สวัสดี

การจัดทากลยุทธ์ทางธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร กรณีศึกษา บริษัทผลิตแป้งข้าว

แชร์:
Favorite (38)

30 กันยายน 2557

การจัดทากลยุทธ์ทางธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร กรณีศึกษา บริษัทผลิตแป้งข้าว
ประเภทธุรกิจ : อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ผลิตภัณฑ์ : แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว
รูปแบบการผลิต : Make to Stock
ช่องทางการจาหน่าย : ภายในประเทศ 90% ส่งออก 10%
กรอบการทาธุรกิจ : ผู้ผลิตและจาหน่าย แป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว
เป้าหมายหลัก : ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดในอนาคต

การวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรม
    การจัดทาแผนกลยุทธ์ในแต่ละบริษัทจาเป็นต้องพิจารณาปัจจัยภายในและภายนอกของบริษัทให้กระจ่าง พร้อมทั้งผู้บริหารต้องมีภาพเป้าหมายอนาคตที่ชัดเจน จึงจะสามารถกาหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับ
บริษัทได้ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือการวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมที่แต่ละบริษัทอยู่จาเป็นต้องวิเคราะห์ให้ตรงประเด็น ตรงกับกลุ่มลูกค้าที่แท้จริงของบริษัท ครอบคลุมตั้งแต่ supplier ของบริษัท จนถึงลูกค้าปลายทางของบริษัท ซึ่งตรงกับคาสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขา”
ข้อมูลปัจจุบันของสถานประกอบการและรูปแบบโมเดลธุรกิจ
    หลักการในการวิเคราะห์สถานประกอบการ เราได้ใช้แนวทางของ Shindan ซึ่งอาศัยหลัก 3 จริงในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลจริง สถานที่จริงและเหตุการณ์จริง โดยสะท้อนผลออกมาใน 2 มุมมองคือ
1. ระบบงานที่ทาจริง หมายถึง วิธีการทางาน การสื่อสารที่ปัจจุบันทาอยู่จริงว่ามีรูปแบบการทางานอย่างไร กรณีการทางานในสถานประกอบการเป็นแบบตัดสินใจด้วยตัวผู้ประกอบการหรือผู้จัดการ โดยไม่มีเอกสารใดๆ ช่วยเป็นการตัดสินใจเองโดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัว เราจะไม่ใช้คาว่า “ไม่มีระบบ”แต่จะอธิบายวิธีการทางานให้เห็นภาพว่าทาอย่างไร เช่น ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตัวเองโดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัว เป็นต้น
2. ผลการดาเนินงานที่แท้จริง หมายถึง การสะท้อนผลการทางานในเชิงตัวเลข กราฟหรือตารางแทนการใช้ความรู้สึก เนื่องจาก คาว่า “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เป็นคาพูดแสดงความรู้สึก ซึ่งค่าของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน และอาจก่อให้เกิดความลาเอียงเกิดขึ้นในการวิเคราะห์
เมื่อทาการศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการเรียบร้อยแล้ว เราจะนาข้อมูลดังกล่าวมาใส่ในโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า Business Model Canvas (BMC) เพื่อให้ทราบถึงรูแบบโมเดลธุรกิจที่ทางสถานประกอบการดาเนินการอยู่
SWOT ความสัมพันธ์ของปัญหา
    ในการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจาเป็นต้องทราบจุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-ภัยคุกคามของสถานประกอบเพื่อนามาวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริง ว่าเกิดจากจุดใด รูปแบบธุรกิจที่วางไว้สามารถตอบเป้าหมายทางธุรกิจของผู้บริหารในตอนนี้ได้หรือไม่ เครื่องมือพื้นฐานที่จาเป็นการวิเคราะห์ได้แก่ SWOTAnalysis และ Business model Canvas (BMC) โดยนาเป้าหมายทางธุรกิจของผู้ประกอบการมาเป็นโจทยในการวิเคราะห์เรามาทาความเข้าใจกับเครื่องมือการวิเคราะห์ SWOT Analysis ซักเล็กน้อย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของสถานประกอบการ โดยอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อสถานประกอบการ ซึ่งหลักการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของสถานประกอบการ
เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรนามาเปรียบเทียบกับคู่เทียบที่เหมาะสม คู่เทียบควรมีขนาดธุรกิจใกล้เคียงกัน มีกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน การจะวิเคราะห์เป็นจุดแข็งได้แสดงว่าปัจจัยภายในหัวข้อนั้นต้องโดดเด่นกว่าคู่เทียบของเรา ในขณะเดียวกัน จุดอ่อนคือปัจจัยภายในหลักที่เราแย่กว่าคู่เทียบ แต่ถ้ามีปัจจัยภายในเหมือนกันทั้งคู่เราจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนได้
การกาหนดกลยุทธ์
    การกาหนดกลยุทธ์เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจเป็นการกาหนดแบบแผนทางการดาเนินงานของสถานประกอบการให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับสถานประกอบการและพนักงานในส่วนต่างๆ สามารถทางานประสานงานในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่างลงตัว การกาหนดกลยุทธ์มีเป้าหมายเพื่อขจัดจุดอ่อนและภัยคุกคามที่มีต่อสถานประกอบการและสามารถนาจุดแข็งและโอกาสทางธุรกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เครื่องมือที่ช่วยในการกาหนด กลยุทธ์คือ TOWS MATRIX ซึ่งเครื่องมือตัวนี้เป็น
การนาผลการวิเคราะห์ รากเหง้าของปัญหามาผนวกกับ SWOT แล้วนามา CROSS ระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
รูปแบบโมเดลธุรกิจในอนาคต และ Road Map
    การจะทาให้ได้ตามโมเดลธุรกิจใหม่จาเป็นต้องมีการจัดทาโครงการย่อยภายในสถานประกอบการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงและจาเป็นต้องกาหนดกรอบระยะเวลาในการดาเนินกิจกรรมต่างๆ ว่าควรเริ่มทากิจกรรมใดก่อนหลัง เพื่อที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้นทุนต่าสุดและจัดเป็นแผนที่ในการติดตามการเปลี่ยนแปลง สาหรับผู้บริหารในการตรวจติดตามและช่วยให้พนักงานเห็นลาดับงานความเกี่ยวข้องของแต่ละโครงการได้ชัดเจนมากขึ้น เครื่องมือที่มักใช้ในการกาหนดกรอบและลาดับงานของแต่ละโครงการ มักใช้BUSINESS DEVELOPMENT ROAD MAP เป็นตัวกาหนดแนวทางเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทางธุรกิจ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527