ดูแลยานยนต์

พฤติกรรมต้องห้ามและควรระวัง! เมื่อใช้งานรถยนต์แบบเกียร์ออโต้

ผู้เขียน : korkong

Writer ที่อยากเขียนทุกเรื่องราวบนโลก เพื่อหวังจะยกระดับความรู้ในสมองให้เติบโตอย่างช้าทีละนิด ชื่นชอบเทคโนโลยี ความสมัยใหม่ พร้อมอัปเดตทุกอย่างให้โลกได้รู้ผ่านสมองและสองมือ

Published February 16, 2023
สิ่งที่ควรระวังเมื่อใช้งานรถยนต์เกียร์ออโต้

สมัยนี้คงเป็นที่ทราบกันดีว่ารถยนต์มีเกียร์สองประเภท คือ เกียร์ธรรมดาและเกียร์ออโต้ แต่ในปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่มักเป็นเกียร์ออโต้กันทั้งสิ้น เนื่องด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน สามารถเรียนรู้และเข้าใจการใช้ได้ง่าย แม้แต่นักขับมือใหม่ก็สามารถขับได้ง่ายๆ ไม่ต้องมาเหยียบคลัทช์ให้เสียเวลาและเสียอารมณ์ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เกียร์ออโต้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม แต่จุดอ่อนของระบบเกียร์อัตโนมัติอย่างหนึ่ง ก็คือ ‘ความทนทาน’ ที่ยังไงก็สู้เกียร์ธรรมดาไม่ได้ แม้ว่าจะพัฒนาให้ก้าวล้ำไปแค่ไหน และยังมีอีกหลายคนที่ยังใช้เกียร์ออโต้อย่างผิดวิธี มาดูว่าเพื่อนๆหรือใครหลายๆคนเคยทำพฤติกรรมเหล่านี้บ้างหรือไม่

1. หากต้องการให้รถไหลใช้เกียร์ N

สำหรับคนที่เคยใช้เกียร์ธรรมดาหรือเกียร์กระปุกมาก่อน อาจเคยชินกับการเข้าเกียร์ว่างหรือเกียร์ N แล้วปล่อยให้รถไหล แต่สำหรับการขับเกียร์ออโต้แล้วเป็นพฤติกรรมที่ผิดอย่างร้ายแรง เพราะชุดเกียร์จะประกอบไปด้วยฟันเฟืองที่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้ฟันเฟืองหมุนตลอดเวลา แต่เมื่อใช้เกียร์ N น้ำมันหล่อลื่นจะไม่ออกมา แต่ในเมื่อรถยังไหลอยู่ทำให้ฟันเฟืองยังคงหมุนต่อไป ทำให้เกิดความร้อน และก่อให้เกิดการสึกหรอในระยะยาว

2. หากรถติดไฟแดงให้เข้าเกียร์ P

ถึงแม้ว่าเกียร์ P และเกียร์ N ต่างใช้ในขณะที่รถหยุดนิ่งเช่นเดียวกัน แต่เกียร์ P นั้นจะใส่สลักล็อคชุดเกียร์ไม่ให้ขยับไว้อีกด้วย ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุรถมาชนท้ายขณะใช้เกียร์ P จะทำให้เกิดความเสียหายกับชุดเกียร์ทั้งชุด รวมถึงทำให้เกิดความเสียหายจากการชนรุนแรงมากกว่าเดิมอีกด้วย ดังนั้นการใช้เกียร์ P ควรใช้ขณะที่รถจอดหยุดนิ่งเพื่อลงจากรถ และไม่ควรใช้ในขณะติดไฟแดงเป็นอย่างมาก

3. เร่งรถโดยการเหยียบคันเร่งแล้วค่อยเข้าเกียร์ D

คงเป็นที่ทราบกันที่ว่าการใช้เกียร์ D ไว้สำหรับให้รถเคลื่อนไปข้างหน้า แต่หลายๆคนก็ยังใช้ผิดวิธี โดยการเหยียบคันเร่งในขณะที่อยู่เกียร์ N แล้วค่อยเลื่อนไปที่เกียร์ D เพื่อให้รถพุ่งออกไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ผิดมหันต์ เนื่องจากจะทำให้ชุดเกียร์และเพลาขับเกิดความเสียหายในระยะยาว

4. ลากรถโดยไม่ยกล้อหน้า

การลากรถเกียร์อัตโนมัติ จำเป็นต้องยกล้อขับเคลื่อนขึ้นไม่ให้มีการหมุน เช่น หากเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า ต้องยกล้อหน้าขึ้นเหนือพื้น ปล่อยหมุนได้เฉพาะล้อคู่หลังเท่านั้น เนื่องจากการลากรถส่วนมากมักไม่ติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ จะทำให้ปั๊มน้ำมันเกียร์ไม่ทำงาน ส่งผลให้ชุดเฟืองภายในห้องเกียร์เกิดการเสียดสีรุนแรง และทำให้ความร้อนสูง ซึ่งหากลากเป็นระยะทางยาวๆ จะทำให้เกิดความร้อนและความเสียหายต่อฟันเฟืองได้

5. คิกดาวน์บ่อย ถอยอายุเกียร์

เกียร์อัตโนมัติจะมีระบบคิกดาวน์สำหรับการเร่งแซง โดยการกดคันเร่งให้มีน้ำหนักมากขึ้น เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดต่ำลง เพื่อเรียกกำลังเครื่องยนต์ให้รถพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แต่หากคิกดาวน์กันบ่อยๆ ชุดเกียร์ต้องคอยรองรับแรงบิดที่เพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใดอยู่เสมอ ส่งผลให้อายุการใช้งานชิ้นส่วนภายในชุดเกียร์สั้นลงนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ยังคงเป็นที่เข้าใจผิดของใครหลายๆคน สำหรับใครที่เคยทำควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถเพื่อรถยนต์ที่เรารักให้อยู่กับเราไปอีกนาน และถ้าจะให้ดีกว่าเดิม เราควรดูแลความปลอดภัยทั้งรถกับคนผ่านการซื้อประกันรถยนต์สักตัวหนึ่ง ซึ่งถ้าใครยังไม่มียริษัทประกันในใจ มาลองให้เอเชียไดเร็ค โบรคเกอร์ช่วยแนะนำดีกว่า โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปเปรียบเทียบผ่านหน้าเว็บ https://asiadirect.co.th/ หรือโทรติดต่อ 02-089-2000

บทความดูแลยานยนต์
Rabbit Care Blog Image 1051

ดูแลยานยนต์

ถุงลมนิรภัย คือ อะไร ใช้งานเมื่อไหร่ ต้องเปลี่ยนไหม แล้วมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นของถุงลมนิรภัยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1971 ที่ทางบริษัทฟอร์ดได้สร้างรุ่นทดลองขึ้นมาวิจัย
คะน้าใบเขียว
clock icon01/02/2024
Rabbit Care Blog Image 1047

ดูแลยานยนต์

Crossover คือ รถอะไร แล้วมีความแตกต่างจากประเภทอื่นอย่างไรบ้าง

พอพูดถึงประเภทรถยนต์ที่คุ้นหูในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นรถ SUV, Sedan, Hatchback หรือ Crossover อย่างแน่นอน ซึ่ง 3 ประเภทแรกที่เรากล่าวมา มันก็มีความชัดเจนอยู่แล้วภายใต้ชื่อรุ่น
คะน้าใบเขียว
clock icon30/01/2024
Rabbit Care Blog Image 1024

ดูแลยานยนต์

ไฟตัดหมอกมีความสำคัญอย่างไร และแยกออกเป็นกี่ประเภท

โดยปกติแล้วคนที่ซื้อรถยนต์ในปัจจุบันจะมีไฟตัดหมอกติดตั้งมาให้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพียงแต่บางคนอาจไม่ทราบข้อมูลอย่างแท้จริงว่าไฟตัดหมอก คือ อะไร
คะน้าใบเขียว
clock icon25/01/2024