svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม

09 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาทนายความ แถลงแนวทางช่วยเหลือคดี เหยื่อ"แอม ไซยาไนด์" ตั้งคณะทำงานร่วมหน่วยงาน มั่นใจสู้คดีได้ ยกคดีฆ่าหั่นศพหมอผัสพร เปรียบเทียบการเอาผิดผู้ต้องหา เตรียมตรวจสอบ"ทนายแอม"แสดงพฤติกรรมผิดมรรยาททนายความหรือไม่

9 พฤษภาคม 2566 จากกรณี “แอม ไซยาไนด์” นางสรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ ผู้ต้องหาคดีการเสียชีวิตของ “ก้อย เท้าแชร์” ที่มีการขยายผลพบผู้เสียชีวิตในลักษณะเดียวกันมากกว่า 10 ราย ต่อมาการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานในคดี พบไซยาไนด์ในหลายคดี ทั้งในรถยนต์ที่“แอม สรารัตน์”ขับพาก้อยไปปล่อยปลา หรือในขวดน้ำที่ ครูอ๊อด ดื่มก่อนเสียชีวิต กระทั่งได้มีการขยายผลคดีและแจ้งข้อหา พ.ต.ท.วิฑูรย์ รังสิวุฒาภรณ์ หรือรองอ๊อฟ อดีตสามีของแอม ร่วมกันรับของโจร ร่วมกันปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้

ล่าสุด ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมผู้บริหารสภาทนายความ ได้ร่วมกันแถลงข่าว หลังจาก นายรพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงานเหยื่อคดีถูกวางยาไซยาไนด์  ได้พาญาติของเหยื่อในคดีมาร้องขอความช่วยเหลือ เพื่อขอให้ทางสภาทนายความเข้าไปช่วยเหลือทางคดี "แอม ไซยาไนด์"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม

นายวิเชียร์ ระบุว่า ได้รับการติดต่อจากญาติของผู้เสียหาย เหยื่อ“แอม ไซยาไนด์” เพื่อต้องการให้สภาทนายความช่วยเหลือทางกฎหมาย ทั้งหมด 14 ราย ในแง่ของสภาทนายความ ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ ญาติเหยื่อทุกรายโดยไม่ต้องเสียค่าทนายความเลย โดยจะจัดทนายความอาสา ไปช่วยเหลือด้านคดีด้านกฎหมายและจะทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ส่วนญาติที่อยู่ต่างจังหวัด มีสภาทนายความจังหวัดที่จะไปสอบข้อเท็จจริง หลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือทางคดีกับญาติผู้ตาย โดยจะประกอบไปด้วย ทนายความ ตำรวจระดับสูง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านยาพิษ หรือยาไซยาไนด์ เพื่อมาร่วมกันแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการสอบสวน

"สภาทนายความฯ ยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจและพร้อมช่วยเหลือเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชนชนที่ได้รับผลกระทบทางกฎหมาย โดยเฉพาะผลกระมทบด้านจิตใจทำให้เหยื่อต้องเสียชีวิต"

เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน ตรวจสอบรถของ "แอม สรารัตน์"

ส่วนแนวทางการต่อสู้คดี “แอม ไซยาไนด์” กรณีเหตุเกิดขึ้นหลายปีแล้วไม่ได้มีการชันสูตรพลิกศพ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะตามดูการเสียชีวิตว่า อาจจะถูกกระทำโดยผู้ต้องหา และทนายความก็จะต้องไปแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า มีร่องรอยหลักฐานอื่นๆหลงเหลืออยู่บ้างหรือไม่ และจะต้องรอดูว่าจะมีพยานหลักฐานมากน้อยแค่ไหน

ที่ผ่านมาเคยมีคดีที่สำคัญ คือ คดีฆาตกรรม พญ.ผัสพร บุญเกษมสันติ ที่ถูกสามีฆ่าหั่นศพ เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2544 ซึ่งคดีดังกล่าวพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่มีทนายความจากสภาทนายความเข้าไปฟ้องคดีแทนญาติคุณหมอผัสพร จนทำให้คดีดังกล่าว นำไปสู่การถูกตัดสินประหารชีวิต

นี่ก็เป็นคดีที่ สภาทนายความให้การช่วยเหลือ แม้จะมีข้อเท็จจริงที่ซับซ่อนก็ตาม ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่า ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงในการทำคดี ซึ่งทนายความที่เคยทำคดีหมอผัสพร ก็อยู่ในคณะทำงานคดีแอม ไซยาไนด์ด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้อัตราโทษสูงสุดคือประการชีวิตอยู่แล้ว ส่วนจะถูกตัดสินเท่าไรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ส่วนต้องใช้ทนายกี่คนต่อกี่คดีจะต้องหารืออีกครั้ง
สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม
ส่วนการช่วยเหลือทางแพ่งจะมี 2 กรณี คือ พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ญาติผู้เสียหายก็จะแต่งตั้งให้ทนายความไปเป็นโจทก์ร่วม และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในความผิดทางละเมิดด้วย

ขณะที่ประเด็นทนายความของอีกฝ่ายที่ได้ให้สัมภาษณ์ทางสื่อโทรศัพท์ โดยแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อทางญาติที่ร่วมรับฟังด้วยนั้น นายวิเชียร บอกว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งทนายความก็มีหน้าที่เข้ามาแก้ต่างในชั้นพนักงานสอบสวน แต่ต้องคำนึงถึงข้อบังคับว่าด้วยมรรยาทของทนายความด้วย โดยเป็นสิ่งที่ทนายความทุกคนต้องพึงปฎิบัติ

พร้อมทั้งห้ามแสดงความคิดเห็น หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ ในส่วนนี้ หากพบว่ามีการฝ่าฝืน ญาติเหยื่อสามารถเข้ามาร้องทุกข์ โดยทางคณะกรรมการมรรยาทก็จะเข้าตรวจสอบมรรยาททางทนายความ ตลอดจนหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาเป็นคดีมรรยาท ก่อนดำเนินคดีได้

เบื้องต้นได้แต่งตั้งคณะกรรมการ 3 คน เข้ามาตรวจสอบข่าวต่างๆ ที่ปรากฏตามสื่อแล้วว่ามีอะไรที่ละเมิดบ้าง ซึ่งทนายความบางคนได้ทำบางสิ่งบางอย่างเลยเถิดจริง ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบถามไปยังคณะกรรมการว่าจะต้องดำเนินการในรูปแบบใด
ทนายความของ "แอม สรารัตน์"
ขณะที่ นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ ในฐานะ รองเลขาธิการฯ ระบุถึง ประเด็นประวัติการรักษาอาการจิตเวชของผู้ต้องหาว่า ในประเด็นประวัติการรักษานั้น หากช่วงเวลาที่ก่อเหตุไม่สามารถหยิบยกมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ได้รับโทษได้

รวมถึงปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นอุปสรรคปัญหาในการพิจารณาคดีในชั้นศาล เพื่อพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด เพราะกฎหมายไม่ได้ยกเว้นว่าห้ามมิให้ศาลสืบพยาน ดังนั้นพนักงานสอบสวนมีอำนาจทุกอย่าง และการตั้งครรภ์จะเป็นบทสุดท้าย โดยหากคดีถึงที่สุดหากศาลลงโทษให้ประหารชีวิต เชื่อว่า ผู้ต้องหาคลอดบุตรแล้วอย่างแน่นอน ดังนั้นจะไม่มีผลกับคำพิพากษาและยังคงประหารชีวิตสถานเดียว

ขณะที่ นายรพี ชำนาญเรือ ผู้ประสานงานเหยื่อในคดีแอมไซยาไนด์ บอกว่า วันนี้เป็นตัวแทนญาติผู้เสียชีวิตทั้ง 14 ราย ขอบคุณสภาทนายความที่ให้ความช่วยเหลือด้านข้อกฎหมายและคดีความ ซึ่งนอกจากทางสภาทนายความแล้วยังมีทนายคนอื่นๆที่ติดต่อเข้ามาช่วยเหลือเหยื่อด้วย 

ในวันนี้ที่พาญาติมาขอความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายสภาทนายความไม่ใช่เพราะไม่มั่นใจการทำงานของตำรวจ แต่เนื่องจากเหยื่อบางคนมีข้อจำกัดและอุปสรรคในการเดินทาง ไม่สะดวกให้ข้อมูลตำรวจ ซึ่งทางสภาทนายความสามารถช่วยส่งทนายและเจ้าหน้าที่ไปรับฟังข้อมูลได้ถึงที่รวมถึงช่วยเหลือแบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จึงตัดสินใจมาร้องเรียนสภาทนายความให้ช่วยอีกทางในวันนี้
นายระพี ชำนาญเรือ
ส่วนการร้องเรียนเรื่องมรรยาททนายความของทนายฝั่งจำเลยที่มีท่าทางไม่เหมาะสมในขณะให้สัมภาษณ์สื่อนั้น นายรพี บอกว่า ตัวเองชื่อว่าสังคมและประชาชนเมื่อเห็นการสัมภาษณ์ก็น่าจะมีความรู้สึก เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ทนายผู้ต้องหาให้สัมภาษณ์ว่าถ้าตำรวจฟ้องคดีไม่ทันแล้วได้ออกมาจากเรือนจำจะพาไปเดิน Shopping ตัวเองเชื่อว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่สามารถเปลี่ยนกลมสันดานใครได้ ถึงแม้ไม่ได้ร้องเรียน แต่เชื่อว่าสังคมสามารถตัดสิ้นพฤติกรรมเองได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ และเชื่อว่าทางสภาทนายความก็จะไม่ละเลยการตรวจสอบเรื่องนี้

จากนั้น ตัวแทนครอบครัวของเหยื่อ ได้ขอบคุณสภาทนายความ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้ความช่วยเหลือ โดยดาบตำรวจนิติพนธ์ นุชิต สามีของน.ส.สาวิตรี บุตรศรีรักษ์ หรือหนิม เหยื่อที่เสียชีวิต บอกว่า การที่สภาทนายความจะเข้ามาให้ความข่วยเหลือ รู้สึกยินดีมาก และหลังจากได้รับฟังข้อมูลที่สภาทนายความแถลง แล้วทำให้รู่สึกมีความัม่นใจมากขึ้นว่ากระบวนการยุติธรรมจะครบถ้วนสมฐุรณ์ ตั้งแต่ขั้นอตนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระบวนการยุติธรรม จึงมีความมั่นใจว่าคดีนี่ตะได้รับความเป็นธรรม และผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษ

ส่วนที่ทนายความของผู้ต้องหาแสดงกิริยาไม่เหมาะสม มองว่า เขาไม่รักษามารยาททางสังคม
สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม สภาทนายความ แถลงช่วยเหยื่อ คดี"แอม ไซยาไนด์" จ่อสอบมรรยาททนายของแอม

logoline