ข่าวสารและบทความ

ประกันอุบัติเหตุ : ใช้บันไดเลื่อนให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

ประกันอุบัติเหตุ : ใช้บันไดเลื่อนให้ปลอดภัยได้อย่างไร?

 

ในปัจจุบัน “บันไดเลื่อน” ได้ถูกนำมาใช้ในอาคารหลายแห่งเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการขึ้นลงแต่ละชั้น แต่กลับสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนในสังคมหลายต่อหลายครั้งกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อนอัตโนมัติจนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บจนอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต ( 'ทางเลื่อนสนามบินดอนเมือง' ดูดขา ไม่ใช่ครั้งแรก ผู้โดยสาร เล่านาทีระทึก ) แล้วเราควรจะใช้งานบันไดเลื่อนอย่างไรให้มีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต สินมั่นคง ประกันภัย มีข้อมูลมาฝากค่ะ

 

 

 

เหตุผลที่บันไดเลื่อนได้รับความนิยม

ข้อมูลจาก สมาคมลิฟต์ แห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันบันไดเลื่อนถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายไม่จำกัดเพียงแค่ในห้างสรรพสินค้า แต่ยังถูกนำมาใช้ในอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือแม้แต่ระบบขนส่งมวลชน โดยมีสาเหตุดังนี้

    (1) บันไดเลื่อนเป็นเครื่องมือในการขนถ่ายคนได้จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
    (2) บันไดเลื่อนสามารถขนถ่ายผู้โดยสารได้อย่างต่อเนื่องโดยผู้โดยสารไม่ต้องรอคอย
    (3) บันไดเลื่อนสามารถออกแบบให้เสริมภาพลักษณ์ของอาคาร

 

ลักษณะของบันไดเลื่อนสาธารณะ

บันไดเลื่อนสาธารณะ ควรมีลักษณะดังนี้

    (1) บันไดเลื่อนสาธารณะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานที่สม่ำเสมอประมาณ 140 ชั่วโมง/สัปดาห์ 100%
    (2) บันไดเลื่อนสาธารณะต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ 100% ของน้ำหนักบรรทุก
    (3) บันไดเลื่อนสาธารณะที่มีความเร็วมากกว่า 0.65 เมตร/วินาที ควรจะมีระยะขั้นบันไดต่อเนื่องกันตามแนวนอนบริเวณหัวบันไดเลื่อนทั้งด้านบนและด้านล่างไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตร
    (4) บันไดเลื่อนสาธารณะต้องมีการติดตั้งเบรกสำรองที่ความสูงน้อยกว่า 6.0 เมตร
    (5) บันไดเลื่อนสาธารณะที่มีความเร็วมากกว่า 0.65 เมตร/วินาที ควรจะมีรัศมีส่วนโค้งของราวมือจับที่ด้านบนระหว่างส่วนที่เรียงกับแนบระนาบไม่น้อยกว่า 2.6 เมตรและรัศมีของราวมือจับด้านล่างจากส่วนที่เอียงกับแนบระนาบของบันไดเลื่อนไม่น้อยกว่า 2.0 เมตร

 

 

วิธีขึ้นบันใดเลื่อนให้ปลอดภัย

    1. ก่อนขึ้นบันไดเลื่อน 

ควรปฏิบัติดังนี้
    • เก็บไม้ค้ำยัน ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอื่น ๆ หากเป็นรถเข็น ควรใช้บันไดสำหรับรถเข็นโดยเฉพาะ หรือเปลี่ยนไปขึ้นลิฟต์แทน
    • ไม่ควรขึ้นบันไดเลื่อนขณะเท้าเปล่า หรือสวมรองเท้าที่มีปลายเชือกผูกยาว ๆ เพราะปลายเชือกอาจจะเข้าไปติดในบันไดเลื่อนได้
    • มองจังหวะของขั้นบันไดเลื่อนให้ดี หากเร็วกว่าปกติควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพราะอาจจะเกิดอันตรายกับผู้อื่นได้
    • หากถือสิ่งของอยู่ควรเปลี่ยนมาถือรวมไว้มือเดียว
    • หากไปกับเด็กเล็ก ไม่ควรให้เด็กเล็กเดินขึ้นเอง
    • ควรงดการใช้บันไดเลื่อน หากบันไดเลื่อนไม่ทำงาน นอกจากนี้ยังไม่ควรขึ้นวิ่งบนบันไดเลื่อนเพราะอาจเป็นอันตราย
    • เมื่อก้าวขึ้นบันไดเลื่อนแล้วควรจับราวบันไดให้มั่น และควรระวังไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าอยู่ใกล้กับขอบข้างบันไดเลื่อนหรือขั้นบันได
    • หลีกเลี่ยงการใช้บันไดเลื่อนในการขนย้ายสิ่งของหนัก ๆ เพราะอาจจะทำให้บันไดรับน้ำหนักไม่ไหว


    2. ขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน 

ควรปฏิบัติดังนี้
    • จับราวบันไดเลื่อนให้มั่น และควรยืนอยู่บริเวณส่วนกลางขั้นบันได
    • หากเป็นบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อนที่มีบริเวณกว้าง ควรยืนชิดข้างขวา เพื่อให้มีบริเวณว่างด้านซ้ายให้กับคนที่ต้องการเดินขึ้นไป
    • ไม่วางของบนบันไดเลื่อน
    • ห้ามนั่งบนบันไดเลื่อน
    • ไม่ควรยืนพิงกับขอบด้านข้าง


    3. เมื่อก้าวลงจากบันไดเลื่อน 

ควรปฏิบัติดังนี้
    • เตรียมพร้อมที่จะก้าวเท้าออกจากบันไดเลื่อนอยู่เสมอ ไม่เหม่อลอย มัวแต่พูดคุยกัน หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ
    • ขณะที่กำลังจะก้าวไม่ควรลังเล เพราะอาจจะทำให้เกิดการสะดุด หรืออาจจะชนกับผู้ที่อยู่ด้านหลังได้
    • ควรก้าวก่อนที่เท้าจะถึงซี่ของบันไดเลื่อนซึ่งเป็นสุดทางเดินของบันไดเลื่อน

 

 

หากเกิดอุบัติเหตุขณะขึ้นบันไดเลื่อนทำอย่างไร ?

        หากขณะที่ขึ้นบันไดเลื่อนเกิดอุบัติเหตุ ควรตั้งสติและรีบกดปุ่มหยุดฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด แต่ถ้าหากไม่สามารถกดเองได้ควรรีบขอความช่วยเหลือจากคนใกล้เคียง และรีบติดต่อฝ่ายอาคาร และขณะที่รอเจ้าหน้าที่ไม่ควรขยับร่างกาย และควรให้ผู้ประสบเหตุอยู่ให้นิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรืออาการบาดเจ็บมากขึ้นกว่าเดิม ควรรอให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับบันไดเลื่อนหรือทีมกู้ภัยเข้ามาช่วยจะปลอดภัยกว่า


เจ้าของอาคารควรระมัดระวังเรื่องใดบ้าง

    • ห้ามมีสิ่งปลูกสร้าง วางสิ่งของ หรือติดตั้งเสาขวางบริเวณทางเข้า และออกภายในระยะปลอดภัยของบันไดเลื่อน (ประมาณ 2.50 เมตร) จะต้องเป็นพื้นที่ว่าง
    • บริเวณบันไดเลื่อนต้องแห้ง สะอาด ไม่มีขยะ และต้องไม่มีน้ำเจิ่งนอง
    • ห้ามทำความสะอาดราวมือจับบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อน ขั้นบันไดเลื่อน หรือทางเลื่อน และชิ้นส่วนต่าง ๆ ขณะที่บันไดเลื่อน หรือทางเลื่อนทำงาน
    • บำรุงรักษา และตรวจสอบความปลอดภัยบันไดเลื่อนหรือทางเลื่อน ตามคำแนะนำของผู้ผลิตแต่ไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง
    • ปรับแต่ง ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด สึกหรอตามอายุการใช้งานและตามคำแนะนำของผู้ผลิต
    • ก่อนการเปิดใช้งานจะต้องเดินสำรวจตลอดบันไดเลื่อน หรือทางเลื่อนทุกครั้ง
    • จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยประจำปีตามกฎหมาย

 

 

 

แม้ว่าบันไดเลื่อนจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้เป็นอย่างมาก แต่หากขึ้นลงด้วยความประมาทก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ซึ่งสาเหตุส่วนมากเกิดจาก มือ เท้า รองเท้า หรือเสื้อผ้าติดเข้าไปในซี่ของบันไดเลื่อน มีตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจต้องตัดแขนหรือขาเลยทีเดียว ประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยให้ความคุ้มครองต่ออุบัติเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก
สนใจรายละเอียด คลิก
www.smk.co.th/productpadetail/2 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance
และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่
https://smkinsurance.blogspot.com