แบบไหนถึงเรียก”ร้านอาหาร” Which one is a Restaurant?

หากจะเรียกสถานที่ ที่มีอาหารขายว่าร้านอาหารแล้ว

เราก็จะพบว่า ทุกตรอกซอกซอย ล้วนแล้วมีร้านอาหารเต็มไปหมด ตั้งแต่ รถเข็นริมถนน บนฟุตบาท เพิงสังกะสีข้างทาง ตึกแถวหนึ่งคูหาขึ้นไป จนกระทั้งร้านที่ก่อร่างสร้างขึ้นมาเพื่อทำเป็นร้านอาหารให้บริการอย่างจริงจัง

แล้วร้านอาหารจริงๆเป็นอย่างไร ละ

 

Restaurant-22

ภัตตาคารหรือร้านอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความว่า สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายถึง

“อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันทีทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม”

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สถานที่จำหน่ายอาหาร คือร้านอาหาร

และที่สำคัญต้องเป็นร้านอาหารในที่เอกชนที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะ และต้องมีบริเวณปรุงอาหาร ซึ่งจะมีที่รับประทานอาหารหรือไม่ก็ได้

รายงานสรุปผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานทางสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2532 โดยสำนักงานโครงการสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการให้ความหมายของร้านอาหารประเภทต่าง ๆ โดยจำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ

  • ห้องอาหารในโรงแรม หมายถึง ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม ดังนั้นรายการอาหาไทยที่มีบริการในโรงแรมอาจจำเป็นพิถีพิถันในการหาวัตถุดิบ และการปรุงอย่างสมแก่ระดับของโรงแรม เช่น ห้องอาหารไทย ในโรงแรมห้าดาวชื่อดังต่างๆ
  • ภัตตาคาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ 2 คูหาขึ้นไป ที่รับประทานอยู่ภายในอาคาร พนักงานแต่งกายมีแบบฟอร์ม เช่น ภัตตาคารอาหารจีน เชียงการีล่า
  • สวนอาหาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่รับประทานอาหารส่วนใหญ่อยู่นอกอาคารบรรยากาศเป็นแบบธรรมชาติพนักงานแต่งกายมีเครื่องแบบหรือที่เรียกว่า “แบบฟอร์ม” เช่น สวนอาหารนาทองที่ถนนรัชดา-เหม่งจ๋าย
  • ร้านอาหารทั่วไป หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดเล็ก 1-2 คูหา รับประทานอาหารส่วนใหญ่อยู่ภายในอาคาร และประเภทอาหารที่จำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นอาหารประจำถิ่นหรือเป็นอาหารเฉพาะ เช่น ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่  ข้าวหมูแดง  ส้มตำ ฯลฯ
  • ร้านเครื่องดื่ม ขนมหวานหรือไอศกรีม หมายถึง ร้านที่จำหน่ายเฉพาะเครื่องดื่ม ขนมหวาน หรือไอศกรีม เช่น After you  Starbucks

 

มาถึงคำว่า Restaurant กันบ้าง ทำไมถึงใช้คำนี้แทนร้านอาหาร

คำว่า”restaurant” มากจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึง การให้กำลังงาน (restorer of energy) โดยใช้คำนี้มาตั้งแต่ต้นศริสต์ศักราช 1700 (ประมาณ พ.ศ. 2243) เพื่ออธิบายถึงสถานที่ให้บริการซุปและขนมปัง เดนนิส เอล ฟอสเตอร์ ได้กล่าวว่า “restaurant” มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า”restaurabo” แปลว่า”ฉันมาเติมให้เต็มหรืออิ่มหน่ำ”

อ่านแล้ว เห็นภาพกันเลยใช่ไหมครับ

มาถึงการแบ่งประเภทร้านอาหาร ในรูปแบบอื่นๆ สามารถแบ่งได้ตาม ลักษณะการให้บริการได้ เช่น

  • Full service ที่มีพนักงานให้บริการ ทุกขั้นตอน
  • Semi service ที่ลูกค้าอาจจะต้องไปจ่่ายเงินที่แคชเชียร์เอง หรือ ไปสั่งอาหารที่เคาเตอร์รับเบอร์หรือป้ายแล้วนั่งรอที่โต๊ะ
  • และแบบ Self service ที่ ลูกค้า เดินไปสั่งอาหาร หาที่นั่งเก็บจานเอง แบบใน fast food ทั่วไป

นอกจากรูปแบบการให้บริการแล้ว เรายังจะพบ การแบ่งประเภทร้านอาหาร ได้อีกตาม จุดมุ่งหมายของกิจการ และตามประเภทของธุรกิจ

  • เช่น จุดมุ่งหมายของกิจการร้านอาหาร ที่แสวงหากำไร หรือเป็นร้านอาหารที่ให้สวัสดิการแก่บุคคลากรในองค์กร หรือบริษัท ต่างๆ ราคาขายและการให้บริการแก่ลูกค้าก็จะแตกต่างกันไป
  • และการแบ่งตามประเภทของธุรกิจ สามารถแบ่งเป็น สองแบบง่ายๆคือ ดำเนินกิจการโดยผู้ประกอบการอิสระ และ ดำเนินการในระบบเฟรนไชส์

จากข้อมูลเบื้องต้น ทำไมเราจึงต้องสนใจ ประเภทของร้านอาหารกันด้วยละ

เพราะว่า ร้านอาหารแต่ละประเภทมีรูปแบบที่แตกต่างกัน

ลักษณะการให้บริการ อาหาร ราคา และความคาดหวังของลูกค้าแตกต่างกันมาก

ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงร้านอาหารที่ตนสนใจหรือกำลังดำเนินกิจการอยู่ว่า

ร้านของเรานั้น ได้เดินไปในทิศทางที่ควรจะเป็น แล้วหรอยัง

และที่สำคัญคือเป็นไปตามที่ลูกค้ามุ่งหวังหรือเปล่า

“เพราะคนที่ตัดสินอนาคตของร้านอาหารตัวจริงนั้นคือลูกค้านั่นเอง “

 

ติดตามภาคต่อ แบบไหนถึงเรียก ร้านอาหาร Which one is a restaurant? ในประเภทของลักษณะสถานประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในตอนหน้าเร็วๆนี้ครับ

 

 

อ่านเพิ่ม เรื่องราวของร้านอาหารได้จากที่นี่ ร้านอาหาร Restaurant

 

 

 

Leave a comment