งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สัญญาฝากทรัพย์ (Deposit)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สัญญาฝากทรัพย์ (Deposit)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สัญญาฝากทรัพย์ (Deposit)
อ.สุธาสินี สุภา

2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้จัดให้ฝากทรัพย์เป็นเอกเทศสัญญาลักษณะที่ 10 แห่งบรรพ 3 มี 23 มาตรา ตั้งแต่มาตรา แบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน หมวดที่ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวดที่ 2 ว่าด้วยวิธีการเฉพาะฝากเงิน หมวดที่ 3 ว่าด้วยวิธีการเฉพาะเจ้าสำนักโรงแรม

3 อย่างไรก็ตามยังมีสัญญาฝากทรัพย์อีก 2 ชนิดที่ไม่ได้มีการวางบทบัญญัติโดยตรง ได้แก่ สัญญาฝากทรัพย์กรณีจำเป็น (necessary deposit) และสัญญาฝากทรัพย์กรณีพิเศษ (irregulary deposit)

4 ลักษณะสัญญาฝากทรัพย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657 จากบทนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการฝากทรัพย์แยกพิจารณาได้ 3 ประการ คือ เป็นสัญญา ผู้ฝากส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับฝาก

5 สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จ มีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญาจ้างแรงงาน โดยเฉพาะกรณีที่สัญญามีวัตถุประสงค์เป็นการให้รักษาทรัพย์และมีการให้ค่าตอบแทนเพื่อการนั้น ฎ 685/2521และ1616/2519 กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาป่าไม้ของกลาง ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังคงอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่าระบุชื่อ “สัญญาจ้างเฝ้ารักษา” มีข้อสัญญาว่า ผู้รับจ้างยอมรับเฝ้าไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน นับจากวันทำสัญญา ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้าขาดหรือหายหรือเป็นอันตรายระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมเวลาใดก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ทราบ

6 ฎ 1486/2526 โจทก์ซื้อปุ๋ยจากจำเลย จำเลยส่งมอบปุ๋ยให้โจทก์ตรวจนับตามจำนวนและคุณภาพถูกต้องแล้ว การที่จำเลยเก็บรักษาปุ๋ยไว้ ณ โกดังของจำเลยเพื่อจ่ายให้แก่ผู้รับตามใบสั่งย้ายปุ๋ยของโจทก์เป็นคราวๆ จนกว่าจะครบจำนวนถือได้ว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ไว้

7 ไม่มีการส่งมอบ ฎ 1538/2526 ผู้นำรถยนต์เข้าไปจอดในสวนสัตว์ดุสิตขององค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จะต้องหาที่จอดรถเอง เก็บกุญแจรถเอง และรถยนต์ที่นำมาจอดและเงินที่เรียกเก็บเมื่อรถเข้าไปก็เป็นค่าธรรมเนียมผ่านประตู มิใช่บำเหน็จค่าฝาก การที่จำเลยจัดพนักงานไว้คอยฉีกหรือตรวจบัตรจอดรถยนต์ตอนนำออกจากสวนสัตว์เป็นเพียงมาตรการช่วยรักษาความปลอดภัยให้เท่านั้น

8 ไม่มีการส่งมอบ ฎ 1819/2527 นำรถยนต์พิพาทไปจอดในสยามสแควร์โดยเป็นผู้เลือกสถานที่จอดรถเองใส่กุญแจล็อคครัชและล็อคห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อคประตูทุกบานและเก็บกุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างจอดรถการครอบครองอยู่ที่ ว. ตลอดเวลา ค่าบริการจอดรถเสียครั้งละ 3 บาทใช้ได้ตลอดวัน เจ้าของรถจะเคลื่อนย้ายไปจอดที่แห่งใดก็ได้ภายในสยามสแควร์โดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบ

9 มีการส่งมอบหรือไม่? ฎ 7287/2539 ด และ ห นำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณที่จอดรถที่จำเลยทั้งสองจัดให้มีขึ้นตามที่พนักงานของจำเลยทั้งสองว่าข้างในมีที่จอดรถ โดยได้ชำระเงินค่าจอดให้พนักงาน และได้ใบรับซึ่งมีข้อความว่าบัตรจอดรถ โดย ด และ ห ยังคงเก็บกุญแจรถไว้เองแล้วไปจากบริเวณที่จอดรถ

10 3. ผู้รับฝากตกลงจะเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้รับไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้
การเก็บรักษาไว้ในอารักขานั้น หมายถึง การต้องสงวนดูแลทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง ไม่ให้เกิดการสูญหายหรือบุบสลาย

11 กรณีไม่ใช่เป็นการเก็บรักษาไว้ในอารักขา
ฎ 455/2489 ยายยกที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ ย. บิดาโจทก์เป็นผู้รับมอบทรัพย์ในฐานะเป็นผู้ปกครองโจทก์ ฎ 826/2486 จำเลยรับสิ่งของต่างๆจากโจทก์เพื่อเอาไปขายและทำหนังสือสัญญาฝากให้โจทก์ยึดถือไว้นั้น

12 กรณีเป็นการเก็บรักษาไว้อารักขา
โจทก์นำรถยนต์ไปจอดข้างปั๊มน้ำมันของจำเลย และได้มอบกุญแจรถยนต์ให้แก่ลูกจ้างของจำเลย ลูกจ้างจำเลยนำรถยนต์ของโจทก์เข้าไปเก็บในที่เคยเก็บรถและโจทก์จ่ายค่ารับฝากให้จำเลยเมื่อเอารถคืน พนักงานของภัตตาคารรับรถยนต์และกุญแจรถจากผู้มากินอาหารในภัตตาคาร โดยนำรถไปจอดในที่จอดรถซึ่งเป็นถนนสาธารณะหน้าภัตตาคาร แล้วเก็บกุญแจไว้ที่แผงเก็บกุญแจมีใบรับฝากให้โจทก์ไว้

13 กรณีเป็นการเก็บรักษาไว้อารักขา
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถจึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ ประกอบกับฝ่ายจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ที่นำรถมาฝาก แล้วจำเลยมอบบัตรให้มีข้อความ “ธ.ไฟบริการรับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ(กรุณาอย่าทำบัตรหาย)” โดยมีหมายเลขกำกับอันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลย ดังนี้ มีผลเท่ากับว่าฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของจำเลยแล้ว ฎ 9278/2542

14 หากพฤติกรรมถือว่าได้รับมอบทรัพย์สินไว้เพื่ออารักขาของตน แม้จะประกาศว่าให้เช่าเป็นที่จอดรถ รวมทั้งระบุข้อความในใบรับเงินและเงื่อนไขต่างๆ ให้ไม่ต้องรับผิด ก็เป็นการกระทำของฝ่ายเดียว บุคคลภายนอกมิได้ตกลงตามนั้น เป็นสัญญาฝากทรัพย์ ดู ฎ 331/2524

15 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2541 โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจไว้กับจำเลยเพื่อจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณี ที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอดพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่าสถานที่จอดรถไม่

16 สัญญาฝากทรัพย์ ต้องปรากฏว่ามีข้อตกลงโดยชัดแจ้งว่าจะเก็บรักษาทรัพย์ไว้ในอารักขาเป็นสำคัญ หากปราศจากข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝากทรัพย์ แม้จะมีการส่งมอบทรัพย์แล้วก็ตาม เช่น สัญญาตัวแทน สัญญาจ้างทำของ สัญญารับขน สัญญายืม สัญญาจำนำ หนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้หลักซึ่งเกิดจากสัญญา

17 ปัจจุบันมีการให้บริการจอดรถ ไม่ว่าห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สวนสัตว์ ไม่ว่าจะเก็บค่าบริการหรือไม่ รถยนต์ที่จอดสูญหายหรือเสียหาย เจ้าของสถานที่ต้องรับผิดชอบหรือไม่ และเป็นการรับฝากรถหรือไม่

18 รถหายในห้างฯใครรับผิดชอบ
โดยปกติถ้าผู้ให้บริการได้จัดเก็บเงินเป็นค่าจอดรถ ค่ารับฝากรถระบุไว้ชัดเจนว่า "รับฝากรถ" ซึ่งเจ้าของสถานที่ผู้รับฝากจะต้องดูแลรักษารถที่ลูกค้านำไปจอดไว้เป็นอย่างดีที่จะต้องพึงดูแลรักษา ถ้าหากรถมีการสูญหายผู้รับฝากก็จะต้องรับผิดชดใช้ราคาค่าเสียหายนั้น สัญญาฝากทรัพย์

19 แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจ้าของสถานที่ว่าจ้างจากบริษัทรักษาความปลอดภัยมาดูแลโดยเฉพาะ และให้เจ้าของรถรับบัตรอย่างเดียว โดยระบุว่าจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ถ้าเกิดกรณีรถหายไปทั้ง ๆ ที่บัตรจอดรถยังคงอยู่กับเจ้าของที่แท้จริงแล้ว ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยนั้น ที่ไม่ตรวจตราดูแลทำให้รถผู้อื่นเขาหายไป การดูแลทรัพย์สินนั้น ละเมิด

20 บริษัทรักษาความปลอดภัย ซึ่งเป็นนายจ้างก็ต้องร่วมรับผิดด้วยในผลการที่ลูกจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้น ส่วนเจ้าของสถานที่หรือห้าง ก็ไม่พ้นความผิดเนื่องจากเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยมาดูแลทรัพย์สินของลูกค้า จึงถือว่าเป็นตัวการและบริษัทรักษาความปลอดภัยเป็นตัวแทน ฎ 9398/2538

21 ถ้าบัตรจอดรถไม่ได้อยู่ที่เจ้าของรถ ไม่ถือว่ากระทำโดยประมาทเลิอเล่อ จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2549 บัตรจอดรถของจำเลยที่ 2 ต้องยังอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์มีบัตรจอดรถของจำเลยที่ 2 มาแสดงว่า บัตรจอดรถยังอยู่กับโจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทแต่พนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อปล่อยรถยนต์พิพาทออกไปโดยไม่ได้ตรวจบัตรจอดรถ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายไป

22 แม้ไม่ระบุว่าบริการฝากทรัพย์ แต่หากการปฏิบัติเข้าลักษณะฝากทรัพย์ ก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาฝากทรัพย์แล้ว
บริเวณซุ้มหน้าคลับเฮ้าส์จุดที่รับส่งถุงกอล์ฟ ไม่มีข้อความระบุเป็นจุดรับฝาก ถุงกอล์ฟและไม่มีการออกหลักฐานการรับฝาก แต่ทางปฏิบัติของสนามกอล์ฟและลูกค้าที่มาเล่นทราบกันว่าบริเวณดังกล่าว เป็นจุดพักถุงกอล์ฟ เมื่อเล่นเสร็จแคดดี้จะนำถุงกอล์ฟมาส่ง ณ จุดดังกล่าว การปฏิบัติระหว่างสนามกอล์ฟกับลูกค้าที่มาเล่น จึงเข้าลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๗     (ฎีกาที่ ๕๑๓/๒๕๕๔)

23 4. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนแต่อาจมีค่าตอบแทนได้ มาตรา 658 “ถ้าโดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่า เขารับฝากทรัพย์เพื่อได้รับบำเหน็จค่าฝากทรัพย์เท่านั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าเป็นอันได้ตกลงแล้วโดยปริยายว่ามีบำเหน็จเช่นนั้น”

24 5. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์
5. เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้รับฝากไม่ได้ทำผิดหน้าที่ของตน และปรากฏว่าทรัพย์ที่ฝากนั้นเกิดหายหรือบุบสลายผู้ฝากที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่อาจเรียกร้องให้ผู้รับฝากรับผิดได้ 6. วัตถุแห่งสัญญาฝากทรัพย์ 7. เป็นสัญญาที่ผู้ฝากสามารถเรียกเอาทรัพย์ซึ่งฝากคืนได้ตลอดเวลา

25 ส่วนที่ 1 สัญญาฝากทรัพย์ทั่วไป (Voluntary Deposit)
ผลแห่งสัญญา 1.หนี้หรือหน้าที่ของผู้รับฝาก มีหน้าที่หลักอันเกิดจากสัญญาฝากทรัพย์ 2 ประการ 1.1 การสงวนรักษาทรัพย์สินที่รับฝาก ก. การใช้ความระมัดระวังในการสงวนรักษาทรัพย์ ม. 659

26 (1) การฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากผู้รับฝากจะต้องใช้ความระมัดระวังรักษาทรัพย์ที่ฝากเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตน

27 ฎ 2106/2508 จำเลยขายข้าวให้โจทก์แล้วรับฝากในยุ้งข้าวของจำเลยโดยไม่มีบำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย จำเลยให้โจทก์มารับข้าว โจทก์ไม่มา จำเลยจึงขายข้าวไปเพราะเกรงว่าน้ำจะท่วมเสียหาย เป็นการขายหลังจากจำเลยขายข้าวของตนนานแล้ว ดังนี้ถือว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากด้วยการทำให้เปล่าได้ใช้ความระมัดระวังสงวนรักษาทรัพย์ที่รับฝากไว้เหมือนเช่นที่ได้ประพฤติในกิจการของตนเอง

28 การฝากทรัพย์ที่มีค่าบำเหน็จ ผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนพึงประพฤติและใช้ฝีมือเพื่อการสงวนรักษา ฎ 6425/2539

29 (3) ผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่ธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น

30 โรงแรมรับฝากสุนัข

31 ห้องเย็นรับฝากสินค้า

32 นายวานิช นำลำไย 1,000 เข่งไปฝากแช่เย็นในห้องเย็นของบริษัทเอ เป็นเวลา 1 เดือนโดยบริษัทเอคิดค่าฝากเป็นรายเข่งแล้วเข้าเก็บไว้ในห้องเย็นเช่นของอื่นๆ โดยใช้อุณหภูมิ องศาเซลเซียส ซึ่งตามปกติแล้วลำไยเก็บในห้องเย็นในความเย็นลบ 5 องศาเซลเซียส แต่บริษัทเอไม่เคยรับฝากลำไย ลำไยเน่าเสียหายหมดคิดเป็นเงิน 20,000 บาท ดังนี้บริษัทเอต้องรับผิดชดใช้เพราะความเย็นไม่พอ ไม่ระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาเท่าที่จะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการห้องเย็นที่ตนมีวิชาชีพ

33 ธนาคารพาณิชย์

34 กรณีศึกษา คุณหญิงฝอยทองฝากเงินไว้กับธนาคาร 3 ล้านบาท วันดีคืนดีก็มีบุคคลอื่นปลอมลายมือชื่อไปถอนเงินไปทั้งหมด สงสัยว่าจะเป็นพนักงานธนาคารเป็นผู้ถอนเงิน โดยคุณหญิงไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ได้ปรับสมุดเงินฝากเป็นเวลานาน เช่นนี้ใครจะต้องรับผิดชอบ ? เจ้าของเงินที่ไม่ได้ปรับสมุดเงินฝากเป็นเวลานาน ต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่?

35 ฝากเงินไว้กับธนาคาร แล้วต่อมาเงินในบัญชีเกิดสูญหายไปโดยเจ้าของบัญชีไม่ได้เบิกถอน  กรณีนี้หากมีการพิสูจน์ได้ว่า เงินในบัญชีเงินฝากที่สูญหายไปนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคารแล้ว  ธนาคารจะต้องรับผิด จะปฏิเสธไม่ได้  เพราะการฝากเงินกับธนาคารเป็นการฝากเงินที่ถือว่ามีบำเหน็จ เพราะมีการเก็บเงินค่าธรรมเนียมค่าดูแลบัญชีทุกปี

36 ฎีกาที่ 880/2546 ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินไม่เหมือนกับลายมือชื่อ โจทก์ในตัวอย่างลายมือชื่อในสมุดเงินฝาก และคำขอเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยชัดแจ้ง เพียงแต่คล้ายกันเท่านั้น พฤตการณ์ชี้ชัดว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการจ่าย เงินให้แก่จำเลยที่ 2 หากพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้ความละเอียดรอบคอบ และ ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพธนาคารแล้ว ก็ย่อมจะทราบได้ว่า ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินเป็นลายมือชื่อปลอม และจำเลยที่ 2 ก็จะไม่สามารถถอน เงินฝากจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ไปได้                             

37  แม้ในปกหน้าด้านในของสมุดเงินฝากจะมีข้อความให้ผู้ฝากเงิน เป็นผู้เก็บรักษาสมุดเงินฝากเองก็ตาม ก็เป็นเพียงคำแนะนำมิใช่ข้อตกลงในการ ฝากเงิน ส่วนในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากนั้นก็ไม่ได้มีเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าผู้ ฝากหรือโจทก์จะต้องเก็บรักษาสมุดเงินฝากไว้เอง คงมีแต่คำแนะนำว่าควรเก็บไว้ ในที่ปลอดภัยเท่านั้น

38 ฎ 2924/2522 ธนาคารรับฝากเงินเป็นอาชีพโดยมีค่าบำเหน็จเอาเงินไปหาประโยชน์ ต้องใช้ความระมัดระวังและความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คที่ลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไป ถือว่าธนาคารประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิด หักบัญชีเงินฝากผู้สั่งจ่ายไม่ได้

39 ฎีกาที่ 520/2554 พนักงานของจำเลยทุจริตลักลอบเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าต่างๆ จำนวน 34 บัญชี รวมทั้งรายบัญชีของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลบัญชีเงินฝากของโจทก์อันเป็น การปฏิบัติผิดสัญญา ได้ความว่าโจทก์ฝากเงินประเภทประจำ 3 ปี กรณีเป็นเรื่องปกติวิสัยที่เจ้าของบัญชีจะอุ่นใจมิได้ติดตามผลในบัญชีเงิน ฝากจนกว่าจะครบกำหนดตามระยะเวลาที่กำหนด การที่โจทก์มิได้ไปติดต่อรับดอกเบี้ยจึงมิใช่เรื่องผิดวิสัยและไม่ใช่ความ ผิดของโจทก์เนื่องจากโจทก์เป็นลูกค้าของจำเลย มิใช่ผู้มีหน้าที่ระมัดระวังดูแลทรัพย์สินที่ตนฝาก

40 จำเลยผิดสัญญาฝากเงินไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดา จะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้นในการดูแลเงิน ฝากของโจทก์ เมื่อเงินฝากของโจทก์ถูกเบิกถอนไปจนหมด จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์

41 กรณีศึกษา มีคนร้ายงัดบ้านและลักทรัพย์ไปหลายรายการรวมทั้งสมุดฝากเงินและบัตรประชาชน ต่อมาคนร้ายนำสมุดฝากเงินไปถอนเงินจากธนาคารไป ธนาคารต้องรับผิดคืนเงินหรือไม่

42 ลูกความทำสัญญาฝากเงินและเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้กับธนาคารก
ลูกความทำสัญญาฝากเงินและเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ไว้กับธนาคารก. ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม 2549 ได้มีคนร้ายงัดบ้านและลักทรัพย์ไปหลายรายการและยังลักสมุดฝากเงิน พร้อมบัตรประชาชนดังกล่าวไป ในวันนั้นลูกความไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันทีและในวันเดียวกัน ลูกความยังไม่ได้แจ้งอายัดเงินฝากในบัญชีเงินฝาก ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม 2549 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์มีหญิงคนหนึ่งนำสมุดเงินฝากของลูกความไปถอนเงินจำนวน 280,000 บาท ที่ธนาคาร ก. สาขาย่อยฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต โดยธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่หญิงคนดังกล่าวไป

43 ฎีกา 268/2556 ธนาคารผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะยังต้องรับผิดต่อผู้ฝากเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม

44 ผู้รับฝากต้องไม่ใช้สอยทรัพย์สินที่รับฝาก หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือให้บุคคลภายนอกเก็บรักษา เว้นแต่ผู้ฝากอนุญาต ม “ถ้าผู้ฝากมิได้อนุญาต และผู้รับฝากเอาทรัพย์สินซึ่ง ฝากนั้นออกมาใช้สอยเอง หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือ ให้บุคคลภายนอกเก็บรักษาไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจะต้องรับผิดเมื่อ ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นสูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะ เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สิน นั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

45 ตัวอย่าง นายหนึ่งรับฝากม้าแข่งจากนายสอง นายหนึ่งเอาม้าแข่งไปฝากกับนายสามดูแลรักษาอีกอย่างหนึ่งแล้วถูกน้ำท่วมตาย ดังนี้ นายหนึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ราคาม้าแข่งแก่นายสอง แม้ม้าแข่งตายเพราะน้ำท่วมอันเป็นเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 660

46 - การยินยอมของผู้ฝาก จะทำให้ผู้รับฝากไม่ต้องรับผิดในกรณีที่ทรัพย์ที่ฝากสูญหายหรือบุบสลายหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

47 กรณีที่ผู้ฝากยอมให้ผู้รับฝากใช้ทรัพย์ซึ่งฝาก
ต้องสงวนทรัพย์สินตามมาตรา 659 ต้องใช้ทรัพย์ตามสภาพแห่งทรัพย์ ม. 643 เสมือนผู้ยืมตามสัญญายืมใช้คงรูป

48 กรณีที่ผู้ฝากยินยอมให้บุคคลภายนอกใช้ทรัพย์ซึ่งฝาก
ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก ผู้รับฝากหลุดพ้นความรับผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ฝากในขณะบุคคลภายนอกใช้ทรัพย์นั้น

49 กรณีให้บุคคลภายนอกเก็บรักษา
1. กรณีผู้ฝากยินยอมให้ผู้รับฝากเป็นผู้เลือกเอง เรื่องตัวแทนช่วง (ผู้รับฝากช่วง) ผู้ฝากกับผู้รับฝากช่วงไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังนั้นไม่สามารถฟ้องให้รับผิดตามสัญญาได้ แต่ฟ้องรับผิดฐานละเมิดได้ ผู้ฝากมีการระบุตัวบุคคลภายนอกไว้แล้ว มีผลให้ผู้ฝากและบุคคลภายนอกมีนิติสัมพันธ์กันโดยตรง รับผิดได้ตาม ม ผู้รับฝากไม่ต้องรับผิด

50 ค. ผู้รับฝากต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากในกรณีที่บุคคลภายนอกได้ฟ้องเรียกเอาทรัพย์ซึ่งฝาก ม.661 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สินซึ่งฝาก และยื่นฟ้องผู้รับฝากก็ดี หรือยึดทรัพย์สินนั้นก็ดี ผู้รับฝากต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยพลัน”

51 1.2 การคืนทรัพย์ที่ฝาก ก. เวลาในการคืนทรัพย์ที่ฝาก - ผู้รับฝากจะคืนทรัพย์ซึ่งฝากก่อนกำหนดไม่ได้ ม. 662 - ผู้รับฝากต้องคืนทรัพย์ที่ฝากตามที่ผู้ฝากเรียกให้ส่งคืนไม่ว่าในเวลาใดๆ ม.663 เช่น นายใหญ่รับฝากม้าจากนายเล็กโดยนายใหญ่มีสิทธิเอาม้าไปรับจ้าง ต่อมาอีก 5 วันนายเล็กไปเอาม้าคืนในขณะที่นายใหญ่กำลังเอาม้าออกรับจ้าง ทำให้นายใหญ่ขาดรายได้ จึงไม่ยอมคืนให้ ดังนี้นายใหญ่ต้องยอมคืนม้าเพราะฝากม้าไม่มีกำหนดเวลา - ผู้รับฝากสามารถคืนทรัพย์ซึ่งฝากได้ทุกเมื่อ ถ้าเป็นการฝากทรัพย์ที่ไม่มีกำหนด ม. 664

52 ข. บุคคลที่ต้องส่งคืน - ผู้ฝาก - ฝากในนามผู้ใดให้คืนแก่ผู้นั้น - บุคคลอื่นตามคำสั่งของผู้ฝาก - ทายาทของผู้ฝากเมื่อผู้ฝากถึงแก่ความตาย ต้องคืนดอกผลอันเกิดจากทรัพย์ซึ่งฝาก ม.666 เช่น นายแดงฝากกระบือตัวเมีย 1 ตัวไว้แก่นายดำเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างนั้นกระบือเกิดลูก 5 ตัวและหลาน 1 ตัว ดังนี้ กระบือทั้ง 7 ตัวเป็นของนายแดง จะยึดนำมาชำระหนี้ของนายดำไม่ได้ ง. สถานที่คืนทรัพย์

53 2. สิทธิของผู้รับฝาก - ผู้รับฝากมีสิทธิยึดหน่วง ม. 670 3. หนี้หรือหน้าที่ของผู้ฝาก 3.1 การเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์ซึ่งฝาก ม. 668 3.2 การเสียค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก ม. 667 3.3 การเสียบำเหน็จค่าฝาก ม. 669 3.4 การชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับฝาก

54 บทที่ 2 ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์
บทที่ 2 ความสิ้นสุดแห่งสัญญาฝากทรัพย์ สัญญาฝากทรัพย์ย่อมสิ้นสุดลงในกรณีต่อไปนี้ 1. เมื่อครบกำหนดตามเวลาที่ได้ตกลงกันในสัญญา 2. เมื่อมีการส่งคืนทรัพย์ซึ่งฝาก 3. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ม. 386,387 4. เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ซึ่งรับฝากเกิดสูญหายหรือวินาศทั้งหมด

55 1. การฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าบำเหน็จ 2. การฟ้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่าย
อายุความ 1. การฟ้องบังคับตามสิทธิอันเกิดจากสัญญาฝากทรัพย์ ม. 671 กฎหมายกำหนดให้ระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาเพื่อการฟ้องบังคับใน 3 กรณีดังต่อไปนี้ 1. การฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าบำเหน็จ 2. การฟ้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่าย 3. การฟ้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์

56 2) การฟ้องบังคับให้ส่งมอบทรัพย์ซึ่งฝากคืน หรือฟ้องให้ชดใช้ราคาแห่งทรัพย์ที่ฝาก อายุความ 10 ปีตามม. 193/30 กรณีผู้ฝากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะฟ้องเรียกคืนเวลาใดก็ได้ตามม. 1336

57 ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2546 นายเอฝากรถยนต์คันหนึ่งราคา 3 แสนบาทไว้แก่นาย บี ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2546 นาย บีเอารถยนต์ของนายเอไปขับชนกับต้นไม้ทำให้รถยนต์เสียหายเป็นเงิน 5,000 บาท วันที่ 2 ธันวาคม 2546 นาย เอ ไปทวงรถคืน นายบีปฏิเสธไม่คืนให้ การฝากรถยนต์คันนี้ไม่มีกำหนดเวลา อายุความเรียกคืนรถหรือใช้ราคา 300,000 บาทมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันรับฝากรถคือวันที่ 1 มกราคม ส่วนค่าเสียหาย 5,000 บาท เป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาคือ วันที่ 2 ธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นวันทวงรถคืน

58 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
โจทก์ฝากเงินไว้แก่จำเลย ต่อมามีบุคคลอื่นปลอมลายมือชื่อของโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อยอมให้ถอนเงินไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนตาม สัญญาฝากทรัพย์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยก็เพื่อแสดงว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะไม่กระทำตามหน้าที่ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม บัญญัติไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ดังที่จำเลยฎีกาไม่ สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติ อายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

59 ส่วนที่ 2 วิธีเฉพาะการฝากเงิน
1. หลักเกณฑ์ว่าด้วยการฝากทรัพย์ ม.672 ผลของการฝากเงินที่เป็นไปตามข้อสันนิฐาน 2.1 ผู้รับฝากมีสิทธิใช้เงินซึ่งฝากนั้น ม. 672 วรรค 2 2.2 ผู้ฝากไม่อาจเรียกให้คืนเงินก่อนกำหนด ม. 673

60 ฝากทรัพย์สินอื่น VS ฝากเงิน
1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ฝาก 1. กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้รับฝาก 2. ผู้รับฝากนำทรัพย์ออกใช้สอยไม่ได้ 2. ผู้รับฝากนำเงินออกใช้สอยได้ 3. ทรัพย์สินสูญหายโดยผู้รับฝากทำหน้าที่ตาม ม. 659 และ ม. 660 ผู้รับฝากไม่ต้องรับผิด 3. ถ้าเงินที่ฝากสูญหายไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้รับฝากต้องรับผิดชอบ 4. ผู้ฝากเรียกทรัพย์สินคืนเมื่อไหร่ก็ได้ (ฝากเงินมีกำหนดเวลา) 4. ผู้ฝากจะเรียกเงินคืนก่อนกำหนดเวลาไม่ได้ (ฝากเงินที่มีกำหนดเวลา) 5. ผู้รับฝากต้องคืนทรัพย์สินที่ฝาก 5. ผู้รับฝากสามารถคืนเงินอื่นที่เป็นจำนวนเท่ากันกับที่รับฝาก

61 กรณีศึกษา ถ้านายโทนำเงิน 50,000 บาท ไปฝากที่ธนาคาร แล้วนายเอกไปหลอกลวงธนาคาร โดยแสดงตนเป็นนายโท ปลอมลายมือชื่อนายโทในใบถอนเงิน ขอถอนเงินฝาก 50,000 บาท พร้อมกับยื่นสมุดคู่ฝากเงินของนายโท ซึ่งนายเอกขโมยมาจากนายโท ต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ธนาคารหลงเชื่อว่า นายโทมาขอถอนเงิน ได้จ่ายเงิน 50,000 บาท ให้แก่นายเอกไป มีปัญหาว่า ระหว่างนายโทกับธนาคารผู้รับฝากเงินใครเป็นผู้เสียหาย

62

63 คำพิพากษาฎีกาที่ 613/2540 เมื่อธนาคารรับฝากเงิน เงินนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของธนาคาร ทันทีที่รับฝาก ธนาคาร จึงมีสิทธินำเงินฝากนั้นไปทำประโยชน์ในกิจการของธนาคารได้ ส่วนผู้ฝากเงินไม่มีกรรมสิทธิ์ในเงินนั้นอีก คงมีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารคืนเงิน ตามกำหนดเวลาในสัญญาฝากเงิน หากมีคนมาลัก ยักยอก หรือฉ้อโกงเงินฝากนั้นไป ธนาคารย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องร้อง หรือแจ้งความร้องทุกข์ ให้ดำเนินคดีอาญาแก่คนทำความผิดได้

64 เมื่อเราไปพักในโรงแรมหากว่าสมบัติของโรงแรมหายไปผู้เข้าพักพึงรับผิดชอบ หากว่าของส่วนตัวของผู้เข้าพักหายไปทางโรงแรมจะต้องรับผิดชอบหรือไม่ อย่างไร

65 ส่วนที่ 3 วิธีการเฉพาะของเจ้าสำนักโรงแรม
โรงแรม โฮเต็ล และสถานที่อื่นทำนองเช่นนั้น พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ มาตรา 3 นิยาม “โรงแรม คือ สถานที่ทุกชนิดเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทาง หรือบุคคลที่ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่อาศัยชั่วคราว” 2. เจ้าสำนักโรงแรม หมายถึงบุคคลที่ควบคุมและจัดการโรงแรม เจ้าสำนักไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของโรงแรมเสมอไป อาจเป็นบุคคลที่รับจ้างเข้าควบคุมและจัดการโรงแรมก็ได้

66 3. คนเดินทาง หรือแขกอาศัย
“ผู้พัก” ในพ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ หมายถึง บุคคลที่เจ้าสำนักได้ยอมรับให้เข้าพักอาศัยเป็นการชั่วคราวในโรงแรม โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องเสียค่าที่พักหรือไม่

67 บทที่ 1 ความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรม
หลักเกณฑ์แห่งความรับผิด ม.674 1. เป็นทรัพย์สินของผู้เดินทางหรือแขกอาศัย 2. ทรัพย์สินที่หากได้พามา “หากได้พามา” หมายถึงการนำทรัพย์สินเข้าไปที่ที่เป็นของโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นบริเวณไหนของโรงแรม เช่น บริเวณลานจอดรถ หรือบริเวณอื่นๆที่อยู่ในรั้วโรงแรม หรือแม้แต่สถานที่แห่งอื่นๆ แต่ต้องปรากฏว่าอยู่ในความดูแลของโรงแรมและได้ใช้ประโยชน์แห่งโรงแรมนั้น 3. ทรัพย์สินสูญหายหรือบุบสลาย

68 ถ้ารถป้ายแดงหาย ราคาตามสัญญาเช่าซื้อ 600,000 บาท ผ่อน 6 ปี แต่ราคาท้องตลาดถ้าจ่ายเงินสด 530,000 บาท ดังนี้ เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดชอบเท่าไร ?

69 การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับราคาทรัพย์ย่อมต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินนั้นตามที่อาจซื้อขายได้ตามปกติในเวลาที่ทรัพย์สินนั้นสูญหาย การเสียดอกเบี้ยนั้นต้องถือเป็นภาระส่วนตัวพิเศษของผู้เช่าซื้อหรือผู้ซื้อ เจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินส่วนที่เป็นดอกเบี้ย (ฎ 134/2523, 3024/2533)

70 2. การจำกัดและการยกเว้นความรับผิด
2.1 กรณีที่ทรัพย์สินที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยพามาเป็นเงินตรา ตั๋วเงิน หรือของมีค่าอย่างอื่น จำกัดความรับผิดไว้เพียง 5000 บาท ม. 675 วรรค 2 - “ของมีค่า” หมายถึง ทรัพย์สินอันมีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษ ทำนองเดียวกันเช่น เงินตรา ธนบัตร อัญมณี ฯลฯ

71 นางสาวดวงจันทร์ไปพักแรมที่โรงแรมอาทิตย์ได้นำแหวนเพชรราคา 2 ล้านบาท เครื่องเล่นวีดีโอเทปราคา 20,000 บาท ไปไว้ในห้องพักด้วย ต่อมานางสาวดวงจันทร์ไปเดินซื้อของที่ระลึก กลับมาปรากฏว่าสิ่งของดังกล่าวหายไป จึงแจ้งให้โรงแรมอาทิตย์ทราบ ดังนี้โรงแรมอาทิตย์ต้องรับผิดชอบต่อนางสาวดวงจันทร์อย่างไรบ้างหรือไม่ โรงแรมอาทิตย์ต้องรับผิดใช้ค่าแหวนเพชร 5000 บาท และค่าเครื่องเล่น วีดีโอเทป 20,000 บาท

72 2.2 เจ้าสำนักโรงแรมจะจำกัดหรือยกเว้นความรับผิด โดยวิธีเขียนปิดประกาศในโรงแรมมิได้ ข้อความดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ม. 677 เช่น ก. เดินทางเข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่ง มีประกาศของโรงแรมติดไว้ที่หัวเตียงว่า “ทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในการสูญหายหรือเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้มาพักไม่ว่ากรณีใดๆ” ใบกรอกรายละเอียดลงทะเบียนเข้าพักโรงแรม ในตอนท้ายมีข้อความว่า”โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในทรัพย์สิน สิ่งของมีค่า หรือธนบัตร ซึ่งอาจสูญหาย ”

73 ก. เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ ม. 675 ว.3
3. การหลุดพ้นจากความรับผิด ก. เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ ม. 675 ว.3 ทั้งนี้เจ้าสำนักโรงแรมจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ความสูญหายหรือบุบสลายเป็นผลมาจากเหตุใดเหตุหนึ่งนั้น คือ

74 เหตุสุดวิสัย

75 สภาพแห่งทรัพย์

76 ความผิดของคนเดินทางหรือบริวารหรือบุคลที่เขาต้อนรับ

77 การไม่ได้แจ้งโดยทันทีที่ทราบว่าทรัพย์สินเกิดการสูญหายหรือบุบสลาย ม
การไม่ได้แจ้งโดยทันทีที่ทราบว่าทรัพย์สินเกิดการสูญหายหรือบุบสลาย ม บัญญัติว่า “ทรัพย์สินซึ่งมิได้นำฝากบอกราคาชัดแจ้งนั้น เมื่อพบเห็นว่าสูญหายหรือบุบสลายขึ้น คนเดินทางหรือแขกอาศัยต้องแจ้งความนั้นต่อเจ้าสำนักโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้นทันที มิฉะนั้นท่านว่าเจ้าสำนักย่อมหลุดพ้นความรับผิดดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 674 และ 675”

78 บทที่ 2 สิทธิของเจ้าสำนักโรงแรม
สิทธิของเจ้าสำนักโรงแรมมีอยู่ 2 ประการ 1. การมีสิทธิยึดหน่วง ม.679 วรรคแรก 2. สิทธิการจัดการขายทรัพย์ที่ยึดไว้ด้วยตนเอง ม.679 วรรคท้าย อายุความ ม.678 คนเดินทางหรือแขกพักอาศัยจะต้องฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยได้ออกไปจากโรงแรมนั้น

79 กรณีศึกษา บิ๊กเสี่ยท่านหนึ่งพาครอบครับไปที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถบริมแม่น้ำโขง เช็กอินเข้าพักเสร็จสรรพ ไปเที่ยวทานข้าวกันกลับมาค่อนดึก ก่อนนอนได้ปิดประตูห้องล็อกลูกบิดและล็อคเหล็กตัวยูแบบตามโรงแรมทั่วไปเป็นอย่างดีและเข้านอนตามปกติ ครั้น 04:50 ภรรยาท่านบิ๊กเสี่ย ตื่นมาได้พบว่าทรัพย์สินต่างๆที่ได้นำมาด้วยและถอดวางไว้ หายไปโดยที่ประตูห้องปิดดังเดิม แต่ล็อคตัวยูโดนงัดถ่างออกจึงแน่ใจได้ว่าโดนคนร้ายลักทรัพย์ของที่หายไปมีดังนี้

80 1. Rolex เรือนทองฝังเพชร ราคา 500,000บาท 2

81 โจทก์ยื่นฟ้อง โรงแรมกับพวก 2 คนเป็นจำเลยให้ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ราคาของที่หายไปพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยก็ให้การปฎิเสธโดยอ้างว่า"ในการเข้าพักนั้นโจทก์และบุคคลที่โจทก์นำมาได้อ่านและลงชื่อรับทราบในบัตรจดนามผู้พักซึ่งมีข้อความแสดงว่า ทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในกรณีสูญหายของมีค่าที่มีไว้ในห้องพักนอกจากฝากไว้กับตู้นิรภัยของทางโรงแรมเท่านั้น"

82 ฎีกาที่ 9284/2544 ศาลฏีกาวินิฉัยว่า"โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามประมาทเลินเล่ออย่างใดอันจะทำให้มีผลโดยตรงทำให้ทรัพย์ของโจทก์สูญหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์" ตามป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสองได้กำหนดเกี่ยวกับวิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมโดยให้จำกัดความรับผิดชอบไว้เพียง 500บาท เว้นแต่ผู้เข้าพักจะได้ฝากของมีค่าไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นอย่างชัดแจ้ง โจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้จำเลยจึงรับผิดเพียง 500 บาทไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เข้าพักจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตาม

83 ตัวอย่าง นายโนบิตะเดินทางไปพักที่โรงแรมเชียงใหม่ เจ้าของโรงแรมได้ยื่นประกาศระเบียบของโรงแรมให้อ่านดูก่อนลงชื่อเข้าพักความว่า โรงแรมจะไม่รับผิดชอบในการสูญหายหรือบุบสลายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้มาพักไม่ว่าในกรณีใดๆ นายโนบิตะอ่านแล้วหัวเราะแล้วลงชื่อเข้าพักแรม ระหว่างพักอยู่นั้น นายโดเรม่อนมาเยี่ยมในห้องพักแล้วแอบเอาปากการาคา 1,000 บาทของนายโนบิตะไป ดังนี้ เจ้าของโรงแรมเชียงใหม่ต้องรับผิดชดใช้ราคาปากกาของนายโนบิตะเพียงใดหรือไม่

84 ถ้ามีคำแจ้งความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดชอบของเจ้าของสำนักโรงแรมย่อมเป็นโมฆะ เว้นแต่คนเดินทาง หรือแขกอาศัยจะได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดั่งว่านั้น (มาตรา 677) การที่นายโนบิตะนิ่งไม่ทักท้วง เพียงแต่หัวเราะ จะถือว่าตกลงด้วยชัดแจ้งหาได้ไม่ ดังนั้นประกาศของโรงแรมเชียงใหม่จึงเป็นโมฆะ ปากกาของนายโนบิตะสูญหายไปเพราะนายโดเรมอนซึ่งมาเยี่ยมเอาไป จึงเข้าข้อยกเว้นว่าเจ้าสำนักโรงแรมไม่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหาย หรือบุบสลายอันเกิดแต่ความผิดของบุคคลซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยได้ต้อนรับ กรณีนี้นายโดเรม่อนเป็นบุคคลซึ่งนายโนบิตะได้ต้อนรับ และนายโดเรม่อนเป็นผู้ลักปากกาไป ฉะนั้นเจ้าของโรงแรม จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปากกาแก่นายโนบิตะเลย

85 Case study ฝากทรัพย์ผู้ฝากไม่ยอมมารับของคืน
นำไปวางไว้ณ.สำนักงานวางทรัพย์ หรือส่งคืนเองโดยเรียกค่าขนส่งจากผู้ฝาก บอกเลิกสัญญา ส่งของคืนผู้ฝากโดยเรียกค่าขนส่งจากผู้ฝาก เก็บรักษาไว้เหมือนเดิมแต่ขอค่าบำรุงรักษาทรัพย์ เช่น ค่าฝากทรัพย์กับผู้อื่น บอกเลิกสัญญา ไม่มาเอาครบจะครอบครองปรปักษ์ได้ ผู้รับฝากเป็นเจ้าของทรัพย์ได้ ส่งมอบทรัพย์คืนให้ โดยเรียกค่าขนส่งจากผู้ฝาก ขายไม่ได้


ดาวน์โหลด ppt สัญญาฝากทรัพย์ (Deposit)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google