The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by decha36928, 2022-07-25 22:09:52

D8C1A099-8A6B-4A14-8E82-5DB86522B3C0

D8C1A099-8A6B-4A14-8E82-5DB86522B3C0

บุคคลสำคัญ

คุ ณ ค รู เ ฉ ล ย ศุ ข ะ ว ณิ ช

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ศ32101 ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้

จากเนื้อหา บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ของไทย ซึ่ง
รายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ชีวประวัติ การทำงาน ประวัติการ
รับราชการ การแสดงเป็นตัวนาง ผลงานด้านการประดิษฐ์

ท่ารำ,ผลงานด้านการสร้างสรรค์ สรุปผลงาน
ผู้จัดทำได้ทำการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลมาจากอินเตอร์เน็ต
ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจหรือผู้

ที่กำลังศึกษาเรื่องนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย



นางสาว ณภัทร เนียมแสวง

ส า ร บั ญ หน้า
1-2
ชีวประวัติ 3

4
5
การทำงาน
6-7
ประวัติการรับราชการ
8
การแสดงเป็นตัวนาง

ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่า
รำ , ผลงานด้านการ
สร้างสรรค์

สรุปผลงาน

ชีวประวัติ

นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน
พุทธศักราช ๒๔๔๗ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ
ออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรม
ศิลปากร เป็นศิลปินอาวุโส ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูง
ใน กระบวนท่ารำทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนเก่า
และยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านนาฏศิลป์
ขึ้นมาใหม่มากมาย ซึ่งกรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์
ทั่วประเทศได้ถือเป็นแบบ ฉบับของศิลปะ การร่ายรำ

สืบทอดต่อมาจน ถึงทุกวันนี้

นางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับการยกย่องเชิด ชูเกียรติ
เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์)

กำเนิด

เป็นบุตรีของนายเงินและนางเน้ย แต้สุข
ชื่อเดิมท่านชื่อกิมฮวย

การศึกษา

ได้เรียนวิสามัญระดับประถม ศึกษา ที่โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้าน มี
ความรู้พอ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุประมาณ ๗ ขวบ มารดาได้ พา
ไปฝากไว้ให้อยู่ในความอุปการะของคุณ หญิงจรรยายุทธกิจ (เอี่ยม
ไกรฤกษ์) ต่อมา ได้ติดตามไปอยู่กับคุณท้าวนารีวรคณา รักษ์ (เจ้า
จอมแจ่มในรัชกาลที่ ๕) ซึ่งเป็นพี่สะใภ้ของคุณหญิงจรรยาฯ เพื่อ

ฝึก หัดละครเมื่อได้มาอยู่กับคุณท้าวนารีฯ ณ วังสวนกุหลาบแล้ว
นายเฉลยก็ได้มีโอกาส ฝึกหัดละครจนกระทั่งได้รับ การถวายตัวกับ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา และได้อยู่ใน ความดูแลรับ

การฝึกฝนเป็นพิเศษจากท่าน ครูและท่านผู้ชำนาญการละครอีก
หลายท่าน

การทำงาน

ได้มีโอกาสแสดงละครประเภทต่างๆเช่น ละครนอก ละครใน
ละครดึกดำบรรพ์ โดยได้รับเป็นตัวเอกของเรื่องแทบทุกครั้ง
นางเฉลย ศุขะวณิช จนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้สมรสกับพระ

ยาอมเรศร์สมบัติ
(ต่วน ศุ ขะวณิช) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมกองผลประโยชน์
พระคลังข้างที่ หลังจากสมรส สามีขอร้องให้ เลิกการแสดง ท่าน
จึงต้องอำลาจากเวทีละครและ ปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านเพียงอย่าง
เดียว นางเฉลยมี บุตรและธิดากับพระยาอมเรศร์สมบัติ ๔ คน

และ เมื่ออายุ ๔๓ ปี พระยาอมเรศร์สมบัติผู้สามีถึง แก่
อนิจกรรม นางเฉลยจึงได้กลับคืนมาสู่ วงการนาฏศิลป์อีกครั้ง

ห นึ่ ง





นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการ เรียน
การสอนวิชานาฏศิลป์ เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมใน การร่าง

หลักสูตรวิชานาฏศิลป์ไทยระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น จนถึงระดับ
ปริญญา เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรและสื่อ การเรียนการสอนระดับ
ปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลป์สมทบใน คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอา ชีวศึกษาให้ก้าวหน้าทันต่อวัตกรรม
ทางการ ศึกษา เป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักประดิษฐ์ ลีลาท่า
รำระบำต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงให้ ผสมผสานตามยุค ตาม

โ อ ก า ส แ ล ะ ส มั ย นิ ย ม

ประวัติการรับราชการ

พ.ศ.๒๕๐๐ คุณครูเฉลย อายุได้ ๕๓ ปี คุณครูลุมลได้
ขักชวนให้ท่านมาเป็นครูสอนละครนาง ณ โรงเรียนนาฏ

ดุริยางคศาสตร์(วิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน) เพื่อ
สอนหม่อมครูต่วน(ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ซึ่งถึงแก่
กรรมคุณครูเฉลย ได้สร้างคุณูปการมากมายให้แก่

วิทยาลัยนาฏศิลป
กรมศิลปากร และวงการนาฏศิลป์ไทย จนได้รับยกย่อง

เป็น“ศิลปินแห่งชาติ” สาขาศิลปะการแสดง ประจำ
ปีพ.ศ ๒๕๓๐ สิ่งที่นับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดของชีวิต

ความเป็นครูของคุณครูเฉลย ศุขะวณิช คือการได้
ถวายการสอนแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ท่านรับราชการจนเกษียณอายุ
เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ และได้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการ
สอนนาฏศิลป์ ประจำวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร
จนสิ้นอายุของท่าน เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๔๔ รวม

อายุท่านได้ ๙๖ ปี

การแสดงเป็นตัวนาง

การแสดงเป็นตัวนางขณะอยูวังสวนกุหลาบ

•ละครใน

1. เรื่อง อิเหนา แสดงเป็น มะเดหวี ดรสา

2เรื่อง อุณรุท แสดงเป็น นางศุภลักษณ์

3.เรื่อง รามเกียรติ์ แสดงเป็น ชมพูพาน

•ละครนอก


1.เรื่อง สังข์ทอง แสดงเป็น นางมณฑา นางจันทร์

2.เรื่อง สังข์ศิลป์ไชย แสดงเป็อปนางเกสรสุมณฑา

3.เรื่อง คาวี แสดงเป็น นางเฒ่าทัศประสาท

นางคันธมาลี

4.เรื่อง พระอภัยมณี แสดงเป็น นางวารี นางสุวรรณมาลี

5.เรื่อง เงาะป่า แสดงเป็น นางฮอยเงาะ

ผลงานด้านการ
ประดิษฐ์ท่ารำ

เช่น รำแม่บทสลับคำ รำพัดรัตนโกสินทร์
ชุดศุภลักษณ์อุ้มสม ฉุยฉายวันทองแปลง ฉุยฉาย

ศูรปนขา ฉุยฉายยอพระกลิ่น
รำกริชดรสา รำฝรั่งคู่ ระบำศรีชัยสิงห์
ระบำกาญจนาภิเษก ระบำเทพอัปสร

พนมรุ้ง ระบำขอม ระบำกินนร ระบำ
มิตรไมตรีซีเกมส์ ฟ้อนลาวสมเด็จ เซิ้งสราญ

เป็นต้น

ผลงานด้าน
การสร้างสรรค์

รำหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก ระบำเทพนพเคราะห์ ระบำ
อยุธยา ฟ้อนชมสวน ฟ้อนลาวสมเด็จ ฟ้อนชมเดือน ระบำ
เทพอัปสร ฉุยฉายนาฏศิลป์ ระบำทวาราวดี ระบำศรีวิชัย
ระบำลพบุรี ระบำเชียงแสน ระบำฉิ่ง ระบำกรับ ฟ้อนแคน

เซิ้งสัมพันธ์ ลำหับชมป่า รำราชสดุดีจักรีวงศ์ ระบำ
มิตรไมตรีญี่ปุ่น-ไทย ระบำสตวาร รำพราหมณีถวายพระพร

ระบำศรีชยสิงห์ ระบำเทพประชุมพร ระบินรี-กินรา ระบำงู
ระบำดอกบัวขาว ระบำไตรรัตน์ ระบำธรรมจักร ระบำนก
(ตับภุมริน) ระบำเบิกโรงเรื่องนางสงกรานต์ ระบำมิตรไมตรี
ระบำแม่โพสพ รำกิ่งไม้เงินทองถวายพระพร รำโคมบัวถวาย
พระพร รำฉัตรมงคลศิรวาท รำพัดรัตนโกสินทร์ รำ
แม่บทสลับคำ รำสวัสดิรักษา เซิ้งสราญ ระบำเทพอัปสรพนม

รุ้ง ฟ้อนมอญ ระบำขอม ระบำจีนเก็บบุปผา

สรุปผลงาน

จากผลงานต่างๆ นี้ ทำให้นางเฉลย
ศุขะวณิช ได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติคุณ
ต่างๆมากมาย เช่น ได้รับเครื่องราชอิสริยารณ์
ตริตราภรณ์มงกุฎไทย(ต.ม.) รับพระราชทานโล่
กิตติคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนาราช สุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีในงานเชิดชูเกียรติ ศิลปิน

อาวุโส เนื่องในวโรกาส งานยมโภชกรุง
รัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ซึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด
เป็นผู้จัดเมื่อ วันที่๑๙ พฤษภาคม ๒๕๒๕ และรับ
พระราชทานปริญญา กิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์

ไทย วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ.๒๕๓๐

จัดทำโดย

นนาางงสสาามมวว..55ณณ//ภภั5ั5ททรรเเลลเเขขนนีีททยียี่่55มมแแสสววงง


Click to View FlipBook Version