เปิดตัว กังหันไอน้ำชนิด Back-pressure อีกหนึ่งความสำเร็จในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบฯ เพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน ด้วยการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์

ข่าวประจำวันที่: 
Wed 28 February 2018

เปิดตัว กังหันไอน้ำชนิด Back-pressure อีกหนึ่งความสำเร็จในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบฯ เพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน ด้วยการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์

back pressure 4

          28 กุมภาพันธ์ 2561 / กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ไทย ไดนามิค มาสเตอร์ จำกัด และสมาคมเมืองไทยไร้ของเสีย จัดงานแถลงข่าว “ความสำเร็จโครงการพัฒนาสร้างกังหันไอน้ำชนิด Back-pressure เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1000 กิโลวัตต์ ภายใต้ “โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” ณ โรงงานหมายเลข 6 บริษัท ไทย แมชชีน โปรดักซ์ จำกัด อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง

back pressure 10back pressure 10 back pressure 10

          โครงการพัฒนาสร้างกังหันไอน้ำชนิด Back-pressure เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 1000 กิโลวัตต์ (1000kW-Back pressure steam turbine generator) บจก. ไทย ไดนามิค มาสเตอร์ ร่วมกับ สมาคมเมืองไทยไร้ของเสีย ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการผลิตแรงดันไอน้ำในอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่จะผลิตแรงดันไอน้ำที่แรงดันสูงกว่าความต้องการของกระบวนการ ไอน้ำจะผ่านวาล์วลดแรงดัน (Pressure-reducing valve – PRV) ที่ติดตั้งกระจายอยู่ในหลายตำแหน่งที่ต้องการใช้ไอน้ำ กังหันไอน้ำชนิด Non-condensing หรืออีกชื่อหนึ่งว่า กังหันไอน้ำแบบ Back pressure สามารถนำมาติดตั้งเพื่อทำหน้าที่แบบเดียวกับ PRV ขณะที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไอน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้ทั้งความร้อนและไฟฟ้าอย่างเหมาะสม ที่มีชื่อเรียกว่า Cogeneration หรือ Combined Heat and Power (CHP) ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในโรงงานได้และหากมีมากพอยังสามารถจำหน่ายไฟฟ้าย้อนกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าได้ (ภายใต้แนวคิด Decentralized Generation) ซึ่งเป็นการช่วยลดการลงทุนจากภาครัฐในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ลดความสูญเสียในระบบสายส่ง หม้อแปลง และเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงาน

back pressure 5 back pressure 5

          กังหัน (Turbine) เป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานจากพลังงานในไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูงเป็นงานกล โดยอาศัยหลักการทางกลศาสตร์ ส่วนประกอบสำคัญ ของกังหัน มักจะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นวงล้อใบพัดที่อยู่กับที่ (Fixed blades) หรือ สเตเตอร์ (stator) หรือนอชเซิล (nozzle) ถัาเรียกตามหน้าที่การ ทำงานของเครื่อง กับวงล้อใบพัดที่หมุน (moving blades) หรือโรเตอร์ (rotor ) ซึ่งประกอบด้วยใบพัดหลาย ๆ ใบยึดติดกับเพลา ไอน้ำที่ความดันสูงเมื่อไหล เข้ากังหัน ความดันจะถูกแปลงไปเป็นพลังงานจลน์ (kinetic energy ) โดยนอซเซิล หรือแถวของใบพัดที่อยู่กับที่ ได้กระแสไอน้ำความเร็วสูง ไหลเข้าปะทะกับใบพัดที่ยึดติดเพลา ในแง่มุมที่เหมาะสม ทำให้โมเมนตัมของกระแสนั้นเปลี่ยนแปลงไป เป็นผลให้เกิดแรงกระทำต่อใบพัดในทิศทางที่มีองค์ประกอบค่าหนึ่งอยู่ในแนวเส้นรอบวงของวงล้อใบพัด เช่นนี้จะทำใหัเกิดแเรงบิด ( Torque) กระทบต่อวงล้อ และเพลาตามลำดับ ส่งผลให้เพลาหมุน และได้งานเพลา (shaft Work) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

          นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า ปัญหาด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศไทยมีการปล่อยกาซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 24 ของโลก เฉลี่ยคิดเป็น 321.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์ต่อปี  ภาคการเกษตรมีการปล่อยกาซเรือนกระจก ปัญหาหมอกควันจากการเผาชีวมวลในท้องถิ่นและป่าเสื่อมโทรมเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นและของประเทศ เนื่องจากขาดการสร้ามูลค่าเพิ่มให้กับชีวมวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำมาใช้ในการตอบสนองความต้องการในด้านพลังงานที่ประเทศไทยไม่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานสูงถึง 30% และมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายสูงที่สุดถึง 36.2% ของประเทศคือ 26,930 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

          กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เห็นถึงความสำคัญในการผลิตเครื่องจักรกลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางอุตสาหกรรมของประเทศไทย จึงได้สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ในการสร้างต้นแบบกังหันไอน้ำชนิด Back-pressure เพื่อการผลิตในประเทศ โดยการนำชิ้นงานของต่างประเทศมาทำการวิเคราะห์ฟังก์ชันการทำงานในแต่ละส่วนแล้วพัฒนาต่อยอดให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงในประเทศไทย ประกอบกับการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อการใช้พลังงานจากชีวมวลอย่างต่อเนื่องจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ในการพัฒนาสร้างเครื่องอัดเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ หรือที่รู้จักในสากลว่า เครื่องอัดวู้ดเพลเลท, ชุดเครื่องจักรสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ, หัวเผาอัจฉริยะที่นำเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบมาเผาไหม้เพื่อนำความร้อนไปใช้, เครื่องกำเนิดไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ จนนำมาสู่การพัฒนาสร้างกังหันไอน้ำชนิด Back-pressure เพื่อสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในประเทศอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน

back pressure 18

URL: 
http://www.most.go.th/main/th/news/sort-by-strategic/strategic1/7148-mostpr28-2-61
แหล่งที่มา: 
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.)