วิธีอ่านฉลากสินค้า เลือกซื้ออย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

วิธีอ่านฉลากสินค้า เลือกซื้ออย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

อ้างอิงรูปจาก :: https://resourcecenter.thaihealth.or.th

        ฉลากสินค้าประเภทอาหาร นอกจากจะต้องระบุชื่อของสินค้า ราคา และรายละเอียดต่างๆ แล้ว ยังต้องมีการระบุข้อมูลทางโภชนาการด้วย หากเรารู้ วิธีอ่านฉลากสินค้าอาหาร ที่ถูกต้อง ก็ย่อมนำมาซึ่งการดูแลสุขภาพให้ดีได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทางโภชนาการทั่วไปจะประกอบไปด้วย

  1. ข้อมูลสารอาหารต่างๆ ของสินค้าอาหาร อ้างอิงตามปริมาณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งในคนทั่วไปควรได้รับประมาณไม่เกิน 2,000 แคลอรี โดยเฉลี่ย แต่ในความเป็น     จริงแล้ว แต่ละคนก็มีความต้องการพลังงานที่ไม่เท่ากัน ด้วยปัจจัยทางเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง อัตราการเผาผลาญ และกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกัน เป็นต้น
  2. รายชื่อส่วนประกอบ/ส่วนผสมต่างๆ ที่มีอยู่ในสินค้าชนิดนั้นๆ พร้อมระบุอัตราส่วนคร่าวๆ เอาไว้ด้วย ผู้ที่ต้องการลดไขมัน คาร์โบไฮเดรต และอื่นๆ สามารถตรวจสอบจาก       รายละเอียดนี้ได้ โดยรายการส่วนประกอบของสินค้าจะถูกเรียงลำดับจากส่วนประกอบที่มีปริมาณมากไปหาน้อย

 

        วิธีอ่านฉลากสินค้า อาจจำแนกตามการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละคน 

ได้ดังนี้

  1. การควบคุมน้ำหนัก แนะนำให้ตรวจสอบที่ฉลากโภชนาการ โดยเลือกสินค้าที่ให้พลังงานต่ำเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน หรือนำมาพิจารณาปริมาณที่ควรบริโภค ในแต่ละวันด้วย
  2. การเลี่ยงไขมันหรือผู้ที่ต้องการควบคุมไขมัน แนะนำให้เน้นวิธีอ่านฉลากสินค้าในส่วนที่แสดงคุณค่าทางโภชนาการ โดยปริมาณไขมันไม่ควรเกิน 20 กรัมต่อมื้อ และต้องอ่านในส่วนของปริมาณไขมันอิ่มตัวด้วย คือไม่ควรเกิน 5% ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เพราะไขมันอิ่มตัวคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. ปริมาณวิตามินและเกลือแร่ ควรดูปริมาณที่มีอยู่เปรียบเทียบกับปริมาณที่ควรได้รับต่อวันในหนึ่งหน่วยบริโภคหรือหนึ่งบรรจุภัณฑ์สินค้า แนะนำให้เลือกซื้ออาหารที่หลากหลาย มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนเพื่อสุขภาพที่ดี
  4. การควบคุมระดับน้ำตาล เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตไม่เกิน 70 กรัมต่อมื้อ รวมทั้งปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่ควรเกิน 24 กรัมต่อวันด้วย
  5. การควบคุมโซเดียม เพื่อป้องกันปัญหาความดันโลหิต ให้อ่านฉลากสินค้าที่ระบุปริมาณโซเดียมในสินค้านั้นๆ และไม่ควรบริโภคเกิน 100 มิลลิกรัม หรือ 5% ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากพบว่าสินค้าใดมีปริมาณโซเดียมสูง แนะนำให้ลดปริมาณการกินลง
  6. กากใยในอาหาร มักพบรายละเอียดในอาหารที่ให้กากใยสูง โดยในฉลากโภชนาการจะระบุเป็นปริมาณของใยอาหารหรือไฟเบอร์ แนะนำให้เลือกอาหารที่มีปริมาณใยอาหารมากกว่า 20% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันในหนึ่งหน่วยบริโภค หรือในหนึ่งวันควรได้รับใยอาหารอย่างน้อย 25 กรัม

 

       เมื่อเรารู้วิธีอ่านฉลากสินค้าและอ่านได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้เราเลือกสินค้าเหมาะสมกับสุขภาพของเราได้ โดยต้องดูวันผลิตหรือวันหมดอายุด้วย เราควรอ่านฉลากสินค้าให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอาหารทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว การอ่านฉลากสินค้าอย่างถี่ถ้วนจะช่วยควบคุมปริมาณสารอาหารให้เหมาะสมกับปัญญาสุขภาพที่มีอยู่ เป็นเหมือนการช่วยให้การรักษาได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก :: https://www.phyathai.com

Visitors: 1,526,540