การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

ยอดวิว 134.5k

แบบฝึกหัด

EASY

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม (ชุดที่ 1)

HARD

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม (ชุดที่ 2)

news

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

เนื้อหา

การใช้ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

ภาพถ่ายทางอากาศ คือ

รูปที่ได้จากการถ่ายทางอากาศ โดยผ่านเลนส์กล้องและฟิล์ม หรือข้อมูลเชิงเลข ซึ่งถ่ายด้วยกล้องที่นำไปติดใต้อากาศยาน อันได้แก่ บอลลูน เครื่องบิน เป็นต้น

        ภาพถ่ายทางอากาศแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

        1. ภาพถ่ายแนวดิ่ง หมายถึง ภาพถ่ายที่แกนของกล้องถ่ายภาพถ่ายทางอากาศตั้งฉากพื้นผิวโลก มักมีสัดส่วนคงที่ ใช้ในการรังวัดทำแผนที่ภูมิประเทศ และแปลความหมายข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในภาพ

        2. ภาพถ่ายเฉียง หมายถึง ภาพถ่ายทางอากาศที่แกนกล้องเฉียงไปจากพื้นผิวโลก มีจุดประสงค์เพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศทั่วไป ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่าภาพถ่ายแนวดิ่ง และไม่ได้นำไปใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ

        ภาพถ่ายทางอากาศจะได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูง นำไปใช้แสดงข้อมูลที่มีมาตราส่วนใหญ่ได้ดี และสามารถแสดงข้อมูลลักษณะภูมิประเทศเป็น 3 มิติได้ ถ้ามีการถ่ายภาพที่ซ้อนทับกัน 60 % ในแนวบินเดียวกัน โดยดูผ่านกล้องมองภาพสามมิติ (Stereoscope)

ภาพถ่ายดาวเทียม

        ดาวเทียมดวงแรกของโลกที่สามารถส่งขึ้นไปเพื่อทดลองระบบ คือ ดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) เป็นดาวเทียมภายใต้การดำเนินงานของรัสเซียที่ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1957 โดยเริ่มจากดาวเทียมสปุตนิก 1 ที่สามารถโคจรรอบโลกได้นานถึง 92 วัน


ภาพ ดาวเทียมสปุตนิก


         แบ่งตามชนิดได้เป็น

        1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านสภาพอากาศ เช่น ดาวเทียม GMS และ NOAA

        2. ดาวเทียมสมุทรศาสตร์ เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านลักษณะคลื่นผิวน้ำและใต้ผิวน้ำ ความสูงของคลื่น ศึกษาน้ำแข็งในทะเล อุณหภูมิผิวหน้าทะเล เป็นต้น

        3. ดาวเทียมสำรวจแผ่นดิน เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลด้านทรัพยากรบนแผ่นดิน เช่น ดาวเทียม THEOS เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ส่วนดาวเทียม LANDSAT เป็นของสหรัฐอเมริกา และดาวเทียม SPOT เป็นของประเทศฝรั่งเศส

        4. ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ วิทยุ เช่น ดาวเทียมไทยคม


ข้อมูลจากดาวเทียม

        สิ่งที่ส่งกลับมารูปของสัญญาณตัวเลขมาที่สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าภาพจากดาวเทียม แล้วจึงนำไปแปลความหมายต่อไปได้ในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลตัวเลขนี้มาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ ซึ่งเป็นการแปลความหมายอีกรูปแบบหนึ่งได้

        ข้อมูลเชิงเลข คือ

            เวลาที่เก็บข้อมูลมาจากดาวเทียม ดาวเทียมก็จะแปลค่าให้เป็นตัวเลข เช่น ดี = 1, แย่ = 2 และ แย่ที่สุด = 3 หรือชนิดของตัวเลขที่ใช้ในระบบราสเตอร์ จะเป็นตัวบอกว่าชั้นข้อมูลนั้น ๆ จะถูกแสดง หรือสามารถนำไปประมวลผลได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ชั้นข้อมูลความสูง ที่มีค่าในช่วง 550 ถึง 560 จะถูกใช้ต่างกับชั้นข้อมูลที่มีค่าแค่ 1, 2 หรือ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน น้ำ ดิน พืช จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ส่งกลับมาทุกอย่างจะถูกแปลผลไปเป็นตัวเลข แล้วเวลาใช้งานก็จะแปลตัวเลขมาเป็นข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ ในประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และมีสถานีรับสัญญาณของกรมอุตุนิยมวิทยากระจายตามภูมิภาคของประเทศ


การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม เช่น

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้สำรวจ ตรวจสอบสภาพผืนป่า ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้
  • ด้านการทำแผนที่ ใช้สำรวจวัตถุบนพื้นโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง การจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา การจัดทำแผนที่ชุดดิน
  • ด้านอุตุนิยมวิทยา ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศในช่วงเวลาในแต่ละวัน
  • ด้านคมนาคม เช่น การติดตามสภาพการจราจรขณะปัจจุบัน