มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) : สาเหตุ แนวทางแก้ไข

มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) : สาเหตุ แนวทางแก้ไข

03.06
16717
0

มลพิษทางอากาศ คืออะไร

มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือ การเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก มลพิษทางอากาศนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคที่เกิดขึ้นกับคนเราได้เช่นกัน  และมลพิษทางอากาศทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น สัตว์ พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย

มลพิษทางอากาศ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพโดยตรง ซึ่งอาจจะส่งผลทันทีหรือส่งผลในระยะยาวได้ เมื่อเราหายใจเอาสารพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ สารพิษจะแพร่กระจายจากปอดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดเข้าขัดขวางการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและโรคภัยต่างๆ และอาจจะ เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคปอดได้

ปัญหามลพิษทางอากาศ

สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ขณะเดียวกันมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากมีผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ประกอบกับปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็วและยังส่งผล

กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดปัญหามลพิษ(Pollution) ในสิ่งแวดล้อม

ปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

ยานพาหนะ 

ในบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิดจาก การคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

โรงงานอุตสาหกรรม

มลพิษทางอากาศจากแหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง

เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล และเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG

มลพิษสิ่งแวดล้อม

มลพิษทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทำให้มีลักษณะหรือสมบัติแตกต่างไปจากเดิมหรือจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลให้ใช้ประโยชน์ได้น้อยหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และมีผลเสียต่อสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ป่าไม้อาจถูกทำลาย ความชื้นของอากาศก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งในปัจจุบันนี้เราพบว่า มนุษย์มีส่วนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก การกระทำเหล่านั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพอากาศทั้งสิ้น คือ การทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก

มลภาวะทางอากาศ

มลภาวะทางอากาศ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ รถยนต์ การเผาขยะมูลฝอย การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ขี้เถ้า และออกไซด์ของโลหะ เป็นต้น

การฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและอนุภาคต่างๆ จากกิจกรรมผสม บด โม่ การก่อสร้าง และการขนส่งวัสดุและสินค้า

โรงงานอุตสาหกรรมผลิตหรือแปรรูปวัตถุดิบ ได้แก่ การผลิตสารเคมี กระดาษ ปุ๋ย เหล็กกล้า อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งอาจมีการปล่อยสารพิษออกมาเช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ออกไซต์ของซัลเฟอร์แอมโมเนีย ไออตะกั่ว สารหนู เป็นต้น

การเกษตร เช่น การเผาพื้นที่ทำการเกษตร การฉีดพ่นสารเคมี ทำให้เกิดสารมลพิษจำพวก สารหนู สารตะกั่ว ควัน และขี้เถ้า เป็นต้น

เตาปฏิกรณ์ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น ทำให้เกิดฝุ่นละอองของยูเรเนียม

แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ เช่น ไฟป่า การเกิดปฏิกิริยาชีวเคมี ได้แก่ การเน่าเปื่อยและหมักของสารอินทรีย์ในน้ำ ดิน จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย เป็นต้น

ผลกระทบมลพิษทางอากาศ

สถานที่กำลังประสบปัญหากับมลพิษทางอากาศเหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบหายใจ มะเร็งผิวหนัง ระบบประสาท โรคภูมิแพ้ โรคทรวงอก เยื่อบุตาอักเสบ และเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ตลอดจนเสียชีวิตได้ และอาจสะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมลสารแต่ละชนิดจะเป็นผลกระทบต่อสุขภาพต่างกัน

สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ บางชนิดคงตัวอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานาน และแพร่กระจายออกไปได้ไกล บางชนิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันและเกิดเป็นสารใหม่ที่เป็นอันตราย

ทำให้เกิดฝนกรด โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีสารกำมะถันเจือปน เมื่อทำปฏิกิริยารวมตัวกับน้ำและกลั่นตัวเป็นฝน จะมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งก่อสร้าง

ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ออกไซด์ของไนโตรเจน โอโซน และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) เมื่อลอยขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จะปกคลุมมิให้รังสีความร้อนจากผิวโลกระบายขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงขึ้นได้ ทำให้เกิดการสะสมความร้อนของผิวโลก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ปากใบปิดไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำได้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในที่สุด

Air Pollution

ตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมาก   และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้แทน โดยก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากขึ้น มลพิษของสิ่งแวดล้อม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ อันเป็น ผลมาจากการกระทําของมนุษย็ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และความสมบูรณ็ของสิ่งมีชีวิต มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ หรือผ่านมาทางน้ำ ผลิตผล จากพืชและสัตว์ 

  1. ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เป็นต้น 
  2. ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหญ่ 
  3. ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร 
  4. ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชนและเมืองต่าง     ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ 
  5. ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล 
  6. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน 
  7. ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน 
  8. ปัญหาคุณภาพและการกระจายตัวของประชากร

สาเหตุมลพิษทางอากาศ

การเผาไหม้ของกิจกรรมต่างๆ เช่น การเผาขยะ เครื่องรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการใช้ถ่ายเป็นเชื้อเพลิง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดก๊าซต่างๆ ควัน ขี้เถ้า และออกไซด์ของโลหะ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ช้า มีการหยุดและออกตัวอยู่บ่อยๆ น้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ และมีการระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นบริเวณที่ใกล้ถนนที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่า ในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว  

การกระจายของฝุ่นละอองต่างๆ เกิดจากการขนส่งและผสมวัสดุก่อสร้างต่างๆ

โรงงานอุตสาหกรรมหรือแปรรูปวัตถุดิบ เช่นการผลิตสารเคมี กระดาษ ปุ๋ย เหล็กกล้า อลูมิเนียม สารมลพิษบนอากาศเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงและเกิดจากกระบวนการการผลิตต่างๆ 

มลพิษ หมายถึง

มลพิษ  หมายถึง   ความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่นในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ ที่มนุษย์กระทําทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ปล่อยของเสียซึ่งไม่ พึงปรารถนาเข้าไปหมักหมมในบรรยากาศ พื้นดินและในน้ำ มีผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง 

สภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ เคมี หรือชีวะในดิน หรืออากาศ อันจะยังผลให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือ ทรัพย์สิน อีกทั้งสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์พึงประสงค์ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อม รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสงเสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน 

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

มลพิษทางอากาศเกิดผลเสียหลายอย่าง ทั้งทางตรงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และทางอ้อมซึ่งได้แก่ ทำให้เกิดการบดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นโลก หรือการทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้น เกิดพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง การระคายเคืองตา จมูก และคอ แน่นหน้าอก ไอ เกิดอาการเจ็บปวดเมื่อหายใจ เพิ่มความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 

มลภาวะทางดิน

มลพิษทางดิน หมายถึง ดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิมและหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ภาวะที่ดินมีมวลสาร สารพิษ หรือสารปนเปื้อน ซึ่งเกิดจากการเติมหรือทิ้งสิ่งต่างๆ ลงในดินเกินค่ามาตรฐาน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การกำจัดสารพิษด้วยการฝังดิน ตลอดจนการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ โดยการทิ้งบนดิน เป็นสาเหตุให้ดินมีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

ใส่ปุ๋ยลงในดิน สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก็คือ การสะสมของสารเคมีโดย เฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม การสะสมนี้อาจถึงขั้นเป็นพิษได้ ปุ๋ยบางชนิดที่นิยมใช้กันมาก เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต จะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลาย ในปฏิกิริยารีดักชันได้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ ของรากพืช ทําให้ดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ได้น้อยลง ปุ๋ยเคมีและสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืช การทำไร่ฝ้าย ต้องใช้ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลง

เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยางรถยนต์ พลาสติก บรรจุภัณฑ์ ซึ่งสลายตัวยาก มีความทนทานต่อน้ำ แสงแดด และอากาศ จึงตกค้างอยู่ในดิน และน้ำ

วิธีแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

ควบคุมเทคโนโลยีการใช้และการแปรรูปให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้เกิดของเสียและมลสารน้อยที่สุด

ไม่ใส่มลสารเข้าสู่ขบวนการใช้และการแปรรูป แต่ถ้าจําเป็นต้องควบคุมปริมาณทั้งที่ใช้ และการแปรรูป แต่ถ้าจําเป็นต้องควบคุมปริมาณทั้งที่ใช้ให้อยู่กว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ควบคุมปริมาณการใช้ทรัพยากรให้พอเหมาะพอดี โดยส่วนที่เหลือจะต้องทําหน้าที่ได้เท่ากับปริมาณที่มีตามปกติ

เมื่อใดก็ตามที่จะมีการใช้ทรัพยากรอย่างหนึ่ง แล้วส่งผลกระทบกับอีกทรัพยากรหนึ่งต้องไม่ทําให้ของเสียหรือมลสาร มีพิษต่อทรัพยากรนั้น ๆ เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหินลิกไนต์ต้องไม่ให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์ มีค่าเกินมาตรฐาน

ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกัน พร้อมทั้งระบุโทษให้ประจักษ์ชัดตามความรุนแรงของการกระทํา การแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม

แนวทางแก้ไขมลพิษทางอากาศ

ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มีมลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ

เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษทางอากาศจากโรงงาน

สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงานเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง

ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลักวิชาการ เพื่อลดการเผาขยะในที่โล่ง

ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า

ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลด ภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน

ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC ) เป็นต้น

สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน

รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ

ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

Комментарии (0)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *