สาเหตุของหลังคากระเบื้องลอนคู่หลังติดตั้งแล้วมีปัญหาน้ำรั่วมันเกิดจากสาเหตุอย่างนี้ใช้ไหมภาค1?

ผมได้เล็งเห็นจุดอ่อนต่างๆของการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ลงบนตัวบ้าน โดยเมื่อช่างได้นำกระเบื้องลอนคู่ไปติดตั้งลงบนตัวบ้านได้ไม่นานก็จะเกินการรั่วซึมของน้ำฝนลงบนแผ่นฝ้าในตัวบ้าน สาเหตุและเหตุผลของการรั่วซึมที่ผมสังเกตุได้คือในสมัยก่อนกระเบื้องมุงหลังคา หรือกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์นิยมเรียกว่ากระเบื้องลอนคู่หรือกระเบื้องไตรลอน ซึ่งเรียกตามลักษณะของจำนวนลอนที่มีในกระเบื้องในแต่ละแผ่น จะมีการผสมสารที่มีชื่อว่า แอสเบสตอส เป็นส่วนประกอบ โดยสารแอสเบสตอสนั้นเป็นแร่ธรรมชาติที่มีปนอยู่ในเนื้อหิน ประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม เหล็ก ซิลิเกต และธาตุอื่นๆ มีลักษณะเป็นเส้นใยละเอียด มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ทนไฟ ไม่นําความร้อนและไฟฟ้า มีความแข็งเหนียว และยืดหยุ่น สามารถนํามาปั่นเป็นเส้นและทอเป็นผืนได้ ทนกรดและด่างได้ดี จึงถูกนํามาใช้เป็นส่วนผสมใน ผลิตภัณฑ์หลายชนิด แต่เนื่องจากสารแอสเบสตอสเป็นเส้นใยที่มีขนาดเล็กและฟุ้งกระจายได้ง่ายในชั้นบรรยากาศ ทำให้เมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยการสูดหายใจ ทางจมูกหรือ โดยการกลืนกิน ทางปาก อันตรายของสารแอสเบสตอสเมี่อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้เกิดโรค
-โรคปอดอักเสบจากแอสเบสตอส (Asbestosis)
-โรคมะเร็งปอด (Lung cancer)
-โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (Mesothelioma)
ดังนั้นในระยะหลังจึงมีกฎหมายกำหมดห้ามใช้สารแอสเบสตอสในวัสดุก่อสร้างในหลายประเภทเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์ ทำให้ผู้ผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหินที่มีอยู่ในปัจจุบันบางเจ้าไม่มีการใช้สารตัวนี้ในการนำมาผลิตเป็นกระเบื้องมุงหลังคา แต่จะเพิ่มขนาดความหนาของหลังคาให้เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับความแข็งแกร่งที่ลดลงจากการที่ไม่ได้ใช้สารแอสเบสตอสเป็นองค์ประกอบในการผลิตกระเบื้องซีเมนต์ใยหินหรือบางเจ้าผู้ผลิตก็ลดปริมาณการใช้สารแอสเบสตอสให้น้อยลง ส่งผลให้กระเบื้องมุงหลังคาในปัจจุบันมีความแข็งแรง ทนทาน น้อยกว่าในอดีต ซึ่งทำให้เรามักจะได้ยินปัญหาของการติดตั้งกระเบื้องซีเมนต์ใยหินมุงหลังคาว่าติดตั้งไม่ทันไรกระเบื้องก็แตกลายงา หรือมีรอยร้าวเยอะแยะเต็มไปหมด, มีปัญหาน้ำฝนซึมผ่านกระเบื้องมาได้อย่างไรทั้งที่ยังติดตั้งหรือยังพึ่งเปลี่ยนกระเบื้องมาได้ยังไม่นาน, ทำไมกระเบื้องซีเมนต์ใยหินสมัยใหม่นี้ไม่นิยมใช้ตัวขอเกี่ยวหลังคาแล้วหรือ
จากข้อมูลในอินเตอร์เน็ตบอกว่าหลังจากประกาศห้ามใช้สารแอสเบสตอส ในผลิตภัณฑ์หลายประเภท จำนวนผู้ป่วยที่คาดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากสารเหล่านี้ไม่ได้มีจำนวนหรืออัตราที่ลดลง

-สาเหตุของปัญหาของการติดตั้งกระเบื้องซีเมนต์ใยหินในปัจจุบันคือช่างไม่นิยมติดตั้งหลังคากระเบื้องซีเมนต์ใยหินโดยใช้ขอเกี่ยวกระเบื้องหลังคายึดติดกับโครงหลังคาแบบวิธีการติดตั้งกระเบื้องมุมหลังคาในแบบสมัยก่อน โดยช่างจะบอกว่ามันไม่เป็นที่นิยมแล้ว ปัจจุบันนิยมใช้ตะปูเกลียวปล่อยยิงทะลุหลังคากับโครงสร้างแปหลังคาไปเลย โดยข้ออ้างที่ใช้ในการอ้างที่จะไม่ใช้ตะขอเกี่ยวหลังคานั้นมันมีข้อเสียคือถ้าลมพัดมาแรงๆย้อนลอนหลังคาขึ้นไปอาจทำให้น้ำฝนไหลย้อนรั่วเข้าตัวบ้านได้ หรือไม่ก็หลังคาอาจปลิวหลุดลงได้ โจรสามารถเข้ามาในตัวบ้านโดยทางหลังคาได้ แต่ในความเป็นจริงเราจะสังเกตุได้ว่าบ้านสมัยก่อนที่ได้ทำการติดตั้งหลังคากับตัวแปหลังคาโดยใช้ขอเกี่ยวยึดตัวกระเบื้องมุมหลังคากับตัวแปนั้นไม่ค่อยจะได้พบปัญหาต่างๆนานาเหมือนกับการติดตั้งด้วยการยึดกระเบื้องซีเมนต์ใยหินกับโครงสร้างหลังคาด้วยตะปูเกลียวปล่อยเหมือนในปัจจุบันนี้ ทั้งที่มุมองศาของหลังคาบ้านสมัยเก่ามักจะมีมุมที่ไม่ลาดชั้นนัก น้อยกว่ามุมองศา45องศาก็เยอะ

-ปัญหาของการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่โดยการตัดปลายส่วนมุมด้านบน และการตัดปลายส่วนมุมด้านล่างในตำแหน่งที่ตรงข้ามกัน โดยวัตถุประสงค์ของการตัดมุมกระเบื้องลอนคู่นั้นก็เพื่อให้การวางกระเบื้องซีเมนต์ลอนคู่ไม่ต้องเกิดการทับซ้อนกันของตัวกระเบื้องให้มากชั้น เพราะเมื่อมีการทับกันของตัวกระเบื้องซีเมนต์ลอนคู่มากชั้นก็จะเกิดการเผยอออกของขอบกระเบื้องมุงหลังคา ซึ่งอาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดการไหลย้อนของน้ำฝน ในเวลาที่มีฝนตกหนักได้ ซึ่งในตำแหน่งที่ต้องมีการทับซ้อนกันของกระเบื้องลอนคู่นั้นอาจจะต้องทับซ้อนกันถึง 4 แผ่นหรือเรียกว่าเป็นความหนา 4 ชั้น ดังนั้นเมื่อมีการตัดปลายของกระเบื้องมุงหลังคาของแผ่นที่จะนำมาวางทับกันแล้วก็จะเหลือความหนาเพียง 3 แผ่นหรือเรียกว่าความหนา 3 ชั้น ก็จะมีส่วนช่วยให้ตัวกระเบื้องลอนคู่มีการวางทับกันได้สนิทมากขึ้น แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตรงจุดนี้ที่เคยเจอก็คือช่างได้ทำการตัดตำแหน่งมุมของกระเบื้องซีเมนต์ใยหินมากไป ไม่เป็นมาตรฐานที่เท่าๆกันในทุกๆแผ่น ดังนั้นเมื่อนำมาปูทับกันบางแผ่นที่ตัดมุมมากไปก็จะเป็นจุดอ่อนที่น้ำฝนสามารถไหลยอนเข้ามาในตัวบ้านได้ หรือ มุมที่ตัดไม่ได้มาตรฐานที่เท่ากันนั้น เมื่อนำกระเบื้องลอนคู่มาปูทับกัน ก็ยังเหมือนมีความสูงของตัวกระเบื้องมุงหลังคา 4 ชั้น เหมือนกับการปูกระเบื้องมุมหลังคาที่ไม่ได้มีการตัดมุมกระเบื้องลอนคู่ออก เพียงแต่ว่าคราวนี้ตรงตำแหน่งมุมของกระเบื้องลอนคู่ที่ทับซ้อนกันนั้น พื้นที่ที่เป็นส่วนปลายของกระเบื้องซีเมนต์ใยหินที่มันทับกันนั้นมันสั้นไปบ้าง กระดกไปบ้าง ซึ่งก็จะเป็นจุดอ่อนของการที่น้ำฝนจะสามารถซึมผ่านเข้ามายังตัวบ้านได้ โดยระยะของการตัดมุมของกระเบื้องลอนคู่นั้นส่วนใหญ่จะพูดกันที่ตัดมุมด้านสั้นของกระเบื้องลอนคู่ออก 5 ซม.กับ ตัดมุมด้านยาวของกระเบื้องลอนคู่ออก 15 ซม. หรือ ตัดมุมด้านสั้นของกระเบื้องลอนคู่ออก 5 ซม.กับ ตัดมุมด้านยาวของกระเบื้องลอนคู่ออก 20 ซม. ซึ่งการตัดมุมทั้งสองด้านนั้นจะต้องเป็นมุมในตำแหน่งที่ตรงข้ามกัน ส่วนจะต้องตัดมุมของกระเบื้องซีเมนต์ใยหินด้านซ้ายหรือในด้านขวานั้นก็ขึ้นอยู่กับทิศทางของการที่ช่างจะทำการปูหลังคา ว่าจะเริ่มจากทางด้านซ้ายไปทางด้านขวา หรือจะเริ่มปูจากทางด้านขวาไล่มาทางด้านซ้าย อย่างไรก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมบอกได้เลยว่าการตัดมุมส่วนปลายของกระเบื้องลอนคู่นั้นไม่มีความจำเป็นเลย เสียเวลา เป็นจุดอ่อนของปัญหาต่างๆเช่น เสียเวลาช่างต้องมาทำการตัด ตัดแล้วเวลานำกระเบื้องขึ้นไปปูมุมที่ตัดก็ไม่ได้ต่อกันสนิท ตัดเกินกว่าจำนวนที่จะใช้เนื่องจากช่างจะทำการตัดไว้ล่วงหน้าโดยไม่ได้นับถึงจำนวนที่จะใช้ปูจริงๆเนื่องจากแผ่นแนวแรกและแนวสุดท้ายตรงสันหลังคาถ้าจะปูแบบตัดมุมหลังคามันจะต้องตัดมุมด้านเดียวไม่ใช้2มุมทแยง ช่างจะตัดเพลินทำให้ส่วนที่จะต้องทับกันของหลังคามีพื้นที่ที่ต้องทับเกยกันน้อยลง สร้างโอกาสน้ำฝนให้ไหลซึมเข้ามาได้ หลายบ้านที่ปูหลังคาโดยไม่ได้ตัดขอบก็ไม่เกิดปัญหาต่างๆอย่างที่ได้กล่าวไว้ จุดสำคัญคือแนวคาน แนวแป แนวอแส ต้องเป็นแนวที่ได้ระนาบราบเสมอกัน หลังคาที่ปูก็จะเกิดการทับกันสนิท ปัญหาที่เห็นบ่อยในส่วนนี้คือ เป็นหลังคาที่ต่อเพิ่มเติมจากส่วนเดิม ทำให้แปและอแสไม่เสมอกัน แปบางอันแอ่นเป็นท้องช้าง องค์ประกอบของส่วนหลังคาทรุดทำให้ระนาบของโครงหลังคาไม่ได้ระนาบราบเสมอกัน

-ปัญหาของการปูกระเบื้องมุงหลังคาลอนคู่ด้วยการปูแบบสลับแนวร่องรอยต่อหลังคา หรือบวกกับช่างตัดมุมตรงข้ามของกระเบื้องลอนคู่ด้วย โดยในหลักการปูหลังคาแบบสลับแนวร่องรอยต่อหลังคานี้เป็นหลักการไว้ใช้กับการปูเบื้องมุงหลังคาที่มีลักษณะแผ่นสั้นๆหรือก็คือการปูกระเบื้องมุงหลังคาประเภทกระเบื้องคอนกรีตเช่น กระเบื้องซีแพคโมเนีย แต่ในระยะหลังเห็นช่างรับเหมาหลายเจ้านำเอาหลักการนี้มาใช้ปูกับกระเบื้องลอนคู่ ซึ่งจากประสบการณ์ของข้าพเจ้าการปูในลักษณะนี้ก็ทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำฝนเข้ามาในตัวบ้านได้ แต่ยังหาสาเหตุไม่เจอว่าน้ำฝนสามารถไหลเข้ามาในตัวบ้านได้อย่างไร เนื่องจากมีตัวแปรอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในหลักวิชาการนั้นเค้าไม่แนะนำให้ใช้การปูกระเบื้องมุงหลังคาลอนคู่ด้วยการปูแบบสลับแนวร่องรอยต่อหลังคา

-ปัญหาของการติดตั้งกระเบื้องลอนคู่ด้วยการใช้ตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยในการยึดกระเบื้องลอนคู่กับแปหลังคา ซึ่งในการใช้ตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยจากหลังคาให้ทะลุมายึดกับตัวแปหลังคานั้นมีจุดอ่อนที่ข้าพเจ้าเคยประสพมาคือ ช่างได้ใช้ตะปูคอนกรีตตอกนำร่องบนลอนของหลังคาก่อน เพื่อเวลายิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยนั้นตัวตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยจะไม่ดิ้นหลุดจากจุดตำแหน่งที่ต้องการจะยิงระหว่างลอนหลังคากับแปที่วางบนโครงสร้างหลังคา หรือบางที่ก็ใช้ตะปูตอกให้ทะลุลอนหลังคามาเลยเพื่อที่เวลาใช้ตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยมายึดระหว่างกระเบื้องมุงหลังคากับโครงสร้างหลังคาจะได้ทำได้รวดเร็วสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าสังเกตได้ว่ารูบางรูที่ตอกทะลุด้วยตะปูนั้น ความฟิตของรูจะไม่ได้ดีเท่ากับการที่ยิงด้วยตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยเมื่อยิงโดยไม่ต้องมีการเจาะนำร่อง โดยรูที่ตอกนำร่องด้วยปะตูก่อนที่จะยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยนั้นบางรูจะมีขนาดหลวมกว่าขนาดของก้านตัวตะปูเกลียวปล่อยที่ยิงมายึดกระเบื้องลอนคู่กับแปหลังคา โดยช่างจะบอกว่าไม่เป็นไรหรอกเดียวหัวของตัวตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อย กับแหวนยางที่มีมากับตัวตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยก็จะมาปิดรูที่มันหลวมกว่าตัวของก้านตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยนั้นเอง ซึ่งในความคิดของผมผมว่าช่างหน้าจะใช้ดอกสว่านรูเล็กๆเจาะนำก่อนที่จะยิงตะปูเกลียวปล่อยลงบนแปยึดหลังคา ซึ่งประเด็นนี้ไม่มีใครแนะนำเลยทั้งๆที่มันเป็นการดีที่จะลดต้นตอของปัญหาและทำงานให้เรียบร้อย

-มุมของตัวตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยที่ยิงผ่านสันลอนของกระเบื้องลอนคู่ทะลุจนมายึดติดกับแปรของโครงสร้างหลังคาที่วางกระเบื้องลอนคู่ไม่ได้ทำมุมตั้งฉากหรือมุมที่เหมาะสมทำให้เมื่อติดตั้งกระเบื้องลอนคู่กับโครงหลังคาเสร็จแล้วนานวันเข้าเกิดลม ฝน ที่พัดมาแรงๆ ก็จะทำให้หลังคาเกิดการขยับ เลื่อน เคลื่อนที่ ส่งผลให้เกิดความห่างของแนวระดับชายกระเบื้องลอนคู่ที่ไม่เท่ากัน ร่องระยะของรอยต่อที่ไม่เท่ากันก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้น้ำฝนไหล รั่วซึมเข้ามาในตัวบ้านได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ช่างไม่สาเหตุยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยให้ยึดติดกับแปของโครงสร้างหลังคาในมุมฉากได้นั้นคือ ลักษณะการทำงานหน้างานของช่าง โดยช่างมักจะขึ้นไปนั่งบนโครงหลังคาแล้วทำการยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยในขณะที่นั่งอยู่บนแปบนโครงสร้างของหลังคาที่กำลังมุงกระเบื้องมุงหลังคา การทำงานในลักษณะนี้มุมที่ทำงานหรือมุมที่ทำการยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยนั้นจะถูกกำจัดพื้นที่ในการทำงาน ในหลายครั้งต้องนั่งทำมุมในการยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยในมุมที่ไม่ถนัด ไม่เหมือนกันการที่เราตั้งนั่งร้านแล้วทำการยืนที่นั่งร้านในขณะที่ยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อย การยืนทำงานที่นั่งร้านจะสามารถจัดท่าทางของการจับเครื่องมือเพื่อที่ใช้ยิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยได้สะดวกกว่าการขึ้นไปนั่งทำงานนี้ในขณะที่อยู่บนหลังคา เพราะในหลายครั้งเราต้องโก่งตัวเพื่อมายิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยในขณะที่เรานั่งอยู่บนโครงหลังคาในมุมที่สูงและเอียงเพื่อมายิงตะปูยึดหลังคาเกลียวปล่อยของหลังคาในมุมหรือระนาบที่ต่ำกว่า ทำให้องศาของการยิงตะปูเกลียวปล่อยนั้นไม่ได้ตั้งฉากกับตัวแปรทำให้การยึดติดระหว่างกระเบื้องหลังคากับแปหลังคามีโอกาสขยับเขยื้อนเกิดขึ้นในภายหลังได้ กับอุปกรณ์ที่ใช้ในการยิงตะปูเกลียวปล่อยนั้นไม่ได้มีปลอกสวมเพื่อทำให้การยิงตะปูเกลียวปล่อยลงบนพื้นผิวได้ฉาก(ที่อเมริกามีอุปกรณ์ตัวนี้ขายหลายสิบปีมาแล้ว)

ภาพกระเบื้องที่ตัดมุมบนและล่างตามหลักการ แต่ทำให้เกิดพื้นที่ที่น้ำฝนสามารถจะไหลย้อนเข้าไปได้ตามขอบ มุมที่เว้าเข้าไป








แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่