ถ่าน Battery จากนิวเคลียร์ใช้งานได้ถึง 28,000 ปี

ทำไมถึงใช้งานได้นานขนาดนั้น ตามข่าวเลยครับ
เห็นว่าทำได้จริงปี 2023 นะครับ

https://www.blockdit.com/posts/606dba0166dd072de3bea9fa
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ขอเสริมจากคุณเกียรตินำ ครับ

หลักการกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้  คือใช้ "ความร้อน" จากการแพร่อนุภาค (Decay)
ของธาตุกัมมันตรังสี  ไปทำให้เกิดปฏิกิริยา Thermoelectric ของสารกึ่งตัวนำ  
และกำเนิดไฟฟ้าออกมาได้ครับ   เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้มีใช้มานานเกือบ 60 ปีแล้ว
ใช้ในยานสำรวจอวกาศ และ  สถานีวิทยาศาสตร์ที่ขั้วโลก  
มันคือ Radioisotope thermoelectric generator (RTG)  ตามภาพนี้ครับ
แต่ RTG ให้กำลังไฟฟ้าค่อนข้างต่ำ  อย่างในภาพนี้ก็ได้แค่ 350 วัตต์

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า RTG เนี่ย  ผมว่ามันคือ "พลังงานฟรี" ได้เลย
เพราะเครื่องนึงจะจ่ายไฟฟ้าได้นานประมาณ 30 ปี  โดยกำลังไฟจะลดลงเรื่อย ๆ
แต่ลดลงปีละนิดเดียว  ประมาณปีละ 0.6%

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า RTG เหมาะมากกับการใช้ในอวกาศ
เพราะมันต้องการความต่างอุณหภูมิอย่างมากสำหรับระบบ ThermoElectric ของมัน
ในอวกาศเย็นจัดจึงเหมาะมาก ๆ   ใช้ที่ขั้วโลกก็ยังดี   แต่ใช้ในอุณหภูมิแบบ
ในเมืองทั่วไป เช่น เมืองไทย ไม่ได้ครับ

RTG อีกแบบหนึ่ง  จะออกแบบผลิตมาให้เล็กมาก ๆ  ใช้ในเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบในภาพ
ในเครื่องกระตุ้นหัวใจนี้  จะใช้แบตเตอรี่หลักการเดียวกับ RTG  โดยใช้ธาตุ Plutonium 238
กำเนิดความร้อนให้ Thermoelectric wire เพื่อกำเนิดไฟฟ้า



อุปกรณ์แบบนี้  จะแพร่รังสีให้ผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์นี้ประมาณ 0.1 - 0.12 REM ต่อปี
ซึ่งถือว่าต่ำมาก  ไม่อันตรายเลยครับ  เพราะเราจะได้รับการแพร่รังสีจากธรรมชาติ
เช่น  การ decay ของธาตุกัมมันตรังสีจากพื้นดิน  จากแก้ส Radon  ในอัตราประมาณ
ปีละ 0.3 - 0.5 REM ต่อปีอยู่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 1
หลักการคือใช้การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

ที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ทำกันมานานแล้ว อย่างพวกยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดาวเคราะห์วงนอก ถ้าไม่มีเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากัมมันตรังสี มันคงเป็นแค่เศษเหล็กที่ถูกปล่อยทิ้งไปนอกโลก เพราะจะไม่มีไฟฟ้าทำให้อุปกรณ์ทั้งหลายในยานทำงาน รวมถึงการส่งข้อมูลกลับโลกด้วย

ที่ว่าอายุใช้งานเป็นหมื่นปีก็ไม่มีปัญหา เลือกธาตุกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตยาว ๆ เป็นหมื่นปี

ปัญหาก็มีอยู่สองอย่าง คือ 1 ทำไงถึงจะเปลี่ยนจากกัมมันตรังสีเป็นกระแสไฟฟ้าได้ โดยตัวเปลี่ยนมีขนาดเล็กพอ และ 2 ต้องมีวิธีการป้องกันการแผ่รังสีออกมาจากตัวถ่านไม่ให้เป็นอันตรายต่อคนใช้
ความคิดเห็นที่ 8
มาแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ถ้ามีจริง ก็คงไม่ได้เอามาขายให้คนทั่วไป เพราะนอกจากเรื่องของอันตรายจากการแผ่รังสิแล้ว อีกอย่างที่สำคัญคือ มันไม่มีประโยชน์ที่คนทั่วไปจะซื้อใช้แบตเตอรีที่มีอายุใช้งานนานขนาดนั้นด้วย เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน มันไม่ได้มีอายุใช้งานยาวนานถึงขนาดนั้นอยู่แล้ว อย่างมากก็อยู่ได้ไม่ค่อยเกิน 30-40 ปี เกินกว่านั้นถ้าไม่เสื่อมสภาพจนใช้ไม่ได้ ก็ตกรุ่นจนแทบไม่มีใครเอามาใช้งานกันอีก และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในอนาคตก็อาจจะไม่ได้ใช้ถ่านก้อนแบบในปัจจุบันแล้ว

ดังนั้นถ้าจะทำใช้ในเชิงพาณิชย์ ทำแบตเตอรีให้ใช้ได้ 10-100 ปี หรือประมาณเท่าอายุใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ก็เพียงพอกับการใช้งานแล้ว

ส่วนแบตฯ 2 หมื่นปี ถ้าจะผลิตขึ้นมา คงต้องเอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการให้เก็บรักษาข้อมูลในระยะยาวนานไปถึงรุ่นลูกหลานเหลนโหลนลื้อ จำพวกแคปซูลกาลเวลา หรือห้องเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ อะไรทำนองนั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่