The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อินทิรา อินอ่อน, 2023-09-14 00:10:31

เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน Digital Media Technology in Everyday Life


ค ำน ำ เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชา สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน (Digital Media Technology in Everyday Life) รหัสวิชา 9132202 ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป การเรียนการสอนในรายวิชานี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการเรียนในห้องเรียนที่อาศัยการศึกษาจาก เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ ประกอบด้วยบทเรียนจ านวนทั้งสิ้น 12 บท และส่วน ที่สองเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบบทเรียนออนไลน์ เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถฝึกฝน และน าไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและใน ชีวิตประจ าวัน หรือการประกอบอาชีพได้ในอนาคต คณะผู้จัดท า เข้าใช้งานบทเรียนออนไลน์ที่เว็บไซต์ http://animation.bsru.ac.th/digital


สารบัญ บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ....................................................................1 1.1 ความหมายของสื่อดิจิทัล......................................................................2 1.2 การเข้ารหัสแบบดิจิทัล.........................................................................3 1.3 รูปแบบของสื่อดิจิทัล............................................................................6 1.4 องค์ประกอบของสื่อดิจิทัล....................................................................8 1.5 ข้อดี-ข้อจ ากัดของสื่อดิจิทัล................................................................10 1.6. แนวโน้มสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน ..............................................................11 1.7 การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล..........................................................................15 บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล.............................................................................21 2.1 วิวัฒนาการของสื่อดิจิทัล....................................................................22 2.2 รูปแบบของสื่อดิจิทัลส าหรับการผลิต.................................................24 2.3 อุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลและเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล................29 2.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างสื่อดิจิทัล....................................................34 บทที่ 3 อินเทอร์เน็ตและเครือข่าย...................................................................43 3.1 บริการอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน.............................................................43 3.2 เทคโนโลยีเบื้องต้นของอินเทอร์เน็ต....................................................47 3.3 วิธีการใช้งานข้อมูลมือถือและไว-ไฟ....................................................53 3.4 เครือข่ายคอมพิวเตอร์.........................................................................58 บทที่ 4 สื่อสังคมออนไลน์................................................................................65 4.1 ลิงค์อิน................................................................................................65 4.2 เฟสบุ๊ค................................................................................................68 4.3 ทวิตเตอร์............................................................................................71 4.4 อินสตราแกรม.....................................................................................72 4.5 ยูทูป....................................................................................................73 4.6 เว็บบล็อก............................................................................................75


vi บทที่ 5 คลาวด์คอมพิวติ้ง...............................................................................85 5.1 ลักษณะที่ส าคัญของคลาวด์คอมพิวติ้ง................................................87 5.2 รูปแบบของคลาวด์คอมพิวติ้ง.............................................................88 5.3 รูปแบบการใช้งานคลาวด์คอมพิวติ้ง...................................................89 5.4 ประโยชน์ของการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง................................................91 5.5 ข้อควรระวังในการใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง..............................................92 5.6 การประยุกต์ใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง........................................................93 บทที่ 6 ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีดิจิทัล..................................................101 6.1 การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนอย่างปลอดภัย...........................102 6.2 อันตรายเรื่องข้อมูลส่วนตัว...............................................................104 6.3 อันตรายจากข้อมูลต าแหน่งที่อยู่ ......................................................111 6.4 อันตรายจากการหลอกลวงรูปแบบต่างๆ..........................................112 6.5 แอพพลิเคชันอันตรายที่ควรระวัง.....................................................117 6.6 การ Chat Comment Like และ Share อย่างให้ปลอดภัย............118 บทที่ 7 การผลิตสื่อดิจิทัลและการน าเสนอ....................................................123 7.1 กระบวนการผลิตสื่อดิจิทัล................................................................123 7.2 การน าเสนอสื่อดิจิทัล.......................................................................128 7.3 จรรยาบรรณในการนาเสนอผ่านสื่อดิจิทัล........................................134 บทที่ 8 ตัวอักษรและฟอนต์..........................................................................139 8.1 ตัวอักษร...........................................................................................139 8.2 ฟอนต์...............................................................................................145 บทที่ 9 คอมพิวเตอร์กราฟิก..........................................................................155 9.1 หลักการท างานของภาพกราฟิก.......................................................155 9.2 ระบบสีที่ใช้ในงานกราฟิก.................................................................158 9.3 ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก............................................................161 9.4 การประยุกต์ใช้งานกราฟิก...............................................................164 9.5 อินโฟกราฟิก.....................................................................................168


vii บทที่ 10 แอนิเมชัน.......................................................................................177 10.1 ประเภทของแอนิเมชัน .................................................................178 10.2 รูปแบบของภาพแอนิเมชัน .............................................................182 10.3 แนะน าแอนิเมชัน............................................................................184 บทที่ 11 วิดีโอและออดิโอ.............................................................................191 11.1 วิดีโอ...............................................................................................191 11.2 ขนาดภาพและมุมกล้อง..................................................................198 11.3 การตัดต่อวิดีโอ...............................................................................205 11.4 ออดิโอ............................................................................................207 บทที่ 12 จริยธรรมและกฎหมาย...................................................................215 12.1 องค์ประกอบของจริยธรรม.............................................................216 12.2 ความส าคัญของจริยธรรม...............................................................218 12.3 จริยธรรมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ.................................................220 12.4 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์....221 12.5 สรุปพระราชบัญญัติฯ แบบเข้าใจง่าย.............................................228 12.6 ลิขสิทธิ์...........................................................................................229 12.7 ครีเอทีฟคอมมอนส์.........................................................................233


viii


1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน ปัจจุบันความการรับส่งข้อมูลข่าวสารมีเพิ่มมากทั้งด้านปริมาณและด้านรูปแบบหรือ ชนิดของข้อมูลจึงท าให้มีการพัฒนาและขยายตัวของระบบสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้น โครงข่าย ข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Data Network) เป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการ ขยายตัว ในยุคเริ่มแรกการรับส่งข้อมูลเป็นลักษณะการส่งข้อมูลแบบแอนะล็อก (Analog) ทั้งหมด เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ระบบแอนะล็อก เนื่องด้วยประสิทธิภาพการรับส่ง ข้อมูลที่รวดเร็วแม่นย าและการจัดเก็บที่คงทน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้สะดวก รูปแบบกระบวนการสื่อสารในระบบดิจิทัลมีลักษณะคล้ายคลึงกับ กระบวนการสื่อสารทั่วไป ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร (Sender) ข้อมูลหรือสาร (Message) สื่อกลาง (Media) และผู้รับสาร (Receiver) เป็นการส่งข้อมูลหรือสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ สาร ส่วนตัวกลางท าหน้าที่ส่งสารก็คือสื่อความแตกต่างก็อยู่ตรงที่ “สื่อกลาง” ของ กระบวนการสื่อสารระบบดิจิทัลจะจัดเก็บและจัดส่งเฉพาะข้อมูลที่ถูกบันทึกในรูปของรหัส ดิจิทัลเท่านั้น (ดารา ทีปะปาล,2553) ดังนั้นในขั้นตอนการส่งสารจึงจ าเป็นต้องแปลงสารให้ อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่พร้อมจัดเก็บไว้ในสื่อกลางได้เสียก่อน และเมื่อสื่อท าการส่งสาร ดิจิทัลไปถึงผู้รับสาร ก็ต้องมีการเปลี่ยนสารดิจิทัลให้เป็นรูปแบบธรรมชาติอีกครั้งเพื่อผู้รับสาร เข้าใจได้ ดังภาพที่ 1.1 ภำพที่ 1.1 กระบวนการการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิทัล


2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 1.1 ควำมหมำยของสื่อดิจิทัล ความหมายของ สื่อ (media) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความว่า คนหรือสิ่งที่ติดต่อให้ข้อมูลถึงกันหรือชักน าให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็น สื่อติดต่อกัน ส่วนค าว่า media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) ที่มีหมายถึงว่าอะไรก็ตามที่บรรทุกน าพาข้อมูลหรือสารสนเทศ จากแหล่งก าเนิด สารไปยังผู้รับสาร นอกจากนี้ศาสตราจารย์ไฮนิช (Heinich) นักเทคโนโลยีทางด้านสื่อของ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า ได้ให้ค าจ ากัดความของ “สื่อ” ว่า "Media is a channel of communication” (Heinich,1996) แปลว่ า “สื่อคือช่องท างในกา รติดต่อสื่อสาร” สอดคล้องกับศาสตราจารย์Romiszowski ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ การพัฒนาและ การประเมินผลสื่อของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) กล่าวว่า " media is the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" (A. J. Romiszowski, 1992) แปลว่า “สื่อเป็นตัวน าสารจาก แหล่งก าเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็น มนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต) ไปยังผู้รับสาร” ความหมายของดิจิทัล (Digital) ตามรากศัพท์ภาษาลาตินมาจากค าว่า digit มี ความหมายว่า นิ้ว เพราะนิ้วมือมักจะใช้ส าหรับการนับที่ไม่ต่อเนื่อง เหมืนกับสัญญาณดิจิทัลที่ เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องคือมีการปิด การเปิด นอกจากนี้ตามพจนานุกรรมค าศัพท์ คอมพิวเตอร์ หมายความว่า ลักษณะการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิธีการเก็บได้เพียง สองสถานะ เช่น สถานะเปิดหรือปิด บวกหรือลบ เป็นต้น ในการท างาน ระบบดิจิทัลจะให้ค่าที่ เป็นตัวเลขระบบฐานสองที่ประกอบด้วย 1 และ 0 ในปัจจุบันระบบดิจิทัลเป็นที่นิยมใช้กัน มากในระบบค านวณและระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการน าไปใช้ในระบบเสียงออดิโอ ระบบภาพ ดิจิทัล ความหมายของสื่อดิจิทัล (Digital Media) จึงหมายความว่า สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ ท างานโดยใช้รหัสมาตรฐานดิจิทัล หรือถ้าท าความเข้าใจง่าย ๆ คือ ข้อมูลหรือข่าวสาร เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น เมื่อรับเข้าจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลแบบระบบเลขฐานสอง (Binary Number) ตามรหัสมาตรฐานดิจิทัล ที่สามารถเก็บลงในตัวกลางแบบดิจิทัล (Digital Media) และเมื่อต้องการน ากลับมาสู่รูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง) จะต้องผ่าน กระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเลขระบบฐานสองเหล่านี้ให้กลับไปเป็นรูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดี


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 3 ทัศน์ เสียง) เช่นกัน ในหลายโอกาสที่ค าว่า ดิจิทัล จะถูกเรียกแทนด้วยค าว่าว่า “อี”(e-) ที่ย่อ มาจากค าว่า อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) เช่น อีเมล์ (E-mail) คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อีบุ๊ค (E-book) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ Digital Media และ Multimedia ทั้งสองค านี้อาจจะเรียกรวมว่า New media ทั้ง สองค าต่างก็มีความเกี่ยวโยงกัน ถ้าลองคิดถึงสื่อที่มีลักษณะเป็นดิจิทัล ส่วนใหญ่ล้วนเป็นสิ่งที่ เราได้เคยใช้อยู่แล้วในชีวิตประจ าวัน เช่น การพิมพ์ข้อความเพื่อส่งเมล์ การเปิดฟังเพลงด้วย คอมพิวเตอร์ การชมภาพถ่ายที่เก็บในฮาร์ดดิสก์ การชมภาพเคลื่อนไหวผ่านคอมพิวเตอร์ การดูวิดีโอหรือการติดต่อสื่อสารสนทนาระหว่างบุคคล เป็นต้น ในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเรา รับข้อมูลผ่านสื่อที่เป็นดิจิทัลทั้งสิ้น ซึ่งก็คือ Multimedia หรือ New media ที่มีอิทธิพลอย่าง มากต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 1.2 กำรเข้ำรหัสแบบดิจิทัล ส าหรับสื่อดิจิทัลท างานด้วยการเข้ารหัสด้วยระบบเลขฐานสอง ไม่ว่าจะเป็นการ จัดเก็บและบันทึกข้อมูลบนเสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในที่นี้เลขฐานสองที่ใช้เป็นการท าให้ข้อมูลและ ค าสั่งถูกแทนในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยมี 2 สถานะคือ ปิด (0) และเปิด (1) ภำพที่ 1.2 สัญญาณทางไฟฟ้า ปิด (0) เปิด (1) ส าหรับสื่อดิจิทัล ตำรำงที่1.1 ตัวอย่างสื่อดิจิทัลและรูปแบบที่ถูกจัดเก็บและบันทึกบนสื่อ สื่อตัวกลำงดิจิทัล สัญญำณธรรมชำติ รูปแบบที่ถูกจัดเก็บและบันทึกบนสื่อ ภาพถ่าย ภาพ ข้อมูลเลขฐานสอง (0,1) ถ่ายทอดสดบนสื่อสังคมออนไลน์ ภาพ เสียง ข้อมูลเลขฐานสอง (0,1) เพลงออนไลน์ เสียง ข้อมูลเลขฐานสอง (0,1) ข้อความทางอีเมล์ ข้อความ ข้อมูลเลขฐานสอง (0,1)


4 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน จากตารางที่ 1.1 จะเห็นว่าสื่อตัวกลางดิจิทัลจะเป็นแบบไหนก็ตามการจัดเก็บและ บันทึกบนสื่อจะเป็นการเข้ารหัสด้วยระบบเลขฐานสอง เมื่อสัญญาณธรรมชาติถูกบันทึกไว้บน สื่อในรูปแบบดิจิทัล และเมื่อสื่อได้เดินทางถึงผู้รับสารจะท าให้ข้อมูลดิจิทัลกลับมาเป็นสัญญาณ ธรรมชาติอีกครั้งเพื่อที่ผู้รับสารจะเข้าใจได้ แสดงให้เห็นว่าในการท างานของระบบดิจิทัล จะ ประกอบด้วยการเข้ารหัส (Encode) คือ สัญญาณธรรมชาติถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิทัล และ ถอดรหัส (Decode) คือ ข้อมูลดิจิทัลกลับมาเป็นสัญญาณธรรมชาติ เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ (วศิน เพิ่มทรัพย์ และ วิโรจน์ ชัยมูล, 2548) กล่าวคือเมื่อระบบดิจิทัลรับข้อมูลสัญญาณธรรมชาติ เข้ามา ทางด้านอินพุต (Input) ซึ่งเป็นรหัสใดรหัสหนึ่ง ระบบดิจิทัลจะท าการเปลี่ยนรูปแบบ ข้อมูลนั้นไปเป็นเลขฐานฐานสอง ซึ่งการเปลี่ยนรหัสดังกล่าวเรียกว่า การเข้ารหัส ภำพที่ 1.3 การเข้ารหัสดิจิทัลของสัญญาณธรรมชาติ ส าหรับการเข้ารหัสมาตรฐานระบบเลขฐานสอง ที่ใช้ทั่วไปในระบบคอมพิวเตอร์มีอยู่ กัน 3 รูปแบบ คือ 1. รหัสมาตรฐานเอบซีดิก (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code : EBCDIC) เป็นรหัสอักขระ 8 บิตที่พัฒน าโดยบริษัท IBM ซึ่งพัฒน าส าหรับ ระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ โดยเป็นรหัสส าหรับไฟล์ข้อความที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ IBM OS-390 ส าหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 และบริษัทจ านวนมากใช้กับโปรแกรมประยุกต์ legacy application และฐานข้อมูล ในไฟล์เอบซีดิก ตัวอักษรพยัญชนะและตัวเลขได้รับการน าเสนอ เป็นเลขฐานสอง 8 บิต (8 ตัวอักษรของ 0 และ 1) ท าให้สามารถสร้างรหัสได้ 256 รหัส (2 ยก ก าลัง 8) ได้แก่ ตัวพยัญชนะ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษ


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 5 ภำพที่ 1.4 ตัวอย่างตารางรหัสมาตรฐานเอบซีดิก ที่มา http://dwangding.blogspot.com/2011/01/ebcdic-code.html 2. รหัสมาตรฐานแอสกี (American Standard Code for Information Exchange : ASCII) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และ สัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้ แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น ภำพที่ 1.5 ตารางตัวอย่างรหัสมาตรฐานแอสกี้ ที่มา https://mairai.wordpress.com/2014/09/06/barcode-code39-and-code128


6 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 3. รหัสมาตรฐานยูนิโค้ด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่าง สอดคล้องกัน ยูนิโค้ด ประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนา ต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการน าเสนอมาตรฐานของการเข้า รหัสอักขระอีกจ านวนหนึ่ง การเรียงล าดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงล าดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียน จากขวาไปซ้าย) ภำพที่ 1.6 ตารางตัวอย่างรหัสมาตรฐานยูนิโค้ด ที่มา https://mairai.wordpress.com/2014/09/06/barcode-code39-and-code128 1.3 รูปแบบของสื่อดิจิทัล สื่อดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอดทั้ง ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ต้นทุนในการผลิตและจัดหาสื่อดิจิทัลถูกลงอย่างมากเมื่อเทียบ กับในอดีต ในขณะที่ประสิทธิภาพการแสดงผลทั้งภาพและเสียงถูกพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากสถานที่ต่าง ๆ หรือแม้แต่ที่บ้านซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ มัลติมีเดียอยู่แทบทุกบ้าน อีกทั้งในด้านของซอฟต์แวร์ก็สามารถท างานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ท าให้มัลติมีเดียจะถูกน าไปใช้ประโยชน์


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 7 ในงานด้านต่าง ๆ ในแทบทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์และ สาธารณสุข ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ด้านธุรกิจ ด้านสื่อสารมวลชนและด้านการศึกษา จึงสามารถแบ่งสื่อดิจิทัลเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. สื่อดิจิทัลเพื่อกำรน ำเสนอ (Presentation digital media) สื่อรูปแบบนี้มุ่งสร้างความตื่นตาตื่นใจ น่าสนใจ น่าติดตามและถ่ายทอดผ่านประสาท สัมผัสที่หลากหลายผ่านตัวอักษร ภาพและเสียง ในปัจจุบันพัฒนาถึงขั้นให้ผู้ชมสัมผัสถึง ความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ความร้อน ความเย็น การสั่นสะเทือน หรือการได้กลิ่น เป็นต้น เน้นการ น าไปใช้งานเพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผู้ผลิตวางแผนการน าเสนอเป็นขั้นตอนไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น แนะน าองค์กรแสดงแสงสีเสียง การเปิดตัวสินค้า หรือการน าเสนอประกอบการบรรยาย ส่วนใหญ่มักใช้ได้ทั้งการน าเสนอเป็นรายบุคคลและการน าเสนอต่อผู้ชมกลุ่มใหญ่ ผู้ใช้จะท า หน้าที่เป็นเพียงผู้ชมสื่อ โดยที่ผู้ใช้และสื่อแทบไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ หากมองในรูปแบบของ ก า รสื่อส า รแล้ ว สื่อดิจิทัลลักษณะนี้จะ จั ดเป็นก า ร สื่อ ส า รท างเดี ย ว ( One-way communication) 2. สื่อดิจิทัลปฏิสัมพันธ์ (Interactive digital media) เป็นรูปแบบที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบสื่อสารกับสื่อได้โดยตรงผ่านโปรแกรม มัลติมีเดียที่มีลักษณะของสื่อหลายมิติหรือที่เรียกว่า Hypermedia ที่เนื้อหาภายในสามารถ เชื่อมโยงหรือ Link ถึงกันได้ สื่อดิจิทัลรูปแบบนี้นอกจากผู้ใช้จะสามารถดูข้อมูลได้หลากหลาย ลักษณะเช่นเดียวกับรูปแบบแรกแล้ว ยังสามารถสื่อสารโต้ตอบกับสื่อผ่านการคลิกเมาส์ แป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ สื่อประเภทนี้จัดเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) พัฒนาการของสื่อดิจิทัลประเภทปฏิสัมพันธ์นี้จากเดิมที่อาจเป็น CD-ROM ใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ อ่านจากข้อความ ดูภาพจากจอ ฟังเสียงผ่านล าโพง แต่ปัจจุบันได้พัฒนา จนกลายเป็นสื่อ “เสมือน” (Virtual Reality) ที่เสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สื่อเสมือนอยู่ ในสภาพแวดล้อมจริง เช่น เครื่องจ าลองการขับเครื่องบิน เครื่องจ าลองการฝึกผ่าตัด เครื่อง จ าลองการฝึกเล่นกีฬา เป็นต้น


8 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 1.4 องค์ประกอบของสื่อดิจิทัล ดังที่ยกตัวอย่างไว้ในหัวข้อที่แล้วว่า รูปแบบสื่อดิจิทัลในปัจจุบันได้เปลี่ยนบทบาทจาก เดิมที่เคยเป็นการสื่อสารทางเดียวมาเป็นการสื่อสารแบบสองทางแทบจะทั้งหมดแล้ว แม้จะ พบว่ายังมีจ านวนไม่น้อยที่ยังใช้สื่อหรือผลิตสื่อที่เป็นการสื่อสารแบบทางเดียวอยู่ โดยภาพรวม แล้ว สื่อดิจิทัลมีสื่อการรับรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. วิดีทัศน์ (Video) เป็นสื่อที่นิยมใช้กันมากกับสื่อดิจิทัล เนื่องจากสามารถแสดง ผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อม ๆ กัน ท าให้เกิดความน่าสนใจในเรื่องที่น าเสนอ (ใน อดีตจะเกิดปัญหาที่ไฟล์จะใหญ่ เปลืองพื้นที่ ท าให้เกิดการกระตุกของภาพ แต่เทคโนโลยีใน ปัจจุบันสามารถบีบอัดไฟล์ให้เล็กลงได้แล้ว และคงความคมชัดเหมือนเดิม อีกทั้งประสิทธิภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ท าให้อาการกระตุกของการแสดงภาพลดลง) ส าหรับการบันทึกวิดีทัศน์ จะต้องประกอบด้วยจ านวนภาพไม่ต่ ากว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second) หากไม่ได้ท าการบีบอัดขนาดของสัญญาณก่อนจะใช้หน่วยความจ ามากกว่า 100 MB วิดีทัศน์จะถูกเก็บในไฟล์สกุล AVI ไฟล์สกุล MOV ไฟล์สกุล MPEG เป็นต้น 2. ตัวอักขระ (Text) ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ สิ่งนี้ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ส าคัญของมัลติมีเดียหรือสื่อดิจิทัล โดยตัวอักษรจะมีขนาด สี และรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตัวอักษรนี้อาจมาจากการพิมพ์การสแกน หรือสร้างจากการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ และลักษณะของตัวอักษรที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลอื่น ๆ ได้จะเรียกว่า “Hypertext” 3. ภำพนิ่ง (Still Image) เป็นภาพกราฟิกหรือลวดลานเส้นที่เป็นสัญลักษณ์หรือสื่อ ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว นับว่าเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญของสื่อ มัลติมีเดียมาก เพราะภาพหนึ่งภาพสามารถถ่ายทอดหรืออธิบายความหมายได้ดีกว่าข้อความ หรือตัวอักษร โดยการผลิตภาพนิ่งท าได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น ถ่ายภาพ ภาพลายเส้นหรือ กราฟิกที่วาดด้วยมือหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จากการสแกน เป็นต้น ภาพเหล่านี้ จะประมวลผลออกมาเป็นจุดภาพ (Pixel) แต่ละจุดบนภาพจะแทนที่ค่าความสว่าง (Brightness) ค่าสี (Color) ส่วนความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจุดภาพและขนาดของจุดภาพ ภาพที่เหมาะสมไม่ใช่อยู่ที่ขนาดของภาพ แต่อยู่ที่ขนาดของไฟล์ภาพ 4. ภำพเคลื่อนไหว (Animation) เป็นชุดภาพที่มีความแตกต่างกันน ามาแสดงเรียง ต่อเนื่อง ความแตกต่างของแต่ละภาพที่น าเสนอท าให้มองเป็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ด้วยเทคนิค


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 9 เดียวกับการท าภาพยนตร์การ์ตูน หมายถึง การน าภาพกราฟิกมาท าให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์ การก่อก าเนิดของฝน การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เป็นต้น ภาพลักษณะดังกล่าวนี้เหมาะกับการน ามาผลิตสื่อที่ต้องการน าเสนอข้อมูลที่ต้องการให้เห็น ขั้นตอนหรือการเปลี่ยนแปลง โดยการสร้างภาพเคลื่อนไหวนี้ท าได้ตั้งแต่อย่างง่าย (ลายเส้น ธรรมดาหรือ 2 มิติ) ไปจนถึงสร้างเป็น Animation 3D หรือ 3 มิติเพื่อให้เห็นรายละเอียดของ ภาพได้อย่างชัดเจนและสวยงาม แอนิเมชันสามารถน าเสนอความคิดที่ซับซ้อนหรือยุ่งยากให้ ง่ายต่อความเข้าใจและสามารถก าหนดลักษณะและเส้นทางที่จะท าให้ภาพนั้นเคลื่อนที่ตาม ต้องการ 5. เสียง (Sound) เป็นสิ่งที่ช่วยเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้นท า ท าให้มีชีวิตชีวา มีการบันทึก ไว้ในรูปแบบดิจิทัล การใช้เสียงในสื่อดิจิทัลหรือมัลติมีเดียเพื่อน าเสนอข้อมูล เช่น เสียงพูด เสียงบรรยาย ประกอบข้อความ ประกอบภาพ หรือสร้างความน่าสนใจให้มากยิ่งขึ้น เช่น เสียงเพลงประกอบ Sound effect เพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมหรือตื่นเต้น เร้าใจ ให้ชวนติดตาม สื่อนั้น ๆ ไปจนจบ เป็นต้น ไฟล์เสียงมีหลายแบบ ได้แก่ ไฟล์สกุล WAV ไฟล์สกุล MIDI เป็นต้น 6. ปฏิสัมพันธ์(Interactive) คือการที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบสื่อสารกับโปรแกรม มัลติมีเดียได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกดูข้อมูลที่สนใจ หรือการสั่งงานให้โปรแกรมแสดงผลใน รูปแบบที่ต้องการโดยผู้ใช้สื่อสารผ่านอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น การคลิกเมาส์ การกดแป้นพิมพ์ การสัมผัสหน้าจอ การสั่งงานด้วยเสียง เป็นต้น องค์ประกอบในข้อนี้นับเป็นคุณลักษณะส าคัญ ที่มีอยู่เฉพาะในสื่อดิจิทัลหรือมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบันจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกขณะ สื่อดิจิทัลที่สมบูรณ์ควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบเข้าด้วยกันอย่างครบถ้วนแต่ การที่จะเป็นสื่อดิจิทัลที่ดีใช่ว่าจะต้องมีครบทุกองค์ประกอบนี้เสมอไป บางครั้งแค่มีข้อความ กับเสียงก็เพียงพอต่อการเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพได้ มีความหากเหมาะสมหรือเพียงพอที่จะสื่อ ให้ผู้รับฟังการน าเสนอเข้าใจจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อ การพยายามยัดเยียดให้มีครบทุก องค์ประกอบเพื่อหวังให้เกิดความน่าตื่นตาตื่นใจ ทันสมัย อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้ การใส่สื่อต่าง ๆ เข้าไปในสื่อที่เราต้องการน าเสนอเพียงสื่อเดียวจนเกินความจ าเป็น สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นหรือเป็นผลกระทบก็คือ รบกวนเนื้อหาที่ต้องการน าเสนอ เช่น การใส่ วิดีทัศน์ แอนิเมชัน ภาพประกอบ เสียงบรรยาย และข้อความลงไปพร้อมกันในเรื่องเดียวที่ ต้องการน าเสนอ ผู้ฟังการน าเสนออาจไม่รู้ว่าจะเลือกดู เลือกอ่าน เลือกฟัง ส่วนใดก่อน เพราะว่ามาพร้อมกันหมด ก็ท าให้เนื้อหาที่จะน าเสนอ สิ่งที่ผู้ฟังควรจะได้ก็ไม่ได้ กลายเป็น


10 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ผลเสีย และท าให้การน าเสนอเนื้อหาที่ต้องการไปถึงผู้รับสารก็ไม่สมบูรณ์หรือไม่ประสบ ความส าเร็จ ดังนั้นแล้ว มัลติมีเดียหรือสื่อดิจิทัลที่ดีต้องท าหน้าที่ของตัวเองอย่างเหมาะสมและ ลงตัว สนับสนุนซึ่งกันและกัน 1.5 ข้อดี-ข้อจ ำกัดของสื่อดิจิทัล ข้อดีของสื่อดิจิทัล 1. ความคงทน คุณภาพของสิ่งที่อยู่ใน “Digital Media” การเสื่อมสภาพจะใช้ เวลานานกว่าเพราะรูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บแบบสองระดับ (0 กับ 1) โอกาสที่จะผิดเพี้ยน จะเกิดขึ้นได้ยากกว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น การบันทึกภาพลงในวีดีทัศน์แบบแอนะล็อก กับ การบันทึกภาพลงวีดีทัศน์ ในระบบดิจิทัล เมื่อเส้นเทปยืด การดึงข้อมูลกลับมาในแบบดิจิทัล นั้นจะท าได้ง่ายกว่า แต่ส าหรับแบบแอนะล็อกนั้นคุณภาพของภาพจะลดลงโดยทันที 2. รูปแบบของการน าไปใช้งาน ท าได้หลากหลายวิธี ข้อมูลที่จัดเก็บในแบบดิจิทัลถือ ได้ว่าเป็นข้อมูลกลางที่สามารถแปลงไปสู่รูปแบบอื่นได้ง่าย เช่น ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิทัล เมื่อได้ เป็นข้อมูลภาพออกมาแล้ว ก็สามารพิมพ์ภาพลงบนกระดาษ หรือจะแสดงภาพบน จอคอมพิวเตอร์หรือบนจอทีวีก็ได้เช่นกัน 3. การน าไปผสมผสานกับสื่อรูปแบบอื่น เช่น ภาพถ่าย น ามารวมกับเสียง เป็นต้น เรียกว่าเป็นการแสดงแบบ Multi-Media 4. การปรับแต่ง (Edit) การปรับแต่งสื่อที่เป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียงนกร้อง เป็นต้น สิ่ง ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้สามารถน ามาปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ปรับให้แปลก เหมือนจริง เหนือจริง หรืออื่น ๆ ตามที่เราต้องการได้ การสอดแทรกสิ่งเหล่านี้ท าให้น่าดู น่าฟัง มากกว่า ปกติและมีความวิจิตรพิสดารมากขึ้นเท่าใดก็ได้ 5. เข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ ทุกเวลา แค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต 6. สื่อจะมีราคาถูกลง เมื่อมีการพัฒนาสื่อประเภทนี้มากขึ้น ข้อจ ำกัดของสื่อดิจิทัล 1. การออกแบบสื่อดิจิทัลเพื่อการที่มีคุณภาพ และเหมาะสมตามหลักการใช้งานยังมี จ านวนน้อย 2. การออกแบบสื่อต้องอาศัยเวลา สติปัญญา ความสามารถและความช านาญมาก 3. มีหลายตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบ แม่ข่าย (Server) ที่อาจขัดข้องและไม่สามารถใช้สื่อนี้ได้ เป็นต้น


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 11 4. เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ท าให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องมีความรู้ใหม่ เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก 5. การดูแลสื่อประเภทนี้ต้องการทีมงานที่มีความช านาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมาก 6. ง่ายต่อการกระท าผิดศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดในสิทธิของผู้อื่น การเอา ภาพของบุคคลหนึ่งมาตัดต่อกับภาพเปลือยกายของอีกคนหนึ่ง หรือคัดลอกงานมีลิขสิทธิ์ ถูกต้อง เป็นต้น 1.6. แนวโน้มสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน “ภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษนี้ สื่อดิจิทัลจะครอบคลุมถึง 80% ของสื่อทั้งหมด” จากค ากล่าวนี้จะเห็นได้เลยว่าไม่ใช่ค าพูดที่เกินจริง เพราะสื่อดิจิทัลที่เกิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก วันนี้ก็เริ่มจะทาให้การด าเนินชีวิตประจ าวันของเราเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเกิดของสื่อใหม่ทุก วันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อในรูปแบบดิจิทัลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทีวีดิจิทัล วิทยุออนไลน์ สื่อกลางแจ้งที่มีการควบคุมเนื้อหาสาระจากศูนย์บังคับการ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ หรือ แม้แต่สื่อที่ใกล้ตัวมากที่สุดอย่างโทรศัพท์มือถือ ก็มีใช้กันอยู่แทบจะทุกคนแล้วโดยเฉพาะเด็ก รุ่นใหม่ในเมือง ที่มีชื่อเรียกเด็กกลุ่มนี้ในชื่อว่า Screen age เพราะชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เกิด มาไม่ทันไร ก็ได้หยิบจับ Smart Phone และ “เล่น” กันเป็นแทบทุกคนแล้ว อีกทั้งวิธีการ ติดต่อสื่อสารก็ไม่พ้นต่อการสื่อสารผ่านจอทั้งสิ้น ภำพที่ 1.7 กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ในเมือง หรือเด็กกลุ่ม Screen age ที่มา https://news.mthai.com/social-news/611292.html


12 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเห็นว่า โลกของเราก้าวเข้าสู่ ยุคดิจิทัล อย่างแท้จริงแล้ว ถึงแม้ว่าอัตราความรู้ความสามารถในทางคอมพิวเตอร์ (Computer literacy) ของบางพื้นที่ ยังคงต่างอยู่ นักการสื่อสารมองว่าการเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสและ ขีดความสามารถของสื่อในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยเฉพาะการเข้าถึงด้วยความรวดเร็ว และการเข้าถึงผู้รับได้อย่างเป็นส่วนตัวมากขึ้นนั่นหมายความว่า นักการสื่อสารจะต้องจัดกลุ่ม จัดระดับ และจัดประเภทของกลุ่มเป้าหมายให้ดีเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวิธีการของสื่อให้ ชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ว่ากันว่า สื่อต่าง ๆ จะ พยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบของสื่อให้มี ความเฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลกันเลยทีเดียว ส าหรับวงการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ตอนนี้มีธุรกิจเกิดใหม่จากความก้าวหน้า ของสื่อดิจิทัลอีกรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าทุกคนคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี นั่นก็คือ เครือข่ายสังคม ออนไลน์(Social Networking) ที่ผู้คนแทบทุกวงการใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเครือข่ายสังคม ออนไลน์เป็นกระแสนิยมที่ก าลังร้อนแรงมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในปัจจุบันนี้มีจ านวนสมาชิก ของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั่วโลกกว่า 500 ล้านราย และคาดกันว่าในประเทศไทยจะ มีจ านวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มากถึง 10 ล้านราย ประชากรกลุ่มใหญ่ ที่สุดของสังคมออนไลน์จะอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 42% ภำพที่ 1.8 เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่นิยมในปัจจุบัน ที่มา https://sites.google.com/site/supachok571031243


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 13 ตัวอย่ำงสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมในปัจจุบัน 1. เฟสบุ๊ค (Facebook) เป็นสื่อสังคมออนไลน์ ที่มีลักษณะส าคัญคือการปฏิสัมพันธ์ ในลักษณะของการเป็นชุมชน (Community) เฟสบุ๊คนอกจากจะดูเนื้อหาของการสื่อสารของ ผู้ผลิตสื่อการมีปฏิสัมพันธ์ การเชื่อมโยงของข้อมูล และลักษณะการรวมกลุ่มคนผ่านความ สนใจ จุดยืน หรือความคิด เพราะลักษณะของชุมชนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟสบุ๊คมี ลักษณะของความเป็นส่วนตัว ใกล้ชิด ปฏิสัมพันธ์ได้ลึกซึ้ง และมักแสดงความคิดหรือตัวตน อย่างเต็มที่ เนื่องจากลักษณะของชุมชน การรวมกลุ่มตามฐานความคิดที่สอดคล้องกัน การ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย การกระจายข้อมูลต่อได้ในวงกว้าง จึงเป็นพื้นที่ที่สามารถระดมก าลัง และขับเคลื่อนประเด็นได้ ภำพที่ 1.9 สื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) ที่มา http://facebook.com 2. ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นแพล็ตฟอร์มสื่อสังคมที่สื่อสารแบบสั้น ๆ กระชับ แต่โดด เด่นเรื่องของความรวดเร็ว การปฏิสัมพันธ์ และการสร้างเทรนด์หรือกระแสผ่านการใช้ แฮซ แท็ค (hashtag) เราจะเห็นการน าทวิตเตอร์มาใช้กับการรายงานข่าวซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรายงานข่าวและการเล่าเรื่องจากพื้นที่ หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องเกาะติดสถานการณ์ และความรวดเร็วในการรายงาน ซึ่ง Hermindal (2010) อธิบายลักษณะการใช้งานของ ทวิตเตอร์ว่าเป็นพื้นที่ของการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล และรายงานข่าว อย่างไรก็ตาม ในการ เลือกติดตาม (Follow) ของผู้ใช้ทวิตเตอร์เป็นการเลือกตามความสนใจหรือเลือกจากความคิด ทัศนคติที่สอดคล้องกัน


14 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ภำพที่ 1.10 สื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ (Twitter) ที่มา https://www.makeuseof.com/tag/how-to-use-twitter/ 3. ยูทูป (YouTube) เป็นการคลิปวิดีโอออนไลน์ที่มีการปฏิสัมพันธ์ต่อวิดีโอ การติชม การเสนอแนะ รวมถึงการสร้างวิดีโอเลียนแบบ ภำพที่ 1.11 สื่อสังคมออนไลน์ยูทูป (Youtube) ที่มา https://www.youtube.com 4. อินสตาแกรม (Instagram) ในบริบทของการสื่อสารในประเทศไทย อินสตาแกรมมี บทบาทเป็นที่ต้นทางของข้อมูล และกระแสที่ถูกหยิบมาต่อยอดเป็นประเด็นทางสังคม เป็น ช่องทางการท าการตลาด เป็นช่องทางในการสร้าง personal brand และเป็นช่องทางของ คนดังและผู้ทรงอิทธิพลใช้ในการสื่อสารโดยไม่ต้องผ่านสื่อมวลชน การเข้าใจกระบวนการ สื่อสาร รูปแบบการสื่อสารบนอินสตาแกรมมีมิติที่ส าคัญในการช่วยให้เข้าใจบริบททางสังคม


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 15 วัฒนธรรม และสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ต่อพฤติกรรมและกิจกรรมของคนผ่านภาพและคลิป วิดีโอ ภำพที่ 1.12 สื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรม (Instagram) ที่มา https://www.marketingoops.com/news/tech-update/startups ทั้งนี้ ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างบนสื่อออนไลน์การค้นหา การใช้ค าส าคัญ (keyword) และการรู้ช่องทางในการดึงข้อมูลเป็นเรื่องส าคัญ การมอนิเตอร์สื่อออนไลน์สามารถดึงข้อมูล ได้แบบลักษณะของการใช้คนในการท า หรือการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการช่วยในการ เลือกและจ าแนกข้อมูลได้เช่นกัน ธุรกิจโฆษณาออนไลน์ เติบโตขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน รวมถึงสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์โดยผ่าน การบอกเล่าแบบปากต่อปาก (Words of mouth) ของสมาชิกในเครือข่าย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้เว็บไซต์ เครือข่ายสังคม การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ท าให้ผู้ประกอบการทราบ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วและเชื่อว่าตราบใดที่สื่อดิจิทัลในรูปแบบสังคม ออนไลน์ยังได้รับความนิยมอยู่ ธุรกิจนี้ก็จะยังด าเนินอยู่และโลกของการโฆษณาก็จะพัฒนาให้มี รูปแบบใหม่สร้างความแปลกใหม่ต่อไปอย่างเรื่อย ๆ เช่นกัน 1.7 กำรรู้เท่ำทันสื่อดิจิทัล สื่อดิจิทัลในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และใช้งานของผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้น ยุคที่ กระแสของโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ท าให้ผู้คนใช้เวลาอยู่กับสื่อต่าง ๆ รอบตัวมากกว่าการ


16 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ท ากิจกรรมอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากกว่า สื่อดิจิทัลจึงกลายเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่ทรงอิทธิพลและยอดนิยมต่อผู้คนในสังคมที่สามารถถ่ายทอดสิ่งโดยตรง และ ผลกระทบที่ตามมาคือ คนใจสังคมจะเสพสื่อที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรม ทางเพศ ความรุนแรง และการบริโภคนิยม สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อเยาวชน ครอบครัว ชุมชนและ สังคมต่อไปในอนาคต การรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นทักษะหรือความสามารถใน “การใช้สื่ออย่าง รู้ตัว”และ “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว” ค าว่า “การใช้สื่ออย่างรู้ตัว” สามารถอธิบายหรือขยายความได้ว่า สามารถตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ สามารถโต้ตอบกันอย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้ง ค าถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ส่วนค าว่า “ใช้สื่ออย่างตื่นตัว” สามารถอธิบายหรือ ขยายความได้ว่า แทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราต้องเปลี่ยนเป็นฝ่ายรุก โดยการ แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่อที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมทั้ง สามารถใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมที่พัฒนาสื่อให้ดีขึ้น ท้วงติงหรือร้องเรียนเมื่อพบสื่อที่ ไม่เหมาะสม เรียกร้องสิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภคสื่อ ดังนั้นเพื่อให้ผู้คนในสังคมสามารถแยกแยะสื่อจากพื้นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง โดยการ รู้เท่าทันสื่อและน าสื่อไปใช้อย่างสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้สร้าง สรรค์สื่อมากขึ้น ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันสื่อ เด็กและเยาวชน (สสย.) และแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภาคีเครือข่าย ร่วมรณรงค์ และขับเคลื่อนความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งสื่อออนไลน์ หนังสือนิทาน อินโฟกราฟิก ฯลฯ เพื่อช่วยให้เด็กไทยและผู้ผลิตสื่อใช้พลังของการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดี ขึ้น การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ถือเป็นคุณสมบัติของเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ที่ สามารถเลือกรับ วิเคราะห์ ประเมิน และน าข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางสร้างสรรค์ รวมทั้ง ความสามารถในการผลิตสื่อที่ดีเพื่อขับเคลื่อนสังคม อย่างสร้างสรรค์ สิ่งที่ “ผู้รับสื่อ” ต้องพิจารณา คือ สื่อดิจิทัลมีที่มาอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ มีความ น่าเชื่อถือหรือไม่ สื่อต้องการจะบอกอะไรกับเรา สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของเรา อย่างไร และสื่อก าลังสร้างและสะท้อนค่านิยมอะไรในสังคม ส่วนสิ่งที่ผู้“ผลิตสื่อ” ต้อง ตระหนักรู้คือ เจตนาในการสื่อสารของเราคืออะไร เราก าลังท าผิดซ้ ากับค่านิยมบางอย่างอยู่ หรือไม่ มีใครได้รับผลกระทบจากการกระท าของเราหรือไม่ และเราก าลังละเมิดสิทธิใครอยู่ หรือไม่ องค์ประกอบทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี โดยก่อให้เกิดสื่อ


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 17 ดิจิทัลที่มีประโยชน์เพื่อสังคม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายใต้การผลิตสื่อดิจิทัล ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมองค์ประกอบนี้เป็นพื้นฐานอันดีของการเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดี ประโยชน์ของกำรรู้เท่ำทันสื่อ 1. ตระหนักในความส าคัญของการเลือกและจัดสรรเวลาตนเองในการใช้สื่อ 2. เรียนรู้ทักษะการดูแบบวิพากษ์ สามารถวิเคราะห์และตั้งค าถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้น ได้อย่างไร และควรเชื่อสื่อหรือไม่ 3. สามารถวิเคราะห์สื่อในเชิงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนน าไปสู่ การสร้างเวทีทางสังคม สรุป สื่อดิจิทัล (Digital Media) เป็นข้อมูลหรือข่าวสาร เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ เสียง เป็นต้น ที่อยู่ในระบบเลขฐานสอง (Binary Number) ตามรหัสมาตรฐานดิจิทัล โดยมีกระบวนการ เข้ารหัสสัญญาณทางไฟฟ้า มี 2 สถานะ คือ ปิด (0) เปิด (1) น ามาผ่านกระบวนการเข้ารหัส จากสัญญาณธรรมชาติเป็นข้อมูลดิจิทัลและถอดรหัสจากข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณธรรมชาติ โดยการเข้ารหัสมาตรฐานระบบเลขฐานสองที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบที่นิยมใช้กัน คือ รหัสมาตรฐานเอบซีดิก รหัสมาตรฐานแอสกี้ รหัสมาตรฐานยูนิโค้ด ส าหรับสื่อดิจิทัล สามารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สื่อดิจิทัลเพื่อการน าเสนอ และสื่อดิจิทัลปฏิสัมพันธ์ โดยมี องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ วิดีทัศน์ (Video) ตัวอักขระ (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ขอบเขตกระบวนการผลิตสื่อดิจิทัล มีด้วยกัน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนการผลิต (PreProduction) ขั้นการผลิต (Production) ขั้นหลังการผลิต (Post-Production) และขั้นน า เผยแพร่ (Distribution) ในการใช้สื่อดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อจ ากัด ส่วนแนวโน้มสื่อดิจิทัลใน ปัจจุบันจะมีบทบาทมากขึ้น โดยอย่างยิ่งสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้จ านวน มาก ดังนั้นผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณในการใช้ให้รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล


18 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน เอกสำรอ้ำงอิง ดารา ทีปะปาล. (2553). กำรสื่อสำรกำรตลำด = Marketing communications. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสถาน.(2542). พจนำนุกรม ฉบับรำชบัณฑิตยสถำน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน วศิน เพิ่มทรัพย์ และ วิโรจน์ ชัยมูล. (2548). ควำมรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสำรสนเทศ. กรุงเพท ฯ : พิมพ์ลักษณ์ โปรวิชั่น. Heinich, R. et al. (1996). Instructional Media and Technologies for Learning. New Jersey: Prentice Hall. Hermida, A. (2010). Twittering the News. Journalism Practice, 4(3), 297-308. Romiszowski, A.J. (1992). Developing Interactive Multi-Media Courseware and Networks. Proceeding of the First International Symposium on Interactive Multimedia for Education, Pert. Western Australia, January 1992. Y. Hu, L. Manikonda, and S. Kambhampati. (2014). What we instagram: A first analysis of instagram photo content and user types. In International AAAI Conference on Weblogs and Social Media.


บทที่ 1 สื่อดิจิทัลในชีวิตประจ ำวัน 19 รหัสนักศึกษา .......................... ชื่อ–สกุล ............................................. ติดบาร์โค้ด ค ำถำมท้ำยบทที่ 1 1. จงบอกความหมายของ สื่อดิจิทัล (Digital Media) .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 2. จงอธิบายการเข้ารหัสแบบดิจิทัล .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 3. รหัสมาตรฐานที่นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 4. จงบอกถึงข้อดีและข้อจ ากัดของสื่อดิจิทัล .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 5. จงให้เหตุผลว่าท าไมผู้ใช้สื่อต้องรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างไร .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................


20 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน บันทึก


2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุก คน การด าเนินงานของภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคเอกชน องค์กรต่าง ๆ ต้องอาศัยเทคโนโลยี ดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากระบบแอนะล็อกมาเป็นระบบ ดิจิทัล การเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น การบันทึกเสียงหรือภาพยนตร์ เดิมใช้การบันทึกร่องที่มีความ ลึกต่าง ๆ ลงบนเทป (ความลึกของร่องขึ้นอยู่กับขนาดสัญญาณ) ก็กลายมาเป็นการบันทึก ข้อมูลดิจิตอลหรือไบนารี คือ ตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น สื่อดิจิทัล เป็นการผสมผสานสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์ โดยแต่ละรูปแบบจะถูกน าไปประยุกต์และพัฒนาเป็นสื่อต่าง ๆ ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง การน าสื่อพื้นฐานเหล่านี้มาผสมผสาน และใช้งานร่วมกัน จะเรียกว่า สื่อผสม หรือ มัลติมีเดีย (Multi-media) เมื่อมีการผลิตสื่อดิจิทัล สิ่งที่อย่างมากคือการบันทึกข้อมูล เพราะหน่วยการบันทึกข้อมูลดิจิทัล เป็นแหล่งสะสม สัญญาณข้อมูลดิจิทัลที่สามารถแปลงสัญญาณธรรมชาติที่มนุษย์รับรู้และเข้าใจได้ การบันทึกที่ ถูกต้องและจัดเก็บในหน่วยการบันทึกข้อมูลดิจิทัลที่เหมาะสม จะสามารถน าข้อมูลออกมา ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มัลติมีเดีย หมายถึง การน าองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรหรือข้อความ (Text) ภาพนิ่ง (Still Image) เสียง (Sound) วิดีโอ (Video) และภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชั่น (Animation) โดยผ่านกระบวนการทางระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) และได้ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การใช้งาน


22 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 2.1 วิวัฒนาการของสื่อดิจิทัล สื่อดิจิทัล (Digital Media) เป็นสื่อสมัยใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ น าเอาข้อความ ภาพ และเสียง ซึ่งบันทึกจัดเก็บไว้ในรูปของข้อมูลดิจิทัลมาแสดงผลข้อความ ภาพ และเสียง ผ่าน ทางอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ มีการสั่งงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อท าให้สื่อเหล่านั้นมี ความหน้าสนใจ มีพลังในการสื่อสารมีชีวิตชีวา มากกว่าสื่อแบบดั้งเดิมที่เก็บอยู่ในรูปของ กระดาษ หรือม้วนฟิล์ม ในสมัยก่อนมนุษย์ใช้สื่อที่เป็นภาพและตัวอักษรในการบันทึกเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่าง ๆ โดยการสลักภาพและอักษรลงบนแผ่นหินหรือขีดเขียนลงบนวัสดุชนิดอื่นที่มีความ แข็งแรง และในระยะต่อมาได้มีการวาดหรือเขียนลงบนกระดาษ ตัวอย่างเช่น ในสังคมไทยมี การบันทึกความรู้และเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยการจารึกลงบนใบลานหรือกระดาษ เป็นต้น การ พิมพ์และหนังสือเป็นสื่อที่เกิดขึ้นในยุโรปในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 และเป็นสื่อที่ทาให้ ความรู้หรือการศึกษาเผยแพร่และขยายออกไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เป็นการเริ่มต้นการ เปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อย่างรวดเร็วในอีก 300 ปี ต่อมา ใน ค.ศ. 1877 โทมัส อัลวา เอดีสัน (Thomas Alva Edison; ค . ศ . 1847 – 1931) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์ระบบบันทึกเสียงขึ้น ซึ่งเป็นการบันทึกเสียงเก็บไว้ได้เป็น ครั้งแรก ต่อมาใน ค.ศ. 1888 จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman ; ค . ศ . 1854 – 1932) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถบันทึกภาพโดยใช้แสง ประดิษฐ์กรรมทั้ง 2 อย่างท าให้เกิดสื่อประเภทเสียงขึ้นและเกิดรูปแบบใหม่ในการบันทึกภาพ นอกเหนือจากการ วาด เขียน และพิมพ์ลงบนกระดาษ การบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปได้พัฒนาไปสู่ การ ถ่ายภาพเคลื่อนไหว จึงทาให้การบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวแม่นยาตรงกับความจริง และ น่าสนใจยิ่งขึ้น และนี่คือที่มาของสื่อประเภทภาพยนตร์ ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่วโลกเมื่อเริ่มต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 23 ภาพที่ 2.1 เครื่องบันทึกเสียงในยุคแรก ที่มา : https://www.mediastorehouse.com ภาพที่ 2.2 เครื่องฉายภาพยนตร์ในยุคแรก ที่มา : https://www.bloggang.com/data/filmlover/picture/1195751401.jpg ระยะเวลาต่อมาประมาณครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 มนุษย์ก็คนพบประดิษฐ์ กรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัลได้ประปฏิวัติการสื่อสารของมนุษย์ครั้งส าคัญ โดยการ น าเข้าข้อมูลต่าง ๆ เป็นรูปแบบของดิจิทัล มีการน าคอมพิวเตอร์มาใช้งานหลายด้าน ไม่ว่าจะ เป็นการเก็บข้อมูล การน าเสนอข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงในด้านการสื่อสารสามารถ ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ถือเป็นการปฏิวัติการผลิตและน าเสนอสื่อ ในรูปแบบเดิมมาเป็นสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน


24 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 2.2 รูปแบบของสื่อดิจิทัลส าหรับการผลิต รูปแบบสื่อดิจิทัลส าหรับการผลิตมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ ซึ่งสื่อดิจิทัลแต่ละรูปแบบจะ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ในบทนี้จะน าเสนอลักษณะของแต่ละรูปแบบพอสังเขปเพื่อให้ผู้ศึกษา ได้เข้าใจภาพรวมของสื่อระบบดิจิทัลทั้งหมด 2.2.1 ข้อความ (Text) ข้อความเป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่ น าเสนอ ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานส าคัญของสื่อดิจิทัล ซึ่งสามารถน าเสนอผ่านจอภาพ ของคอมพิวเตอร์หรือจอภาพของอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ได้อีกทั้งข้อความดิจิทัลยังก าหนด รูปแบบและสีของตัวอักษรได้ตามความต้องการ สามารถก าหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ได้ ซึ่งการสร้างข้อความดิจิทัลมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1. ข้อความสร้างขึ้นจากการพิมพ์ เป็นข้อความปกติที่พบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผล (Word Processor) เช่น Notepad, Text Editor, Microsoft Word โดยตัวอักษรแต่ละตัวจัดเก็บในรหัสดิจิทัลหรือเลขฐานสอง ตัวอย่างการสร้างข้อความจากการ พิมพ์ ดังภาพที่ 2.3 ภาพที่ 2.3 แสดงการสร้างข้อความส าหรับสื่อดิจิทัลจากการพิมพ์ ที่มา : ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก (2556)


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 25 2. ข้อความสร้างขึ้นจากการสแกน ซึ่งข้อความที่ถูกสร้างในลักษณะนี้จะถูกจัดเก็บ แบบรูปภาพ หรือ Image ข้อความที่สร้างขึ้นเกิดจากการสแกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (ดังภาพ ที่ 2.2) ซึ่งจะได้ผลเหมือนกับเป็นภาพ ในปัจจุบันสามารถแปลงข้อความภาพกลับมาเป็น ข้อความปกติได้ ข้อความดิจิทัลหรือข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อความที่พัฒนาให้อยู่ในรูป ของสื่อที่ใช้ประมวลผลได้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยปัจจุบันเครื่องแสกนเนอร์ได้ ถูกพัฒนาและออกแบบให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ดังภาพที่ 2.4 ภาพที่ 2.4 แสดงตัวอย่างรูปลักษณ์เครื่องแสกนเนอร์ทั่วไป ที่มา : http://www.xeroxscanners.com ภาพที่ 2.5 แสดงเครื่องแสกนเนอร์ที่พัฒนาให้มีความสะดวกในการใช้งานและเคลื่อนย้าย ที่มา : http://images.gizmag.com


26 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 3. ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เป็นรูปแบบของข้อความที่ได้รับความนิยมสูง มาก โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารเว็บไซต์ เนื่องจากสามารถใช้ เทคนิคการ ลิงค์ หรือเชื่อมโยงข้อความ ไปยังข้อความหรือจุดอื่นๆ ภาษาที่ใช้ในการสร้างเอกสาร ไฮเปอร์เท็กซ์ คือ ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) รูปแบบของไฮเปอร์ลิงค์ จะเป็นข้อความตัวอักษรที่มีการขีดเส้นใต้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสังเกตเห็นได้ และเข้าถึงได้ง่าย ด้วยการเลื่อนตัวชี้เมาส์ และคลิกเมาส์บนลิงค์นั้นๆ ก็จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารปลายทางตามที่ ระบุไว้ เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ที่เรียกว่า ยูอาร์แอล (URL:Uniform Resource Location) ดัง ภาพที่ 2.6 ภาพที่ 2.6 แสดงภาพผังการเชื่อมโยงข้อมูลของข้อความHypertext ที่มา : http://www.cs.cf.ac.uk 2.2.2 เสียง (Digital Audio) เสียงดิจิทัลถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลที่สามารถเล่นซ้ ากลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมส าหรับงานด้านเสียง เสียงเป็นส่วนประกอบส าคัญหลักของการผลิตสื่อ การใช้ เสียงที่สัมพันธ์กับเนื้อหาการน าเสนอ จะส่งเสริมให้สื่อสามารถสร้างความเข้าใจ และเร้าความ สนใจได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้เสียงประกอบในการผลิตสื่อควรค านึงถึงจุดประสงค์การ น าเสนอเป็นหลัก การท างานของสื่อเสียงดิจิทัล เริ่มจากการน าเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน ผ่าน กระบวนการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิทัล และสุดท้ายจัดเก็บในหน่วยบันทึก ข้อมูล เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น ชุดไมโครโฟนจึงเป็นอุปกรณ์ส าหรับการน าสัญญาณเสียง เข้ารหัสดิจิทัล (ภาพที่ 2.7) ซึ่งชุดไมโครโฟนก็มีให้เลือกแตกต่างมากมายขึ้นอยู่กับการใช้งาน


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 27 หลังจากมีการบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อจะรับฟังก็ท าการแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็น สัญญาณธรรมชาติอีกครั้งแล้วน าออกหรือเผยแพร่ผ่านล าโพง ภาพที่ 2.7 แสดงอุปกรณ์ชุดไมโครโฟนส าหรับผลิตเสียงในงานสื่อดิจิทัล ที่มา : http://europe.beyerdynamic.com 2.2.3 ภาพนิ่ง (Image) ภาพนิ่งเข้าใจได้ง่าย ๆ คือภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพ ลายเส้น เป็นต้นประกอบขึ้นจากหน่วยเล็ก ๆ ที่เรียกว่าพิกเซล (pixel) โดยความละเอียดของ ภาพ (Resolution) จะขึ้นอยู่กับจ านวนพิกเซลที่ประกอบกันขึ้น เป็นภาพ ยิ่งมีจ านวนมาก ภาพก็ยิ่งมีความละเอียดสูงท าให้ มีความคมชัด ภาพนิ่ง นับว่ามีบทบาทต่อการท าความเข้าใจ เพราะภาพนิ่งจะให้ผลในเชิงการรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า ข้อความนอกจากนี้ภาพนิ่งยัง สามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ้งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ซึ่งข้อความหรือตัวอักษร จะมีข้อจ ากัด ด้านความแตกต่างของแต่ละภาษารวมถึงเรื่องของความสามารถทางการอ่าน แต่ ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกคน ในการผลิตสื่อดิจิทัลหากพื้นที่จัดเก็บน้อย ภาพนิ่ง จะนิยมผลิตมากกว่าภาพเคลื่อนไหวด้วยใช้พื้นที่เก็บข้อมูลไม่มากและมีต้นทุนการผลิตต่ ากว่า


28 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ภาพที่ 2.8 แสดงตัวอย่างภาพนิ่ง 2.2.4 ภาพเคลื่อนไหว (Graphic) ภาพเคลื่อนไหวเป็นศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟแผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้ สื่อสารต้องการ ภาพกราฟิกเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความเสมือนจริง (ภาพที่2.9) การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางและศาสตร์ หลายแขนงประกอบกันมีความซับซ้อนใช้ความรู้ขั้นสูง นอกจากนี้ในการจัดเก็บไฟล์ ภาพกราฟิกยังมีลักษณะการบันทึกที่พิเศษ ด้วยเกิดจากขนาดของไฟล์ที่ใหญ่ต้องใช้พื้นที่ใน การจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า ท าให้อาจมีปัญหาการบันทึกเกิดขึ้นได้หากไม่มีความ เชี่ยวชาญ ภาพที่ 2.9 แสดงตัวอย่างภาพกราฟิก ที่มา : http://www.latimes.com


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 29 2.2.5 วีดีทัศน์ (VDO) วีดีทัศน์เป็นอีกสื่อดิจิทัลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยปัจจุบันนี้การ สร้างงานด้านวีดีทัศน์ไม่ใช่เรื่องยากที่จ ากัดเฉพาะในบางกลุ่มคนอีกต่อไปมีเพียงโทรศัพท์มือถือ เพียงเครื่องเดียวก็สามารถถ่ายวีดีทัศน์ได้ (ภาพที่ 2.10) อย่างไรก็ตามสื่อวีดีทัศน์ ยังสามารถ น าเสนอรูปแบบดิจิทัลอื่น ๆ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถน ามา ประกอบกับเสียงได้อย่างสมบูรณ์ แต่ปัญหาหลักของการผลิตสื่อวีดีทัศน์ คือ การสิ้นเปลือง ทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจ าเป็นจ านวนมหาศาล เพราะการน าเสนอวีดีทัศน์ด้วยเวลา ที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจ านวนภาพไม่ต่ ากว่า 30 ภาพต่อวินาที และ การประมวลผลภาพต้องผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณ ภาพที่ 2.10 แสดงตัวอย่างภาพการบันทึกวีดีทัศน์ด้วยโทรศัพท์มือถือ ที่มา : https://www.iphone-droid.net 2.3 อุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลและเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล ลักษณะเด่นขอความเป็นสื่อระบบดิจิทัลคือการเข้ารหัสสัญญาณธรรมชาติ ให้อยู่ใน รูปสัญญาณดิจิทัลนั่นเอง แล้วด าเนินการบันทึกข้อมูลและน าข้อมูลที่อยู่ในรูปรหัสไปท าการ ถอดรหัสให้อยู่ในรูปสัญญาณธรรมชาติอีกครั้งเพื่อคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ได้เข้าใจ ซึ่งอุปกรณ์ ส าหรับการบันทึกข้อมูลดิจิทัลที่ถูกพัฒนาขึ้นสามารถสรุปได้ดังนี้


30 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 1. จานบันทึกแบบแข็ง (Hard disk) จานบันทึกแบบแข็งหรือฮาร์ดดิสก์(hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบ เลือนลักษณะเป็นจานโลหะเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ดังภาพที่ 2.9 การติดตั้งเข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถท าได้โดยผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ได้ทั้ง อินเตอร์เฟซแบบอนุกรม (SATA) นอกจากนี้ยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทาง สายยูเอสบี(USB) ด้วยความจุในการบันทึกที่มีมากสามารถใช้เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ประเภท ข้อมูลที่เป็นสื่อดิจิทัลได้อย่างสบาย ภาพที่ 2.11 Hard Disk ที่มา : https://en.wikipedia.org ในปัจจุบันความจุของฮาร์ดดิสก์ มีขนาด 1 เทอราไบต์ (TB) ขึ้นไป ยิ่งมีความจุมากก็ จะยิ่งท าให้การท างานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ซีดีรอม/ดีวดี(CD-ROM / DVD) ค าว่า ซีดีรอม หรือ CD-ROM / DVD เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูล ในอดีตเป็นสื่อที่ได้รับ ความนิยมในการเก็บไฟล์ข้อมูลและสื่อดิจิทัล ประเภทวิดีโอ และเสียง ด้วยมีราคาถูก การอ่าน เขียนซีดีจะอาศัย ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive) หรือ ดีวีดีไดร์ฟ (DVD Drive) เพื่อลดขนาด ตัวเครื่อง ซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลข้อความ ภาพ หรือเสียงได้ รูปลักษณะเหมือนจานซีดีที่ บรรจุเพลงดังภาพที่ 2.7 มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว CD-ROM จุข้อมูลได้ราว 600 เมกะไบต์และ DVD จุข้อมูลได้ 4.7 กิกกะไบต์


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 31 ภาพที่ 2.12 ซีดีรอม ที่มา : https://driverwhiz.com 3. แฟรชไดร์ฟ (Flash Drive) แฟรชไดร์ฟ หรือ ยูเอสบีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส าหรับเก็บข้อมูลโดยใช้ หน่วยความจ าแบบแฟรช ท างานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้าหนักเบาเป็น อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์ด้วยช่องเสียบยูเอสบี (Port USB) ปัจจุบันความจุของไดร์ฟมีตั้งแต่ 2 กิกกะไบต์ ขึ้นไปจนถึง 128 กิกกะไบต์หรือมากกว่า ภาพที่ 2.13 แฟรชไดร์ฟ ที่มา : http://www.mozztech.com


32 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 4. บลูเรย์ (Blu-Ray) เทคโนโลยีนี้ก าเนิดขึ้นมาเนื่องจากแผ่นดีวีดีมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ ที่ใช้เก็บภาพยนตร์ จะสามารถเก็บภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว แต่ ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบความคมชัดสูงได้ ถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาว เท่ากันในรูปแบบที่มีความคมชัดสูงจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่าท าให้บลูเรย์ถือก าเนิด ขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ าเงิน แสงสี น้ าเงินนี้มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่ว ๆ ไปท าให้สามารถบันทึก ข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มากกว่าในเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blu-ray สามารถเก็บวีดีทัศน์ความคมชัดสูง ได้นานถึง 9 ชั่วโมง ในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วีดีทัศน์ที่บีบอัดตาม มาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่ว ๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง ภาพที่ 2.14 แผ่นบลูเรย์ ที่มา : http://www.amsshoponline.com 5. โซลิดสเตตไดร์ฟ (Solid state drive : SSD) หรือ เอสเอสดี โซลิดสเตตไดร์ฟ คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวม เป็นหน่วยความจ า เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตต ไดร์ฟถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงท าให้มีอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อที่เหมือนกันและ สามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดร์ฟถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่ มีชิ้นส่วนจักรกลใด ๆ ที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผล ให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดร์ฟนั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการ แรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดร์ฟไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็ก


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 33 ในการอ่านข้อมูลท าให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในต าแหน่ง ต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงต าแหน่งของข้อมูล ภาพที่ 2.15 โซลิดสเตตไดร์ฟ ที่มา : https://www.samsung.com/th/ssd/ ค าว่าโซลิดสเตตไดร์ฟเป็นค ากว้าง ๆ ที่อธิบายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกับ ฮาร์ดดิสก์แต่ใช้หน่วยความจ าในการเก็บข้อมูลทดแทนการใช้จานแม่เหล็ก โซลิดสเตตไดร์ฟจึง มีหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามชนิดหน่วยความจ าที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันหน่วยความจ า ที่นิยมน ามาใช้ในโซลิดสเตตไดร์ฟคือ หน่วยความจ าแฟรช ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมที่ สุดแต่มีข้อเสียที่จ ากัดจ านวนครั้งในการเขียนข้อมูลทับ โซลิดสเตตไดร์ฟ ผลิตได้ 2 แบบ คือ 1) NOR Flash หน่วยความจ าจะถูกเชื่อมต่อกันแบบขนาน ท าให้สามารถเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างอิสระ อ่านข้อมูลเร็วมาก แต่ มีความจุต่ า และราคาแพงมาก 2) NAND Flash เป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล็อก ท าให้มีความจุสูง ราคาถูก) เป็น ระบบเดียวกับแฟรชไดร์ฟ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีราคาถูกกว่า ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท - Single-Level Cell (SLC) ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ท างานเร็ว กินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน (เขียนได้ 1 แสนครั้งโดยประมาณ) แต่มีราคาสูง - Multi-Level Cell (MLC) 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต (ปัจจุบัน 1 เซลเก็บได้ 2 บิต และอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เก็บได้มากขึ้นเรื่อยๆความเร็วต่ ากว่า ใช้พลังงานมากกว่า SLC เขียนได้ ไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง แต่มีราคาถูก)


34 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน 6. Cloud storage เป็นรูปแบบของเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลระดับวิสาหกิจ ไม่เพียงแต่จัดเก็บข้อมูล ของคอมพิวเตอร์จากผู้ใช้งานต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นศูนย์รวมการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Virtual Pool ซึ่งหมายถึงแนวทางที่ให้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ถูกมองเป็นอุปกรณ์ Hard disk ของผู้ใช้งานแต่ละคน ดังนั้นในศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วย Storage Array มีการแบ่งเนื้อ ที่จัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคน เสมือนหนึ่งว่าแต่ละคนมี Hard Drive ของตนเอง (แต่ใช้ วิธีการแบ่งเนื้อที่ใน Hard Drive) โดยศูนย์จัดเก็บข้อมูลนี้ อาจเป็นผู้บริการรายใดรายหนึ่งที่มี Data Center ก็ได้ และผู้ใช้งานจะต้องเช่าใช้เนื้อที่ของ Hard Disk เพื่อจัดเก็บข้อมูลของเขาก็ ได้ ข้อมูลของผู้ใช้บริการอาจถูกจัดเก็บไว้ใน Hard Drive ตัวเดียวกัน หรือหลายตัว ในหลาย Server ก็ และความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ ของการให้บริการ ภาพที่ 2.16 แสดงภาพผู้ให้บริการ Cloud Storage จาก Rackspace ที่มา : https://www.cyberthai.com 2.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างสื่อดิจิทัล 2.4.1 ซอฟต์แวร์ประมวลผลค า (Word processing) ซอฟต์แวร์ประมวลผลค า เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลค า ซึ่ง คุณสมบัติหลัก ๆ ก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบ ตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถโดยการน าเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับ


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 35 เอกสารได้ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นรูปภาพที่มีอยู่แล้วที่เรียกว่า คลิปอาร์ต หรือภาพถ่ายอื่น ๆ ก็ได้ Microsoft Word (ไมโครซอฟท์ เวิร์ด) เป็นโปรแกรมประมวลผลค าแบบพิเศษช่วย ให้สร้างเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา เหมาะกับงานด้านการพิมพ์เอกสารทุก ชนิด สามารถพิมพ์เอกสารออกมาเป็นชุด ๆ ซึ่งเอกสารอาจเป็นจดหมาย บันทึกข้อความ รายงาน บทความ ประวัติย่อและยังสามารถตรวจสอบ ทบทวน แก้ไข ปรับปรุง ความถูกต้อง ในการพิมพ์เอกสารได้อย่างง่ายดาย สามารถตรวจสอบ สะกดค า และหลักไวยากรณ์ เพิ่ม ตาราง เพิ่มกราฟฟิก ในเอกสารได้อย่างง่ายดาย หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้ตลอดเวลา . ภาพที่ 2.17 แสดงภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์ เวิร์ด 2.4.2 โปรแกรมกราฟิกวาดภาพ (Drawing Graphics Program) โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง ภาพที่ซับซ้อน ทางวิศวกรรม ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้ เฉพาะงาน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ โปรแกรมช่วยออกแบบ 1) Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมในการออกแบบ การแต่งภาพ การใส่เอ็ฟเฟ็ก ยอดนิยม ด้วยความที่ใช้งานง่ายและมีเครื่องมีในการใช้งานมากมาย สามารถใช้งานได้สารพัด ประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการตัดต่อภาพ การแต่งภาพให้สวยขึ้น คมชัดขึ้น ขาวขึ้น


36 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ภาพที่ 2.18 แสดงภาพโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : https://download.cnet.com 2) Adobe Illustrator โปรแกรมออกแบบโลโก้ ออกแบบภาพ เสริม เติม แต่งภาพ ระดับมืออาชีพ มีฟังก์ชันคล้ายกับ Photoshop แต่มีการท างานที่เหนือชั้นกว่าในการออกแบบ ภาพที่ 2.19 แสดงภาพโปรแกรม Adobe Photoshop ที่มา : https://www.asis.co.th 2.4.3 โปรมแกรมสร้างแอนิเมชั่น การสร้างผลงานด้านแอนิเมชั่น สามารถท าได้ในหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ ของงาน โดยพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ Draw Animation, Model Animation, Computer Animation ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบสามารถผลิตหรือสร้างผลงานแอนิเมชั่นออกมา


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 37 แตกต่างกัน เช่น Draw Animation เป็นการวาดภาพแต่ละภาพด้วยมือต่อเนื่องกันไปจนได้ เป็นแอนิเมชั่น การสร้างแอนิเมชั่นเพียงไม่กี่วินาทีด้วยแอนิเมชั่นประเภทนี้ต้องใช้ภาพวาด หลายพันภาพ มีโปรแกรมให้เลือกใช้งานมากมาย เช่น 1) Adobe Animate คือ Adobe Flash ที่ปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ด้วยการ ออกแบบเทคโนโลยีใหม่หมด ในปี 2016 เพื่อให้สนับสนุนมาตรฐาน HTML5 สมบูรณ์แบบ และในขณะเดียวกันก็ยังรองรับการท างานร่วมกับไฟล์ Flash ดั้งเดิมอีกด้วย แต่ขยายขีด ความสามารถให้รองรับมาตรฐานแอนิเมชันปัจจุบันและอนาคตทั้ง HTML5 Canvas เนื้อหา ส าหรับเว็บและวิดีโอความละเอียดสูง 4K รวมไปถึงมาตรฐาน webGL อีกด้วย และเนื่องจาก Adobe Animate ได้เกิดขึ้นมาในยุคของ Creative Cloud แปลว่า จะได้ระบบการท างาน ร่วมกันของ Creative Cloud ไปเต็ม ๆ ทั้งเรื่องการใช้ฟอนต์จาก Type kit การแชร์ Library ในองค์กร และการอัพเดทฟังก์ชั่นที่ถี่มากขึ้นจากระบบอัพเดทของ Cloud ภาพที่ 2.20 แสดงภาพโปรแกรม Adobe Animate ที่มา : https://www.applicadthai.com 2) โปรแกรม Autodesk Maya เป็น โปรแกรมท าแอนิเมชัน 3 มิติ (3D) ชั้นสูงที่ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นต่าง ๆ นิยมใช้สร้าง นิยมน าไปใช้สร้างการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ โปรแกรม Autodesk Maya ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลสมจริง โดดเด่นกว่า โปรแกรมท าแอนิเมชัน 3 มิติอื่น ๆ โดยโปรแกรมท าแอนิเมชั่นนี้เป็นโปรแกรมรูปแบบ Open Architecture คือ งาน ทั้งหมดที่สร้างสรรค์สามารถแปลงเป็น Script ต่าง ๆ ได้ รวมถึงยังมี API ที่รองรับทั้ง Maya Embedded Language (MEL), Python และภาษาอื่น ๆ ได้


38 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ภาพที่ 2.21 แสดงภาพโปรแกรม AutoDesk Maya ที่มา : https://software.thaiware.com 2.4.4 โปรแกรมสร้างวิดีโอและตัดต่อ 1) Adobe Premier Pro เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อภาพและเสียง ซึ่งตัว โปรแกรมเองมีความสามารถในการตกแต่งและตัดต่อภาพ-เสียง และ ใส่ Effect และ Transition ให้กับภาพและเสียง โปรแกรม Premiere Pro เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย บริษัท Adobe ภาพที่ 2.22 แสดงภาพโปรแกรม Adobe Premier Pro ที่มา : https://software.thaiware.com


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 39 2) Adobe After Effects เป็นโปรแกรมที่ใส่ Effect ให้กับภาพยนตร์ ในขั้นตอนการ ตัดต่อ ไฟล์ที่น าเข้ามาใช้ในโปรแกรมนี้ได้เกือบทุกชนิดได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง ยิ่งถ้าเป็นการท ามาจากโปรแกรม 3d แล้วมาท าต่อที่ After Effect จะท าให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสามารถจะน าไฟล์ทั้งหลายมาใช้งานร่วมกัน เพื่อให้ได้งานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวชิ้นใหม่ ออกมาจากโปรแกรม After Effects อย่างสมบูรณ์ ภาพที่ 2.23 แสดงภาพโปรแกรม Adobe After Effects ที่มา : https://software.thaiware.com สรุป องค์ประกอบเบื้องต้นของสื่อดิจิทัลที่ใช้ในการผลิตมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ 1) ข้อความ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้น าเสนอเกี่ยวกับเนื้อหา ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่ น าเสนอ ปัจจุบันจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยัง สามารถก าหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ในระหว่างการน าเสนอได้อีกด้วย 2) เสียง มีการจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัล สามารถเล่นกลับไปกลับมาได้เสียงที่เร้าใจ และสอดคล้องกับเนื้อหาในการน าเสนอ จะช่วยให้ สื่อดิจิทัลเกิดความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น สร้าง ความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 3) ภาพนิ่ง คือภาพที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว มีบทบาทต่อระบบงานสื่อดิจิทัลมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ด้วยให้ผลเชิงการ รับรู้จากการมองเห็น ไม่มีข้อจ ากัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา สามารถสื่อ


40 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจ าวัน ความหมายได้กับทุกชนชาติ 4) ภาพเคลื่อนไหวเป็นภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดง ขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้ โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ มากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า 5) วีดีโอ สามารถน าเสนอข้อความหรือรูปภาพทั้ง ภาพนิ่งหรือ ภาพเคลื่อนไหวมาประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ หลังจาก ด าเนินการการผลิตตามกระบวนการท างานที่แสดงไว้ในขอบเขตกระบวนการผลิตสื่อ ควรมี การจัดเก็บในอุปกรณ์ส าหรับการบันทึกข้อมูล ดิจิทัลที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพสื่อที่ดีในการ น าไปใช้งาน โดยอุปกรณ์บัน ทึกสื่อดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นตาม เอกสารอ้างอิง กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์ เคทีพี. ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2555). เอกสารประกอบการสอน DIGITAL MEDIA PRODUCTION. สื่อประสมในงานส่งเสริมการเกษตร ที่มา https://ag.kku.ac.th/Extension/images/ 146325/สื่อประสม (Multimedia).pdf.


บทที่ 2 เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล 41 รหัสนักศึกษา .......................... ชื่อ–สกุล ............................................. ติดบาร์โค้ด ค าถามท้ายบทที่ 2 1. จงยกตัวย่างสื่อดิจิทัลแต่ละประเภทที่นักศึกษาพบเจอในชีวิตประจ าวันมา 5 แบบ .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 2. หากต้องการบันทึกซีรีส์เกาหลีจ านวน 25 ตอน ความยาวตอนละ 1 ชั่วโมง นักศึกษาจะ เลือกบันทึกด้วยอุปกรณ์ชนิดใดเพราะเหตุใด .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 3. SSD คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 4. Cloud storage คืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 5. จงบอกชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างงานสื่อดิจิทัลมา 3 ชื่อ .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................


Click to View FlipBook Version