งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน
มาตรา , อ.พงษ์บวร ประสูตร์แสงจันทร์

2 ตั๋วเงิน มาตรา

3 วิวัฒนาการของกฎหมายตั๋วเงิน
ตั๋วเงิน มีวิวัฒนาการมาจากการค้าขายระหว่างเมืองของ พ่อค้า ซึ่งการค้าขายต่างเมืองบางครั้งการพกเงินจำนวน มากเดินทางก็ไม่ปลอดภัยนัก ในหมู่พ่อค้าจึงเกิดลักษณะ การค้าขายในระบบให้เครดิต หรือซื้อเชื่อ หรือการค้าขาย โดยการสั่งให้พ่อค้าเมืองเดียวกันเป็นผู้จ่ายเงินแทนพ่อค้า ผู้ซื้อที่อยู่ต่างเมือง จนกระทั่งระบบการเงินการธนาคาร เข้ามามีบทบาทในการให้เครดิตแทน

4 จ. ผู้จ่าย เมืองA ก. ผู้ขาย ข.ผู้ซื้อ เมือง B เมือง A อธิบาย : ข.สั่งสินค้าจาก ก ที่อยู่ต่างเมืองมาขายเมืองของตน แต่การเดินทางไปชำระเงิน หรือการพกเงินติดตัวไปจำนวนมาก อาจถูกปล้นจี้กลางทาง และขาดความสะดวก ดังนั้น ข จึงออก ตราสารชนิดหนึ่ง มอบแก่ ก.ไว้ โดยตราสารดังกล่าวจะสั่งให้ จ. ซึ่งอยู่เมืองเดียวกับ ก.จ่ายเงินให้ ก.แทนตนไปก่อน เมื่อ ก.มา ทวงถามเอาจาก จ พร้อมตราสารนั้น ปัจจุบัน คือ ตั๋วแลกเงิน

5 การซื้อขายแบบให้เครดิตกัน
ขายสินค้าเชื่อ ก. ผู้ขาย ข. ผู้ซื้อ จ่ายเงินภายหลัง อธิบาย : พ่อค้าคนหนึ่งขายสินค้าให้พ่อค้าอีกคนหนึ่งโดยมอบสินค้าไป ก่อน และผู้ซื้อออกตราสารสัญญาจะใช้เงินให้แก่พ่อค้าผู้ขายในอนาคต ซึ่งพ่อค้าผู้ขายเมื่อได้รับตราสารแล้ว ก็สามารถสลักหลังโอนขายตราสาร ดังกล่าวต่อไปได้ที่ได้ และผู้ที่มีตราสารสัญญาจะใช้เงินดังกล่าวก็ สามารถไปเรียกให้ผู้ขายผู้ซื้อชำระเงินตามตราสารนั้นได้เมื่อถึงเวลา ปัจจุบัน คือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note)

6 การค้าขายในระบบรับฝากและใช้เงินของธนาคาร
ก.ผู้ขาย ข ผู้ซื้อ ตราสารของธนาคาร อธิบาย : ผู้ซื้อมีความสัมพันธ์กับธนาคารโดยมีบัญชี หรือสินเชื่อ ของธนาคาร ดังนั้นในการซื้อสินค้าแทนที่ ข ผู้ซื้อจะจ่ายเงินสด ข.ก็จ่ายโดยเช็คเพื่อให้ ก ไปเรียกเก็บกับธนาคารสาขาในเมือง ของ ก เอง หรือเมืองใดๆก็ตามที่ธนาคารมีสาขาเปิดทำการอยู่ ธนาคารก็จะใช้เงินตามที่ระบุไว้ในตราสารแก่ผู้ที่มีตราสารนั้นมา แสดง ปัจจุบัน คือ เช็ค นั้นเอง

7 ตั๋วเงิน(Bill) หมวดที่ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป มาตรา 898 – 907
หมวดที่ 2 ว่าด้วย ตั๋วแลกเงิน มาตรา หมวดที่ 3 ว่าด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงิน มาตรา หมวดที่ 4 ว่าด้วย เช็ค ตั้งแต่มาตรา หมวดที่ 5 อายุความ ตั้งแต่ มาตรา หมวดที่ 6 ว่าด้วย ตั๋วเงินปลอม ตั๋วเงินถูกลัก และตั๋วหาย ตั้งแต่ มาตรา

8 ลักษณะทั่วไปของสัญญาตั๋วเงิน
ตั๋วเงินเป็นสัญญา ต้องเป็นหนังสือตราสาร วัตถุแห่งหนี้ต้องเป็นเงินตรา เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ คู่สัญญาในตั๋วมีได้หลายฝ่ายไม่จำกัด

9 1.ตั๋วเงินเป็นสัญญา ตั๋วเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องนำหลักเกณฑ์ว่าด้วย นิติกรรมสัญญามาบังคับใช้ด้วย การลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ถ้าผู้ที่ลงลายมือชื่อไม่มีเจตนากระทำ ตั๋วเงิน(ไม่มีเจตนาลงลายมือชื่อ) บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิดตามตั๋ว แต่อย่างไรก็ดี มาตรา 900 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อ ของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น” นอกจากนี้ มาตรา 902 ยังบัญญัติว่า “ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อ ของหลายบุคคลมีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงิน นั้นได้เลย หรือเป็นแต่ไม่เต็มผล ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบ ความรับผิดของบุคคลอื่นๆนอกนั้นคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน

10 คำถาม A จับมือ B เขียนข้อความออกตั๋วเงินสั่งจ่ายเงินแก่ ร. ต่อมา ร.สลักหลังโอนตั๋วดังกล่าวแก่ ก. เช่นนี้ B ต้องรับผิด ตามตั๋วเงินหรือไม่ B ได้ปากกามาใหม่จึงเขียนลายเซ็นตนเองบนกระดาษเปล่า ต่อมา A เอากระดาษใบนั้นไปกรอกรายละเอียดเป็นตั๋วเงิน สั่งจ่ายเงินแก่ ร. และหาก ร. สลักหลังโอนตั๋วเงินแก่ ก. แล้ว ก.จะมาเรียกให้ ร. รับผิดได้หรือไม่เช่นนี้ B ต้องรับผิดตาม ตั๋วหรือไม่

11 คำถาม อ. ออกเช็คสั่งธนาคารจ่ายเงินแก่ ร. โดย อ. เข้าใจว่า ร. คือ ลูกค้าของตน และส่งมอบเช็คแก่ ร. ต่อมา ร. เอาเช็ค ไปจ่าย ชำระหนี้แก่ ก. เมื่อ ก.ไปขึ้นเงิน ปรากฏว่าธนาคารปฎิเสธการ จ่ายเงิน ดังนี้ ก.จะเรียกให้ อ และ ร รับผิดได้หรือไม่

12 2.ต้องเป็นหนังสือตราสาร
ตราสาร นั้น แตกต่างจากหนังสือสัญญาอื่นทั่วไป เอกสารใดจัก เป็นตราสารจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้ ตราสารต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และลงลายมือชื่อผู้ออก ตราสาร ตราสารต้องมีเนื้อความตามที่กฎหมายกำหนดครบถ้วน (ม.909 ,ม.910) ตราสารนั้น ในตัวของตราสารเอง ประกอบด้วย (1) สิทธิทางหนี้ (2) สิทธิทางทรัพย์

13 มาตรา 9 “เมื่อใดมีกิจการอันใด กฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็น หนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำต้องเขียนเอง แต่หนังสือ นั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น” ดังนั้นการทำตั๋วเงินนั้น ผู้ออกตั๋วไม่จำต้องพิมพ์ตั๋วเอง สามารถ ใช้ผู้อื่นพิมพ์ตราสารเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีข้อความครบถ้วน ตามกฎหมายเป็นตั๋วเงินแล้ว ผู้ออกตั๋วลงลายมือชื่อด้วยตนเอง เป็นใช้ได้

14 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๕๒/๒๕๑๘
การที่จำเลยอนุญาตให้ภริยาของตนนำเช็คที่ตัวจำเลยเองลงชื่อ ไว้แล้วไปกรอกตัวเลข แล้วภายหลังภริยาได้ไปเบิกเงินจาก ธนาคาร หรือเอาไปชำระหนี้นั้น ย่อมเป็นการแสดงว่าจำเลยรู้ เห็นเป็นใจยินยอมให้ภริยานำเช็คไปใช้ชำระหนี้เงินกู้ที่ภริยา จำเลยติดค้างโจทก์ เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินและธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จำเลยจะยกอ้างว่าตนไม่มีเจตนาลง ลายมือชื่อหรือมิได้ออกเช็คชำระหนี้แก่โจทก์ได้ไม่ จำเลยลง ลายมือชื่อในตัวจึงต้องรับผิดตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้น Back

15 ตราสารต้องมีเนื้อความครบถ้วน
โดยหลักหากไม่มีรายการครบถ้วน ก็จะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋ว เว้นแต่ เป็น ข้อบกพร่องเล็กน้อยที่กฎหมายบัญญัติทางแก้ไขไว้แล้ว ตามมาตรา 910 มาตรา 909 อันตั๋วแลกเงินนั้น ต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้ คือ (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน (2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน (3) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน (5) สถานที่ใช้เงิน (6) ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ (7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน (8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

16 การแก้ไขข้อบกพร่องเล็กน้อย
มาตรา 910 ตราสารอันมีรายการขาดตกบกพร่องไปจากที่ท่านระบุบังคับ ไว้ในมาตราก่อนนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่กรณีดังจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ ตั๋วแลกเงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงิน ท่านให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ถ้าสถานที่ใช้เงินมิได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาของ ผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใด ทำ การโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้

17 ตราสารพึงชำระหนี้ตามเขาสั่ง ตามมาตรา 309 และ 310
ประเภทของตราสาร ตราสารที่จะต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ตราสารประเภทนี้จะโอนกันได้ก็แต่โดยรูปแบบและ วิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 ตราสารพึงชำระหนี้ตามเขาสั่ง ตามมาตรา 309 และ 310 ตราสารชำระหนี้แก่ผู้ถือ ตามมาตรา 313

18 อธิบาย สัญญาตั๋วเงินนั้น มีทั้งชำระหนี้ตามเขาสั่ง และชำระหนี้แก่ผู้ถือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อความในตั๋วระบุ เช่น ตั๋วระบุชื่อ ก.เป็นผู้รับเงิน ก็เป็นตราสารประเภทชำระหนี้ตามเขาสั่ง อย่างไรก็ดีแม้จะระบุ ชื่อผู้รับไว้ แต่ด้วยความที่ตั๋วเงินเป็นตราสารที่กฎหมายประสงค์ ให้มีสภาพคล่องสูงและใช้ชำระหนี้ได้ ดังนั้นผู้รับเงินตามระบุชื่อ ไว้ย่อมสามารถโอนตั๋วแก่ผู้อื่นได้โดยการสลักหลัง เว้นแต่ ผู้สั่ง จ่ายจะเขียนข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ซึ่งผลของการห้ามโอน ดังกล่าวทำให้ไม่อาจโอนโดยการสลักหลังได้ แต่ต้องโอนโดย วิธีการตาม กม.หนี้ คือ โดยการโอนสิทธิเรียกร้อง ตาม ม.306

19 อธิบาย ถ้าระบุให้ผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เช่นนี้ผู้จ่ายเงิน ย่อมจ่ายเงินสดแก่ผู้ที่มีตั๋ว อยู่ในครอบครองในฐานะผู้ทรงตั๋ว ซึ่งจะต้องพิสูจน์ว่าได้รับตั๋วมาโดย การรับสลักหลังไม่ขาดสาย ตั๋วเงิน เป็นสิทธิทางหนี้ หมายความว่า ตั๋วเงินเป็นหลักฐานใช้เรียกร้อง หนี้สินที่มีอยู่ระหว่างกันได้โดยอาศัยเนื้อความตามตั๋ว ตั๋วเงิน เป็นสิทธิทางทรัพย์ หมายความว่า ตั๋วเงินเอง จัดเป็นทรัพย์ อย่างหนึ่ง เจ้าของตั๋ว(ผู้รับเงินตามระบุ) สามารถติดตามเอาตั๋วคืน จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ และในตัวตั๋วเองก็มีมูลค่ามีราคา เช่น แคชเชียร์เช็ค ก็มีมูลค่าเท่าๆกับจำนวนเงินบนเช็คเอง เช็คใช้ไปชำระ หนี้ได้ แต่สัญญาทั่วๆไปไม่สามารถเอาไปชำระหนี้ได้ เช่นสัญญากู้มี แค่สิทธิทางหนี้ ที่จะเรียกให้ลูกหนี้รับผิดตามสัญญาเท่านั้น

20 3.วัตถุแห่งหนี้ต้องเป็นเงินเท่านั้น
ลักษณะของตั๋วเงินอีกประการหนึ่ง คือ ต้องเป็นหนี้เงิน จะเป็นหนี้กระทำ การ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สินไม่ได้ เนื่องจากเงินตราไม่มี ปัญหาเรื่องคุณภาพ หากยอมให้มีการชำระหนี้ตามตั๋วด้วยทรัพย์สิน หรือการกระทำการ งดเว้นกระทำการ ย่อมเกิดความไม่มั่นคงแน่นอน เช่น ออกตั๋วสั่ง ก จ่ายข้าวสารแก่ผู้ถือ 100 กระสอบ ปัญหาคือ ผู้ถือ อาจไม่ยอมรับข้าวสารโดยอ้างว่ามูลค่าน้อยกว่าหนี้ตน หรือข้าวสารมี คุณภาพไม่ดี เกิดปัญหาสภาพคล่องในทางธุรกิจทันที ที่ว่าต้องเป็นเงินตรานั้น จะเป็นเงินสกุลใดก็ได้ ทั้งไทยและเทศ ถ้าตั๋วเงินสั่งจ่ายทั้งเงินและทรัพย์สินอื่นด้วย เช่นนี้ มาตรา 899 บัญญัติว่า ข้อความใดกฎหมายมิได้อนุญาตให้เขียนลงตั๋วไว้ หากไป เขียนย่อมไม่มีผลบังคับใดๆ

21 4.ตั๋วเงินเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้
ตั๋วเงินย่อมโอนแก่กันโดยการสลักหลังและส่งมอบ แต่ไม่จำต้อง ทำเป็นหนังสือ และไม่จำต้องแจ้งแก่ลูกหนี้แห่งสิทธิทราบเช่นที่ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ ตามมาตรา 306 พึงกระทำ คุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริต แม้ผู้โอนจะได้ตั๋วมามิชอบ หรือมีข้อ ต่อสู้ แต่ผู้รับสลักหลัง หรือผู้ทรงตั๋วย่อมได้รับความคุ้มครองใน การเรียกให้บุคคลใดๆก็ตามที่ลงลายมือชื่อในตั๋วรับผิดต่อตนได้ แม้ผู้นั้นไม่มีความสัมพันธ์ ไม่ได้เป็นหนี้กับผู้ทรงโดยตรงแต่อย่าง ใด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและความน่าเชื่อถือในการใช้ตั๋ว เงินแทนการใช้เงินสด

22 5.คู่สัญญาไม่จำกัดฝ่าย
ตามปกติเวลาที่ทำสัญญาโดยทั่วไป เรามักจะทราบตัวและ จำนวนคู่สัญญาอีกฝ่าย แต่ด้วยการที่ตั๋วเงินเป็นตราสารที่ใช้ ชำระหนี้ได้ รวมทั้งยังเปลี่ยนมือได้ง่ายดังนั้นผู้จ่ายเงินย่อมไม่ อาจทราบได้แน่ชัดว่า ผู้ใดในที่สุดแล้วจะเป็นผู้รับเงิน จนกว่าจะ มีการขอให้รับรอง หรือจ่ายเงินตามตั๋วนั้นๆ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วไว้ในความยึดถือคน สุดท้ายย่อมทราบจำนวนคู่สัญญา แต่คู่สัญญาตอนต้นผู้ออกตั๋ว อาจไม่เคยรู้จักผู้ที่จะรับตั๋วเลยก็เป็นได้

23 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

24 ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note) เช็ค(Cheque)
ประเภทของตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note) เช็ค(Cheque)

25 ผู้รับเงินหรือผู้ถือ
ตั๋วแลกเงิน ผู้รับเงินหรือผู้ถือ ผู้สั่งจ่าย ผู้จ่าย

26 รายละเอียดที่ต้องระบุ
ข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วแลกเงิน” มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ระบุชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน กำหนดวันและสถานที่จ่ายเงิน วันเดือนปี สถานที่ออกตั๋ว ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

27

28 ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้รับเงิน ผู้ออกตั๋ว

29 รายละเอียดที่ต้องระบุ
ข้อความบอกว่าเป็น “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ระบุชื่อผู้ออกตั๋วและผู้รับเงิน มีวันถึงกำหนดใช้เงิน มีสถานที่ใช้เงิน วันเดือนปี สถานที่ออกตั๋ว ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

30

31 ผู้รับเงินหรือผู้ถือ
เช็ค ผู้สั่งจ่าย ผู้รับเงินหรือผู้ถือ ธนาคาร

32 รายละเอียดที่ต้องระบุ
ข้อความบอกว่าเป็น “เช็ค” มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ระบุชื่อธนาคารและผู้รับเงิน มีสถานที่ใช้เงิน วันเดือนปี สถานที่ออกเช็ค ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

33

34

35 ลักษณะทั่วไปของสัญญาตั๋วเงิน
สัญญาตั๋วเงินเป็นสัญญาซึ่งเกิดขึ้นเพื่อชำระหนี้ให้แก่มูลหนี้อื่น และเป็นการ ชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่น สัญญาตั๋วเงินสัญญาตั๋วเงินเป็นการชำระหนี้ที่มีเงื่อนไขไม่ใช่การแปลงหนี้ ใหม่ สัญญาตั๋วเงินเป็นตราสารเปลี่ยนมือ สัญญาตั๋วเงินมีวัตถุแห่งหนี้ เป็นเงินตรา

36 1. สัญญาตั๋วเงินเป็นสัญญาซึ่งเกิดขึ้นเพื่อชำระหนี้ให้แก่มูลหนี้อื่น และเป็นการชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่น
ม.320 “อันการจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วน หรือ ให้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่า หาอาจจะบังคับได้ไม่” ม.321 “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป ถ้าชำระหนี้ด้วยออก ด้วยโอน หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือ ประทวนสินค้าท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวน สินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว”

37 1.1 สัญญาตั๋วเงินเป็นสัญญาซึ่งเกิดขึ้นเพื่อชำระหนี้ให้แก่มูลหนี้อื่น
ต้องมีมูลหนี้อื่น มูลหนี้ตั๋วเงินจึงจะสมบูรณ์ ถ้ามูลหนี้อื่นไม่มี มูลหนี้ตั๋วเงินก็ไม่ สมบูรณ์ ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาซื้อขาย เนื่องจากผู้ขายผิดนัด ส่งมอบทรัพย์ ผู้ขาย ผู้ซื้อ ชำระราคา= เงิน ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดตามสัญญา ตั๋วเงินต่อผู้ขาย สัญญาตั๋วเงิน

38 1.2 สัญญาตั๋วเงินเป็นสัญญาซึ่งเกิดขึ้นเพื่อชำระหนี้ให้แก่มูลหนี้อื่น และเป็นการชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่น
เจ้าหนี้ต้องยอมรับชำระหนี้ด้วยสัญญาตั๋วเงิน ลูกหนี้จึงจะชำระหนี้ด้วยสัญญา ตั๋วเงินได้ คืนเงิน ผู้ให้กู้ ผู้กู้ ตั๋วเงิน

39 ส่งมอบทรัพย์ ส.กู้ยืม ผู้ขาย ธนาคาร ผู้ซื้อ ชำระราคา= เงิน คืนเงิน ออกตั๋วเงิน โอนตั๋ว

40 2. สัญญาตั๋วเงินเป็นการชำระหนี้ที่มีเงื่อนไขไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่
2. สัญญาตั๋วเงินเป็นการชำระหนี้ที่มีเงื่อนไขไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ ม.321 “ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป ถ้าชำระหนี้ด้วยออก ด้วยโอน หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้าท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว”

41 ตราบใดที่สัญญาตั๋วเงินยังไม่มีการใช้เงิน คู่สัญญาย่อมมีมูลหนี้ที่ผูกพันกัน สองมูลหนี้ คือ มูลหนี้อันเป็นมูลเหตุของการออก โอน ตั๋วเงิน กับมูลหนี้ สัญญาตั๋วเงิน ถ้ามีการใช้เงินตามสัญญาตั๋วเงิน ก็จะเป็นเหตุให้สัญญาตั๋วเงินระงับเพราะ มีการใช้เงิน และทำให้มูลหนี้อันเป็นมูลเหตุของการออก โอน ตั๋วเงินตาม ไปด้วย ตาม ป.พ.พ. ม.321 ว.3

42 นิติกรรมที่ 1 นิติกรรมที่ 2 ส่งมอบทรัพย์ ผู้ขาย ผู้ซื้อ ชำระราคา= เงิน
สัญญาตั๋วเงิน

43 นิติกรรมที่หนึ่ง นิติกรรมที่หนึ่ง นิติกรรมที่สอง นิติกรรมที่สอง
ส่งมอบทรัพย์ ส.กู้ยืม ผู้ขาย ธนาคาร ผู้ซื้อ ชำระราคา= เงิน คืนเงิน โอนตั๋ว ออกตั๋วเงิน นิติกรรมที่สอง นิติกรรมที่สอง

44 3. สัญญาตั๋วเงินมีลักษณะเป็นตราสารเปลี่ยนมือ
3. สัญญาตั๋วเงินมีลักษณะเป็นตราสารเปลี่ยนมือ ต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนด ม.909, ม.983, ม.988 สามารถโอนได้ตามวิธีการโอนตราสารเปลี่ยนมือ ไม่ต้องโอนตาม วิธีการโอนสิทธิเรียกร้องสามัญ ม.918, ม.919 ให้ความคุ้มครองต่อผู้รับโอนตราสาร ม.312 ถ้าปราศจากตราสาร สิทธิตามสัญญาตั๋วเงินก็สูญสิ้นไปด้วย

45 4. สัญญาตั๋วเงินมีวัตถุแห่งหนี้ เป็นเงินตรา
4. สัญญาตั๋วเงินมีวัตถุแห่งหนี้ เป็นเงินตรา สัญญาตั๋วเงินเป็นการชำระหนี้ให้แก่มูลหนี้ ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา ดังนั้น สัญญาตั๋วเงินจึงมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา ธนาคาร ขึ้นเงิน ส่งมอบทรัพย์ เงิน ผู้ขาย ผู้ซื้อ ชำระราคา= เงิน เช็ค

46 ประเภทของสัญญาตั๋วเงิน
ม.898 “อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภทๆหนึ่ง คือตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่งคือเช็ค” -ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) -ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) -เช็ค (Cheque) สัญญาตั๋วเงิน -ตราสารเปลี่ยนมืออื่นๆ ไม่เป็นตั๋วเงิน เช่น ใบหุ้น ใบประทวนสินค้า L/C

47 ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)
ผู้จ่าย สัญญากู้ยืม (ผู้กู้) (ผู้ให้กู้) ผู้สั่งจ่าย ผู้รับเงิน ชำระเงินคืนด้วยการออกตั๋วเงิน

48 ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

49

50

51

52 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)
สัญญากู้ยืม (ผู้กู้) ธนาคาร .ข (ผู้ให้กู้) ผู้ออกตั๋ว ผู้รับเงิน ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

53

54

55 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่ ข. เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 60 วันนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

56 เช็ค (Cheque) ธนาคาร ผู้สั่งจ่าย ผู้รับเงิน สัญญาซื้อขาย ก ข (ผู้ขาย)
ออกตั๋วชำระหนี้ สัญญาซื้อขาย (ผู้ซื้อ) (ผู้ขาย)

57

58

59 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 โปรดจ่าย ค. หรือผู้ถือ จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) เช็คเลขที่ ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

60 -ข้อความที่กฎหมายบังคับว่าต้องมี
ตั๋วแลกเงิน การออกตั๋วแลกเงิน ข้อความซึ่งผู้สั่งจ่ายจะเขียนลงในสัญญาตั๋วแลกเงิน มีอยู่ 2 ลักษณะ -ข้อความที่กฎหมายบังคับว่าต้องมี -ข้อความที่สามารถเขียนเพิ่มลงไปได้(option)

61 ตั๋วแลกเงิน ม.908 “ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือที่บุคคลคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้สั่ง จ่าย สั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้จ่ายเงินให้แก่บุคคลอีก คนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

62 ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)
ม.908 “ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือที่บุคคลคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้สั่ง จ่าย สั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้จ่ายเงินให้แก่บุคคลอีก คนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน” ผู้จ่าย สัญญากู้ยืม (ผู้ให้กู้) (ผู้กู้) ผู้สั่งจ่าย ผู้รับเงิน ชำเงินคืนด้วยการออกตั๋วเงิน ตั๋วแลกเงิน

63 ข้อความที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีในตั๋วเงิน ม.909
ก. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ม.909 (1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ซึ่งจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่น ก็ได้ ตั๋วแลกเงิน Bill of Exchange ปรากฏที่ส่วนใดของตราสารนั้นก็ได้

64 ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

65 วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

66 ข. คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน ม.909 (2)
ข. 1 มีลักษณะเป็นคำสั่ง หมายถึง ข้อความที่ระบุให้ผู้จ่าย กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด(ใช้เงินให้แก่ผู้รับเงิน) “โปรดจ่าย ” “จ่าย ” “กรุณาจ่าย ” “ถ้าท่านจะกรุณา ” “ถ้าท่านเห็นใจ ”

67 ข. 2 คำสั่งนั้นจะต้องเป็นคำสั่งที่ปราศจากเงื่อนไขในการ จ่ายเงิน หมายความว่า หากผู้รับเงินนำตั๋วแลกเงินยื่นให้ ผู้จ่ายใช้เงินผู้จ่ายจะต้องจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นโดย ไม่มีเงื่อนไข ผู้จ่ายมีสิทธิเลือกที่จะจ่ายหรือไม่จ่าย ได้เท่านั้น ผู้จ่ายจะสร้างเงื่อนไขในการจ่ายเงินไม่ได้

68 ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

69 ขณะที่ ค. ยื่นตั๋วให้ ข.ใช้เงินนั้น ข. จะสร้างเงื่อนไข
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย ขณะที่ ค. ยื่นตั๋วให้ ข.ใช้เงินนั้น ข. จะสร้างเงื่อนไข ว่าต้องรอให้ตน ได้รับชำระหนี้จาก ก. ก่อนไม่ได้

70 ข. 3 คำสั่งนั้นจะต้องเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินอันเป็นจำนวน แน่นอน คำสั่งให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน
หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้จ่ายจะต้องจ่ายตามตั๋วแลก เงินนั้นจะต้องสามารถที่จะคิดคำนวณได้จากหน้าตั๋ว แลกเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนที่คงที่ แต่ต้องสามารถคิด คำนวณได้ เช่น ในตั๋วแลกเงินอาจจะมีการระบุ ดอกเบี้ยลงในตั๋วก็ได้

71 ค. ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย
ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่ายซึ่งหมายถึง บุคคลอันผู้สั่งจ่าย ออกคำสั่งให้เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน ซึ่งผู้จ่าย นั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ อนึ่งผู้จ่ายนั้นหากยังมิได้ลงลายมือชื่อในตั๋วก็ยังไม่มี ความรับผิดตามตั๋วเงิน คงเป็นฐานะเป็นเพียงบุคคล ที่ผู้ทรงจะนำตั๋วเงินนั้นไปยื่นให้ใช้เงินเท่านั้น

72 ง. วันถึงกำหนดใช้เงิน คือ วันที่ผู้ทรงจะนำตั๋วแลกเงินไปยื่นให้ผู้จ่าย หรือผู้รับรองใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้น

73 วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินนั้นจะเป็นวันใดวันหนึ่งตามที่ กำหนดไว้ในมาตรา 913 ก็ได้ กล่าวคือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ ได้แก่ วันใดวันหนึ่งอันผู้สั่งจ่าย กำหนดลงไว้เป็นอันแน่นอนว่าวันใด เช่น วันที่ 15 พ.ย. 2549 วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ ในวันที่ 15 พ.ย จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

74 2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เช่น “เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อสิ้นกำหนดเวลา 30 วันนับแต่วันออกตั๋วเงิน จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

75 ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว 30 วัน

76 เช่น ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามแก่.....นาย ค.......
3. เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น เมื่อทวงถาม ได้แก่ เมื่อผู้ทรงได้มีหนังสือบอกกล่าวทวง ถามให้ผู้จ่ายใช้เงิน เช่น ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามแก่.....นาย ค เมื่อได้เห็น ได้แก่ เมื่อผู้ทรงได้ยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายได้เห็นตั๋ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เงิน

77 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อทวงถามจำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

78 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

79 เช่น ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นเวลา 30 วันนับแต่ที่ได้เห็นตั๋วฉบับนี้
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น เช่น ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นเวลา 30 วันนับแต่ที่ได้เห็นตั๋วฉบับนี้ ตั๋วแลกเงินซึ่งมีกำหนดเวลาใช้เงินกรณีนี้ ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่น ให้ผู้จ่าย เห็นตั๋ว 2 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรก ยื่นให้ผู้จ่ายได้เห็น เพื่อเริ่มนับกำหนดเวลาใช้เงิน และครั้งที่สอง เป็นการยื่นตั๋วให้ ผู้จ่ายใช้เงินเมื่อถึงกำหนดเวลาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินซึ่งมีวันถึงกำหนดใช้เงินกรณีนี้ ผู้ทรงต้องนำตั๋วไป ยื่นให้รับรองภายใน 6 เดือนแต่วันที่ลงในตั๋ว ตามมาตรา 928 วรรคท้าย

80 ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อสิ้นเวลา 1 เดือนนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

81 ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว 6 เดือน ยื่นตั๋วให้รับรอง 1 เดือน

82 จ. สถานที่ใช้เงิน ได้แก่ สถานที่อันผู้ทรงจะนำตั๋วไปยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงิน ตั๋วแลกเงินที่มิได้ระบุสถานที่ใช้เงิน ตั๋วแลกเงินนั้นก็ไม่ เสียไป โดยกฎหมายให้ถือเอาภูมิลำเนาของผู้จ่ายเป็น สถานที่ใช้เงิน ตามมาตรา 910 วรรค 3

83 ฉ. ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ได้แก่ บุคคลอันผู้สั่งจ่าย สั่งให้ผู้จ่ายใช้เงินให้ ผู้สั่งจ่ายกำหนดตัวผู้รับเงินได้ 2 ลักษณะ ก. ชื่อ หรือยี่ห้อผู้รับเงิน ได้แก่ การที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดตัว บุคคลซึ่งจะเป็นผู้รับเงินไว้จำเพาะเจาะจง ชื่อ ได้แก่ ชื่อของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้ เช่น โปรดจ่าย นาย ค เช่น โปรดจ่าย บริษัท ค. จำกัด เช่น โปรดจ่าย นาย ค หรือตามคำสั่ง

84 ยี่ห้อผู้รับเงิน ได้แก่ ชื่อที่ใช้ในทางการค้า
เช่น โปรดจ่าย ห้างทองม้าทองคำ ข. คำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ได้แก่ การที่ผู้สั่งจ่ายมิได้กำหนดตัวผู้รับเงินไว้โดยจำเพาะ เจาะจง เช่น โปรดจ่าย นาย ค หรือผู้ถือ เช่น โปรดจ่าย บริษัท ค. จำกัด หรือผู้ถือ เช่น โปรดจ่าย ห้างทองม้าทองคำ....หรือผู้ถือ เช่น โปรดจ่าย หรือผู้ถือ เช่น โปรดจ่าย เงินสด หรือผู้ถือ

85 ช. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
วันที่ออกตั๋วเงิน วันที่ออกตั๋วเงิน ได้แก่ วันอันผู้สั่งจ่าย สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ให้แก่ผู้รับเงิน (เขียนตั๋ว และส่งมอบตั๋วให้แก่ผู้รับเงิน) ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ระบุวันที่ออกตั๋ว กฎหมายให้สิทธิผู้ ทรงคนใดคนหนึ่งลงวันที่ถูกต้องแท้จริงลงไปได้ ตามมาตรา 910 วรรคท้าย สถานที่ออกตั๋วเงิน ได้แก่ สถานที่อันผู้สั่งจ่ายได้สั่งจ่ายตั๋วให้แก่ ผู้รับเงิน

86 ซ. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ผู้สั่งจ่ายไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวบรรจง จะลง ลายมือชื่อด้วยลายเซ็นก็ได้ และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น ชื่อที่แท้จริงของตนเท่านั้น แต่ผู้สั่งจ่ายจะลงแกงใด เครื่องหมายอื่นใด หรือลงลาย พิมพ์นิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ ตามมาตรา 900 วรรค 2

87 ข้อสังเกต ตราสารซึ่งมีรายการไม่ครบถ้วนตาม ประการข้างต้น จะมีผลทำให้ตราสารนั้นๆไม่มี ลักษณะเป็นตั๋วแลกเงิน ตาม ม.910 ว.1 ยกเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ตาม ม.910 ว.2-ว.ท้าย

88 ข้อความอื่นๆซึ่งผู้สั่งจ่ายสามารถ กำหนดเพิ่มเติมได้

89 ข้อความอื่นๆที่ผู้สั่งจ่ายสามารถระบุลงในการออกตั๋วแลกเงินได้
1. ดอกเบี้ยในตั๋วเงิน ม.911 ดอกเบี้ยในตั๋วเงิน เป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากเจตนาของ คู่สัญญา มิใช่ดอกเบี้ยผิดนัด (ม.968(2)) ดอกเบี้ยในตั๋วเงิน จะกำหนดอัตราร้อยละเท่าไร ก็ได้ กฎหมายไม่ควบคุม ดอกเบี้ยในตั๋วเงิน จะเริ่มคิดดอกเบี้ยได้ นับแต่วันที่ออก ตั๋วเงิน ยกเว้นแต่จะกำหนดให้เริ่มต้นคิดได้ในวันอื่น

90 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000x15 บาท 100 ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

91 2. ข้อกำหนดลบล้างความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน ตาม มาตรา 915 (1)
ข้อกำหนดลบล้างความรับผิด คือ ข้อตกลงในสัญญาที่ผู้สั่งจ่าย จะไม่ยอมรับผิดต่อผู้ทรง หรือต่อบุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ในตั๋วเงิน เช่น ไล่เบี้ยข้าพเจ้าไม่ได้ (Without Recourse) ไม่ประกันการ รับรอง เป็นต้น ข้อกำหนดดังกล่าว จะมีผลทำให้ผู้ทรง(เจ้าหนี้) ไม่อาจที่จะ เรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดตามสัญญาตั๋วเงินได้ ม.915(1) เป็นข้อยกเว้นความรับผิดตาม ม. 900 วรรคแรก

92 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “จะไม่รับผิด ถ้าขึ้นเงินไม่ได้” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

93 3. ข้อกำหนดจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน ตาม มาตรา 915 (1)
ข้อกำหนดจำกัดความรับผิด คือ ข้อตกลงในสัญญาที่ผู้สั่งจ่าย จะยอมรับผิดอย่างจำกัดจำนวนต่อผู้ทรง หรือต่อบุคคลผู้ เป็นเจ้าหนี้ในตั๋วเงิน เช่น หากตั๋วขาดความเชื่อถือจะรับผิดต่อเมื่อไล่เบี้ยผู้สั่ง จ่ายได้ไม่เต็มจำนวน เป็นต้น ข้อกำหนดจำกัดความรับผิด มีผลทำให้ผู้สั่งจ่ายรับผิด อย่างจำกัด ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน

94 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “จะรับผิดเพียง 5,000 บาท” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

95 4. ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหน้าที่ทั้งหลาย อันผู้ทรงจะพึงต้องมีแก่ตนบางอย่างหรือทั้งหมด ตามมาตรา 915 (2) ข้อกำหนดยอมลดละให้แก่ผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหน้าที่ทั้งหลาย ได้แก่ ข้อตกลงซึ่งยอมปลดหน้าที่ให้แก่ผู้ทรง ซึ่งจะมีผลทำ ให้ผู้ทรงไม่ต้องทำหน้าที่นั้นๆอีกต่อไป อาทิเช่น ข้อกำหนดไม่ต้องทำคำคัดค้าน เมื่อตั๋วขาดความ เชื่อถือการไม่ใช้เงิน หรือการไม่รับรองตั๋วเงิน (Without protest) หรือข้อกำหนดไม่ต้องทำคำบอกกล่าวการไม่ รับรองหรือใช้เงิน (Without Notice)

96 วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “ไม่ต้องมีคำคัดค้าน” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

97 โดยปกติ เมื่อผู้ทรงยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายใช้เงิน หากผู้จ่ายไม่ ยอมใช้เงิน กฎหมายกำหนดให้ผู้ทรงต้องทำหลักฐานการ ไม่ใช้เงิน ฉบับหนึ่งเรียกว่า “คำคัดค้าน” ตาม ม.960 หากผู้ทรงไม่ทำคำคัดค้าน จะมีผลทำให้ผู้ทรงเสียสิทธิไล่ เบี้ยต่อบรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่นๆใน ตั๋วแลกเงิน ตาม ม. 973(2) และ ว.2

98 ทำคำคัดค้าน ไล่เบี้ยได้ ไม่ใช้เงิน สิ้นสิทธิไล่เบี้ย ไม่ทำคำคัดค้าน ยื่นให้ใช้เงิน ใช้เงิน หนี้ระงับ

99 5. ข้อกำหนด “เปลี่ยนมือไม่ได้” ม. 917 วรรค 2
ข้อกำหนดห้ามเปลี่ยนมือ หรือเปลี่ยนมือไม่ได้ ได้แก่ ข้อกำหนดห้ามโอนตั๋วแลกเงิน นั่นเอง ข้อกำหนดห้ามเปลี่ยนมือ ผู้สั่งจ่ายจะต้องระบุลงด้านหน้า ตั๋วเงินเท่านั้น หากระบุลงด้านหลังตั๋วแลกเงิน จะไม่มีผล เป็นการห้ามโอน ข้อกำหนดห้ามเปลี่ยนมือ ผู้สั่งจ่ายจะระบุเป็นภาษาใดก็ได้ เช่น “ห้ามเปลี่ยนมือ “หรือ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “บัญชี ผู้รับเงินเท่านั้น” หรือ “account payee only” หรือ“A/C payee only”

100 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

101 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “ห้ามโอน” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

102 โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท
วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อเห็นตั๋วแลกเงินฉบับนี้จำนวน 10,000 บาท “A/C PAYEE ONLY” ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

103 ตั๋วแลกเงินที่มีข้อกำหนดห้ามเปลี่ยนมือ จะมีผล ดังต่อไปนี้
ก. ไม่สามารถโอนได้อย่างวิธีการโอนตั๋วแลกเงินปกติ โอนโดยการ สลักหลังและส่งมอบ หรือ ส่งมอบ ไม่ได้ ต้องโอนตั๋ว เช่นเดียวกับการโอนหนี้สามัญตาม มาตรา 306 คือ ต้องทำเป็นหนังสือโอนระหว่างผู้โอน และผู้รับโอน กับส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่ผู้รับโอน ด้วย

104 โอน โอน ผู้รับโอน ผู้รับโอน ผู้โอน ผู้โอน

105 บทบัญญัติทั่วไปของสัญญา
มาตรา ๘๙๘ ตั๋วเงินมี ๓ ประเภทคือ ตั๋วแลกเงิน ใช้เงิน เช็ค ดังนั้น ใบรับฝากเงิน(C.D.) ใบกำกับของ(Invoice of Good) ใบตราส่ง(Bill of landing) เลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ใบประทวนสินค้า(Warrant) เอกสารใบสินเชื่อ (Trust Receipt)

106 เลตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit หรือ L/C)
หมายความว่า เป็นเอกสารหรือคำสั่งที่ออกโดยธนาคารหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่ง ณ ที่หนึ่งให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นที่จ่าหน้าถึง ณ ที่อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลที่ระบุไว้ เงินที่ จ่ายไปนั้นจะเรียกคืนได้จากผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต การชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตนี้เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อสินค้า ได้ตกลงกับ ธนาคารของตน (Opening Bank) ให้ออก เลตเตอร์ออฟเครดิตให้กับผู้ขายสินค้า โดยธนาคารตกลงจะ จ่ายเงินให้กับผู้ขายตามจำนวนที่ระบุภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ผู้ขาย จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดในเลตเตอร์ออฟ เครดิตนั้น

107 หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขาย ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้า ด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วน ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อ ประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้ ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะ หลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและ ถูก ต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที


ดาวน์โหลด ppt บัญชีเดินสะพัดและตั๋วเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google