Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1490 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1490” คืออะไร? 


“มาตรา 1490” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1490 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
              (๑) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
              (๒) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
              (๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
              (๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1490” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1490 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2561
การที่จำเลยที่ 2 คู่สมรสทำหนังสือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมของ ส. สามี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ส. ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส เมื่อจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมไว้เป็นการทั่วไป จึงเป็นการแสดงเจตนารับรู้และไม่คัดค้านที่ ส. สามีไปทำนิติกรรม จึงมิใช่เป็นการให้สัตยาบันของคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2561)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1490 (4)

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2559
การเบิกความของ ธ. ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับลายมือชื่อของ อ. เป็นการเบิกความไปตามความเห็นหรือความรู้สึกของ ธ. ในลายมือชื่อของ อ. ตามที่เห็นเท่านั้น กรณีไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่ ธ. เห็นตามเอกสารที่ทนายจำเลยที่ 3 นำมาถามค้านนั้น เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ อ. หรือเป็นลายมือชื่อปลอม และความเห็นของ ธ. เป็นความเห็นในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมิใช่เช็คพิพาทในคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รับรู้ถึงการใช้ลายมือชื่อปลอมของ อ. ในเช็คพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามฟ้องได้
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 223 วรรคหนึ่ง, ม. 438, ม. 442, ม. 1008, ม. 1490


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14281/2558
คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/14 (2), ม. 295, ม. 692, ม. 1489, ม. 1490 (4)
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท