Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ระบบเครื่องทำความเย็นระบบอัดไอ (Vapor Compression System)

โดย : PP COOLING (ไพจิตร เครื่องเย็น)

หลักการทำความเย็นเป็นกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หนึ่ง ซึ่งต้องการทำความเย็นโดยความร้อนจะถูกส่งผ่านน้ำยาจากนั้นน้ำยาจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศภายนอกพื้นที่น้ำยาจะเป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยกระบวนการอัดน้ำยาให้เป็นไอ กระบวนการควบแน่นกระบวนการขยายตัวและกระบวนการระเหย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดตามส่วนต่าง ๆ ของระบบ เช่น ที่คอมเพรสเซอร์ ที่คอนเดนเซอร์ที่อุปกรณ์ควบคุมการไหล เป็นต้นดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทำความเย็นใน ที่นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ระบบทำความเย็นได้ถูกต้อง และสามารถซ่อมบำรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การทำความเย็น (Refrigeration) คือกระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หรือ วัตถุที่ต้องการทำความเย็น หรือเป็นกระบวนการลดอุณหภูมิ และรักษาอุณหภูมิของพื้นที่หรือวัตถุ ที่ต้องการทำ ความเย็นให้ต่ำ กว่าอุณหภูมิรอบๆ ซึ่งระบบการทำความเย็นที่จะเล่าถึงต่อไปนี้เป็นระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ ประกอบด้วย กฎการทำความเย็น วัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอ และส่วนประกอบเครื่องทำความเย็นแบบอัดไอ

1. กฎการทำความเย็น (Refrigeration’s laws)

ระบบการทำความเย็นส่วนใหญ่อาศัยกฎของความร้อนหรือกฎการทำความเย็น 5 ข้อดังต่อไปนี้

1.1 สารทำความเย็นเมื่อถูกลดแรงดันจะทำให้เกิดการเดือด และจะดูดความร้อนจากบริเวณรอบ ๆ เข้ามาช่วยในการเดือด ทำให้บริเวณรอบ ๆ นั้นเย็นลง

1.2 สารทำความเย็นเมื่อเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊สจะดูดความร้อน และคายความร้อนเมื่อเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว

1.3 การเคลื่อนที่ความร้อนจะเคลื่อนที่จากที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า

1.4 คุณสมบัติของวัสดุที่นำมาใช้สำหรับการทำความเย็นจะต้องมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อนที่ดี

1.5 พลังงานความร้อนสามารถเปลี่ยนสลับเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ ได้

 
 

2. วัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอ (Circle of Refrigeration)

วัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอหมายถึง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารทำความเย็นระหว่างของเหลวและก๊าซ ในลักษณะเปลี่ยนแปลงสถานะกลับไปกลับมาภายในระบบที่มีการอัดไออย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด ดังแสดงในภาพ

 แสดงวัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอ

ภาพแสดงวัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอ

2.1 คอมเพรสเซอร์ดูดสารทำความเย็นเข้ามาทางท่อทางดูด (Suction Line) สถานะเป็นแก๊สความดันและอุณหภูมิต่ำ จากอีแวปปอเรเตอร์ (Evaporator) อัดสารทำความเย็นออกไปทางท่อทางอัด (Discharge Line) สถานะเป็นแก๊สร้อนความดันและอุณหภูมิก็สูง ส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condenser)
 
2.2 คอนเดนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่ระบายความร้อน รับสารทำความเย็นสถานะเป็นแก๊สร้อนความดันสูง เมื่อถูกระบายความร้อนด้วยน้ำหรืออากาศ ทำให้เกิดการกลั่นตัวเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวที่มีความดันสูง ถูกส่งเข้าไปในถังเก็บน้ำยา (Receiver Tank)
 
2.3 ถังเก็บน้ำยาซึ่งทำหน้าพักสารทำความเย็น สถานะเป็นของเหลวไว้ด้านล่างส่วนแก๊สที่ไม่กลั่นตัวจะลอยอยู่ด้านบน และสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นของเหลวจะถูกส่งไปยังตัวควบคุมสารทำความเย็น (Refrigerant Control)
 
2.4 ตัวควบคุมสารทำความเย็นจะลดความดันและปริมาณของสารทำความเย็นลง ฉีดเข้าไปในอีแวปปอเรเตอร์ ทำให้เกิดการเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส และในการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นจะดูดความร้อนจากบริเวณรอบ ๆ ทำให้บริเวณดังกล่าวเย็นลงสังเกตได้จากมีเกล็ดหิมะจับเป็นสีขาว เรียกว่า ฟรอสไลน์ (Frost Line) ในการควบคุมจะต้องควบคุมให้สารทำความเย็นเดือดและระเหยหมดพอดีในอีแวปปอเรเตอร์ กลายเป็นแก๊สที่มีความดันต่ำและถูกดูดเข้าไปยังคอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เป็นวัฏจักรอย่างนี้ตลอดไป
 

3. ส่วนประกอบเครื่องทำความเย็นแบบอัดไอ

3.1 คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นให้ไหลเวียนในระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ แบ่งตามลักษณะโครงสร้างมีดังนี้

คอมเพรสเซอร์แบบเปิด
ภาพแสดงคอมเพรสเซอร์แบบเปิด
 
คอมเพรสเซอร์แบบหุ้มปิดมิดชิด
ภาพแสดงคอมเพรสเซอร์แบบหุ้มปิดมิดชิด
 
คอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด
ภาพแสดงคอมเพรสเซอร์แบบกึ่งปิด
 

3.2 คอนเดนเซอร์ (Condenser)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สารทำความเย็นกลั่นตัวเปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลว โดยรับสารทำความเย็นสถานะแก๊สที่มีความดันและอุณหภูมิสูงจากคอมเพรสเซอร์เข้ามาแล้วระบายความร้อนกลั่นตัวเป็นของเหลว แบ่งตามลักษณะการระบายความร้อนได้ดังนี้ คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศ คอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำ และคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำและอากาศ

คอนเดนเซอร์ระบายความด้วยอากาศ
 
ภาพแสดงคอนเดนเซอร์ระบายความด้วยอากาศ
 
คอนเดนเซอร์ระบายความด้วยอากาศแบบแผ่นโลหะ

ภาพแสดงคอนเดนเซอร์ระบายความด้วยอากาศแบบแผ่นโลหะ

3.3 อุปกรณ์ลดความดัน (Metering Device)

ทำหน้าที่ ลดความดันและควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเหลวให้มีความดันต่ำลงจนสามารถเดือดเป็นไอที่อุณหภูมิต่ำในเครื่องระเหย

3.4 เครื่องระเหย (Evaporator)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นจากของเหลวกลายเป็นแก๊ส เมื่อสารทำความเย็นถูกลดความดันฉีดเข้ามาในอีแวปปอเรเตอร์ก็จะเกิดการเดือดและระเหยกลายเป็นแก๊ส ในการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นจะดูดเอาความร้อนจากอากาศที่อยู่รอบ ๆ ทำให้บริเวณนั้นเย็น

อีแวปปอเรเตอร์ตามลักษณะการทำงาน

ภาพแสดงอีแวปปอเรเตอร์ตามลักษณะการทำงาน

อีแวปปอเรเตอร์ตามลักษณะการสร้าง

ภาพแสดงอีแวปปอเรเตอร์ตามลักษณะการสร้าง

3.5 อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ

1) รีซีพเวอร์ (liquid receiver) ทำหน้าที่พักสารทำความเย็นเหลวที่ควบแน่นจากคอนเดนเซอร์ และส่งไปยังตัวควบคุมสารทำความเย็น และอีแวปปอเรเตอร์ต่อไป ติดตั้งตำแหน่งทางออกของคอนเดนเซอร์ นิยมใช้ในเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ แต่ห้ามใช้กับเครื่องทำความเย็นที่มีตัวควบคุมสารทำความเย็นแบบท่อรูเข็ม

2) ฟิลเตอร์ไดรเออร์ (Filter Drier) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและเก็บความชื้นที่ปนมากับสารทำความเย็น ติดตั้งตำแหน่งช่วงก่อนเข้าตัวควบคุมสารทำความเย็น การเลือกใช้จะต้องคำนึงถึงชนิดของสารทำความเย็นที่ใช้ในระบบ ขนาดของเครื่องทำความเย็น ขนาดท่อสารทำความเย็น และค่าความดันลด (Pressure drop) นิยมใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศทั่วไป

3) อุปกรณ์แยกน้ำมัน (Oil separator) ทำหน้าที่แยกน้ำมันหล่อลื่นที่ปนออกมากับสารทำความเย็นให้กลับไปอ่างน้ำมันหล่อลื่น สารทำความเย็นที่แยกออกจะถูกส่งไปยังคอนเดนเซอร์เพื่อไปใช้งานต่อไป ติดตั้งตำแหน่งทางออกของคอมเพรสเซอร์

4) แอคคิวมูเลเตอร์ (Accumulator) ทำหน้าที่ป้องกันสารทำความเย็นสถานะของเหลวเข้าคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากการเดือดไม่หมดที่อีแวปปอเรเตอร์ น้ำมันหล่อลื่นที่ปนอยู่กับสารทำความเย็นเหลวจะตกลงด้านล่างคอมเพรสเซอร์และถูกดูดผ่านรูเล็ก ๆ (Aspirator hole) การเลือกขนาดของอุปกรณ์แยกน้ำยาเหลวจะต้องมีความจุที่สามารถเก็บน้ำยาเหลวได้ไม่น้อยกว่า 50 % ของปริมาณน้ำยาทั้งหมดในระบบ

5) อุปกรณ์เก็บเสียง (Baffle) ทำหน้าที่ลดเสียงฉีดของสารทำความเย็นที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ และลดการสั่นของท่อสารทำความเย็น ติดตั้งตำแหน่งใกล้กับทางดูดของคอมเพรสเซอร์การติดตั้งจะต้องระวังสารทำความเย็นเหลวและน้ำมันหล่อลื่นตกค้าง ในตัวอุปกรณ์เก็บเสียง

6) อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat exchanger) เป็นอุปกรณ์ที่แลกเปลี่ยน ความร้อน ทำให้สารทำความเย็นเหลวก่อนเข้าตัวควบคุมสารทำความเย็นมีสถานะของเหลว และทำให้สารทำความเย็นมีสถานะเป็นแก๊สก่อนเข้าคอมเพรสเซอร์ ติดตั้งช่วงระหว่างไดรเออร์กับตัวควบคุมสารทำความเย็นและระหว่างอีแวปปอเรเตอร์กับคอมเพรสเซอร์โดยนำท่อน้ำยาทั้ง 2 ส่วนมาแนบสัมผัสกัน เพื่อเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับน้ำยาทั้งสองส่วนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ

 อุปกรณ์ประกอบอื่นๆของระบบทำความเย็นแบบอัดไอ

ภาพแสดงอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ

สรุปส่วนประกอบหลักของเครื่องทำความเย็นแบบอัดไอประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ อีแวปปอเรเตอร์ และอุปกรณ์เสริม ซึ่งส่วนประกอบแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันไป เช่น คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส คอนเดนเซอร์ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นจากแก๊สเป็นของเหลว อีแวปปอเรเตอร์ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะ สารทำความเย็นจากของเหลวเป็นแก๊ส และอุปกรณ์เสริมทำหน้าที่ช่วยเสริมให้วงจรน้ำยาทำงานได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นต้น

วงจรการทำความเย็นแบบบีบอัดจะมีข้อดีตรงที่ของไหลที่ถูกบีบอัดสูงมาก ณ อุณหภูมิค่าหนึ่งนั้นจะเย็นลงก็ต่อเมื่อยอมให้ มีการขยายได้อีก ถ้าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมีค่าสูงเพียงพออากาศที่ถูกบีบอัดนี้จะร้อนมากกว่าแหล่งทำความเย็น ภายนอก (ตัวอย่างเช่น อากาศภายนอก) และก๊าซที่ขยายตัวจะเย็นลงมากกว่าค่าอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ในกรณีเช่นนี้อากาศจะถูกใช้ไปในการทำให้พื้นที่ว่างเย็นลงไปแล้วกำจัดความร้อนไปยังสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า

วงจรการทำความเย็นแบบบีบอัดไอน้ำจะมีข้อดีอยู่ 2 ประการ อย่างแรกคือมีความต้องการใช้พลังงานความร้อนไปเปลี่ยนของเหลวให้เป็นไอน้ำ เพราะฉะนั้นจึงสามารถขจัดความร้อนในพื้นที่ว่างที่มีการปรับอากาศได้ อย่างที่สองก็คือ ธรรมชาติของการแบ่งแบบความร้อนเท่ากันจะยอมให้มีการถอนความร้อนออกโดยไม่มีการเพิ่มอุณหภูมิของของไหลที่ใช้ทำงานต่ออุณหภูมิของอะไรก็ตามที่กำลังถูกทำให้เย็นนั่นหมายความว่าการถ่ายเทความร้อนจะอยู่ในอัตราที่สูง เพราะว่าถ้าหากอุณหภูมิของของเหลวที่ใช้งานอยู่มีค่าใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมก็จะทำให้มีอัตราการถ่ายเทความร้อนลดลง

สนใจสอบถามเกี่ยวกับระบบความเย็น งานติดตั้ง ซ่อมแซม ปรับปรุง ติดต่อ

P.P. COOLING (ไพจิตร เครื่องเย็น)
14/1 หมู่ 4 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
โทร : 097-091-7997, 081-172-3181



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 16 December 2020 03:22
เกศา ก้านแก้ว

Author : ติดตามนำเสนอข่าวท่องเที่ยวเศรษฐกิจ สาธารณสุข เพื่อคุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว วาไรตี้ งานบริการ เป็นนักสื่อมวลชนดิจิตอล มีประสบการณ์ในสนามข่าวมากกว่า 10 ปี

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM