เกลือบริสุทธิ์ต่างจากเกลือแกงอย่างไร

Last updated: 13 ม.ค. 2564  |  37418 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เกลือบริสุทธิ์ต่างจากเกลือแกงอย่างไร

เกลือบริสุทธิ์ (Refined salt)

     1. เป็นเกลือบริสุทธิ์ (Sodium chloride) 97.5% ความชื้น (Moisture) ไม่เกิน 2.5%
     2. มีลักษณะสีขาวละเอียด
     3. ความชื้นน้อยทำให้ไม่จับเป็นก้อน และลายได้เร็ว
     4. เป็นเกลือที่สังเคราะห์จากธรรมชาติ ให้เหลือโซเดียม และคลอไรด์มากที่สุด
     5. มีองค์ประกอบอื่นๆ ปริมาณน้อย ได้แก่ Aluminum silicate, Ammonium citrate, Dextrose, Iodide รวมกัน 2.5%
     6. ไม่เหมาะสมในการบริโภคอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีแร่ธาตุรองที่ช่วยปรับสมดุลร่างกายน้อย

กระบวนการทำเกลือบริสุทธิ์
     หรือเรียกอีกอย่างว่า เกลือสินเธาว์ (rock salt) เพราะมีแหล่งที่มาเหมือนกัน คือ 1. คราบเกลือจากผิวดิน (การขุดและละลายน้ำ) 2. เกลือจากน้ำเกลือบาดาล (เจาะและสูบขึ้นมา) 3. เกลือจากชั้นเกลือหิน (ใชน้ำจืดละลาย)

     การทำเกลือบริสุทธิ์ มักจะเอาจากจากชั้นเกลือหิน

     1. ใช้เทคโนโลยีฉีดน้ำบริสุทธิ์ผ่านชั้นหินเกลือ จะได้น้ำเกลือดิบ
แหล่งเกลือหิน : น้ำทะเลที่เคยไหลท่วมภาคอีสานและได้ถูกปิดกั้นด้วยเทือกเขาจากการยกตัวของเทือกเขาภูพานทางตอนกลางของภาคอิสาน
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เกลือหิน
     2.เติม NaOH กับ Na2CO3 เพื่อกำจัด Ca2+ และ Mg2+ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ เช่น ค่าเหล็ก ทำในถังปฏิกิริยา และได้น้ำเกลือบริสุทธิ์เก็บไว้ในถังพัก

     3. นำน้ำเกลือบริสุทธิ์เข้าระบบที่ให้ความร้อนสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส จะได้น้ำเกลือที่มีความเข้มข้นมาก จนตกเป็นผลึกเกลือที่มีน้ำผสม
     4. นำผลึกเกลือที่มีน้ำผสม เข้าเครื่องสะบัดและอบแห้ง ให้มีความชื้นไม่เกิน 2.5% จะได้เกลือเม็ดละเอียด
     5. ส่วนเกลือที่ต้องเติมสารไอโอดีนตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ส่งอบแห้งอีกครั้ง มีความชื้นไม่เกิน 0.15%

เกลือแกง (sodium chloride)
     1. มีโซเดียม และคลอไรด์ และแร่ธาตุรองมากกว่า 80 ธาตุ
     2. ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร
     3. ถูกผลิตโดย การระเหย ของ น้ำทะเล หรือ น้ำเค็ม (brine) จากแหล่งอื่นๆ เช่น บ่อน้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม (salt lake) และการทำเหมืองเกลือที่เรียกว่า ร็อกซอลต์ (rock salt หรือ ฮาไลต์) 


ปริมาณการเติมเกลือในครั้งแรก

***ให้เติมหลังจากปรับสภาพน้ำให้ใสและได้ค่า pH เป็นกลางแล้ว***

ปริมาณการเติม เกลือ 4-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร เช่น น้ำ 60 ลูกบาศก์เมตร (น้ำในสระ และ แท๊งค์) 60 x 4 = 240 กิโลกรัม ถ้าเกลือ 1 ถุง (25 กิโลกรัม)

เท่ากับต้อง ใส่เกลือ 10 ถุง 


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/โซเดียมคลอไรด์

ชุดผลิตคลอรีนจากเกลือ : ยี่ห้อ Pro Pool, Astral Pool, Emuax, Zodiac, Pentair, Hayward

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้