Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ

โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ

Published by kuntidanan01, 2022-09-05 13:43:43

Description: โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มที่ 1

Search

Read the Text Version

โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ จัดทำโดย 1.นาย ภูริภัทร กะรัตน์ เลขที่22 2.นาย ธนาวัฒน์ พุ่มพวง เลขที่30 3.นางสาว กุลธิดา สมบูรณ์ เลขที่31 4.นางสาว ชลฤทัย รางแดง เลขที่32 5.นางสาว จุฬาลักษณ์ กันยะ เลขที่38 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5/7 ที่ปรึกษาโครงงาน นาย ดำรงค์ คันธะเรศย์ โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การศึกษาค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ (IS1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ก ชื่อโครงงาน โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ ผู้จัดทำโครงงาน นาย ภูริภัทร กะรัตน์ นาย ธนาวัฒน์ พุ่มพวง นางสาว กุลธิดา สมบูรณ์ นางสาว ชลฤทัย รางแดง นางสาว จุฬาลักษณ์ กันยะ ครูที่ปรึกษา ครูดำรงค์ คันธะเรศย์ ปีการศึกษา 2565 บทคัดย่อ การทำโครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะใส่อาหารได้ และใช้วัสดุจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ เพื่อลดการใช้ภาชนะจาก พลาสติกและโฟม โดยคณะผู้จัดทำได้ประดิษฐ์ภาชนะจากใบตอง และมีการ ประเมิน คือ ความสามารถในการอุ้มน้ำของภาชนะ ซึ่งพบว่าภาชนะที่ ประดิษฐ์จากใบตองไม่มีน้ำไหลหรือซึมผ่านออกมาได้เลย ดังนั้นภาชนะที่ ประดิษฐ์จากใบตอง มีประสิทธิภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการใส่ อาหารได้จริง

ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาตินี้สำเร็จลุล่วงได้ ด้วยความกรุณาช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา ตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งจาก คุณครูดำรงค์ คันธะเรศย์ ครูผู้สอนรายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบคุณครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนปัวที่ให้ความอนุเคราะห์ และความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูล สุดท้ายนี้ผู้จัดทำหวังว่าโครงงานฉบับนี้จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อยจึงขอมอบส่วนดี ทั้งหมดนี้ให้แก่เหล่าคณาจารย์ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาจนทำให้โครงงาน เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและขอมอบความกตัญญูกตเวทิตาคุณ แด่บิดา มารดา และผู้มีพระคุณทุกท่าน สำหรับข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ผู้วิจัยขอน้อมรับผิดเพียงผู้เดียว และยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำจากทุกท่าน ที่ได้เข้ามาศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไป คณะผู้จัดทำ 31 สิงหาคม 65

ค คำนำ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประดิษฐ์ภาชนะ ใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะและปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้วัสดุจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด คณะผู้จัดทำหวังว่าโครงงานฉบับนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่าน นักเรียน นักศึกษาที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่หากมีข้อผิดพลาดประการใดคณะผู้จัดทำ ขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ ง บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข คำนำ ค สารบัญ ง บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า 6 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 8 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 9 บรรณานุกรม 10 ภาคผนวก 11 ประวัติผู้จัดทำ 12

1 บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ จากปัญหาการใช้กล่องโฟมและพลาสติกบรรจุอาหารที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อ สุขภาพของเราทั้งในทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการละลายของสาร สไต รีนจากโฟม ซึ่งเกิดจากการสัมผัสความร้อนหรือความมันจากอาหาร ส่งผลให้ ผู้บริโภคมีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างจากการปนเปื้ อนมากับภาชนะ เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงเกิดความคิดที่จะผลิตภาชนะโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มี ประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ เพื่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของ ผู้บริโภคน้อยลง คณะผู้จัดทำจึงมีความคิดที่จะทำภาชนะที่ทำมาจากใบตอง โดยใน อดีตใบตองใช้ห่อสิ่งของและใส่อาหารประเภทต่างๆ และนิยมใช้กันในสมัย ก่อนจนถึงปัจจุบัน โดยถ้าเรานำใบตองมาห่ออาหารจะทำให้มีกลิ่นที่หอม น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยลดปัญหาขยะ รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้พลาสติกหรือกล่องโฟมอีกด้วย ดังนั้นปัญหาขยะจากภาชนะใส่อาหารจึงเป็นปัญหาที่มีความจำเป็นที่ ต้องพัฒนาและหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน ตลอดจนหาแนวทางการแก้ไขโดย ออกแบบและประดิษฐ์ภาชนะใส่อาหารในรูปแบบใหม่ ที่มีความเป็นไปได้ที่ จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อแก้ลดอัตราขยะ จากในสังคม

2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.เพื่อศึกษาการทำภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ 2. เพื่อศึกษาชนิดของวัสดุธรรมชาติที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะใส่อาหารได้ 3. เพื่อใช้วัสดุจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ สมมติฐาน 1.การทำภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ คือ ใบตอง สามารถนำมาใช้งานได้จริง และมีประสิทธิภาพในการอุ้มน้ำ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1). วิธีการนำวัสดุธรรมชาติมาขึ้นรูปภาชนะสามารถทำง่าย ใช้ได้จริง 2). วัสดุธรรมชาติหลากหลายชนิดสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นภาชนะใส่อาหารได้ 3). ภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ สามารถลดปัญหาขยะ และปัญหา สิ่งแวดล้อมได้ 4). การทำภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติสามารถสร้างอาชีพ ให้คนในชุมชนได้ 5). ผู้คนเปลี่ยนมาใช้ภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ แทนการใช้โฟม

3 บทที่ 2 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาโครงงานภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติในครั้งนี้มีเอกสารที่ เกี่ยวข้องดังนี้ 1 ความหมายของวัสดุธรรมชาติ 2.ปัญหาของขยะที่เกิดจากภาชนะใส่อาหาร 3.วัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นภาชนะใส่อาหาร 4.คุณสมบัติของใบตอง 1.ความหมายของวัสดุธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติ หมายถึง วัสดุต่างๆที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ไม้ ต้นไม้ หิน เส้ยใยจากพืช ยางธรรมชาติ เป็นต้น วัสดุต่างเหล่านี้สามารถนำมาใช้ ในชีวิตประจำวัน เช่นใบตองนำมาประดิษฐ์เป็นที่ใส่อาหาร โดยวิธีนี้ได้ ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยสมัยก่อนไม่มีภาชนะใส่นอกจากนำใบไม้ที่ใบพืชที่มี ลักษณะมีใบยาวนำมาประสานกันไว้ลองใส่อาหารในการรับประทานจนมี การใช้ความคิดทางภูมิปัญญามาทำหรือประดิษฐ์เป็นจานชามที่ทำจากดิน เหนียวโดยผ่านการปั้ นและตากแห้งจากนั้นได้รับอิทธิพลมาจากจีนและชาติ ตะวันตกในการทำภาชนะใช่อาหารจากเซรามิกและเข้าสู่ยุคที่สามารถผลิต ภาชนะจากเส้นใยสังเคราะห์เคมี 2.ปัญหาของขยะที่เกิดจากภาชนะใส่อาหาร ในสังคมไทยเรามีปัญหาขยะมาเป็นอันดับหนึ่งในประเทศโดยเกิด จากการทิ้งขยะไม่เป็นที่และใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะที่ย่อยสลายช้าและ เกิดปัญหาขยะล้นในชุมชนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เช่นกล่องโฟมใส่อาหาร ถุงพลาสติกและถ้วยชามจานพลาสติกที่ถูกทิ้งลงแม่นํ้าและข้างทางก็มี ขยะจำพวกนี้ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติรวมถึงทำให้ เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

4 3.วัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาแปรรูปเป็น ภาชนะใส่อาหาร 1.ภาชนะจากใบเล็บครุฑลังกา เป็นพืชที่มีใบค่อนข้างหนา ลักษณะคล้าย ชาม สามารถนำมาเป็นภาชนะใส่อาหารต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของนึ่ง และของทานเล่น กินเสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย ใบเล็บครุฑจะย่อย สลายเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ความครีเอทและการใส่ใจ สิ่งแวดล้อม จัดว่าเป็นไอเดียที่เก๋มากสำหรับยุคสมัยนี้ ได้ทั้งความ สวยงามและประโยชน์อีกด้วย 2.ภาชนะจากกล้วย (บานาบ่ามาเช่) มีการนำใบตอง และหยวกกล้วยมา ผลิตเป็นจาน ชาม โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปคล้าย ๆ กับเปเปอร์มาเช่ โดยที่ไส้ตรงกลางเป็นกระดาษ อัดหยวกกล้วยเป็นผิวหน้าด้วยมือทุกใบ และเคลือบทับด้วยน้ำมันแบบฟู้ดเกรด สามารถใส่อาหารรับประทานได้ คล้ายกับภาชนะทั่วไป แต่จะต้องหลีกเลี่ยงพวกแกง หรือเมนูที่มีน้ำและ ไม่ควรแช่น้ำไว้นาน การล้างทำความสะอาดนั้นก็เหมือนภาชนะที่ทำจาก ไม้ทั่วไป ล้างด้วยน้ำยาล้างจานผึ่งลมให้แห้ง 3.ภาชนะจากใบทองกวาว ใช้ประโยชน์จากใบที่มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ภาชนะที่ทำจากใบทองกวาวสามารถใส่อาหารได้ทั้งของคาว หวาน รวม ไปถึงเมนูของร้อน เมนูทอด และแกงต่างๆ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่า จะมีการ รั่วซึม ต้องบอกเลยว่าถ้วยจากใบทองกวาวสามารถใส่อาหารทิ้งไว้เป็น เวลา 2-3 วันได้โดยไม่รั่วซึมแถมยังคงรูปทรงเดิม ไม่ย้วย ไม่แหลกสลาย ไปในระหว่างทางอย่างแน่นอน 4.ภาชนะจากกาบหมาก เป็นการนำกาบหมากมาแปรรูปให้เป็นจานใส่ อาหาร โดยนำกาบหมากมาล้างทำความสะอาด นำไปพึ่งแดดให้แห้ง สนิท จากนั้นนำมาตัดด้วยเครื่อง แล้วบรรจุขาย ข้อดีของจาน-ชามกาบ หมากคือมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ สามารถ นำเข้าไมโครเวฟและเตาอบได้อย่างปลอดภัย ใส่อาหารได้ทุกประเภท 5.ภาชนะจากผักตบชวา มี 2 แบบ คือแบบจานใบผักตบชวาสด และจาน ใบผักตบชวาแห้ง นอกจากนี้ยังมีแบบชามสำหรับใส่ก๋วยเตี๋ยวได้ด้วย คุณสมบัติสามารถทนความร้อนได้ ใช้กับของเหลวได้ เหมาะในการนำมา ทดแทนบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง ใส่อาหารดูสวยงามน่ารับประทาน นอกจากตอบโจทย์เรื่องการลดขยะพลาสติก ลดโฟมแล้ว ยังช่วยกำจัด พืชต่างถิ่นที่กีดขวางลำน้ำด้วย

5 6. ภาชนะจากชานอ้อย ต้นกำเนิดของ “กล่องชานอ้อย” ถูกคิดค้นขึ้นและใช้ งานจริงเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยประเทศนำร่องที่ใช้กล่องชานอ้อยได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝั่ งเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น โดยไม่เพียงแต่ทำเป็นก ล่องใส่อาหารคล้ายกล่องโฟมเท่านั้น แต่กล่องชานอ้อนยังถูกนำมาขึ้นรูปให้ ใช้งานได้หลากหลายแบบ ทั้งจาน ชาม ถ้วย แก้วแบบใช้แล้วทิ้ง รวมไปถึง ถาดหลุมที่ใช้กันในโรงอาหารอีกด้วย 7. ภาชนะจากใยพืช แนวคิดในการนำเศษอาหารมาผลิตเป็นภาชนะใส่ อาหาร ชิ้นงานถูกออกแบบให้มีรูปทรงเป็นเมล็ดพืชที่เหมาะสำหรับใส่อาหาร แห้งและสื่อถึงต้นตอของเมล็ดพืชก่อนโตขึ้นเป็นต้นไม้ ชิ้นงานผ่าน กระบวนการอัดแรงดันสูงขึ้นรูปเป็นภาชนะใส่อาหารโดยไม่จำเป็นต้องใช้กาว เป็นตัวประสาน ไม่ใส่สารกันบูด ไม่ต้องย้อมสีหรือใส่สารเคมีใดๆ ในการปรับ สภาพ เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปละลายน้ำแล้วใช้เป็นปุ๋ย เพื่อเพิ่มคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้ ส่วนสีที่ปรากฏบนชิ้นงานเป็นสีตามธรรมชาติ ของเศษอาหารนั้นๆ เช่น ถ้าเป็นแครอท ชิ้นงานจะออกสีน้ำตาลแดง ในขณะ ที่เปลือกถั่วลิสงจะให้สีน้ำตาลอ่อน 4.คุณสมบัติของใบตอง 1.ใบตองโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ ยืดหยุ่น กันน้ำและสามารถนำมาตกแต่งได้ 2.ใบตองมีสารไข (waxes) ที่เคลือบอยู่ที่ผิวใบตามธรรมชาติ สารไขเหล่านี้ มีองค์ประกอบของกรดไขมันหลายๆชนิดอยู่รวมกัน เช่น behenic acid, lignoceric acid, palmitic acid และ stearic acid ที่เป็นไขแข็ง และเมื่อ ได้รับความร้อนจะหลอมละลายออกมาและทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัวที่มี กลิ่นหอมแล้วทำให้กลิ่นอาหารนั้นหอม 3.ใบตองย่อยสลายได้ง่าย ทำให้ขยะเหลือตกค้างนั้นไม่มี อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายนั้น มักจะถูกย่อยสลายในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic digestion) ออกมาเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และน้ำ

6 บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน ตารางปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา - วัสดุ 2) น้ำมัน 3 ml 1) ใบตอง 4) ไม้บรรทัด 3) ไม้กลัด 6) น้ำเปล่า 20 ml 5) กรรไกร ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน 1.ศึกษาหัวข้อที่สนใจในการทำโครงงาน 2.ศึกษาข้อมูลจาก -เอกสารที่เกี่ยวข้อง - ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

7 3.จัดทำเค้าโครงของโครงงาน 4.ลงมือทำโครงงาน วิธีทำ 1.นำใบตองไปตากแดด 10-20นาที 2.เมื่อครบแล้ว นำใบตองมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด6x10 นิ้ว จำนวน2แผ่น 3.นำใบตองทั้ง2แผ่น มาทาน้ำมันด้านนอกให้ทั่ว 4.นำด้านในของใบตองทั้ง2แผ่นมาประกบกัน จีบใบตอง โดยจีบทั้งหมด4 มุม แล้วใช้ไม้กลัด กลัดไว้ทั้ง4 มุม 5.เสร็จแล้วก็จะได้ภาชนะที่ทำมาจากใบตองไปใส่น้ำ เผื่อดูการรั่วซึมของน้ำ 5.การเขียนรายงาน

8 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินการ ในการประดิษฐ์ภาชนะใส่อาหาร จากใบตอง พบว่าสามารถนำมาใช้ได้ จริง เนื่องจากผ่านการทดสอบการรั่ว ซึมของน้ำ และการทดลองใช้ใส่อาหาร ผลการทดสอบกาารรั่วซึมของน้ำ ปริมาณน้ำ(ml) ความสามารถในการอุ้มน้ำ 20 อุ้มน้ำได้ ไม่มีน้ำรั่วซึม 30 อุ้มน้ำได้ ไม่มีน้ำรั่วซึม การนำไปใช้ เราสามารถนำภาชนะใส่อาหารที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไปใช้ ในการใส่อาหารในแต่ละวันแทนการใช้โฟมเพื่อลดปัญหาขยะและ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนหันมาใช้ภาชนะใส่ อาหารจากวัสดุธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก

9 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน จากการประดิษฐ์ภาชนะใส่อาหารจากใบตอง พบว่าสามารถนำมาใช้ได้ จริง เนื่องจากผ่านการทดลองใช้และการทดสอบการรั่วซึมของน้ำทั้ง 20 ml และ 30ml จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำ และทนทาน ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 1. ได้เรียนรู้การประดิษฐ์ภาชนะใส่อาหารจากวัสดุธรรมชาติ 2. ได้รู้คุณค่าของวัสดุธรรมชาติใกล้ตัว 3. ได้ฝึกการวางแผนการดำเนินงาน 4. วิธีการนำวัสดุธรรมชาติมาขึ้นรูปภาชนะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ จากอุปสรรคในขั้นตอนในการปฏิบัติงาน พบว่าในแต่ละขั้นตอนต้องมี ความประณีต ดังนั้นจึงควรมีความรอบคอบละเอียด เช่น ในการ กลัดไม้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดช่องว่างทำให้น้ำรั่วซึมได้

10 บรรณานุกรม ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน.(2022).คุณสมบัติของใบตอง,สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2565.จาก.https://www.matichonacademy.com/tag/%E0%B8%84%E0%B8%B8% E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95 %E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8% 9A%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%87 Chef Mee.(2020). ภาชนะจากธรรมชาติ ทางเลือกของสายกินผู้รักสิ่งแวดล้อม, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565. จาก.https://acuisineth.com/food- story/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0 %B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3% E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4- %E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5 wikipedia.(2022). ใบตอง, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565. จาก. https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B 8%AD%E0%B8%87?fbclid=IwAR3YjtTjMTYHCBH3d7- H3wbMPNAJ5dJUSeB1jCZ1SjfU6LW1LYslDojwsqc digitalschoolclub.(2022) วัสดุธรรมชาติ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565. จาก. http://www.digitalschool.club/digitalschool/technologym1- 3/inventionm1_1/lesson2/page1.php?fbclid=IwAR2lC7mCsYxJvCm0AAV2AZot- t9CyP38-PNWPTry0up-iVk0J1W6spPyBmY ปัญหาขยะพลาสติกสร้างผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม.(2019), สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565. จาก. https://www.chie-no- wa.com/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E 0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2 %E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8% A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5/? fbclid=IwAR2eNekjyHxX30MJLXJGNYgDmkxKYLP2nkj1tWrXpFisjCv0Ge5SVz5IQ_A

11 ภาคผนวก

12 ประวัติผู้จัดทำ 1.นาย ภูริภัทร กะรัตน์ ชั้น ม.5/7 เลขที่ 22 อายุ 16 ปี ที่อยู่ 57 ม.1 ต.สถาน อ.ปัว จ.น่าน เบอร์โทร 0931368851 2.นาย ธนาวัฒน์ พุ่มพวง ชั้น ม.5/7 เลขที่30 อายุ 16 ปี ที่อยู่ 6 ม.1 ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน 55210 เบอร์โทร 0622920109 3.นางสาว กุลธิดา สมบูรณ์ ชั้น ม.5/7 เลขที่31 อายุ 17 ปี ที่อยู่ 104 ม.4 ต. แงง อ. ปัว จ. น่าน 55120 เบอร์โทร 0808272884 4.นางสาว ชลฤทัย รางแดง ชั้น ม.5/7 เลขที่32 อายุ 17 ปี ที่อยู่ 130/1 ม.2 ต.เชียงคาน อ.เชียงกลาง จ.น่าน 55120 เบอร์โทร 0932620679 5.นางสาว จุฬาลักษณ์ กันยะ ชั้น ม.5/7 เลขที่38 อายุ 16 ปี ที่อยู่ 158 ม.4 ต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน 55120 เบอร์โทร 0625762971


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook