svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ส.วิศวกรโครงสร้างฯ ชี้ 7 ปัจจัย ต้นเหตุการก่อสร้างอาคาร เกิดเหตุถล่มซ้ำซาก

13 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ 7 ปัจจัยจุดอ่อน ต้นเหตุถล่มของอาคาร 5 ชั้น ย่านพระราม 9 จี้ภาครัฐและองค์กรทางวิชาชีพ เคร่งครัดการควบคุมมาตรฐานทางวิศวกรรม - จรรยาบรรณ

13 กุมภาพันธ์ 2566 ความคืบหน้า เหตุการณ์ อาคาร 5 ชั้นถล่ม ระหว่างก่อสร้างชั้นดาดฟ้า (ชั้นที่ 5) ของอาคาร ย่านพระราม 9 จนทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย เหตุเกิดเมื่อวาน (12 ก.พ.) ที่ผ่านมา โดยหลังเกิดเหตุ สำนักงานเขตห้วยขวาง ออกคำสั่งปิดกั้น-ยุติก่อสร้างชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม มีโทษทั้งจำและปรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ล่าสุด ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบพร้อมระบุว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่อาคารหรือโครงสร้างถล่มระหว่างก่อสร้าง แต่เคยเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง จนเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ซ้ำซาก เช่น เหตุการณ์ ถล่มของนั่งร้านก่อสร้าง ย่านถนนพระราม 4 เมื่อ ก.พ. 65  หรือชิ้นส่วนสะพานกลับรถถนนพระราม 2 หล่นลงมา เมื่อ ก.ค. 65 ซึ่งมีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
ส.วิศวกรโครงสร้างฯ ชี้ 7 ปัจจัย ต้นเหตุการก่อสร้างอาคาร เกิดเหตุถล่มซ้ำซาก
 

ศ.ดร.อมร กล่าวว่า ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอาคาร 5 ชั้น หากสังเกตจากการก่อสร้างอาคารข้างเคียง ในโครงการเดียวกันพบว่า ระบบโครงสร้างอาคารเป็นพื้นไร้คาน ซึ่งจุดอ่อนของโครงสร้างระบบนี้ มักอยู่ตรงที่ข้อต่อระหว่างพื้นกับเสา

สังเกตได้จากการพังถล่มที่เกิดขึ้น พื้นหลุดแยกจากเสาแล้วถล่มลงมากองข้างล่าง การพังถล่มเกิดขึ้น ในระหว่างที่เทคอนกรีตชั้นที่ 5 จึงมีข้อสันนิษฐานสาเหตุทางวิศวกรรมได้หลายปัจจัย (ยังไม่ใช่ข้อสรุป) เช่น

1. จำนวนนั่งร้านและค้ำยันไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถรองรับน้ำหนักคอนกรีตได้
2. การติดตั้งหรือประกอบค้ำยันไม่ครบทุกชิ้นส่วน หรือไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
3. ประเภทของค้ำยันไม่เหมาะสม ต่อการรับน้ำหนักคอนกรีต
4. ฐานรองรับค้ำยัน (พื้นที่อยู่ชั้นถัดลงไป) ยังไม่แข็งแรง หรือยังไม่ได้อายุ
5. การเทคอนกรีตกระจุกตัว คนงานเกลี่ยกระจายน้ำหนักคอนกรีตไม่ทัน
6. ขั้นตอนการก่อสร้างถูกต้องตามแบบ หรือการก่อสร้างลัดขั้นตอนหรือไม่
7. การออกแบบและการใช้วัสดุ ที่เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่


ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้อาคารถล่ม จะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือหลายสาเหตุร่วมกัน จะต้องรวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป
ส.วิศวกรโครงสร้างฯ ชี้ 7 ปัจจัย ต้นเหตุการก่อสร้างอาคาร เกิดเหตุถล่มซ้ำซาก
 

ศ.ดร.อมร กล่าวว่า ในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและการก่อสร้างอาคารที่สูง 5 ชั้น เข้าข่ายเป็นวิศวกรรมควบคุม จะต้องดำเนินการตาม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 และ กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพวิศวกรรมและวิขาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ.2565 ซึ่งกำหนดว่า สำหรับการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคารที่ชั้นหนึ่งชั้นใดมีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป หรืออาคารที่มีช่วงคานตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป จะต้องมีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาต จากสภาวิศวกรมาทำการออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง 
ส.วิศวกรโครงสร้างฯ ชี้ 7 ปัจจัย ต้นเหตุการก่อสร้างอาคาร เกิดเหตุถล่มซ้ำซาก  

โดยวิศวกรออกแบบ จะต้องได้รับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป และวิศวกรคุมงาน จะต้องได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรขึ้นไป หากวิศวกรละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ก็อาจมีความผิดทางจรรยาบรรณ และอาจได้รับโทษสูงสุดคือ เพิกถอนใบอนุญาต นอกเหนือการได้รับโทษทางแพ่งและอาญา 

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา จริง ๆ แล้วการก่อสร้างย่อมมีมาตรฐานในทำงาน และการก่อสร้างอาคาร 5 ชั้น ในระบบพื้นไร้คาน ก็ไม่ได้ถือว่าซับซ้อนมาก และที่ผ่านมามีการก่อสร้างอาคารลักษณะนี้มาแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึง เป็นเรื่องที่แก้ไขได้โดย 

1. วิศวกรที่เกี่ยวข้อง จะต้องบังคับใช้มาตรฐานทางวิศวกรรม อย่างเคร่งครัด
2. ผู้ประกอบการจะต้องจัดหาทรัพยากรเช่น นั่งร้าน และค้ำยันให้เพียงพอ และควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
3. หน่วยงานภาครัฐจะต้องตรวจตรา หรือจัดนายตรวจสุ่มตรวจสถานที่ก่อสร้าง ที่เสี่ยงจะไม่ปลอดภัย และสั่งระงับการก่อสร้าง หากตรวจพบ
4. องค์กรทางวิชาชีพ จะต้องกำกับการทำงานของวิศวกร และดำเนินการทางจรรยาบรรณ แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักวิชาชีพ หรือละเลยต่อการทำหน้าที่อย่างเคร่งครัด

ส.วิศวกรโครงสร้างฯ ชี้ 7 ปัจจัย ต้นเหตุการก่อสร้างอาคาร เกิดเหตุถล่มซ้ำซาก
 

logoline