งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 สื่อโฆษณา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 สื่อโฆษณา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 สื่อโฆษณา

2 ความหมายของสื่อโฆษณา
สื่อโฆษณา หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการนำข้อมูลข่าวสารหรือ ข้อความโฆษณาไปยังผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเชิญชวนให้ ซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากผู้โฆษณา

3 ประเภทของสื่อโฆษณา 2.สื่อวิทยุ 1.สื่อโทรทัศน์ 3.สื่อสิ่งพิมพ์
6.สื่อประเภท อื่นๆ 4.สื่อโฆษณา กลางแจ้ง 5.สื่อใน โรงภาพยนต์

4 ประเภทของสื่อโฆษณา 1.สื่อโทรทัศน์ (Television ) เป็นสื่อโฆษณาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นสื่อที่ให้ทั้งภาพ เสียงและการเคลื่อนไหว ในเวลาเดียวกัน และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วประเทศและกว้างขวาง การโฆษณาสด ทำเป็นภาพยนตร์โฆษณา การใช้ภาพนิ่งหรือสไลด์

5 เป็นการซื้อเวลาสำหรับออกอากาศแพร่ภาพตลอดทั้งรายการ เพียงผู้เดียว
การซื้อเวลาสำหรับการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 1. การเป็นผู้อุปถัมภ์รายการเพียงผู้เดียว (Single Sponsorship) เป็นการซื้อเวลาสำหรับออกอากาศแพร่ภาพตลอดทั้งรายการ เพียงผู้เดียว - รายการเที่ยวเมืองไทยในหนึ่งนาที มีผู้อุปถัมภ์รายการ คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - รายการจดหมายเหตุกรุงศรีฯ มีผู้อุปถัมภ์รายการ คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด

6 ผู้โฆษณาจะร่วมกันซื้อรายการนั้นทั้งรายการ เช่น
การซื้อเวลาสำหรับการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 2. การเป็นผู้อุปถัมภ์รายการรวมกันหลายราย (Multiple Sponsorship) ผู้โฆษณาจะร่วมกันซื้อรายการนั้นทั้งรายการ เช่น - รายการเพลงของค่ายเพลงต่าง ๆ มีผู้อุปถัมภ์หลายรายรวมกันซื้อเวลาของรายการเพลงนั้นทั้งรายการ

7 - ละครก่อน-หลังข่าว ของแต่ละสถานี - รายการวาไรตี้ ต่างๆ
การซื้อเวลาสำหรับการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ 3. การโฆษณารายย่อยรวมกัน (Participating Advertiser) ในแต่ละรายการจะมีช่วงเวลาสำหรับการโฆษณาแทรกอยู่ ช่วงเวลานั้นจะถูกนำมาแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เรียกว่า สปอตโฆษณา (Spot) ซึ่งจะมีความยาว 15 วินาที 30 วินาที 45 วินาที 60 วินาที หรือ 2 นาที เป็นต้น โดยเจ้าของสินค้าจะมีภาพยนตร์มาให้ทางสถานีออกอากาศตามเวลาที่ตกลงกัน - ละครก่อน-หลังข่าว ของแต่ละสถานี - รายการวาไรตี้ ต่างๆ

8 การคิดอัตราค่าโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์
สถานีโทรทัศน์แต่ละแห่งจะคิดอัตราค่าโฆษณาเป็น Spot ความยาว 1 นาที ต่อการโฆษณา 1 ครั้งเป็นมาตรฐานไว้ อัตราค่าโฆษณาทางโทรทัศน์ของแต่ละสถานีจะกำหนดไว้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ชมรายการและช่วงเวลาที่ออกอากาศ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุดจะมีอัตราค่าโฆษณาแพงกว่าช่วงเวลาอื่น

9 ผู้โฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานี เป็นเงิน
การคิดอัตราค่าโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ ตัวอย่างเช่น สมมุติรายการละครหลังข่าวคิดอัตราค่าโฆษณา Spot ละ 300,000 บาทผู้โฆษณาต้องการออกอากาศในรายการนั้นจำนวน 6 ครั้ง โดยใช้ Spot ความยาว 30 วินาที ผู้โฆษณาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ทางสถานี เป็นเงิน 300,000 x 6 = 900,000 บาท 2

10 1. สื่อโทรทัศน์ จุดเด่นของสื่อโทรทัศน์ ข้อจำกัดของสื่อโทรทัศน์
1.มีทั้งแสงสี เสียง และ รูปภาพที่เคลื่อนไหวมีชีวิตชีวาซึ่งให้ผลด้านประทับใจสูง 2.เหมาะกับสินค้าที่ต้องการสาธิตวิธีการใช้งานหรือวิธีการทำงาน 3.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางและรวดเร็ว 4.ครอบคลุมกลุ่มผู้ชมได้ครั้งละจำนวนมาก 5.สามารถเลือกรายการลงสื่อให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายได้ 6.เปิดโอกาสให้ผู้โฆษณาสามารถกำหนดความถี่ได้ตามต้องการ 7.สามารถแพร่ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถดึงดูดบุคคลให้คล้อยตามไปในแนวทางที่วางไว้โดยง่าย 1.อาจไม่มีรายการและเวลาที่เหมาะสมกับที่ผู้โฆษณาต้องการ 2.ต้นทุนรวมค่อนข้างสูง 3.ข้อความโฆษณาหายไปในชั่วพริบตาเก็บไว้ดูไม่ได้ อายุสั้น 4.โฆษณามีมากทำให้ผู้ชมจำข้อความโฆษณาได้น้อย 5.สามารถเปลี่ยนช่องได้เร็ว และหลีกเลี่ยงโฆษณาได้ง่ายด้วยรีโมท 6.บรรจุข้อความได้น้อยไม่สามารถบรรยายสรรพคุณได้หมด 7. ต้องใช้ความถี่ในการโฆษณาสูง ผู้ชมถึงจะจำโฆษณาและชื่อยี่ห้อได้

11 2.สื่อวิทยุ (Radio) เป็นสื่อที่กระจายครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวางมาก และเป็นสื่อที่สามารถทำให้ผู้รับฟังรับรู้ข่าวสารได้ในทุกอริยบถ สื่อโฆษณานี้ เหมาะกับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำ เป็นสื่อโฆษณาที่มีความยืดหยุ่นสูงต้นทุนของการโฆษณาค่อนข้างต่ำการโฆษณาของสื่อวิทยุเรียกกันตามภาษาโฆษณาว่า "สปอตวิทยุ" รูปแบบของสปอตวิทยุ แบบใช้เพลงโฆษณา สปอตวิทยุแบบเล่าเรื่อง สปอตวิทยุและประกาศตรงๆ สปอตวิทยุแบบใช้บุคคล

12 ประเภทของการโฆษณาผ่านสื่อวิทยุ (Radio)
1. Loos Spot เป็นการโฆษณาที่เปิดคั่นระหว่างรายการ ความยาวของ Spot ที่นิยมใช้กันมากคือ30 วินาที 2. In Program Spot เป็นโฆษณาที่เปิดอยู่ในรายการหรือการเป็นผู้อุปถัมภ์รายการนั้นๆ โดยมีผู้จัดรายการเป็นผู้โฆษณาสินค้านั้น

13 2. สื่อวิทยุ จุดเด่นของสื่อวิทยุ ข้อจำกัดของสื่อวิทยุ
1. ราคาค่าผลิตและค่าสื่อไม่แพง 2. สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว 3,สามารถเลือกรายการและสถานีให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ 4.สามารถออกอากาศซ้ำได้ง่าย โดยใช้ความถี่ในการลงสื่อบ่อยๆ 5.ขณะที่ฟังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆได้ เช่น ขับรถ ทำงาน พักผ่อน 6.สามารถสร้างสรรค์โฆษณาผ่านวิทยุได้ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย 1.มีสถานีวิทยุหลายสถานีให้ผู้บริโภคได้เลือกฟัง 2.ไม่สามารถฟังข้อความโฆษณาซ้ำได้เมื่ออกอากาศไปแล้ว 3.ไม่สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้อย่างแท้จริง เพราะในขณะฟังวิทยุ ผู้ฟังก็ทำอย่างอื่นไปด้วย 4.ไม่สามารถมองเห็นภาพได้ไม่เหมาะกับสินค้าที่ต้องมีการสาธิตวิธีการใช้ 5.ต้องใช้ความถี่ในการโฆษณาสูง ผู้ฟังจึงจะจำชื่อสินค้าได้

14 การโฆษณาไม่เจาะจงตำแหน่ง
3 สื่อการโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์(Print Media) 3.1หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสื่อสารมวลชน (Mass media) ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางแพร่หลาย เนื่องจากหนังสือพิมพ์สามารถครอบคลุมพื้นที่ สามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมากแตไม่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะกลุ่มได้รูปภาพ สีสันไม่สวย และคุณภาพกระดาษค่อนข้างต่ำ ข่าวล้าสมัยเร็วอายุของหนังสือพิมพ์จะสั้นเพียงวันเดียว การลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์มี 3 รูปแบบ การโฆษณาไม่เจาะจงตำแหน่ง การโฆษณาหมู่ การโฆษณาเดี่ยว

15 3. สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์
3.1 หนังสือพิมพ์ (Newspaper) จุดเด่นของสื่อหนังสือพิมพ์ ข้อจำกัดของหนังสือพิมพ์ 1.เป็นสื่อที่มองเห็นภาพ ดึงดูดความสนใจผู้อ่านสามารถมองเห็นและเข้าใจลักษณะสินค้าได้อย่างชัดเจน 2.เข้าถึงกลุ่มคนได้ทั่วประเทศ 3.สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ดีและไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา 4.สามารถเลือกหน้าและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ 5.มีความทันสมัยในแง่ข่าวสารเพราะมีการพิมพ์จำหน่ายทุกวันผู้โฆษณาจึงเปลี่ยนข้อความโฆษณาและความถี่ในการโฆษณา ได้บ่อยครั้ง 6.มีความยืดหยุ่นสูงในการจองเนื้อที่สามารถลงโฆษณาได้หลายขนาดและกี่ครั้งก็ได้ 1.โฆษณามีแต่ภาพ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีเสียง ดึงดูดความน่าสนใจได้น้อยกว่าโทรทัศน์ 2.คุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ต่ำ เนื่องจากคุณภาพกระดาษไม่ดี 3.อายุของโฆษณาสั้น ผ่านตาผู้บริโภคน้อยครั้ง 4.เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ยาก เพราะคนอ่านเป็นคนทั่วไป เกิดการสูญเปล่าได้ง่าย 5.โฆษณาไม่ค่อยได้รับความสนใจเพราะมักปรากฎ อยู่ในหน้าต่างๆ ที่มีคอลัมน์ที่น่าสนใจกว่าโฆษณา

16 ภาพยนต์ บันเทิง นวนิยาย อยู่ในเล่มเดียวกัน
3.2 นิตยสาร (Magazine) เป็นสื่อโฆษณาที่จัดทำเป็นรูปเล่ม มีสีสันสวยงาม แข็งแรง กะทัดรัด ใช้กระดาษมีคุณภาพดีทำให้น่าอ่านสื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะได้ ประเภทของนิตยสาร 1.นิตยสารทั่วไป(General Magazine) จะมีเนื้อหาทั้งข่าว บทความ สารคดี ข่าวกีฬา ภาพยนต์ บันเทิง นวนิยาย อยู่ในเล่มเดียวกัน 2.นิตยสารเฉพาะ(Specialized Magazine) เป็นนิตยสารที่มีเนื้อหาสาระข่าวสาร มุ่งเฉพาะกลุ่มบุคคล ตัวอย่างการโฆษณาเต็มหน้าคู่ในนิตยสารของการขนส่งสินค้า

17 3. สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์
3.2. นิตยสาร (Magazine) จุดเด่นของนิตยสาร ข้อจำกัดของนิตยสาร 1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและเกิดการสูญเปล่าน้อย 2.ใช้ภาพจูงใจทำให้ผู้อ่านสนใจการโฆษณา มีความเป็นสัดส่วนมากกว่าหนังสือพิมพ์ 3.คุณภาพในการพิมพ์ดี ทั้งในแง่การใช้กระดาษและคุณภาพการพิมพ์ 4.มีอายุการเก็บรักษานาน ผู้อ่านจึงมีโอกาสเห็นโฆษณาหลายครั้ง 5.จำนวนผู้อ่านต่อเล่มสูง เพราะมักมีการยืม ต่อๆกัน ทำให้โฆษณาผ่านตาคนจำนวนมาก 6.เหมาะกับสินค้าที่ต้องการภาพพจน์ให้สูง 7.เข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มง่ายขึ้น 1.สามารถสร้างความถี่ได้ยาก เพราะการพิมพ์จำหน่ายแต่ละเล่มใช้เวลานาน 2.ไม่สามารถเลือกวันเวลาในการโฆษณาได้ เพราะมีการกำหนดเวลาที่แน่นอนไว้แล้ว 3.สร้างจำนวนผู้อ่านได้ช้า เพราะไม่รวดเร็วเหมือนวิทยุหรือโทรทัศน์ 4.เวลาในการส่งต้นแบบโฆษณาให้กับสำนักพิมพ์ต้องส่งล่วงหน้าหลายวัน ทำให้โฆษณาขาดความทันสมัย และความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนข้อความ 5.ศึกษาจำนวนผู้อ่านอ่านแท้จริงได้ยาก เพราะมีผู้อ่านทั้งที่ซื้อเองและไม่ได้ซื้อเอง

18 3.3 สื่อโฆษณาทางไปรษณีย์โดยใช้จดหมายตรง (Direct Mail Advertising)
เป็นการส่งเอกสาร ข้อความการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า / บริการของกิจการไปถึง ผู้บริโภคทางไปรษณีย์ รูปแบบการโฆษณาทางไปรษณีย์ จดหมายขาย (Sales Letters) แผ่นพับ (Folder) ใบปลิว (Leaflet Handbill) โปสการ์ด (Postcards) เอกสารเย็บเล่ม (Brochure) คู่มือสินค้าหรือแค็ตตาล็อก (Catalogs) จุลสาร (Booklets) บัตรตอบรับ (Return Cards)

19 3. สื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์
3.3 สื่อสิ่งพิมพ์ทางตรง (Direct Print Media) จุดเด่นของสื่อสิ่งพิมพ์ทางตรง ข้อจำกัดของสื่อพิมพ์ทางตรง 1.เลือกและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 2.มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูงทั้งในด้านการผลิต เวลา และจำนวน 3.สามารถเป็นพนักงานขายไปในตัว โดยสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง 4.รักษาความลับทางการตลาด ยากที่คูแข่งจะทราบกิจกรรมทางการตลาดของบริษัท เพราะสื่อไม่เป็นที่แพร่หลาย 5.เปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ไม่มีขีดจำกัดด้านขนาด อาจอยู่ในรูปของกล่องหรือห่อได้อีกด้วย 6.วัดผลการโฆษณาง่าย 1.เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 2.ถ้าหากจัดทำรายชื่อไม่ดีและไม่ถูกต้องก็จะเป็นการสูญเปล่า 3.เป็นการยากที่จะหาชื่อ และที่อยู่ของบุคคลต่างๆให้เป็นปัจจุบันได้ 4.กลุ่มเป้าหมายอาจไม่ให้ความสนใจ เพราะอาจถือว่าเป็นขยะไปรษณีย์

20 ประเภทของป้ายโฆษณากลางแจ้ง
4. สื่อโฆษณากลางแจ้ง 4.1.สื่อโฆษณาแบบไม่เคลื่อนที่ (Outdoor Media) การโฆษณากลางแจ้งโดยใช้ป้ายโฆษณา (Outdoor Advertising) หรือ สื่อโฆษณากลางแจ้ง  เป็นการนำเอาเครื่องหมายใดๆหรือแผ่นป้ายโฆษณาไปติดตั้งกลางแจ้งโดยจะต้องเลือกทำเลในการติดตั้งที่มีผู้คนสัญจรไปมาตามข้างถนน สี่แยก บนหลังคาตึก ประเภทของป้ายโฆษณากลางแจ้ง โฆษณาอุปกรณ์กีฬา Nike ป้ายตกแต่งพิเศษ (Spectacular) ป้ายโฆษณา (Poster of Billboard) ป้ายระบายสีหรือป้ายเขียน (Painted Bullettines)

21 4.1. สื่อกลางแจ้งแบบไม่เคลื่อนที่
4. สื่อโฆษณากลางแจ้ง 4.1. สื่อกลางแจ้งแบบไม่เคลื่อนที่ จุดเด่นของสื่อกลางแจ้งแบบไม่เคลื่อนที่ ข้อจำกัดของสื่อกลางแจ้งแบบไม่เคลื่อนที่ 1.เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างข้อความโฆษณาผ่านสายตากลุ่มเป้าหมายได้บ่อยครั้ง 2.ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก 3.เหมาะที่จะใช้โฆษณาเพื่อเตือนความจำ 4.อายุการใช้งานนาน 1.ให้ความถี่แก่กลุ่มเป้าหมายที่จำกัดเฉพาะผู้ที่ผ่านสถานที่ที่ป้ายติดตั้งอยู่เท่านั้น 2.ไม่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายได้ 3.ตั้งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ทำให้คนไม่สนใจ 4.สกปรกเสียรูปโฉมได้ง่าย 5.มีขีดจำกัดในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือต้องใช้ภาพและข้อความสั้นๆเท่านั้น

22 ประเภทของการโฆษณาเคลื่อนที่
4.2 การโฆษณาเคลื่อนที่ (Transit Advertising) เป็นการโฆษณาตามยานพาหนะ มีลักษณะของการติดป้ายโฆษณาไปกับตัวยานพาหนะ ที่เคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ประเภทของการโฆษณาเคลื่อนที่ การโฆษณาบริเวณด้านนอกของยานพาหนะ (Outside Vehicle Advertising) การโฆษณาในตัวรถ(Car Card Advertising)

23 4. สื่อโฆษณากลางแจ้ง 4.2. การโฆษณาเคลื่อนที่
- สื่อโฆษณาที่อยู่ภายนอกพาหนะ (Exterior Transit Advertising) จุดเด่นของสื่อภายนอกยานพาหนะ ข้อจำกัดของสื่อภายนอกพาหนะ 1.ป้ายโฆษณาเตะตาผู้บริโภคเพราะยานพาหนะสาธารณะผ่านย่านคนอยู่อาศัยและย่านที่คนทำงาน 2.ผู้บริโภคในรถคันอื่นสามารถเห็นป้านโฆษณาได้ 3.ผู้โฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายในเมืองใหญ่ โดยการเลือกสายรถประจำทาง และรถไฟตามเส้นทางที่กลุ่มเป้าหมายโดยสาร 1.ผู้บริโภคไม่สามารถอ่านสรรพคุณของสินค้าได้ละเอียด เพราะพาหนะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2.สื่อพาหนะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้น้อย 3.สื่อพาหนะไม่เหมาะสมสำหรับการโฆษณาที่ต้องการความรวดเร็ว ฉับพลัน เพราะระยะเวลาในการตระเตรียม และติดตั้งป้ายค่อนข้างนาน

24 4. สื่อโฆษณากลางแจ้ง 4.2. การโฆษณาเคลื่อนที่
- สื่อโฆษณาที่อยู่ภายในพาหนะ (Interior Transit Advertising) จุดเด่นของสื่อภายในยานพาหนะ ข้อจำกัดของสื่อภายในยานพาหนะ 1.ผู้โดยสารมีเวลาอ่านข้อความในโฆษณา ทำให้เข้าใจถึงสรรพคุณของสินค้า 2.ป้ายโฆษณาผ่านตาผู้โดยสารบ่อยครั้ง เนื่องจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ใช้รถประจำทางหรือรถไฟอย่างน้อยวันละ2 เที่ยว 3.ผู้โฆษณาสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายในเมืองใหญ่ โดยเลือกจากสายยานพาหนะที่ผ่านที่อาศัยหรือที่ทำงานของกลุ่มเป้าหมาย 1.กลุ่มผู้บริโภคสื่อชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับปานกลางถึงต่ำ มีกำลังซื้อน้อย 2.สื่อยานพาหนะแบบติดภายในไม่เหมาะกับการโฆษณาที่ต้องการใช้ความรวดเร็ว เช่น การประกาศลดราคาสินค้า เนื่องจากใช้เวลาตระเตรียม ติดตั้งค่อนข้างนาน

25 5.สื่อโฆษณาในโรงภาพยนต์ (Cinema Advertising)
การใช้ภาพยนตร์ในการโฆษณาในโรงหนังจะได้อารมณ์ ความรู้สึก การโน้มน้าวให้ผู้ชมเกิดความสนใจได้ดี สามารถเก็บรายละเอียดต่างๆของภาพสินค้าได้ มีสีสีน สวยงาม คมชัด ภาพมีขนาดใหญ่ จากนั้นก็พัฒนามาเป็นการโฆษณาแฝงในภาพยนตร์ คือให้ผู้บริโภคชมภาพยนตร์ไปพร้อมกับการเห็นสินค้า

26 5. สื่อในโรงภาพยนต์ จุดเด่นของสื่อโฆษณาในโรงภาพยนต์
ข้อจำกัดของสื่อโฆษณาในโรงภาพยนต์ 1.มีภาพ เสียง การเคลื่อนไหว และจอขนาดใหญ่สร้างความประทับใจได้ 2.ค่าโฆษณาไม่แพง 3.เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ดี โดยเฉพาะ กลุ่มวัยรุ่น 4.บังคับให้กลุ่มเป้าหมายต้องดูโฆษณา 1. งบประมาณในการผลิตโฆษณาสูง 2. ความถี่ในการออกอากาศน้อย 3. มีเฉพาะในเขตตัวเมือง

27 6.สื่อโฆษณาอื่นๆ(Other Advertising Media)
6.1 การโฆษณา ณ แหล่งซื้อ (Point of purchase advertising) เป็นลักษณะของการนำโปสเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นมาติดหน้าร้านหรือบริเวณร้าน รวมถึงการจัดตกแต่งภายในร้านเพื่อชักจูงใจให้ลูกค้าสนใจ และกระตุ้นให้ลูกค้า เกิดความต้องการสินค้า

28 ประเภทของการโฆษณา ณ แหล่งซื้อ
การตกแต่งชั้นวางสินค้า การจัดตกแต่งร้านค้า การตกแต่งฝาผนัง แผ่นภาพโฆษณาแขวน (Mobile) การจัดเรียงสินค้าให้สวยงาม การจัดวางสินค้าบนพื้นให้ดูสวยงาม น่าซื้อ/ ใช้ การตกแต่งเคาน์เตอร์ที่วางสินค้า การใช้ป้ายหรือภาพโฆษณา ติดตั้งตรงทางเข้าออกประตู

29 6.2 การโฆษณาโดยใช้สมุดโทรศัพท์ (Directories Advertising)
เป็นหนังสือที่รวบรวมรายชื่อ โทรศัพท์ กลุ่มธุรกิจ ร้านค้า สินค้าต่างๆ แยกออกเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับตัวอักษร ลักษณะการโฆษณาก็จะมีพื้นที่พิเศษ คือนอกจากจะมีการบอกชื่อร้านค้า และเบอร์โทรศัพท์แล้วยังมีพื้นที่สำหรับการลงรูปถ่ายร้านค้าหรือสินค้า รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นด้วย

30 6.3 สื่อสินค้า (Merchandise)
เป็นสื่อพิเศษที่ทำขึ้นมาสำหรับแจกหรือแถมให้ลูกค้า แล้วบรรจุข้อความโฆษณาสั้นๆ ย่อ ๆ ลงไปในสินค้านั้น เช่น กระเป๋าเอกสาร หมวก พวงกุญแจ ปากกา ดินสอ ไฟแช็ค แก้วน้ำ นาฬิกา ฯลฯ

31 การโฆษณาโดยการจัดแสดงสินค้า (Display Advertising)
เป็นการโฆษณาโดยการจัดแสดงสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เข้ามาชมสินค้า หรือบางครั้งอาจจะมีการสาธิตการใช้สินค้านั้นด้วย การโฆษณาโดยการจัดแสดงสินค้า (Display Advertising)

32 6.5 การโฆษณาทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Online Advertising)
เป็นสื่อที่มีความทันสมัยที่สุดในยุคปัจจุบัน เป็นการโฆษณายุคดิจิตอล อินเตอร์เน็ต ถูกใช้เป็นสื่อโฆษณาสำหรับสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ทั่วโลก เนื่องจากการโฆษณา ทางสื่อชนิดนี้สามารถครอบคลุมลูกค้าได้กว้างขวางทั่วโลก กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึง งานโฆษณาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

33 6.5. อินเตอร์เน็ต (Internet)
จุดเด่นของอินเตอร์เน็ต ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต 1.สามารถให้ได้ทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว และสามารถเรียกโฆษณาขึ้นมาดูได้โดยไม่จำกัดเวลา 2.สามารถใส่ข้อมูลได้อย่างละเอียดครบถ้วนตามที่ต้องการ 3.สามารถสื่อสารได้กับคนทั่วโลก 4.สามารถวัดจำนวนผู้เข้าชมสื่อโฆษณาได้แน่นอน การโฆษณาทำได้เฉพาะสินค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายระดับบนเท่านั้น เพราะการใช้อินเตอร์เน็ตยังใช้อยู่ในวงจำกัด คือ นักศึกษา นักธุรกิจที่มีรายได้สูง และการสื่อสารในระบบอินเตอร์เน็ตจะใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น

34 ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกสื่อการโฆษณาประเภทต่างๆ
การเลือกสื่อโฆษณา ปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกสื่อการโฆษณาประเภทต่างๆ กลุ่มเป้าหมาย 2) ความถี่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 3) ประสิทธิภาพของสื่อการโฆษณา 4) งบประมาณและอัตราค่าโฆษณาของสื่อต่างๆ

35 การเลือกสื่อโฆษณา การเลือก สื่อโฆษณา กลุ่มเป้าหมาย ความถี่ในการ
งบประมาณ ความถี่ในการ เข้าถึง ประสิทธิภาพ ของสื่อ โฆษณา

36 สรุป สื่อโฆษณาที่นิยมใช้โดยทั่วไปได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ สื่อดังกล่าวเป็นสื่อหลักที่ใช้กันเป็นส่วนมากในงานโฆษณา ดังนั้นในการวางแผนการ ใช้สื่องบประมาณด้านสื่อส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่สื่อเหล่านี้เป็นอันดับแรก การปรับเปลี่ยนโฆษณาไปสู่การใช้สื่อออนไลน์เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการ สร้างเทคนิคการนำเสนอที่มีสีสัน ทั้งภาพและเสียง รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค อาทิ การร่วมเล่นเกมส์ออนไลน์ สำหรับสื่อ ณ จุดซื้อ แผ่นพับ ใบปลิว สื่อนอกสถานที่ เช่น แผ่นป้ายต่างๆ จะมีความสำคัญในฐานะเป็นสื่อสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ในการเตือนความจำผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า

37 จบบทเรียนแล้วจ้า


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 สื่อโฆษณา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google