เรียนจบ วิศวะ สามารถเลือกสมัครงานอะไรได้บ้าง

เรียนจบ วิศวะ สามารถเลือกสมัครงานอะไรได้บ้าง



คำว่า วิศวกรรม ที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปในภาษาไทยนั้น เราแปลมาจากคำว่า ”Engineering” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งอ่านว่า เอ็น-จิ-เนีย-ริ่ง ซึ่งหนังสือ Encyclopaedia Americana ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า  “Engineering” เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยชัดเจนกับวิทยาศาสตร์ของการวางแผนการออกแบบการสร้าง และการใช้งานอย่างถูกหลักเศรษฐศาสตร์ของสิ่งก่อสร้างหรือเครื่องจักร Engineering Council for Professional Development แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายของ engineering ไว้ดังนี้คือ “การสร้างสรรค์โดยการนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ออกแบบ และพัฒนาสิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือกระบวนการผลิต หรือกิจกรรมใดๆ ซึ่งใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างเดียวกันหรือหลายอย่างรวมกัน หรือการก่อสร้างและการใช้งานสิ่งเหล่านี้ให้ประโยชน์ให้เต็มที่ หรือการพยากรณ์การทำงานของสิ่งเหล่านี้ภายใต้สภาวะของการใช้งาน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้สิ่งต่างๆดังกล่าวมาแล้วทำงานตามหน้าที่ที่ออกแบบมาให้ทำ ให้เป็นการคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน” กล่าวโดยสรุป วิศวกรรม คือ งานสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยอาศัยพื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเศรษศาสตร์มาช่วยในการสร้างสรรค์(ที่มา http://www.rmuti.ac.th/) ดังนั้นวิศวกร ควรจะมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

เป็นผู้ที่สามารถนำเอาความรู้ทาง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม นำไปประยุกต์ใช้ได้
เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ และแปรความหมายข้อมูลได้
เป็นผู้ที่สามารถออกแบบระบบ หรือ ขบวนการที่สามารถตอบสนองความต้องการได้
เป็นผู้ที่สามารถที่จะบ่งชี้ปัญหา คิดสูตร และแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้
เป็นผู้ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล
เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคนิค ความชำนาญ และเครื่องมือที่ทันสมัยที่จำเป็น สำหรับงานปฏิบัติทางวิศวกรรมได้
หลายๆคนที่เลือกเรียน วิศวะ ก็ยังคงไม่แน่ใจว่าอนาคตจะสามารถเลือกทำงานอะไรได้บ้าง แล้วควรเขียนเรซูเม่อย่างไรดี ก่อนจะเริ่มเขียนเรซูเม่เพื่อสมัครงานวิศวะ การสำรวจตัวอย่างงานวิศวกร ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ดีที่จะทำให้เรารู้ว่า ความต้องการของนายจ้างต่องานวิศวกรเป็นอย่างไร ตำแหน่งงานชื่ออะไร หน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณสมบัติเป็นอย่างไร เมื่อทำการสำรวจดีแล้วจึงนำมาปรับให้เข้ากับเรซูเม่หรือประวัติย่อของเรา เราจึงจะได้เรซูเม่ที่มีคุณภาพและน่าสนใจ เพื่อให้นายจ้างหรือHr เรียกเข้าสัมภาษณ์งานต่อไป



ตอนนี้มาดูกันว่าผู้ที่เรียนจบวิศวะสาขาต่างๆสามารถเลือกทำงานอะไรได้บ้าง

1.วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำการออกแบบและผลิตแผ่นวงจรรวม อุปกรณ์หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ ได้แก่ บริษัท FASL(Thailand) หรือเดิมคือ Advanced Micro Devices (AMD), Philips Semiconductor, Lucent, Seagate, Sony Semiconductor, Toshiba Semiconductor
การสื่อสารและโทรคมนาคม ต้องการวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสาร ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson Nokia AT&T และ SIEMENS
วิศวกรการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ บริษัท SONY HITACHI Panasonic Mitsubishi ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่ของคนไทยและอุตสาหกรรม SME ที่มีอยู่อย่างมากมาย
วิศวกรควบคุมและซ่อมบำรุงระบบในอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์
2.วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงานเพราะทุกธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิศวกรสามารถเลือกงานได้ 3 ลักษณะคือ

วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโครงข่ายให้แก่ภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งงานคือบริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรใหญ่และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T บริษัท ไอบีเอ็ม บริษัท SUN Microsystem บริษัท LUCENT Technology บริษัท CISCO เป็นต้น วิศวกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้มีรายได้เงินเดือนสูงมาก
วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิศวกรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายของธนาคารและห้างสรรพสินค้า
วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ รับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการเองได้
3. วิศวกรไฟฟ้ากำลัง สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่

วิศวกรประจำโรงงานทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้า ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม
วิศวกร ออกแบบ อนุมัติแบบ ควบคุมงานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานวิศวกรสาขาอื่นๆ เพื่อให้การก่อสร้างอาคารและโรงงาน สำเร็จลุล่วง
วิศวกรควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง โรงแยกก๊าซ ปตท การรถไฟฟ้ามหานคร
วิศวกรปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและวิจัยผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า
วิศวกรวางแผนการใช้พลังงานประจำโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีแผนการประหยัดพลังงาน
4. วิศวกรโทรคมนาคม วิศวกรรมโทรคมนาคม เป็นวิศวกรรมศาสตร์ ที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งปวงมา รวบรวมเป็นองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งเฉพาะทางและเป็นวิศวกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายๆ ด้าน ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน ในงานวิศวกรรมโทรคมนาคมเป็นการรวบรวม วิศวกรรมแทบทุกสาขามาในงานวิศวกรรมโทรคมนาคม แม้แต่งานด้านวิศวกรรมโยธา ก็ยังเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การวางฐานราก เสาตั้งสายอากาศ เป็นต้น หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เช่น ความถี่วิทยุ และใยแก้วนำแสง มาประยุกต์ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เป็นต้น

อันที่จริงวิศวกรรมโทรคมนาคม ในปัจจุบันจะเป็นตัวกลางในการหลอมรวมทางวิศวกรรมในทุกสาขาเข้าด้วยกัน (Engineering Convergence)ดังหน้าที่ของ งานโทรคมนาคม อยู่แล้ว วิศวกรโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องเชี่ยวชาญงานหลายๆ ด้านให้มากที่สุดทั้ง งานอิเล็กทรอนิกส์ งานไฟฟ้ากำลัง งานคอมพิวเตอร์ งานอิเล็คทรอนิกส์เชิงกล งานสายอากาศและคุณสมบัติคลื่น งานโยธาเล็กน้อย รวมทั้งงานจัดการโครงการ เป็นต้น

วิศวกรรมโทรคมนาคม ทำให้เกิดมีทรัพยากร คลื่นวิทยุ (Radio Wave)กลายเป็นทรัพยากรของมนุษย์โลกที่มีค่าประเมินไม่ได้เกิดขึ้นจากงานวิศวกรรมโทรคมนาคม และเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง กลายเป็นคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์โลก (Third Wave Concept) และการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ เครือข่าย (Network)

ปัจจุบันงานวิศวกรรมโทรคมนาคม ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และมีวงจรชีวิตของสินค้า หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม สั้นลง (Shortly Technology Life Cycle)และมีความซับซ้อนสูงขึ้น พร้อมๆ ไปกับการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วยดังที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน

วิศวกรโทรคมนาคมเป็นที่ต้องการมากในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารและระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งในภาครัฐและเอกชน ได้แก่

วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท ไทยคม บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson บริษัท Nokia บริษัท AT&T และบริษัท SIEMENS
วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลไยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม
วิศวกร ออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ
วิศวกรดูแลระบบระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย บริษัท วิทยุการบิน จำกัด

(ยังไม่จบนะครับ...เดี๋ยวมาต่อ 5-10 ครับ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่