You are on page 1of 15

ใบความรู้ที่ 1

รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ประดิษฐ์) รหัสวิชา ง32101 ภาคเรียนที่ 1


กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อาเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
………………………………………………………………………………………………………………...
1. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
2. วิเคราะห์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชีวิตประจาวันอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและ
สิ่งแวดล้อม

2. เนื้อหา
ความหมายของงานประดิษฐ์
1.1. ความหมายของงานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ หมายถึง สิ่งที่จัดทาขึ้น โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ให้เกิด
ความประณีต สวยงาม น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ที่พึงประสงค์ เช่น งานประดิษฐ์ดอกไม้ ผ้ารองจาน กระเป๋า
ตุ๊กตา ทีค่ ั่นหนังสือ กระทงใบตอง บายศรี พานดอกไม้ มาลัยแบบอื่นๆ
1.2. ความสาคัญและประโยชน์ของงานประดิษฐ์
1. 2.1 ประหยัดค่าใช้จ่าย
1.2.2 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
1.2.3 ความเพลิดเพลิน
1.2.4 เพิ่มคุณค่าของวัสดุ
1.2.5 สร้างความแปลกใหม่ที่มีอยู่เดิม
1.2.6 ชิ้นตรงตามความต้องการ
1.2.7 เป็นของกานัลแก่ผู้อื่น2.8 อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
1.2.8 เพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
1.2.9 เกิดความภูมิใจในตนเอง
3. ประโยชน์ของ งานประดิษฐ์
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. มีความภูมิใจในผลงานของตน
3. มีรายได้จากผลงาน
4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
5. เป็นการฝึกให้รู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว และนามาใช้ให้เกิดประโยชน์
4. ลักษณะของงานประดิษฐ์
1. งานประดิษฐ์ทั่วไป เป็นงานที่บุคคลสร้างขึ้นมาจากความคิดของตนเองโดยอาศัยการเรียนรู้จากสิ่งรอบๆ
ตัว นามาดัดแปลง หรือเรียนรู้จากตารา เช่น การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ การประดิษฐ์ดอกไม้
2. งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นงานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในครอบครัวหรือใน
ท้องถิ่น หรือทาขึ้นเพื่อใช้งานหรือเทศกาลเฉพาะอย่าง เช่น มาลัย บายศรี งานแกะสลัก

5. ประเภทของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์ต่างๆ สามารถเลือกทาได้ตามความต้องการและประโยชน์ใช้สอย ซึ่งอาจแบ่งประเภทของงาน
ประดิษฐ์ตามโอกาสใช้สอยดังนี้
1. ประเภทใช้เป็นของเล่น เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวทาให้ลูกหลานเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น
งานปั้นดินเป็นสัตว์ สิ่งของ งานจักสานใบลานเป็นโมบาย งานพับกระดาษ
2. ประเภทของใช้ ทาขึ้นเพื่อเป็นของใช้ในชีวิตประจาวัน เช่น การสานกระบุง ตะกร้า การทาเครื่องใช้จาก
ดินเผา จากผ้าและเศษวัสดุ
3. ประเภทงานตกแต่ง ใช้ตกแต่งสถานที่ บ้านเรือนให้สวยงาม เช่น งานแกะสลักไม้ การทากรอบรูป
ดอกไม้ประดิษฐ์
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น การทากระทงลอย
ทาพานพุ่ม มาลัย บายศรี
6. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงานต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะได้งานออกมามีคุณภาพ สวยงาม
รวมทั้งต้องดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา และสามารถแบ่งออกเป็น
ประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทของเล่น
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ใบลาน ผ้า เชือก พลาสติก กระป๋อง
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น กรรไกร เข็ม ด้าย กาว มีด ตะปู ค้อน แปรงทาสี
2. ประเภทของใช้
- วัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ ดิน ผ้า
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เลื่อย สี จักรเย็บผ้า กรรไกร เครื่องขัด เจาะ
3. ประเภทของตกแต่ง
- วัสดุที่ใช้ เช่น เปลือกหอย ผ้า กระจก กระดาษ ดินเผา
- อุปกรณ์ เช่น เลื่อย ค้อน มีด กรรไกร สี แปรงทาสี เครื่องตอก
4. ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี
- วัสดุที่ใช้ เช่น ใบตอง ดอกไม้สด ใบเตย ผ้า ริบบิ้น
- อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เข็มเย็บผ้า เข็มร้อยมาลัย คีม ค้น เข็มหมุด
การเลือกใช้และบารุงรักษาอุปกรณ์ มีหลักการดังนี้
1. ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทของวัสดุและอุปกรณ์
2. ควรศึกษาวิธีการใช้ก่อนลงมือใช้
3. เมื่อใช้แล้วเก็บไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
4. ซ่อมแซมเครื่องมือที่ชารุดให้พร้อมใช้เสมอ

ใบความรู้ที่ 2
รายวิชา การงาน ฯ(ประดิษฐ์) รหัสวิชา ง32101 ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อาเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
………………………………………………………………………………………………………………...
1. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการทางานเพื่อการดารงชีวิต
2. สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะทางานร่วมกัน
3. มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทางาน
4. มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดารงชีวิต
5. มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทางาน

2. เนื้อหา
งานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
1. งานใบตอง
งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อน
งานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์
เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตาม
ธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตอง
เหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป
ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทย เป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน เช่น ต้น ต้นกล้วยมีกาบกล้วย ที่สามารถฉีก
ฝอยตากแห้งทาเป็นเชือกกล้วยได้ สามารถทาเป็นอาหาร กาบกล้วยใช้แกะสลักเป็นลวดลายไทยประกอบฐาน
จิตกาธาน ฐานเชิงตะกอน เรียกว่า “ลายแทงหยวก” ปลี (ดอก) ใช้เป็นเครื่องเคียงรับประทานสด ยา หรือต้ม
กะทิ กาบปลีใช้ตกแต่งประดับเป็นกลีบดอกไม้ หรือเครื่องประกอบการจัดดอกไม้ และผล ใช้รับประทานทั้งสุก
ดิบ สามารถนามาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เป็นต้น ใบ นามาใช้งานโดยนามาเป็นภาชนะสาหรับใส่
ขนมหรืออาหารต่าง ๆ อาทิ ขนมกล้วย ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวต้มมัด ห่อหมก ฯลฯ เนื่องจากมีความทนทานต่อ
ความร้อน นอกจากนี้ยังนิยมนามาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ อีกด้วย ศิลปะงาน
ใบตอง เป็นงานประดิษฐ์แบบไทยอีกแบบหนึ่ง ที่มีความละเอียดอ่อน สลับซับซ้อน และทาได้ยาก ต้องอาศัย
ความชานาญ ทั้งการเลือกใบตอง ถ้าเลือกไม่ดีใบตองอาจฉีกขาดได้ง่าย จึงต้องอาศัยศึกษาเรียนรู้จาก
ผู้เชี่ยวชาญ งานใบตองสามารถทาได้หลายแบบทั้งฉีก กรีด เจียน ตัด พับ ม้วน เย็บ ถัก สาน ให้เป็นรูปลักษณะ
ต่าง ๆ ตามความต้องการ
ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์พยายามเรียนรู้ที่จะดารงชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ โดยเน้นความกลมกลืนในรูปแบบ
ของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน ความเป็นอยู่ภายใต้กรอบของการรับและการให้อย่างเหมาะสม สิ่งของเครื่องใช้ต่าง
ๆ ซึ่งมนุษย์ได้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่จะมีการนาไปใช้ให้เหมาะสม และมีความสมดุลกับ
ธรรมชาติ ศิลปะงานใบตองเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นชัด มีใช้เฉพาะเป็นส่วนประกอบ
ของงานดอกไม้และใช้เป็นภาชนะใส่ขนมและอาหารเท่านั้น ในส่วนของวัฒนธรรม งานฝีมือต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึง
ความเป็นเอกลักษณ์ไทย ต้องยอมรับว่าบรรพบุรุษของเราช่างคิดและประดิษฐ์ผลงาน อันสวยงามที่ทรงคุณค่า
เอาไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นและเรียนรู้ กับผลงานเหล่านั้นเพื่อช่วยกันพัฒนางานฝีมือให้คงอยู่สืบไป
(พรยุพรรณ พรสุขสวัสดิ์ : 2547)
งานใบตองมีมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรี, พานขันหมากขันหมั้นการ
ประดิษฐ์ถาดใบตอง ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วย
ลดเวลาในการทางานและยังทาให้งานที่ออกมามีคุณภาพและสวยงามโดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของ
ใบตอง กรรไกร เข็ม ด้าย ฯลฯ

งานใบตองสามารถแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะการนาไปใช้งานได้ ดังนี้
1. ประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหาร ซึ่งงานใบตองประเภทนี้พบเห็นได้โดยทั่วไปในชีวิตประจาวันในยุคหนึ่ง
ใบตองไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความทันสมัยและความสะดวก ของพลาสติก แต่ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้
ลดใช้พลาสติก จึงมีการนาใบตองกลับมาใช้ในชีวิตประจาวันอีกครั้ง งานใบตองประเภทใช้ห่อหรือบรรจุอาหาร
ได้แก่ การห่อแบบต่างๆ กระทงถาดใบตองและกระเช้า
2. ประเภทกระทงดอกไม้ มีหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละแบบพัฒนาและสร้างสรรค์ได้อย่างสวยงาม กระทง
ทุก ๆ แบบสามารถนาไปใช้ได้หลายโอกาส เช่น ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย ใช้เป็นเครื่องสักการะ
พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์, ชุดขันหมาก เป็นต้น

3. ประเภทกระทงลอย กระทองลอย คือ ภาชนะสาหรับใส่ดอกไม้ ธูป เทียน สิ่งของ ที่ลอยน้าได้ ส่วนใหญ่


ประดิษฐ์จากใบตองซึ่งใช้ในเทศกาลวันลอยกระทง
4. ประเภทบายศรี บายศรี คือ ภาชนะที่ตกแต่งสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อเป็นสารับใส่อาหารคาว หวานในพิธี
สังเวยบูชาและพิธีทาขวัญต่างๆ ทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎร์ บายศรีหลวง” คือ บายศรีที่ใช้ในการ
ประกอบราชพิธีต่าง ๆ ส่วน “บายศรีราษฎร์” คือ บายศรีที่ใช้สาหรับสามัญชนทั่วไป แต่หากจาแนกตามการ
นาไปใช้ สามารถจาแนกได้หลายแบบ เช่น บายศรีเทพ, บายศรีพรหม, บายศรีใหญ่, บายศรีบัลลังก์ บายศรีต้น,
บายศรีปากชาม เป็นต้น ด้วยบายศรีเป็นสิ่งสาคัญเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย การประดิษฐ์บายศรีจึงต้อง
ระมัดระวัง ประดิษฐ์องค์ประกอบต้องครบถ้วน และความระมัดระวังการนาไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความเป็น
มงคลสิริสวัสดิ์ในชีวิต

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานใบตอง
งานประดิษฐ์จากใบตอง เป็นงานประณีตใช้ฝีมือและทักษะความชานาญ ใบตองมีหลายชนิดแต่ที่มีคุณสมบัติ
เหมาะสมในการประดิษฐ์ที่สุด คือ ใบตองกล้วยตานี วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานใบตอง จาเป็นต้องจัดเตรียม
ไว้ให้เหมาะสมกับชิ้นงาน และมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1. ใบตองตานี มีผิวเป็นมัน สีเขียวเข้ม ไม่แห้งกราก เหนียวนุ่ม ไม่เปราะ ไม่ฉีกขาดง่าย มีความหนาบาง
พอเหมาะ สีของใบตองจะไม่ตกติดอาหาร ถึงแม้จะถูกความร้อน
2. กรรไกร ขนาดและรูปร่างเหมาะมือ น้าหนักเบาและคมตลอดปลาย เวลาจับ นิ้วทั้งหมดเข้าช่องได้พอดี ตัด
ใบตองใช้กรรไกรขนาดใหญ่ ตัดด้ายใช้กรรไกรขนาดเล็ก
3. เข็มมือ ถ้างานละเอียดชิ้นเล็กมากใช้เบอร์ 9 ถ้างานปกติใช้เบอร์ 8 เลือกที่แข็งแรง รูกว้างและตัวยาว
4. เข็มหมุด ชนิดหัวมุกใช้ในบางครั้งที่ต้องการกลัด หรือตรึงให้อยู่กับที่ชั่วคราว ส่วนชนิดหัวเล็กใช้บ่อย ต้อง
เลือกตัวยาวและปลายแหลม
5. ไม้กลัด ขนาดเล็กแหลมแข็งแรง ใช้ไม้ติดผิวหรือใกล้ผิว
6. ด้าย สีเขียวเข้มหรือสีดาเบอร์ 60 ใช้สองเส้นดีกว่าเส้นเดียว เพราะใช้เส้นเดียวจะมีความคมตัดใบตองให้ขาด
ง่าย
7. ผ้าขาวบาง สาหรับห่อใบตองที่ฉีกแล้วหรือห่อผลงานที่แช่น้าพอแล้ว
8. ผ้าเช็ดใบตอง ใช้ผ้าฝ้ายดีกว่าผ้าผสมใยสังเคราะห์ เพราะนุ่มและดูดซึมได้ดีกว่า
9. ไม้บรรทัด เลือกที่เห็นเส้นและบรรทัดชัดเจน
คุณค่าของงานใบตอง
งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักประดิดประดอยวัสดุ
ธรรมชาติ มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสาคัญและคุณค่างานใบตอง แบ่งออกได้ 3
ด้วย คือ
1. คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม ใบตองกับชีวิตของคนไทยอยู่คู่กันมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณถึงปัจจุบัน ซึ่งมี
การนามาประดิษฐ์เป็นกระทง บายศรี พานขันหมาก พานขันหมั้น ฯลฯ การประดิษฐ์งานใบตองแต่ละอย่าง
ล้วนงดงาม ประณีต ความสามารถของคนไทยไม่มีชนชาติใดในโลกเหมือนซึ่งสมควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะถือเป็น
หน้าที่ที่ควรหวงแหน และรักษาไว้เป็นศิลปะและวัฒนธรรมประจาชาติสืบไป
2. คุณค่าทางเศรษฐกิจ การประดิษฐ์งานใบตองนี้สามารถนาไปสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่มีความสามารถทางด้าน
ศิลปะประดิษฐ์ ไม่ว่าจะเป็นการนาไปประกอบอาชีพถาวร หรืออาชีพเสริม เช่น การจัดทาบายศรี การประดิษฐ์
กระทงลอย ฯลฯ
3. คุณค่าทางจิตใจ ขณะในการปฏิบัติงาน ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทาให้ผู้ที่ทางานด้านนี้มีจิตใจ
เยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สาเร็จ และยังเป็นการช่วยดารงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี
โอกาสพิเศษที่ใช้งานใบตอง
ในชีวิตประจาวันของคนไทยนั้น มีการนาใบตองมาห่อขนม อาหารต่าง ๆ เช่น การห่อ ทรงเตี้ย ห่อ
หมก ห่อข้าวต้มมัด ห่อขนมสอดไส้ ห่อขนมเทียน ฯลฯ นอกจากจะได้รับความสะดวกในการหยิบแล้ว ยังช่วย
ให้อาหารและขนมบางอย่างมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น และยังสามารถนาใบตองมาประดิษฐ์เป็นภาชนะ
ใส่อาหาร หรือขนม ได้หลากหลายแบบ เช่น กระเช้าใบตอง ถาดใบตอง เพื่อมอบให้บุคคลหรือผู้ใหญ่ที่เคารพ
นับถือใน โอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพนับถือ และยังช่วยรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย
ใบตอง มีคุณค่านานัปการต่อความเป็นอยู่ของคนไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบชีวิตที่
เรียบง่าย การสร้างสรรค์วัสดุธรรมชาติจนกลายเป็นงานประณีตศิลป์ที่มีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตไทย
เช่น บายศรี พานขันหมาก กระทงลอย ซึ่งเป็นงานที่ใช้ในประเพณีที่ดีงามของไทย และยังได้รับการสืบทอดมา
จนถึงทุกวันนี้ ใบตอง ถือว่าเป็นไม้มงคล นามาประดิษฐ์เป็นงานประณีตศิลป์ใช้ในงานพิธีทางศาสนา
เช่น กระทงดอกไม้ กระทงสังฆทาน สลากภัตร พานพุ่ม กรวยอุปัชฌาย์ เป็นต้น

สรุป
ใบตอง คือ ใบของกล้วย ต้นกล้วย เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์
จากกล้วยได้ทั้งต้น ทั้งปลี และผลกล้วยมารับประทาน โดยเฉพาะใบตองที่คนไทยในอดีตนิยมนามาใช้เป็น
ภาชนะใส่อาหารทั้งคาวและหวาน นอกจากนี้ ยังนิยมนาใบตองมาประดับพานร่วมกับดอกไม้ เพื่อใช้ในงาน
พิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์กระทงลอย, บายศรีพานขันหมากขันหมั้นการประดิษฐ์ถาดใบตอง ฯลฯ
ในการประดิษฐ์งานใบตองจะต้องมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดเวลาในการทางาน
และยังทาให้งานที่ออกมามีคุณภาพ และสวยงาม โดยพิจารณาจากการเลือกชนิดของใบตอง กรรไกร เข็ม
ด้าย ฯลฯ งานใบตองเป็นงานที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสมัยก่อนที่ได้รู้จักนาวัสดุ
จากธรรมชาติ มาใช้เป็นภาชนะห่อหุ้มอาหารได้อย่างวิจิตรสวยงามความสาคัญและคุณค่างานใบตอง แบ่งออก
ได้ 3 ด้วย คือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคม, คุณค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งในการปฏิบัติงาน
แต่ละครั้งย่อมเกิดความเพลิดเพลิน มีสมาธิ ทาให้ผู้ที่ทางานด้านนี้มีจิตใจเยือกเย็นสุขุม เกิดความภาคภูมิใจใน
ผลงานทีส่ าเร็จ และยังเป็นการช่วยดารงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างดี

ใบความรู้ที่ 3
รายวิชา การงาน ฯ(ประดิษฐ์) รหัสวิชา ง32101 ภาคเรียนที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อาเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
………………………………………………………………………………………………………………...
1. ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการทางานเพื่อการดารงชีวิต
2. สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะทางานร่วมกัน
3. มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทางาน
4. มีทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อการดารงชีวิต
5. มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทางาน

2.งานแกะสลักผักและผลไม้
งานศิลปะดั้งเดิมของไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายอย่างหลายแขนง การแกะสลักก็เป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่ถือ
เป็นมรดกมีค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความถนัด สมาธิ ความสามารถเฉพาะตัว และความ
ละเอียดอ่อนมาก การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจาของชาติ
ไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียบเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้คงจะเป็นเรื่องของการ
อนุรักษ์ ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาที่เรียนขั้นสูงของ กุลสตรีในรั้วในวัง ที่ต้องมีการฝึกฝนและเรียนรู้จน
เกิดความชานาญ บรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกัน มานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มี
ใครรู้แน่ชัด เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มี
นางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
ขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้พูดถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบ
สอง เป็นพิธีโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยที่งดงามประหลาดกว่าโคมของพระสนมคนอื่นทั้งปวง
และได้เลือกดอกไม้สีต่าง ๆ ประดับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนาเอาผลไม้ มาแกะสลักเป็นนกและหงส์ให้เกาะเกสร
ดอกไม้อยู่ตามกลีบดอก เป็นระเบียบสวยงามไปด้วยสีสันสดสวย ชวนน่ามองยิ่งนัก รวมทั้งเสียบธูปเทียน จึงได้
มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์
ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทาอาหาร การปอก
คว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น
และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็น
เรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็น
ตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอย
ให้สวยงามทั้งมี ฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทาให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถัน
กับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การ
แกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชานาญ ก็
จะได้รับการยกย่อง
งานแกะสลักใช้กับของอ่อน สลักออกมาเป็นลวดลายต่างๆอย่างงดงาม มีสลักผัก สลักผลไม้ สลักหยวกกล้วย
ถือเป็นงานช่างฝีมือของคนไทยที่มีมาแต่โบราณ งานสลักจึงอยู่ในงานช่าง 10 หมู่ เรียกว่า ช่างสลัก ในช่างสลัก
แบ่งออกย่อย คือ ช่างฉลุ ช่างกระดาษ ช่างหยวก ช่างเครื่องสด ส่วนช่างอีก 9 หมู่ที่เหลือได้แก่ ช่างแกะ ที่มีทั้ง
ช่างแกะตรา ช่างแกะลาย ช่างแกะพระหรือภาพช่างหุ่น มีช่างไม้ ช่างไม้สูง ช่างปากไม้ ช่างปั้น มีช่างขี้ผึ้ง ช่าง
ปูน เป็นช่างขึ้นรูปปูน มีช่างปั้น ช่างปูนก่อ ช่างปูนลอย ช่างปั้นปูน ช่างรัก มีช่างลงรัก มีปิดทอง ช่างประดับ
กระจก ช่างมุก ช่างบุ บุบาตรพระเพียงอย่างเดียว ช่างกลึง มีช่างไม้ ช่างหล่อ มีช่างหุ่นดิน ช่างขี้ผึ้ง ช่างผสม
โลหะ ช่างเขียน มีช่างเขียน ช่างปิดทอง

การสลักหรือจาหลัก จัดเป็นศิลปกรรมแขนงหนึ่งในจาพวกประติมากรรม เป็นการประดิษฐ์วัตถุเนื้ออ่อนอย่าง


ผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เป็นรูปร่าง หรือมีรูปร่างอยู่แล้วสร้างสรรค์ให้สวยงามและพิสดารขึ้น โดยใช้เครื่องมือที่มีความ
แหลมคม โดยใช้วิธีตัด เกลา ปาด แกะ คว้าน ทาให้เกิดลวดลายตามต้องการ ซึ่งงานสลักนี้เป็นการฝึกทักษะ
สัมพันธ์ของมือและสมอง เป็นการฝึกจิตให้นิ่ง แน่วแน่ต่องานข้างหน้า อันเป็นการฝึกสมาธิได้อย่างดีเลิศ

การสลักผักผลไม้นอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิแล้วยังเป็นการฝึกฝีมือให้เกิดความชานาญเป็นพิเศษ และต้องมี
ความมานะ อดทน ใจเย็น และมีสมาธิเป็นที่ตั้ง รู้จักการตกแต่ง มีความคิดสร้างสรรค์ การทางานจ้องให้จิตใจ
ทาไปพร้อมกับงานที่กาลังสลักอยู่ จึงได้งานสลักที่สวยงามเพริศแพร้วอย่างเป็นธรรมชาติ ดัดแปลงเป็นลวดลาย
ประดิษฐ์ต่างๆ ตามใจปรารถนา

ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษา


เป็นลาดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่ง
บนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งาน
ศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่
นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

ตัวอย่างการแกะสลักดอกไม้แตงกวา

1. เลือกแตงกวาที่สด ผิวเรียบไม่มีรอยช้าล้างให้สะอาด
2. หั่นแตงกวาออกเป็ นสองท่อนตามขวาง

3. คว ้านเมล็ดออก

4. ใช ้มีดหั่นแตงกวาแบ่งเป็ นสีส
่ ว่ น
5. ผ่าลงไปโดยเว ้นโคนไว ้ประมาณ 1 ซ.ม.

6. ให ้มีดตัดกลีบให ้เป็ นกลีบมนทีละด ้าน

่ ลีบให ้เท่าๆกัน
7. ตัดกลีบมนทัง้ สีก
8. นาเกสรทีท
่ าจากแครอตมาใส่ตรงกลางดอก

9. เราก็จะได ้ดอกไม ้แกะสลักจากแตงกวา แตงกวา 1ลูก ทาได ้ 2 ดอก

10. นาไปตกแต่งจานอาหารให ้สวยงามน่ารับประทานยิง่ ขึน



วิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้
มะเขือเทศ เลือกผลที่มีผิวสด ขั้วสีเขียว นามาแกะสลักเป็นดอกไม้ หรือปอกผิวนามาม้วนเป็นดอก
กุหลาบ เมื่อแกะเสร็จควรล้างด้วยน้าเย็น ใส่กล่องแช่เย็น
มะเขือ เลือกผลที่มีผิวเรียบ ไม่มีรอยหนอนเจาะ ขั้วสีเขียวสด นามาแกะเป็นใบไม้ ดอกไม้
เมื่อแกะเสร็จควรแช่ในน้ามะนาวหรือน้ามะขาม จะทาให้ไม่ดา
แครอท เลือกสีส้มสด หัวตรง นามาแกะเป็นดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ต่างๆ เมื่อแกะเสร็จให้แช่
ไว้ในน้าเย็น
ขิง เลือกเหง้าที่มีลักษณะตามรูปร่างที่ต้องการ แกะเป็นช่อดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ เมื่อนาขิง
อ่อนไปแช่ในน้ามะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูสวย
มันเทศ เลือกหัวที่มีผิวสด ไม่มีแมลงเจาะ แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ แกะเสร็จแล้วนาไปแช่ใน
น้ามะนาวหรือน้ามะขาม ผิวจะได้ไม่ดา
เผือก เลือกหัวใหญ่กาบสีเขียวสด นามาแกะเป็นภาชนะใส่ของ หรือ
อาหาร ดอกไม้ ใบไม้ เมื่อแกะเสร็จให้นาไปแช่ในน้ามะนาวหรือน้ามะขามจะทาให้มีสีขาวขึ้น
ฟักทอง เลือกผลแก่เนื้อสีเหลืองนวล นามาแกะเป็นภาชนะ ดอกไม้ ใบไม้ หรือสัตว์
ต่างๆ แกะเสร็จแล้วให้ล้างน้าแล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้าคลุมไว้
มันฝรั่ง เลือกผิวสด นามาแกะเป็นใบไม้ ดอกไม้ สัตว์ต่างๆ เมื่อปอกเปลือกแล้วให้แช่ไว้ใน
น้ามะนาวจะได้ไม่ดา
แตงโม เลือกผลให้เหมาะกับงานที่ออกแบบไว้ นามาแกะเป็นภาชนะแบบต่างๆ เมื่อแกะ
เสร็จให้ใช้ผ้าขาวบางชุบน้าคลุมไว้
เงาะ นามาคว้านเอาเมล็ดออก ใช้วุ้นสีสนั ต่างๆ หรือสับปะรด หรือเนื้อแตงโม ยัดใส่
แทน เมื่อแกะเสร็จให้นาไปแช่เย็น
ละมุด เลือกผลขนาดพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ไม่สุกงอม แกะเสร็จให้นาไปแช่ในตู้เย็น
สับปะรด เลือกผลใหญ่ ไม่ช้า แกะเป็นพวงรางสาดได้สวยงาม แกะเสร็จให้ล้างด้วยน้าเย็น
และนาไปแช่เย็น
ส้ม เลือกผลใหญ่ แกะเป็นหน้าสัตว์ เช่น แมวเหมียว

You might also like