ตระกูล...ความแข็ง..มาตรวัด?


วันนี้คุยเรื่อง... เพชร พลอย นะคะ ...การดูว่า อัญมณีใด คืออะไร เขามีมาตรวัดค่าความแข็งค่ะ เรียกว่า Mohs Scale โดยเรียงลำดับจากความแข็งที่ค่า 10.0 ลงไปจนถึง 1 นะคะ และระหว่างกลางยังมีอัญมณีอื่นๆๆอีกดังนี้ค่ะ




ความแข็ง 10 คือ เพชร (Diamond)

ในเพชร 1 กะรัต จะมีการรวมตัวกันของธาตุคาร์บอน (Carbon) หลายพันล้านอะตอม และในจำนวนหลายพันล้านอะตอมที่ได้รวมตัวกันอยู่นั้น ทุกๆ อะตอมจะต้องเป็นธาตุคาร์บอนเท่านั้น จึงสามารถทำให้เพชรเป็นเพชรสีขาวใสสนิท (ไร้สี) แต่ถ้าเกิดมีธาตุอื่นที่แปลกปลอม (นอกเหนือจากธาตุคาร์บอน) มีการรวมตัวอยู่ด้วย เพชรนั้นจะไม่มีสีขาวใสสนิท แต่จะมีสีของแร่ธาตุเหล่านั้นที่เจือปน เช่น ธาตุโบรอน (Boron) จะทำให้เกิดสีน้ำเงิน ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen) จะทำให้เกิดสีเหลือง กัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติในบริเวณที่อะตอมของเพชรมีการรวมตัว จะทำให้เกิดสีเขียวบนพื้นผิวด้านนอกของเพชร หรือการเปลี่ยนโครงสร้างของอิเลคตรอน (Electron) ในระหว่างที่การรวมตัวของเพชรมีการลอยขึ้นสู่พื้นดินชั้นสูงขึ้นๆ ของเปลือกโลก ก็จะก่อให้เกิดสีแดง และสีชมพูในเพชร ... แบ่งการวัดระดับคุณภาพออกเป็น 3หมวดหมู่ใหญ่ คือ 1. เฉดสีหลักของเพชร (Hue)

2. ความสว่างและความมืดของเฉดสีนั้น

3. ความบริสุทธิ์ของสี (Saturation) ตั้งแต่เป็นกลาง (Neutral) จนถึง เข้มข้นบริสุทธิ์มาก (Vivid)


เพชรสีแดง .... เป็นเพชรหายากที่สุดอันดับ 1 และแพงที่สุดของเพชรทุกสี ...เฉดสีแดงนั้นเชื่อว่าเกิดจาก การเปลี่ยนโครงสร้างของอิเลคตรอนในระหว่างที่การรวมตัวของเพชรมีการลอยขึ้นสู่พื้นดินชั้นสูงขึ้นๆ ของโลก





เพชรสีส้ม ....เชื่อกันว่าการเกิดสีส้มในเพชรนั้นเกิดจาก ธาตุไนโตรเจน




เพชรสีเหลือง สีเหลืองของเพชรนั้นเกิดจากการแทรกตัวของ ธาตุไนโตรเจน ในธาตุคาร์บอนขณะที่เพชรกำลังก่อตัวขึ้น



เพชรสีเขียว .... เป็นเพชรที่หาได้ยากมากตามธรรมชาติ เพชรสีเขียวบางเม็ดมีธาตุนิคเกิล (Nickel) รวมอยู่ด้วย แต่สีเขียวส่วนใหญ่เกิดจากกัมมันตภาพรังสี ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจากหินอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกับเพชร เมื่อเพชรเริ่มก่อตัว ซึ่งกัมมันตภาพรังสีนี้จะจับอิเลคตรอนไว้แล้วทำให้เกิดสีเขียวบนพื้นผิวด้านนอกของเพชร




เพชรสีน้ำเงิน เป็นเพชรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และเป็นที่แสวงหาของนักสะสมอัญมณีเป็นอย่างมาก การเกิดสีน้ำเงินของเพชรนั้น เกิดจากธาตุโบรอน (Boron) และการแทรกตัวของธาตุโบรอนในการรวมตัวของเพชรจะทำให้ปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ซึ่งธาตุโบรอนนี้เองเป็นตัวทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้น อย่างไรก็ตามนอกจากธาตุโบรอนแล้ว ธาตุนิคเกิล (Nickel) หรือการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของธาตุไฮโดรเจน (Hydrogen) ก็สามารถทำให้เกิดสีน้ำเงินในเพชรขึ้นได้เช่นกัน




เพชรสีชมพู ... การเกิดสีชมพูในเพชร เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเลคตรอนที่เรียกว่า "การสูญเสียรูปพลาสติก" ระหว่างการเดินทางของเพชรสู่พื้นผิวโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไป



เพชรสีเทา .... การมีธาตุโบรอน (Boron) ในโครงสร้างของคาร์บอน (Carbon) สามารถทำให้เกิดเพชรที่เป็นสีเทาได้ (นอกเหนือจากสีน้ำเงิน) ในบางครั้งเพชรสีเทาก็อาจจะเป็นเพชรสีดำที่มีความเข้มข้นของสีดำน้อย และกระจายอยู่อย่างไม่ทั่วถึงนั่นเอง


เพชรสีน้ำตาล .... เกิดจากโครงสร้างที่บกพร่องในช่องตาข่ายระหว่างอะตอมของเพชร ซึ่งทำให้เกิดการดูดรับแสงเข้ามาในขณะที่เพชรกำลังก่อตัวขึ้น หลักฐานของการมี ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen) ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เพชรเกิดเฉดสีน้ำตาลนี้ขึ้น "เพชรสีเชมเปญน์" (สีน้ำตาลอ่อน) และ "เพชรสีคอนยัก" (น้ำตาลเข้ม)


เพชรสีดำ .... เกิดจาก การมีกราไฟท์ (Graphite) หรือถ่านดำและธาตุเหล็ก (Iron) จับกลุ่มรวมตัวกันอยู่ในโครงสร้างของเพชร ในขณะที่เพชรสีอื่นๆ จะมีคุณสมบัติใสมองทะลุได้ เพชรสีดำ...จะมีคุณสมบัติทึบแสง ไม่มีประกายเล่นไฟระยิบระยับเหมือนเพชรสีขาวหรือสีอื่นๆ .... เพชรสีดำจะเป็นเพชรที่มีตำหนิ (Inclusions) เสมอ ....ด้วยธรรมชาติของตัวมันเอง .... ดังนั้นมันจึงมีความเปราะบางมากกว่าเพชรสีอื่นๆ และยากต่อการเจียรไน การขัดเงาก็ทำให้เกิดความสวยงามได้ไม่ดีนัก ... จึงเป็นผลทำให้เพชรสีดำส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมเท่านั้นและไม่ถูกนำมาทำเป็นเครื่องประดับ

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.durgadiama.com/



สรุปได้ว่า ... วันนี้ผู้เขียนคงจะได้นำเรื่องราวของอัญมณีที่มี ค่าความแข็ง = 10 Mohs Scale ที่เรียกว่า เพชร (Diamond)มาเล่าให้แต่เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ .... เพราะง่วงนอนแล้วค่ะ ....

ครั้งต่อไปจะนำอัญมณีที่อยู่ใน ... ตระกูลคอรันดัม (Corundum)....อัญมณีที่มีค่าความแข็ง = 9 Mohs Scale....มาเล่าสู่กันฟังนะคะ .... ซึ่งความแข็ง (Hardness) หมายถึง ความทนทานของแร่ต่อการขีดข่วนให้เป็นรอย .... เราวัดความแตกต่างความแข็งของเพชรพลอยและแร่ต่างๆ ได้โดยใช้มาตรฐานการวัดของ โมหส์ (Moh's Scale) ผู้ค้นพบคือ "เฟรดริซ โมหส์" (Fredrich Mohs) ชาวออสเตรเลีย .... ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการแร่ทั่วไปเป็นเวลามากกว่า150 ปี โดยเริ่มจากหน่วย 10 ถึง 1 ซึ่งหมายถึง ความแข็งมากที่สุดถึง....น้อยที่สุด นะคะ



ขอบคุณค่ะ

17 มีนาคม 2558


หมายเลขบันทึก: 587560เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2015 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2015 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอเพชรสักเม้ดสองเม็ดได้เปล่าครับ อิอิ

สบายดีครับผม

อยากได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณหมอที่นำมาให้ได้อ่านค่ะ

สวยมากค่ะพี่เปิล แต่คุณยายไม่มีวาสนาได้แค่มองค่ะ

สวยงามค่ะ และขอขอบคุณความรู้ค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-เพชรเม็ดอ้วน ๆ ตัวกลม ๆ จากอำเภอพรานกระต่าย ก็เป็น"เพชรน้ำหนึ่ง"นะครับ 555

-ไม่แปลกใจทำไมเขาจึงเรียกว่า"จังหวัดกำแพงเพชร"

-เพราะว่ามีกำแพงแกร่งดั่งเพชร...นี่เอง....

-ด้วยความระลึกถึงครับพี่หมอ ...

ขอบคุณความรู้ดีๆในเรื่องอัญมณีมีค่าค่ะ...เก็บภาพข่าวสร้อยข้อมือเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษาสมเด็จพระเทพฯมาฝากค่ะ

ได้ความรู้มากมายค่ะ...เพชรแดง..เพชรเหลือง

คุณหมอเปิ้ลคะ..ยายธีเคยไปต่อคิวยาวเหยียด..รอหลาย..ชม.เพียงเพื่อจะดู..เพชรเม็ดเท่าไข่ห่าน..ของจักรพรรดินี ของอังกฤษ..อ้ะ..ดูแล้วได้คิด..และเห็น..ความเดือดร้อน..ชองคนในโลกมีมากมาย..เพียงเพื่อเพชรเม็ดนี้ได้ไปประดับบนสิ่งที่เรียกว่ามงกุฏ...

เรียนหมอเปิ้น

ผมชอบพลอยมากกว่าเพชร

เพราะพลอยมักไม่ค่อยได้จ่ายตังค์

(พลอย คืออาศัยคนอื่น)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท