BEC: รายงานประจำปี 2549

Page 1

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

q บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30-34 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 02 204-3333, 02 262-3333 โทรสาร : 02 204-1384 www.becworld.com www.thaitv3.com

รายงานประจำปี 2549

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

CANADA

USA

JAPAN


“เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิต และนำเสนอข่าวสาร สาระและความบันเทิง ที่ ให้คุณค่าสูงสุด”

1

2

4

6

ข้อมูลสำคัญ ทางการเงิน

รายงาน คณะกรรมการ

รายงาน คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษทั

8

9

12

14

คณะกรรมการบริหาร และเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

โครงสร้าง กลุม่ บริษทั บีอซี ี เวิลด์

กิจกรรมเด่น และรายการดี ในรอบปีทผ ่ี า่ นมา

การดำเนินธุรกิจของ “กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ”

16

24

25

26

คำอธิบายและ การวิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน และฐานะการเงิน

รายงานของ คณะกรรมการทีเ่ กีย่ วกับ ความรับผิดชอบในการ จัดทำรายการทางการเงิน

รายงานของ ผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาต

งบการเงิน

59

61

75

77

โครงสร้างรายได้ และการเปลีย่ นแปลง ในปีทผ ่ี า่ นมา

การจัดการ และการกำกับ ดูแลกิจการ

การจ่ายค่าตอบแทน กรรมการและผูบ้ ริหาร ในรอบปี 2549

รายการระหว่างกัน กับบุคคลทีอ่ าจมี ความขัดแย้งในปี 2549

78

84

94

ข้อมูลอืน่

ข้อมูลผูบ้ ริหาร

บุคคลอ้างอิงอืน่ ๆ

EXTI EMERGENCY WAY CO., LTD. 02-986-2525-28

สารบัญ


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลสําคัญทางการเงิน

หน่วย : ล้านบาท 2549

2548

2547

7,226 1,031 6,195 6,775 6,951 3,491 1,643

6,803 959 5,844 6,291 6,420 2,387 881

7,565 1,245 6,320 6,320 6,473 3,178 1,602

อัตราส่วนทางการเงิน

2549

2548

2547

23.63% 26.52% 22.73% 0.82 0.75* 3.10

13.72% 15.08% 12.95% 0.44 0.45 2.92

24.75% 25.35% 21.18% 0.80 0.90 3.16

สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น รายได้จากการขาย รายได้รวม กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ

อัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวม อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (บาท) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)

หมายเหตุ * เงิน ปันผลของปี 2549 เป็นตัวเลขที่เสนอจ่ายแสดงไว้เป็นตัวเลขอ้างอิง และได้รวมเงิน ปันผล

ระหว่างกาลจำนวน 0.35 บาทต่อหุ้น ที่ได้จ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2549 ไว้ด้วย นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของงบการเงินรวมในแต่ละงวดบัญชี ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องลงทุนในโครงการสำคัญ สำหรับการพิจารณา การจ่ายเงินปันผลจากบริษัทย่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่บริษัทฯ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 99.99 ให้แก่บริษัทนั้น

จะคำนึงถึงความต้องการใช้เงินสดของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเป็นสำคัญ เพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้ตาม นโยบายนี ้


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

รายงานคณะกรรมการ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ปี 2549 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีกำไรสุทธิ 1,643 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 762 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 86 โดยบีอีซี เวิลด์ ได้ปรับฟื้นธุรกิจดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ ไตรมาสสี่ของปี 2548 เพิ่มรายได้จากการขายเวลาโฆษณามากกว่าปีก่อน 1,151 ล้านบาท เราสามารถเพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาขึ้นมาได้โดยตลอด และปรับเพิ่มราคาในบางช่วง เวลา ในขณะที่ต้นทุนการให้บริการไม่ ได้เพิ่มขึ้นตาม แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

จะมีส่วนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ จึงทำให้กลุ่ม

บีอีซี เวิลด์ มียอดกำไรสุทธิและอัตรากำไรเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นการดำเนินการปรับฟื้นตัว ของธุรกิจโทรทัศน์ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ตามที่ ได้รายงานให้ทราบในการประชุมครั้งก่อน ทั้งนี้ การลงทุนขยายพื้นที่ช่วงเวลาไพรม์ ไทม์ การพัฒนาช่วงเวลานอกไพรม์ ไทม์ และการ ปรับปรุงคุณภาพการออกอากาศ ที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ดำเนินการในปีก่อนๆ ได้สัมฤทธิ์ผล ด้วยดี เราสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ รายได้จากการ ขายเวลาโฆษณาในปี 2549 ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่า ปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก และสูงกว่างยอดสูงสุดในปี 2547 กว่าร้อยละ 11


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

กลุ่มบีอีซี เวิลด์ สามารถเพิ่มส่วนแบ่งผู้ชมโทรทัศน์ได้สูงขึ้น ปัจจุบันขึ้นไปอยู่ ในระดับเดียวกันกับใน ช่วงปี 2544-2545 และส่วนแบ่งผู้ชมในปี 2549 ก็เฉลี่ยสูงกว่าในช่วงสองปีก่อนหน้านี้ ส่งผลทำให้อัตราส่วนแบ่ง ตลาดเม็ดเงินโฆษณาของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 สินค้าประเภทเครื่องดื่มได้ ลดการใช้เงินโฆษณาลงบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมได้มีความหลากหลายมากขึ้น การเพิ่มการใช้จ่ายของสิ้นค้ากลุ่มเล็กๆ ได้เพิ่มเป็นจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี ส่วนในช่วงต้นของปี 2550 มีผู้ประกอบการในธรุกิจการเงินเข้ามาเป็นผู้โฆษณารายใหญ่ ร่วมกับผู้ประกอบการในธุรกิจสินค้าอุปโภคและ บริโภค อีกทั้งส่วนแบ่งตลาดของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ก็เพิ่มขึ้นในสัดส่วนเดิมกับปี 2546 ซึ่งเป็นปีที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ มี กำไรสูงสุด เชื่อว่าในครึ่งหลังของปี สถานการณ์โดยรวมของประเทศจะดำเนินไปด้วยดี และอุตสาหกรรมในธุรกิจ

ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ จะเจริญงอกงามยิ่งขึ้น เป็นที่มั่นใจได้ว่า ความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ที่ดีขึ้น เป็นลำดับ จะทำให้เราสามารถสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ดียิ่งขึ้นไปอีก การดำเนินงานที่ดี ที่เราสามารถทำได้ ในช่วงปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นผลจากความร่วมมือร่วมใจของ พนักงานและผู้ร่วมงานของเราในทุกระดับ พร้อมทั้งการสนับสนุนอย่างดีทั้งจากลูกค้า ท่านผู้ถือหุ้น นักลงทุน และ ประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้ชมของเรา ซึ่งข้าพเจ้าในนามของคณะกรรมการบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ขอ ขอบพระคุณทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้

(นายวิชัย มาลีนนท์)

ประธานคณะกรรมการ ในนามคณะกรรมการ


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ตามที่ ค ณะกรรมการบริ ษั ท ได้ มี ม ติ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่ ง ประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่เป็นอิสระจากการบริหารงานรวมสามคน คือ นายอรุณ งามดี เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ นายประธาน รังสิมาภรณ์ และ นายมานิต บุญประกอบ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ คือ การ สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุม ภายในที่ดี มีการตรวจสอบภายในอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดูแลให้บริษัทปฏิบัติ ตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ พิจารณา

คัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทน


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ในรอบปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวม 6 ครั้ง โดยมีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญ คือ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำปี รวมทั้งงบการเงินรวมของบริษัทและ บริษัทย่อย ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผลจากการสอบทานงบการเงินประกอบกับคำชี้แจงของผู้สอบบัญชีและ

ฝ่ายบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบเชื่อว่างบการเงินดังกล่าวได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีโดยมีความถูกต้อง ครบถ้วน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ 2. ประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน ผ่านการกำกับดูแลและ การตรวจสอบของสำนักตรวจสอบภายใน และผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี สนับสนุนความเป็นอิสระในการ ทำงานของสำนักงานตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี ได้ประชุมหารือกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี เพื่อ พิจารณาประเด็นข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการควบคุมภายในให้แก่ฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบเชื่อว่า ระบบการควบคุมภายในของบริษัทมีความเหมาะสมและ เพียงพอ 3. สอบทานการปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามผลการ

ปฏิบัติงานตามระบบงานที่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาแล้ว 4. สอบทานการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทโดยเฉพาะรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการอื่นที่อาจมี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 5. พิจารณาสอบทานการจัดองค์กร ขอบเขตและความรับผิดชอบของสำนักตรวจสอบภายใน กฎบัตร สำนักตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบประจำปี 6. พิจารณาหารือกับตัวแทนฝ่ายบริหาร เพื่อรับทราบประเด็นที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร งานและอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และให้ความเห็นเสนอแนะฝ่ายบริหารตามความเหมาะสม 7. คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะให้แก่คณะกรรมการ บริษัททราบทุกครั้งที่มีการประชุมคณะกรรมการบริษัท สำหรับรอบปีบัญชี 2550 คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ว่าเห็นสมควร เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้แต่งตั้ง นายชัยกรณ์ อุ่นปิติพงษา และ/หรือ นายอภิรักษ์ อติอนุวรรตน์ ผู้สอบบัญชี แห่งสำนักงานดร.วิรัช แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อไปอีกวาระหนึ่ง

(นายอรุณ งามดี)

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัท

นายวิชัย มาลีนนท์

นายประสาร มาลีนนท์

นายประธาน รังสิมาภรณ์

นายมานิด บุญประกอบ

ประธานกรรมการ

นายอรุณ งามดี กรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ

รองประธานกรรมการ

กรรมการอิสระ


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

นายประวิทย์ มาลีนนท์

นางสาวรัตนา มาลีนนท์

นางสาวนิภา มาลีนนท์

นางสาวอัมพร มาลีนนท์​์

นายประชุม มาลีนนท์

นางรัชนี นิพัทธกุศล

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

นายฉัตรชัย เทียมทอง เลขานุการบริษัท


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ประกอบด้วยกรรมการรวม 3 ท่าน ได้แก่ 1. นายอรุณ งามดี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 2. นายประธาน รังสิมาภรณ์ กรรมการตรวจสอบ 3. นายมานิต บุญประกอบ กรรมการตรวจสอบ นายฉัตรชัย เทียมทอง เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ประกอบด้วยกรรมการรวม 3 ท่าน ได้แก่ 1. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ ประธานคณะกรรมการสรรหา 2. นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการสรรหา 3. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการสรรหา นายฉัตรชัย เทียมทอง เลขานุการคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร 1. นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการบริหาร 2. นายประสาร มาลีนนท์ รองประธานกรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3. นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจโทรทัศน์ 4. นายประชุม มาลีนนท์ กรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจสื่อใหม่ 5. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ กรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการอาวุโส สายบัญชีและการเงิน 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ กรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการอาวุโส สายธุรกิจผลิตรายการ 7. นางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดและการขาย 8. นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ 9. นายปณิธาน ทศไนยธาดา ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา 10. นายฉัตรชัย เทียมทอง ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน 11. นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน 12. ดร.อภิญญา กังสนารักษ์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 13. นายพิษณุ เรืองรจิตปกรณ์ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี 14. นายณพพงศ์ บุตรขวัญ ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน 15. นายนพดล เขมะโยธิน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

โครงสร้างกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์

กลุ่มธุรกิจดำเนินการออกอากาศ และสื่อโฆษณา q ออกอากาศโทรทัศน์

100% บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ (300) q ออกอากาศวิทยุ 100% ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด (35) q ธุรกิจสื่อใหม่ 100% บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด (200 : ชำระแล้ว 50) 100% บริษทั แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติง้ จำกัด* (1) 100% บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด* (25) 100% บริษัท บีอีซีไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด (200) q 50% บริษทั ไทยออดิโอเท็กซ์ เซอร์วสิ จำกัด (30) q 51% บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด (10) q 60% บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด (7.5) 40% 9

กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา-ผลิตรายการและ

จัดจำหน่ายรายการ

q จัดหา-ผลิต และจัดจำหน่ายรายการบันเทิงและสารคดี

100% บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด (5) 100% บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด (5) 100% บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด (5) 100% บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน) q 60% บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด (10) q ธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน

100% บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (1) 100% บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด (15) 100% บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด (30) 100% บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด* (5) 100% บริษัท สำนักข่าว บีอีซี* (5)

q จัดจำหน่ายและให้เช่าวีดีโอเทป, VCD และ DVD

20% บริษทั ซีวดี ี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (360) q ผลิตรายการแสดง ผลิตและส่งเสริมการจำหน่ายเพลง

หมายเหตุ 1. ข้อมูล ณ ธันวาคม 2549 2. ตัวเลขในวงเล็บแสดงทุนจดทะเบียน (หน่วย : ล้านบาท) ยกเว้น บริษัท ธีมสตาร์ จํากัด ซึ่งเป็นล้านดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา 3. ตัวเลขเปอร์เซ็นแสดงสัดส่วนการถือหุ้น ยกเว้น บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งแสดงตามส่วนได้เสีย * ยังไม่เริ่มดําเนินการ

และจัดหากิจกรรมณรงค์ต่างๆ 60% บริษัท บีอีซี - เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (250 : ชำระแล้ว 200) q 100% บริษทั ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม จำกัด (10) q 100% บริษัท บีอีซี-เทโร อาร์เซนอล จำกัด (18) q 60% บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่น จำกัด (5) q 49% บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด (49.96) q 40% บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (3) q 40% บริษัท ธีมสตาร์ จำกัด (4.02)


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

10


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

11


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

กิจกรรมเด่นและรายการดี ในรอบปีที่ผ่านมา

12


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

13


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การดําเนินธุรกิจของ “กลุ่มบีอีซี เวิลด์”

กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นในระหว่างปี 2538 โดยการรวมเอาบริษัทของ “มาลีนนท์” ที่ ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับธุรกิจดำเนินการออกอากาศและสื่อโฆษณา และธุรกิจการจัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์ เข้าด้วยกัน ณ มีนาคม 2550 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประกอบด้วยบริษัททั้งหมดรวม 28 บริษัท ได้แก่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน), บริษัทย่อย 23 บริษัท, บริษัทร่วม 4 บริษัท (ไม่รวมบริษัทย่อยของบริษัทร่วม) โดยมี บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทใหญ่ สามารถแยกออกเป็นกลุ่มตามลักษณะของธุรกิจที่ดำเนินกิจการได้ดังนี้ 1. กลุ่มธุรกิจดำเนินการออกอากาศและสื่อโฆษณา ประกอบด้วย

1.1 ออกอากาศโทรทัศน์ แยกเป็น

1.2 ออกอากาศวิทยุ

ระบบฟรีทีวี ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ดำเนินงานธุรกิจบริหารสถานีวทิ ยุโทรทัศน์ไทยทีวสี ชี อ่ ง 3 ดำเนินการโดย บริษทั

บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ซึง่ มีสญ ั ญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สกี บั บริษทั อสมท จำกัด (มหาชน) ผูซ้ งึ่

ได้รับโอนสิทธิมาจากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยที่ได้ยุบเลิกไปแล้ว ถึงเดือนมีนาคม 2563 โดย บริษัท เป็นเจ้าของเวลาออกอากาศทั้งหมด มีหน้าที่จัดผังรายการออกอากาศให้เหมาะสมทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้มีจำนวน

ผู้ชมสูงสุดตลอดเวลา โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ดำเนินการส่งสัญญาณไปออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นในระบบโทรทัศน์ผ่าน

ดาวเทียมระบบบอกรับเป็นสมาชิก ออกอากาศ 24 ชัว่ โมง ทุกวัน และในอนาคตอันใกล้นี้ จะร่วมกับ Jump TV ผู้ให้บริการ

ส่งสัญญาณโทรทัศน์บนอินเตอร์เน็ต (IPTV) ออกอากาศช่องรายการของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ให้ผู้สนใจบอกรับเป็นสมาชิกชมรายการได้ตามความต้องการทุกที่ในเขตให้บริการดังที่กล่าว กลุ่มดำเนินงานธุรกิจวิทยุผ่าน บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด, บริษัท ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด และ บริษัท บีอีซี - เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) [บีอีซี-เทโร] โดยมี บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี - เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ บีอีซี - เทโร กับเวอร์จิ้น เรดิโอ เอเซีย เป็นผู้ขายเวลาโฆษณาและที่ปรึกษาด้านการพัฒนารายการ ออกอากาศวิทยุทางคลื่นเอฟเอ็ม 3 สถานี ทางสถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 95.5, 103.0 และ 105.5 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่คลื่นเอฟเอ็ม 95.5 เป็นคลื่นซึ่งร่วมผลิตกับกรมประชาสัมพันธ์ สัญญาสิ้นสุดธันวาคม 2550 ส่วนคลื่นเอฟเอ็ม 103 เป็นคลื่นซึ่งร่วมผลิตรายการกับสถานีวิทยุกระจายเสียงจเรทหาร สื่อสาร สัญญาสิ้นสุดธันวาคม 2551 ในขณะที่สถานีวิทยุเอฟเอ็ม อสมท. 105.5 มีสัญญาให้ดำเนินการจนถึงเดือน มีนาคม 2563 14


ดําเนินธุรกิจของ “กลุ่มบีอีซี เวิลด์”

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

1.3 ธุรกิจสื่อใหม่ กลุ่มดำเนินงานธุรกิจสื่อใหม่ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับ - ส่ง ข้อมูลภาพและเสียงผ่านระบบ สัญญาณโทรศัพท์ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ โดยดำเนินการผ่าน บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์ เซอร์วิส จำกัด, บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด อีกทั้งกำลังมองหาช่องทางดำเนินธุรกิจรับ - ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ผ่านทาง บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 2. กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา - ผลิตรายการ และจัดจำหน่ายรายการ ประกอบด้วย

2.1 จัดหา - ผลิตและจัดจำหน่ายรายการบันเทิงและสารคดี

กลุ่มดำเนินงานจัดหา - ผลิตและจัดจำหน่ายรายการผ่าน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด(มหาชน), บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด, บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด, บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด, บริษัท ทีวีบี 3 เน็ตเวอร์ค จำกัด, บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท บีอีซี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแยกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อยตามลักษณะรายการที่ผลิต ซึ่งได้แก่ บางกอกดราม่า, บางกอก คอมมีดี้, บางกอกทีวี, รายการที่จัดหาและผลิตส่วนใหญ่เป็นรายการสาระบันเทิง เพื่อใช้ ในการออกอากาศทางไทยทีวีช่อง 3 เป็นส่วนใหญ่ 2.2 ผลิตรายการแสดง ผลิตและส่งเสริมการจำหน่ายเพลง และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ กลุ่มดำเนินงานผลิตการแสดง และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ผ่าน บริษัท บีอีซี - เทโร เอ็นเตอร์

เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเน้นการจัดแสดงคอนเสิร์ตและการแสดงจากต่างประเทศ รวมถึงงานส่งเสริมการ ตลาดและจัดการแข่งขันกีฬา ในส่วนของธุรกิจสนับสนุนการผลิตรายการแสดงนั้น บีอีซี - เทโร ได้บริหารพื้นที่ BEC-Tero Hall เพื่อการให้เช่าพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ และมี บริษัท ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม จำกัด ให้บริการทำ โฆษณาประชาสัมพันธ์ บริการรับจองและขายบัตรเข้าชมการแสดง ส่วนงานพัฒนา, สร้าง และจัดการแสดงทั่วโลก นั้น ดำเนินการโดยบริษัทร่วมชื่อ ThemeStar Limited ธุรกิจให้บริการจัดกิจกรรม, งานแสดงสินค้า รวมถึงธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจกรรมและงานแสดงสินค้า ดำเนินการโดยบริษัทย่อยชื่อ บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่น จำกัด

ธุรกิจบริหารจัดการทีมฟุตบอล และธุรกิจอืน่ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับฟุตบอล เช่น การฝึกอบรม การขายของทีร่ ะลึก ดำเนินการ

โดย บริษัท บีอีซี - เทโร อาร์เซนอล จำกัด ธุรกิจผู้ดูแลและจัดการลิขสิทธิ์เพลงที่ผลิตในประเทศ ดำเนินงานโดย บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 2.3 ธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจให้บริการสารสนเทศภายใน ดำเนินการโดย บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด ธุรกิจ ถือครองและให้เช่าทรัพย์สิน ดำเนินการโดย บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด และธุรกิจให้บริการในการดำเนินการออก อากาศ ดำเนินการโดยบริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด นอกจากนี้ ได้มีแผนที่จะดำเนินธุรกิจให้บริการ

การผลิต - ให้เช่าสตูดโิ อและ/หรืออุปกรณ์สตูดโิ อเพือ่ การผลิตและให้บริการ Post Production โดย บริษทั บีอซี ี สตูดโิ อ

จำกัด ธุรกิจผลิตรายการข่าว ซึง่ จะแยกฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวสี ชี อ่ ง 3 และสถานีวทิ ยุขนึ้ มาเป็นหน่วยงาน

อิสระ ทำหน้าทีผ่ ลิตข่าวเพือ่ ออกอากาศทัง้ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนถึงข่าวทีจ่ ะขายให้แก่สำนักข่าวอืน่ ๆ ในนาม

บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด นอกจากนี้ กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 20 ใน บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของกลุ่มซีวีดี ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากค่ายต่างๆ ทั้งในและ

ต่างประเทศ, จัดจำหน่ายและให้เช่าวิดีโอเทป, VCD และ DVD โดยเน้นเพื่อความบันเทิงภายในบ้านเป็นหลัก ปัจจุบัน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หุ้นของบริษัทได้เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยมาตัง้ แต่เมือ่ วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 โดยใช้ชอื่ ย่อว่า “BEC” ณ วันสิน้ ปี 2549 กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ มีพนักงานรวม

ทั้งสิ้น 1,838 คน บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ทะเบียนเลขที่ 0107538000673 (เดิมเลขที่ บมจ.590)

มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30 - 34 อาคารมาลีน นท์ ทาวเวอร์ เลขที่ 3199 ถนนพระรามสี่

แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์หมายเลข (66) 2204-3333, 2262-3333 โทรสาร หมายเลข (66) 2204-1384 Home Page : www.becworld.com 15


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คําอธิบายและการวิเคราะห์ผลการดําเนินงาน และฐานะการเงิน ภาวะอุตสาหกรรม - ธุรกิจดำเนินการออกอากาศและสื่อโฆษณา ภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีการแข่งขันกันพอสมควร โดยอาจแบ่งธุรกิจ โทรทัศน์ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ธุรกิจโทรทัศน์ปกติ และธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ในส่วนของธุรกิจโทรทัศน์ปกตินั้น ปัจจุบันมีเครือข่ายหลัก 6 เครือข่าย โดยที่ 5 เครือข่ายเดิม (ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11) ออกอากาศในระบบ VHF และ เครือข่ายใหม่ (iTV) ออกอากาศในระบบ UHF แม้ทุกเครือข่าย ได้ครอบคลุมทั่วประเทศใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจาก ความนิยมที่สร้างสะสมมาเป็นเวลานาน การแข่งขันจึงกระจุกตัว อยู่ ในระหว่าง 2 เครือข่ายหลัก คือ ช่อง 3 และช่อง 7 ซึ่งมีส่วนแบ่งผู้ชมอยู่ถึงประมาณร้อยละ 70 ในช่วงเวลาที่ สำคัญ โดยที่ทางช่อง 7 อยู่ในฐานะที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำตลาดในประเด็นเรื่องสัดส่วนคนดู เนื่องจากการที่ ช่อง 7 สามารถสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศได้ก่อนเครือข่ายอื่นๆ จึงได้เปรียบในการสร้างฐานคนดู

ในขณะที่ช่อง 3 ที่มุ่งเน้นคนดูในส่วนที่เป็นคนเมืองจึงมีฐานคนดูที่แคบกว่า ตั้งแต่ปี 2546 มาได้มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นในเครือข่ายอื่นๆนั้นค่อนข้างมาก เมื่อการปรับฟื้นของเศรษฐกิจโดยรวมส่งผลในด้านดีเห็นได้เด่นชัดขึ้น และ ในปี 2547 มีการเปลี่ยนแปลงในสภาพการแข่งขันอย่างเด่นชัดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไอทีวีแปรสภาพจากช่องข่าวมาเป็น ช่องบันเทิงเต็มรูปแบบตั้งแต่เมื่อต้นปี แต่หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาที่ทำให้ไอทีวีต้องกลับไปนำ เสนอรายการข่าว และสาระในช่วง เวลาสำคัญเช่นเดิมในช่วงท้ายของปี 2549 ทำให้สภาพการแข่งขันในตลาด เปลี่ยนไป ในส่วนของส่วนแบ่งเม็ดเงินโฆษณาในรายงานสำรวจของเนลสัน มีเดีย รีเสริช รายงานว่าช่อง 3 ก็มี

ส่วนแบ่งเป็นอันดับสองรองจากช่อง 7 เหมือนเช่นส่วนแบ่งคนดู แต่ส่วนต่างไม่ห่างกันมากเท่า อย่างไรก็ตามแม้ว่า ส่วนแบ่งการตลาดของสองเครือข่ายใหญ่จะอยู่ ในอัตราสูงก็จริง แต่เครือข่ายอื่นๆ ก็ไม่อยู่นิ่ง และได้พยายามที่จะ ปรับเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตัวเองขึ้นด้วยกันทั้งนั้น แม้ในรายงานของเนลสัน มีเดีย รีเสริช จะยังไม่แสดงให้เห็นการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ชมมากนักก็ตาม อีกทั้งโดยภาพรวมแล้วธุรกิจโทรทัศน์ปกตินี้ยังมีช่องว่างสำหรับเครือข่าย รายใหม่ ในระบบ UHF เหลืออยู่อีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ที่กำลังอยู่ ในระหว่าง

การจัดตัง้ ว่าจะออกใบอนุญาตใหม่อย่างไร เมือ่ ไร แต่กไ็ ม่นา่ จะเป็นเรือ่ งฉับพลัน เนือ่ งจากได้กม็ กี ฎให้มกี ารประกาศ

แผนแม่บทให้ทราบเป็นการทั่วไปก่อนดำเนินการ การแข่งขันในธุรกิจนี้จึงเป็นที่น่าสนใจให้ติดตามอยู่ตลอดเวลา

16


คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ภาวะการแข่งขันจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกนั้น นอกจากผู้ประกอบการระดับประเทศที่ได้รับ

ใบอนุญาตแต่มีเพียงรายเดียวแล้วก็ยังมีผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นอีกมากราย โดยรวมแล้วแม้จะได้ดำเนินการมา หลายปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถขยายฐานจำนวนผู้บอกรับเป็นสมาชิกได้มากนัก ทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการไปเป็นการเปิดให้รับชมได้โดยไม่เสียค่าสมาชิก โดยหวังจะหารายได้จากค่าโฆษณา แทน แต่ก็ยังไม่สามารถจะแย่งจำนวนผู้ชมส่วนใหญ่ของโทรทัศน์ปกติไปได้ ประกอบกับการที่สมาชิกส่วนใหญ่กระจุก ตัวอยู่ ในกรุงเทพฯ และตัวเมืองเป็นหลัก และผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกก็นำเอาสัญญานของ โทรทัศน์ปกติรวมไว้ ในบริการที่ ให้แก่สมาชิกของตนด้วย จึงเป็นส่วนช่วยปิดจุดบอดในการแพร่ภาพของโทรทัศน์ปกติ ทำให้ปัญหาที่ผู้ชมโทรทัศน์ปกติในส่วนกลางเมืองซึ่งโดนตึกสูงบังคลื่นลดลงไปได้ส่วนหนึ่ง ในส่วนของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกนั้น นอกเหนือจากที่ ได้ประโยชน์จากการแก้ปัญหา จุดบอดในเมืองดังที่กล่าวแล้ว ทางกลุ่มเองก็เป็นผู้จัดจำหน่ายรายหนึ่งที่ขายสิทธิใช้รายการโทรทัศน์ ให้แก่ผู้ดำเนิน การธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก แต่เนื่องจากสภาวะการแข่งขันของผู้ดำเนินการในธุรกิจดังกล่าวลดลง เมื่อผู้ประกอบการระดับประเทศรวมตัวกันทำให้โอกาสของกลุ่มลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจุดแข็ง ด้านรายการของกลุ่ม กลุ่มยังเชื่อมั่นว่ากลุ่มยังมีโอกาสหารายได้จากธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกนี้อยู่ ในส่วนของธุรกิจวิทยุ ซึ่งก็เป็นธุรกิจอีกส่วนหนึ่งของกลุ่มบีอีซีเวิลด์ มีการแข่งขันกันยิ่งกว่าโทรทัศน์ จากจำนวนคลื่นที่มีมากกว่าระบบโทรทัศน์ ทั้งคลื่นเอฟ.เอ็ม.และคลื่นเอ.เอ็ม แต่การที่พื้นที่ครอบคลุมซึ่งเล็กกว่า โทรทัศน์มาก วิทยุจึงจำเป็นต้องสร้างบุคลิกให้เหมาะสมกับผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) เพื่อให้มีบุคลิกที่ ชัดเจนเด่นชัดมากขึ้น เมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นเช่นนี้ทำให้โอกาสของสื่อเฉพาะกลุ่มมีมากขึ้นด้วย จึงทำให้สภาวะการ แข่งขันในธุรกิจวิทยุมีมากขึ้น และเนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจโทรทัศน์และวิทยุอยู่ที่ ความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของผู้โฆษณาให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเป้าหมายหลักของเรา คือการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ชมรายการโทรทัศน์และผู้ฟังรายการวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด ธุรกิจวิทยุของกลุ่มบีอีซี เวิลด์แต่ละคลื่นซึ่งเน้นเพียงเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) ที่ชัดเจน เป็นหลัก และก็ได้รับผลสำเร็จชัดเจนมากขึ้นใน รอบปีที่ผ่านมา จึงได้มีความพยายามที่จะขยายกลุ่มนั้นๆ ให้ได้กว้างมากขึ้น แต่เนื่องจากการปฎิรูปของอุตสาหกรรม ที่ ได้ถูกกำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปลายปี 2540 ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาการจัดตั้งองค์กรอิสระที่จะมา กำกับดูแลกิจการกระจายเสียงวิทยุ/โทรทัศน์ สัญญาดำเนินการในธุรกิจวิทยุส่วนใหญ่จึงกลายเป็นสัญญาระยะสั้นที่ ต้องต่อสัญญากันแทบจะเป็นแบบปีต่อปีทุกปี จึงมีการแข่งขันแย่งสถานีวิทยุกันกันมากขึ้น จึงมีส่วนผลักดันให้ต้นทุน ในการประกอบการเพิ่มมากขึ้น และขาดความต่อเนื่องหากไม่สามาถรักษาคลื่นเดิม แม้จะยังสามารถย้ายไปนำเสนอ จากสถานีใหม่ได้ก็ตาม แต่ก็มีผลทำให้ความสามารถในการทำกำไรจากธุรกิจวิทยุนี้ต่ำลง แต่ ในส่วนของบีอีซี เวิลด์ นั้นเนื่องจากรายได้ในส่วนนี้ไม่ได้เป็นสัดส่วนที่สูงจึงถูกกระทบไม่มาก

17


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

ในส่วนของธุรกิจสื่อใหม่ ทั้งในส่วนของเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต และ การใช้การส่งข้อความทางระบบ เครือข่ายโทรศัพท์ ทั้งในส่วนเสียง ข้อความตัวหนังสือ และข้อความรูปภาพทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ก็มีการ แข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากมีผู้เข้ามาร่วมให้บริการด้านข้อมูลมากราย และจำนวนผู้ ใช้บริการก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าว กระโดด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความสำเร็จในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับทั้งเนื้อหาและการประชาสัมพันธ์โฆษณาบริการ ดังนั้น กลุ่มจึงน่าจะมีจุดเด่นกว่าคู่แข่งขันรายอื่นๆ อีกทั้งการเข้ามาร่วมในธุรกิจนี้ก็เป็นการสร้างโอกาสในอนาคตของกลุ่ม เพิ่มค่ารายการต่างๆ ที่กลุ่มถือครองอีกด้วย ภาวะอุตสาหกรรม - ธุรกิจดำเนินการจัดหาและผลิตรายการ ในส่วนของธุรกิจดำเนินการจัดหาและผลิตรายการ นอกเหนือจากการจัดหาเพื่อใช้เองในการดำเนิน ธุรกิจดำเนินการออกอากาศแล้ว กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ได้ขยายงานออกไปในส่วนการจัดการแสดงสด และการผลิตนำ เสนอภาพยนตร์อีกด้วย ในส่วนนี้มีความหลากหลายแตกต่างกันมาก แต่กลุ่มบีอีซี เวิลด์มีบุคลิกเด่นเฉพาะตัวที่เน้น เฉพาะการจัดการแสดงที่เป็นนานาชาติซึ่งมีผู้ประกอบการน้อยราย ประกอบกลุ่มบีอีซี เวิลด์เองก็มีประวัติการทำงาน และผลงานเด่นชัด และเมื่อคำนึงรวมถึงศักยภาพในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายที่ ได้รับการสนับสนุน บริษัทย่อยรายอื่นที่ดำเนินธุรกิจทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุ กลุ่มจึงเป็นตัวเลือกรายต้นๆ ของผู้ที่คิดจะมีการแสดงใน ลักษณะดังที่กล่าวในประเทศไทย สำหรับบีอีซี เวิลด์ การแข่งขันจึงไม่รุนแรง ในส่วนการผลิตนำเสนอภาพยนตร์นั้น แม้ว่าบีอีซีจะเป็นผู้ปลุกฟื้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยขึ้นมาในรอบนี้ แต่ปัจจุบันนี้มีผู้นำเสนอภาพยนตร์ไทยเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่ามีภาพยนตร์ไทยเรื่องใหม่ออกมาเสนอให้ชมได้ทุกสัปดาห์ บางสัปดาห์อาจมีมากกว่า หนึ่งเรื่อง ทางกลุ่มบีอีซี เวิลด์จึงเลือกที่จะลดบทบาทในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ลง และเพิ่มเน้นบทบาทในการเป็น

ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ปัจจัยความเสี่ยง 1.1 ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ

การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา

เนื่องจากรายได้หลักในการดำเนินงานของกลุ่มมาจากการขายเวลาโฆษณา ปัจจัยความเสี่ยง หลัก ของกลุ่มส่วนหนึ่งจึงได้แก่ การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะกำลังซื้อของผู้บริโภคใน ประเทศและภาวะการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศซึ่งเป็นผู้โฆษณา ในส่วนนี้แม้ว่าฝ่ายบริหารจะไม่สามารถ ควบคุมได้โดยตรงก็ตาม แต่ก็น่าเชื่อได้ว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาร้ายแรงในการดำเนินการของกลุ่ม เนื่องจากผู้โฆษณา หลักของสื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีตลาดใหญ่และมีการแข่งขันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นจาก การฟื้นตัวของปริมาณเม็ดเงินโฆษณาที่กลับโตขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 ประกอบกับภาวะที่เอื้อให้มีการแข่งขันกัน 18


คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

มากขึ้น จึงมีผู้โฆษณารายใหม่เข้ามาเพิ่มในตลาดตลอดเวลา จึงน่าเชื่อได้ว่าความเสี่ยงที่เม็ดเงินโฆษณาจะยุบตัวลง อีกมีโอกาสน้อย และหากจะเกิดขึ้นก็จะเป็นในระยะเวลาช่วงสั้นๆ เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้โฆษณา จะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เม็ดเงินโฆษณาโตขึ้นอยู่ดี อีกทั้งสื่อที่กลุ่มดำเนินการถือได้ว่าเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงใน การเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหลักของผู้โฆษณา การรักษาส่วนแบ่งตลาด การที่กลุ่มบีอีซีเวิลด์ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ชม ให้ได้ดีกว่าผู้ดำเนินการรายอื่นๆ ใน ธุรกิจเดียวกันอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบยูเอชเอฟ (UHF) นี่ก็เป็นความเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ว่ากลุ่มจะยัง สามารถดำรงหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงนี้ ได้ดีประการใด แม้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมากลุ่มบริษัทได้ประสบ ความสำเร็จในการจัดหารายการและปรับปรุงผังรายการเพิ่มประสิทธิภาพนั้นได้โดยดีก็ตาม กลุ่มบริษัทก็ยังมีความ เสี่ยงในด้านการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทั้งจากรายเดิมที่อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีขึ้น และจากรายใหม่ที่ อาจเข้ามาเพิ่มในอนาคตหากมีการออกใบอนุญาตให้สร้างเครือข่ายใหม่ การเปลี่ยนแปลงการกำกับดูแลการประกอบการกิจการกระจายเสียง ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงการกำกับดูแลการประกอบการกิจการกระจายเสียง โดยจะมี องค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลแทนองค์กรภาครัฐ แต่ ในประเด็นนี้ก็สามารถคาดได้ว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างร้ายแรง ต่อกลุ่มบีอีซีเวิลด์ เนื่องจากได้มีบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญคุ้มครองอยู่ การต่ออายุสัญญาในการดำเนินการ เนื่องจากการจัดตั้งองค์กรอิสระนี้ล่าช้าออกไป ประกอบกับอายุสัญญาในการดำเนินการสถานี วิทยุ ที่กลุ่มบริษัทดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นสัญญาปีต่อปี จึงมีความเสี่ยงว่าจะได้รับการต่อสัญญาการดำเนินงาน สำหรับคลื่นนั้นหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนรายได้จากการดำเนินงานวิทยุนี้ต่ำอีกทั้งอัตรากำไรก็ต่ำด้วย ดังนั้น หากแม้ไม่สามารถดำเนินงานในส่วนนี้ต่อได้ก็มีผลกระทบต่อกลุ่มน้อยมาก การที่มีสื่อโฆษณาใหม่มาทดแทนสื่อโทรทัศน์ ในส่วนของผลกระทบจากสื่ออื่น ที่อาจมาทดแทนสื่อโทรทัศน์ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิคส์อย่าง

อินเตอร์เน็ต หรือสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบใหม่ เช่นโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ฯลฯ กลุ่มบริษัท เชื่อว่าในระยะเวลาอันใกล้นี้แม้จะเห็นการพัฒนาการในเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้นแต่ก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการดำเนิน ธุรกิจของกลุ่มโดยเฉพาะรายได้จากการขายเวลาโฆษณาของบริษัท ทั้งนี้เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณามักจะกระจุกตัวอยู่ ในสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้โฆษณาได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสื่อโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกนั้น ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ขายเวลาโฆษณา จึงมีรายได้ทางเดียวจากค่าสมาชิกเท่านั้น ถ้าแม้ว่าโทรทัศน์ ระบบบอกรับสมาชิกจะได้รับอนุญาตให้ขายเวลาโฆษณาได้ ก็ยังไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกมีกลุ่มผู้ชมเพียงกลุ่มเล็กๆ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม 19


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

(NICHE MARKET) ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ปกติ (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ iTV) นั้น มีฐานผู้ชมทั่วประเทศที่เป็นตลาด สำหรับผู้อุปโภคบริษัทโดยทั่วไป (MASS MARKET) ในทางกลับกันไทยทีวีสีช่อง 3 กลับได้รับประโยชน์ทางอ้อมจาก การที่กลุ่มสมาชิกโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกส่วนใหญ่นั้น กระจุกตัวอยู่ ในกรุงเทพฯ ในตัวเมืองใหญ่ ซึ่งการ ติดตั้งโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจะช่วยปิดจุดบอดในการแพร่ภาพของโทรทัศน์ปกติ โดยช่วยลดปัญหาตึกสูง บังคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ไปได้ จึงทำให้ไทยทีวีสีช่อง 3 ขยายฐานผู้ชมในส่วนนี้ได้เพิ่มมากขึ้น และนี่ก็เป็นอีกเหตุผล หนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้ามีความมั่นใจในการซื้อเวลาโฆษณาของไทยทีวีสีช่อง 3 ว่าจะสามารถเข้าถึงผู้ชม ในส่วนนี้ได้มากขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้น การเลือกลงโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ปกติจึงยังเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมของ

กลุม่ ผูผ้ ลิต หรือเจ้าของสินค้าอุปโภคบริโภค ในส่วนของสือ่ อิเล็กทรอนิคส์อย่างอินเตอร์เน็ต แม้วา่ จะเป็นสือ่ ใหม่ที่ได้รบั

ความนิยมอย่างรวดเร็ว แต่ก็เข้าถึงผู้ใช้บริการก็ยังลักษณะเป็นเพียงเฉพาะกลุ่ม (NICHE MARKET) เช่นกัน ดังนั้น

หากผู้โฆษณาโดยทั่วไปเลือกที่จะใช้สื่อใหม่เช่น อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ในระบบใหม่ๆ หรือโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็น สมาชิก ก็จะเป็นเพียงการเสริมเพิ่มเติมจากการใช้บริการสื่อโทรทัศน์ปกติเท่านั้น สื่อใหม่นี้ก็อาจจะช่วยผู้โฆษณาที่ ต้องการเข้าถึงแต่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ซึ่งอาจจะไม่คุ้มถ้าต้องโฆษณาในสื่อที่เป็น MASS ที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามาก แต่ผู้ ใช้โฆษณากลุ่มนี้ก็มิได้เป็นลูกค้าของบริษัทอยู่แล้ว

1.2 ความเสี่ยงด้านการบริหารและจัดการ การถือหุ้นในบริษัทโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่

เนื่องจากกลุ่มตระกูลมาลีนนท์ถือหุ้นในบริษัทร่วมร้อยละ 57 ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ทั้งหมดของบริษัท จึงทำให้กลุ่มตระกูลมาลีนนท์สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การแต่งตั้งกรรมการหรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายอื่นจึง อาจไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีมาตรการต่างใน เรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งที่กำหนดโดยบีอีซี เวิลด์ เอง หรือที่กำหนดโดยองค์กรกำกับดูแลอื่นๆ ช่วยดูแลลด ความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้ให้แก่นักลงทุน และผู้ถือหุ้นรายย่อย ผลการดำเนินงาน กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีกำไรสุทธิในปี 2549 เท่ากับ 1,643 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 762 ล้านบาท เท่ากับ ดีขึ้นกว่า 86% จากการปรับฟื้นของธุรกิจของบีอีซี เวิลด์ ที่ดีต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสี่ของปี 2548 สามารถเพิ่มรายได้ จากการขายเวลาโฆษณาได้มากกว่าปีก่อนกว่า 1,151 ล้านบาท จากการเพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาขึ้นมาได้อย่าง ต่อเนื่อง และการปรับเพิ่มราคาในบางช่วงเวลา ในขณะที่ต้นทุนการให้บริการไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม และแม้ว่าค่าใช้จ่าย ในการขายและบริหารจะมีเพิ่มมาบ้างแต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ทำให้กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มี ยอดกำไรสุทธิและอัตรกำไรเพิ่มสูงขึ้นมาก

20


คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

โครงสร้างของกลุ่มบีอีซี เวิลด์กับผลกระทบในงบการเงิน ในปี 2549 กลุ่มบีอีซี เวิลด์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่ม อย่างเป็นสาระสำคัญนอกจาก การแลกเงินลงทุนในบริษัทร่วม-บริษัทโซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด เป็นเงินลงทุนในบริษัท

โซนี่ บีเอมจี มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์ (ประเทศไทย) จำกัด และขายเงินลงทุนนี้ทั้งหมดออกไปในระหว่างปี แต่ อย่างไรก็ตาม การที่บริษัท ธีมสตาร์ จำกัด ได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นบริษัทย่อย มาเป็นบริษัทร่วมในเดือน ธันวาคมปี 2548 จึงทำให้การเปรียบเทียบในงบกำไรขาดทุนระหว่างปี 2549 และ 2548 แสดงผลต่างค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในส่วนของรายได้และต้นทุนจากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ ที่ในปี 2548 ได้รวมรายได้และต้นทุนของ การจัดแสดงโชว์ของ บริษัท ธีมสตาร์ จำกัดไว้ แต่ไม่มีรายการเหล่านี้ ในงบกำไรปี 2549 แม้จะมีตัวเลขค่าใช้จ่าย

ในการขายและการบริหารของบริษัท ธีมสตาร์ จำกัด อยู่ ในงบกำไรขาดทุนปี 2548 ด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่เป็นสาระ สำคัญเท่ากับรายได้และต้นทุนดังที่กล่าว ภาวะอุตสาหกรรมโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และรายได้จากการขายของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ในปี 2549 ทั้งปีเป็นยอดเงิน 53,475 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 7%

ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่สูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวมที่โตขึ้นเพียง 5% ทำให้สื่อโทรทัศน์มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น เป็น 59% แต่ก็น่าเสียดายที่อุตสาหกรรมมีความผันผวนค่อนข้างมากในช่วงครึ่งหลังของปี สินค้าประเภทเครื่องดื่มได้ ลดการใช้เงินโฆษณาในครึ่งปีหลังค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งแรกของปี จากการเพิ่มความเข้นงวดในการ โฆษณาเครื่องดื่ม และการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วงท้ายของปี ทำให้ยอดทั้งปีต่ำลงจากปีก่อน

ในอัตราที่สูง และทำให้อุตสาหกรรมโตในอัตราที่ต่ำลง แต่หากมองในแง่ดีก็จะเห็นว่ามีแนวโน้มให้เห็นได้ชัดเจนว่า อุตสาหกรรมมีความหลากหลายมากขึ้น จากการเพิ่มการใช้จ่ายของสินค้ากลุ่มเล็กๆ ที่เพิ่มเป็นจำนวนสูงขึ้นอย่าง ชัดเจน โดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ดีในอนาคต อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตัวเลขการใช้จ่ายเงินโฆษณา ผ่านสื่อโทรทัศน์ทั้งปี โดยรวมก็ยังดูเหมือนปีก่อนๆ กลุ่มสินค้าที่ ใช้เงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ในอัตราสูงโดยส่วน ใหญ่ก็ยังเป็นกลุ่มเดิมๆ แต่บางรายจะมีอัตราการเติบโตสูงกว่าเฉลี่ยมาก เว้นแต่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เริ่มติดกลุ่ม รายใหญ่ แม้ว่าอัตราการเติบโตที่ช่อง 3 ได้จากผู้โฆษณาบางรายสูงขึ้นมากก็ตาม แต่เมื่อดูจากอัตราส่วนแบ่งตลาด

ที่แต่ละช่องได้จากผู้โฆษณาแต่ละรายแล้ว ก็มีเหตุมีผล และ เมื่อพิจารณาตัวเลขส่วนแบ่งตลาดนั้นควบคู่ไปกับกลุ่ม คนดูและส่วนแบ่งคนดูของแต่ละช่อง เห็นได้ว่าการเติบโตของส่วนแบ่งตลาดของช่อง 3 ของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ที่เพิ่ม ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นได้ในปี 2549 นั้นก็ยังจะมีโอกาสที่จะปรับให้ได้ดีขึ้นอีก ปี 2549 กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ มีรายได้รวมเท่ากับ 6,951 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 8 มาจากราย ได้โฆษณาที่โตขึ้นกว่าปีก่อนถึงร้อยละ 23 จากการเพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นทั้ง จากช่วงเวลาไพรม์ไทม์ที่ทำได้ดีขึ้นกว่าปีก่อนมาก และช่วงเวลานอกไพร์มไทม์ โดยสัดส่วนรายได้นอกเวลาไพร์มไทม์ ก็ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลความสำเร็จจากการพัฒนาปรับปรุงรายการใหม่ ในหลายช่วงเวลาเพื่อขยายขยายโอกาส ทางธุรกิจนอกไพร์มไทม์ ที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2547 เช่น การเพิ่มช่วงเวลาครอบครัวตัวละคร การปรับปรุง

21


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

รายการข่าวภายใต้แนวคิด “ครอบครัวข่าว 3” เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถปรับราคาขึ้นได้ ในบางช่วงเวลาอีกด้วย อย่างไรก็ตามรายได้จากคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ แสดงยอดลงอย่างมาก ถึงร้อยละ 65 เนื่องจากการไม่ได้รวมรายได้ ของ ThemeStar Limited ที่ได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นบริษัทย่อยมาเป็นบริษัทร่วมตั้งแต่ปลายปี 2548 สำหรับ

รายได้อื่นซึ่งประกอบด้วยผลตอบแทนของเงินสดที่บริษัทถือครองเป็นหลักนั้นได้ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ย

ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในระหว่างปี ต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย ต้นทุนให้บริการ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อน เนื่องจากการขยายงานซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนเพิ่มในปี ก่อนนั้นได้เสร็จสิ้นใน ช่วงท้ายของปีก่อนนั้นแล้ว ส่วนต้นทุนการจัดการแสดงที่ลดลงมากจากปีก่อนนั้นก็เนื่องมาจาก การที่ปีนี้ ไม่ได้รวมเอายอดรายได้ของบริษัท ธีมสตาร์ จำกัด ที่แปลงสภาพจากบริษัทย่อยมาเป็นบริษัทร่วม ดังที่

ได้อธิบายในเรื่องโครงสร้างข้างต้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มจากปีก่อนนั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่าย ในการขายที่สูงขึ้นตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น ฐานะการเงิน กลุ่มบีอีซี เวิลด์มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปลายปีก่อน จากเงินสดและรายการเทียบ เท่าเงิน สด รวมทั้งเงินลงทุนชั่วคราวที่เพิ่มขึ้น ตามผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มีสินทรัพย์รวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เท่ากับ 7,226 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ (37%) ก็ยังอยู่ในรูปของเงินสด เงินฝากสถาบัน การเงินเช่นเดิม ลูกหนี้ของกลุ่มยังคงมียอดใกล้เคียงกับปีก่อน โดยลดลงเล็กน้อย กลุ่มไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของ สินทรัพย์ เนื่องจากคู่ค้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน อีกทั้งกลุ่มมีการรับรู้การด้อยค่า ของสินทรัพย์และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับความสูญเสียอย่างเพียงพอแล้ว ในส่วนของสินทรัพย์ถาวร ทั้งใน

ส่วนของ “ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์” และ “สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอการตัดบัญชี” เริ่มทรงตัว โดยยังคงมีการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่อเนื่องจากปีก่อน แต่ก็เริ่มลดลงอยู่ในสภาวะปกติ ในส่วนของหนี้สินโดยรวม มียอดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนใหญ่จากภาษีเงินได้ค้างจ่ายที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของผลกำไร หนี้สินของ กลุ่มมีเพียงยอดไม่ถึงหนึ่งในสามของสินทรัพย์หมุนเวียน อีกทั้งการที่สินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ ในรูปของเงินฝากสถาบัน การเงินซึ่งมีสภาพคล่องสูง และกลุ่มก็ไม่ได้มีการกู้ยืม โครงสร้างของเงินลงทุนของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มาจากส่วนของ

ผู้ถือหุ้นเป็นหลัก กลุ่มจึงไม่มีปัญหาสภาพคล่อง ถือได้ว่ากลุ่มมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง มีสภาพคล่องที่ดีเยี่ยม และไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของสินทรัพย์

22


คําอธิบายและการวิเคราะห์ ผลการดําเนินงานและฐานะการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ปัจจัยที่อาจมีผลต่อผลการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกลุ่มโดยส่วนใหญ่ ไม่ ได้มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับรายได้

แต่มีลักษณะคงที่หรือผันแปรตามภาวะของตลาดโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่จะผลักดันให้ต้นทุนและค่าใช้จ่าย สูงขึ้นไปอีกมากๆ ในปีนี้นั้นไม่น่าจะมี เนื่องจากการขยายกิจการปรับตัวเพื่อรับกับการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณา

ในอนาคตได้เสร็จสิ้นแล้ว และเป็นที่เชื่อกันว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้แม้จะปรับขึ้นแต่ก็ยังอยู่ ในอัตราที่ต่ำและค่าของเงิน บาทจะค่อนข้างคงที่หรืออาจจะแข็งตัวเล็กน้อย ส่วนความกังวลเรื่องสภาพการแข่งขันที่ดูจะรุนแรงมากขึ้นจากการ ปรับตัวของผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน และเกรงกันว่าอาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนั้น น่าจะถือได้ว่า เป็นการวิตกเกินเหตุ เนื่องจากธุรกิจนี้โดยรวมแล้วไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนของทรัพยากร อีกทั้งธุรกิจนี้ก็ไม่ได้ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่เด่นชัดให้ต้องประมูลแข่งแย่งทรัพยากรกัน ดังนั้นประสิทธิภาพในการทำกำไรของกลุ่มจึง ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างรายได้เป็นหลัก แม้ว่าปัจจัยการเพิ่มรายได้หลักของกลุ่มซึ่งเป็นรายได้จากขาย เวลาโฆษณานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ฝ่ายบริหารควบคุมได้ทั้งหมด แต่จะขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของค่าใช้ จ่ายในการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆเป็นหลักก็ตาม แต่จากการแข่งขันในตลาดของผู้โฆษณาที่ ได้เพิ่มขึ้นตามสภาวะ เศรษฐกิจที่ดีขึ้นและเอื้อให้มีการแข่งขันมากขึ้น และเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศที่โตขึ้น จึงน่าเชื่อได้ว่าประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มบีอีซีในปี 2550 นี้ น่าจะปรับ ดีขึ้นกว่าปีก่อน และเนื่องจากกลุ่มมีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่ง มีสภาพคล่องที่ดีเยี่ยม และไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ ของสินทรัพย์ บีอีซี เวิลด์ จึงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องฐานะการเงินใดๆ

23


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

รายงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ในการจัดทำรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี ซึ่งประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดง การเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบริหาร ตาม มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้

ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ คณะกรรมการได้จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมี เหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดูแลรักษาสินทรัพย์ และป้องกันไม่ให้ เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่เป็นอิสระจากการ บริหารงาน เป็นผู้ดูแลและสอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุม ภายในและการตรวจสอบภายในอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ เรื่องนี้ ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปีนี้แล้ว บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทำการตรวจสอบรายงาน ทางการเงินดังกล่าว ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อรายงานให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระ ถึงความถูก ต้องตามที่ควรของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ได้แสดงไว้ในรายงานทางการเงินดังกล่าว รายงานของผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตได้แสดงไว้แล้วพร้อมกันนี ้ (นายวิชัย มาลีนนท์) ประธานกรรมการ ในนามคณะกรรมการ

24


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

สํานักงาน ดร.วิรัช แอนด์ แอสโซซิเอทส์

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 งบกำไรขาดทุนรวม งบแสดงการเปลี่ยน แปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และงบกระแสเงิน สดรวมสำหรับปีสิ้น สุดวันเดียวกันของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็น ผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่นจากสำนักงานเดียวกันกับข้าพเจ้า ซึ่งได้เสนอรายงานไว้อย่าง ไม่มีเงื่อนไขตามรายงานการสอบบัญชีลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้อง วางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระ สำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิด เผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการ ทางการเงิน ที่เป็น สาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดง รายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมใน การแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(นายชัยกรณ์ อุ่นปิติพงษา)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3196 20 กุมภาพันธ์ 2550

25


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบดุล

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

สินทรัพย์

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 1,994,033,576 1,760,308,532 766,097,185 376,962,200 เงินลงทุนชั่วคราว เงินฝากประจำธนาคาร 648,320,889 - 40,168,164 - เงินลงทุนในกองทุนเปิด-สุทธิ 3.2, 4 38,624,158 244,337,419 10,212 207,207,557 รวมเงินลงทุนชั่วคราว 686,945,047 244,337,419 40,178,376 207,207,557 ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3.3, 5 ลูกหนี้การค้า 641,261,478 682,545,613 1,060,000 6,800,000 ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน 24,511,112 15,759,172 341,531,919 277,894,601 รวมลูกหนี้การค้า-สุทธิ 665,772,590 698,304,785 342,591,919 284,694,601 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 6 55,516,060 49,000,000 586,730,702 696,912,657 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น-สุทธิ 7 - - - - สินค้าคงเหลือ 3.4, 8 445,156 426,744 - - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น คอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต 3.5 32,484,616 4,253,028 1,143,780 - ลูกหนี้จากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย 9 - 14,683,741 - - อื่น ๆ 212,348,741 172,523,672 26,635,879 18,418,577 รวมสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 244,833,357 191,460,441 27,779,659 18,418,577 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 3,647,545,786 2,943,837,921 1,763,377,841 1,584,195,592 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย 3.6, 9 บริษัทย่อย - - 3,676,394,746 3,655,998,452 บริษัทร่วม 220,778,441 266,841,597 144,805,757 147,576,026 รวมเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย 220,778,441 266,841,597 3,821,200,503 3,803,574,478 เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินลงทุนในบริษัทอื่น 3.7 8,999,990 8,999,990 - - เงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3.8, 10 63,431,165 63,431,165 763,980 763,980 รวมเงินลงทุนระยะยาวอื่น 72,431,155 72,431,155 763,980 763,980 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 3.9, 11 745,556,292 775,303,494 82,620,201 111,275,149 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี-สุทธิ 3.10, 12 1,157,853,503 1,119,110,873 - - ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี-สุทธิ 3.11, 13 1,205,416,667 1,394,228,718 542,634,447 520,724,278 ค่าความนิยม-สุทธิ 3.12 5,088,890 7,376,383 - - เงินมัดจำค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ 17,500,000 26,855,426 - 2,453,858 ค่าผลิตละครจ่ายล่วงหน้า 85,000,000 112,362,000 80,000,000 58,000,000 เงินฝากประจำธนาคารติดภาระค้ำประกัน 20.1 3,201,779 8,441,215 - - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3.13 65,483,239 76,165,625 8,554,094 8,491,134 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 3,578,309,966 3,859,116,486 4,535,773,225 4,505,282,877 รวมสินทรัพย์ 7,225,855,752 6,802,954,407 6,299,151,066 6,089,478,469 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี ้

26


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบดุล (ต่อ)

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน - 39,795 - เจ้าหนี้การค้า 237,032,727 330,904,988 89,354,439 247,056,926 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 14 - - - ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 254,148,867 137,271,121 36,310,173 13,944,117 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 294,842,223 219,246,842 23,679,101 23,356,918 เจ้าหนี้กรมสรรพากร 62,477,123 48,477,040 11,493,879 6,449,037 ภาษีขายไม่ถึงกำหนดชำระ 41,313,100 50,629,100 19,985,943 18,572,544 อื่นๆ 141,528,909 172,075,108 2,834,129 10,643,948 รวมหนี้สินหมุนเวียนอื่น 540,161,355 490,428,090 57,993,052 59,022,447 รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,031,342,949 958,643,994 183,657,664 320,023,490 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน 15 - - - ผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุน 9 - - 64,197,163 60,893,105 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน - - 64,197,163 60,893,105 รวมหนี้สิน 1,031,342,949 958,643,994 247,854,827 380,916,595 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 2,000,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 ทุนที่ออกจำหน่ายและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 2,000,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 2,000,000,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 2,536,498,586 2,536,498,586 2,536,498,586 2,536,498,586 ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน (2,529,790) - - กำไรสะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 18 200,000,000 200,000,000 200,000,000 200,000,000 ยังไม่ได้จัดสรร 1,335,773,037 993,038,672 1,335,773,037 993,038,672 หุ้นสามัญซื้อคืนของบริษัทร่วม 9 (20,975,384) (20,975,384) (20,975,384) (20,975,384) รวมส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 6,048,766,449 5,708,561,874 6,051,296,239 5,708,561,874 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 145,746,354 135,748,539 - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 6,194,512,803 5,844,310,413 6,051,296,239 5,708,561,874 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 7,225,855,752 6,802,954,407 6,299,151,066 6,089,478,469 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี ้

27


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบกำไรขาดทุน

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

รายได้ รายได้จากการขายโฆษณา 6,114,126,604 4,963,440,125 481,029,500 485,818,618 รายได้จากการให้ ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น 294,767,540 295,356,529 782,899,796 521,999,636 รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ 365,811,150 1,032,810,033 - - รายได้อื่น 161,248,013 96,694,246 72,435,018 36,373,110 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 15,201,241 31,888,017 1,354,773,671 907,373,388 รวมรายได้ 6,951,154,548 6,420,188,950 2,691,137,985 1,951,564,752 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ 2,911,316,722 2,925,418,214 726,003,113 653,473,896 ต้นทุนการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ 373,372,716 978,600,310 - - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,320,050,943 1,149,689,841 185,056,174 180,156,097 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 11,567,036 18,519,367 14,111,744 180,658,999 ค่าตอบแทนกรรมการ 16 12,312,000 12,304,000 12,312,000 12,304,000 รวมค่าใช้จ่าย 4,628,619,417 5,084,531,732 937,483,031 1,026,592,992 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 2,322,535,131 1,335,657,218 1,753,654,954 924,971,760 ดอกเบี้ยจ่าย 179,108 550,578 - 72,329 ภาษีเงินได้ 3.16 659,974,834 432,520,538 110,920,589 43,763,719 กำไรหลังภาษีเงินได้ 1,662,381,189 902,586,102 1,642,734,365 881,135,712 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (19,646,824) (21,450,390) - กำไรสุทธิ 1,642,734,365 881,135,712 1,642,734,365 881,135,712 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 3.14 กำไรสุทธิ 0.82 0.44 0.82 0.44 จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและชำระแล้ว 2,000,000,000 หุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

28


ทุนที่ออก จำหน่าย และชำระแล้ว

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น สามัญ

ผลต่างจาก กำไรสะสม การแปลงค่า สำรอง ยังไม่ ได้ งบการเงิน ตามกฎหมาย จัดสรร

งบการเงินรวม หุ้นสามัญ ซื้อคืนของ บริษัทร่วม

ส่วนของ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

รวม

(หน่วย : บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หุ้นสามัญซื้อคืน ของบริษัทร่วม

1,411,902,960 (20,975,384) 881,135,712 (1,300,000,000) 993,038,672 (20,975,384) 1,642,734,365 (1,300,000,000) 1,335,773,037 (20,975,384)

ส่วนเกินมูลค่า กำไรสะสม หุ้นสามัญ สำรองตามกฎหมาย ยังไม่ ได้จัดสรร

ยอดคงเหลือต้นงวด 1 มกราคม 2548 2,000,000,000 2,536,498,586 200,000,000 กำไรสุทธิ เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 16) ยอดคงเหลือปลายงวด 31 ธันวาคม 2548 2,000,000,000 2,536,498,586 200,000,000 กำไรสุทธิ เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 16) ยอดคงเหลือปลายงวด 31 ธันวาคม 2549 2,000,000,000 2,536,498,586 200,000,000

ทุนที่ออกจำหน่าย และชำระแล้ว

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

6,127,426,162 881,135,712 (1,300,000,000) 5,708,561,874 1,642,734,365 (1,300,000,000) 6,051,296,239

รวม

(หน่วย : บาท)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือต้นงวด 1 มกราคม 2548 2,000,000,000 2,536,498,586 (3,470,219) 200,000,000 1,411,902,960 (20,975,384) 196,134,250 6,320,090,193 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้นระหว่างปี 8,578,904 8,578,904 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยลดลงระหว่างปี (67,205,783) (67,205,783) ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน 3,470,219 - 3,470,219 กำไรสุทธิ 881,135,712 21,450,390 902,586,102 เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 16) (1,300,000,000) (1,300,000,000) เงินปันผลที่บริษัทย่อยจ่ายให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (23,209,222) (23,209,222) ยอดคงเหลือปลายงวด 31 ธันวาคม 2548 2,000,000,000 2,536,498,586 - 200,000,000 993,038,672 (20,975,384) 135,748,539 5,844,310,413 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2,450,070 2,450,070 ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน (2,529,790) (1,686,529) (4,216,319) กำไรสุทธิ 1,642,734,365 19,646,824 1,662,381,189 เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 16) (1,300,000,000) (1,300,000,000) เงินปันผลที่บริษัทย่อยจ่ายให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (10,412,550) (10,412,550) ยอดคงเหลือปลายงวด 31 ธันวาคม 2549 2,000,000,000 2,536,498,586 (2,529,790) 200,000,000 1,335,773,037 (20,975,384) 145,746,354 6,194,512,803

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

29


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิ 1,642,734,365 881,135,712 1,642,734,365 881,135,712 ปรับกระทบกำไรสุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากการดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคา 215,899,102 187,869,799 29,382,490 28,385,954 สิทธิการใช้ทรัพย์สินตัดจ่าย 87,275,826 69,659,271 - ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าละคร ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ และลิขสิทธิ์ตัดบัญชี 1,304,047,040 1,365,612,475 666,577,413 598,323,948 ค่าความนิยมตัดจ่าย 2,287,493 2,287,493 - ค่าความนิยมติดลบโอนเป็นรายได้ - (2,353,866) - ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย 13,323,216 11,902,181 - หนี้สงสัยจะสูญ 12,326,532 7,742,288 - ค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้า - (1,350,638) - (กำไร) ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นของเงินลงทุน ในกองทุนเปิด (1,233,871) (629,731) 183 (166,927) กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (6,589,477) (2,838,565) (734,572) (1,037,381) (กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (228,947) 978,263 (802,819) (38,683) ขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน 9,200,000 1,444,465 - ขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนเงินลงทุนในบริษัทร่วม 2,728,562 - - ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย (15,201,241) (31,888,017) (1,354,773,671) (907,373,388) ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 11,567,036 18,519,367 14,111,744 180,658,999 โอนส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย เนื่องจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - 9,229,803 - กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 19,646,824 21,450,390 - โอนขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เนื่องจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - 10,173,790 - กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในส่วน ประกอบของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน 3,297,782,460 2,548,944,480 996,495,133 779,888,234 การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของสินทรัพย์ ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง เงินลงทุนในกองทุนเปิด 206,947,132 32,623,790 207,197,162 (207,030,593) ลูกหนี้การค้า 19,529,834 (3,317,606) (57,897,318) (201,975,534) สินค้าคงเหลือ (18,412) 1,449,461 - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (69,051,434) 52,398,952 (14,233,966) (9,147,191) เงินมัดจำค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ 9,355,426 6,295,483 2,453,858 (2,453,858) ค่าผลิตละครจ่ายล่วงหน้า 27,362,000 (22,152,000) (22,000,000) (11,000,000) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 2,423,889 (17,754,279) (62,960) (122,296) การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของหนี้สิน ดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้า (92,342,117) (53,874,661) (156,917,230) 6,285,257 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 116,877,746 (129,293,416) 22,366,056 (14,142,136) หนี้สินหมุนเวียนอื่น 45,297,752 (69,163,590) (1,011,833) (11,467,765) ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน - 3,470,219 - เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,564,164,276 2,349,626,833 976,388,902 328,834,118 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

30


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินฝากประจำธนาคารติดภาระค้ำประกัน (เพิ่มขึ้น) ลดลง 5,239,436 (214,960) - เงินฝากประจำธนาคารเพิ่มขึ้น (648,320,889) - (40,168,164) เงินสดรับจากเงินปันผล 12,752,480 6,642,465 1,326,339,960 1,337,953,352 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น (22,330,500) (42,000,000) (87,000,000) (301,100,000) รับชำระเงินจากเงินให้กยู้ มื ระยะสัน้ แก่กจิ การทีเ่ กีย่ วข้องกัน 15,000,000 15,500,000 202,054,839 77,364,564 ซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยเพิ่ม - (6,974,970) - เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในบริษัทร่วม 20,800,000 - - ซื้ออุปกรณ์เพิ่มขึ้น (182,463,516) (390,414,032) (727,549) (8,322,647) เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์ 7,525,678 6,230,728 734,579 1,037,383 สิทธิการใช้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น (126,223,313) (306,694,946) - เงินสดรับจากการคืนสิทธิการใช้ทรัพย์สิน 204,857 - - ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น (1,104,621,190) (1,142,479,017) (793,992,732) (660,726,206) เงินสดรับจากการขายละคร - - 105,505,150 99,316,300 เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน (2,022,436,957) (1,860,404,732) 712,746,083 545,522,746 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก สถาบันการเงินลดลง (39,795) (41,854,860) - เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น - - - 120,000,000 จ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - - (120,000,000) จ่ายเงินปันผล (1,300,000,000) (1,300,000,000) (1,300,000,000) (1,300,000,000) เงินปันผลที่บริษัทย่อยจ่ายให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (10,412,550) (23,209,222) - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้น 2,450,070 - - เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (1,308,002,275) (1,365,064,082) (1,300,000,000) (1,300,000,000) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 233,725,044 (875,841,981) 389,134,985 (425,643,136) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 1,760,308,532 2,648,824,222 376,962,200 802,605,336 บวก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจากการ ซื้อบริษัทย่อย (งบประกอบ 1) - 10,000 - หัก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่โอนออก จากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษทั ย่อย (งบประกอบ 2) - (12,683,709) - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 1,994,033,576 1,760,308,532 766,097,185 376,962,200 การเปิดเผยเพิ่มเติมประกอบงบกระแสเงินสด เงินสดที่จ่ายไปในระหว่างปีสำหรับ ดอกเบี้ยจ่าย 23,252 519,592 - 72,329 ภาษีเงินได้ 558,504,718 578,135,273 88,554,533 57,905,855 รายการที่ไม่ใช่เงินสดประกอบด้วย โอนดอกเบี้ยค้างรับเป็นเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 4,872,884 3,059,072 สินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นจากเจ้าหนี้ทรัพย์สิน 4,624,585 17,833,578 - ลูกหนี้จากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - 14,683,741 - ค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นจากการรับชำระหนี้จากลูกหนี้อื่น 10,613,799 - - ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน 2,529,790 - - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยลดลงจากผลต่าง จากการแปลงค่างบการเงิน 1,686,529 - - หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

31


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

งบประกอบ 1 การลงทุนในบริษัทย่อย วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ลงทุนในบริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49.99 มูลค่าทรัพย์สนิ ทีร่ บั โอนและหนีส้ นิ ทีร่ บั ภาระมา มีดงั นี ้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - 10,000 - ลูกหนี้การค้า - 12,372,362 - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - 1,819,100 - อุปกรณ์ - สุทธิ - 2,489,636 - เงินฝากประจำธนาคารติดภาระค้ำประกัน - 3,000,000 - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น - 7,088,758 - เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร - (1,894,655) - เจ้าหนี้การค้า - (3,607,656) - หนี้สินหมุนเวียนอื่น - (4,119,795) - สินทรัพย์สุทธิ - 17,157,750 - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย - (8,578,904) - ค่าความนิยมติดลบจากการซื้อเงินลงทุน - (2,353,866) - กระแสเงินสดจ่ายในการลงทุน - 6,224,980 - งบประกอบ 2 การจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย ในเดือนธันวาคม 2548 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้จำหน่าย เงินลงทุนใน ThemeSTAR Limited ซึ่งเดิมเป็น บริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยคงเหลือสัดส่วนการ ถือหุ้นร้อยละ 40.00 จึงโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่ คงเหลืออยู่ ณ วันต้นปีออกจากงบการเงินรวม ดังนี ้ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - 12,683,709 - สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - 75,513,803 - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น - 90,626,654 - เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร - (937,857) - หนี้สินหมุนเวียนอื่น - (11,521,484) - เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน - (8,447,336) - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย - (77,379,573) - เงินลงทุนในบริษัทย่อยต้นปี - 80,537,916 -

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

32


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

1. ลักษณะธุรกิจ

1.1 ข้อมูลทั่วไป

สถานะทางกฎหมาย เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถานที่ตั้งบริษัท 3199 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30-34 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย ลักษณะธุรกิจ (1) จัดหา ผลิตรายการ และขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ (2) ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมซึ่งดำเนินธุรกิจ ตามหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 9 จำนวนพนักงาน (1) รวมบริษัทย่อย 1,838 คน และ 1,798 คน ตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 (2) เฉพาะของบริษัท 58 คน และ 52 คน ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน (1) รวมบริษัทย่อย 894 ล้านบาท และ 813 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับปี 2549 และ 2548 (2) เฉพาะของบริษัท 68 ล้านบาท และ 60 ล้านบาท ตามลำดับ

1.2 ข้อมูลสัญญาร่วมดำเนินกิจการ

1.2.1 บริษัทย่อยได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ตามสัญญาลงวันที่ 28 เมษายน 2521 แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2525 ครั้งที่ 2 เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2530 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 โดยได้รับสิทธิร่วมดำเนินการออกอากาศสถานี โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ทรัพย์สินที่บริษัทย่อยได้กระทำขึ้นหรือได้จัดหามาไว้สำหรับใช้ ในการดำเนินการตามสัญญานี้ ให้ตกเป็นทรัพย์สิน อ.ส.ม.ท. นับแต่วันที่ได้กระทำหรือได้จัดหา ซึ่งบริษัทย่อยมีสิทธิ ในการใช้ทรัพย์สินดังกล่าวได้ ภายใต้สัญญาดังกล่าวข้างต้น บริษัทย่อยจะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรายปีแก่ อ.ส.ม.ท. ตาม ที่ระบุไว้ ในสัญญา 1.2.2 บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณากับ อ.ส.ม.ท. ตามสัญญาลงวัน ที่ 25 มกราคม 2533 และแก้ไขใหม่ ลงวันที่ 22 กันยายน 2537 โดยได้รับสิทธิในการจัดรายการและโฆษณาสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.เอฟ.เอ็ม.ความถี่ 105.5 เมกกะเฮิร์ตซ กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2563 เพื่อให้สอดคล้อง กับอายุสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้มีข้อตกลงว่าหากสัญญาร่วมดำเนินกิจการ ส่งโทรทัศน์สีสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก่อนครบกำหนดอายุสัญญาให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดด้วย ภายใต้สัญญาดังกล่าวข้างต้น บริษัทย่อยจะต้องจ่ายค่าเช่าเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ รายเดือนแก่ อ.ส.ม.ท. ตามที่ระบุไว้ในสัญญา 1.2.3 ในเดือนสิงหาคม 2547 ได้มีการยุบเลิก อ.ส.ม.ท. และมีการจัดตั้งบริษัท อ ส ม ท จำกัด (มหาชน) ขึ้นมารับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่ของ อ.ส.ม.ท.

33


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

2. เกณฑ์ ในการจัดทำงบการเงิน งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีภายใต้พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งรวมถึงพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ยกเว้นงบการเงินของ ThemeSTAR Limited ซึ่งเป็นบริษัทร่วม ของบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และในการจัดทำงบการเงินรวมได้มีการปรับปรุงงบการเงินให้เป็นไปตามนโยบายบัญชีเดียว กับบริษัทใหญ่ 2.1 งบการเงินรวมนี้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยกับส่วน ได้เสียของบริษัทร่วม ดังต่อไปนี้ รายการ

ถือหุ้นร้อยละ 2549

2548

จัดตั้งขึ้นใน ประเทศ

บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นโดยตรง 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 99.99 99.99 ไทย 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 99.99 99.99 ไทย 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด 99.99 99.99 ไทย 5. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 99.99 99.99 ไทย 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด 99.99 99.99 ไทย 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 99.99 99.99 ไทย 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 99.99 99.99 ไทย 14. บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 59.99 59.99 ไทย 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 99.99 99.99 ไทย 16. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด 99.99 99.99 ไทย บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 1. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด 59.99 59.99 ไทย บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 1. บริษัท ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม จำกัด 99.99 99.99 ไทย 2. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ จำกัด 51.00 - ไทย 3. บริษัท บีอีซี-เทโร อาร์เซนอล จำกัด 99.99 - ไทย 34


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ถือหุ้นร้อยละ 2549

2548

จัดตั้งขึ้นใน ประเทศ

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 1. บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด 59.99 59.99 ไทย 2. บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด 50.99 50.99 ไทย 3. บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด 49.99 49.99 ไทย บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 1. บริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด - 40.00 ไทย 2. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด 51.00 51.00 ไทย 3. บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด 40.00 40.00 ไทย 4. บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 39.99 39.99 ไทย 5. ThemeSTAR Limited 40.00 40.00 British Virgin Islands บริษัทร่วมที่บริษัทถือหุ้นโดยตรง 1. บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 19.52 19.52 ไทย 2.2 ยอดคงค้างและรายการระหว่างกันของบริษัทและบริษัทย่อย ได้ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว 2.3 ส่วนแตกต่างระหว่างราคาตามบัญชีของบริษัทย่อยและราคาทุนของเงินลงทุน แสดงในบัญชีค่าความนิยม 3. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ 3.1 การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย บริษัทบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้าง รายได้จากการขายโฆษณา บันทึกเป็นรายได้เมื่อให้บริการออกอากาศทางโทรทัศน์และวิทยุ รายได้จากผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์และละครบันทึกรายได้ตามวันที่ออกฉายหรือเมื่อมีการขาย รายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและแสดงโชว์ บันทึกเป็นรายได้เมื่อมีการแสดงแล้ว 3.2 เงินลงทุนในกองทุนเปิด เงินลงทุนในกองทุนเปิดถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า แสดงในมูลค่ายุติธรรม ราคาทุนของเงินลงทุนที่จำหน่าย ในระหว่างปีคำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 3.3 ลูกหนี้การค้าและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้าแสดงตามมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญโดยประมาณจากจำนวนหนี้ที่ อาจเรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยอาศัยประสบการณ์ ในการเรียกเก็บเงินในอดีต และสถานะปัจจุบันของลูกหนี้คงค้าง ณ วันที่ ในงบดุล

3.4 สินค้าคงเหลือ

สินค้าที่มีเพื่อขาย แสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ราคาทุนคำนวณโดย วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 35


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายการที่ยังไม่ได้ออกอากาศ แสดงในราคาทุน และจะถือเป็นต้นทุนเมื่อได้ออกอากาศแล้ว บริษัทตั้งค่าเผื่อการลดราคาสินค้าสำหรับสินค้าล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ และคาดว่าจะจำหน่ายไม่ได้ โดย พิจารณาถึงสภาพของสินค้าเป็นเกณฑ์

3.5 คอนเสิร์ตและรายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต

คอนเสิร์ตระหว่างผลิต ตัดบัญชีเป็นต้นทุนการผลิตเมื่อได้มีการแสดงแล้วตามสัดส่วน การแสดงที่เกิดขึ้น รายการโทรทัศน์ระหว่างผลิต แสดงมูลค่าต้นทุนของการผลิตที่อยู่ระหว่างการผลิตและถ่ายทำ ซึ่งจะบันทึกเป็นต้นทุนเมื่อได้โอนสิทธิและส่งมอบหรือเมื่อได้ ออกอากาศแล้ว 3.6 เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย บริษัทย่อย หมายถึง กิจการที่กลุ่มบริษัทมีอำนาจในการควบคุมนโยบายการเงินและการดำเนินงาน บริษัท รวมบริษัทย่อยไว้ในงบการเงินรวมตั้งแต่วันที่กลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุมจนถึงวันที่การมีอำนาจควบคุมนั้นสิ้นสุดลง บริษัทร่วม หมายถึง กิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว กลุ่ม บริษัทจะบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมเป็นศูนย์และจะไม่รับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนอีกต่อไป เมื่อส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัท ร่วมนั้นมีมูลค่าเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม

3.7 เงินลงทุนในบริษัทอื่น

เงินลงทุนในบริษัทอื่น หมายถึง บริษัทที่กลุ่มบริษัทถือหุ้นแต่ ไม่มีอำนาจควบคุมหรือมีส่วนร่วมในการ กำหนดนโยบายใดๆ เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงในราคาทุนและได้หักค่าเผื่อจากการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัท อื่นแล้ว 3.8 เงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แสดงในราคาทุน 3.9 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน อาคารและอุปกรณ์คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงตาม อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์และได้หักค่าเผื่อจากการด้อยค่าของสินทรัพย์แล้ว ดังนี้ รายการ อาคาร เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน ระบบสาธารณูปโภค อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์และวิทยุ ส่วนปรับปรุงอาคารเช่า ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ

36

อายุการใช้งาน (ปี)

20 3 - 10 5 5 5 5 - 10 5


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

3.10 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี ตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของ สินทรัพย์ หรือตัดจ่ายตามอายุสัมปทานที่เหลือ ดังนี้ รายการ อายุการใช้งาน (ปี) อาคาร 5 - 20 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ ส่วนปรับปรุงอาคาร 5 สิ่งปลูกสร้างอื่น 5 เครื่องส่งโทรทัศน์สีและวิทยุ 10 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ อุปกรณ์โทรทัศน์สีและวิทยุ 5 - 10 รถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 5 - 10 สินทรัพย์สถานีเครือข่าย 5 หรืออายุสัมปทานที่เหลือ 3.11 ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี ค่าเช่าภาพยนตร์ ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาที่กำหนดใน สัญญาหรือสัดส่วนการออกอากาศของภาพยนตร์ที่กำหนดใน สัญญาหรือตามสิทธิที่ได้รับในการออกอากาศ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ตัดบัญชีเป็นต้นทุนตามอัตราส่วนของรายได้ที่รับ จากประมาณ การรายได้ทั้งหมด ค่าละคร ตัดเป็นค่าใช้จ่ายอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ตั้งแต่เริ่มได้มา และจะ ตัดเป็นค่าใช้จ่ายให้คงเหลือเท่ากับร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนเดิม เมื่อออกอากาศครั้งแรกจบทั้งเรื่อง หลังจากนั้นจะตัดจ่ายเป็น ค่าใช้จ่ายต่อไปโดยวิธีเส้นตรงในระยะเวลา 5 ปี ค่าลิขสิทธิ์ ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาที่กำหนด ในสัญญา 3.12 ค่าความนิยม ค่าความนิยม บริษัทตัดจำหน่ายโดยวิธีเส้นตรงในเวลา 5 ปี 3.13 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ลิขสิทธิ์และสิทธิในชื่อและเครื่องหมายการค้า ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงในระยะเวลา 5 ปี หรือตามระยะเวลาที่กำหนด ในสัญญา ลิขสิทธิ์และสิทธิในชื่อและเครื่องหมายการค้า ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงในระยะเวลา 5-15 ปี 3.14 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิประจำปีด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและ ชำระแล้ว ณ วันสิ้นปี

37


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

3.15 รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้บันทึกเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มียอดคงเหลือ ณ วันที่ ในงบดุลได้บันทึกไว้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่ ในงบดุล ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานระหว่างปีแล้ว งบการเงินของบริษัทที่เป็นหน่วยงานต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทเพื่อการทำงบการเงินรวม โดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยนดังต่อไปนี้ - สินทรัพย์ และหนี้สิน แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันสิ้นปี - ส่วนของผู้ถือหุ้นและค่าเสื่อมราคา แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ - รายได้และค่าใช้จ่าย แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยสำหรับปี ส่วนปรับปรุงจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แสดงอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้น 3.16 ภาษีเงินได้ บริษัทและบริษัทย่อย บันทึกภาษีเงินได้ตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามประมวลรัษฎากรโดยใช้อัตราภาษีที่ ประกาศใช้ในรอบบัญชีนั้น บริษัทร่วมของบริษัทและบริษัทร่วมของบริษัทย่อยบางแห่ง บันทึกภาษีเงินได้ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 3.17 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพื่อวัตถุประสงค์ ในการจัดทำงบกระแสเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดในมือ และเงินฝากสถาบันการเงินซึ่งถึงกำหนดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน และปราศจากภาระผูกพัน 3.18 การใช้ประมาณการทางบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ฝ่ายบริหารต้องใช้การประมาณและตั้ง ข้อสมมติฐานหลายประการซึ่งจะมีผลกระทบต่อจำนวนเงินที่เกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ และหนี้สิน รวมทั้ง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจมีความแตกต่างไปจากจำนวนที่ ประมาณไว้ 4. เงินลงทุนในกองทุนเปิด

รายการ

หน่วย : บาท งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

เงินลงทุนในกองทุนเปิด-ตราสารหนี้ 36,899,242 243,679,805 10,037 207,040,630 ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุนใน กองทุนเปิด 1,724,916 657,614 175 166,927 เงินลงทุนในกองทุนเปิด-สุทธิ 38,624,158 244,337,419 10,212 207,207,557 เงินลงทุนในกองทุนเปิดเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า ผลต่างของมูลค่ายุติธรรมกับราคาทุนแสดงเป็นค่าเผื่อ การปรับมูลค่าเงินลงทุนในกองทุนเปิด ผลกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในกองทุนเปิดที่เกิดขึ้นในระหว่างปีได้นำไป แสดงในงบกำไรขาดทุนแล้ว ดังนี้ 38


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท

รายการ

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

กำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นของ เงินลงทุนในกองทุนเปิด 1,233,871 629,731 (183) 166,927 กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในกองทุนเปิด 607,544 1,820,431 357,513 ผลกำไรจากเงินลงทุนในกองทุนเปิด 1,841,415 2,450,162 357,330 166,927 5. ลูกหนี้การค้า บริษัทมีลูกหนี้การค้า แยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ หน่วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

อายุลูกหนี้

2549

ลูกหนี้การค้า ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 423,807,875 เกินกำหนดชำระไม่เกิน 3 เดือน 162,017,241 มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 43,460,903 มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 3,857,691 มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 64,512,550 ลูกหนี้เช็คคืน 8,151,645 รวม 705,807,905 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (64,546,427) ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 641,261,478 ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน 24,560,394 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (49,282) ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน-สุทธิ 24,511,112 รวมลูกหนี้การค้า-สุทธิ 665,772,590

2548

2549

2548

377,943,846 1,060,000 6,800,000 280,536,466 - 30,182,902 - 4,593,942 - 39,511,252 - 4,862,089 - 737,630,497 1,060,000 6,800,000 (55,084,884) - 682,545,613 1,060,000 6,800,000 18,408,454 341,531,919 277,894,601 (2,649,282) - 15,759,172 341,531,919 277,894,601 698,304,785 342,591,919 284,694,601

39


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

6. เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน หน่วย : บาท รายการ

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2549

2548

2549

บริษัทใหญ่ให้กู้ยืม - บริษัทย่อย 1. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 265,000,000 - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - - - 275,000,000 รับชำระคืนระหว่างปี - - (75,000,000) (10,000,000) ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 190,000,000 265,000,000 2.75-5.75 2. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 73,413,711 71,467,995 ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - - 2,624,890 1,945,716 รับชำระคืนระหว่างปี - - (8,757,221) - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 67,281,380 73,413,711 2.75-6.25 3. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 89,783,694 100,484,828 ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - - 86,000,000 25,000,000 ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - - 2,178,840 1,054,405 รับชำระคืนระหว่างปี - - (27,396,554) (36,755,539) ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 150,565,980 89,783,694 2.75-6.25 4. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 2,324,277 2,165,326 ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - - 200,000 100,000 ดอกเบี้ยค้างรับที่ทบเป็นเงินต้น - - 69,154 58,951 ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 2,593,431 2,324,277 2.75-6.25 5. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 12,600,000 11,600,000 ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - - 800,000 1,000,000 ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 13,400,000 12,600,000 3.00-6.50 6. บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์ เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - 253,790,975 284,400,000 รับชำระคืนระหว่างปี - - (90,901,064) (30,609,025) ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - 162,889,911 253,790,975 5.50-6.67 รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย - - 586,730,702 696,912,657

40

2548

2.75-3.50

2.75-4.75

2.75-4.25

2.75-4.25

3.00-4.50

2.75-5.25


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท รายการ

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2549

2548

2549

2548

บริษัทย่อยให้กู้ยืม - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 1. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี 49,000,000 22,500,000 - - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี - 42,000,000 - - รับชำระคืนระหว่างปี (15,000,000) (15,500,000) - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี 34,000,000 49,000,000 - - 10.30-11.75 9.70-10.30 2. ThemeSTAR Limited ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - - - ให้กู้เพิ่มระหว่างปี 22,330,500 - - - ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (814,440) - - - ยอดคงเหลือยกไปปลายปี 21,516,060 - - - 8.50 รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม ที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 55,516,060 49,000,000 - - รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 55,516,060 49,000,000 586,730,702 696,912,657

7. เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น หน่วย : บาท รายการ

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2549

2548

2549

บริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น จำกัด ยอดคงเหลือยกมา 11,000,000 11,000,000 - - ดอกเบี้ยค้างรับ 2,795,068 2,795,068 - - ยอดคงเหลือยกไป 13,795,068 13,795,068 - - - หัก ตัดจำหน่ายระหว่างปี (13,795,068) - - - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - (13,795,068) - - เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น-สุทธิ - - - -

2548

-

41


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

8. สินค้าคงเหลือ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท งบการเงินรวม

รายการ

2549

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

2548

2549

สินค้าสำเร็จรูป 390,991 241,342 - รายการที่ยังไม่ได้ออกอากาศ 46,115 177,018 - สินค้าอื่น 8,050 8,384 - รวม 445,156 426,744 - 9. เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียและผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุน

2548

- - - - หน่วย : บาท

รายการ

สัดส่วนการถือหุ้น % 2549

2548

ตามวิธีราคาทุน 2549

2548

ตามวิธีส่วนได้เสีย 2549

2548

บริษัทย่อย 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 99.99 99.99 299,999,200 299,999,200 1,845,546,773 1,646,377,774 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 99.99 99.99 34,999,510 34,999,510 402,168,215 609,114,013 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 99.99 99.99 59,999,160 59,999,160 440,035,602 600,989,632 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด 99.99 99.99 42,996,990 42,996,990 242,733,480 177,147,084 5. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 99.99 99.99 34,999,300 34,999,300 (49,835,042) (48,598,536) 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 99.99 99.99 29,999,930 29,999,930 90,459,418 69,984,536 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด 99.99 99.99 4,999,930 4,999,930 7,237,870 7,024,509 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 99.99 99.99 4,999,930 4,999,930 (14,362,121) (12,294,569) 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 99.99 99.99 4,999,930 4,999,930 7,236,172 7,022,959 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 99.99 99.99 4,999,930 4,999,930 174,689,235 89,510,024 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด 99.99 99.99 24,999,930 24,999,930 37,748,780 36,530,114 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด 99.99 99.99 14,999,930 14,999,930 47,792,090 36,924,342 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด 99.99 99.99 999,930 999,930 414,169 449,454 14. บริษัท บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 59.99 59.99 122,116,158 122,116,158 214,903,427 198,994,936 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 99.99 99.99 199,992,000 199,992,000 157,937,268 168,709,669 16. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด 99.99 99.99 49,998,000 49,998,000 7,492,247 7,219,406 รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อย 936,099,758 936,099,758 3,676,394,746 3,655,998,452 รวมผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุน - - (64,197,163) (60,893,105) บริษัทร่วม 1. บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 19.52 19.52 288,883,397 288,883,397 144,805,757 147,576,026

42


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท

รายการ

สัดส่วนการถือหุ้น % 2549

2548

ตามวิธีราคาทุน 2549

2548

ตามวิธีส่วนได้เสีย 2549

บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 1. บริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด - 40.00 - 29,999,700 - 2. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด 51.00 * 51.00 * 25,479,930 25,479,930 30,703,303 3. บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 39.99 39.99 1,199,700 1,199,700 1,068,500 4. ThemeSTAR Limited 40.00 40.00 64,201,171 64,201,171 44,200,881

2548

38,672,301 23,484,293 1,179,080 55,929,897

รวมเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย (งบการเงินเฉพาะของบริษัท) 3,821,200,503 3,803,574,478 รวมเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย (งบการเงินรวม) 220,778,441 266,841,597 รวมผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุน (งบการเงินเฉพาะของบริษัท) (64,197,163) (60,893,105) * คำนวณส่วนได้เสียตามสิทธิในการรับเงินปันผลและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมร้อยละ 49

เนื่องจากบริษัทย่อยบางบริษัทมีผลขาดทุนเกินทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 เงินลงทุนซึ่ง บันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียจึงแสดงไว้ในหมวดหนี้สินภายใต้หัวข้อ “ผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุน” งบการเงินของบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทร่วม และงบการเงินของ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์

เทนเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ถือตามรายงานของผู้สอบบัญชีอื่น เงินลงทุนและส่วนได้เสียที่บันทึกในงบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ มีดังนี้ หน่วย : ล้านบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

รายการ

2549

2548

2549

2548

เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 144.81 147.58 144.81 147.58 บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด 30.70 23.48 - - รวม 175.51 171.06 144.81 147.58 ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 7.98 29.21 7.98 29.21 บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด 7.22 (18.47) - - รวม 15.20 10.74 7.98 29.21 43


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทถือหุ้นในบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นจำนวน 6.33 ล้านหุ้น โดยมีราคาตลาดเท่ากับ 94.24 ล้านบาท และ 122.71 ล้านบาทตามลำดับ ในเดือนมีนาคม 2547 บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อหุ้นสามัญคืนจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป หุ้นดังกล่าวจะถูกจำหน่ายภายหลัง 6 เดือน นับจากการซื้อหุ้นคืนเสร็จ แต่ไม่เกิน 3 ปี โดยบริษัทได้ขายหุ้นสามัญคืนเป็นบางส่วนทำให้เกิดกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุน เนื่องจากราคาที่ รับซื้อคืนสูงกว่าราคาตามบัญชี โดยบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้บันทึกการซื้อหุ้นสามัญคืนใน ส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้นบริษัทจึงได้บันทึกหุ้นสามัญซื้อคืนของบริษัทร่วมส่วนที่เกินกว่าราคาตามบัญชีเป็นจำนวนเงิน 20.97 ล้านบาท ในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ในปี 2548 บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทได้เปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้จากเดิมบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง มาปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง การบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ มีผลทำให้บริษัทร่วมดังกล่าวต้องมีการปรับย้อนหลังงบการเงินของงวดก่อนๆ เพื่อใช้ ในการเปรียบเทียบซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว มีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทอย่างไม่ เป็นสาระสำคัญ บริษัทจึงได้ปรับปรุงผลกระทบดังกล่าวในงบการเงินงวดที่เกิดรายการ งบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ของบริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด ที่นำ มาคำนวณเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย คำนวณจากงบการเงินที่จัดทำโดยผู้บริหารซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ สอบบัญชี งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้รวมเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย เป็น จำนวนเงิน 38.67 ล้านบาท และได้รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียสำหรับปี 2548 เป็นจำนวนเงิน 2.68 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2549 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริษัทได้โอนหุ้นของบริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด เพื่อแลกกับหุ้นของบริษัทโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย จนถึงวันโอนหุ้นเป็นจำนวนเงิน 3.94 ล้านบาท ทำให้เกิดขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนเงินลงทุนเป็นจำนวนเงิน 2.73 ล้านบาท ในเดือนพฤศจิกายน 2549 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ขายเงินลงทุนของ บริษัทโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำนวนเงิน 20.80 ล้านบาทและรับรู้ขาดทุน จากการจำหน่ายเงินลงทุนเป็นจำนวนเงิน 9.20 ล้านบาท งบการเงินสำหรับปี 2549 และ 2548 ของบริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่นำมา คำนวณเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย คำนวณจากงบการเงินที่จัดทำโดยผู้บริหารซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ สอบบัญชี ซึ่งงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ ได้รวมเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย เป็นจำนวนเงิน 1.07 ล้านบาท และ 1.18 ล้านบาท ตามลำดับและได้รวมส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วน ได้เสียสำหรับปี 2549 และ 2548 เป็นจำนวนเงิน 0.11 ล้านบาท และ 0.05 ล้านบาท ตามลำดับ ในเดือนพฤศจิกายน 2547 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริษัทได้ลงทุนใน ThemeSTAR Limited ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 51 และในเดือนธันวาคม 2548 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้จำหน่ายเงินลงทุนบางส่วนให้แก่ผู้ถือหุ้นรายเดิม ทำให้สัดส่วน การถือหุ้นลดลงเหลือร้อยละ 40.00 งบการเงินสำหรับปี 2549 และ 2548 ของ ThemeSTAR Limited ที่นำมา คำนวณเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย คำนวณจากงบการเงินที่จัดทำโดยผู้บริหาร ซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบ บัญชีโดยงบการเงินรวมและงบเฉพาะของบริษัทฯ ได้รวมเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย เป็นจำนวน 44


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

เงิน 44.20 ล้านบาท (รวมผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน 4.22 ล้านบาท) และ 55.93 ล้านบาท ตามลำดับ และ ได้รวมส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียสำหรับปี 2549 เป็นจำนวนเงิน 7.51 ล้านบาท และงบกำไร ขาดทุนรวมสำหรับปี 2548 ได้รวมขาดทุนสุทธิ เป็นจำนวนเงิน 9.23 ล้านบาท ในเดือนมีนาคม 2549 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้ลงทุนในบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ จำกัด และบริษัท บีอีซี-เทโร อาร์เซนอล จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 51.00 และ 99.99 เป็นจำนวนเงิน 2.55 ล้านบาท และ 4.49 ล้านบาท ตามลำดับ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัทได้ลงทุนใน บริษัท ฮอรัส ครีเอชั่น จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 59.99 เป็นจำนวนเงิน 0.75 ล้านบาท และในเดือนสิงหาคม 2548 บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้โอนเงินลงทุนทั้งหมดให้แก่ ผู้ถือหุ้นรายเดิมและรับรู้ขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนเป็นจำนวนเงิน 0.75 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2548 บริษัท บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ลงทุนใน บริษัทไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49.99 เป็นจำนวนเงิน 6.22 ล้านบาท ทำให้มีค่า ความนิยมติดลบเป็นจำนวนเงิน 2.35 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรับรู้ค่าความนิยมติดลบเป็นรายได้ ในระหว่างปีทั้ง จำนวน หน่วย : บาท รายการ ประเภทกิจการ

ลักษณะความ สัมพันธ์

ทุนชำระแล้ว 2549

2548

เงินปันผล 2549

2548

บริษัทย่อย 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 300,000,000 300,000,000 499,998,667 799,997,867 จำกัด และวิทยุ ร่วมกัน 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 449,993,700 249,996,500 ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ร่วมกัน 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด จัดหา ผลิตรายการและขาย ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 349,995,100 249,996,500 เวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ร่วมกัน 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง ให้บริการในการ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 1,000,000 1,000,000 - - เซ็นเตอร์ จำกัด ดำเนินการออกอากาศ ร่วมกัน 5. บริษัท ยู แอนด์ ไอ ผลิตรายการและดำเนินการ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 35,000,000 35,000,000 - - คอร์โปเรชั่น จำกัด สถานีวิทยุ ผลิตภาพยนตร์ ร่วมกัน 6. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด ดำเนินการถือครอง ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 30,000,000 30,000,000 - - และให้เช่าทรัพย์สิน ร่วมกัน 7. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด (*) ผลิตรายการและให้บริการ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 - - อุปกรณ์ห้องสตูดิโอ ร่วมกัน 8. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 - - ดิสทริบิวชั่น จำกัด ร่วมกัน 9. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด (*) ผลิตรายการข่าว ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 - - ร่วมกัน 10. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 5,000,000 - - ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ร่วมกัน 11. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ ให้บริการรับ-ส่งสัญญาณผ่าน- ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 25,000,000 25,000,000 - - เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (*) ดาวเทียม ร่วมกัน *ยังไม่เริ่มดำเนินการ

45


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท รายการ ประเภทกิจการ

ลักษณะความ สัมพันธ์

ทุนชำระแล้ว 2549

2548

เงินปันผล 2549

2548

บริษัทย่อย 12. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด ให้บริการด้านเทคโนโลยี ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 15,000,000 15,000,000 - - สารสนเทศ และขายปลีก ร่วมกัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ ให้บริการดูแลรักษา 13. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี ให้บริการโทรทัศน์ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 1,000,000 1,000,000 - - บรอดคาสติ้ง จำกัด (*) ผ่านดาวเทียม ร่วมกัน 14. บริษทั บีอซี -ี เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จัดหา ผลิตรายการและ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 200,000,000 200,000,000 15,599,993 34,799,985 จำกัด (มหาชน) ขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ร่วมกัน ผลิตและส่งเสริมการจำหน่าย เพลง จัดแสดงคอนเสิร์ต ผลิตภาพยนตร์และละคร 15. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 200,000,000 200,000,000 - - ร่วมกัน 16. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ลงทุนในธุรกิจมัลติมีเดีย ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 50,000,000 50,000,000 - - ร่วมกัน บริษัทที่ถือหุ้นโดย 1. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด บริษัทย่อย 1. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด จัดหา ผลิตรายการและ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 10,000,000 10,000,000 - - ขายเวลาโฆษณา ร่วมกัน 2. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อย 1. บริษัท ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม ให้บริการทำโฆษณา / ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 10,000,000 10,000,000 - - จำกัด บริการรับจองและขายบัตร ร่วมกัน เข้าชมการแสดง 2. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ ให้บริการจัดกิจกรรมและงาน ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 5,000,000 - - - จำกัด แสดงสินค้า ร่วมกัน 3. บริษัท บีอีซี-เทโร อาร์เซนอล บริการจัดการทีมฟุตบอลและ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 4,500,000 - - - จำกัด ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับฟุตบอล ร่วมกัน บริษัทร่วม 1. บริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร ผลิต ซื้อ ขายแผ่นเสียง ผู้ถือหุ้น/กรรมการ - 75,000,000 1,999,980 3,479,965 เอนเทอร์เทนเมนต์ จำกัด สิ่งบันทึกภาพ และสิ่งบันทึกเสียง ร่วมกัน 2. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ ผลิตรายการและดำเนินการ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 49,960,800 49,960,800 - - (ประเทศไทย) จำกัด สถานีวิทยุ ร่วมกัน 3. บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง ผลิต ซื้อ ขายแผ่นเสียง ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 3,000,000 3,000,000 - - (ประเทศไทย) จำกัด สิ่งบันทึกภาพ และสิ่งบันทึกเสียง ร่วมกัน 4. ThemeSTAR Limited จัดการแสดงโชว์ ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 160,502,947 160,502,947 - - ร่วมกัน * ยังไม่เริ่มดำเนินการ

46


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท รายการ ประเภทกิจการ

ลักษณะความ สัมพันธ์

ทุนชำระแล้ว 2549

เงินปันผล

2548

2549

2548

3. บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทย่อย 1. บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด ให้บริการ Mobile ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 10,000,000 10,000,000 - - Entertainment ร่วมกัน 2. บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส ให้บริการ ข้อมูลด้วยเสียงทาง ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 30,000,000 30,000,000 - - จำกัด โทรศัพท์ ร่วมกัน บริษัทที่บริษัทย่อย 2 บริษัทถือหุ้น (ดูหมายเหตุ 2) 1. บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด ให้บริการ Mobile ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 7,500,000 7,500,000 - - Entertainment ร่วมกัน บริษัทร่วม 1. บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จัดจำหน่ายและให้เช่าวีดีโอเทป ผู้ถือหุ้น/กรรมการ 360,000,000 360,000,000 10,752,500 3,162,500 จำกัด (มหาชน) วีดีโอซีดีและดีวีดี ร่วมกัน รวม (งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ) 1,326,339,960 1,337,953,352 รวม (งบการเงินรวม) 12,752,480 6,642,465

10. เงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บริษัทและบริษัทย่อยมีเงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอยู่ ในระหว่างการพิจารณาการใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงได้แสดงไว้ ในบัญชีเงินลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่มีข้อบ่งชี้ ใดๆ ว่า จะเกิดการด้อยค่า ดังนั้นจึงไม่มีการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ 11. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หน่วย : บาท งบการเงินรวม รายการ 2548 เพิ่มขึ้น

จำหน่าย/ เลิกใช้

โอน/ รับโอน

2549

ราคาทุน ที่ดิน 5,569,750 - - - 5,569,750 อาคาร 2,990,000 - - - 2,990,000 เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน 421,518,988 23,003,938 (2,542,580) 286,437 442,266,783 ระบบสาธารณูปโภค 85,373,552 1,084,350 - 11,500,000 97,957,902 อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์และวิทยุ 247,942,429 1,900,438 (29,307) 502,513 250,316,073 ส่วนปรับปรุงอาคารเช่า 124,159,231 5,055,566 - - 129,214,797 ยานพาหนะ 267,075,787 11,788,952 (30,231,178) 48,654,816 297,288,377 เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ 256,568,422 8,759,593 - - 265,328,015 สินทรัพย์ระหว่างติดตั้ง 426,437 135,495,264 (140,000) (60,943,766) 74,837,935 รวม 1,411,624,596 187,088,101 (32,943,065) - 1,565,769,632

47


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท งบการเงินรวม รายการ 2548 เพิ่มขึ้น

ค่าเสื่อมราคาสะสม อาคาร เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน ระบบสาธารณูปโภค อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์และวิทยุ ส่วนปรับปรุงอาคารเช่า ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ รวม ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ ค่าเสื่อมราคาประจำปี

จำหน่าย/ เลิกใช้

โอน/ รับโอน

2549

574,244 149,500 - - 723,744 211,806,308 67,526,159 (2,083,670) - 277,248,797 13,835,747 17,599,203 - - 31,434,950 165,674,604 28,237,177 (19,626) - 193,892,155 20,157,397 25,544,276 - - 45,701,673 167,207,110 28,827,712 (29,903,568) - 166,131,254 57,065,692 48,015,075 - - 105,080,767 636,321,102 215,899,102 (32,006,864) - 820,213,340 775,303,494 745,556,292 187,869,799 215,899,102

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินรวมมีสินทรัพย์ถาวรที่คำนวณค่าเสื่อมราคาครบแล้วและ ยังมีการใช้งานอยู่ โดยมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 394.93 ล้านบาท และ 359.41 ล้านบาท ตามลำดับ หน่วย : บาท

รายการ

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น

จำหน่าย/เลิกใช้

2549

ราคาทุน เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน 129,864,147 669,138 - 130,533,285 ระบบสาธารณูปโภค 19,280,129 - - 19,280,129 ยานพาหนะ 48,076,255 58,411 (2,980,000) 45,154,666 เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ 318,010 - - 318,010 รวม 197,538,541 727,549 (2,980,000) 195,286,090 ค่าเสื่อมราคาสะสม เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงาน 48,499,287 21,130,698 - 69,629,985 ระบบสาธารณูปโภค 4,436,913 3,856,025 - 8,292,938 ยานพาหนะ 33,045,918 4,376,413 (2,979,993) 34,442,338 เครื่องมือและอุปกรณ์ถ่ายทำ 281,274 19,354 - 300,628 รวม 86,263,392 29,382,490 (2,979,993) 112,665,889 อุปกรณ์ - สุทธิ 111,275,149 82,620,201 ค่าเสื่อมราคาประจำปี 28,385,954 29,382,490

48


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ มีสินทรัพย์ถาวรที่คำนวณค่าเสื่อมราคา ครบแล้วและยังมีการใช้งานอยู่ โดยมีราคาทุนเป็นจำนวนเงิน 50.77 ล้านบาท และ 53.28 ล้านบาท ตามลำดับ 12. สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี หน่วย : บาท

รายการ

2548

งบการเงินรวม เพิ่มขึ้น

ลดลง

ราคาทุน อาคาร 90,985,384 - - ส่วนปรับปรุงอาคาร 32,388,617 7,325,010 - สิ่งปลูกสร้างอื่น 1,230,116 589,740 - เครื่องส่งโทรทัศน์สีและวิทยุ 300,587,405 - (433,403) อุปกรณ์โทรทัศน์สีและวิทยุ 436,184,339 9,745,221 - รถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 11,562,675 - - สินทรัพย์สถานีเครือข่าย 1,836,631,029 238,263 - ทรัพย์สินระหว่างติดตั้ง 259,923 108,325,079 - รวม 2,709,829,488 126,223,313 (433,403)

โอน/รับโอน

2549

- 90,985,384 - 39,713,627 - 1,819,856 - 300,154,002 259,923 446,189,483 - 11,562,675 - 1,836,869,292 (259,923) 108,325,079 - 2,835,619,398

สิทธิการใช้ทรัพย์สินตัดบัญชี อาคาร 71,012,670 1,965,584 - - 72,978,254 ส่วนปรับปรุงอาคาร 22,853,000 4,229,550 - - 27,082,550 สิ่งปลูกสร้างอื่น 1,211,647 70,170 - - 1,281,817 เครื่องส่งโทรทัศน์สีและวิทยุ 182,403,558 17,897,362 (228,546) - 200,072,374 อุปกรณ์โทรทัศน์สีและวิทยุ 421,171,613 7,120,024 - - 428,291,637 รถถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ 11,562,528 - - - 11,562,528 สินทรัพย์สถานีเครือข่าย 880,503,599 55,993,136 - - 936,496,735 รวม 1,590,718,615 87,275,826 (228,546) - 1,677,765,895 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี-สุทธิ 1,119,110,873 1,157,853,503 ค่าสิทธิการใช้ทรัพย์สินตัดจ่ายประจำปี 69,659,271 87,275,826

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินรวมมีสิทธิการใช้ทรัพย์สินที่ตัดจ่ายครบแล้ว และยังมี การใช้งานอยู่ โดยมีราคาทุน 802.11 ล้านบาท และ 800.13 ล้านบาท ตามลำดับ

49


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

13. ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี หน่วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

รายการ

2549

2548

2549

2548

ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี - สุทธิยกมา 1,394,228,718 1,617,362,176 520,724,278 557,638,320 บวก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ ที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 1,115,234,989 1,142,479,017 793,992,732 660,726,206 หัก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ที่ลดลงจากการขาย ระหว่างกัน - - (105,505,150) (99,316,300) รวม 2,509,463,707 2,759,841,193 1,209,211,860 1,119,048,226 หัก ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละครและลิขสิทธิ์ตัดจ่ายในระหว่างปี (1,304,047,040) (1,365,612,475) (666,577,413) (598,323,948) ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี - สุทธิยกไป 1,205,416,667 1,394,228,718 542,634,447 520,724,278

14. เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หน่วย : บาท

รายการ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ) 2549

2548

2549

2548

2549

บริษัทใหญ่กู้ยืมจาก 1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - - - - กู้เพิ่มระหว่างปี - - - 120,000,000 จ่ายชำระคืนระหว่างปี - - - (120,000,000) ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - - - -

50

2548

2.75


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

15. เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละ)

2549

รายการ

2549

2548

หน่วย : บาท

เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ถือหุ้นของ ThemeSTAR Limited ยอดคงเหลือยกมาต้นปี - 8,447,336 กู้เพิ่มระหว่างปี - - จำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - (8,447,336) ยอดคงเหลือยกไปปลายปี - - - รวมเงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน - -

2548

-

16. เงินปันผลจ่ายและค่าตอบแทนกรรมการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทครั้งที่ 4/2549 ได้มีมติให้จ่ายเงินปันผล ระหว่างกาลแก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 2,000 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท เป็นจำนวนเงิน 700 ล้านบาท โดยมีกำหนด จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลวันที่ 7 กันยายน 2549 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น จำนวน 2,000 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.45 บาท ซึ่งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2548 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มี มติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท เป็นจำนวนเงิน 300 ล้านบาท โดยบริษัทได้จ่ายเงินปันผล ระหว่างกาลแล้วในวันที่ 7 กันยายน 2548 ส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท จำนวนเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งได้จ่าย แล้วเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 รวมเงินปันผลที่มีมติให้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 900 ล้านบาท รวมทั้งได้มีการอนุมัติ การจ่ายบำเหน็จกรรมการประจำปี 2549 เป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น จำนวน 2,000 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.90 บาท ซึ่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2547 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มี มติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท เป็นจำนวนเงิน 800 ล้านบาท โดยบริษัทได้จ่ายเงินปันผล ระหว่างกาลแล้วในวันที่ 9 กันยายน 2547 ส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท จำนวนเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งได้ จ่ายแล้วเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 รวมเงินปันผลที่มีมติให้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 1,800 ล้านบาท รวมทั้งได้มีการ อนุมัติการจ่ายบำเหน็จกรรมการประจำปี 2548 เป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาท

51


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

17. รายการระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทและบริษัทย่อยมีรายการบางส่วนกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกันโดยการถือหุ้น การมีผู้ถือหุ้นหรือมีกรรมการร่วมกัน หรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย รายการดังกล่าวเป็นไปตามปกติธุรกิจตาม ราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับรายการค้าที่เกิดกับบุคคลภายนอก ผลของรายการดังกล่าวได้แสดงไว้ในงบ การเงินนี้ตามมูลฐานที่ตกลงร่วมกัน โดยบริษัทและบริษัทย่อยกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ลักษณะความสัมพันธ์

1. บริษัทย่อย ดูหมายเหตุ 9 2. บริษัทร่วม ดูหมายเหตุ 9 2.1 บริษัท ซีวีดี อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 2.2 บริษัท ซีวีดี มีเดีย จำกัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 2.3 บริษัท ซีวีดี มิวสิค จำกัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย ดูหมายเหตุ 9 4. บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 4.1 บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด มีผู้ถือหุ้นและ/กรรมการร่วมกัน 4.2 กองทุนอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัดเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายการระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกันที่สำคัญ มีดังนี้ หน่วย : บาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

รายการในงบดุล

2549

2548

2549

2548

1. ลูกหนี้การค้า (หมายเหตุ 5) - บริษัทย่อย - - 340,845,682 - บริษัทร่วม 3,254,895 2,358,280 686,237 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 21,256,217 13,400,892 - รวม 24,511,112 15,759,172 341,531,919 2. เงินให้กู้ยืม (หมายเหตุ 6) - บริษัทย่อย - - 586,730,702 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 55,516,060 49,000,000 - รวม 55,516,060 49,000,000 586,730,702 3. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - บริษัทย่อย - - 12,314,380 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 36,354,441 20,392,928 - รวม 36,354,441 20,392,928 12,314,380

52

277,894,601 277,894,601 696,912,657 696,912,657 7,565,009 7,565,009


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท

รายการในงบดุล

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

4. ขายละคร (หมายเหตุ 13) - บริษัทย่อย - - 105,505,150 99,316,300 5. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 32,176,439 30,207,399 7,443,245 7,443,245 6. เจ้าหนี้การค้า - บริษัทย่อย - - 39,775,264 112,502,450 - บริษัทร่วม 85,333 61,793 - - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 2,681,678 3,210,000 - รวม 2,767,011 3,271,793 39,775,264 112,502,450 7. หนี้สินหมุนเวียนอื่น - บริษัทร่วม 148,027 148,027 - - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 113,754,572 77,951,330 - - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 15,902,904 13,597,880 111,468 281,977 รวม 129,805,503 91,697,237 111,468 281,977

หน่วย : บาท

รายการในงบกำไรขาดทุน

งบการเงินรวม 2549

2548

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

8. รายได้จากการขายโฆษณา - บริษัทย่อย - - 481,029,500 - บริษัทร่วม 2,161,150 18,877,500 - - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 117,009,946 121,810,410 - รวม 119,171,096 140,687,910 481,029,500 9. รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่น - บริษัทย่อย - - 744,573,849 - บริษัทร่วม 15,097,955 4,460,112 4,250,933 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 15,705,899 8,507,844 - รวม 30,803,854 12,967,956 748,824,782 10. รายได้อื่น - บริษัทย่อย - - 32,224,788 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 26,326,948 21,709,915 - รวม 26,326,948 21,709,915 32,224,788

2548

485,818,618 485,818,618 510,548,400 4,243,759 514,792,159 21,248,101 21,248,101

53


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : บาท

รายการในงบกำไรขาดทุน

งบการเงินรวม 2549

งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

2548

2549

11. ต้นทุนขายและบริการ - บริษัทย่อย - - 41,230,841 - บริษัทร่วม 153,320 60,000 - - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 35,035,565 17,405,256 - - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 95,727,032 73,100,797 - รวม 130,915,917 90,566,053 41,230,841 12. ค่าใช้จ่าย - บริษัทย่อย - - 25,927,887 - บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย 204,170,958 152,048,942 - - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 93,434,191 88,909,707 34,720,037 รวม 297,605,149 240,958,649 60,647,924 13. ดอกเบี้ยจ่าย - บริษัทย่อย - - -

2548

84,131,036 84,131,036 23,581,137 33,564,249 57,145,386

72,329

18. สำรองตามกฎหมาย บริษัทตั้งสำรองตามกฎหมายครบร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนแล้ว การตั้งสำรองดังกล่าวเพื่อให้เป็นไป ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ 19. การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน บริษัทและบริษัทย่อยดำเนินกิจการในส่วนงานทางธุรกิจคือธุรกิจด้านบันเทิงและสันทนาการ และดำเนิน ธุรกิจในส่วนงานทางภูมิศาสตร์คือในประเทศไทย และ British Virgin Islands (ในปี 2548) บริษัทจำแนกข้อมูลตาม ส่วนงานทางธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์ ได้ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549

ส่วนงาน โทรทัศน์

ส่วนงานคอนเสิร์ต ในประเทศ ต่างประเทศ

รวม

งบการเงินรวม

รวมรายได้จากการขายและบริการ 6,408.90 365.81 - 365.81 6,774.71 ต้นทุนขายและบริการ 2,911.32 373.37 - 373.37 3,284.69 กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้นตามส่วนงาน 3,497.58 (7.56) - (7.56) 3,490.02 ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่วน 1,332.36 กำไรจากการดำเนินงาน 2,157.66 รายได้อื่น 161.24 ดอกเบี้ยจ่าย 0.18 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย 15.20 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย 11.56

54


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

หน่วย : ล้านบาท สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549

ส่วนงาน โทรทัศน์

ส่วนงานคอนเสิร์ต ในประเทศ ต่างประเทศ

รวม

งบการเงินรวม

ภาษีเงินได้ 659.97 กำไรหลังภาษีเงินได้ 1,662.39 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 19.65 กำไรสุทธิ 1,642.74 สินทรัพย์ถาวร-สุทธิ 745.56 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี-สุทธิ 1,157.85 1,157.85 ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และค่าลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี-สุทธิ 1,205.42 1,205.42 สินทรัพย์รวม 7,225.86

หน่วย : ล้านบาท

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548

ส่วนงาน โทรทัศน์

ส่วนงานคอนเสิร์ต ในประเทศ ต่างประเทศ

รวม

งบการเงินรวม

รวมรายได้จากการขายและบริการ 5,258.80 434.40 598.41 1,032.81 6,291.61 ต้นทุนขายและบริการ 2,925.42 426.58 552.02 978.60 3,904.02 กำไรขั้นต้นตามส่วนงาน 2,333.38 7.82 46.39 54.21 2,387.59 ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่วน 1,161.99 กำไรจากการดำเนินงาน 1,225.60 รายได้อื่น 96.69 ดอกเบี้ยจ่าย 0.55 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย 31.89 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย 18.52 ภาษีเงินได้ 432.52 กำไรหลังภาษีเงินได้ 902.59 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 21.45 กำไรสุทธิ 881.14 สินทรัพย์ถาวร-สุทธิ 775.30 สิทธิการใช้ทรัพย์สินรอตัดบัญชี-สุทธิ 1,119.11 1,119.11 ค่าเช่าภาพยนตร์ ค่าผลิตภัณฑ์ภาพยนตร์ ค่าละคร และค่าลิขสิทธิ์รอตัดบัญชี-สุทธิ 1,394.23 1,394.23 สินทรัพย์รวม 6,802.95

55


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

20. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า 20.1 ภาระผูกพัน บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพัน ดังนี้ งบการเงินรวม

รายการ

2549

2548

หน่วย : ล้านบาท งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ 2549

2548

หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ 7.44 17.27 - - หนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำธนาคาร 20.2 ภาระค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ตามสัญญาซื้อล่วงหน้า บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ตามสัญญาซื้อล่วงหน้า ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ

รายการ

2549

2548

2549

2548

ภาระค่าลิขสิทธิภ์ าพยนตร์ตามสัญญาซือ้ ล่วงหน้า - ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 3.20 37.83 - 30.90

20.3 ภาระผูกพันตามสัญญาเช่า

บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่า โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - บริษัทและบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2-9, 21, 25-28 และ 30-34 เลขที่ 3199 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร กับ บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด มีระยะเวลา 3 ปี โดยมีการทยอยเข้าทำสัญญาเมื่อได้เข้าใช้พื้นที่จริง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2547 12 พฤศจิกายน 2547 19 มกราคม 2548 และ 27 มกราคม 2548 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2548 สิทธิหน้าที่และ ความรับผิดชอบตามสัญญาฯ ดังกล่าว ได้โอนให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ เมื่อบริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด ได้ขายอาคารสำนักงานนี้ให้แก่กองทุนฯ ดังกล่าว - บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ (M II) ชั้น B2 และ 2-12 มีระยะ เวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2550 ซึ่งในเดือนพฤษภาคม 2548 สิทธิหน้าที่และ ความรับผิดชอบได้โอนให้กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ - บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ BEC TERO Hall ที่บริเวณสวนลุมไนท์บาซ่าร์ มีระยะเวลา 1 ปี 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2550 - บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารใบหยกสอง ชั้น 84 มีระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2548 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2551

56


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หน่วย : ล้านบาท รายการ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะ ของบริษัทฯ

ค่าเช่าพื้นที่ อุปกรณ์และส่วนตกแต่งในพื้นที่เช่า (ต่อเดือน) อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ 4.32 1.71 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ (M II) 2.60 - BEC TERO Hall 0.75 - อาคารใบหยกสอง 1.20 - รวม 8.87 1.71 ค่าบริการส่วนกลาง (ต่อเดือน) อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ 1.97 0.78 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ (M II) 1.18 - BEC TERO Hall 0.75 - รวม 3.90 0.78 รวมทั้งสิ้น 12.77 2.49

20.4 ภาระผูกพันตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับ อ.ส.ม.ท.

บริษัทย่อยจะต้องจ่ายผลตอบแทนรายปีตามสัญญาร่วมดำเนินการโทรทัศน์สีแก่ อ.ส.ม.ท. จำนวนเงิน รวมผลตอบแทนที่จะต้องจ่ายทั้งสิ้นตั้งแต่วันสิ้นงวดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นจำนวนเงิน 2,468.95 ล้านบาท และ 2,598.37 ล้านบาท ตามลำดับ และจะต้องจ่ายค่าผล ตอบแทนรายปีตามสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.เอฟ.เอ็ม.ความถี่ 105.5 เมกกะเฮิร์ตซ แก่ อ.ส.ม.ท.จำนวนเงินรวมผลตอบแทนที่จะต้องจ่ายทั้งสิ้นตั้งแต่วันสิ้นงวดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2563 เป็นจำนวนเงิน 252.66 ล้านบาท และ 261.92 ล้านบาท ตามลำดับ 21. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน บริษัทและบริษัทย่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินทั้งในงบดุลและนอกงบดุลดังนี้ 21.1 นโยบายการบัญชีและวิธีการปฏิบัติทางการบัญชี - ดูหมายเหตุ 3 21.2 ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา - ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เกิดจากการที่คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทย่อย - ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อมี ไม่มาก แม้ลูกหนี้การค้าของบริษัทและบริษัทย่อยส่วน ใหญ่จะเป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นหลัก เนื่องจากธุรกรรมของกลุ่มกระจาย ไม่ ได้กระจุกตัวอยู่กับลูกค้ารายใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ และได้มีการติดตามพฤติกรรมและการชำระหนี้ของลูกหนี้การค้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึง คาดได้ว่าบริษัทและบริษัทย่อยจะไม่มีความเสียหายที่เป็นสาระสำคัญจากความเสี่ยงนี้ - สำหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในงบดุล ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ดังกล่าวได้หักสำรองต่างๆ เพื่อให้เป็นราคายุติธรรมโดยประมาณ โดยสำรองดังกล่าวถือเป็นมูลค่าสูงสุดของความเสี่ยงที่จะเกิดจากการไม่ ปฏิบัติตามสัญญา 57


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

21.3 ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์ทางการเงิน ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่บริษัทและ บริษัทย่อยในงวดปัจจุบันและงวดต่อๆ ไป บริษัทและบริษัทย่อยคาดว่าจะสามารถบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากบริษัทได้มีการวางแผนและติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา 21.4 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มียอดคงเหลือ ณ วันที่ ในงบดุลมี จำนวนเงินไม่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

21.5 ราคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน

บริษัทและบริษัทย่อยใช้วิธีการและข้อสมมติฐานดังต่อไปนี้ ในการประมาณราคายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงิน - สินทรัพย์ทางการเงิน แสดงในราคาตามบัญชีซึ่งเท่ากับราคายุติธรรมโดยประมาณ - หนี้สินทางการเงิน ราคาตามบัญชีมีมูลค่าใกล้เคียงกับราคายุติธรรม เนื่องจากหนี้สินดังกล่าวจะครบ กำหนดในระยะเวลาอันใกล้ 22. คดีฟ้องร้อง ในปี 2544 บริษัทและบริษัทย่อยแห่งหนึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วม ในฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมาย การค้า จำนวนทุนทรัพย์ 110 ล้านบาท ซึ่งผลของคดียังไม่สิ้นสุดแต่บริษัทคาดว่าจะไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จาก การถูกฟ้องร้อง ดังนั้นบริษัทจึงไม่ ได้บันทึกค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากผลของคดีดังกล่าว ในปี 2549 คดีความ ดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด 23. การจัดประเภทบัญชี ใหม่ บัญชีบางหมวดของบริษัทในปี 2548 ได้มีการจัดประเภทบัญชีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการ งบการเงินในปี 2549 24. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติจากกรรมการของบริษัทแล้ว

58


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

โครงสร้างรายได้และการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา รายได้หลักของกลุ่มเป็นรายได้จากการขายสื่อโฆษณา ส่วนใหญ่เป็นรายได้ของสื่อโทรทัศน์ช่อง 3 โดยเฉพาะจากช่วงเวลาที่ทางกลุ่มใช้รายการที่ผลิตหรือจัดหามาเองโดยตรง สำหรับรายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์ หรือ ให้บริการอืน่ ๆ ซึง่ เป็นส่วนน้อยได้มาจากการจัดแสดง การจัดกิจกรรมบันเทิง การสร้างภาพยนตร์ การขายสิทธิการใช้

รายการโทรทัศน์ การขายสิทธิในบทภาพยนตร์และละคร เพื่อนำออกจำหน่ายในรูปซีวีดีและดีวีดี และการให้บริการ อื่นๆ ในขณะที่รายได้อื่น ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ และรายได้จากการลงทุนเป็นหลัก ในปี 2549 รายได้จากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างมาก จากการ เพิ่มอัตราการใช้เวลาโฆษณาได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2548 ทั้งช่วงเวลาไพร์มไทม์และนอกเวลา ไพร์มไทม์ อีกทั้งยังได้ปรับราคาขายนาทีโฆษณาในบางช่วงเวลาอีกด้วย สำหรับรายได้จากการจัดคอนเสิร์ตและ แสดงโชว์ต่ำกว่าปีก่อนค่อนข้างมาก เนื่องจากการไม่รวมรายได้ของ ThemeStar Limited ที่ได้เปลี่ยนสภาพจากการ เป็นบริษัทย่อยมาเป็นบริษัทร่วมตั้งแต่ปลายปี 2548 ตารางแสดงโครงสร้างรายได้ 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2549 2548 และ 2547 ตามลำดับ (รายได้ทั้งหมดนี้ ได้หักรายการระหว่างกันออกแล้ว)

ผลิตภัณฑ์/บริการ

ดำเนินการโดย

2549 ล้านบาท %

2548 ล้านบาท %

2547 ล้านบาท %

ขายสือ่ โฆษณา สือ่ โทรทัศน์ บมจ.บีอซี ี เวิลด์ บางกอกเอ็นเตอร์ 1 บีอซี ี บรอดคาสติง้ เซ็นเตอร์ 1 นิวเวิลด์ โปรดัก๊ ชัน่ 1 รังสิโรตม์วนิช 1 บางกอกเทเลวิชนั่ 1 บีอซี ี - เทโร 1 ยูแอนด์ไอฯ 1 บีอซี ี อินเตอร์ฯ 1 รวมรายได้จากการขายสือ่ โฆษณาโทรทัศน์ 5,762.06 82.89 4,614.59 71.88 5,339.02 82.48 สือ่ วิทยุ บางกอกเอ็นเตอร์ฯ 1 ยูแอนด์ไอฯ 1 รวมรายได้จากการขายสือ่ วิทยุ 352.07 5.07 348.85 5.43 154.36 2.39 รวมรายได้จากการขายสือ่ โฆษณา 6,114.13 87.96 4,963.44 77.31 5,493.38 84.87 รายได้จากการให้ใช้ลขิ สิทธิ ์ บางกอกเอ็นเตอร์ฯ 1 5.60 0.08 2.39 0.04 5.16 0.08 และบริการอืน่ บมจ.บีอซี ี เวิลด์ 38.33 0.55 11.45 0.18 - - บางกอกเทเลวิชนั่ 1 10.35 0.15 - - - - บีอซี ี - เทโรฯและบริษทั ย่อย 2 150.67 2.17 199.42 3.11 130.25 2.01 บีอซี ี อินเตอร์ฯ 1 3.10 0.05 1.93 0.03 3.11 0.05 บีอซี ี ไอที โซลูชนั่ 1 1.42 0.02 1.52 0.02 11.16 0.17 บีอซี ี แอสเซท 1 0.99 0.01 0.68 0.01 - - บีอซี ีไอ 1 84.30 1.21 77.97 1.21 69.94 1.09 รวมรายได้จากการให้ใช้ลขิ สิทธิแ์ ละบริการอืน่ 294.77 4.24 295.36 4.60 219.62 3.40 รายได้จากการจัดคอนเสิรต์ และแสดงโชว์ บีอซี ี - เทโรฯและบริษทั ย่อย 2 365.81 5.26 1,032.81 16.09 606.64 9.37 รวมรายได้จากการขายและบริการ 6,774.71 97.46 6,291.61 98.00 6,319.64 97.64 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธสี ว่ นได้เสีย 15.20 0.22 31.89 0.50 67.55 1.04 รายได้อนื่ 161.24 2.32 96.69 1.50 85.53 1.32 รวมรายได้ 6,951.15 100.00 6,420.19 100.00 6,472.72 100.00 หมายเหตุ 1 ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99 2 ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.99 3 เดิมชื่อ บริษัท อริยะวัฒน์ จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อ ธันวาคม 2547 และถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99

59


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก

ณ วันปิดสมุดทะเบียนครั้งสุดท้ายก่อนวันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549

รายชื่อผู้ถือหุ้น

1. กลุ่มมาลีนนท์ * 2. NORTRUST NOMINEES LTD. 3. THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 4. STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 5. CHASE NOMINEES LIMITED 42 6. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 7. CHASE NOMINEES LIMITED 1 8. LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 7 9. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 10. CHASE NOMINEES LIMITED 46

จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น)

คิดเป็นร้อยละ

1,131,860,000 175,135,691 57,574,785 56,912,827 55,898,470 52,648,826 25,978,700 24,630,366 19,325,630 18,651,300

56.59 8.66 2.88 2.85 2.79 2.63 1.30 1.23 0.97 0.93

หมายเหตุ * รายละเอียดการถือหุ้นของกลุ่มมาลีนนท์ มีดังนี้

1. นายประสาร มาลีนนท์ 2. นายประวิทย์ มาลีนนท์ 3. นายประชุม มาลีนนท์ 4. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 5. นางสาวนิภา มาลีนนท์ 6. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ 7. นางสาวเทรซี แอนน์ มาลีนนท์ 8. นางสาวแคทลีน มาลีนนท์

จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ จำนวนหุ้นที่ถือ

157,140,000 หุ้น 228,400,000 หุ้น 157,140,000 หุ้น 157,160,000 หุ้น 117,740,000 หุ้น 157,140,000 หุ้น 78,570,000 หุ้น 78,570,000 หุ้น

คิดเป็นร้อยละ 7.86 คิดเป็นร้อยละ 11.42 คิดเป็นร้อยละ 7.86 คิดเป็นร้อยละ 7.86 คิดเป็นร้อยละ 5.89 คิดเป็นร้อยละ 7.86 คิดเป็นร้อยละ 3.93 คิดเป็นร้อยละ 3.93

บริษัทมีบุคคลในตระกูลมาลีนนท์ - กลุ่มมาลีนนท์, เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนด นโยบายการจัดการ หรือการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ธุรกิจของบริษัทเป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม

มาลีนนท์

การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของบริษัทโดยกรรมการและผู้บริหาร:

ณ สิ้นปี 2549 การถือครองโดยนายปณิธาน ทศไนยธาดา ถือลดลง 50,000 หุ้น ส่วนการถือครอง โดยกรรมการและผู้บริหารท่านอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

60


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ การจัดการ ในการจัดการและการกำกับดูแลธุรกิจของกลุ่มบริษัท คณะกรรมการและฝ่ายบริหารได้นำหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดีตามคำแนะนำของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงข้อเสนอแนะอื่นๆ ของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โครงสร้างการจัดการ บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ การจัดการของบีอซี ี เวิลด์ ดำเนินการโดยคณะกรรมการ ซึง่ มีรปู แบบเป็นคณะกรรมการเดีย่ ว (Unitary Board) ประกอบด้วยกรรมการบริหารและกรรมการอิสระ โดยมีกรรมการที่เป็นอิสระประมาณหนึ่งในสามของ จำนวนกรรมการทั้งหมด และเมื่อรวมกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจะมีสัดส่วนเกินกว่าหนึ่งในสามของคณะกรรมการ เพื่อเป็นการถ่วงดุล และให้สามารถสอบทานการบริหารงานได้ ในการบริหารงาน มีคณะอนุกรรมการย่อย ช่วยในการ บริหารงานหรือกลั่นกรองงานบางเรื่อง ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา โดยที่คณะกรรมการเป็นองค์กรสูงสุดของบริษัทกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางและนโยบาย ตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด ของบริษัทและผู้ถือหุ้นในระยะยาว พร้อมทั้งให้ข้อชี้แนะ และพิจารณาการทำงานของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งมี หน้าที่ดำเนินการบริหารงาน กำกับดูแลฝ่ายจัดการ ในการบริหารงาน คณะกรรมการได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ของบริษัทรวม 7 คน แต่ละคนจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานประจำของแต่ละสายงานธุรกิจ แยกกันไป ตามแต่ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ และความเหมาะสมของแต่ละคน มีประธานคณะกรรมการบริหารเป็น ผูก้ ำกับดูแลงาน คณะกรรมการบริหารจะรับทิศทาง/นโยบาย และ หลักการกำกับดูแลกิจการ มาจากคณะกรรมการเพือ่ มากำหนดเป็นแผนงานดำเนินการ โดยมีประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ ารเป็นผูก้ ำกับดูแลการบริหารงานและการปฏิบตั งิ าน ของเจ้าหน้าที่บริหาร ในขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร มีบทบาทสำคัญ ในการสอบทานรายงานทางการเงิน เพื่อให้งบการเงินนั้นจัดทำขึ้นโดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป มีการเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสอบทานให้บริษัทมีการเปิดเผยข้อมูล สำคัญและข้อมูลเกี่ยวกับรายการระหว่างกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียง รายชื่อของคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา และรายชื่อและตำแหน่ง ของเจ้าหน้าที่บริหารแสดงไว้ในหน้า (8) ส่วนประวัติประสบการณ์การทำงานของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร แสดงไว้ในหน้า (84-91) กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ประกอบด้วย นายวิชัย มาลีนนท์ ประธานกรรมการ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือ นายประสาร มาลีนนท์ นายประวิทย์ มาลีนนท์ นางสาวรัตนา มาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ นางสาวอัมพร มาลีนนท์ นางสาวนิภา มาลีนนท์ และนางรัชนี นิพัทธกุศล กรรมการ สองในเจ็ดคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการเป็นองค์กรสูงสุดของบริษทั กำหนดวิสยั ทัศน์ ทิศทางและนโยบาย ตัดสินใจเพือ่ ประโยชน์ สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นในระยะยาว พร้อมทั้งให้ข้อชี้แนะ และพิจารณาการทำงานของคณะกรรมการบริหาร ซึง่ มีหน้าทีด่ ำเนินการบริหารงาน กำกับดูแลฝ่ายจัดการ กรรมการต้องปฏิบตั หิ น้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือ 61


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

หลายคนหรือบุคคลอื่นปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการก็ได้ หากกรรมการมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ ทำกับบริษัท หรือเข้าถือหุ้นหรือหุ้นกู้ เพิ่มขึ้นหรือลดลง ในบริษัทหรือบริษัทอื่นในเครือ ซึ่งบริษัทถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัทในเครือนั้น กรรมการจะต้องแจ้งให้คณะกรรมการของบริษัททราบ โดยไม่ชักช้า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร คณะกรรมการของบริษัทได้แต่งตั้งให้มีคณะกรรมการบริหารขึ้น เป็นคณะทำงานเพื่อดูแลบริหารงาน ประจำของกลุ่ม ปัจจุบันคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการของบริษัทรวมเจ็ด (7) ท่าน โดยแต่ละท่านจะมี อำนาจหน้าที่ดูแล ควบคุมการปฏิบัติงานประจำ ของแต่ละสายงานธุรกิจแยกกันไปตามแต่ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ความเหมาะสมของแต่ละท่าน และยังทำหน้าที่เป็นกรรมการของบริษัทย่อยอีกด้วย มีประธาน คณะกรรมการบริหาร เป็นผูก้ ำกับดูแลงาน คณะกรรมการบริหารจะรับทิศทาง/นโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการ มาจากคณะกรรมการเพื่อมากำหนดเป็นแผนงานดำเนินการ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ เป็นผู้กำกับดูแลการ บริหารงานและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหาร ทั้งนี้คณะกรรมการได้มอบอำนาจให้แก่กรรมการบริหาร ให้มี อำนาจสามารถดำเนินงานในหน้าที่แทนคณะกรรมการได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินงานบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เป็น เรือ่ งแปลกใหม่ หรือเกีย่ วข้องกับหลายๆ สายงานในเรือ่ งเดียวกัน กรรมการบริหารอาจนำเรือ่ งเข้าเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อขออนุมัติให้ดำเนินการเป็นเรื่องเฉพาะ เช่น การเข้าร่วมทุนกับบุคคลภายนอกเข้าดำเนินการธุรกิจใหม่เช่นนี้ เป็นต้น ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1.) สอบทานให้บริษทั มีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2.) สอบทานให้บริษทั มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในทีเ่ หมาะสมและมีประสิทธิภาพ 3.) สอบทานให้บริษทั ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจของบริษทั 4.) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตัง้ และเสนอค่าตอบแทนผูส้ อบบัญชีของบริษทั 5.) พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษทั ในกรณีทเ่ี กิดรายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน หรือรายการทีอ่ าจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้มคี วามถูกต้องและครบถ้วน 6.) ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีค่ ณะกรรมการของบริษทั มอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตรวจสอบ 7.) จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี ของบริษทั การสรรหากรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้บริษัทมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร กรรมการได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทุกๆ ครั้งที่ มีการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีจะมีกรรมการหนึ่งในสามต้องออกจากตำแหน่งตามวาระ การเลือกตั้งกรรมการเป็นไป ตามข้อบังคับของบริษัท ที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นแต่ละท่านมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ และสามารถใช้คะแนน เสียงทีม่ อี ยูท่ ง้ั หมดเลือกบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งแยกคะแนนเสียงทีต่ นมีอยู่ให้แก่บคุ คลใด มากน้อยเพียงใดไม่ได้ และให้บุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่ากับ จำนวนกรรมการที่พึงจะเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่มีตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออก ตามวาระ ข้อบังคับกำหนดให้คณะกรรมการสามารถเลือกบุคคลเข้าเป็นกรรมการแทนกรรมการท่านดังกล่าว เว้นแต่ ในกรณีทว่ี าระของกรรมการท่านดังกล่าวเหลือน้อยกว่า 2 เดือน ในกรณีนค้ี ณะกรรมการสรรหาจะเป็นผูเ้ สนอชือ่ บุคคล ให้คณะกรรมการพิจารณาแต่งตัง้ ในส่วนของการสรรหาเจ้าหน้าทีบ่ ริหารอาจจะดำเนินการสรรหาโดยผูบ้ งั คับบัญชาตาม 62


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ลำดับชัน้ หรือผ่านคณะกรรมการสรรหาขึน้ อยูก่ บั ตำแหน่งทีจ่ ะสรรหา ทีผ่ า่ นมาการเปลีย่ นแปลงในตำแหน่งต่างๆ ของ เจ้าหน้าทีบ่ ริหารมีไม่บอ่ ยนัก ในการพิจารณาสรรหากรรมการ คณะกรรมการสรรหาจะติดตามหาข้อมูลบุคคลทีม่ คี วามรู้ และประสบการณ์การทำงาน จากหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจหรือผู้ทรงคุณวุฒิในธุรกิจบันเทิง หรือธุรกิจอื่น ที่จะมาช่วยเสริมการทำงานของคณะกรรมการให้มีความรอบรู้ และแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการ สรรหากรรมการอิสระนัน้ จะพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัตเิ ป็นพิเศษ ตามนิยามทีบ่ ริษทั ได้กำหนดไว้ ดังนี้ กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการที่มีความเป็นอิสระในการแสดงความเห็น โดยมีคุณสมบัติในวาระการดำรงตำแหน่ง ดังนี้ 1. เป็นกรรมการซึง่ อาจถือหุน้ ของบริษทั ได้แต่ตอ้ งไม่เกินร้อยละ 3 ของหุน้ ทีม่ สี ทิ ธิออกเสียงทัง้ หมด 2. เป็นกรรมการที่ไม่ ทำหน้าที่จัดการในบริษัทหรือบริษัทย่อย 3. เป็นกรรมการที่เป็นอิสระจากฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม 4. ต้องไม่เป็นญาติสนิทหรือเป็นบุคคลซึง่ รับหรือมีผลประโยชน์รว่ มกับผูบ้ ริหาร ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูม้ อี ำนาจควบคุม 5. เป็นผูซ้ ง่ึ ไม่มคี วามสัมพันธ์ทางธุรกิจทีม่ สี าระสำคัญกับบริษทั ซึง่ สามารถมีอทิ ธิพลต่อการแสดงความเห็นทีเ่ ป็นอิสระ และ 6. ต้องไม่เป็นลูกจ้างหรือพนักงานที่ได้รับเงินเดือนประจำในช่วงหนึ่งปีก่อนดำรงตำแหน่ง การกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการและฝ่ายจัดการได้นำหลักกำกับดูแลกิจการที่ดีตามคำแนะนำของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย รวมถึงข้อเสนอแนะอื่นๆ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์มาปรับใช้กับองค์กรอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยได้อบรมส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับชั้นในองค์กรมีทัศนคติที่ดีในการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ ดีมาปรับใช้ ทั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนธุรกิจ ตลอดจนการปฏิบัติงานให้เป็นปกติต่อเนื่อง โดยได้ใช้สื่อภายใน องค์กรในการสื่อสารให้เห็นถึงประโยชน์ในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมสร้าง ประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทแล้ว และยังเสริมให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาวต่อไปอีกด้วย

1. นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ด้วยเชื่อว่าจะช่วยหนุนนำ ให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น และยังจะช่วยเสริมสร้างศรัทธาและรักษาความเชื่อมั่นใน องค์กรให้เกิดแก่พนักงาน ผู้ถือหุ้น นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม คณะกรรมการจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับ การกำกับดูแลกิจการของบริษัท ดังนี้ 1. บริษัทจะดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนเพียงพอ ตรงต่อความเป็นจริง และไม่ทำให้สำคัญผิดในสาระสำคัญ ไม่ปกปิดข้อมูลที่ควรต้องแจ้งในสาระสำคัญ รวมทั้งข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน และส่งตาม กำหนดเวลา อย่างทั่วถึง 2. บริษัทได้กำหนดนโยบาย อันจะเป็นทิศทางการดำเนินงานของบริษัท ที่สำคัญไว้ล่วงหน้าทุกปี คณะกรรมการจะให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมและตรวจสอบภายใน เพื่อกำกับดูแลให้ กิจการดำเนินการตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความ เสี่ยงอยู่เสมอ และมีการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอเหมาะสม 3. บริษทั จะเคารพสิทธิและการปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต เสมอภาค และเที่ยงธรรม 4. กรรมการทุกคนจะใช้อำนาจทีผ่ ถู้ อื หุน้ ให้ไว้ในการปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความซือ่ สัตย์สจุ ริต จะไม่นำ ข้อมูลหรือโอกาสของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น คณะกรรมการจะกำกับ ดูแลมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 5. คณะกรรมการจะกำกับดูแลการบริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษทั ตลอดจนมติทป่ี ระชุม ผู้ถือหุ้น ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ภายใต้กรอบข้อบังคับของบริษัท ข้อกำหนดกฎหมาย จริยธรรมทางธุรกิจ การตัดสินใจใดๆ ต้องกระทำอย่างสมเหตุสมผลบนข้อมูลที่น่าเชื่อถือและ เพียงพอ คณะกรรมการจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและมีประสิทธิภาพ ด้วย ความรับผิดชอบ 63


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

ทั้งนี้ บริษัทจะมีการพิจารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการนี้ รวมถึงแนวทางปฏิบัติตาม นโยบายนี้อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ ในรอบปีที่ผ่านมาคณะกรรมการ ได้พจิ ารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษทั แล้ว เห็นว่ายังมีความทันสมัยเหมาะสมกับการบริหารจัดการ บริษัทอยู่ นอกจากนี้ คณะกรรมการได้พจิ ารณามอบหมายให้สำนักตรวจสอบภายใน รับผิดชอบดูแลสอบทาน ว่าได้มีการนำนโยบายการกำกับฯนี้ไปใช้ในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และให้ติดตามดูผลการปฏิบัติตามแผนงาน จัดทำเป็นรายงานแจ้งให้คณะกรรมการได้รับทราบถึงอุปสรรค และปัญหาในการนำหลักการนี้มาปรับใช้กับองค์กร รวมถึงการให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข

2. สิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น

3. สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการได้กำหนดเป็นนโยบาย และแจ้งให้พนักงานทุกระดับชั้นในองค์กรได้รับทราบและ ยึดถือปฏิบัติ ในการให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น และได้เน้นให้มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นสถาบัน หรือแม้แต่กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อย่างเท่าเทียมกัน โดยมอบหมายให้ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนของบริษัท ให้บริการและอำนวยความสะดวก ในด้านเอกสารสิทธิของผูถ้ อื หุน้ และได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการบริษทั เป็นผูร้ บั ผิดชอบหลัก ในการดูแลให้บริการ แก่ผู้ถือหุ้นอีกด้วย คณะกรรมการได้คำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น และได้ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่ายอย่าง เสมอภาค เท่าเทียมกัน โดยได้พยายามดำเนินการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ทางบริษัทจะรวบรวมข้อมูลที่สำคัญประกอบการตัดสินใจในแต่ละเรื่อง จัดทำเป็นเอกสารประกอบการประชุมส่งไป พร้อมกับหนังสือนัดประชุม เป็นการล่วงหน้าก่อนประชุมเสมอ โดยที่ผ่านมานอกจากจะส่งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามกฎหมายแล้ว ยังได้สง่ ร่างหนังสือเชิญประชุมผ่านระบบแจ้งข่าวสารตลาดหลักทรัพย์ เพือ่ เปิดเผยให้สาธารณะทราบ ตั้งแต่เมื่อคณะกรรมการมีมติเรียกประชุมด้วย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ บริษัทได้มอบหมายให้ บริษทั ศูนย์รบั ฝากหลักทรัพย์ฯ นำส่งเอกสารเชิญประชุมทันทีทท่ี ราบข้อมูลผูถ้ อื หุน้ เมือ่ ปิดสมุดทะเบียนเสร็จ โดยในการประชุม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2549 ทีผ่ า่ นมานัน้ ทางบริษทั ได้จดั ส่งร่างหนังสือเชิญประชุมผูถ้ อื หุน้ พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ และข้อมูลประกอบการพิจารณา ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และได้นำขึน้ แสดงบนเว็บไซต์ ของบริษทั ในทันทีท่ไี ด้แจ้งมติทป่ี ระชุมคณะกรรมการที่ได้มมี ติให้เรียกประชุมฯ เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ทีส่ นใจได้มโี อกาสพิจารณา วาระการประชุมและข้อมูลประกอบการพิจารณาในการประชุมล่วงหน้ามากขึน้ ก่อนทีบ่ ริษทั จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุม และเอกสารประกอบไปให้ทางไปรษณีย์ รวมถึงการแสดงรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นไว้บนเว็บไซต์ภายหลังจากการป ระชุมไม่เกินกว่า 14 วัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ติดตามข้อมูลที่นำเสนอ ความเห็นของที่ประชุม ตลอดจนมติของที่ประชุมด้วย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการใช้สทิ ธิของผูถ้ อื หุน้ ในการออกเสียงลงคะแนน แม้วา่ ตนเองจะไม่สามารถ เข้าร่วมประชุมได้ ด้วยการจัดส่งหนังสือมอบฉันทะและได้แจ้งรายละเอียดของเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการมอบ ฉันทะ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการมอบฉันทะ ไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมด้วย และได้แสดงไว้บนเว็บไซต์เพื่อ อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดหนังสือมอบฉันทะเองได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิออกเสียงลง คะแนนแยกตามรายวาระ และสามารถออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแยกเป็นรายบุคคลได้ เพื่อให้การดำเนินการประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่าง เท่าเทียมกัน ทางสำนักเลขาฯ จะได้แจกใบลงคะแนนแยกรายวาระให้แก่ผเู้ ข้าร่วมประชุมเมือ่ มาแสดงตนตอนลงทะเบียน ทุกคน และทางเลขานุการบริษทั จะแจ้งสิทธิในการออกเสียงลงคะแนน พร้อมด้วยวิธกี ารนับคะแนนเสียงให้ทป่ี ระชุมทราบ ก่อนเริ่มการประชุม รวมถึงการแจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละวาระ ก่อนเริ่มประชุมใน วาระนั้นๆ เพื่อให้การพิจารณาออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ ทั้งนี้ สำนักเลขาฯจะไม่กำหนดกติกาใดที่เป็นการจำกัดการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษทั ตระหนักถึงความสำเร็จ ซึง่ ต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากผูม้ สี ว่ นได้เสีย ในธุรกิจของกลุม่ บริษทั จึงได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม และคำนึงถึงสิทธิของผู้มีส่วน ได้เสียทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ 64


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั นัน้ ฝ่ายบริหารได้ดแู ลให้มกี ารคำนึงถึงสิทธิของผูถ้ อื หุน้ และปฏิบตั ิ ต่อผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน การดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าให้แก่กิจการ และ สร้างความ มั่งคั่งในระยะยาวของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในส่วนของผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงานและผู้บริหารของกลุ่มบริษัท ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ สำคัญยิ่งของบริษัท คณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลดูแลรับผิดชอบให้มีการดูแลให้พนักงานได้รับ ผลตอบแทนที่เพียงพอเหมาะสม ดูแลให้มีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน โดย - จัดการให้มีสวัสดิการที่เพียงพอเหมาะสม แก่พนักงานทุกระดับชั้น เช่น การทำประกันภัยหมู่ (ประกันชีวติ ประกันอุบตั เิ หตุ และประกันสุขภาพ) นอกเหนือจากการประกันสังคม การจัดให้ มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี และการสนับสนุนเครื่องแบบ พนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจาก ในปีที่ผ่านมาปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทวี ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ฝ่ายบริหารได้อนุมัติเพิ่มสวัสดิการให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ 1.) เพิ่มวงเงินประกันชีวิตให้สูงกว่าพนักงานปกติ 10 เท่า 2.) ให้ เงินช่วยเหลือพิเศษ 3,000-4,500 บาทต่อคนต่อเดือน และ 3.) ได้จดั หาเสือ้ เกราะให้ไว้ทกุ คน - ด้านความปลอดภัย สำหรับพนักงานทีป่ ระจำทีส่ ำนักงาน ได้จดั ฝึกอบรมให้ความรูใ้ นการปฏิบตั ติ วั ในยามทีเ่ กิดอัคคีภยั หรือกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ ตลอดจนการซักซ้อมการเคลือ่ นย้ายผูบ้ าดเจ็บ ออกจากอาคารในกรณีมีเหตุจำเป็น และเนื่องจาก กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสื่อ จึงอาจ ถูกก่อกวนจากผูไ้ ม่ประสงค์ดีได้ ฝ่ายบริหารจึงได้ให้ความรูแ้ ก่พนักงานในการแจ้งเบาะแสหากมี เหตุที่ไม่น่าไว้วางใจ - ดูแลสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสมและ ต่อเนือ่ ง ทีผ่ า่ นมาได้มกี ารจัดอบรมให้แก่ ทัง้ ฝ่ายบริหารและพนักงานระดับหัวหน้างาน ทีส่ ำคัญๆ เช่น การอบรมหลักสูตรการกำกับดูแลกิจการ และหลักสูตรการบริหารจัดการ โดยคณาจารย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการภายหลังจบการฝึกอบรม เพื่อให้ทั้งฝ่ายบริหารและพนักงานระดับหัวหน้างานได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำงาน ร่วมกันให้ได้ดยี ง่ิ ขึน้ , หลักสูตรการพัฒนาระบบงานและการจัดทำ KPI, Leadership, เทคโนโลยี สือ่ สารสำหรับสถานีโทรทัศน์, การบริหารความเสีย่ ง, การขาย การตลาดยุคมัลติมเี ดีย, Concept Design, General English, 3D Architecture with Autodesk Viz, ธรรมะในการดำเนินชีวิต และการทำชีวติ ให้เป็นสุข เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มกี ารเปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้ารับการอบรม ตามโอกาสที่มีอยู่ทั่วไปภายนอกองค์กรนั้น จะคัดเลือกหลักสูตรที่เสริมกับภาระหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่และความเหมาะสมเป็นหลัก - ฝ่ายบริหารได้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและของหน่วยงานอย่างเป็น รูปธรรม โดยการกำหนดเป้าหมายของบริษัท จากนั้นได้ให้แต่ละฝ่ายกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดตัวชีว้ ดั KPI กำหนดเป้าหมาย และจัดให้มปี ระเมินผลเมือ่ สิน้ ปี โดยให้แก่ละฝ่ายสรุป ผล สรุปปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไขด้วย ส่วนรายบุคคล ได้ใช้การประเมินผล เป็นเครือ่ งมือ ในการกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ - ได้ดแู ลให้การพิจารณาปรับเพิม่ ค่าตอบแทนในอัตราทีเ่ หมาะสมแก่พนักงานอย่างเป็นธรรม โดย ให้มหี ลักเกณฑ์การพิจารณาจากผลการประเมินอย่างชัดเจน และเพือ่ เป็นแรงจูงใจให้พนักงาน มีขวัญและกำลังใจในการทำงานอย่างซือ่ สัตย์ตอ่ องค์กรในระยะยาว ได้มกี ารดูแลสร้างโอกาส ในการปรับเลื่อนตำแหน่งและขยายขอบเขตความรับผิดชอบ เนื่องจาก จากภาวะเศรษฐกิจ ในระหว่างปี 2549 ที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นกว่าอัตราปกติ ฝ่ายบริหารได้พิจารณาบรรเทา ปัญหาดังกล่าว โดยได้พิจารณาให้เงินช่วยค่าครองชีพแก่พนักงานอย่างเท่าเทียมกัน - นำระบบ Intranet มาใช้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพระบบการสื่อสารภายในบริษัท โดยพนักงาน ทุกคนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ภายในบริษัท และจัดให้พนักงานทุกคนมี E-mail address ของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร และเปิดเว็บบอร์ดให้เป็นช่องทางแก่ พนักงานได้แสดงความคิดเห็นถึงฝ่ายบริหารได้

65


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

- จัดกิจกรรม Family Day เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับครอบครัวพนักงาน - จัดให้มีสวัสดิการอื่นๆ ได้แก่ การจัดให้มีลานออกกำลังกายแก่พนักงาน เพื่อพัฒนาสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรง, ส่งเสริมให้มกี ารจัดชมรมกีฬาภายในบริษทั และสนับสนุนการแข่งขันกีฬา ระหว่างสถานีโทรทัศน์อน่ื , จัดให้มตี ลาดนัดขายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษทุกวันสิน้ เดือน เพื่อช่วยลดปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น, นอกจากนี้ ได้จัดให้มีห้องพยาบาลซึ่งมีแพทย์จาก โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ออกตรวจสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนผู้จัด/ผู้ผลิตรายการ และนักแสดง แม้บางส่วนไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท แต่บริษัทก็ได้ปฏิบัติ กับผู้ผลิตรายการและนักแสดงเสมือนผู้มีส่วนได้เสียภายใน บริษัทจะสนับสนุนให้บุคลากรเหล่านี้ได้สร้างสรรค์ พัฒนา ผลิตรายการที่มีคุณภาพให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้จัดอบรมด้านวิชาชีพ เช่น การอบรมการแสดง สำหรับนักแสดงใหม่ การอบรมด้านการบริหารจัดการธุรกิจ นอกจากนี้ก็ได้จัดอบรมสัมมนาความรู้ทางกฎหมายเพื่อ ปกป้องสิทธิของตนเอง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ ทั้งสิทธิของนักแสดง และลิขสิทธิ์ของงานแสดง ในส่วน ของการจ่ายค่าตอบแทนนั้น ฝ่ายบริหารจะดูแลให้มีการจ่ายค่าตอบแทนตรงตามกำหนดสัญญาอย่างครบถ้วน รวมถึง ให้การสนับสนุนด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และกำลังคน ตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการผลิตรายการ อีกทั้งบริษัทยังได้ให้การสนับสนุนแก่มูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโสอย่างต่อเนื่อง ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ซึ่งได้แก่ ผู้ชม ผู้ฟัง บริษัทมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ รายการอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอความบันเทิงสู่ผู้ชม ผู้ฟัง โดยไม่ละเลยถึงการสอดแทรกสาระความรู้ การคำนึงถึงคุณธรรมและความเหมาะสมกับสังคมไทยเป็นสำคัญ เช่นการสร้างช่วงเวลาของครอบครัวในช่วงเย็น ในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการออกอากาศ เพื่อเพิ่มคุณภาพการรับชมของผู้ชม ผู้ฟัง ให้ผชู้ ม ผูฟ้ งั รูส้ กึ คุม้ ค่าทีเ่ ลือกชมรายการของสถานี ให้สมกับคำขวัญของสถานี “คุม้ ค่าทุกนาที ดูทวี สี ชี อ่ ง 3” นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังมีนโยบายให้สถานีเป็นสื่อในการรณรงค์เพื่อสังคมที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การต่อต้านสิ่งเสพติด การออกกำลัง การเพื่อสุขภาพที่ดี การร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และได้พยายามให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม บริษัทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนกายภาพและจิตใจ ฝ่ายบริหารก็ไม่ละเลยในการปฏิบัติต่อชุมชนที่บริษัท เกี่ยวข้องโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้น อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ในส่วนของการปฏิบตั ติ อ่ คูค่ า้ ซึง่ ได้แก่ ผูอ้ ดุ หนุนสินค้าและบริการ ผูอ้ ปุ ถัมภ์รายการนัน้ ฝ่ายบริหาร จะดูแลให้มกี ารปฏิบตั ติ อ่ คูค่ า้ ให้ถกู ต้องและเป็นไปตามเงือ่ นไขของสัญญาอย่างสมเหตุสมผล ฝ่ายบริหารมีความมุง่ มัน่ ที่จะพัฒนาคุณภาพรายการและปรับผังรายการ ให้มีความทันสมัย และถูกกับรสนิยมของผู้ชมที่ปรับเปลี่ยนอยู่ ตลอดเวลา รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพสัญญาณ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้อุดหนุนสินค้าและบริการ ผู้อุปถัมภ์รายการ ได้รับ ประโยชน์สูงสุดจากการบริการของทางบริษัท นอกจากนี้ ยังกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามสัญญาอย่างครบถ้วน ถูกต้องด้วย และเนื่องจากข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนารายการ การปรับผังรายการ เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้อุดหนุน สินค้าและบริการ ผูอ้ ปุ ถัมภ์รายการ ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซือ้ โฆษณา ฝ่ายบริหารจึงมีนโยบายให้ฝา่ ยการตลาด และโฆษณาได้กระจายข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับรายการของทางสถานีแก่ผู้อุดหนุนสินค้าและบริการ อย่างทั่วถึงและ ทันเวลา เพื่อให้ผู้อุดหนุนสินค้าและบริการ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการซื้อสื่อโฆษณาจากทางบริษัท ในส่วนของการปฏิบตั ติ อ่ เจ้าหนีน้ น้ั เนือ่ งจาก บริษทั มีนโยบายทีจ่ ะปฏิบตั ติ ามสัญญาอย่างเคร่งครัด และสมเหตุสมผล โดยการชำระเงินต่อเจ้าหนี้ต้องครบถ้วนถูกต้องและให้ทันตามกำหนดเวลา เพื่อควบคุมไม่ให้มีการ เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอันเกินจากค่าปรับตามสัญญา และเพื่อไม่ให้เสียความสัมพันธ์ทางการค้า นอกจากนี้ เนื่องจากบริษัท ให้ความสำคัญต่อการบริหารการเงินซึ่งมีกระแสเงินสดอยู่มาก จึงไม่นิยมกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน กลุ่มบริษัทจึง มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินน้อยมาก การปฏิบตั ติ อ่ คูแ่ ข่งนัน้ ฝ่ายบริหารมีนโยบายให้ปฏิบตั ติ อ่ คูแ่ ข่งขันโดยสุจริต ด้วยการพัฒนาคุณภาพ รายการ และประสิทธิภาพของสัญญาณการออกอากาศ คู่แข่งเองก็เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้กลุ่มบริษัทมีพัฒนา การในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ฝ่ายบริหารจะดูแลให้มีการปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด รวมถึง ให้ความร่วมมือ/ให้ความสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

66


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ในส่วนสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้น ทางสถานีได้มีการดำเนินการทั้งในรูปแบบการสนับสนุนด้านการเงิน และการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ โดยกิจกรรมเพื่อสังคมที่ทำเป็นประจำต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ร่วม 20 ปี คือ การผลิต รายการวงเวียนชีวติ ในรูปแบบรายการสารคดีเชิงข่าว ออกอากาศช่วงเวลาข่าวตอนเย็นวันอาทิตย์ เพือ่ เป็นสือ่ กลางใน การส่งเสริมสังคมไทยให้มคี วามเอือ้ อาทรต่อกัน โดยทีผ่ า่ นมามีผชู้ มทีป่ ระสงค์จะการบริจาคทุนทรัพย์ให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบเคราะห์ภัยผ่านทางสถานีฯ สถานีฯ จึงรวบรวมเงินบริจาคเหล่านั้นจัดเป็นกองทุนวงเวียนชีวิต และมีการจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารกองทุนด้วย โดยผู้ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ สามารถส่งข้อมูลเสนอมาที่กองทุนวงเวียนชีวิต ทางคณะกรรมการกองทุนฯ จะพิจารณาการให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยจะช่วยดำเนินการในการ เปิดบัญชีธนาคาร และประชาสัมพันธ์หมายเลขบัญชีธนาคารตอนออกอากาศรายการ เพือ่ ให้ประชาชนทีม่ คี วามประสงค์ จะช่วยเหลือทุนทรัพย์สามารถ โอนเงินเข้าบัญชีผขู้ อรับความช่วยเหลือได้โดยตรง โดยทางกองทุนวงเวียนชีวติ จะจัดสรร เงินส่วนหนึง่ บริจาคให้ผขู้ อรับความช่วยเหลือ เพือ่ บรรเทาความทุกข์รอ้ น ณ วันที่ไปถ่ายทำรายการด้วย โดยในปีทผ่ี า่ นมา คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณามอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่สภาพครอบครัวขัดสน นอกจากนี้ ที่ผ่านมาทาง กองทุนฯ ได้เข้าร่วมโครงการสื่อเพื่อน้อง ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ทางสถานีฯร่วมกับหลายหน่วยงานในการมอบ ห้องสมุดสื่อ ให้กับ 33 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ห้องสมุด และสื่อไอที อาทิ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ รีซีพเวอร์ จานดาวเทียม ทีวี เครื่องเล่นดีวีดี และหนังสือชุดห้องสมุด เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและ เปิดโลกการเรียนรู้ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดารด้วย ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในรอบปีสรุปได้ดังนี้ - กิจกรรมเพือ่ ผูป้ ระสบภัยและคนยากไร้ สถานีฯ ได้บริจาคเครือ่ งคอมพิวเตอร์ทม่ี สี ภาพไม่สอดคล้อง กับระบบงานของบริษทั ในปัจจุบนั จำนวน 59 ชุดให้กบั มูลนิธวิ ดั สวนแก้ว ซึง่ ทางมูลนิธฯิ มีโครงการ คุณไม่ใช้เราขอ ซึง่ สถานีพจิ ารณาแล้วเห็นว่า เครือ่ งคอมพิวเตอร์จำนวนดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ผูด้ อ้ ยโอกาสได้ นอกจากนี้ ในรอบปี 2549 สถานีฯ ได้มสี ว่ น ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางภาคเหนือ รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ต่อมาในเดือน ตุลาคม เมื่อเขตภาคเหนือประสบอุทกภัยอีกครั้ง ทางสถานีฯ ได้นำนักแสดงร่วมรับบริจาคเพื่อ ช่วยเหลือผูป้ ระสบอุทกภัยทางภาคเหนือ ได้รบั เงินบริจาคกว่า 28 ล้านบาท รวมถึงจัดกิจกรรมเพือ่ หารายได้สมทบทุนด้วย โดยทัง้ 2 ครัง้ ได้มอบเงินผ่านผูแ้ ทนฝ่ายจัดหารายได้ สภากาชาดไทย - กิจกรรมเพื่อสนับสนุนสถานพยาบาล ดาราและนักแสดงช่อง 3 ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำหน่ายธงและสติ๊กเกอร์ เพื่อหารายได้สมทบทุนช่วยเหลือผู้ป่วยผู้ยากไร้ - กิจกรรมด้านศาสนา ทางสถานีได้ออกอากาศรายการเทศนาฮาสุดขีดทุกวันพระ หลังข่าว 2 ทุ่ม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในสังคม นอกจากนี้ ในวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา สถานีฯ ได้นำ ดารานักแสดงของสถานีฯ ร่วมจำหน่ายดอกบัวบูชา เพือ่ นำรายได้มอบให้กบั ศูนย์สง่ เสริมพระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย นำไปทำกิจกรรมเพือ่ เผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป - กิจกรรมการจัดคอนเสิรต์ คอนเสิรต์ ทีวี 3 สัญจร และคอนเสิรต์ ลูกทุง่ ซุปเปอร์ทวั ร์ ตระเวนจัด การแสดง เป้าหมายคือทุกจังหวัดของประเทศ วัตถุประสงค์หลักเพื่อการประชาสัมพันธ์รายการ ของทางสถานีฯ เพือ่ ให้ความบันเทิงแก่ผชู้ ม และเชือ่ มความสัมพันธ์ระหว่างสถานีฯ ดารานักแสดง กับผูช้ ม ในระหว่างการแสดงคอนเสิรต์ ดาราและนักแสดงจะสอดแทรกการรณรงค์สง่ เสริมสังคม ส่งเสริมเยาวชนเพื่อให้ความสำคัญต่อการศึกษา และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การ ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมเพือ่ ความบันเทิง หลีกเลีย่ งยาเสพติด ร่วมรณรงค์เพือ่ การประหยัด พลังงาน การรักษาสิง่ แวดล้อม งดดืม่ สุรา เมาไม่ขบั และการรณรงค์อน่ื ๆ ตามยุคสมัย เช่น รณรงค์ ให้ประชาชนไปใช้สทิ ธิเลือกตัง้ เป็นต้น โดยกิจกรรมเหล่านีจ้ ะมีการบันทึกเทปรายการและเผยแพร่ ทางสถานีเมือ่ มีโอกาสเหมาะสม เพือ่ ให้ผชู้ มทัว่ ประเทศได้รบั ชมด้วย - กิจกรรม POWER 3 Club เป็นกิจกรรมทีจ่ ดั ขึน้ เพือ่ สร้างกระแสความนิยมให้เกิดกับนักแสดงรุน่ ใหม่ ของสถานี ซึง่ มี www.thaitv3.com เป็นสือ่ กลาง โดยเปิดโอกาสให้ผชู้ มเข้ามามีสว่ นร่วมในกิจกรรม ทีจ่ ดั ขึน้ โดยการสมัครเป็นสมาชิก ทีผ่ า่ นมามีการจัดกิจกรรมส่งต่อความรัก จากครอบครัว POWER 3 สูผ่ ดู้ อ้ ยโอกาสในสังคม โดยได้จดั งานทีส่ ถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค เพือ่ การปลูกจิตสำนึก ทีด่ แี ละเป็นแบบอย่างให้เยาวชน ในการดูแลเอาใจใส่ผสู้ งู อายุ เพือ่ แสดงความกตัญญู และทีส่ ถาบัน ราชนุกูล ดินแดง กลุ่มคนการศึกษาพิเศษ (เด็กปัญญาอ่อน) นอกจากการบริจาคเงิน สิ่งของ 67


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

68

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

เครื่องใช้และของเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการเคลื่อนไหวของบุคคลปัญญาอ่อนแล้ว ยังได้ นำกิจกรรมต่างๆ มาให้ความสนุกแก่เด็กๆ อีกด้วย เช่น การเล่านิทาน ร้องเพลง เล่นเกม วาดภาพ ประดิษฐ์สิ่งของ ฯลฯ นอกจากนี้ ได้ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์โดยการฟื้นฟูโรงเรียนเด็กเล็กที่ ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 9 โรงเรียนด้วย - กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน บริษัทได้จัดกิจกรรมการประกวดต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรม ประกวดความสามารถของเด็กในวันเด็ก “Kid Dee Kid Day”, การประกวด C-SA ทางสายฝัน สู่ดวงดาว เพื่อเฟ้นหาดาวดวงใหม่ และส่งเสริมขีดความสามารถของเยาวชนไทยอายุระหว่าง 8-14 ปี ทั้งการร้องเล่น และร้องพูด อย่างมีหลักการบนพื้นฐานความรู้ที่แท้จริง, การประกวด Party No L สถานีฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม สำหรับเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ร่วมออกแบบงานปาร์ตี้ฉลองปี ใหม่ แบบไร้ แอลกอฮอล์, สถานีฯ ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ได้จดั ให้มกี ารประกวด Junior Creative Award 2006 : Anti - Drug Challenge ภายใต้โครงการ Young Creative Award 2006 เชิญชวนเยาวชนร่วมส่งผลงานเข้าแข่งขันการจัด ประกวดสือ่ ต้นแบบ Anti - Drug Challenge โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมให้เยาวชนได้มโี อกาส ในการแสดงออกถึงความรูค้ วามสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในทางทีถ่ กู ต้อง ตลอดจนเป็นการ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเพือ่ ให้เยาวชนได้รบั ประสบการณ์ในการทำงานในลักษณะเดียวกับ มืออาชีพ และให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ รูท้ นั ยาเสพติด - การจัดกิจกรรมเพือ่ วัยรุน่ ได้แก่ การจัดเวทีประกวด M Thailand, Channel 3 male star challenge 2007 และมีสไทยแลนด์เวิลด์ เป็นต้น โดยมิได้มวี ตั ถุประสงค์เพือ่ สรรสร้างรายการเพือ่ ความบันเทิง เพียงอย่างเดียว ทางสถานีฯ และทีมงานมีเจตนารมณ์สร้างเวทีการประกวดเหล่านี้ เพือ่ ส่งเสริมให้ หนุ่มสาวไทยได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง พัฒนาบุคลิกภาพ กล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้หนุม่ สาวไทยใฝ่ศกึ ษา รักความก้าวหน้า มีความเป็นผูน้ ำ การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ทีด่ ี สนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หลีกเลีย่ งการใช้ยาเสพติด - กิจกรรมเพือ่ ผูห้ ญิง ทางสถานีฯ โดยทีมงานรายการผูห้ ญิงถึงผูห้ ญิง ร่วมกับบริษทั เดอะมอลล์ กรุป๊ ทำโครงการ Bra Charity และร่วมรณรงค์รับบริจาคชุดชั้นในสภาพดี และหารายได้มอบให้กับ มูลนิธอิ าสาเพือ่ นพึง่ (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย นำไปช่วยเหลือสตรีผดู้ อ้ ยโอกาสทัว่ ประเทศ - กิจกรรมเปิดประตูสถานีฯ ต้อนรับผูม้ าเยือน ในรอบปีทผ่ี า่ นมา สถานีวทิ ยุโทรทัศน์ไทยทีวสี ี ช่อง 3 ได้มโี อกาสต้อนรับนักศึกษา คณะบุคคล และผูท้ ส่ี นใจเข้าเยีย่ มชมการดำเนินงานและเบือ้ งหลังการ ผลิตรายการของสถานีฯ อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปีทผ่ี า่ นมามีผเู้ ข้าเยีย่ มทัง้ สิน้ 3,381 คน ทัง้ นี้ คณะกรรมการได้เน้นให้คณะผูบ้ ริหารติดต่อสือ่ สารกับผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ อย่างต่อเนือ่ งสม่ำเสมอ เพือ่ การแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ตลอดจนรับฟังข้อเรียกร้อง, ความคิดเห็นและคำแนะนำของผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทุกกลุ่ม เพื่อประสานความร่วมมือกันอย่างยั่งยืน และเปิดกว้างให้มีการเข้าถึงกรรมการอิสระของบริษัทด้วย 4. การประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการบริษัท เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีเป้าหมายให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม และได้ใช้สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในเรื่องต่างๆ ทีค่ ณะกรรมการนำเสนอ และยังถือเป็นโอกาสทีด่ ที ค่ี ณะกรรมการจะได้รบั ฟังข้อคิดเห็นและคำแนะนำของผูถ้ อื หุน้ ด้วย คณะกรรมการจึงเน้นให้มีการคัดเลือกสถานที่จัดการประชุมที่มีการเดินทางสะดวก และกำหนด ช่วงเวลาเพียงพอเหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่คณะกรรมการเสนอ ตลอดจนมีเวลาเพียงพอที่จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ นอกจากนี้ บริษัทได้จัดส่งหนังสือ มอบฉันทะแนบไปกับหนังสือเชิญประชุมด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วม ประชุมด้วยตนเองได้ โดยให้มีการระบุรายละเอียดในเรื่องที่จะพิจารณาในแต่ละวาระอย่างเพียงพอเหมาะสม เพื่อ ให้ผู้ถือหุ้นทุกท่านได้มีโอกาสใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องต่างๆ แม้ว่าตนเองจะไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ โดยบริษทั ได้เสนอชือ่ กรรมการทีเ่ ป็นอิสระให้เป็นผูร้ บั มอบฉันทะ ในกรณีทผ่ี ถู้ อื หุน้ ไม่สะดวกในการหาผูท้ จ่ี ะมาเข้าร่วม ประชุมและไม่ประสงค์จะมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารด้วย


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คณะกรรมการจะพิจารณาให้มกี ารให้รายละเอียดในทุกเรือ่ งทีเ่ สนอขึน้ พิจารณา เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ มีขอ้ มูล เพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยได้แสดงความเห็นของคณะกรรมการในแต่ละวาระไว้ด้วยอย่างชัดเจน การจัดส่งหนังสือ เชิญประชุมนัน้ บริษทั จะจัดส่งล่วงหน้า เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ ได้มเี วลาเพียงพอในการพิจารณาเรือ่ งต่างๆ ล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม และในปีนี้ก็ได้เริ่มส่งร่างหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และแสดงไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทตั้งแต่ เมื่อมีมติให้เรียกประชุม เพื่อเพิ่มเวลาในการพิจารณา คณะกรรมการรวมถึงคณะอนุกรรมการทุกชุด ให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วยถือเป็น โอกาสที่จะได้ให้ข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท กรรมการส่วนใหญ่จึงได้เข้าร่วมประชุม ในส่วนของประธานกรรมการ ตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหานั้น เข้าร่วมประชุมครบทุกท่าน ในระหว่างการดำเนินการประชุมนั้น ประธานในที่ประชุมจะควบคุมการใช้เวลาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ ผู้ถือหุ้นมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ในแต่ละวาระ และได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิอย่างเท่าเทียม กัน ในการตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถสอบถาม และแสดงความเห็น รวมถึงการให้ ข้อเสนอแนะต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นได้มีการบันทึกสาระสำคัญของเรื่องต่างๆ ที่เสนอขึ้นพิจารณา มีการ เก็บรายละเอียดของมติที่ประชุม ตลอดจนข้อเสนอแนะและความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน คณะกรรมการจะพิจารณาสอบทานรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมคณะกรรมการครั้งถัดมาทันที และมีการ นำขึ้นแสดงบนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้สอบทานความครบถ้วนอีกทางหนึ่ง ก่อนนำเสนอให้ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารับรองในการประชุมครั้งถัดไป 5. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ คณะกรรมการได้พิจารณากำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัท ไว้ดังนี้ “เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิต และนำเสนอข่าวสาร สาระและความบันเทิง ที่ให้คณ ุ ค่าสูงสุด” นอกจากนี้ คณะกรรมการได้พจิ ารณากำหนดเป้าหมาย ขององค์กร โดยได้สอ่ื สารเป้าหมายนัน้ ให้แก่พนักงานทุกระดับชัน้ ได้รบั ทราบ และได้พจิ ารณากำหนดทิศทางและนโยบาย การบริหารจัดการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นในระยะยาว ในการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการได้ ติดตามความคืบหน้าและให้ข้อชี้แนะต่างๆ ผ่านทางกรรมการบริหาร นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับให้ ฝ่ายบริหารปรับปรุงแก้ไขประเด็นต่างๆ ที่ผู้สอบบัญชี, คณะกรรมการตรวจสอบและสำนักตรวจสอบภายในนำเสนอ เนือ่ งจาก ธุรกิจของบริษทั มีบคุ ลากรเป็นทรัพยากรทีส่ ำคัญ การร่วมแรงร่วมใจ และความสนับสนุนจาก พนักงานทุกระดับชั้น จะผลักดันให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นในการบริหารองค์กร คณะกรรมการบริหารให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้างองค์กร เพื่อให้การทำงานมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ มีการเกื้อหนุนระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ ได้รณรงค์ให้พนักงานมีความจงรักภักดีและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร สนับสนุนให้พนักงานทุกระดับชั้นได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร เน้นหนักให้มี การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สร้างทัศนคติที่ดีต่อการสมานสามัคคีของพนักงานในองค์กร ให้เห็นว่า ผลสำเร็จขององค์กรเกิดจากความร่วมมือของพนักงานทุกฝ่ายทุกคน ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสามารถรับรู้ ข้อมูลธุรกิจที่ทันสมัย เพื่อกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันได้ทันต่อเหตุการณ์ คณะกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร จึงจัดประชุมเป็นประจำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ คณะกรรมการได้จดั ประชุมเพือ่ พิจารณาประเมินผลการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการ สำหรับปี 2549 โดยกรรมการทุกท่านมีส่วนร่วมในการประเมิน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากรรมการทุกท่าน ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ความสามารถ ยึดหลักปฏิบตั ติ ามแนวทางคูม่ อื กรรมการ ทีส่ ำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แนะนำ บริษทั ได้สนับสนุนงบประมาณให้กรรมการทุกท่านได้เพิม่ พูนความรูแ้ ละทักษะการทำงานของกรรมการ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การอบรมหลักสูตรต่างๆ ของสมาคมส่งเสริมคณะกรรมการบริษทั ไทย IOD โดยกรรมการส่วนใหญ่ ได้เข้าอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) ในระหว่างปี 2546-2547, สำหรับกรรมการที่ไม่มพี น้ื ฐาน ด้านบัญชี บริษัทได้สนับสนุนให้เข้าอบรมหลักสูตร Finance for Non-Finance Director (FN) ตามความสะดวก นอกจากนี้ได้สนับสนุนกรรมการตรวจสอบ ให้เข้ารับการอบรมหลักสูตร Audit Committee Program รุ่นที่ 8/2005 และยังได้สนับสนุนให้เลขานุการบริษัทได้เข้ารับการอบรมหลักสูตร Directors Certification Program (DCP) รุ่นที่ 63 ด้วย คณะกรรมการไม่มปี ญ ั หาและอุปสรรคใดในการปฏิบตั หิ น้าที่ มีอสิ ระในการตัดสินใจ และได้รบั ความร่วมมือและ 69


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

การสนับสนุนจากฝ่ายจัดการเป็นอย่างดี คณะกรรมการได้กำกับดูแลว่านโยบายทีม่ อบหมายได้ถกู ฝ่ายจัดการนำไปปฏิบตั ิ และมีการติดตามผลอย่างครอบคลุมครบถ้วน เนื่องจาก คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญในการเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มประสิทธิภาพ ของคณะกรรมการโดยรวม ดังนั้น ในอนาคตจึงอาจมีการสรรหากรรมการใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ กรรมการใหม่ คณะกรรมการได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล รับผิดชอบในการให้ข้อมูลที่ ควรทราบ รวมถึงการอธิบาย ตอบคำถามทำความเข้าใจ พาเยี่ยมชมกิจการ (การปฐมนิเทศ) แก่กรรมการใหม่ เพื่อให้กรรมการใหม่ได้รับทราบถึงวิสัยทัศน์ของบริษัท ข้อมูลการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ได้รู้จักโครงสร้างการ บริหารงาน รับทราบวัฒนธรรมองค์กร กฎ กติกาทีส่ ำคัญๆ ภายในบริษทั รวมถึงรับทราบแนวทางการกำกับดูแลกิจการ ทีค่ ณะกรรมการชุดปัจจุบนั ดำเนินการอยู่ เพือ่ ให้กรรมการใหม่ได้ปฏิบตั หิ น้าที่ได้อย่างเต็มที่ ไม่มอี ปุ สรรคในการทำงาน นอกเหนือจากการรวบรวมข้อมูลไว้ในหนังสือคู่มือบริหารงานบุคคลของบริษัท 6. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในส่วนของการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์นั้น บริษัทได้กำหนดในข้อบังคับของบริษัทว่า บริษัทจะปฏิบัติตามข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึงการ ปฏิบตั ติ ามข้อกำหนดเกีย่ วกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน และการได้มาจำหน่ายไปซึง่ สินทรัพย์ของ บริษัท นอกจากนี้ คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายการทำรายการระหว่างกันไว้ว่า การทำรายการระหว่างกันใดๆ จะต้องเป็นไปตามปกติของธุรกิจ ตามราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับรายการค้าที่เกิดกับบุคคลภายนอก รายการที่เกี่ยวโยงกันโดยส่วนใหญ่จะเป็นรายการระหว่างกันในหมู่บริษัทในกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่บีอีซี เวิลด์มีส่วนได้เสีย เกือบร้อยละร้อย จะมีรายการกับบริษัทย่อยที่บริษัทมีส่วนได้เสียต่ำกว่าร้อยละ 90 หรือกับบริษัทร่วมบ้างไม่มากนัก ส่วนรายการที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะมีก็แต่เฉพาะที่เป็นรายการจำเป็นเท่านั้น และเมื่อมีรายการก็ จะมีการสอบทานโดยกรรมการตรวจสอบ และมีการดำเนินการตามที่เหมาะสมก่อนทำรายการ รายการระหว่างกัน กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในปี 2549, นโยบายการทำรายการ, ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ รวมถึงมาตรการหรือขัน้ ตอนในการอนุมตั กิ ารทำรายการ ได้เปิดเผยไว้ในหน้า 77 ของรายงานนี้ นอกจากนี้ ได้กำหนดให้ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทต้องนำส่งสำเนารายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ที่ยื่นต่อสำนักงาน กลต. ให้เลขานุการคณะกรรมการทุกครัง้ เพือ่ รวบรวมจัดทำสรุปรายงานเสนอเป็นวาระเพือ่ ทราบในการประชุมคณะกรรมการ บริษัททุกครั้ง 7. จริยธรรมธุรกิจ ในส่วนของจริยธรรมทางธุรกิจ บริษัทมีนโยบายและได้แจ้งให้ผู้บริหารและพนักงานทราบและ เข้าใจถึงมาตรฐานการปฏิบัติตนตามที่บริษัทคาดหวัง ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แนวทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะของ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์โดยเคร่งครัด คณะกรรมการได้มีการ สอบทานแจ้งเตือนให้กรรมการและผู้บริหารปฏิบัติตามกฎระเบียบอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้จัดทำ และแจกจ่ายคู่มือพนักงานให้แก่พนักงานทุกคนในองค์กร ซึ่งภายในได้บรรจุจรรยาบรรณพนักงาน แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ จรรยาบรรณต่อลูกค้า จรรยาบรรณต่อบริษัท จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา จรรยาบรรณต่อผูร้ ว่ มงาน จรรยาบรรณต่อผูใ้ ต้บงั คับบัญชา ซึง่ ได้รวบรวมข้อพึงปฏิบตั ติ า่ งๆ เพือ่ ให้ผทู้ เ่ี กีย่ วข้องยึดถือ เป็นแนวทางในการปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามภารกิจของบริษทั และเพือ่ เป็นแนวทางในการปฏิบตั ติ อ่ บริษทั ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ โดยคำนึงถึงความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม นอกจากการแจ้งข้อพึงปฏิบัติแล้ว ในคู่มือพนักงานก็ได้แสดงโทษ ทางวินัยไว้ด้วย

8. การถ่วงดุลของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร

คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการ 11 ท่าน โดยมีกรรมการทีด่ ำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ บริหาร และเจ้าหน้าที่บริหารด้วยรวม 7 ท่าน มีกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 1 ท่าน ซึ่งเมื่อรวมกับกรรมการที่เป็นอิสระจำนวน 3 ท่าน ซึง่ ทัง้ 3 ท่านดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจสอบด้วย (นิยามกรรมการอิสระแสดงไว้ในหน้า 63 ของรายงานนี)้ จะมีสัดส่วนเกินกว่าหนึ่งในสามของคณะกรรมการ เพื่อการถ่วงดุล และให้สามารถสอบทานการบริหารงานได้ ในการประชุมคณะกรรมการ กรรมการทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยเลขานุการคณะกรรมการ จะบันทึกความคิดเห็นของกรรมการทุกท่านไว้ในรายงานการประชุมด้วย 70


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

9. การรวมหรือแยกตำแหน่ง

10. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

12. คณะอนุกรรมการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

คณะกรรมการของบริษทั ได้แต่งตัง้ ให้มคี ณะกรรมการบริหารขึน้ เป็นคณะทำงาน เพือ่ ดูแลบริหารงาน ประจำของกลุ่มปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการของบริษัทและกรรมการของบริษัทย่อยรวมเจ็ด (7) ท่าน โดยแต่ละท่านจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานประจำของแต่ละสายงานธุรกิจแยกกันไป ตามแต่ ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ความเหมาะสมของแต่ละท่าน โดยคณะกรรมการบริหารจะรับทิศทาง/นโยบาย และหลักการกำกับดูแลกิจการมาจากคณะกรรมการ เพือ่ มากำหนดเป็นแผนดำเนินงาน โดยประธานเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร จะเป็นผู้กำกับดูแลการบริหารงานและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหาร หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารของบริษัท จะคำนึงถึงภาระหน้าที่, ปริมาณความรับผิดชอบ, ความสามารถในการปฏิบตั หิ น้าที่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ได้พจิ ารณาผลประกอบการ ของบริษัทประกอบกับข้อมูลค่าตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมถึงบริษัทจดทะเบียน อื่นที่มขี นาดใกล้เคียงกัน แม้ว่าในปัจจุบนั เรายังไม่มีคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน แต่ในการพิจารณากำหนด ค่าตอบแทนกรรมการ, กรรมการในคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการทั้งคณะได้พิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการ และกรรมการในอนุกรรมการแต่ละชุด โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันดังที่กล่าวข้างต้น ก่อนนำเสนอความเห็นในเรื่องนี้ ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาตัดสินใจขั้นสุดท้าย ตารางแสดงค่าตอบแทนกรรมการแสดงไว้ในหน้า 75 11. การประชุมคณะกรรมการ กรรมการทุกท่านให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมประชุม โดยจะเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอ พร้อมเพรียงกัน เนือ่ งจากเป็นการปฏิบตั หิ น้าทีท่ ผ่ี ถู้ อื หุน้ มอบหมาย และเป็นโอกาสใช้อำนาจทีผ่ ถู้ อื หุน้ มอบให้ โดยปกติ คณะกรรมการจะมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อการติดตามผลการดำเนินงานของบริษัท และเพื่อพิจารณา งบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อยก่อนเปิดเผยเป็นการทั่วไป นอกจากนี้ จะพิจารณากลั่นกรองเรื่องการดำเนิน ธุรกิจทีส่ ำคัญๆ และพิจารณาให้นโยบายต่างๆ แก่ฝา่ ยบริหาร ทัง้ นี้ เพือ่ ให้กรรมการทุกท่านได้ปฏิบตั หิ น้าที่ได้อย่างเต็มที่ และได้ใช้อำนาจทีผ่ ถู้ อื หุน้ มอบหมายมาอย่างไม่มอี ปุ สรรค คณะกรรมการจึงได้มขี อ้ ตกลงร่วมกันว่า ในวาระการประชุม ใดทีม่ กี รรมการทีอ่ าจมีผลประโยชน์ขดั แย้ง กรรมการท่านนัน้ จะไม่เข้าร่วมประชุมในวาระนัน้ ๆ เพือ่ ให้กรรมการท่านอืน่ ๆ สามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาและออกเสียงในที่ประชุมได้อย่างเป็นอิสระ ในการนัดประชุมคณะกรรมการ ทางสำนักเลขานุการบริษทั จะอำนวยความสะดวกแก่กรรมการทุกท่าน โดยจะจัดทำตารางนัดประชุมล่วงหน้าตลอดปีและแจ้งให้แก่กรรมการทุกท่านได้ทราบตั้งแต่ต้นปี โดยปกติทาง สำนักเลขาฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุมเพื่อแจ้งวาระการประชุม พร้อมด้วยเอกสารประกอบการประชุมเป็นการ ล่วงหน้า หากเอกสารใดล่าช้าก็จะจัดส่งตามไปให้เร็วที่สุด เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูล และได้พิจารณาเรื่องนั้นๆ ก่อนเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะในกรณีที่เรื่องที่ต้องพิจารณานั้นซับซ้อน ยิ่งจะต้องเผื่อเวลา ให้มากขึ้น ในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้ง ประธานที่ประชุมคณะกรรมการ จะจัดสรรเวลาในการประชุม ให้เพียงพอเหมาะสม เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เสนอเข้าที่ประชุม รวมถึง มีเวลาเพียงพอในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเจ้าหน้าที่บริหารจะเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงและให้ข้อมูลประกอบ การพิจารณาด้วย นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญในการจัดทำบันทึกรายงานการประชุม เพื่อให้มีการบันทึกประเด็นต่างๆ ตลอดจนความเห็นและข้อชี้แนะของผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านอย่างครบถ้วนถูกต้อง ตารางแสดงจำนวนครั้งการประชุม คณะกรรมการแสดงไว้ในหน้า 75 คณะกรรมการได้จัดให้มีคณะอนุกรรมการย่อยช่วยในการบริหารงาน หรือกลั่นกรองงานบางเรื่อง ได้แก่ 1.) คณะกรรมการบริหาร เพื่อดูแลบริหาร งานประจำของกลุ่ม ปัจจุบันคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย กรรมการของบริษทั รวมเจ็ด (7) ท่าน โดยแต่ละท่านจะมีอำนาจหน้าทีด่ แู ล ควบคุมการปฎิบตั งิ านประจำ ของแต่ละสายงาน ธุรกิจแยกกันไปตามแต่ความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ความเหมาะสมของแต่ละท่าน และยังทำหน้าทีเ่ ป็นกรรมการ ของบริษัทย่อยอีกด้วย 2.) คณะกรรมการสรรหา เพื่อช่วยทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการการสรรหา กรรมการ รวมถึง คัดเลือก และ สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง 71


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

เพื่อเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี 3.) คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการทีเ่ ป็นอิสระจำนวน 3 ท่าน เพือ่ ช่วยทำหน้าทีต่ รวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร มีบทบาทสำคัญ ในการสอบทานรายงานทางการเงิน เพื่อให้งบการเงินนั้นจัดทำขึ้นโดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในประเทศไทย มีการเลือกใช้นโยบายบัญชีทเ่ี หมาะสมและถือปฏิบตั อิ ย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสอบทานให้บริษทั มีการ เปิดเผยข้อมูลสำคัญ และข้อมูลเกี่ยวกับรายการระหว่างกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผล ประโยชน์อย่าง เพียงพอ ตารางแสดงจำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ แสดงไว้ในหน้า 75

13. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

14. รายงานของคณะกรรมการ

บริษทั ได้จดั ให้มแี ละดำรงไว้ซง่ึ ระบบการควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิผล เพือ่ ให้มน่ั ใจได้อย่างมีเหตุผล ว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมคี วามถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอทีจ่ ะดูแลรักษาสินทรัพย์ และป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต หรือการดำเนินการทีผ่ ดิ ปกติอย่างมีสาระสำคัญ โดยคณะกรรมการได้จดั ตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบและสำนักตรวจสอบ ภายใน เพื่อสอบทานความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของบริษัทและบริษัทย่อย ศึกษาปัญหาขององค์กร เสนอแนวทางการแก้ไข การป้องกัน ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงขององค์กรอีกด้วย และ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ และได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกระดับชั้น คณะกรรมการจึงได้จดั ให้มกี ารเผยแพร่ กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และกฎบัตรสำนักตรวจสอบภายใน ให้พนักงาน ทุกระดับชั้นได้รับทราบโดยทั่วกัน คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชีและผูต้ รวจสอบภายใน เป็นประจำอย่างน้อย ไตรมาสละครัง้ ทุกครัง้ ทีป่ ระชุมจะมีการสอบถาม เพือ่ ประเมินถึงความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุม ภายในของบริษทั และบริษทั ย่อย คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบต่อ คณะกรรมการ ในการประชุมคณะกรรมการทุกครั้ง และเมื่อมีประเด็นปัญหาหรือข้อเสนอแนะในอันที่จะพัฒนาให้ ระบบการควบคุมภายในดีขึ้น ก็จะเน้นไว้อยู่ในรายงานนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้หารือกับตัวแทนฝ่ายบริหาร เพื่อรับทราบ ประเด็นที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงาน และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และให้ความเห็น เสนอแนะฝ่ายบริหารตามความเหมาะสม พร้อมทั้งได้มีการรายงานผลของการติดตามการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อเสนอแนะนั้น แจ้งให้แก่คณะกรรมการด้วย โดยสรุปคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษทั มีความเห็นพ้องกันว่าบริษทั และบริษทั ย่อยมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอ รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบได้แสดงไว้ในหน้า 4 และ 5 ของรายงานฉบับนี้ สำนักงานตรวจสอบภายในได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ประเมินผลระบบควบคุมภายใน อย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ และให้รายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ ทัง้ นี้ ผลการประเมิน การควบคุมประจำปี 2549 ซึ่งนำเสนอผ่านคณะกรรมการตรวจสอบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 สรุปผลโดยรวมพบว่า บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลในระดับที่ยอมรับได้โดยทั่วไป แต่ยังคงมีบางเรื่อง ที่อาจจะปรับปรุงให้ ดียิ่งขึ้นนอกจากนี้ ผลการประเมินระบบควบคุมภายในนี้ ได้รายงานให้คณะกรรมการบริหารทราบ เพื่อการปรับปรุง แก้ไขแล้ว และได้จัดส่งให้แก่ผู้สอบบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการมีความรับผิดชอบในการจัดการให้มีการจัดทำงบการเงิน เพื่อแสดงถึงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานในรอบปีทผ่ี า่ นมาทีเ่ ป็นจริง มีขอ้ มูลทางบัญชีทถ่ี กู ต้อง ครบถ้วนเพียงพอ ทีจ่ ะดูแลรักษาทรัพย์สนิ ของบริษทั และเพือ่ ป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการทีผ่ ดิ ปกติอย่างมีสาระสำคัญ พิจารณาให้มกี ารใช้นโยบาย บัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ พิจารณาถึงความสมเหตุสมผล และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและ รอบคอบในการจัดทำงบการเงินของบริษทั นอกจากนี้ ได้พจิ ารณาให้มกี ารยึดถือปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการบัญชีทร่ี บั รอง โดยทัว่ ไป โดยถือปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการบัญชีทก่ี ำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาตแห่งประเทศไทย ในกรณีทม่ี าตรฐานไทยไม่ครอบคลุมถึงบริษทั จะพิจารณาใช้มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ หรือมาตรฐานการบัญชี ของสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยให้ทันเวลา เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลเหล่าเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน คณะกรรมการได้จัดทำรายงานของคณะกรรมการเกี่ยวกับการ เปิดเผยข้อมูลทางการเงิน แสดงไว้ในหน้า 24 ของรายงานฉบับนี้ 72


การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

15. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน

คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท โดยได้วางนโยบายให้ฝ่ายบริหาร ดำเนินการในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการเปิดเผยข้อมูล ทัง้ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลสำคัญทีม่ ผี ลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัท ซึ่งเน้นให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง เผยแพร่อย่างทั่วถึง และทันต่อเวลา เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลเหล่าเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) มีพนักงานประจำ และได้มอบหมายให้ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ ผู้สื่อข่าว และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถติดต่อหน่วยงานดังกล่าวได้ที่ เลขที่ 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 30 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร. (02) 262-3635 หรือที่ E-mail Address: ir@becworld.com นอกจากนี้ คณะกรรมการยังสนับสนุนให้ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์มีช่องทางในการสื่อสารข้อมูล ข่าวสารของบริษทั กับผูถ้ อื หุน้ นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผูส้ อ่ื ข่าว โดยจัดให้มี web-site ของบริษทั www.becworld. com นอกเหนือจากการอาศัยช่องทางการเปิดเผยข้อมูลผ่านสื่อของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลของ บริษัทเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยทุกครั้งที่ทางส่วนงานจัดทำเอกสารแจกจ่ายแก่ผู้สื่อข่าว, นักวิเคราะห์ และนักลงทุน เกี่ยวกับข้อมูลของอุตสาหกรรมและกลุ่มบริษัทแล้ว ก็จะจัดแสดงเอกสารเหล่านั้นไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ ผู้สนใจสามารถเข้ามาติดตามข้อมูลของบริษัทและอุตสาหกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนการจัดประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Briefing) และผู้สื่อข่าว (Press Conference) นั้น บริษัทมีธรรมเนียมว่าเมื่อบริษัทเผยแพร่งบการเงินเป็นการทั่วไปแล้วทุกครั้ง ก็จะจัดให้มีการแถลงข่าวและประชุม นักวิเคราะห์ เพื่อเป็นเวทีให้ฝ่ายบริหารได้ชี้แจงผลการดำเนินงานกับนักวิเคราะห์และผู้สื่อข่าวโดยตรง โดยในรอบปี 2549 บริษทั ได้จดั ประชุมทีส่ ำนักงานใหญ่ของบริษทั รวม 4 ครัง้ และได้จดั ประชุมกับนักลงทุนรายย่อยและนักวิเคราะห์ ในงาน Opportunity Day ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ เอื้อเฟื้อสถานที่จัดงานให้ รวม 4 ครั้ง โดยได้จัดตาราง Opportunity Day ให้ห่างจาก Analyst Briefing ประมาณ 1 เดือน เพื่อเพิ่มความถี่ในการพบปะกับนักวิเคราะห์ โดยถือเป็นโอกาสที่ จะได้ให้ขอ้ มูลใหม่ๆ เกีย่ วกับบริษทั และอุตสาหกรรมในระหว่างไตรมาสด้วย ในปี 2549 ทางผูบ้ ริหาร ได้เดินทางไปร่วม ประชุมนักลงทุนงาน THAI CORPORATE DAY ที่ฮ่องกงและสิงคโปร์รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดโดย บริษัทหลักทรัพย์ JP Morgan และครั้งที่ 2 จัดโดย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร นอกจากนี้ได้ร่วมงาน DBS Asia Corporate Conference จัดโดย บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกเหนือจากที่ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบัน ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการและพบปะกับผู้บริหาร (Company Visit) อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงหลังการยืน่ รายงานผลการดำเนินงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว โดยเฉลีย่ มีนกั ลงทุนสถาบันมา Company Visit ประมาณสัปดาห์ละ 2 ราย การกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน ในการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายในนั้น บริษัทมีนโยบายห้ามมิให้ผู้บริหารนำข้อมูลภายในของ บริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งรวมทั้งเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท โดยได้แจ้งนโยบายของบริษัท กฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะของตลาดหลักทรัพย์ฯ และของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์ให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนได้รับทราบ และเข้าใจถึงมาตรฐานการปฏิบัติตนตามที่บริษัทคาดหวัง โดยให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของ บริษัทให้บริษัททราบโดยทันที และได้รวบรวมรายงานเหล่านั้น (หากมี) แจ้งให้คณะกรรมการทราบทุกครั้งที่มีการ ประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามมิให้ผู้บริหารนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน และห้ามไม่ให้ ผูบ้ ริหารหรือหน่วยงานที่ได้รบั ทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บคุ คลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มหี น้าทีเ่ กีย่ วข้อง และไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทก่อนที่งบการเงินเผยแพร่ต่อสาธารณชน นอกจากนี้ ในคู่มือพนักงาน ในหัวข้อจรรยาบรรณของพนักงาน ในหมวดจรรยาบรรณต่อลูกค้า ข้อ 1.4 กำหนดให้พนักงานพึงรักษาความลับข้อมูลของลูกค้า และไม่นำไปแสวงหาผลประโยชน์ ในหมวดจรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ 3.5 ได้กำหนดให้ พนักงานไม่พึงอาศัยอำนาจและตำแหน่งหน้าที่ไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว พร้อมกันนี้ได้ แสดงข้อบังคับสำหรับพนักงานไว้ดว้ ย ซึง่ ภายในได้ระบุให้พนักงานต้องรักษาความลับของบริษทั โดยมีการกำหนดโทษ ทางวินัยไว้ 3 ระดับคือ ไล่ออก, ให้ออก/ปลดออก และภาคทัณฑ์หรือตักเตือนเป็นหนังสือ 73


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจัดการ และการกำกับดูแลกิจการ

บุคลากร บริษัทให้ความสำคัญต่อการพิจารณาจัดสรรกำลังคนให้เหมาะสมกับขนาดของหน่วยงาน และเพื่อการ เตรียมความพร้อมของกำลังคนต่อแผนงานในอนาคตด้วย โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 กลุ่มบริษัทมีพนักงานรวม 1,838 คน แบ่งตามสายงานหลักได้ ดังนี้ สายธุรกิจสื่อโทรทัศน์ และสื่อโฆษณา 1,157 คน สายธุรกิจจัดหา/ผลิตรายการบันเทิงและสารคดี 127 คน สายธุรกิจวิทยุ 53 คน สายธุรกิจผลิตรายการแสดง ส่งเสริมการจำหน่าย เพลงและกิจกรรมรณรงค์ 436 คน สายธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน 65 คน รวมทั้งสิ้น 1,838 คน ค่าตอบแทนที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่บุคลากร ตลอดจนการส่งเสริมให้มีความภักดีต่อองค์กรในระยะยาว บริษัทจึงได้พิจารณาให้ผลตอบแทนรวมของพนักงานกลุ่ม บริษัท ในรอบปี 2549 เป็นจำนวนเงินรวม 894 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินเดือน ค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง โบนัส เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล และ สวัสดิการต่างๆ เนื่องจาก บุคลากรเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าของบริษัท นอกจากบริษัทจะให้ความสำคัญในการพิจารณา สรรหาบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพมาร่วมงานแล้ว บริษทั ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรของบริษทั อันจะยังประโยชน์ ต่อการพัฒนาศักยภาพของบริษัทในระยะยาวด้วย บริษัทจึงมีนโยบายส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเพิม่ ทักษะในการทำงาน โดยจัดให้บคุ ลากรในแต่ละหน่วยงานได้เข้าอบรมสัมมนาตามสายงานความ รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ ซึง่ นอกจากการอบรมสัมมนาซึง่ จัดโดยสถาบันต่างๆ ภายนอกแล้ว ภายในองค์กรเองหน่วยงาน ทรัพยากรบุคคลก็ได้จัดอบรมภายใน โดยได้พิจารณาจัดอบรมหมุนเวียนให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในองค์กรตามความ เหมาะสม โดยได้เพิ่มความถี่และความหลากหลายในการจัดอบรมมากขึ้นเพื่อเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อม ในการแข่งขันในธุรกิจปัจจุบันให้มากขึ้น ในรอบปี 2549 กลุ่มบริษัทได้จัดอบรมหลักสูตรต่างๆ ได้แก่ การพัฒนา ระบบงานและการจัดทำ KPI, Leadership, เทคโนโลยีสื่อสารสำหรับสถานีโทรทัศน์, การบริหารความเสี่ยง, การขาย การตลาดยุคมัลติมีเดีย, Concept Design, General English, 3D Architecture with Autodesk Viz, ธรรมะ ในการดำเนินชีวิต และการทำชีวิตให้เป็นสุข เป็นต้น ส่วนการอบรมภายนอกนั้น จะคัดเลือกหลักสูตรที่เสริมกับภาระ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก โดยในปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนาภายใน รวมถึงการส่งพนักงานเข้ารับ การอบรมฯ ภายนอกประมาณ 2.67 ล้านบาท (ไม่รวมค่าอบรมสัมมนาที่จัดขึ้นจากบริษัทในกลุ่ม)

74


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหารในรอบปี 2549 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ในรอบปี 2549 บริษัทไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนกรรมการและเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร โดยบริษัทมี กรรมการรวมทั้งสิ้น 11 คน และมีเจ้าหน้าที่บริหารทั้งสิ้น 15 คน โดยที่ผู้บริหาร 7 คน เป็นกรรมการของบริษัทด้วย กรรมการและผู้บริหารได้รับค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ดังนี้ (ก) ค่าตอบแทนกรรมการ 12,312,000 บาท โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม และบำเหน็จกรรมการ (เงินบำเหน็จกรรมการเป็นจำนวนเงินคงที่ปีละ 12 ล้านบาท)

ตารางแสดงค่าตอบแทนกรรมการปี 2549

การประชุม คณะกรรมการ (จำนวนครัง้ ที ่ ชอื่ - นามสกุล เข้าร่วมประชุม/ จำนวนครัง้ ทีจ่ ด ั ประชุม ทัง้ หมด)

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11.

นายวิชัย มาลีนนท์ นายประสาร มาลีนนท์ นายประวิทย์ มาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ นางสาวรัตนา มาลีนนท์ นางสาวนิภา มาลีนนท์ นางสาวอัมพร มาลีนนท์ นางรัชนี นิพัทธกุศล นายอรุณ งามดี นายประธาน รังสิมาภรณ์ นายมานิต บุญประกอบ

การประชุม คณะกรรมการ ตรวจสอบ (จำนวนครัง้ ที ่ เข้าร่วมประชุม/ จำนวนครัง้ ที ่ จัดประชุม ทัง้ หมด)

5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 6/6 5/5 6/6 5/5 6/6

เบีย้ ประชุม

ค่าบำเหน็จ

รวม

1,981,250 1,031,250 1,031,250 1,031,250 1,031,250 1,031,250 1,031,250 1,031,250 1,000,000 900,000 900,000

2,021,250 1,051,250 1,051,250 1,051,250 1,051,250 1,051,250 1,051,250 1,051,250 1,044,000 944,000 944,000

40,000 20,000 20,000 20,000 20,000 20,000 20,000 20,000 44,000 44,000 44,000

(ข) ค่าตอบแทนรวมของเจ้าหน้าที่บริหารทุกคน โดยเป็นค่าตอบแทนในรูปเงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ และเงินสมทบกองทุนสำรอง

เลี้ยงชีพ 41,572,402 บาท ค่าตอบแทนอื่น เช่น โครงการให้สิทธิซื้อหุ้น หลักทรัพย์แปลงสภาพ หุ้นกู้ หรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ผู้บริหาร ได้รับจากบริษัท -ไม่มี-

75


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหารในรอบปี 2549

การจ่ายค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี 1. ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit Fee)

บริษทั และบริษทั ย่อยจ่ายค่าตอบแทนผูส้ อบบัญชี ให้แก่ - ผูส้ อบบัญชีของบริษทั ในรอบปีบญ ั ชีทผี่ า่ นมาเป็นจำนวนเงินรวม __0_ บาท - สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและ

สำนักงานสอบบัญชีทผี่ สู้ อบบัญชีสงั กัด ในรอบปีทผี่ า่ นมาเป็นจำนวนเงินรวม 4,980,000 บาท

ต่ำกว่าที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 เป็นจำนวนเงินรวม 10,000

บาท เนือ่ งจากบริษทั ย่อยทีต่ งั้ ใหม่เริม่ ดำเนินการช้ากว่ากำหนด

2. ค่าบริการอื่น ( Non - audit Fee)

- ผูส้ อบบัญชีของบริษทั ในรอบปีบญ ั ชีทผี่ า่ นมามีจำนวนเงิน ____0___ บาท และจะต้องจ่าย

ในอนาคตอันเกิดจากการตกลงทีย่ งั ให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบญ ั ชีทผี่ า่ นมาเป็นจำนวนเงิน

รวม _______0_________ บาท - สำนั ก งานสอบบั ญ ชี ที่ ผู้ ส อบบั ญ ชี สั ง กั ด บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ ส อบบั ญ ชี แ ละ

สำนักงานสอบบัญชีดงั กล่าว ในรอบปีทผี่ า่ นมาเป็นจำนวนเงินรวม ____0____ บาท และ

ต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา

มีจำนวนเงินรวม ___0 __ บาท

76


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

รายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในปี 2549 (พันบาท) รายการระหว่างกัน กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง

มูลค่า รายการ

ค่าใช้จา่ ย (ซือ้ สินค้าและบริการจากผูม้ ผี ลประโยชน์รว่ ม)

(เป็นรายการค่าเช่าใช้พนื้ ที่ในอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ และค่าใช้จา่ ยอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งจากการเข้าใช้พนื้ ทีเ่ ช่านัน้ ) บริษทั บีอซี ี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 34,720 บริษทั บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 24,996 บริษทั รังสิโรตม์วนิช จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 990 บริษทั นิวเวิลด์โปรดัก๊ ชัน่ จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 983 บริษทั บีอซี ี บรอดคาสติง้ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 94,863 บริษทั บีอซี ีไอ คอร์ปอเรชัน่ จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 4,969 บริษทั ทีวบี ที รี เน็ตเวอร์ค จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 1,182 บริษทั บีอซี ี แอสเซท จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 454 บริษทั บีอซี ี ไอที จำกัด บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 457 บมจ. บีอซี ี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัดและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ 25,547 รวมทัง้ สิน้ 189,161

ลักษณะความสัมพันธ์กบั บริษทั ทีม ่ ผ ี ลประโยชน์รว่ ม บริษทั มาลีนนท์ทาวเวอร์ จำกัด เป็นบริษทั ทีก่ รรมการและผูบ้ ริหารของบริษทั เป็นผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มลิ เลียนแนร์ เป็นกองทุนรวมซึง่ บริษทั มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด เป็นผูถ้ อื หน่วยลงทุนรายใหญ่ นโยบายการทำรายการ, ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน บริษทั มีนโยบายทีจ่ ะพยายามหลีกเลีย่ งการทำรายการกับบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง รายการทีม่ ีในปี 2549 เป็นรายการเกีย่ วกับการเช่าใช้พนื้ ทีอ่ าคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ซึง่ ได้รบั การอนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546 เนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพื่อรองรับการขยายงานเมื่อต้องย้ายออก จากอาคารเอ็มโพเรี่ยมทาวเวอร์ โดยที่พื้นที่ในอาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ให้ความสะดวก สวยงาม และได้มาตรฐาน เทียบเคียงกับอาคารชั้นนำอื่นๆ โดยเฉพาะอาคาร 12 ชั้น ที่ผู้ ให้เช่าได้ออกแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน

โดยเฉพาะในธุรกิจของบริษทั และมีอตั ราค่าเช่าทีเ่ ป็นราคาทีม่ คี วามยุตธิ รรม มาตรการหรือขัน้ ตอนในการอนุมต ั กิ ารทำรายการระหว่างกัน บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยมีนโยบายในการกำกับดูแลการทำรายการระหว่างกันให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ รายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญจะต้องได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ ประชุม คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ และทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ตามความเหมาะสม และมีนโยบายให้การทำ รายการระหว่างกันนั้น จะต้องเป็นไปตามปกติของธุรกิจ ตามราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับรายการค้าที่ เกิดขึน้ กับบุคคลภายนอก 77


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลอื่น

ณ ธันวาคม 2549 มีนิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ดังนี ้

1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์และวิทยุ ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท (3,000,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 2,999,992 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู ่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 4. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด [เดิมชื่อ บริษัท บางกอกเคเบิ้ล เทเลวิชั่น ซีสเท็มส์ จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อกรกฎาคม 2542) ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 5. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหาและผลิตรายการโทรทัศน์, ถือหุ้นในบริษัทอื่น ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384

78

ข้อมูลอื่น


ข้อมูลอื่น

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

6. บริษัท ทีวีบี ทรี เน็ตเวอร์ค จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการ และขายเวลาโฆษณา ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (1,000,000 หุ้น)* บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด ถือหุ้นอยู่ 599,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3572 โทรสาร (02) 204 - 1384 7. บริษัท ยู แอนด์ ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและดำเนินการสถานีวิทยุ และผลิตภาพยนตร์ ทุนจดทะเบียน 35 ล้านบาท (350,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 349,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3274 โทรสาร (02) 262 - 3665 8. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด** ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและให้บริการอุปกรณ์ห้องสตูดิโอ ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 9. บริษัท สำนักข่าวบีอีซี จำกัด** ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการข่าว ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 10. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด** ประเภทธุรกิจ ให้บริการ รับ-ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท (2,500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 2,499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 11. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด** ประเภทธุรกิจ ให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท (100,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 99,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384

79


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

12. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด (เดิมชื่อบริษัท อริยะวัฒน์ จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อ 28 ธันวาคม 2547) ประเภทธุรกิจ ให้บริการในการดำเนินการออกอากาศ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท (100,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 99,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3333, 204 - 3333 โทรสาร (02) 204 - 1384 13. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด [เดิมชื่อ บริษัท ทรี มีเดีย จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อ กันยายน 2543] ประเภทธุรกิจ ดำเนินการถือครองและให้เช่าทรัพย์สิน ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท (3,000,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู ่ 2,999,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3759 โทรสาร (02) 262 - 3780 14. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด [เดิมชื่อ บริษัท แซทเทิลไลท์ บรอดคาสติ้ง ซีสเท็ม จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเมื่อ กันยายน 2543] ประเภทธุรกิจ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และขายปลีกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และให้บริการดูแลรักษา ทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท (1,500,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู ่ 1,499,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 3 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3759 โทรสาร (02) 262 - 3780 15. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ประเภทธุรกิจ ลงทุนในธุรกิจมัลติมีเดีย ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 20,000,000 หุ้น เรียกชำระแล้วร้อยละ 25)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 19,999,200 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อตุลาคม 2543) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 204 - 9999 โทรสาร (02) 204 - 9970 16. บริษัท บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเภทธุรกิจ ลงทุนในธุรกิจอินเตอร์เน็ต ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (20,000,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 19,999,200 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อกันยายน 2543) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 204 - 9999 โทรสาร (02) 204 - 9970

80

17. บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ ทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท (3,000,000 หุ้น)* บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นอยู่ 1,499,995 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อกันยายน 2540 บีอีซีไอ เข้าถือหุ้นเมื่อกรกฎาคม 2548) ที่ตั้งสำนักงาน 52/149 สุขุมวิท ซอย 3 (นานาเหนือ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 204 - 9999 โทรสาร (02) 204 - 9970

ข้อมูลอื่น


ข้อมูลอื่น

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

18. บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจด้าน Mobile Entertainment ทุนจดทะเบียน 7.5 ล้านบาท (1,500,000 หุ้น)* บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นอยู่ 899,995 หุ้น และบีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 600,000 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ มิถุนายน 2545) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801-2 19. บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจด้าน Mobile Entertainment ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (1,000,000 หุ้น)* บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นอยู่ 509,995 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ ตุลาคม 2546) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801-2 20. บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) [ทะเบียนเลขที่ 40854600007] (จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2546) ประเภทธุรกิจ จัดหา ผลิตรายการและขายเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์, ผลิต-ส่งเสริมการจำหน่ายเพลง, จัดแสดงคอนเสิร์ต ทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 250 ล้านหุ้น; ชำระแล้ว 200 ล้านบาท)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู่ 120,000,000 หุน้ [บมจ. บีอซี ี เวิลด์ เข้าถือหุน้ ร้อยละ 60 ตัง้ แต่ เดือนเมษายน 2541] ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 25-28 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801-2 21. บริษัท ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการทำโฆษณา บริการรับจองและขายบัตรเข้าชมการแสดง ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท (1,000,000 หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 999,993 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อกุมภาพันธ์ 2543) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 27 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801-2 22. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี - เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ ผลิตรายการและดำเนินการสถานีวิทยุ ทุนจดทะเบียน 49,960,800 บาท (4,996,080หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 2,547,993 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อมิถุนายน 2545) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 24 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 204 - 3500 โทรสาร (02) 204 - 1410 23. บริษัท โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ผลิต ซื้อ ขายแผ่นเสียง สิ่งบันทึกภาพ และสิ่งบันทึกเสียง ทุนจดทะเบียน 75 ล้านบาท (750,000 หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 299,997 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ เมษายน 2545) บีอีซี-เทโร ได้โอนหุ้นของ โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโรฯ เพื่อแลกกับหุ้นของโซนี่ บีเอ็มจี มิวสิคฯ เมื่อพฤษภาคม 2549 ต่อมาบีอีซี-เทโร ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท โซนี่ บีเอ็มจี มิวสิค ออกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 22 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801 - 2

81


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลอื่น

24. บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ประเภทธุรกิจ ถือลิขสิทธิ์ ในเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท (30,000 หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 11,997 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ สิงหาคม 2547) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 22 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801 - 2 25. บริษัท ธีมสตาร์ จำกัด ประเภทธุรกิจ พัฒนา สร้าง และจัดการแสดงทั่วโลก ทุนจดทะเบียน 4,019,608 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา (4,019,608 หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เข้าถือหุ้นร้อยละ 51 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 และเมื่อธันวาคม 2548 ได้ลดสัดส่วน การถือหุ้นลงเหลือร้อยละ 40 ที่ตั้งสำนักงาน East Asia Chambers, P.O. Box 901, Road Town, Tortola, British Virgin Islands โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801 - 2 26. บริษัท บีอีซี - เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่นส์ จำกัด ประเภทธุรกิจ ให้บริการจัดกิจการ,งานแสดงสินค้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท (500,000หุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 254,994 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อมกราคม 2549) ที่ตั้งสำนักงาน 1875 บีอีซี-เทโรฮอล์ สวนลุมไนท์บาซาร์ ถนนพระรามสี่ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801 - 2 27. บริษัท บีอีซี - เทโร อาร์เซนอล จำกัด ประเภทธุรกิจ บริหารจัดการทีมฟุตบอล และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับฟุตบอล ทุนจดทะเบียน 18 ล้านบาท (3,600,000 หุ้น หุ้นละ 5 บาท เรียกชำระแล้วร้อยละ 25) บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 3,599,992 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อกุมภาพันธ์ 2549) ที่ตั้งสำนักงาน 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 26 ถนนพระรามสี่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ (02) 262 - 3800 โทรสาร (02) 262 - 3801 - 2 28. บริษัท พีน่า - บีอีซี เทโร จำกัด ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกจำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์ของ WARNER BROS. ในประเทศไทย ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท (5 ล้านหุ้น)* บีอีซี-เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ถือหุ้นอยู่ 599,999 หุ้น (จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อมิถุนายน 2545) ที่ตั้งสำนักงาน 967 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยีข่ นั เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 434 - 6921 โทรสาร (02) 434 - 7537 29. บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) [บมจ.171] ประเภทธุรกิจ จัดจำหน่ายและให้เช่าวิดีโอเทป, วีซีดี และดีวีดี ทุนจดทะเบียน 360 ล้านบาท (36,000,000 หุ้น)* บีอีซี เวิลด์ ถือหุ้นอยู ่ 7,200,000 หุน้ [บมจ. บีอซี ี เวิลด์ เข้าถือหุน้ ร้อยละ 20 ตัง้ แต่ เดือนตุลาคม 2540] ที่ตั้งสำนักงาน 61/34 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586

82


ข้อมูลอื่น

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

30. บริษัท ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประเภทธุรกิจ จำหน่ายภาพยนตร์วีดีโอเทป วีดีโอซีดีและดีวีดีพร้อมลิขสิทธิ์ ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (20,000,000 หุ้น)* ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ถือหุ้นอยู่ 19,999,990 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 61/34 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586 31. บริษัท ซีวีดี มีเดีย จำกัด ประเภทธุรกิจ จัดหาและจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท (2,000,000 หุ้น)* ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ถือหุ้นอยู ่ 1,999,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 61/34 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586 32. บริษัท ซีวีดี มิวสิค จำกัด หยุดดำเนินงานชั่วคราว ประเภทธุรกิจ เป็นตัวแทนจำหน่ายเทปและซีดีเพลงให้แก่ร้านค้าต่างๆ ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท (4,000,000 หุ้น)* ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ถือหุ้นอยู่ 2,039,995 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 61/26-27 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586 33. บริษัท ซีวีดี เลเซอร์ จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 และได้เสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2548 ประเภทธุรกิจ เป็นตัวแทนจำหน่ายจากเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าเลเซอร์ดิสก์ ให้แก่ร้านค้าต่างๆ ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท (20,000 หุ้น)* ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ถือหุ้นอยู่ 19,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 40/19 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586 34. บริษัท ซีวีดี เร้นท์คอม จำกัด จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 และได้เสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 ประเภทธุรกิจ ดำเนินธุรกิจให้เช่าวีดีโอในระบบส่วนแบ่งรายได้ ทุนจดทะเบียน 7 ล้านบาท (700,000 หุ้น)* ซีวีดี เลเซอร์ ถือหุ้นอยู ่ 699,993 หุ้น ที่ตั้งสำนักงาน 61/34 หมู่ที่ 3 ซอยวิภาวดีรังสิต 42 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ (02) 941 - 0274 - 87 โทรสาร (02) 941 - 2586

หมายเหตุ * : หุ้นสามัญ - ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ** : ยังไม่เริ่มดำเนินการ

83


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร นายวิชัย มาลีนนท์ ตำแหน่ง: ประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อายุ: 86 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร และ ประธานจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บีอีซี เวิลด์ กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 3 บริษัทย่อย ของกลุ่ม บีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ นายประสาร มาลีนนท์ ตำแหน่ง: ประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ อายุ: 63 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ, รองประธานกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.บีอีซี เวิลด์ กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 18 บริษัทย่อย และ 2 บริษัทร่วม ในกลุ่มบีอีซี เวิลด์ มกราคม 2541 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี - เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กุมภาพันธ์ 2544 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานกรรมการ บมจ. ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ปี 2540 กุมภาพันธ์ 2550 กรรมการและกรรมการบริหาร 5 บริษัทย่อย ในกลุ่มซีวีดี ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ Elmhurst College, Illinois, USA วุฒิบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ. รุ่นที่7) ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 7.86% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

84

ข้อมูลผู้บริหาร


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

นายประวิทย์ มาลีนนท์

ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจโทรทัศน์ และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ อายุ: 59 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการ, กรรมการบริหารและกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 7 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: Bachelor of Science, University of Illinois, Chicago, Illinois, USA วุฒิบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ. รุ่นที่ 3) ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP), สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 11.42% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ นางสาวรัตนา มาลีนนท์

ตำแหน่ง: กรรมการ และกรรมการบริหาร - สายบัญชีและการเงิน อายุ: 57 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 14 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP), สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 7.86% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

85


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

นางสาวนิภา มาลีนนท์

ข้อมูลผู้บริหาร

ตำแหน่ง: กรรมการ อายุ: 54 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. บีอีซี เวิลด์,บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 3บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP), สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 5.89% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ นางสาวอัมพร มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจผลิตรายการ อายุ: 53 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการ, กรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์, บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 12 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP), สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 7.86% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ ตำแหน่ง: กรรมการ, กรรมการบริหาร - สายธุรกิจสื่อโฆษณา และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ อายุ: 51 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการ, กรรมการบริหาร และกรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. บีอีซี เวิลด์, กรรมการ, กรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 16 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ พ.ค. 2545 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ.บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เม.ย.2544 - พ.ย. 2548 กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ.ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กรรมการและกรรมการบริหาร 3 บริษัทย่อยในกลุ่มซีวีดี ปี2547 - พ.ย. 2548 ประธานคณะอนุกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน บมจ.ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 7.86% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์

86


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

นางรัชนี นิพัทธกุศล ตำแหน่ง: กรรมการและกรรมการบริหาร - สายการตลาดและการขาย อายุ: 50 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 5 บริษัทย่อย ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) และ Finance for Non - Finance Directors Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: เป็นสมาชิกครอบครัวมาลีนนท์ นายอรุณ งามดี

ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ อายุ: 71 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2542 - ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2538 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2536 - 2538 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ปี 2532 - 2536 รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประวัติการศึกษา: ปริญญาโท ด้านการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย บอสตัน อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรนักบริหารระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และ สถาบันพัฒนาข้าราชการสำนักงาน ก.พ. ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) และ Audit Committee Program (ACP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี

87


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

นายประธาน รังสิมาภรณ์ ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ อายุ: 73 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2542 - ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี2538 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2536 ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการประชาสัมพันธ์ ปี 2529 - 2531 ผู้อำนวยการ กองงานคณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) กรรมการและเลขานุการ กบว. ประวัติการศึกษา: MA Journalism, University of Panjab, Pakistan, Under SEATO Scholarship, วารสารศาสตร์บัณฑิต และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตร หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP) และ ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี นายมานิต บุญประกอบ

ตำแหน่ง: กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ อายุ: 56 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ธันวาคม 2542 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2541 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ สำนักงานที่ปรึกษา บีเอ็มเอส ปี 2541 - ปัจจุบัน กรรมการบริหารบริษัท แธ็บ ซัพพอร์ท จำกัด และบริษัทจิรจิตร จำกัด ปี 2536 - 2541 กรรมการและกรรมการบริหาร, รองผู้จัดการใหญ่ - การเงิน และ ซีเอฟโอ กลุ่มบริษัท เอบีบี ประเทศไทย ประวัติการศึกษา: ปริญญาโทบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี บัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ประเทศไทย) วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ Directors Certification Program (DCP) และประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program (ACP) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี

88


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

นายปณิธาน ทศไนยธาดา

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา อายุ: 62 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายโฆษณา บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2523 - 2538 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ อายุ: 57 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตรายการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 -2538 หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ประวัติการศึกษา: อักษรศาสตร์บัณฑิต (ศิลปะการละคร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี นายบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน อายุ: 59 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2538 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายงานสนับสนุน บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2533 - 2538 หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ประวัติการศึกษา: วารสารศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 4 (บยส.4) วิทยาลัยการยุติธรรม ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี

89


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

นายฉัตรชัย เทียมทอง

ข้อมูลผู้บริหาร

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน, เลขานุการบริษัท, เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ และ เลขานุการคณะกรรมการสรรหา อายุ: 55 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2539 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายการเงิน และเลขานุการบริษัท บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2542 - ปัจจุบัน เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ปี 2542 - 10 เม.ย. 2544 กรรมการตรวจสอบ บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) ปี 2534 - 2538 กรรมการ บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) ประวัติการศึกษา: บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วุฒิบัตร หลักสูตรพัฒนากรรมการ directors certification program สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.01% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี ดร.อภิญญา กังสนารักษ์

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล อายุ: 45 ปี ประสบการณ์การทำงาน : ปี 2545 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บมจ. บีอีซี เวิลด์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ปี 2538 - 2545 ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล, ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล บมจ. ธนาคารศรีนคร ประวัติการศึกษา: ปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี นายพิษณุ เรืองรจิตปกรณ์ ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี อายุ: 53 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ปี 2546 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายเทคโนโลยี บมจ. บีอีซี เวิลด์ ปี 2546 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด ปี 2543 - 2546 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น ปี 2538 - 2541 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี

90


ข้อมูลผู้บริหาร

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

นายณพพงศ์ บุตรขวัญ ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน อายุ: 42 ปี ประสบการณ์การทำงาน: 5 ม.ค.2547 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบภายใน บมจ. บีอีซี เวิลด์ ส.ค. 2545 - ธ.ค. 2546 ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน บริษัท อินเตอร์คอมฟอร์ท จำกัด ก.ย. 2544 - ส.ค. 2545 ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบ บมจ. ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) มิ.ย. 2540 - ก.ย. 2544 ผู้จัดการตรวจสอบอาวุโส, ผู้จัดการการเงิน บริษัท ซีอาร์ซีเอโฮลด์ จำกัด มี.ค. 2538 - มิ.ย. 2540 ผู้จัดการส่วนตรวจสอบภายใน เครือเอสทีซี ก.ค. 2534 - มี.ค. 2538 ผู้ตรวจสอบ บมจ. ยางสยาม ประวัติการศึกษา: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มินิเอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง Certified Internal Auditor (CIA) No.30806 Certified Professional Internal Auditor (CPIA) No.3012 ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี นายนพดล เขมะโยธิน ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน อายุ: 41 ปี ประสบการณ์การทำงาน: ก.พ. 2547 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการลงทุน บมจ. บีอีซี เวิลด์ 2544 - 2546 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการลงทุน บล.แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน) 2543 - 2544 ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุน บล. แอสเซท พลัส จำกัด (มหาชน) 2542 - 2543 ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล บลจ.วรรณ จำกัด ประวัติการศึกษา: ปริญญาตรี คณะพาณิชย์ศาสตร์ และการบัญชี (สาขาการเงินและการธนาคาร) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ MBA สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยอริโซนา, สหรัฐอเมริกา ประกาศนียบัตร Future Market Sakura Dellsher Education Program, Chicago, U.S.A. (Received Full Academic Scholarship) ประวัติการทำผิดกฎหมายในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี ประวัติการการทำผิดเกี่ยวกับใช้ประโยชน์ข้อมูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกันในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา: ไม่มี สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท: 0.00% ความสัมพันธ์ทางครอบครัว: ไม่มี หมายเหตุ * สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั เป็นรายงาน ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึง่ เป็นวันปิดสมุดทะเบียนผูถ้ อื หุน้ ครัง้ ล่าสุด ประวัตกิ ารทำผิดกฎหมาย: ในระยะเวลา 10 ปีทผี่ า่ นมา คณะกรรมการและเจ้าหน้าทีบ่ ริหารของบริษทั ไม่มผี ู้ใดเคยถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออกหรือต้องคดี เนือ่ งจากการกระทำทุจริต หรือเคยถูกฟ้องล้มละลาย หรือถูกต้องโทษอาญา หรือมีขอ้ พิพาท หรือการถูกฟ้องร้องซึง่ อยู่ในระหว่างการตัดสิน ประวัตกิ ารการทำผิดเกีย่ วกับใช้ประโยชน์ขอ้ มูลภายใน และการทำผิดข้อกำหนดเกีย่ วกับการทำรายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน: ในระยะ 2 ปีที่ ผ่านมา คณะกรรมการและเจ้าหน้าทีบ่ ริหารของบริษทั ไม่มผี ู้ใดทำผิดข้อกำหนดเกีย่ วกับการใช้ประโยชน์ขอ้ มูลภายในหรือข้อกำหนดการ ทำรายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน

91


92 // // // // //

//

//

//

//

//

//

/

/

/

// //

//

1

X,//

บมจ. บีอีซี เวิลด์

1. บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด 2. บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด 3. บริษัท นิวเวิลด์ โปรดั๊กชั่น จำกัด 4. บริษัท บีอีซี บรอดคาสติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด 5. บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด 6. บริษัท ยูแอนด์ไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 7. บริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด 8. บริษัท บีอีซี ไอที โซลูชั่น จำกัด 9. บริษัท บีอีซีไอ คอร์โปเรชั่น จำกัด 10. บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด 11. บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด 12. บริษัท สำนักข่าว บีอีซี จำกัด 13. บริษัท บีอีซี สตูดิโอ จำกัด 14. บริษัท บางกอกแซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด

บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยตรง

//

//

//

//

2

4

//

//

//

//

// //

// //

3

//

//

//

//

//

5

//

//

//

//

//

6

//

//

//

7

//

//

// //

// //

// //

//

//

//

//

//

//

// //

// //

// //

// //

// //

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

// X,// //

//

//

//

//

// //

// //

//

// //

X,// //

// //

//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

บ ริษัทที่เกี่ยวข้อง 33. บริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด 34. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลี่ยนแนร์ (6) หมายเหตุ X = ประธานกรรมการ // = กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม / = กรรมการ (1) เข้าลงทุนเมื่อ กรกฎาคม 2548 (2) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ มกราคม 2549 (3) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ กุมภาพันธ์ 2549 (4) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ สิงหาคม 2547 (5) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อ สิงหาคม 2547 (6) วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวม วันที่ 18 มิถุนายน 2547 และได้รับอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2548 โดยมีบริษัท มาลีนนท์ ทาวเวอร์ จำกัด เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่

//

9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34

// //

8

บริษัท

15. บริษัท แซทเทิลไลท์ ทีวี บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดย บมจ. บีอีซี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 16. บริษัท บีอีซี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) 24. ThemeSTAR Limited (4) บ ริ ษั ท ย่ อ ยที่ ถื อ หุ้ น โดย บริ ษั ท บี อี ซี อิ น เตอร์ เ นชั่ น แนล 25. บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี - เทโร เรดิโอ (ประเทศไทย) จำกัด ดิสทริบิวชั่น จำกัด 26. บริษัท เอสเอ็มบีที พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (5) 17. บริษัท ทีวีบี 3 เน็ตเวอร์ค จำกัด บริษัทร่วมที่ถือหุ้นโดยตรง บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 27. บริษัท ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 18. บริษัท ดิจิตอล แฟคทอรี่ จำกัด บริษัทย่อยของ บมจ. ซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ 19. บริษัท ไทยออดิโอเท็กซ์เซอร์วิส จำกัด(1) 28. บริษัท ซีวีดี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บริษัท บีอีซี ไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด 29. บริษัท ซีวีดี มีเดีย จำกัด และบมจ. บีอีซี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 30. บริษัท ซีวีดี มิวสิค จำกัด (หยุดดำเนินการชั่วคราว) 20. บริษัท โมบิ (ไทย) จำกัด 31. บริษัท ซีวีดี เร้นท์คอม จำกัด บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดย บมจ. บีอีซี - เทโรเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (เสร็จสอ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548) 21. บริษัท ไทยทิคเก็ต มาสเตอร์.คอม จำกัด 32. บริษัท ซีวีดี เลเซอร์ จำกัด 22. บริษัท บีอีซี - เทโร เอ็กซ์ซิบิชั่น จำกัด (2) (เสร็จสอ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2548) 23. บริษัท บีอีซี - เทโร อาร์เซนอล จำกัด (3)

บริษทั ย่อยทีถ่ อื หุน้ โดย บริษทั บีอซี ี อินเตอร์เนชัน่ แนล

มาลีนนท์ มาลีนนท์ มาลีนนท์ มาลีนนท์ มาลีนนท์ มาลีนนท์ มาลีนนท์ นิพัทธกุศล งามดี รังสิมาภรณ์ บุญประกอบ เรืองรจิตปกรณ์ ทศไนยธาดา ณรงค์วิชัย บูรณะสัมฤทธิ กังสนารักษ์ เทียมทอง

รายชื่อผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุม

ตารางแสดงข้อมูลการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549

1. นายวิชัย 2. นายประสาร 3. นายประวิทย์ 4. นายประชุม 5. นางสาวรัตนา 6. นางสาวนิภา 7. นางสาวอัมพร 8. นางรัชนี 9. นายอรุณ 10. นายประธาน 11. นายมานิต 12. นายพิษ ณุ 13. นายปณิธาน 14. นายสมรักษ์ 15. นายบริสุทธิ์ 16. ดร.อภิญญา 17. นายฉัตรชัย

รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

ข้อมูลผู้บริหาร


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

ข้อมูลผู้บริหาร

ข้อมูลผู้บริหาร

รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการของบริษัทย่อย

รายชื่อผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม

1. นายชาตรี โสภณพนิช 2. นายวิชัย มาลีนนท์ 3. นายประสาร มาลีนนท์ 4. นายประวิทย์ มาลีนนท์ 5. นายประชุม มาลีนนท์ 6. นางสาวรัตนา มาลีนนท์ 7. นางสาวนิภา มาลีนนท์ 8. นางสาวอัมพร มาลีนนท์ 9. นางรัชนี นิพัทธกุศล 10. นายบุญญฤทธิ์ สุวรรณพฤกษา 11. นางสาวแคทลีน มาลีนนท์ 12. นายไบรอัน ลินด์เซ มาร์การ์ 13. นายไมเคิล เจอร์ราร์ด มาร์คาร์ 14. นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู 15. ดร.ณัฐ อินทรปาณ* 16. นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ หมายเหตุ

บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด

บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด

บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

X

//

//

//

X,//

//

//

//

//

//

//

//

//

//

/

//

//

/

/

/

/

บริษัทย่อย หมายถึง บริษัทย่อยที่มีนัยสำคัญ เช่น มีรายได้เกินกว่าร้อยละ 10 ของรายได้รวมตาม งบกำไรขาดทุนรวมของปี 2549 X = ประธานกรรมการ // = กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม * ดร.ณัฐ อินทรปาน ลาออกเมื่อ 1 พฤษภาคม 2549

/ = กรรมการ

93


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

บุคคลอ้างอิงอื่นๆ นายทะเบียนหุ้น:

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทรศัพท์ (66) 2229 - 2800 เบอร์โทรสาร (66) 2359 - 1259 Call center: 0 2229 - 2888 Website: http://www.tsd.co.th E-mail: contact.tsd@set.or.th ผู้สอบบัญชี:

ดร.วิรัช อภิเมธีธำรง ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1378 นายชัยกรณ์ อุ่นปิติพงษา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3196 บริษัท สำนักงาน ดร.วิรัช แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ชั้น 7 อาคารภาณุนี 518/3 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ 10330 เบอร์โทรศัพท์ (66) 2252 - 2860, 2255 - 2518 เบอร์โทรสาร (66) 2254 - 1210 ที่ปรึกษากฎหมาย:

บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด

ชั้น 18 อาคารสาทร ซิตี้ 175 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 เบอร์โทรศัพท์ (66) 2679 - 6005 เบอร์โทรสาร (66) 2679 - 6041

บริษัท กิลเบิร์ต รี้ด แอนด์ คอมปานี จำกัด 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 16 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 เบอร์โทรศัพท์ (66) 2624 - 6777 เบอร์โทรสาร (66) 2624 - 6778 - 9 ที่ปรึกษาทางการเงิน:

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)

94

ชั้น 11 อาคารสาธรซิตี้ 175 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 เบอร์โทรศัพท์ (66) 2285 - 1888, 2680 - 1111 เบอร์โทรสาร (66) 2670 - 9271


“เป็นบริษัทชั้นนำด้านการผลิต และนำเสนอข่าวสาร สาระและความบันเทิง ที่ ให้คุณค่าสูงสุด”

1

2

4

6

ข้อมูลสำคัญ ทางการเงิน

รายงาน คณะกรรมการ

รายงาน คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษทั

8

9

12

14

คณะกรรมการบริหาร และเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

โครงสร้าง กลุม่ บริษทั บีอซี ี เวิลด์

กิจกรรมเด่น และรายการดี ในรอบปีทผ ่ี า่ นมา

การดำเนินธุรกิจของ “กลุม่ บีอซี ี เวิลด์ ”

16

24

25

26

คำอธิบายและ การวิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน และฐานะการเงิน

รายงานของ คณะกรรมการทีเ่ กีย่ วกับ ความรับผิดชอบในการ จัดทำรายการทางการเงิน

รายงานของ ผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาต

งบการเงิน

59

61

75

77

โครงสร้างรายได้ และการเปลีย่ นแปลง ในปีทผ ่ี า่ นมา

การจัดการ และการกำกับ ดูแลกิจการ

การจ่ายค่าตอบแทน กรรมการและผูบ้ ริหาร ในรอบปี 2549

รายการระหว่างกัน กับบุคคลทีอ่ าจมี ความขัดแย้งในปี 2549

78

84

94

ข้อมูลอืน่

ข้อมูลผูบ้ ริหาร

บุคคลอ้างอิงอืน่ ๆ

EXTI EMERGENCY WAY CO., LTD. 02-986-2525-28

สารบัญ


รายงานประจําปี 2549 บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

q บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ชั้น 2, 3, 8, 9, 30-34 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ : 02 204-3333, 02 262-3333 โทรสาร : 02 204-1384 www.becworld.com www.thaitv3.com

รายงานประจำปี 2549

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน)

CANADA

USA

JAPAN


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.