The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by อดุลย์ ทองบัว, 2023-06-07 04:42:42

คู่มือแนวทางบูรณาการความร่วมมือการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566

ภายใต้รายการค่าใช้จ่ายโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


คำนำ ความร่วมมือในการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้รายการค่าใช้จ่ายโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มีแนวปฏิบัติที่หน่วยงานและสถานศึกษาระดับพื้นที่ในสังกัด สำนักงาน กศน. ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ ลงวันที่ 23 เมษายน 2563 เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ กรณีขอใช้หลักสูตรของกรมอนามัยว่าดำเนินการได้เฉพาะการจัดอบรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเท่านั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้จัดทำโครงการความร่วมมือการผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข เพื่อผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง และหลักสูตร 420 ชั่วโมง ดังนั้น การรับสมัครผู้เข้าอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง และหลักสูตร 420 ชั่วโมง สถานศึกษา ต้องสื่อสารกับหน่วยงานบูรณาการและประชาชนผู้สนใจเข้ารับการอบรมให้ชัดเจน สำหรับการออกวุฒิบัตรให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง วันที่ 23 เมษายน 2563) กำหนดให้ลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ และผู้บริหารหน่วยงานร่วมจัด เท่านั้น จึงขอให้ สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. และกศน. อำเภอ/เขต ทุกแห่ง ที่มีการจัดอบรมหลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุทั้งหลักสูตร 70 ชั่วโมง และหลักสูตร420 ชั่วโมง ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดใน “คู่มือแนวทาง บูรณาการความร่วมมือการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ซึ่งยึดแนวทาง การดำเนินงานตาม “ประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ ลงวันที่ 23 เมษายน 2563 เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรการดูแล ผู้สูงอายุ” และ “คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข” เพื่อคุณภาพและมาตรฐานของผู้ผ่านการอบรม ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ หากดำเนินการไปแล้วพื้นที่พบว่า แนวทางเรื่องใดสมควรปรับปรุงแก้ไขขอให้แจ้งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมาย พิเศษ (ศกพ.) ได้ทันทีและตลอดเวลา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กุมภาพันธ์2566 ก


สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญตาราง ค ตอนที่ 1 บทนำ - ความเป็นมา 1 - วัตถุประสงค์ของโครงการ 6 - กรอบวงเงินงบประมาณการจัดอบรม 6 - แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายการจัดอบรม 7 - การติดต่อสื่อสารกับผู้รับผิดชอบ 7 ตอนที่ 2 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดอบรมแบบบูรณาการ - ความพร้อมของพื้นที่ 8 - หลักสูตรที่ใช้ในการจัดอบรม 10 - ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จำนวน 70 ชั่วโมง 11 - ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง 12 - วิทยากร 13 - กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติผู้เข้าอบรม 13 - ประกาศรับสมัครและใบสมัคร 14 - สถานที่ในการจัดอบรมและการฝึกปฏิบัติงาน 14 - สื่อหลัก สื่อประกอบ วัสดุและครุภัณฑ์การฝึกอบรม 14 - หลักการการนับรุ่น 15 - การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดอบรม 16 - การจัดทำตารางการอบรม 17 - การประเมินผลสัมฤทธิ์การอบรม 18 - การออกวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมและการจัดส่งฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรม 18 - การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน 18 ข


สารบัญ (ต่อ) หน้า ตอนที่ 3 การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ - มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ 19 - วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการออกหนังสือรับรอง สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุระดับ 1 25 - คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ 25 ตอนที่ 4 ความพร้อมการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 26 ภาคผนวก 1 : ตอนที่1 บทนำ 1-1 กรมการปกครองแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเรื่องการบูรณาการการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ (หนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0319/4737 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2559) 28 1-2 กรมอนามัยให้ใช้หลักสูตรและสนับสนุนวิทยากร (หนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0933.03/2246 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2559) 29 1-3 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 30 1-4 ความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง (หนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0941.03/9682 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2560) 32 1-5 คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง วันที่ 23 เมษายน 2563) 33 1-6 หารือกรมอนามัย เรื่อง การจัดอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง หนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.121/2234 ลงวันที่ 17 เมษายน 2563 56 1-7 กรมอนามัยตอบข้อหารือ เรื่อง การจัดอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง หนังสือกรมอนามัย ที่ สธ 0941.04/3224 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 57 1-8 แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายโครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ กระทรวงศึกษาธิการ (หนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.121/5351 ลงวันที่ 26 กันยายน 2559) 61 ค


สารบัญ (ต่อ) หน้า ภาคผนวก 2 : ตอนที่ 2 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดอบรมแบบบูรณาการ 2-1 การยืนยันความพร้อมของพื้นที่และวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (หนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.121/6754ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 63 2-2 ตัวอย่างประกาศรับสมัคร 64 2-3 ตัวอย่างใบสมัครผู้เข้าอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 66 2-4 ตัวอย่างวุฒิบัตรภาษาไทย 68 2-5 ตัวอย่างวุฒิบัตรภาษาอังกฤษ 69 2-6 แบบประเมินการฝึกทักษะ 70 2-7 โครงสร้างหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 420 ชั่วโมง 139 2-8 แนวทางการยื่นคำขอรับรองหลักสูตรด้านการบริการเพื่อสุขภาพ (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข) 144 2-9 คู่มือระบบกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้ใช้บริการ 147 2-10 คู่มือระบบกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง “การขอบันทึกรายชื่อ ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรที่ได้รับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” 163 2-11 ขั้นตอนวิธีการสมัครใช้งาน 164 2-12 กฎกระทรวง “กำหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่น ในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2563” 169 ภาคผนวก 3 : ตอนที่ 3 การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3-1 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ 182 3-2 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ 187 3-3 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่าน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 188 ภาคผนวก 4 : ตอนที่ 4 ความพร้อมการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ข้อมูลการจัดสรรเงินงบประมาณให้สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. 191 ที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ คณะผู้จัดทำ ง


สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 กรอบวงเงินงบประมาณการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 6 ตารางที่ 2 เนื้อหาหลักสูตรที่ใช้ในการอบรม 10 ตารางที่ 3 กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม 13 ตารางที่ 4 การนับรุ่นการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 15 ตารางที่ 5 สรุปการยืนยันความพร้อมในการจัดและสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรให้พื้นที่ 26 จ


1 ตอนที่ 1 บทนำ ความเป็นมา โครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ชื่อเดิมคือ โครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โครงการนี้เกิดจากแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงค์ รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ที่ต้องการเห็นการบูรณาการงานผู้สูงอายุระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ จึงได้เชิญผู้แทนจาก 7 กระทรวง 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เข้าร่วมประชุมเพื่อริเริ่ม ให้เกิดการบูรณาการงานในระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในการประชุมดังกล่าวผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการที่เข้าร่วมประชุมแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นางสุทธศรี วงษ์สมาน) คือ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรพงษ์จำจด) มี ดร. เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงค์) เป็นประธานการประชุม และที่ประชุมได้ร่วมกัน กำหนดแนวทางในการบูรณาการงานสังคมของภาครัฐเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ “รัฐ - ราษฎร์ร่วมใจ ห่วงใยดูแลผู้สูงอายุ” ในระหว่างการประชุม ผู้แทนแต่ละกระทรวงได้เสนอกรอบแนวคิดว่ากระทรวงของตนเองจะเข้าไป มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการบูรณาการงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเรื่องใดบ้าง ระหว่างการประชุม ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลในที่ประชุมว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมระบบ บริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Long Term Care : LTC) มีภารกิจต้องผลิต Care Manager และ Caregiver จำนวนมากเพื่อไปปฏิบัติงาน ในระบบ LTC จึงขอความร่วมมือกระทรวงศึกษาธิการให้ช่วยผลิต Caregiver ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรพงศ์ จำจด) จึงได้เสนอแนวคิดในการจัดทำโครงการไป 2 โครงการ คือ การผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งที่ประชุมได้รับหลักการทั้ง 2 โครงการ โดยมอบหมายให้ สำนักงาน กศน. เป็นผู้รับผิดชอบ ผลจากการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้สำนักงาน กศน. ได้รับเงินงบประมาณแบบบูรณาการ เพื่อการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการจัดหลักสูตรการดูแล ผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ และโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ


2 โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ได้รับเงินงบประมาณเพียง 2 ปี คือ ระหว่าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2560 เท่านั้น ส่วนโครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับงบประมาณต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน แต่มีการเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น “โครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รูปธรรมของการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สำนักงาน กศน. ดำเนินการในระดับนโยบาย ที่หน่วยงาน/สถานศึกษาในพื้นที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้อง บูรณาการด้วย ได้แก่ 1. ขอความร่วมมือกรมการปกครองแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ตามหนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0319/4737 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2559 (ภาคผนวก 1-1) 2. ขอใช้หลักสูตรและขอรับการสนับสนุนวิทยากร ไปยังกรมอนามัย ตามหนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0933.03/2246 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2559 (ภาคผนวก 1-2) 3. จัดทำ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ)” ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 ระหว่าง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข (ภาคผนวก 1-3) 4. ความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง (หนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0941.03/9682 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2560) (ภาคผนวก 1-4) ซึ่งกรมอนามัย ขอความร่วมมือสำนักงาน กศน. ใน 4 เรื่อง ดังนี้ 4.1 ด้านคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การปฏิบัติขอให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 6) “การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน” 4.2 การจัดอบรมในระดับพื้นที่ วิทยากรหลักในการอบรมควรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ 4.3 พื้นที่ในการจัดอบรมและผู้เข้ารับการอบรมไม่ควรทับซ้อนกัน 4.4 ควรมีการควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลหลังการอบรม เพื่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำเนินงานให้บริการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ 5. พัฒนาระบบการยืนยันความพร้อมการจัดอบรม และระบบการออกวุฒิบัตร เพื่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และกำกับคุณภาพการผลิต ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 5.1 ระบบการยืนยันความพร้อมการจัดอบรม มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ ลงนามร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ ในแบบสำรวจและยืนยัน ความพร้อมการจัดอบรม ที่ต้องประเมินองค์ประกอบความพร้อมการจัดอบรม 4 เรื่อง ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย กศน. อำเภอ หน่วยงานของ สธ. และการสนับสนุนจาก อปท.


3 2) ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด ลงนามร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ในแบบสรุปยืนยันความพร้อมการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เหตุที่มาของการพัฒนา “ระบบการยืนยันความพร้อมการจัดอบรม” ขึ้นมา เนื่องจาก ในทางปฏิบัติกศน. อำเภอ หลายแห่ง ใช้วิธีการประสานงานเพื่อบูรณาการความร่วมมือการผลิตโดยตรงกับ โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จึงเกิดปัญหาความไม่เข้าใจของผู้กำกับนโยบายระดับ อำเภอ และจังหวัดของกระทรวงสาธารณสุข เพราะ “สาธารณสุขอำเภอ” และ “นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด” มิได้รับรู้รับทราบข้อมูล ว่ามีความร่วมมือระหว่าง กศน. อำเภอ กับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ จึงไม่ยอมลงนามในวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม 5.2 ระบบการออกวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม กำหนดให้วุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมทุกคน ต้องมีการลงนาม 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับอำเภอ กำหนดให้ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ ลงนามร่วมกับ สาธารณสุขอำเภอ เป็นอย่างน้อย ซึ่งสามารถเพิ่มผู้ลงนามในระดับอำเภอที่มีความร่วมมือจริงได้อีก เช่น นายอำเภอ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล นายก อปท. ฯลฯ 2) ระดับจังหวัด กำหนดให้ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัด ลงนามในวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมทุกคน พร้อมจัดส่งฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรมให้สำนักงานสาธารณสุข จังหวัด บันทึกในระบบที่ใช้ควบคุมกำกับการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุภาครัฐของกรมอนามัย เหตุที่มาของการพัฒนา “ระบบการออกวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม” เนื่องจากภาครัฐต้องการควบคุม กำกับมาตรฐานของการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ จึงพัฒนาระบบการออกวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมมาเป็นระยะ ๆ ดังนี้ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นปีแรกของการเริ่มโครงการ ผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุข คือ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ได้เสนอให้ “อธิบดีกรมอนามัย” เป็นผู้ลงนาม แต่ผู้แทน สำนักงาน กศน. ได้ขอต่อรองว่า ควรให้ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ ลงนามร่วมกับผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุข ในระดับพื้นที่ซึ่งมีความร่วมมือในการจัดอบรม ช่วงนี้ วุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรม จึงมีผู้ลงนามในระดับอำเภอ คือ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งอาจเพิ่มนายอำเภอ นายก อปท. ได้ตามที่มีความร่วมมือจริง • กลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เกิดปัญหาว่าผู้ผ่านการอบรม จาก กศน. ในพื้นที่ “...จะมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กำหนดในหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ ...” “...จะไปปฏิบัติงาน เป็นผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver : CG) ในระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care : LTC) ได้หรือไม่ ...” สำนักงาน กศน. จึงได้พิจารณาร่วมกับกรมอนามัย เห็นชอบให้ “...นายแพทย์สาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด ลงนามร่วมกันเพิ่มเติม ในวุฒิบัตรผู้ผ่าน การอบรม และให้ใช้ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงาน กศน. จังหวัด .


4 • ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561...” เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (หนังสือสำนักงาน กศน. ด่วน มาก ที่ ศธ 0210.121/2420 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561) และได้ดำเนินการแปลวุฒิบัตรเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้สถานศึกษาออกควบคู่กับฉบับภาษาไทย ให้แก่ ผู้ผ่านการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง (หนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนมาก ที่ ศธ 0210.121/4261 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561) • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ มีข้อกำหนดในการยื่นขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จำนวน 70 ชั่วโมง และหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง ที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2 ว่า “....ข้อ 2 การขออนุญาตใช้มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุในการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2) มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จำนวน 70 ชั่วโมง และมาตรฐานหลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง ให้ยื่นขออนุญาตใช้ ดังนี้ (1) หน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา องค์กรต่าง ๆ ที่จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อดูแล ผู้สูงอายุในชุมชน ให้ยื่นขออนุญาตใช้ต่อกรมอนามัย....” จากข้อกำหนดนี้เป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 • กลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สืบเนื่องจากประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้น กรมอนามัย โดยสำนักอนามัย ผู้สูงอายุ ได้จัดทำ “คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข” ซึ่งกรมอนามัยได้จัดส่งคู่มือดังกล่าวไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง โดยสำนักงาน กศน. มิได้รับทราบเรื่องราวดังกล่าว ต่อมาสำนักงาน กศน. จังหวัดบุรีรัมย์ได้ประสานแจ้ง ศกพ. ว่า กรมอนามัย ได้จัดส่ง คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนบางประการที่ขัดหรือแย้งกับแนวปฏิบัติตามข้อตกลงความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ศกพ. จึงได้ประสานงานไปยังสำนักอนามัยผู้สูงอายุ ได้ข้อสรุปว่า หาก กศน. มีประเด็นติดขัดเรื่องใด ขอให้แจ้งเพื่อสำนักอนามัยจะได้นำประเด็นดังกล่าวหารือผู้บริหาร และหาทางออกร่วมกันต่อไป ทีมงาน ศกพ. ได้เดินทางไปราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2563 เพื่อดำเนินการหารือร่วมกัน 3 ฝ่ายระหว่าง ผู้แทนสำนักงาน กศน. (โดย ศกพ.) สำนักงาน กศน. จังหวัดบุรีรัมย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ กรณี กรมอนามัย ได้จัดส่ง คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ ไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ (สสจ. บุรีรัมย์) ซึ่งอาจจะมีขั้นตอน บางประการที่ขัดหรือแย้งกับแนวปฏิบัติตามข้อตกลงความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข


5 คณะผู้แทนจากสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัดบุรีรัมย์ กศน. อำเภอประโคนชัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์(นางวิไลพร คลีกร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่ม งานส่งเสริมสุขภาพ) ได้หารือร่วมกัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 เวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมลี้ลอย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว ได้ข้อสรุปร่วมกันในเรื่องความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากคู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ของกรมอนามัย ดังนี้ 1. หลักสูตร 70 ชั่วโมง สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางการบูรณาการความร่วมมือการผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ของสำนักงาน กศน. 2. หลักสูตร 420 ชั่วโมง ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางการบูรณาการความร่วมมือการผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ของสำนักงาน กศน. เนื่องจาก “คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับ พื้นที่” ที่กรมอนามัยแจ้งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง มีข้อปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน ดังนี้ • หน้า 1 กำหนดให้ยื่นขออนุญาตการใช้หลักสูตรต่อกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ • หน้า 2 กำหนดให้ยื่นขออนุญาตการใช้หลักสูตรต่อกรมอนามัย ผู้แทน สสจ. บุรีรัมย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อขั้นตอนการปฏิบัติตามคู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้ หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ หน้า 1 และ หน้า 2 ขัดแย้งกันจึงขอให้สำนักงาน กศน. หารือไปยังกรม อนามัย หากสามารถแก้ไขขั้นตอนการปฏิบัติหน้า 1 ให้เหมือน หน้า 2 ก็จะสามารถบูรณาการความร่วมมือการผลิต หลักสูตร 420 ชั่วโมง ตามแนวทางการบูรณาการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ของสำนักงาน กศน. เช่นเดียวกับหลักสูตร 70 ชั่วโมง สำนักงาน กศน. จึงมีหนังสือหารือไปยังกรมอนามัย (หนังสือสำนักงาน กศน. ที่ สธ 210.121/2234 ลงวันที่ 17 เมษายน 2563 : ภาคผนวก 1-6) และกรมอนามัยได้มีหนังสือตอบข้อหารือตาม หนังสือกรมอนามัย ที่ สธ 0914.04/3224 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 (ภาคผนวก 1-7) สาระสำคัญคือ “แนวทางการขอใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง ว่า “กศน. ที่ขอใช้หลักสูตรตั้งแต่ปี 2559 สามารถใช้ หลักสูตรฯ อบรมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้เลย แต่อนุญาตให้ใช้ในกรณีที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ปฏิบัติ หน้าที่ในลักษณะจิตอาสาซึ่งไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้”


6 วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. หลักสูตร 70 ชั่วโมง เพื่อพัฒนา อสม. ที่จะไปเป็น Caregiver ในระบบ Long Term Care ของกระทรวงสาธารณสุข หรือพัฒนาประชาชนทั่วไปที่มีบุคคลผู้มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัวให้มีความรู้และทักษะ เบื้องต้นในการดูแล 2. หลักสูตร 420 ชั่วโมง เพื่อดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (ปรับตามประกาศกรมกิจการผู้สูงอายุ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากสำนักงาน กศน. ขออนุมัติใช้ หลักสูตรจากกรมอนามัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559) กรอบวงเงินงบประมาณการจัดอบรม กรอบวงเงินงบประมาณการจัดอบรม กำหนดกลุ่มเป้าหมายทุกหลักสูตร รุ่นละ 20 คน มีกรอบวงเงิน งบประมาณของแต่ละหลักสูตร ดังนี้ รายการค่าใช้จ่าย หลักสูตร/บาท หมายเหตุ 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง 1) ค่าตอบแทนวิทยากร (ชั่วโมงละ 200 บาท) 14,000 84,000 2) ค่าบริหารจัดการและค่าวัสดุสิ้นเปลืองในการจัดอบรม 11,700 57,000 รวมทั้งสิ้น 25,700 141,000 ตารางที่ 1 กรอบวงเงินงบประมาณการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ งบประมาณในการจัดอบรม ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน : ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกิจกรรมการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 6,550,000 บาท (หกล้านห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เนื่องจากงบประมาณการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็น “งบรายจ่ายอื่น” เงินงบประมาณโครงการนี้ จึงไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการ/กิจกรรมอื่นได้หากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วมีเงินเหลือต้องส่งกลับส่วนกลาง ทันที


7 แนวปฏิบัติการเบิกจ่ายการจัดอบรม การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดอบรม ให้เป็นไปตามหนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ศธ 0210.121/5351 ลงวันที่ 26 กันยายน 2559 (ภาคผนวก 1-8) ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนวิทยากร ให้เบิกจ่ายตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0406.6/35474 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรระยะสั้น ในอัตราชั่วโมงละไม่เกิน 200 บาท 2. ค่าบริหารจัดการและค่าวัสดุ ให้เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเมื่อหักค่าตอบแทนวิทยากร ได้แก่ 2.1 ค่าบริหารจัดการ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมร่วมกับหน่วยบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อม กำกับ และประเมิน เพื่อให้การจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดทำในแต่ละครั้ง 2.2 ค่าวัสดุ หมายถึง ค่าจัดทำเอกสารและค่าวัสดุสำหรับการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบที่เกี่ยวข้องในแต่ละครั้ง 3. ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรได้ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมง 4. ให้ยืมเงินราชการจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน : ยุทธศาสตร์ พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข มาจ่ายเป็นค่าตอบแทนวิทยากรได้เท่าที่จำเป็นตามตารางการจัดอบรม การติดต่อสื่อสารกับผู้รับผิดชอบ กลุ่มงานส่งเสริมและสนับสนุนการจัด กศน. สำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) สำนักงาน กศน. นางสาวสุภัสสร โห้ยุขัน ครูชำนาญการพิเศษ 08 8498 6113 นางสาวอารียา นวานุช ครูผู้ช่วย 06 4109 7788 E-mail : [email protected] หรือ [email protected] โทร. 0 2628 5331 โทรสาร 0 2628 5330 หมายเหตุ โครงการจัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ กระทรวงศึกษาธิการ ทุกแห่งตามหนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.121/5351 ลงวันที่ 26 กันยายน 2559 ให้หมายถึง การจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตามรายการค่าใช้จ่าย โครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข


8 ตอนที่ 2 แนวทางการขับเคลื่อนการจัดอบรมแบบบูรณาการ การผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่อง ในรูปแบบของ “วิชาชีพระยะสั้น” แต่มีลักษณะ พิเศษที่ต้องขับเคลื่อนในลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก เนื่องจากผู้ผ่านการอบรมจากหลักสูตรนี้ต้องไปปฏิบัติงานหรือประกอบอาชีพที่มีผลกระทบ ( Impact) ต่อชีวิต ของคน การขับเคลื่อนโครงการนี้จึงได้วางระบบที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการจัดอบรม ไว้ดังนี้ ความพร้อมของพื้นที่ กศน. อำเภอ/เขต ที่จะจัดอบรมได้ ต้องมีองค์ประกอบความพร้อมหลัก 3 เรื่อง และองค์ประกอบ ความพร้อมเสริม 1 เรื่อง ดังนี้ องค์ประกอบความพร้อมหลัก 3 เรื่อง ได้แก่ 1) มีกลุ่มเป้าหมาย 2) มีความพร้อมของ กศน.อำเภอ/เขต 3) มีความพร้อมของหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข องค์ประกอบความพร้อมเสริม 1 เรื่อง คือ การสนับสนุนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น สนับสนุน งบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าอบรม จัดพาหนะรับส่งในการฝึกปฏิบัติในชุมชน ช่วยหากลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ หลักการสำรวจและยืนยันความพร้อมของพื้นที่ การสำรวจและยืนยันความพร้อมของพื้นที่ในการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ มีหลักการ ในการสำรวจและยืนยันความพร้อมที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) การจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้จัดอบรมตามสภาพความพร้อมของพื้นที่ โดยจัดได้ทั้งหลักสูตร 70ชั่วโมง และหลักสูตร 420 ชั่วโมง 2) การสำรวจและยืนยันความพร้อม ให้“นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและสาธารณสุขอำเภอ” ลงนามรับรองในเอกสารการสำรวจและยืนยันความพร้อมการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกับสำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ/เขต ด้วย มีขั้นตอนการสำรวจและยืนยันความพร้อมการจัดอบรมตาม “คู่มือการสำรวจและยืนยันความพร้อม การจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุตามโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ซึ่งสำนักงาน กศน. จัดส่งให้สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. ทุกแห่ง ดำเนินการตามหนังสือสำนักงาน กศน. ด่วนมาก ที่ ศธ 0210.121/2246 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ให้เวลาพื้นที่ในการสำรวจ และแจ้งยืนยันความพร้อมการจัดอบรม ส่งถึง สำนักงาน กศน. ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565


9 จากเอกสาร “แบบสรุปยืนยันความพร้อมระดับจังหวัด (แบบ CG66-2)” ซึ่งกำหนดให้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด ลงนาม เพื่อยืนยันความพร้อมที่จะบูรณาการ ความร่วมมือการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ต้องขอชื่นชมพื้นที่ซึ่งได้ใช้ความพยายามในการประสานงานกับ หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขทั้งระดับอำเภอและจังหวัด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องมีความพยายามมากขึ้น และมีผลดีระยะยาวในเรื่องต่อไปนี้ 1. สังคมมีความมั่นใจในคุณภาพของระบบการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุของสำนักงาน กศน. ที่ดำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข 2. รองรับมาตรฐานการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะต้องดำเนินการ ตามกฎกระทรวงสาธารณสุขของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 3. สร้างการรับรู้อย่างเป็นทางการให้แก่บุคลากรทั้งในส่วนของสำนักงาน กศน. และกระทรวง สาธารณสุขในระดับพื้นที่ ซึ่งมักเกิดปัญหาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารและผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ ที่สามารถ สืบค้นประวัติความเป็นมาของการบูรณาการความร่วมมือที่มีหลักฐานอ้างอิงได้ทุกระดับ คือ • ระดับอำเภอ/เขต มี “แบบสำรวจและยืนยันความพร้อมการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระดับอำเภอ/เขต (แบบ CG66-1)” ที่กำหนดให้มีผู้ลงนาม 3 คน ได้แก่ ผู้จัดทำแบบสำรวจและยืนยัน ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ/เขต สาธารณสุขอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/วิทยาลัยพยาบาล • ระดับจังหวัด มี “แบบสรุปยืนยันความพร้อมระดับจังหวัด (แบบ CG66-2)” ที่กำหนดให้มี ผู้ลงนาม 3 คน ได้แก่ ผู้จัดทำแบบสรุปยืนยัน ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ยกเว้นสำนักงาน กศน. กทม. ให้ใช้แบบสำรวจและยืนยันความพร้อมการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระดับอำเภอ/เขต (แบบ CG66-1) เท่านั้น เนื่องจากในกรุงเทพฯ ไม่มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สรุปการยืนยันความพร้อมในการจัดและสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรให้พื้นที่ รายละเอียดอยู่ในตอนที่ 4


10 หลักสูตรที่ใช้ในการจัดอบรม กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งใช้หลักสูตรการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ทั้งหลักสูตร 70 ชั่วโมง และ 420 ชั่วโมง ซึ่งกรมอนามัยอนุมัติให้ สำนักงาน กศน. ใช้หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชั่วโมง และจำนวน 420 ชั่วโมง ของกรมอนามัย ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (หนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0933.07/2246 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2559) มีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้ เนื้อหา หลักสูตร 70 ชม. หลักสูตร 420 ชม. หมายเหตุ ทฤษฎี ปฏิบัติ ทฤษฎี ปฏิบัติ 1. ความจำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุ 1 - 4 - 2. แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 1 - 4 - 3. โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 2 1 7 7 4. ภาวะวิกฤตกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2 2 8 14 5. การช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น 3 2 10 14 6. การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เนื่องจากความชราภาพ ที่มีปัญหา - ระบบทางเดินอาหาร 1 2 4 7 - ระบบทางเดินหายใจ 1 2 4 7 - ระบบขับถ่าย 1 2 4 7 - ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ 1 1 4 5 7. การใช้ยาในผู้สูงอายุ 2 - 7 - 8. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ - การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 2 1 4 3 - อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ 2 1 4 3 - การดูแลสุขภาพช่องปาก 2 1 4 3 9. สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด 3 2 7 14 10. การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 1 - 4 - 11. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 1 1 6 14 12. สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ/กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ 1 - 8 - 13. บทบาทและจริยธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 - 4 3 14. การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ 1 1 4 7 15. เสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ - - 5 5 16. เสริมทักษะด้านคอมพิวเตอร์ - - 5 5 17. การฝึกปฏิบัติงาน - ในสถานบริการ - 10 - 90 - ในชุมชน - 10 - 90 18. การวัดผลและการประเมินผล 1 1 4 7 รวมทั้งสิ้น 30 40 115 305 70 420 ตารางที่ 2 เนื้อหาหลักสูตรที่ใช้ในการอบรม


11 ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จำนวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณี กศน. ยื่นขอใช้หลักสูตร กศน. ที่ขอใช้หลักสูตรตั้งแต่ปี 2559 สามารถใช้หลักสูตรฯ อบรมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้เลย กศน. ทำหนังสือแจ้งการอบรม แนวทางการดำเนินการในปี 2566 - ศูนย์อนามัยเขตในพื้นที่ - สสจ. ในเขตพื้นที่ กทม. ให้แจ้งมายัง สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ประเมินและตรวจคุณภาพการจัดอบรม ประเมินและตรวจคุณภาพการจัดอบรม ผู้ผ่านการอบรมได้รับเกียรติบัตรที่ลงนาม โดย หน่วยงานที่จัดอบรมร่วมกับ กศน. ผู้ผ่านการอบรมได้รับเกียรติบัตรที่ลงนาม โดย หน่วยงานที่จัดอบรมร่วมกับ กศน. ** เอกสารหลักฐานที่ต้องส่งพร้อมกับหนังสือขออนุญาตใช้หลักสูตร ฯ - วัตถุประสงค์การนำหลักสูตรไปใช้อบรมฯ/การเรียนการสอน - กลุ่มเป้าหมาย - หลักสูตร (CG) จำนวน 70 ชั่วโมง กรณีเพิ่มเนื้อหาที่แตกต่างจากหลักสูตรกลางให้แนบเนื้อหาที่เพิ่มมา - ตารางกำหนดการอบรม/หลักสูตรการสอน (ระบุอาจารย์ผู้บรรยาย) - คุณสมบัติผู้สอน - ระบุหน่วยงานที่ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ - แนบตัวอย่างใบประกาศที่ผู้ผ่านการอบรมได้รับ


12 ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณี กศน. ยื่นขอใช้หลักสูตรในลักษณะจิตอาสา กศน. ที่ขอใช้หลักสูตร ตั้งแต่ปี 2559 สามารถใช้หลักสูตรฯ อบรมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้เลย แนวทางการดำเนินงานในปี 2566 กศน. ทำหนังสือแจ้งการอบรมมายัง สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ประเมินการจัดอบรม และตรวจคุณภาพการอบรม ผู้ผ่านการอบรมได้รับเกียรติบัตร ที่ลงนามโดยหน่วยงานที่จัดอบรมร่วมกับ กศน. ** เอกสารหลักฐานที่ต้องส่งพร้อมกับหนังสือขออนุญาตใช้หลักสูตรฯ - วัตถุประสงค์การนำหลักสูตรไปใช้อบรมฯ/การเรียนการสอน - กลุ่มเป้าหมาย - หลักสูตร (CG) 420 ชั่วโมง กรณีเพิ่มเนื้อหาที่แตกต่างจากหลักสูตรให้แนบเนื้อหาที่เพิ่มมา - ตารางกำหนดการอบรม/หลักสูตรการสอน (ระบุอาจารย์ผู้บรรยาย) - คุณสมบัติผู้สอน - ระบุหน่วยงานที่ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ - แนบตัวอย่างใบประกาศที่ผู้ผ่านการอบรมได้รับ 0


13 วิทยากร วิทยากรหลักในการอบรมควรเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้ความสามารถ ในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ (เป็นไปตามหนังสือกรมอนามัย ด่วนที่สุด ที่ สธ 0941.03/9682 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2560) (ภาคผนวก 1-4) เช่น พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพ แพทย์แผนไทย จิตแพทย์ ฯลฯ ยกเว้น หัวข้อ สิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญ/กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติผู้เข้าอบรม กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รุ่นละ 20 คน ให้หากลุ่มเป้าหมายร่วมกับสาธารณสุข และ อปท. (ถ้ามี) รายการ หลักสูตร 70 ชม. หลักสูตร 420 ชม. • กลุ่มเป้าหมาย 1) อสม. หรือ 2) ประชาชนที่ต้องดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง ในครอบครัว ประชาชนทั่วไป • คุณสมบัติ 1) มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีจิตอาสาที่จะ เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มติดเตียง และติดบ้าน 2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับ ประถมศึกษาหรือเทียบเท่า 4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม 5) มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคร้ายแรง หรือโรคติดต่อร้ายแรง 6) มีวุฒิภาวะและบุคลิกลักษณะ เหมาะสมในการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1) มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีจิตอาสาที่จะ เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง และติดบ้าน 2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า 4) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม 5) มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคร้ายแรง หรือโรคติดต่อร้ายแรง 6) มีวุฒิภาวะและบุคลิกลักษณะ เหมาะสมในการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ • เงื่อนไข ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของบุคลากร วิชาชีพ หรือดูแลญาติในครอบครัว ประกอบอาชีพอิสระได้ ตารางที่ 3 กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติผู้เข้าอบรม


14 ประกาศรับสมัครและใบสมัคร - ประกาศรับสมัคร ให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก 2-2 - ใบสมัคร ให้เป็นไปตามตัวอย่างในภาคผนวก 2-3 สถานที่ในการจัดอบรมและการฝึกปฏิบัติงาน ภาคทฤษฎีต้องจัดหาสถานที่ให้เหมาะสม จากการลงพื้นที่ พบว่า มีการใช้ห้องประชุม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ห้องประชุมของ กศน. อำเภอ และห้องประชุมของ อปท. ซึ่งเป็นไปตามบริบทของพื้นที่ การฝึกปฏิบัติงาน กำหนดให้ฝึกงานในสถานบริการ และในชุมชน สื่อหลัก สื่อประกอบ วัสดุและครุภัณฑ์การฝึกอบรม สื่อหลัก หมายถึง คู่มือแนวทางการอบรมของแต่ละหลักสูตร ที่สถานศึกษาต้องจัดเตรียมให้ผู้เข้ารับ การอบรมทุกคน


15 สื่อประกอบและวัสดุฝึก หมายถึง สื่อที่วิทยากรจัดทำขึ้นสำหรับการจัดการเรียนการสอน ในระหว่าง การฝึกอบรมหรือการฝึกปฏิบัติ อาจเป็นเอกสารหรือวัสดุประกอบการฝึกอบรม ที่สถานศึกษาต้องรับผิดชอบจัดทำ จัดหาให้เพียงพอกับผู้เข้าอบรมตามที่วิทยากรกำหนด ครุภัณฑ์หลักสูตรนี้จะมีครุภัณฑ์ประกอบการฝึกปฏิบัติและฝึกงาน เช่น หุ่นในการฝึกทำ CPR เครื่องวัดความดัน อุปกรณ์การทำกายภาพ Wheelchair เป็นต้น ไม่สามารถใช้เงินงบประมาณจัดซื้อได้ ต้องประสานขอใช้จากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข หลักการการนับรุ่น การนับรุ่นการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีหลักในการนับ ดังนี้ 1. แต่ละหลักสูตรนับรุ่นแยกจากกัน 2. ให้เริ่มนับรุ่นที่ 1 เมื่อเริ่มปีงบประมาณใหม่ของแต่ละหลักสูตร ในแต่ละ กศน. อำเภอ/เขต ตัวอย่าง การยืนยันความพร้อมของสำนักงาน กศน. จังหวัดระนอง ยืนยันความพร้อมการจัดอบรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 3 อำเภอ กศน. อำเภอ จัดในไตรมาส 1-2/รุ่น จัดในไตรมาส 3-4/รุ่น รวมทั้งสิ้น/รุ่น 70 ชม. 420 ชม 70 ชม. 420 ชม 70 ชม. 420 ชม • กระบุรี 1 - 1 1 2 1 • กะเปอร์ 1 - - - 1 - • เมืองระนอง - - 1 - 1 - รวม 2 - 2 1 4 1 ตารางที่ 4 การนับรุ่นการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ • กรณี จัด 2 หลักสูตร ได้แก่ กศน. อำเภอกระบุรี ในปีงบประมาณ 2566 จัดอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง รวม 2 รุ่น ในไตรมาสที่ 1 - 2 จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1/2566 และไตรมาสที่ 3 - 4 จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 2/2566 และจัดอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง ในไตรมาสที่ 3 - 4 จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1/2566 • กรณีจัดหลักสูตรเดียว ได้แก่ กศน. อำเภอกะเปอร์จัดหลักสูตร 70 ชั่วโมง ในไตรมาสที่ 1 - 2 จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1/2566 และ กศน. อำเภอเมืองระนอง จัดหลักสูตร 70 ชั่วโมง ในไตรมาสที่ 3 - 4 จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1/2566 หลักการการนับรุ่นนี้ให้ใช้ในการอ้างถึง และการกรอกข้อมูลรายงานผลการจัดอบรม (เนื่องจากมี กศน. อำเภอ/เขต บางแห่ง ใช้วิธีการนับรุ่นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน) การจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดอบรม


16 ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. จัดทำแผนปฏิบัติการการจัดอบรมหลักสูตรการผู้ดูแลผู้สูงอายุ ของ กศน. อำเภอ/เขต ทุกแห่ง จัดส่งถึงสำนักงาน กศน. ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2566 แผนปฏิบัติการการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ โครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน กศน. จังหวัด..................................................... ที่ กศน. อำเภอ จัดหลักสูตร รุ่นที่ ระยะเวลาในการจัด (ระบุวันเริ่มต้นถึงวันสิ้นสุด) ชื่อ-สกุล วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด ผู้รับผิดชอบของ กศน. อำเภอ ลงชื่อ ผู้จัดทำ ลงชื่อ ผู้รับรอง (......................................................) (......................................................................) ตำแหน่ง ................................................. ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัด...................................... โทร . ...................................................... ให้จัดส่งถึง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) ทาง E-mail : [email protected] ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2566 โทร. 0 2628 5331 โทรสาร. 0 2628 5330


17 การจัดทำตารางการอบรม ตารางการอบม จัดอบรมได้ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมง กศน. อำเภอ/เขต ต้องร่วมกับหน่วยงานของ กระทรวงสาธารณสุข และอื่น ๆ (ถ้ามี) ในการจัดทำตารางการอบรม โดยตารางการอบรมต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 1. วัน เวลา และสถานที่ของการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 2. ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง และสถานที่ปฏิบัติงานของวิทยากรต่อท้ายหัวข้อของทุกเนื้อหา 3. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบหลักของ กศน. อำเภอ/เขต กระทรวงสาธารณสุข และอื่น ๆ (ถ้ามี) ซึ่งมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจคัดเลือกวิทยากร กำหนดสถานที่จัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตัวอย่าง ตารางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร .......... ชั่วโมง โดยความร่วมมือของ กศน. อำเภอ/เขต ……..……………. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/เขต …………......... โรงพยาบาล .................. เทศบาลตำบล................ ฯลฯ จัดอบรมระหว่างวันที่ ............................... ถึง วันที่ .................................................... สถานที่ฝึกอบรมภาคทฤษฎี ณ .................................................................. สถานที่ฝึกปฏิบัติ ในสถานบริการ ฝึก ณ ................................................... ในชุมชน ฝึก ณ ..................................................................... วันที่ เวลา เวลา เวลา เวลา ว/ด/ป หัวข้อ ชื่อ-สกุล วิทยากร ตำแหน่ง สังกัดของวิทยากร หัวข้อ ชื่อ-สกุล วิทยากร ตำแหน่ง สังกัดของวิทยากร หัวข้อ ชื่อ-สกุล วิทยากร ตำแหน่ง สังกัดของวิทยากร หัวข้อ ชื่อ-สกุล วิทยากร ตำแหน่ง สังกัดของวิทยากร ว/ด/ป ลงชื่อ ....................................... ผู้รับผิดชอบของ กศน.อำเภอ/เขต ลงชื่อ ....................................... ผู้รับผิดชอบหลักของ สธ. (......................................) (......................................) ตำแหน่ง ......................................... ตำแหน่ง ......................................... สังกัด ..............................................


18 การประเมินผลสัมฤทธิ์การอบรม ให้ผู้รับผิดชอบจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ผู้เข้าอบรมให้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนดร่วมกับ วิทยากรในแต่ละเรื่อง โดยอาจใช้ตัวอย่างของแบบประเมิน ตามภาคผนวก 2 - 6 เป็นแนวทางในการจัดทำ การออกวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมและการจัดส่งฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรม 1. การออกวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด “คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้ หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 23 เมษายน 2563” หน้า 4 และหน้า 12 กำหนดให้ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ ลงนามร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ เป็นอย่างน้อย ซึ่งสามารถเพิ่ม ผู้ลงนามในระดับอำเภอที่มีความร่วมมือจริงได้อีก เช่น นายอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล นายก อปท. ฯลฯ 2. จัดส่งฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรมให้สำนักงาน กศน. จังหวัด แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด บันทึกในระบบที่ใช้ควบคุมกำกับการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุภาครัฐของกรมอนามัย หมายเหตุ : หลักสูตร 420 ชั่วโมง ควรจัดทำวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรมทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ กรณีผู้ผ่านการอบรมมีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติหรือต้องการไปประกอบอาชีพ ในต่างประเทศ รายละเอียดในภาคผนวก 2-5 การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน ข้อมูลเชิงปริมาณ การรายงานผลการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมของ กศน. อำเภอ ดำเนินการรายงานทันทีเมื่อจัดอบรมเสร็จใน ระบบ DMIS ของสำนักงาน กศน. หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ “กลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ” โทร. 0 2280 2924 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จะส่งคณะวิจัยออกเก็บข้อมูลบางพื้นที่ซึ่งจะได้ประสาน และแจ้งให้ทราบล่วงหน้า


19 ตอนที่ 3 การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ การเข้าสู่อาชีพการดูแลผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันในแต่ละหลักสูตร กล่าวคือ ผู้ผ่านการอบรม หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมง ไม่สามารถไปประกอบอาชีพอิสระในการดูแลผู้อายุตามกฎหมายได้ จะเป็น เพียงผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) ในระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ซึ่งปฏิบัติงานตามแผนการดูแล (Care Plan) ภายใต้การกำกับของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ส่วนผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง สามารถประกอบอาชีพอิสระได้ ตามกฎหมาย เมื่อผ่านการอบรมแล้ว จึงขอรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ มีรายละเอียดที่บุคลากรของ กศน. ควรรับรู้เพื่อเป็นข้อมูลในการให้คำแนะนำสำหรับการเข้าสู่อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ แก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร 420 ชั่วโมง ดังนี้ 1. มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ 2. วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 3. คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ได้กำหนดรายละเอียดของมาตรฐานฝีมือแรงงาน แห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ว่าแบ่งออกเป็น 1 ระดับ ความหมาย มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และมีคุณธรรมในการทำหน้าที่ช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุ ดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุได้อย่าง ถูกต้อง และปลอดภัย เพื่อผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัด ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงาน ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัด ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงาน ของ ผู้ประกอบอาชีพในสาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุระดับ 1 มี3 ด้าน ดังนี้


1. ด้านความรู้ 2. ด้า ความรู้ ประกอบด้วย ขอบเขตความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1.1 ความรู้ทั่วไป 1) ขอบเขตการทำงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ จริยธรรมของผู้ดูแล ก. สัญญาการจ้างงาน กฎหมายแรงงาน และ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ ข. พินัยกรรม มรดก ผู้บริบาล ค. ขอบเขต ความรับผิดชอบ จริยธรรม ง. การละเมิดสิทธิ และการกระทำทารุณ กรรม 2) สภาพแวดล้อม และความปลอดภัยในที่พักอาศัย ก. การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดวางสิ่งของ และเครื่องใช้ ข. แสงสว่าง และการถ่ายเทอากาศ ค. การจัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สะอาด น่าสนใจและป้องกันการติดเชื้อ (รวมถึง การใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม) 3) ยา การเก็บรักษา และตรวจสอบวันหมดอายุ ความสามารถ ประกอบด้วย ดังต่อไปนี้ 2.1 ความรู้ทั่วไป 1) การดูแลความสะอ ก. การอาบน้ำ สร ๆ ของร่างกาย ข. การเช็ดตัวบน ค. การเลือกใช้ผลิ ง. การทำความส จ. การแต่งตัว แล ฉ. การปูเตียง จัด ช. การจัดสิ่งแวดล อุบัติเหตุ 2) การปฐมพยาบาล ก. การเช็ดตัวลดไ ข. การวัดปรอท วั การหายใจ 20


านความสามารถ 3. ด้านทัศนคติ ขอบเขตความสามารถในการปฏิบัติงาน อาด และอนามัยสิ่งแวดล้อม ระผม และดูแลความสะอาดส่วนต่าง ย เตียง ลิตภัณฑ์รักษาผิวหนัง ะอาดช่องปาก ฟัน หู ตา และจมูก ละสวมเสื้อผ้า ดเครื่องนอน ล้อมให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเกิด ไข้ (Tepid sponge) วัดความดันโลหิต นับชีพจร นับอัตรา ทัศนคติ ประกอบด้วย การปฏิบัติงาน การตรงต่อเวลา การรักษาวินัย มีความ ซื่อสัตย์ และประหยัด 1) การสื่อความหมายที่สุภาพ อ่อนโยน และมีประสิทธิภาพ 2) การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างเอื้อ อาทร และเห็นอกเห็นใจ 3) การสร้างความสัมพันธ์ และการ ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ


1. ด้านความรู้ 2. ด้า 1.2 ความรู้เฉพาะอาชีพ 1) ความต้องการของผู้สูงอายุ และการดูแลอย่าง รอบด้าน ก. ด้านร่างกายและปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ข. ด้านจิตวิทยาสำหรับผู้สูงอายุ และพฤติกรรม ซึ่งประกอบด้วยความจำ การประมวลข้อมูล เหตุผล พฤติกรรม และอารมณ์ ค. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม 2) โภชนาการ ก. อาหารและน้ำสำหรับผู้สูงอายุ (1) ชนิด ประเภท ลักษณะ (2) ปริมาณในแต่ละมื้อ จำนวนมื้อ ข. การจัดเตรียม และประกอบอาหารเพื่อ คุณค่าของสารอาหาร (1) การจัดเตรียมอาหารเฉพาะโรค ที่พบบ่อย (2) การประกอบอาหารปั่นสำหรับ ให้ทางสายสวนกระเพาะอาหาร 2.2 ความรู้เฉพาะอาชีพ 1) การให้อาหาร น้ำ ก. การป้อนทางป กึ่งไม่รู้สึกตัว ข. การให้อาหารท ค. แนวทางการป 2) การขับถ่าย ก. ช่วยเหลือผู้สูงอ ข. การชำระร่างก 3) การเคลื่อนไหว แล บนเตียง ลุกนั่ง ลุ อุปกรณ์ช่วยเหลือ ก. ผู้สูงอายุที่สาม ข. ผู้สูงอายุที่เคลื่อ ตนเองได้) 4) ยา ก. การดูลักษณะย ข. การจัดเตรียมย • ทางปาก ท • เหน็บ สวน 21


านความสามารถ 3. ด้านทัศนคติ ตามคำสั่งแพทย์และพยาบาล ปากในผู้ป่วยที่กลืนลำบาก หรือ ทางสายสวนกระเพาะอาหาร ฏิบัติเมื่อเกิดอาการสำลัก อายุในการปัสสาวะ และอุจจาระ กายหลังขับถ่าย ละเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ (การพลิกตัว กยืน ลุกเดิน พยุงเดิน และการใช้ อ) มารถเคลื่อนไหวเองได้ อนไหวเองไม่ได้ (ไม่สามารถช่วยเหลือ ยาที่เสีย หรือเสื่อมสภาพ ยา การให้ยาผู้สูงอายุตามคำสั่งแพทย์ ทางสายสวนกระเพาะอาหาร นยาระบายทางทวารหนัก


1. ด้านความรู้ 2. ด้า (3) การประกอบอาหารสำเร็จ ทางการแพทย์ ค. การเก็บถนอมอาหาร (1)อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บถนอมอาหาร (2)วิธีเก็บถนอมอาหาร (3) วิธีสังเกตอาหารที่เสื่อมคุณภาพ หรือบูดเสีย 3) การใช้งานและการดูแลรักษาอุปกรณ์ก. เครื่องช่วยเดิน รถเข็นข. เบาะลม เตียงนอนไขปรับระดับค. อุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่บ้าน ทั้งแบบบรรจุถัง และเครื่องสกัด ง. อุปกรณ์ดูดเสมหะจ. อุปกรณ์วัดไข้ ความดันโลหิตฉ. อุปกรณ์สำหรับให้อาหารทางสายสวน กระเพาะอาหาร 4) วิธีขอความช่วยเหลือ ในกรณีผู้สูงอายุเจ็บป่วย ฉุกเฉินก. เมื่อใดที่ควรขอความช่วยเหลือข. วิธีติดต่อญาติ และสถานพยาบาลใกล้เคียงค. การรายงานอาการผิดปกติเบื้องต้น • ฉีดยาเบาห • ป้าย ทา • ยาหยอดหู 20 22


านความสามารถ 3. ด้านทัศนคติ หวาน หู และตา


1. ด้านความรู้ 2. ด้า 5) การจัดกิจกรรมนันทนาการ และการออกกำลัง กายสำหรับผู้สูงอายุ (ช่วยตัวเองได้ ช่วยตัวเอง ไม่ได้)ก. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายข. การฟื้นฟูสมรรถภาพจิต 6) การดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสมองและจิตใจก. การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อ ผู้สูงอายุและผู้อื่น (1) ภายในบ้าน (2) ภายนอกบ้าน ข. การปฏิบัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีปัญหา พฤติกรรม (1) ออกเดินโดยไร้จุดหมาย วุ่นวายทั้งวัน (2) ถามซ้ำ ๆ ทำกิจกรรมซ้ำ ๆ • ไม่นอนในเวลากลางคืน • ซ่อนสิ่งของไว้ตามที่ต่าง ๆ • พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม • ข่มขู่ ทำร้ายผู้ดูแล ค. การปฏิบัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาทาง อารมณ์ 23


านความสามารถ 3. ด้านทัศนคติ


1. ด้านความรู้ 2. ด้า (1) ไม่สนใจตนเอง และสิ่งแวดล้อม (2) วิตกกังวล ซึมเศร้า (3) ระแวง ประสาทหลอน 2 4


านความสามารถ 3. ด้านทัศนคติ


วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานและการออกหนังสือรับรองสาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 1. การทดสอบความรู้ เป็นการทดสอบความรู้ ที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ (ข้อสอบ มี 3 ชุด) ใช้เวลาในการทดสอบ 1 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องตอบถูกไม่น้อยกว่า 35 ข้อ จึงจะถือว่าสอบผ่านภาคความรู้ 2. การทดสอบความสามารถ เป็นการทดสอบความสามารถ โดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติงานตามที่คณะอนุกรรมการ กำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุกำหนด ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ หัตถการหลัก หัตถการรอง หัตถการควรทำ หัตถการพิเศษ ใช้เวลาในการทดสอบรวม 1 ชั่วโมง 30 นาที ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องได้คะแนนตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติกำหนด 3. รายละเอียดวิธีการทดสอบให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด การออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพ การดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 จะออกให้ผู้ผ่านการทดสอบ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องสอบทั้งภาคความรู้ ความสามารถ และทัศนคติ 2. จะต้องสอบได้คะแนนรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ จึงถือว่าสอบผ่านมาตรฐานฝีมือ แรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ คุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบสาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 มีดังนี้ 1. ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันสมัครเข้ารับการทดสอบ และ 2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และ 3. มีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และไม่เป็นโรคติดต่อ และ 4. ผ่านการฝึก หรืออบรมรับรองความรู้วิชาชีพ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง โดยมีการอบรมภาคความรู้ ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง ภาคความสามารถ ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง หรือ 5. ผ่านการฝึก หรืออบรมรับรองความรู้วิชาชีพ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง จากหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่รัฐให้การรับรอง และมีประสบการณ์การทำงานในสาขาการดูแลผู้สูงอายุ จากหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่น้อยกว่า 2 ปี รายละเอียดในภาคผนวก 3 - 1 ถึง 3 - 3 25


26 ตอนที่ 4 ความพร้อมการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงาน กศน. ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566แผนงาน : ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กิจกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายโครงการความร่วมมือการผลิตผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 6,525,700 บาท (หกล้านห้าแสนสองหมื่นห้าพันเจ็ดร้อย บาทถ้วน)ซึ่งสำนักงบประมาณได้กำหนดวิธีการจัดสรรเงินงบประมาณ ดังนี้ 1. กำหนดรหัสงบประมาณเดียวกันทั้งโครงการ คือ กำหนดรหัสงบประมาณตามจังหวัด รวม 77 รหัส 2. จัดสรรเงินงบประมาณให้แก่สำนักงาน กศน. จังหวัด ครั้งเดียวเต็มจำนวน เป็นเงินทั้งสิ้น 6,525,700 บาท (หกล้านห้าแสนสองหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) การจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 จึงมีลักษณะเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งก่อนการจัดสรร ได้ให้พื้นที่ดำเนินการสำรวจและยืนยันความพร้อมการจัดอบรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ จัดสรรเงินงบประมาณให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ในการดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจและยืนยันความ พร้อมการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 หนังสือกศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.121/6754 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ไปยังพื้นที่ และให้แต่ละพื้นที่แจ้งยืนยันความพร้อม ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 (ภาคผนวก 4.1) สรุปการยืนยันความพร้อม พบว่า มีความพร้อมในการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชั่วโมง รวม 293 รุ่น และหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง รวม 6 รุ่น เป็นเงิน 8,376,100 บาท (แปดล้านสามแสนเจ็ดหมื่นหกพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) แต่เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับ จัดสรรไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินการของพื้นที่ จึงจำเป็นต้องปรับลดและจัดสรรให้พื้นที่ดังตาราง ตารางสรุปการยืนยันความพร้อมในการจัดและสรุปจำนวนเงินงบประมาณที่จัดสรรให้พื้นที่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน จังหวัด ความพร้อมในการจัดอบรม (รุ่น) จำนวนที่จัดอบรม (รุ่น) จำนวนงบประมาณที่จัดสรร (บาท) รวมทั้งสิ้น ที่พร้อมจัด 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง (บาท) 64 293 6 221 6 5,679,700 846,000 6,525,700 รายละเอียดของจำนวนรุ่นและเงินงบประมาณที่แต่ละจังหวัดได้รับ (ภาคผนวก 4) กรณีที่สำนักงาน กศน. จังหวัด ได้รับจัดสรรงบประมาณไปแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้แจ้งส่งเงินคืนสำนักงาน กศน. โดยเร็ว เพื่อจะได้จัดสรรให้กับสำนักงาน กศน. จังหวัด ที่มีความพร้อมต่อไป


ภาคผนวก 1 ตอนที่ 1 บทนำ


28


29


20


21


alac-M2fi q re& ffi33d?* ffi d au o*ar."*l nr!&t uoquv n:rratiu ;irninou'u.ria{q mq aiuuC auunrtuuvt t'i14ifi uuYl!5 oooor: / s'-{ qarnl bdbo ,dro nrrli.:ufiaitr:,r:yyr:?{a1Er:ruar'lunr:2fimry'qurariqrara ud'nqn: edo tY?ltrq iietu talrfi nr:drrinl rud'l mi:r nr: fr nrgq an:vutL *av nrtfi nrgr nu o-o Ul 6'a d!,rfi,t ra#.rf,oiitinorr rur. rirnfiqn d rro ;Uto.ebo/ccsr.( a'liud oa fiuu"ruu Isdbo -.s f, afi dr.i fi r dr rTn.l r u n fl u. lJ o yr i'r r n': r u tfi u n r n n :! aur u-u tu nr ru irlfi o ffu n'rtl141J . , e u ,Y-T- - Lun.l:r{nfiffqua&ifi{o1El san{ni rlo lJ? L}J{ Frlstlll^llllifuln1:fl?rli'llfio:su'jrtn:vvt:':'rrda - A , ' --"-..e.-^Y-^^^^,1 - 3 ; & ilu rnaousiurlrlrV: ru'ln'l:qrunrtl6irt(q.:arq'tutvd'ufiuff r?u n:llour#g t#nrru;ir#rg#uuluurunr:Viru1n15n'ttriufio n']:?t's!!'laurrner'nirtfii0l d ' vv iq :uYl:?':ilYrn1ua-nruyi?{nl: (n{:ru6nrJgr:iuuavn{uiuriatarq) frsunr:n'luriln?rill?:r}Ja:uu?1{n , , o\.dud fizuur*'.xnuuasnrru:r-un.lra.ruqrrd - n:ru:'llfinurBnr: $avrl:vvl51{a1nr:ruqt t:to{uvt *o fiurnriiraro" ru drrfiuuigu.n d'rn::rour#ufinlrt6ufilfr eirrin.:lil nflu. d::lr^rfin{qrla{41411 - ;, s u 4 qv.4 uanfrn: sro tl'tLild n:uaulilu ttau!r',]atuluuh]ml:rrJ:cntfln:vil:?{al;1:[uqt uEo'l fltnr:firflu ''- ! duniruriaqunrvr (afiufr 1) "nr:r]:sneufisnr:'l#uin'riqlrn{q*arqfi{1u" ltavri'lltlsri}uol Ftfusn::'1fl:l:nrar:rudt,tnnrrurr..inl[n1!nilnl:rJ:snauflanr:'lfifinr:qrra{qtotqfi'j^'u ;; ;;; o;u*',,Yoil,*,u,i*;,uru ddd '' ' , 4 A 6 q vd' I t or. at!fl{trfl}.trl91Lgnsilnnrnnrvrnr:r.lfrrifrrolri,u{Juhin1tJd:vnrrln:v}1:']{a1ErTfi.Jqt rEal ,t - .is. - nrfl'r:l4tl.Juo1rrri''lflaeqtnryl (ar.iufi u) "nr:ili::notfrtnr:trIuinr:qira{q'lorqfirirl" ,* nlr{rru:tlu:vd'ldufi ilturn'r:vd'n'Lunr:ou:lnr:tfluq n n 1fl: }1'l ': n r: ttt'l v ri eJ. Il l/arluucflbuauft ulrErr tttv r'r Id - -:- 1 uasa'rE'ritufi tfr fi nrrlfnrrlaur:nlunT :1fr'l3nr:q*a{q'lorq , .;g:& o !?@ !' o!,..?4 ',', 6n,,fr uflLunr:optou:l ua vry trl15ufl '.]50u :Il llJa'l lfl u{aunr . d, n,l:finr:nlunxri:ri'ltlnufinnrxr-l:s$unrnra#qnr:al:ru.rfior,J:ufrvrifl"1Y'iltLfls 40 il :vfr vrBr.ra'Lun,r:rir sfrurrul*'u?nriquariqt aruJufilfi ar t5 EJullr tvio L!: aHa r t rul q v [1J1J1^{:u qni 1.ud 1r 6r rtfi Fr.i Fr2 I l.J U:,J fi O ;irrinourriu{qtorq Ivr:. o led.to dd.,d Lv:ar: o bdc(o ddoo tt$,.S..,trie." E nn. fi sr, fi na. fl nN. D n*. E r,ax. LJ aU. Ll nxr. LJ t'rs. lJ Efin_ CI nu, U nnr. [J nyl. LJ nx:- fl ae. fI .,....... t iorrrr,*u rifir#oq*{l , raqatufrn:xar.gfra rJfitffi:ttnr:ultu s d - --,^, flfi! "1ii; 'i'r u 1J"l!U 27 22


คู่มือแนวทางการขออนุญาตใช้หลักสูตร การด ูแลผู้สูงอายุระดับพื้นที่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณส ุข ฉบับปรับปร ุง วันที่ 23 เมษายน 2563 1. มาตรฐานหลักสูตรการด ูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ด ูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) 2. มาตรฐานหลักสูตรการด ูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ด ูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) 3. อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น หลักสูตรกลาง 120 ชั่วโมง 23


สารบัญ เรื่อง หน้า 1. flow ขั้นตอนการขอใช้หลักสูตร Caregiver 70 / 420 ชั่วโมง (ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา) 1 2. ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) 2 2.1 ตัวอย่างเกียรติบัตร - กรณีหน่วยงานภายนอกกระทรวงสาธารณสุขจัดอบรม - กรณียื่นขอใช้หลักสูตรฯ กับศูนย์อนามัยและเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข - กรณียื่นขอใช้หลักสูตรกับส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ทั้งหน่วยงานภายในและ ภายนอกกระทรวงสาธารณสุข 3 3. ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทาง การอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณี กศน. ยื่นขอใช้หลักสูตร 4 3.1 ตัวอย่างเกียรติบัตร 5 4. แบบฟอร์มแนวทางปฏิบัติการตรวจสอบของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขระดับพื้นที่ กรณีที่มีหน่วยงานที่ขอใช้มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) มาขอด าเนินการจัด อบรมในพื้นที่ 6 5. ขั้นตอนการขอใช้มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการ อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณียื่นขอใช้หลักสูตรในลักษณะจิตอาสา 10 5.1 ตัวอย่างเกียรติบัตร 11 5.2 ขั้นตอนการขอใช้มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณี กศน. ยื่นขอใช้ หลักสูตรในลักษณะจิตอาสา 12 5.3 ตัวอย่างเกียรติบัตร 13 5.4 เนื้อหาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) 14 6. ขั้นตอนการขอใช้หลักสูตร อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น หลักสูตรกลาง 120 ชั่วโมง (ส าหรับหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น) 15 6.1 ตัวอย่างเกียรติบัตร - หน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 16 7. แบบฟอร์มแนวทางปฏิบัติการตรวจสอบของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขระดับพื้นที่ กรณีที่มีหน่วยงานที่ขอใช้หลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น หลักสูตรกลาง 120 ชั่วโมง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาขอด าเนินการจัดอบรมในพื้นที่ 17 24


ขั้นตอนการขอใช้หลักสูตรมาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สู แนวทาง 1.กรณีหน่วยงานที่จะขอใช้หลักสูตรใด ๆ ขอให้ตรวจสอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ หลักสูตรตามผังมาตรฐานหลักสูตรฯ 2.หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีขอใช้หลักสูตร 70/420 ชั่วโมง ให้ปฏิบัติตาม flow chart ที่แนบท้าย ตามประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 1. มาตรฐานหลักสูตรการดูแล ผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จ านวน 1 ชั่วโมง (อาสาสมัครหรือบุคคลใ ครอบครัว) ยื่นขออนุญาตใช้ต่อกรมกิจการผู้สู ทั้งนี้ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2562 เรียบร้อย แล้ว 25


1 สูงอายุขั้นกลาง (Caregiver) 70/420 ชม. (กรมอนามัย) มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ คณะอนุกรรมการบูรณาการจัดท ามาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ 8 ใน 2. มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้น กลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการ อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) (ส าหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระดับพื้นฐาน ที่ท าหน้าที่บทบาทจิตอาสา ภายใต้การก ากับดูแลของเจ้าหน้าที่วิชาชีพ (Care Manager)) 3. มาตรฐานหลักสูตรการดูแล ผู้สูงอายุขั้นสูง จ านวน 420 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแล ผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง กรมอนามัย) (ส าหรับประกอบ อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)) สูงอายุ การยื่นขออนุญาตใช้หลักสูตร ดังนี้ (1) หน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา องค์กรต่างๆ ที่จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อ ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ให้ยื่นขออนุญาตใช้หลักสูตรต่อ กรมอนามัย (2) โรงเรียนบริบาล ให้ยื่นขออนุญาตใช้ต่อ ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน (3) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ยื่นขออนุญาตใช้ต่อ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (4) หน่วยงาน สถานศึกษา องค์กรต่างๆ ที่จัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อเข้าสู่ กิจการการดูแลผู้สูงอายุ ให้ยื่นขออนุญาตใช้ต่อ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ


2 ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) หน่วยงานที่ต้องการขอใช้หลักสูตร ** ส่งเนื้อหา เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการ ขอใช้หลักสูตรฯ (ตามรายละเอียดที่แนบมา) พิจารณาอนุมัติให้ใช้หลักสูตร ผ่านช่องทางเว็บไซต์ ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย แจ้งหน่วยงานที่ขอใช้หลักสูตรฯ แจ้งเป็นหนังสือราชการ ไปยังหน่วยงานที่ใช้ หลักสูตร และ ** เอกสารหลักฐานที่ต้องส่งพร้อมกับหนังสือขออนุญาตใช้หลักสูตรฯ - วัตถุประสงค์การน าหลักสูตรไปใช้อบรมฯ / การเรียนการสอน - กลุ่มเป้าหมาย - หลักสูตร (CG) 70 ชั่วโมง กรณีเพิ่มเนื้อหาที่แตกต่างจากหลักสูตรกลางให้แนบเนื้อหาที่เพิ่มมา - ตารางก าหนดการอบรม / หลักสูตรการสอน (ระบุอาจารย์ผู้บรรยาย) - คุณสมบัติผู้สอน - ระบุหน่วยงานที่ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ - แนบตัวอย่างใบประกาศที่ผู้ผ่านการอบรมได้รับ เสนอยื่นเอกสาร กรณีในส่วนภูมิภาค ให้หน่วยงานที่ต้องการ ขอใช้หลักสูตรยื่นเอกสารขอใช้หลักสูตรกับ ศูนย์อนามัยเขตที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ กรณีกรุงเทพมหานคร ยื่นเอกสารต่อ ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย พิจารณาอนุมัติให้ใช้หลักสูตร ศูนย์อนามัยท าหนังสือราชการ แจ้งไปยังหน่วยงานที่ขอใช้หลักสูตรฯ หน่วยงานที่ขอใช้หลักสูตรฯ จัดอบรมหลักสูตรฯ ศูนย์อนามัยลงไปก ากับ ติดตาม ประเมินผลการอบรมตามหลักสูตรฯ ออกเกียรติบัตรผู้ผ่านการอบรม 26


3 ตัวอย่างเกียรติบัตร - กรณียื่นขอใช้หลักสูตรฯ กับศูนย์อนามัย/ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ซึ่งหน่วยงานภายนอกสังกัด กระทรวงสาธารณสุขจัดอบรม - กรณียื่นขอใช้หลักสูตรฯ กับศูนย์อนามัย/ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ซึ่งหน่วยงานภายในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขจัดอบรม 27


4 ขั้นตอนการขอใช้ มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จ านวน 70 ชั่วโมง (คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย) กรณี กศน. ยื่นขอใช้หลักสูตร กศน.ที่ขอใช้หลักสูตรตั้งแต่ปี 2559 สามารถใช้หลักสูตรฯ อบรมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้เลย กศน. ท าหนังสือแจ้งการอบรมมายัง - ศูนย์อนามัยเขตในพื้นที่ - สสจ. ผู้ผ่านการอบรมได้รับเกียรติบัตรที่ลงนาม โดยหน่วยงานที่จัดอบรมร่วมกับ กศน. ** เอกสารหลักฐานที่ต้องส่งพร้อมกับหนังสือขออนุญาตใช้หลักสูตรฯ - วัตถุประสงค์การน าหลักสูตรไปใช้อบรมฯ / การเรียนการสอน - กลุ่มเป้าหมาย - หลักสูตร (CG) 70 ชั่วโมง กรณีเพิ่มเนื้อหาที่แตกต่างจากหลักสูตรกลาง ให้แนบเนื้อหาที่เพิ่มมา - ตารางก าหนดการอบรม / หลักสูตรการสอน (ระบุอาจารย์ผู้บรรยาย) - คุณสมบัติผู้สอน - ระบุหน่วยงานที่ฝึกอบรมภาคปฏิบัติ - แนบตัวอย่างใบประกาศที่ผู้ผ่านการอบรมได้รับ ประเมินการจัดอบรมและ ตรวจคุณภาพการอบรม แนวทางการด าเนินการในปี 2563 ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ให้แจ้งมายัง ส านักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ประเมินการจัดอบรมและ ตรวจคุณภาพการอบรม ผู้ผ่านการอบรมได้รับเกียรติบัตรที่ลงนาม โดยหน่วยงานที่จัดอบรมร่วมกับ กศน. 28


Click to View FlipBook Version