fbpx

แนะนำ ปริมาณผลไม้ ที่ควรกินหนึ่งวัน

ปริมาณผลไม้ ในหนึ่งวันควรกินเท่าไรดี? คำแนะนำการกินผลไม้อย่างง่าย ๆ คือการกินผลไม้ปริมาณต่อครั้งก็มีผลต่อสุขภาพเช่นกัน ท่องไว้เลยว่า “กินครั้งละ 1 กำปั้นมือตัวเอง และซ้ำวันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น”

ถ้าเราจะพูดถึงแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้น คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ย้ำว่า ทั่วโลก !!! ต่างก็ต้องพูดถึง ‘การบริโภคผักและผลไม้ให้เพียงพอ’ เป็นแน่แท้ และเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลไม้เป็นอาหารที่นิยมกินกัน แถมยังผูกด้วยประวัติศาสตร์มากมายทั่วโลก แต่เราจะไม่ได้คุยกันเรื่องประวัติศาสตร์ผลไม้ครับ วันนี้จะขอยกเรื่องผลไม้ที่กินง่ายกว่าผักมาคุยกันก่อนครับ

แม้ผลไม้จะได้ชื่อว่า เป็นอาหารที่ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี แต่การกินผลไม้ครั้งละมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี

ผลไม้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ในการต้านโรคและความเสื่อมของร่างกายผ่านกลไกต่างๆ แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยเห็นกรณีของคนที่ “อ้วน” เพราะผลไม้ อยากออกตัวก่อนเลยว่าอย่าโทษผลไม้เลย ประเด็นที่ควรให้ความสนใจคือ ปริมาณการกินต่อครั้งของผลไม้มากกว่า

ทำไมถึงควรควบคุม ปริมาณผลไม้ ที่ควรกินต่อครั้ง ?

1.อย่างไรก็ดีผลไม้ก็มีส่วนของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ซึ่งหากได้รับมากเกินไปย่อมมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว ซึ่งนักกำหนดอาหารและนักโภชนาการก็มีคำแนะนำในการบริโภคผลไม้ให้เหมาะสมง่ายๆ ดังนี้

2. ผลไม้แบบต้องหั่นกิน เช่น มะม่วง มะละกอ แตงโม ให้รับประทานครั้งละ 7 ชิ้นคำ ย้ำ !!! 7 ชิ้นคำ เพราะผลไม้พวกนี้ปกติคนไทยจะหั่น “หมดลูก” (ไม่ก็หมดถุงๆละ 4 ลูก) พร้อมเทลงกล่องพลาสติกถนอมอาหาร และกินครั้งละ 1 กล่อง หรือจนกว่ารายการทีวีที่ดูอยู่จะจบ (ซึ่งมากเกินไปครับ)

3.ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย เงาะ มังคุด ให้รับประทานครั้งละ 1 มือหยิบ เช่น หยิบเงาะ 1 กำมือจะได้ 3-4 ลูก เช่นเดียวกับมังคุด ส่วนทุเรียนจริงๆ แล้วควรรับประทานครั้งละ 1 เม็ด ซึ่งหลายคนน่าจะประท้วง จึงขออะลุ่มอล่วยเป็น 1 พูก็พอครับ

ดังนั้นโดยสรุปคือ

“ผลไม้เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง หากล้างให้สะอาดเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดจากยาฆ่าแมลงและสารเคมีแล้ว ก็อย่าลืมว่าปริมาณที่บริโภคต่อครั้งก็มีผลต่อสุขภาพเช่นกัน ท่องไว้เลยว่า “กินครั้งละ 1 กำปั้นมือตัวเอง และซ้ำวันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น”

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

อ้างอิง

1.รายการอาหารแลกเปลี่ยน, รุจิรา สัมมะสุต (2544)

ส่งข้อความถึงเรา