้ร่วมมือกับศิลปินรุ่นใหม่ อีกทั้งยังมีการออกร้านคอลเลคชันแสตมป์จากไปรษณีย์ทั่วโลก และเสวนาให้ความรู้ด้านการพัฒนาและสะสมแสตมป์

กลกลั่นแกล้งด้วยแสตมป์โสฬศ 1ใน 16 เรื่องเล่า

“ส่วนงานครบรอบ  140 ปีแสตมป์ไทย ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ฟรีพร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ รับของแรร์ไอเทมจากงานครบรอบปีที่ 125 และปีที่ 130 ของไปรษณีย์ไทย เมื่อซื้อสินค้าที่จัดจำหน่ายในนิทรรศการ บริการ iStamp คอลเลกชันใหม่ที่จะชวนทุกคนย้อนอดีต 140 ปี กิจการไปรษณีย์ไทยกับภาพเก่าในสไตล์ Pop Culture ตั้งแต่วันนี้ – 29 ตุลาคม 2566 “

ใช้แว่นขยายส่องหาข้อความในแสตมป์ หนึ่งในกิจกรรม นิทรรศการแสตมป์โสฬศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุดาวรรณ' รมว.วธ. ไฟแรงชูนโยบาย'หนึ่งภูมิภาค หนึ่งมรดกโลก'

9 พ.ค.2567- ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางเข้ากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นวันแรก ถือฤกษ์ดีเวลา 08.19 น. เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ วธ. ประกอบด้วย จุดที่ 1 ศาลตา- ยาย จุดที่ 2 ศาลพระภูมิ จุดที่ 3 พระพิฆเนศวร์

กวีซีไรต์'เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์' วาดกวีในดวงใจ

แฟนคลับกวีซีไรต์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ที่เคยประทับใจกับการแสดงภาพวาดลายเส้นทิวทัศน์ ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพเขียนครั้งแรกในชีวิตของศิลปินผู้นี้เมื่อปลายปี 2565   อยากชวนมาชมนิทรรศการใหม่ล่าสุด “ชีวิตสร้างด้วยกวีนิพนธ์” ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ จัดแสดงภาพวาดลายเส้นที่มี

'หมอธีระวัฒน์' เทียบผลกระทบวัคซีน 'แอสตร้า' กับ วัคซีนตัดต่อพันธุกรรม เท่ากับเด็กประถม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า