วิชามารของ กฟผ.ต่อกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน



การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยที่รัฐบาลในยุคนั้นได้รวมรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบในการจัดหาไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งได้แก่ การลิกไนต์ (กลน.) การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ (กฟ.อน.) มาจัดตั้งเป็น “การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า “กฟผ.” โดยมีนายเกษม จาติกวณิช เป็นผู้ว่าการฯ คนแรก โดยมีหน้าที่ในการผลิตและส่งไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่ประชาชน มีการพัฒนาแหล่งผลิต ขยายหน่วยผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ฯลฯ
       
           ในยุคแรกๆ การดำเนินงานของ กฟผ.ไม่มีกระแสต่อต้านจากชุมชนมากนัก จนเมื่อเกิดกรณีผลกระทบจากการดำเนินการที่แม่เมาะ ทำให้มีกระแสตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ ของ กฟผ.มากขึ้น และ กฟผ.ต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 300 ล้านบาท ในการทำงานมวลชนสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับการดำเนินการของ กฟผ.ในพื้นที่ งบประมาณปีละ 300 ล้านบาท/ปีทำให้ กฟผ.ผลิตวิชามารมาใช้กับประชาชน และส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในประเด็นที่จะนำถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงในการดำเนินการผลิตไฟฟ้า
       
        ตั้งแต่ปี 2514-2525 เป็นช่วงที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงใน กฟผ.เพราะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว คือจากลิตรละ 40 สตางค์ เป็น 4 บาท ส่งผลกระทบอย่างมากต่อกิจการผลิตไฟฟ้า เพราะในยุคนั้นมีสัดส่วนในการใช้น้ำมันเตาในการผลิตถึงร้อยละ 70 วิกฤตการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวและวางแผนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการใช้น้ำมันลงให้มากที่สุด และหนึ่งในการปรับตัวของ กฟผ.คือการหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้วัตถุดิบในการผลิตมาเป็นถ่านลิกไนต์ในการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของการพัฒนาถ่านลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำ กฟผ.จึงได้ขยายกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจากเดิม 2 เครื่องมาเป็น 13 เครื่อง และพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันลง กฟผ.ยังได้สำรวจและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำมาอย่างต่อเนื่อง คือ เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่