O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายผลิตน้ำมันไบโอดีเซลผลงานเด็กไทยคว้ารางวัล James Dyson Award ปี66

ทีมนักออกแบบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงาน O-GA ที่ชนะเลิศ

จากสถิติเมื่อเดือนมกราคม ปี 2566 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้นเป็น 92% ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศลดลงเหลือ 8% ส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศผันผวนตามราคาตลาดโลก และเกษตรกรภายในประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อเพลิงที่ใช้ทำการเกษตรมีราคาแพง ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นตามไปด้วย

ประเด็นปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจนกระทบเศรษฐกิจทั่วโลกดังกล่าว ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  ออกแบบ “O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล “และเป็นผลงานที่ชนะเลิศ การประกวดรางวัล James Dyson Award ประจำปี 2566 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายการประกวด เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ  ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ

สำหรับ เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซลภายใต้ชื่อ O-GA จะเป็นโซลูชันที่นำเสนอเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ให้แก่ชุมชนที่ห่างไกลในประเทศไทย  การทำงานของ O-GA (โอก้า) ซึ่งเป็นเครื่องจักรแบบ All-In-One ที่ทำหน้าที่เพาะเลี้ยงสาหร่าย สกัดสาหร่ายเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นเครื่องจ่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้ ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการนำหัวเชื้อสาหร่ายไปเพาะเลี้ยงในหลอดเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อสาหร่ายเติบโตและเพิ่มปริมาณจนมีจำนวนมากเพียงพอแล้วสาหร่ายจะถูกนำไปเข้าสู่ระบบการสกัด และกระบวนการทางเคมี เพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จะถูกเก็บในถังเก็บและแจกจ่ายแก่ผู้ใช้ผ่านหัวจ่ายต่อไป

O-GA เครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายผลิตน้ำมันไบโอดีเซล

ทีมออกแบบ O-GA ประกอบด้วยสมาชิก 4 คน  ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการนำความรู้ด้านการออกแบบมาช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรชาวไทยให้สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถจับต้องได้ เป็นการส่งเสริมภาคเกษตรกรรมภายในประเทศอย่างยั่งยืน

สรวิศ อุปฌาย์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ O-GA กล่าวว่า พวกเราดีใจมากที่ผลงานในห้องเรียนของทีมได้รับรางวัลชนะเลิศ และสามารถนำเสนอในระดับนานาชาติได้ ทำให้เห็นว่าคนไทยก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ไม่แพ้ใคร

ทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ James Dyson Award ระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป สรวิศ กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการพัฒนาผลงานด้วยว่า  จะนำรางวัลที่ได้ไปต่อยอดผลงาน โดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและชีววิทยา เพื่อพัฒนาให้ O-GA เป็นทางเลือกพลังงานใหม่สำหรับเกษตรกรไทยที่สามารถใช้ได้จริง

 โดยหลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศแล้ว O-GA จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ในระดับนานาชาติซึ่งจะประกาศผู้เข้ารอบภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นี้

ผลงาน Radiostent  รองชนะเลิศ

ส่วนรางวัลรางวัลรองชนะเลิศ James Dyson Award ประเทศไทย Radiostent   ผลงานออกแบบของ นรินทร์เดช เจริญสมบัติ และธนบูรณ์  นินารถสาวพันธุ์ สองนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัย โตเกียว แต่ส่งผลงานในนามประเทศไทย  ที่มาของผลงาน มองว่า การรักษาเนื้องอกในสมองเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ผนวกกับการที่โรงพยาบาลในประเทศไทยยังขาดแคลนอุปกรณ์การรักษาโรคเนื้องอกในสมองอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองที่รับการรักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัดต้องเดินทางเข้ามาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครเพื่อรับการรักษา ส่งผลให้นวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

 Radiostent เป็นโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมที่ผสานรวมการรักษาเนื้องอกด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการใส่ขดลวดในเส้นเลือด ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ นอกจากนั้นการฝังตัว Radiostent ในบริเวณเนื้องอกทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามารับการรักษาเคมีบำบัดบ่อยครั้ง อีกทั้งการรักษาเนื้องอกด้วย Radiostent จะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาแบบเคมีบำบัดอีกด้วย

Radiostent เป็นโซลูชั่นที่ผสานรวมการรักษาเนื้องอกด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการใส่ขดลวดในเส้นเลือด

ที่ผ่านมาการประกวด James Dyson Award   ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของชาวโลกให้ดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี  ในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่ และได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ
ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดโครงการJames Dyson Award    สามารถยื่นใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขันผ่านทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของรางวัล James Dyson

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สักการะ'พระแท่นวัชรอาสน์'จำลอง หนึ่งเดียวในไทย

ครั้งแรกในรอบ 2,400 กว่าปี ที่มีการจัดสร้างพระแท่นวัชรอาสน์จำลองหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่วัดแหลมแค อ.พานทอง จ.ชลบุรี  พระแท่นวัชรอาสน์ สถานที่ประทับตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานที่พุทธคยา อินเดีย เป็นสถานที่สำคัญหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

'สุดาวรรณ' รมว.วธ. ไฟแรงชูนโยบาย'หนึ่งภูมิภาค หนึ่งมรดกโลก'

9 พ.ค.2567- ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางเข้ากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นวันแรก ถือฤกษ์ดีเวลา 08.19 น. เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ วธ. ประกอบด้วย จุดที่ 1 ศาลตา- ยาย จุดที่ 2 ศาลพระภูมิ จุดที่ 3 พระพิฆเนศวร์