แร่ยูเรเนียม ลักษณะหน้าตาเป็นยังไงคับ ผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยคับ

กระทู้คำถาม
พอดี ผมได้เข้าไปอ่านในหัวข้อของแร่ยูเรเนียมแล้ว บางคนก็ว่า ลักษณะจะเป็นก้อนเล็กๆ ออกสีใสๆดำๆเงา บางคนก็ว่า เป็นก้อนแบบผนึก ออกสีเหลือง เขียว ใสๆสะท้อนแสง บางคนก็บอกว่า มันจะเป็นผงละเอียดมาก จะออกสี เหลืองๆทองสะท้อนแสง ประมาณนี้คับ ผมไม่รู่ว่า อันไหนจะจริงกันแน่คับ
แล้วขอทราบคุณสมบัติ กับ โทษของมันด้วยคับ ว่ามันใช้งานยังไงและมีผลข้างเคียงยังไง
แล้วขออีกข้อหนึ่งคับ(ขอถามแบบบ้านนอกมากๆคับ) เรื่องเขาซื้อขายกัน ผมเคยได้ยินเขาว่าเขาซื้อขายกันแล้วมันผิดกฏหมายด้วยหรือคับ

( ถ้าผมถาม หรือพูดอะไรผิดไป ขอโทษ ณ โอกาสนี้ด้วยนะคับ ) ยังไงผู้รู้ช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อยคับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
Uranium   ตามธรรมชาติที่พบนั้น  จะพบในรูปแบบสินแร่ปะปนกับธาตุอื่น ๆ
โดยตัวมันเองแบบ  " ดิบ ๆ "  จากเหมืองที่ขุดเอามาจากใต้ดินนั้นจะมีลักษณะขาวเงิน มันวาว  
แต่มันจะปนอยู่กับก้อนแร่อื่นด้วย  อย่างใน 2 ภาพนี้  เป็นก้อนแร่ที่มี Uranium ปนอยู่  แต่จะมีปนอยู่แค่
0.1 - 1% ของน้ำหนักเท่านั้น

ภาพของ Uranium  ดิบ ๆ จากเหมือง  แบบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใดเลย


ภาพนี้  ในก้อนสีเหลือง ๆ เขียว ๆ คือสายแร่ Uranium



กระบวนการต่อไปจากที่เอาก้อนสินแร่ Uranium มาแล้ว  คือ  จะทำการบดสินแร่พวกนั้นจนเป็นผงละเอียด
แล้วใช้กรด หรือ ด่างเข้มข้นเพื่อชะให้ Uranium ละลายแยกออกมา (เรียกว่าขั้นตอน Leaching)
จากนั้นจึงนำสารละลายที่ได้มาสกัด Uranium  แล้วทำให้มันตะกอนออกมาในรูปของ Uranium Peroxide
ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเหลือง เรียกกันว่า  " Yellow cake "  โดยที่จุดนี้จะมีความเข้มข้นสูงถึง 70% โดยน้ำหนักทีเดียว

ภาพของ Yellow cake (Uranium Peroxide)  ที่ผ่านกระบวนการ Leaching ด้วยกรดมาแล้ว



ต่อไป .... จาก yellow cake ก็จะผ่านกระบวนการต่อไปที่จะแปลง yellow cake ให้กลายเป็น
Uranium hexafluoride (UF-6)  โดยการใช้ธาตุ fluorine มาผ่านกระบวนการมากระดับหนึ่งครับ  
โดยคร่าว ๆ คือจะมีกระบวนการใช้ธาตุ fluorine กับ Uranium ให้เกิดเป็นแก้ส UF-6
ซึ่ง UF-6 นี้  จะมีความหนัก หรือ เบา ไม่เท่ากันครับ  ที่ไม่เท่ากันนี้เพราะขึ้นกับ Isotope ของ Uranium ด้วย
ซึ่ง Isotope ของ Uranium จะมี 3 อย่าง คือ  U-234   U-235  และ  U-238   โดยการแยก gas UF-6
ที่หนักไม่เท่ากันนี้  ทำให้เราได้ Uranium ที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน คือ  U-235  และ  U-238
โดยกระบวนการแยก 235 กับ 238 นี้  จะใช้กระบวนการหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) เพื่อให้ UF-6
ที่มีโมเลกุลหนักกว่า  แยกไปสู่อีกส่วนหนึ่งของเครื่องมือ

ในที่สุด .... เราก็จะได้ U-235 จากกระบวนการ centrifuge นี้ครับ
โดยจะนำผง U-235 นี้  ไปเข้ากระบวนการ  " อัดเม็ด "  ซึ่งมาถึงจุดนี้
เราจึงเห็นผง U-235 ที่ผ่านกระบวนการ centrifuge มาหลายชั้นแล้ว
เป็นเม็ดสีดำ ๆ  เรียกว่า Fuel pellet  ตามภาพล่างนี้ครับ



กระบวนการสุดท้าย  ก็คือเอา fuel pellet  มาห่อหุ้มบรรจุใน  " ท่อ "  ที่ทนทานต่อแรงอัด
อุณหภูมิ และ  การสึกกร่อน เรียกว่า แท่งเชื้อเพลิง (Fuel rod) จากนั้นก็เอา Fuel rod  หลายแท่ง
มาประกอบเป็นมัดเชื้อเพลิง (Fuel assembly)  เพื่อนำไปใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต่อไปครับ

ภาพแสดงถึงการนำ fuel pellet มาใส่ใน Fuel rod  และเอามามัดรวมกันเป็น Fuel assembly



ในการนำ Fuel assembly ไปใช้งาน นั้น ไปอ่านต่อที่นี่ดีกว่าครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
เพราะมันเกี่ยวกับ Nuclear Fission  และอื่น ๆ ที่ค่อนข้างละเอียดครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่