Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รำบายศรีสู่ขวัญ

รำบายศรีสู่ขวัญ

Published by Chutima Inthasing, 2023-01-22 03:53:00

Description: รำบายศรีสู่ขวัญ

Search

Read the Text Version

รำบายศรีสู่ขวัญ การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ บายศรีสู่ขวัญ หรือ บาศรีสูตรขวัญ เป็นประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ ที่นิยม กระทำกันสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ถือว่าเมื่อจัดทำพิธีนี้ จะก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ซึ่งคำว่า บายศรี ก็หมายถึงการ ทำสิริให้กับชนผู้ดี สูตรเป็นคำเก่าแก่ หมายถึง การสวด ซึ่งในอันที่จริง แล้ว บาศรีสูตรขวัญนี้เป็นพิธีของพราหมณ์ ส่วนขวัญนั้นเราถือว่าเป็น ของไม่มีตัวตน เห็นไม่ได้ จับต้องไม่ได้ แต่เชื่อว่า \"ขวัญ\" นี้แฝงอยู่ในตัวตนของคนและสัตว์มาตั้งแต่กำเนิด และขวัญนี้จะต้องอยู่ประจำตัวของตนตลอด เวลาตกใจ เสียใจ ป่วยไข้ ขวัญจะหนีไป ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นจึงต้องเรียกขวัญ หรือสูตรขวัญ เพื่อให้ขวัญหลับมาอยู่กับตัวจะได้สุขสบาย การทำพิธีสู่ขวัญนี้ มีทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เหตุดีได้แก่ หายจากการ เจ็บป่วย จากไปอยู่บ้านอื่นกลับมา ไปค้าขายได้เงินทองมามาก เหตุ เหล่านี้ก็มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ส่วนเหตุไม่ดีได้แก่ การเจ็บไข้ได้ ป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ประสบอุบัติเหตุ ก็ทำพิธีบายศรีเช่นกัน ในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่องที่กล่าวถึงพิธีบายศรีสู่ขวัญเช่น ในเรื่อง พญาคันคาก

บายศรี เป็นคำเรียกพราหมณ์ด้วยความเคารพ พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสู่ขวัญ จึง เรียกว่า บาศรีสู่ขวัญ ซึ่งหมายถึงพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญ บายศรี มาจากคำว่าบาย+ศรี บาย แปลว่า สัมผัส จับ ต้อง ศรี แปลว่า สิริ มงคล สิ่งที่ดี บายศรี หมายความถึง การรวบรวมเรียกเอาสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยาวิธี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ แม้ว่าศรี หรือ สิริ จะไม่สามารถบายหรือสัมผัส จริงๆได้ด้วยมือ แต่ที่ใช้คำว่าบาย เนื่องจากต้องการสื่อในความหมายเชิงรูปนัย เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย มิใช่นามนัย พราหมณ์จึงใช้วิธีเชิญสิริเข้ามาอยู่ในข้าว ไข่ต้ม หรือฝ้ายผูกข้อมือ เป็นต้น แล้วบายเอาข้าวหรือไข่ต้มส่งให้ผู้เข้ารับบายศรีกิน นำ ฝ้ายไปผูกข้อมือ ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีเชิงรูปธรรม ในส่วนที่เป็นนามธรรมนั้น จะรับ สิริทางใจหรือความรู้สึกโดยตรง บายศรีสู่ขวัญ จึงหมายถึงการรวบรวมเรียกเอาหรือเชิญสิริมงคลต่างๆ ด้วยกิริยา วิธีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ให้มาสถิตที่ขวัญ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อ ความสุข สวัสดี เครื่องกิริยาในการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญที่สำคัญ คือ พานบายศรี หรือ “พาขวัญ” ทำจากใบตองและดอกไม้สด รวมไปถึงเครื่องสังเวยต่างๆ เช่น ข้าวปลาอาหาร แป้ง กระจก หวี ผ้าแพรไหม น้ำอบ-น้ำหอม ที่ขาดไม่ได้คือ เส้นฝ้ายสีขาว เพื่อใช้ ในการผูกข้อต่อแขนแก่ผู้เข้าร่วมทำพิธี รำบายศรี เป็นการรำเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อให้เกิดความสวยงามสม เกียรติผู้มาเยือน ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล รำบายศรีเริ่มจากการแห่พานบายศรี มาสู่พิธี พราหมณ์เริ่มสวดเรียกขวัญ จบแล้วจึงรำบายศรี เนื้อร้องประกอบการรำ เป็นการบรรยายถึงความสวยงามของพานบายศรี และเป็นคำเรียกขวัญที่เรียบ เรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดง วงโปงลาง มีเครื่องดนตรีดังนี้โปงลาง กลองยาว กลองใหญ่ ไหซอง พิณ เบส แคน โหวด ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ เกราะ กลอง กลองยาว ไหซอง เบส แคน โหวด ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก เกราะ

โอกาสที่ใช้ในการแสดง บายศรีสู่ขวัญ รำต้อนรับแขกเมือง แขกผู้มีเกียรติ หรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น

การแต่งกาย การแต่งกายเป็นลักษณะสุภาพ ผู้หญิง เสื้อแขนยาวเช่น เสื้อผ้าไหม ผ้าฝ้าย เสื้อลูกไม้ เสื้อ ป้าย หากไม่นิยมแบบสวมเสื้อก็อาจจะใช้ผ้าพันอก แล้วห่ม สไบเฉียงทับให้สวยงามนุ่งซิ่นยาวเป็นซิ่นมัดหมี่ ขิด จกยก ผู้ชาย เสื้อแขนสั้นหรือยาวก็ได้ตามความเหมาะแต่งให้อยู่ ในลักษณะที่สอดคล้องกับผู้หญิง แล้วใส่โสร่ง

ความหมายของเพล ง ขอเชิญพวกเรา มาร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อเรียกขวัญมาอยู่ กับเนื้อกับตัวโดยใช้ด้ายศิริมงคลผูกแขน ตามประเพณีท้องถิ่น

ท่าประกอบการรำ

























ลิ้งรับชมการแสดง https://youtu.be/NhPoSFxDOh8 หากมีข้อผิดพลาดประการใดข้าพเจ้าขออภัยไว้ ณ ที่นี้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook