Enigma เครื่องเข้ารหัสแห่งนาซี

เครื่องอินิกมา (อังกฤษ: Enigma machine)
เป็นเครื่องเข้ารหัสและถอดรหัส ที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกองทัพนาซีเยอรมนี

ในการทำสงคราม ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นความลับ การทำงานของเครื่องอินิกมา มีความซับซ้อนสูงมาก ยากแก่การถอดรหัส จนนาซีเยอรมนีมั่นใจว่าไม่มีใครสามารถเข้าใจข้อความที่ถูกเข้ารหัสโดย เครื่องอินิกมาได้ การที่อังกฤษสามารถถอดรหัสอินิกมาได้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนของโฉมหน้าของสงครามเลยทีเดียว

เป็นเครื่อง Enigma ที่เป็นเครื่องเข้ารหัสในตำนานของเยอรมนีที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก และพรรคนาซีก็มั่นใจเป็นอย่างมากว่าไม่มีใครสามารถถอดรหัสข้อความของพวกเขาได้ และถ้านำคน 1,000 คนมาสุ่มถอดรหัส ในอัตราทางเลือกต่อนาทีก็จะต้องใช้เวลานานกว่า 900 ล้านปีในการถอดรหัสเลยทีเดียว

Enigma ถูกสร้างขึ้นมาครั้งเมื่อปี ค.ศ. 1918 โดยวิศวกรไฟฟ้าชาวเยอรมัน ชื่อ Arthur Scherbius โดยเขาสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เก็บรักษาความลับตามบ้านเรือนทั่วไป แต่มันก็ไม่ประสบความสำเร็จทางการค้ามากนัก

กระทั่งปี 1923 กองทัพนาซีเยอรมัน ให้ความสนใจเครื่อง Enigma นี้ ทำให้ไม่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดอีกต่อไป และถูกนำไปใช้ในทางการทหารแทน ใช้กันมากในกองทัพเรือและกองทัพอากาศเยอรมัน ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ค.ศ. 1939-1945 ซึ่งกองทัพนาซี เยอรมันก็ไม่ได้เพียงแค่ใช้งานเครื่อง Enigma ยังพัฒนาต่อเนื่อง เช่น เพิ่มจาก rotor 3 ตัวเป็น 5 ตัว หรือ เพิ่มการสุ่มใช้ rotor ไม่ให้ใช้เรียงต่อกันไป ซึ่งทำให้กองทัพเยอรมันมั่นใจมาก ว่าไม่มีวันที่ ฝ่ายสัมพันธมิตร จะแก้รหัสเครื่อง Enigma นี้ได้

u-boat ฝูงหมาป่าแห่งท้องทะเล เรือพิฆาต หรืออะไรก็ตามแต่  ทำหน้าที่หลักในการตัดเสบียงที่ขนส่งทางท้องทะเล เป็นเรือดำน้ำนำกองทัพเรื่อเยอรมนีใช้เข้าโจมตีทำลายเมืองตามชายฝั่งทะเลอังกฤษ

ภารกิจที่ Enigma มีส่วนร่วมมากคือ ภาระกิจของเรือดำน้ำ U-boat ซึ่งทำให้เรือดำน้ำ U-boat จมเรือฝ่ายสัมพันธมิตรได้มากมาย จึงทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรต้อง เร่งทำการแกะรหัสของเครื่อง Enigma นี้ให้ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะ นาย Arthur Scherbius ได้อ้างว่า ถ้านำคน 1000 คนมาทำการสุ่มถอดรหัสโดยใช้อัตรา 4 ทางเลือก ต่อ 1นาที ต้องใช้เวลาถึง 900 ล้านปี ในการจะถอดรหัสได้ เป็นการเพิ่มความั่นใจแก่กองทัพนาซีเยอรมันเป็นอย่างมาก

มีการเริ่มต้นศึกษาเครื่องอินิกมา ในปี ค.ศ. 1930 ก่อนที่เยอรมนีจะบุกโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1939 โดยหน่วยราชการลับของโปแลนด์ โดยการรวบรวมข้อมูล รูปภาพและสร้างเครื่องจำลองอินิกมา (Enigma Replica) ได้สำเร็จ แต่การถอดรหัสก็ยังไม่ใช่เรื่องง่าย

หลังจากที่เยอรมนีบุกโปแลนด์ทำให้ ผลงานการวิจัยศึกษาอินิกมา ถูกส่งต่อไปยังฝ่ายพันธมิตรคือฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร แต่การบุกของเยอรมนีได้รุกคืบมายังฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสยังไม่ได้พัฒนาต่อ ทีมโปแลนด์พยายามแกะอีนิกมาต่อและพบว่าตัวเองแกะข้อความที่เยอรมันใช้สื่อสารไม่ได้อีกต่อไป จึงรู้ว่าเยอรมันได้ใช้วิธีการเข้ารหัสข้อมูลแบบใหม่แล้ว

ในราวปี 1927 ศุลกากรวอร์ซอได้รับพัสดุจากเยอรมัน ระบุว่าเป็นอุปกรณ์วิทยุ แต่บริษัทจัดส่งยื่นคำขาดอย่างเอาเป็นเอาตายให้คืนพัสดุนี้กลับเยอรมันก่อน จะถูกเปิดตรวจ โดยบอกว่าพัสดุนี้จัดส่งพลาด อาการร้อนรนนี้ทำให้ศุลกากรโปแลนด์เอะใจและส่งพัสดุนี้ไปให้หน่วยแกะรหัส ข้อมูล ซึ่งเป็นผู้ดูแลอุปกรณ์วิทยุอยู่ในตอนนั้น โปแลนด์พบว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องคืออีนิกมา เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในเที่ยงวันเสาร์ และโปแลนด์ก็มีเวลาทั้งสุดสัปดาห์ทำความรู้จักกับอีนิกมา ก่อนจะบรรจุลงกล่องแล้วจัดส่งคืนเยอรมันอย่างเรียบร้อย

ถึงโปแลนด์จะมีอีนิกมารุ่นที่เคยวางขาย แต่การแกะรหัสก็ยังเป็นไปไม่ได้ เพราะกองทัพเยอรมันได้ดัดแปลงอีนิกมาที่ใช้ในทหารให้ต่างจากรุ่นที่วางขายในท้องตลาด

โปแลนด์อาจจะทำอะไรไม่ได้ไปมากกว่านี้ ถ้าเยอรมันจะไม่มีหนอนบ่อนไส้ Hans Thilo-Schmidt (* ชื่อจริงนี้ปรากฏต่างๆ กันไป ข้อมูลที่ทราบแน่ชัดประการเดียวคือเขาเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามแฝง Asche) เป็นชาวเยอรมันที่มาเสนอขายข้อมูลอีนิกมาให้ฝรั่งเศส บางข้อมูลบอกว่าเขาเกิดตกอับ และได้ไปของานทำจากพี่ชายที่เป็นนายทหารมียศในศูนย์ข้อมูลของเยอรมัน งานที่ได้รับมอบหมายคือการทำลายโค้ดอีนิกมาที่ไม่ใช้แล้ว ฮานส์มีข้อมูลทั้งข้อความก่อนเข้ารหัส และข้อความที่เข้ารหัสแล้ว ซึ่งเขานำไปขายให้หน่วยสปายฝรั่งเศส แถมด้วยการเขียนคู่มืออธิบายการติดตั้งใช้งานเครื่องให้พร้อมสรรพ แต่ฮานส์ก็ไม่ได้บอกว่าอีนิกมามีวงจรการทำงานภายในอย่างไร

ถึงจะสร้างอีนิกมาเทียมได้สำเร็จ การแกะโค้ดก็ยังเป็นเรื่องยาก เราต้องไม่ลืมว่าอีนิกมาจะตั้งค่าเริ่มต้นของลูกล้อใหม่ทุกวัน แถมลูกล้อสามตัวนี้ยังจับมาสลับว่าล้อไหนจะเร็วจะช้าได้ตามใจอีกด้วย หากจะให้เดาค่าเริ่มต้นลูกล้อให้ถูก ก็ต้องเดาให้ถูกหนึ่งในหนึ่งแสนห้าพันกว่าวิธีและจะต้องเดากันทุกวัน

ซึ่งทางสหราชอาณาจักรได้มีการก่อตั้งหน่วยงานที่ Bletchley Park เพื่องานถอดรหัสโดยเฉพาะ ซึ่ง Bletchley Park นี้เป็น Mansion สไตล์ วิคทอเรีย อยู่ทางเหนือของ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประมาณ 50 ไมล์ ซึ่งเป็นแหล่งของบุคคลที่มีความสามรถในการถอดรหัสนับเป็น หมื่นๆคน ประกอบด้วย เล่นเกมอักษรไขว้ แชมป์หมากรุก นักคณิตศาสตร์ นักเรียน นักอักขระอียิปต์ และใครก็ตามที่มีวี่แววว่าจะแกะรหัสได้ ทุกคนทำงานด้วยความสนุกสนาน ด้วยความท้าทายกับรหัสที่ต้องการจะถอด ยิ่งเป้นความมั่นคงระดับชาติและหมายถึงความเป็นความตายของชีวิตมนุษย์ด้วย แล้ว พวกเขาจะทำงานหามรุ่งหามค่ำกันเลยทีเดียว


ความประสบความสำเร็จของ Bletchley Park นั้นได้รับความช่วยเหลือจากหลายทาง หนึ่งในนั้นคือ นักคณิศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดช์ชื่อ Alan Turing (อลัน ทัวริง) ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้สร้างเครื่องมือถอดรหัสชื่อ The bombe (มาจาก ภาษาอังกฤษว่า Bomb เพราะเป็นเครื่องมือ ที่เสียงดังมากนั้นเอง) ช่วงแรกๆ เครื่อง Bombe ทำงานได้ช้ามากๆ

“อลัน ทัวริ่ง” นักคณิตศาสตร์ วัย 27 ปี ชาวอังกฤษ ที่ถือว่าปราดเปรื่องที่สุดในยุคสมัยของเขา  ทัวริ่งทำอัตวินิบาตกรรม ในปี ค.ศ.1954 และแทบจะถูกลืมเลือนไป จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เองเขาถึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติสำหรับบทบาทของเขาที่ช่วยให้ฝ่ายอังกฤษประสบความสำเร็จด้านการถอดรหัสในสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่ด้วยความประมาทของฝ่ายเยอรมันที่โอเปเรเตอร์มักง่ายไม่ยอมเปลี่ยน การตั้งเครื่องทุกวัน ประจวบกับในเดือนพฤษภาคม 1941 ฝ่ายอังกฤษได้จับกุมเรือดำน้ำ U-boat ที่นอกฝั่งกรีนแลนด์ ทางฝ่ายอังกฤษก็ได้เข้าไปค้นและเจอเครื่อง Enigma โมเดลล่าสุดพร้อมกับหนังสือถอดรหัส ( Code Book) อีกหลายเล่มด้วย จึงทำให้เครื่องถอดรหัสของฝ่ายสัมพันธมิตรพัฒนาไปมากทีเดียว

โดยเฉพาะช่วงดีเดย์ซึ่งการสื่อสารของเยอรมันในช่วงนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ถอดรหัสได้แล้ว ซึ่งเครื่องมือถอดรหัสในช่วงดีเดย์นั่น ได้สร้างมาจากต้นแบบ Bombe เป็นหนึ่งในเครื่อง Binary Computer เครื่องแรกๆ ของโลก ซึ่งกินพื้นที่หลายๆห้องและใช้หลอดสูญญากาศมากกว่า 1500 หลอด เครื่องนี้ชื่อว่า Colossus ซึ่งเริ่มใช้งานเดือนมิถุนา ปี 1944 ก่อนดีเดย์ไม่กี่วัน


เมื่อสงครามสิ้นสุดลง หญิงและชายหลายพันคนที่ทำงานหนักในฐานะนักถอดรหัสสงคราม ยามสงครามสงบกลับได้รับการยอมรับเพียงผิวเผินเท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติว่าด้วยความลับทางราชการผูกมัดไม่ให้พวกเขาเอ่ยอ้างถึงบทบาทของตนเอง แม้กระทั่งในช่วงสงครามเย็น ทั้งหมดกลับไปทำงานพลเรือนอีกครั้ง


ตั้งแต่ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งฝั่งนาซีและฝั่งสัมพันธมิตรจึงเริ่มทำการทำลายอุปกรณ์ชิ้นนี้ทิ้งอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปัจจุบันเรามีเครื่องอินิกมาจากสมัยสงครามโลกเหลืออยู่เพียงแค่ราวๆ 250 ชิ้นเท่านั้น  ความหายากนี้เองทำให้เครื่องเครื่องอินิกมาที่หลงเหลืออยู่นั้นมีคุณค่ามากอย่างไม่น่าเชื่อในสายตานักสะสม จนถึงขั้นที่ว่าในปี 2017 เครื่องอินิกมานั้นมีราคาประมูลสูงถึง 1.62 ล้านบาท และในปี 2019 นี้เอง เครื่องมือชิ้นนี้ก็มีราคา “เปิดประมูล” พุ่งไปมากถึง 6.3 ล้านบาทเลยทีเดียว

isenlin23.blogspot.com
medium.com
เครดิต : https://www.matichonweekly.com/column/article_24765
CatDumb
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่