เรื่องของเกียร์ออโต้ ใครเคยสงสัยแบบผมมั้ยครับ


ผมใช้รถเกียร์ออโต้มาพักนึงแล้ว ซึ่งแต่ก่อนจะใช้แต่เกียร์ธรรมดา มันก็จะมีความสงสัยคาใจอยู่ก็คือ ทำไมตำแหน่งเกียร์จากเกียร์ P ถึงเป็นเกียร์ R แล้วจึงเป็น N (P-R-N-D) ทำไมเกียร์มันไม่เรียงจาก P-N-D-R ทำไมเวลาเราเข้าเกียร์จากตำแหน่ง P มาตำแหน่ง D ถึงต้องผ่านเกียร์ถอย (R) ก่อน
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
gear pattern แบบ P-R-N-D นี้  ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยครับ

เพราะเมื่อกำลังขับรถ  หากพลาด/เผลอดันเกียร์จาก D ไปที่ R  
จะเกิดความเสียหายร้ายแรงและอาจเกิดอุบัติเหตุได้เลย  
และ .... หากพลาดดันจาก D มาที่ P  จะยิ่งเสียหายหนักครับ

ดังนั้น  จึงต้องมี N มาคั่นกลางระหว่าง D กับ R ครับ ....
ทำให้ pattern ของเกียร์ออโต้จะต้องเรียงแบบนี้

(ท่านลองคิดการเรียงลำดับดูนะครับ  ท่านจะเห็นว่าไม่มีหนทางใดเลย
ที่จะเลี่ยงการพลาดได้  นอกจากแบบ P-R-N-D นี้)
ความคิดเห็นที่ 10
กาลครั้งหนึ่ง มีบ้าน 4 หลัง เรียงกันอยู่ในซอยตันซอยหนึ่ง
พี่น้อง 4 คน จะย้ายเข้าอยู่คนละหลัง โดยมีข้อตกลงร่วมเบื้องต้น 2 ข้อ
1. พี่ชายคนโต P ซึ่งนิ่งที่สุด อยู่บ้านตลอด ไม่เคยออกไปไหน .. ต้องอยู่บ้านหลังริม ปากซอย
2. D และ R ไม่ถูกกันอย่างแรง ห้ามอยู่ติดกัน .. ต้องให้ N คั่นไว้
จึงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ P-D-N-R และ P-R-N-D

ทดลองอยู่กันไปสักพัก โดยที่ D และ R สลับบ้านกันอยู่เป็นครั้งคราว .. หาข้อยุติไม่ได้สักที
แม้จะมีข้อสังเกตว่า เวลาที่ D อยู่บ้านหลังที่ติดกับ P มักจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าเมื่อ R อยู่บ้านหลังนั้น
ก็ยังมีผู้ถกเถียงว่า เป็นแค่เหตุบังเอิญ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ D

กระทั่งวันหนึ่ง D มีลูกชื่อ L (ชื่อเต็ม Low) .. จึงเป็นอันได้ข้อสรุปว่า D ต้องอยู่บ้านหลังในสุด
เพราะ หากอยูบ้านติดกับ P .. N กับ R ต้องขยับย้ายบ้าน ลึกเข้าไปอีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อค้นพบว่า มีแค่ D เท่านั้น ที่สามารถมีลูกได้
ถ้า D มีลูกเพิ่มขึ้นอีก ตัวอย่างเช่น S (ชื่อเต็ม Sport) .. N กับ R ก็ต้องขยับย้ายบ้านกันอีก ไม่รู้จบ

ข้อตกลงจึงเป็นอันยุติ ที่ .. P-R-N-D-ลูกๆ ของ D .. นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ความคิดเห็นที่ 7
P = Park มันคือเกียร์ที่ไว้ใช้จอดดับเครื่อง เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้ใช้บ่อย
ขนาดเค้าออกแบบให้มันเข้ายาก ก็ยังมีคนดันสุดถึง P ตอนติดไฟแดงหยอกเย้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่