The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชประวัิตรัชกาลที่4

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tharaphan.prasan, 2020-07-21 08:33:32

พระราชประวัิตรัชกาลที่4

พระราชประวัิตรัชกาลที่4

วันท่ี 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 คอลออย เลนเบอร์ต ทตุ เยอรมนั ได้เข้ามาทาสัญญา
เจริญ ทางพระราชไมตรีว่าด้วยการค้าขายการเมอื ง การพิกัดอัตราภาษแี ละต้ังกงสุล ได้มีพระ
บรมราชานุญาตใหต้ ั้งได้

วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2405 ประเทศสวีเดนนอร์เวย์ ส่งผู้แทนมาทาหนังสือ
สัญญาว่าถึงการคา้ ขาย การเมอื ง การภาษี และขอตง้ั กงสลุ ในประเทศสยาม

วนั ท่ี 29 สงิ หาคม พ.ศ. 2410 เบลเยี่ยมส่งผแู้ ทนมาทาหนังสอื สัญญาทางพระราช
ไมตรีว่าดว้ ยการคา้ การภาษี การเมือง และการตั้งกงสุล

เซอร์ ยอหน์ บาวริง เขา้ มาทาสญั ญาให้อังกฤษ

เซอร์ ยอหน์ บาวรงิ

ฝ่ายอังกฤษเม่ือได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบซ้ึง
และสัดทัดภาษาอังกฤษมาแล้วเป็นอย่างดี อน่ึง พระองค์ทรงมีพระทัยนิยมต่อการที่จะสมาคม
กับฝรั่งอยู่แล้ว เข้าใจว่ารัฐบาลไทยคงไม่ถือคติอย่างจีนเหมือนแต่ก่อน จึงเลือกได้เซอร์
ยอห์น บาวริง (Sir John Bowring) เจ้าเมอื งฮ่องกงให้เป็นอัครราชทูตเชิญพระราชสาสน์ของ
สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียพร้อมด้วยเคร่ืองราชบรรณาการเข้ามาเสร็จขอทาหนังสือสัญญา
ทางพระราชไมตรีดว้ ย

องั กฤษมาทาสัญญาคร้ังนี้มีท้ังผลดีและผลร้ายกล่าวคือถา้ ไทยขัดขืนไมย่ อมอนุโลม
แก้สัญญาให้ จะทาอย่างเมอื่ เซอร์ เจมส์ บรุก เข้ามาคราวทีแ่ ล้วไทยจะต้องรบกับองั กฤษ แต่
ถ้าหากหวาดเกรงอังกฤษแล้วก็คงจะเสียเปรียบในกระบวนสัญญาเป็นผลร้ายต่อไป ทางที่จะ
ได้ผลดีจึงต้องให้เป็นการปรึกษาหารือปรองดองมีไมตรีต่อกันท้ัง 2 ฝ่าย ฉะนั้นการ
ที่ เซอร์ ยอห์น บาวริงมา ครั้งนี้เห็นว่าทางฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเลือกได้คนท่ีเหมาะสม

แล้ว เพราะท่านเซอร์ผู้นี้ก็เป็นคนที่ฉลาดมีไหวพริบท้ังทางปฏิภาณและพูด ฟังคาพูดคนอื่นได้
ต้ัง 100 กวา่ ภาษา สว่ นตัวทา่ น เซอรเ์ องพดู ได้กว่า 50 ภาษา และเปน็ ราชทตู อังกฤษคนแรกที่
เขา้ มาเมอื งไทย ครัง้ นผ้ี ดิ กบั ดร.ยอห์น ครอว์เฟอรดหรือกับตันเฮนรี เบอรเนย์ ซง่ึ เป็นเพียงทูต
ของขุนนางผู้สาเร็จราชการอินเดียวส่งมา ส่วนเซอร์ เจมส์ บรุกน้ันเป็นแต่ผู้ถือหนังสือของ
เสนาบดีกว่ากระทรวงการต่างประเทศเท่าน้ัน หาใช่ราชทูตท่ีมาจากราชสานักของพระเจ้า
แผ่นดินอังกฤษไม่ ดังน้ันจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของเมือง จะต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก
เพราะถือกันว่าทูต ก็คือ ผู้แทนพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศ ถ้าเจ้าของเมืองไม่รับรองหรือ
ประพฤติไม่สมแก่เกียรติยศแล้ว จะเป็นการหม่ินประมาท ไม่นับถือพระเจ้าแผ่นดินของ
เขา ทางพระราชไมตรีอาจจะหมองหมางกนั ได้
สง่ ทตู ไปฝร่ังเศส

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯใหร้ าชทตู ไทย จาทูลพระราชศาสนแ์ ละ
เครือ่ งมงคลราชบรรณาการไปเจริญสัมพนั ธ์ไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝร่งั เศส

เจ้าพระยาศรพี ิพฒั น์รตั น์ราชโกษาธบิ ดี

รัฐบาลฝร่ังเศสได้นาเรือกลไฟเข้ามาในประเทศสยาม มีความประสงค์จะรับราชทูต

ไทยไปประเทศฝรั่งเศส ได้ให้เจ้าพนักงานไทยนาความเข้ากราบทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในทางพระราชไมตรีอยู่แล้ว จึงได้มีพระบรมรา

ชานุมัติ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตน์ราชโกษาธิบดีเป็นราชทูต จม่ืนไวยวรนารถ

เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิตเป็นตรีทูต เชิญพระราชสาสน์คุมเครื่องราชบรรณาธิการออกไป

ประเทศฝรั่งเศส เม่ือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เพื่อถวายแก่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 คณะทูตทไ่ี ปน้ีกลับ

ถึงกรุงเทพฯ วนั ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2404

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์ จอห์น

บาวริงกงสุลองั กฤษในราชสานักกรุงเทพฯ เป็นทตู ไทยทาสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศต่าง

ๆ ท่ีจะมาทากับ กรุงสยาม เมื่อโปรดเกล้าฯ ต้ังให้เป็นทูตแล้วก็มีประเทศเยอรมัน

, สวเี ดน, นอรเวย์, เบลเยี่ยมอิตาลี และสเปน ตา่ งขอทาหนงั สือสญั ญาพระราชไมตรี

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2403 โยนฮอน เกอร์เชียด ทูตเนเธอร์แลนด์ เข้ามาทา

หนังสือ สัญญาทางพระราชไมตรีว่าด้วยการค้าการพิกัดอัตราภาษี ได้ทรงอนุญาตและให้ต้ัง

กงสลุ ได้

สง่ คณะทูตไปกรงุ ปักกิ่ง

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับส่ังใหแ้ ต่ง
ทูตไปกรุงปักกิ่งแจ้งข่าวท่ีสมเด็จเชษฐาธิราชเสด็จสวรรคตพร้อมกับบ้านเมืองได้ผลัดแผ่นดิน
ใหม่ เม่ือคณะทูตไปเมืองกวางตุ้งได้มีหนังสือบอกเข้าไปที่เมืองปักกิ่ง และได้รับหนังสือตอบ
จากเมืองจีนความวา่ เป็นเวลาที่พระเจ้าเตากวางสวรรคตเชน่ กัน พระเจา้ ฮาฮองราชบุตรกาลัง
ไว้ทุกข์จะออกมารับทูตไทยน้ันไม่ได้ คณะทูตที่ไปถือโอกาสคานับพระศพพระเจ้าเตากวาง จุด
ธูปเทยี นของหอมทม่ี ีอย่นู ้นั ที่เมอื งกวางตุ้งสาเร็จแลว้ จึงกลับ

พระเจ้าฮาฮองได้มีราชสาสน์ตอบเข้ามาถวายพระเจ้ากรุงสยามด้วย ขณะที่ทูต
เดินทางถึงเมืองเอียงเชียงกุยได้ถูกผู้ร้ายปล้นเก็บขนสิ่งของไปจนสิ้น เม่ือถึงเมืองกว้าง
ตงุ้ เร่อื งราวทราบถึงเจา้ เมอื งกรมการ ๆ จึงจัดการชาระให้สืบหาตัวผรู้ ายแต่ไมไ่ ด้ เม่ือคณะทตู
ถงึ กรุงเทพฯ แล้ว ตง้ั แตน่ นั้ มาไทยมไิ ดส้ ง่ ทตู ไปเมอื งจนี อกี เลย

สง่ สมณทูตไทยไปลังกา

ภาพพระพุทธองค์ของศรลี ังกา

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ และแผ่นดิน พระนั่งเกล้าฯ รวมทั้ง 2
คร้ังด้วยกันท่ีกรุงสยามได้ยืมหนังสือบาลีเก่าทางพระพุทธศาสนามาจากศรีลังกา และท้ัง
2 ครั้งนั้นชาวลังกาก็ได้ฝากส่ิงของมาทูลเกล้าฯ ถวายเป็นหลายอย่าง ทางกรุงสยามมิได้
พระราชทานส่ิงของให้ไปเป็นการตอบแทนเลย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
เห็นว่าเวลานี้สมควรจะมไี ปพระราชทานเป็นการตอบแทนบ้าง ดังนั้น พ.ศ. 2395 จึงได้โปรด
เกล้าฯ ให้สมณทูตไทยไปลังกาคืนหนังสือบาลีเก่าที่ยืมมาท้ัง 2 คราวพร้อมกับฝากส่ิงของไป

พระราชทานแกช่ าวลังกาด้วย จนถึงพ.ศ. 2396 คณะสมณทูตไทยจึงได้เดินทางกลับการที่ไทย
ได้เจริญสัมพันธไมตรีและทาสนธิสัญญากับต่างประเทศน้ันก็เกิดข้อดีกับประเทศไทยอยู่บ้าง
กล่าวคือ
1. ทาใหป้ ระเทศไทยรกั ษาความเปน็ เอกราอยูไ่ ดต้ ลอดมา
2. การยกเลกิ ระบบการคา้ แบบผูกขาดมาเป็นการคา้ แบบเสรที าใหเ้ ศรษฐกิจของประเทศ
รงุ่ เรอื งไปอย่างรวดเรว็
3. การติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทาใหไ้ ทยมโี อกาสไดร้ บั วทิ ยาการที่ทนั สมยั เข้ามาเพอื่
พัฒนาปรบั ปรุงประเทศใหม้ ีความเจริญก้าวหน้าขนึ้

พระราชพิธจี รดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ใน พ.ศ. 2401 ปีน้ีเรมิ่ มพี ระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้ประกาศใหถ้ ือเป็น

ประเพณนี ยิ มตลอดไปทกุ ปี

ธรรมเนียมจบั มืออย่างชาติตะวนั ตกครงั้ แรก

พระเจ้ากาวิโรรส แหง่ เมืองเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเร่ิมใช้ธรรมเนียมฝรั่ง โดย

พระราชทานพระหัตถ์ ให้แก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทจับมือส่ันเป็นครั้งแรก พ.ศ.

2409 และครั้งน้ันได้พระราชทานพระหัตถ์ให้เจ้ากาวิโลรส เจ้าประเทศราชแห่งพระนคร

เชียงใหม่จับเป็นคนแรก ซึ่งขณะที่ได้ลงมาเฝ้าทูลละออกธุลีพระบาท ภายหลังพระองค์จึงได้

พระราชทานให้โอกาสแก่ผู้อื่นจับพระหัตถ์ส่ันเป็นลาดับไป ถือเป็นขนบธรรมเนียมสืบเน่ืองใช้

มาจนทกุ วันน้ี

ด้านตุลาการ
ด้านการตุลาการกท็ รงแกไ้ ขให้เป็นแบบตะวันตกโดยพระราชทานพระบรมราชานุญาต

ให้เจา้ นายและขุนนางสามารถเลอื กสรรคนดมี ีความรู้มาเป็นตุลาการชั้นสูงตามแบบอารยธรรม
ตะวันตกท้ังโปรดให้พิจารณาคดีความได้เป็นไปอย่างยุติธรรมจริง ๆ แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไป
ตามแบบเดิม คือศาลต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มไิ ด้รวบรวมเป็นกระทรวง
เดียวกนั อีกทั้งโปรดให้ต้ังศาลต่างประเทศ และในรัชกาลน้ีอีกเช่นกัน ที่มีศาลกงสุลเกิดขึ้น
เป็นคร้ังแรกเพื่อพิพากษา คดีอาญาที่เกิดขึ้นระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของต่างประเทศ
ด้านกฎหมาย มีกฎหมายตราออกใช้ในรัชกาลน้ีมาก ซึ่งมีท้ังกฎหมายว่าด้วยอาญาหลวง
ครอบครัวผัวเมีย มรดกทรัพย์สิน วิธีพิจารณาคดีความและมีการประกาศต่าง ๆ ที่โปรดฯ
ประกาศออกมาเพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน เช่น ประกาศว่าด้วยอนุญาตให้ใช้
ชาวกรุงรับจ้างฝร่ังได้ ประกาศว่าด้วยละครผู้หญิงและอ่นื ๆ ในด้านเศรษฐกจิ พระองค์ก็ทรง
ปรับปรุงหลายด้าน ด้วยการเลิกระบบการค้าแบบผกู ขาด ซงึ่ เป็นระบบการค้าแบบด้ังเดิมของ
ไทย มีการผูกขาดสินค้าต้องห้ามหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว ระบบการค้าแบบใหม่น้ี
เรยี กวา่ ระบบการคา้ เสรี เพมิ่ ปริมาณผลผลติ ขา้ วทสี่ ่งออก พระองคท์ รงทาหน้าท่ีควบคุมการ
ผลิตและการค้าให้เป็นไปด้วยดี ทรงยึดหลักให้ประเทศมีข้าวบริโภคอย่างเพียงพอเสียก่อนจึง
จะเปิดขายต่างประเทศ และทรงตักเตือนราษฎรล่วงหน้าถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยผ่าน
ประกาศตา่ ง ๆ และทรงแนะนาให้ราษฎรทานาตามชว่ งระยะเวลาท่กี าหนดให้

ด้านการทหาร

ทหารรกั ษาพระองคป์ นื ปลายหอก สมยั รชั กาลที่ 4

โปรดให้มีการฝึกหัดแบบทหารยุโรป โดยจ้างร้อยเอกอิมเปย์ นายทหารนอกราชการ
ของกองทัพบกอังกฤษ ประเทศอนิ เดียมาเป็นครูฝึกเมื่อปี พ.ศ. 2394 และจัดกองทหารประจา
พระองค์ ออกเป็น 2 กอง ได้แก่ “กองทหารรักษาพระองค์ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม” และ
กองทหารหนา้ ” มีการแบ่งชนั้ บังคบั บัญชา เช่นเดยี วกับทหารในปัจจุบันทุกอยา่ ง

ในปี พ.ศ. 2395 ร้อยเอก โทมัส ยอร์ช นอกส์ นายทหารนอกราชการชาวอังกฤษอีก
คนหน่ึง ก็เดินทางเข้ามาเมืองไทยเพื่อสมัครเป็นครูหัดทหารบ้าง จึงโปรดฯให้ไปฝึกทหารวัง
หน้า อย่างไรก็ดี ทหารท่ีฝึกไว้คร้ังน้ัน ก็เป็นแต่เพียงทหารรักษาพระองค์ ส่วนทหารรบเป็น
การปอ้ งกันพระราชอาณาจกั ร ยังคงเป็นไปตามแบบโบราณอยู่

เรือสยามอรสุมพล

ทหารเรอื ทรงทานุบารงุ กองทัพเรอื โดยสร้างเรอื ชนิดทีใ่ ชเ้ ครื่องจักรกล โดยเรมิ่ ตงั้ แต่ปี
พ.ศ. 2401 ทรงต้ังกรมอรสุมพล เพื่ออานวยการต่อเรือกาป่ัน และบังคับบัญชาเรือกลไฟของ
หลวง เรือที่ต่อในรัชกาลน้ี ที่สาคัญ ๆ มีเรือสยามอรสุมพล เรือสงครามครรชิต เรือศักดิ์
สิทธาวุธ เรือราญรุกไพรี เรือศรีอยุธยาเดช เรือสยามูปสดัมภ์ ทรงตั้งกรมเรือกลไฟ เมื่อ พ.ศ.
2411 สาหรับลูกเรือก็ได้พวกพ้องอาสาจาม และเกณฑ์มอญไพร่หลวงมาฝึกหัดเป็นทหาร
บรนี ส่วนกัปตนั ต้นหนก็ตอ้ งจ้างชาวตา่ งประเทศ

ตารวจ ตารวจนครบาล มีข้ึนคร้ังแรกเมอื ปี พ.ศ. 2404 จุดประสงค์ก็เพื่อฝึกคนไว้
ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของชาวยุโรป และมลายู สถานที่ตารวจออกไปปฏิบัติงานเป็นคร้ัง
แรกน้ัน ได้แก่ ตลาดท้องสาเพ็ง ส่วนครูฝกึ กเ็ ป็นชาวยุโรป และชาวมลายูทีเ่ คยเป็นตารวจมา
ก่อนน่นั เอง

สงครามกับพมา่ ครง้ั สดุ ทา้ ย

กรมหลวงวงศาธริ าชสนิท

เมืองเชียงรุ้งได้มาเป็นเมืองข้ึนของไทยอีกและได้ทูลขออาสาจะตีเมืองเชียงตุงมาถวาย
ให้ด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงปรึกษาเหล่าเสนาข้าราชการต่างก็กราบทูล
ถวายความเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะตีเมืองเชียงตุงให้ได้ต่อไป แต่พระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าฯ ทรงเห็นข้อบกพร่องของกองทัพทางเมืองเหนือคราวที่แล้ว ฉะน้ัน คราวนี้ พ.ศ.
2395 พระองค์จึงได้โปรดฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นแม่ทัพ
ใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าพระยายมราช (นุช) เสนาบดีแผนกกรมเมือคุมพลทางเมืองเหนือ ใน
ภาคใต้และภาคกลางมีไพร่พลในกรุงเทพฯ ยกไปด้วยราว 6,488 คน และเกณฑ์ทัพในเมือง
ภาคพายัพอีก ได้ถึง 20,000 คน ให้เมืองหลวงพระบางเป็นกองลาเลียงยกไปด้วย 3,000
คน ไปสมทบกบั กองทพั เมอื งเชียงใหมแ่ ละเมอื งเชียงแสนมีไพรพ่ ลท้ังหมดราว 30,000 คน

ครน้ั ยกไปถงึ เมอื งเชยี งตุงแล้ว จงึ ตัง้ ค่ายล้อมเมอื งไว้ทุกด้าน กองทัพเมืองเชียงตุงยก
ออกประจันบานกับไทยเป็นสามารถ ตีกองทัพไทยอยู่หลายคร้ังหาไม่ แม้กองทัพไทยที่ล้อมอยู่
ไดพ้ ยายามตีเมืองเชียงตงุ หลายครงั้ กไ็ ม่แตกเช่นเดยี วกัน

ทัพหลวงวงศาธริ าชสนิทยกไปถึงเมืองเชียงตุงน้ันเป็นเวลาฤดูมีฝนชุก ทพั เมืองเชียง
ตุงยกออกตีหลายคราวแต่ก็แตกกลับเข้าเมืองทุกคราว ไทยตั้งล้อมเมืองอยู่ 21 วัน ก็ขาด
เสบียงอาหารลงอกี สตั วพ์ าหนะ เปน็ โรคระบาด เห็นว่าทาการไมส่ าเร็จแน่แล้วจะเสียทแี ก่
ขา้ ศึก จึงได้สั่งใหเ้ ลกิ ทพั

ส่วนทัพเจ้าพระยายมราชยกไปยังไม่ทันถงึ เมืองเชียงตุง ทราบข่าวว่าทัพกรม
หลวงวงศาธิราชสนิทกลับแล้ว เจ้าพระยายมราชจึงได้ยกทัพกลับมาทีหลัง การตีเมืองเชียงตุง
ครั้งนี้เมื่อไม่สาเร็จแล้วเมืองเชียงตุงก็ต้องเสียให้แก่พม่าเข้ามีอานาจปกครองได้อีก แต่ถึง
เช่นนั้นพวกพม่าและชาวเมืองเชียงตุง กห็ วาดเกรงไทยอยู่มิใช่น้อย นับว่าเป็นการรบพมา่ คร้ัง
สุดทา้ ยของไทยดว้ ยต่อมาพมา่ เสยี เอกราชใหแ้ ก่อังกฤษ

สร้างป้อมป้องกันพระนคร

ปอ้ มป้องปจั จามิตร

พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ทรงโปรดเกล้าฯ ใหส้ ร้างป้อมข้ึน
ไว้ 8ป้อมไว้ระยะห่างกนั ประมาณ 12 เสน้ ดังน้ี ป้อมป้องปัจจามิตร อยฝู่ ่ังตะวันตกที่ปากคลอง
สาน ป้อมปิดปัจจนึก อยู่ท่ีปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้ ป้อมฮึกเห้ียมหาญ (ยังหาที่ต้ัง
ไม่ได้) ป้อมผลาญไพรีราบ อยู่ตรงตลาด หัวลาโพง ป้อมปราบศัตรูพ่าย อยู่ริมวัดโศก
(พลับพลาชัย) ป้อมทาลายแรงปรปักษ์ อยู่มุมถนนหลานหลวงป้อมหักกาลังดัสกร อยู่ตรงเชิง
สะพานผา่ นฟา้ ฯ ถนนราชดาเนิน ป้อมพระนครรกั ษา อยรู่ ิมวัดนรนาถ

ตอ่ มาในรชั การที่ 5 ทรงพจิ ารณาเห็นวา่ ป้อมเหล่าน้ไี มไ่ ด้ประโยชนม์ ากนัก จึงโปรดฯ
ให้รื้อและสร้างเป็นสถานท่ีต่าง ๆ ด้วยมพี ระราชประสงค์จะขยายเขตพระนครให้กว้างออกไป
อีก จงึ เหลืออยเู่ พียง 3 ป้อม คือ ป้อมปอ้ งปจั จามิตร, ปอ้ มปดิ ปัจจนึก, และป้อมหกั กาลงั ดสั กร

ดา้ นดาราศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาดาราศาสตร์
มาก ทรงมีความเชีย่ วชาญทางดา้ นดาราศาสตร์เทียบเท่ากบั นักดาราศาสตร์สากล หนังสือของ
ชาวต่างประเทศที่เขียนเกี่ยวกับพระองค์ท่านในสมัยน้ัน มักจะต้องเขียนเกี่ยวกับเร่ืองการ
ทดลองและการคานวณทางวิทยาศาสตร์ของพระองค์ท่านด้วย เชน่ เขียนเก่ยี วกับเรื่องท่ที รงวัด
ดาว ทรงวัดพระอาทิตย์ และทรงศึกษาแผนที่ ตลอดจนเขียนบรรยายสภาพภายในเขต
พระราชฐาน ว่าเต็มไปด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องวัดความกดอากาศ กล้องส่อง
ทางไกล กล้องจุลทรรศน์ แม้กระท่ังนาฬิกาต้ัง และนาฬิกาแขวน ซ่ึงคนไทยในสมัยนั้นยังไม่
คอ่ ยรจู้ ักกนั

การคานวณทางวิทยาศาสตร์ท่ีทาให้มีพระราชหฤทัยยินดี และเป็นเร่ืองท่ีแสดงให้
เหน็ ถึงพระปรชี าสามารถในทางวิทยาศาสตร์ กค็ อื เร่อื งการท่ีทรงคานวณสุรยิ ปุ ราคาเต็มดวงใน
ปี พ.ศ. 2411 ได้อย่างถูกต้องแมน่ ยา กอ่ นท่จี ะมกี ารเล่าลือกนั ทง้ั ในหมู่คนไทยและคนต่างชาติ

ในสมยั นั้นคนไทยส่วนใหญ่มคี วามเช่ือในเร่ืองสุริยุปราคา จันทรุปราคาว่าเกิดข้ึนได้
เพราะมียักษ์ใหญ่ชื่อพระราหู อมพระอาทิตย์และพระจันทร์ไว้ คนท่ีพบเห็นสุริยุปราคาและ
จันทรุปราคาจะต้องช่วยตีฆ้อง ตีกลอง จุดประทัด หรือยิงปืนให้เกิดเสียงดัง เพื่อให้พระราหู
ตกใจ จะได้คายพระอาทิตย์และพระจันทร์ออกมา โลกจะได้สว่างไสวเหมือนเดิม ยังไม่มีคน
ไทยคนใดแสดงตนว่ารู้สาเหตุการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาในทางวิทยาศาสตร์ และที่
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ในเร่ืองการคานวณสุริยุปราคาหมด ดวงเต็มดวงนั้น ตาราโหราศาสตร์ไทย
ไม่เชื่อว่าจะเปน็ ไปได้

สุริยุปราคาเตม็ ดวง

เกิดอาเพศเหมือนจะบอกเหตุว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต คือเมื่อ
วันท่ี 26 มีนาคม พ.ศ. 2410 เลา 1.00 น. มีฝนตกหนักอสุนีบาตตกท่ีกรุงเทพฯ รวม 12
แห่ง แตล่ ะแหง่ ลว้ นเป็นท่ีสาคญั เช่น พระอุโบสถ พระท่นี งั่ ในพระบรมมหาราชวงั เปน็ ตน้

ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มคราสเป็นคร้ังแรก จะเป็น
สุริยุปราคานไ้ี ด้ทต่ี าบลหว้ากออยใู่ ต้ตาบลคลองวาฬ เมอื งประจวบคีรขี ันธ์

ประเทศสยามไม่เคยมีสุริยุปราคาเต็มคราสมาต้ังแต่โบราณกาลแล้ว มีแต่
จนั ทรุปราคาเตม็ คราสหลายครั้งตามประกาศดังนี้
ประกาศสุริยปุ ราคาหมดดวง

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั เสดจ็ ทีห่ วา้ กอ

ณ วนั พฤหสั บดี เดือน 9 แรม 3 ค่า ปีมะโรง สัมฤทธิศก มีพระบรมราชโองการมาน
พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อยแลพระสงฆ์สามเณร แลทวย
ราษฎร์ทั้งปวงในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกันว่าสุริยุปราคาคร้ังนี้ จะมีในวัน
อังคาร เดือน 10 ขึ้นค่า 1 ปีมะโรงสัมฤทธิศก จะจับในเวลาเช้า 4 โมงเศษไปจนเวลาบ่ายโมง
เศษ สุริยุปราคาคร้ังน้ีในกรุงเทพฯ นี้จะไม่ได้เห็นจับหมดดวง จะเห็นดวงอาทติ ย์เหลืออยู่น้อย
ข้างเหนือแรกจับจะจับทศิ พายัพค่อนอดุ ร ในเวลาเช้า 4 โมงกบั บาทหนึ่ง แล้วหันคราธไปข้าง
ใต้ จนถึงเวลา 5 โมง 7 บาท จะส้ินดวงข้างทิศอาคเณ คร้ันเวลา 5 โมง 8 บาทแล้วพระ
อาทิตย์จะออกจากท่ีบังข้างทิศพายัพ ครั้นบ่ายโมงกับ 6 บาท จะโมกษบริสุทธิ์หลุดข้างทิศ
อาคเนย์ คาทายน้ีว่าท่ตี าบลหวั วาน

แลการคานวณสุรยิ ปุ ราคาทว่ี า่ จะเป็นเช่นน้ี ได้ทรงด้วยพระองค์ทราบเป็นแน่มานาน
ก่อนความเล่าลือกันอ้ืออึงในคนต่างประเทศจะทราบ เพราะคนต่างประเทศอ้อื อึงในเร็ว ๆ นี้ก็
หาไม่ ได้ทรงกาหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดาเนินลงไปทอดพระเนตร บัดนี้กาหนดน้ันถงึ แล้ว
จึงจะเสด็จพระราชดาเนินออกไปเมืองประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยพระราชวงศานุวงศ์บาง
พระองค์แลเสนาบดบี างทา่ น ทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ในอา่ วทะเลชือ่ อ่าวแมร่ าพึง แขวง
เมืองประจวบครี ขี นั ธ์

เสด็จสวรรคต

หลังจากท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคาเต็มคราส
เป็นครั้งแรกทีต่ าบลหว้ากอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตามที่พระองค์ได้ทรงคานวณไว้ ซ่ึงเป็นครั้ง
แรกท่ีประเทศไทยจะเห็นสุริยุปราคาเต็มคราส ในครั้งน้ันทาให้พระองค์ทรงประชวรไข้จับ
พระองค์ก็ทรงทราบโดยพระอาการว่าประชวรค ร้ังน้ันจะเป็นท่ีสุดแห่งพระชนมายุ
สังขาร

การเตรียมพระองค์เองในช่วงที่ทรงรู้ว่าพระองค์ใกล้สิ้นพระชนม์ เป็นส่ิงที่มีคุณค่า
มาก ทรงมีความทุกข์ทรมานพระวรกายกระสับกระส่ายตามแรงแห่งอาการโรค แต่ทรงยืนยัน
ว่า จิตใจของพระองค์มิได้หวั่นไหวกระสับกระส่ายตาม ทรงต้ังเจตนาสังวรใจกายให้ดารงม่ัน
ในศีล 5 แล้ว กระทากรรมฐาน เฝ้าตามรู้พิจารณาธรรมชาติแห่งชีวิตของพระองค์เอง ทรงมี
ความเข้าใจชัดเจนว่า ภาวะชีวิตเป็นอนัตตา “ใช่ตัวใช่ตน ย่อมเป็นไปตามปัจจัย ของน้ันใช่
ของเรา ส่วนน้ันใช่เรา ไม่เป็นเรา ส่วนน้ันไม่เป็นแก่นสาร ใช่ตัวใช่ตน” และเพราะพระปัญญา
ญาณเช่นนั้น จึงทรงเผชิญมรณภาวะด้วยพระอาการสงบ ทรงมีปัญญาว่า “ความตายใด ๆ
ของสตั วท์ ้ังหลายไมเ่ ป็นของอัศจรรย์”

พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ผลงานชิ้นสุดท้ายพระองค์ของ คือ “คาถาขอขมาลา
พระสงฆ์” ทรงพระราชนิพนธใ์ นเวลาเย็นของวันพุธที่ 30 กนั ยายน 2411 (วันพุธ เดือน 11
ขน้ึ 14 ค่า)

พระราชนิพนธช์ ้ินน้ีจึงมีคุณค่ามาก โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นบันทึกของคนท่ีใกล้จะ
ตาย และมีสติสัมปชัญญะรู้ทันต่อภาวะชีวิตตามความเป็นจริง ใช้เวลาช่วยสุดทา้ ยของชีวิต

พัฒนาจิตให้ดารงอยู่ในศีลธรรม และพยายามกระทาส่ิงที่เห็นว่าพึงกระทาเพ่ือการลด ละ
กรรมท่ีจักมีผลภายหลังความตาย การดารงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา 27 ปี ของพระองค์ จะ
ด้วยเหตใุ ดก็ตามย่อมคุ้มคา่ สาหรับชวี ิตของพระองค์เอง และเกินกว่าความคุ้มใด ๆ ท่ีบุคคลพึง
หาไดใ้ นโลก
คาถาขอขมาลาพระสงฆ์ ซึ่งเป็นภาษาบาลี มีคาแปลดังน้ี

“เหมือนคร้ังตัวฉันยังเป็นภิกษุอยู่ ฉันได้เจรจาคานี้อยู่เนืองๆ ว่า เกิดจากครรภ์มารดา
แล้วในวันพระมหาปวารณาคอื วันพฤหัสบดเี ดอื น 11 ขึน้ 15 คา่ ถา้ เมือ่ เราจะตายหากวา่ ป่วย
หนักลง พวกศิษย์นาไปถึงที่ประชุมสงฆ์ทาปวารณาในโรงอุโบสถยังประกอบด้วยกาลังเช่นน้ัน
ไรเล่า เราถึงธรรมปวารณา สามจบแล้วตายเฉพาะที่หน้าพระสงฆ์ การท่ีได้ทานั้นเป็นการดี
เป็นการสงเคราะห์ควรแก่เรา วาจาอย่างนี้ฉันได้พูดเป็นเนืองๆ เม่ือครั้งเป็นภิกษุ บัดนี้ฉันเป็น
คฤหัสถ์จะทาอะไรได้อย่างท่ีว่าน้ัน เพราะฉะนั้นจึงส่งเคร่ืองสักการบูชาเหล่านี้ทาให้เป็นของ
แทนตัวฉัน วันมหาปวารณาคือวันเพ็ญข้ึน 15 ค่า วันนี้เป็นวันพฤหัสบดีเหมือนเมื่อวันฉันเกิด
กค็ วามเจบ็ ไขข้ องตัวฉนั เจรญิ ทวีมากขึ้น ตวั ฉนั กลัวว่าจะต้องตายลงในวันน้ี ฉันขอลาพระสงฆ์
ฉันขออภิวาทไหว้ต่อพระผู้มีพระภาค พระอรหังสัมมนาสัมพุทโธเจ้า แม้นพระนิพพานแล้ว
นาน ฉันขอนมสั การพระธรรมของพระผมู้ ีพระภาคนั้น ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์ด้วยตัวฉันขอ
ลาผู้ได้ถึงพระรัตนตรัยเป็นท่ีระลึกแล้วโทษคือความล่วงเกิน ข้าพเจ้าเป็นคนพาลคนหลงไม่
ฉลาดด้วยประการใด ตัวข้าพเจ้าคนไรเล่า ณ อาตมาภาพนี้เป็นผู้ประมาทแล้วอย่างนั้น ได้ทา
กรรมเปน็ อกุศลทงั้ หลาย ขอพระสงฆ์จงรับโทษลว่ งเกินของข้าพเจ้านั้นเป็นคนโทษล่วงเกินจริง
เพื่อสังวรระวังตนต่อไปข้างหน้านี้ตัวฉันได้ทาการอธิษฐานการสังวรระวังในศีลห้าแล้ว ปลูก

กรรมทาในใจอย่างน้ี ศึกษาอยู่ในขันธ์ทั้งหลายในอายตนะท้ังหลายภายในหกภายนอกหก ใน
วิญญาณทั้งหลายหก ในสัมผัสทั้งหลายหก ในเวทนาท้ังหลายหก ซ่ึงเป็นไปในทวารทั้งหลาย
หก ของนนั้ ไม่มีในโลก ของไรเล่าเมือ่ สตั ว์เขาถือเอามั่นจะถึงไมม่ โี ทษ อน่ึงฤาบุรุษเขาถอื เอามนั่
ของส่ิงไรเล่า ตัวฉันศึกษาความไม่ยึดหน่วงถือเอาสรรพสิ่งการท้ังหลายท้ังปวงเป็นอนัตตาไม่
เที่ยง ธรรมท้ังหลายท้ังปวง เป็นอนัตตา ใช่ตัวใช่ตน ย่อมเป็นไปตามปัจจัย ของน้ันไม่ใช่ของ
เรา ส่วนน้ันใช่เราไม่เป็นเรา ส่วนน้ันไม่เป็นแก่นสาร ใช่ตัวใช่ตน ความตายใดๆ ของสัตว์
ท้ังหลาย ความตายท้ังหลายไม่เป็นของอัศจรรย์เพราะความตายนั้นไม่เป็นอกุศลหนทางไป
สัตว์ท้ังหลายทั้งหมดด้วยกัน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ฉันขอลาขอไหว้
นมสั การ ข้อทไ่ี ด้เป็นความผิดพล้ังของตัวฉนั

ขอพระสงฆ์จงงดโทษเป็นความผิดของข้าพเจ้าน้ีเถิด คร้ันเมื่อความตายของข้าพเจ้า
แม้นถึงความกระสับกระส่ายอยู่ จิตจะไม่เป็นกระสับกระส่าย ข้าพเจ้าศึกษาอยู่อย่างนี้ ทาตาม
คาสอนของพระพทุ ธเจา้ ผ้ตู รัสรู้”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 18 ปีทรง
สถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตม
พงศบรพิ ตั ร สริ ิวฒั นราชกุมาร ในสมเดจ็ พระเทพศิรินทรามาตย์เป็นองค์รัชทายาท รวมสมเด็จ
พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่ 4 รวมทั้งสิ้น 82 องค์ซ่งึ ประสูติจากอัครชายาและ
เจ้าจอมมารดา 36 พระองค์ โดย ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก 2 พระองค์ ประสูติเม่ือบรม
ราชาภิเษกแล้ว 80 พระองค์ เป็นพระราชโอรส 39 องค์ พระราชธดิ า 42 องค์ ตกพระโลหิต
เสียองค์หนึ่ง รวมพระอคั รมเหสี พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระองค์ทง้ั สิ้น 47
องค์

พระเมรมุ าศรชั กาลท่ี 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรไข้สั่นเดือนหนึ่งกับ 5 วัน จึง
สวรรคต ณ วันพฤหัส ขึ้น 15 ค่าเดือน 11 ปีมะโรง สัมฤทธิศกจุลศักราช 1230 ปี ตรงวันท่ี
1 ตุลาคม 2411 พระองค์ดารงอยู่ในราชสมบัติ นับคติกาลได้ 17 ปี กบั 6 เดือน 14 วัน สิริ
พระชนม์ได้ 64 พรรษา ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อ
ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างอุตสาหะ วิริยะโดยมไิ ด้ทรงย่อท้อ ปวงประชาประสบ
สุข ชาติไทยเจริญไกลก้าวหน้าไมต่ กเป็นเมืองข้ึนของพวกตะวันตกก็ด้วยพระบารมี ด้วยพระ
กรณียกิจนานัปการทท่ี รงกระทา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธ สถติ ในหัวใจไทย
ทวั่ หลา้ นจิ นริ ันดร์

………………………………………

แหลง่ ข้อมูลอา้ งองิ

ชาญวทิ ย์ เกษตรศิริ . ประชุมประกาศรชั กาลที่ 4 . กรุงเทพฯ : มูลนธิ โิ ตโยตา้ ประเทศไทย , 2547 .
เซอร์จอหน์ เบาว์ริง . ราชอาณาจกั รและราษฏรนยิ าม . กรุงเทพฯ : มูลนิธโิ ตโยตา้ ประเทศไทย , 2547 .
ดารงราชานุภาพ, พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยา. ประชมุ พงศาวดารภาคท่ี 52 จดหมายเหตเุ มื่อ

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวสวรรคต. พระนคร : โรงพิมพโ์ สภณพิพรรฒธนากร,
2472.
ทองตอ่ กลว้ ยไม้ ณ อยุธยา . ปชู นียบคุ คลไทย . กรงุ เทพฯ : บรษิ ัทสานักพมิ พ์ภมู ิ ปญั ญาจากดั , 2544 .
พลาดศิ ัย สทิ ธธิ ญั กจิ . สมเด็จพระจอมเกลา้ พระเจ้ากรุงสยาม . กรุงเทพฯ : สานกั พิมพเ์ อม็ บเี อ ,
2540 .
สมบัติ จาปาเงนิ . นกั วทิ ยาศาสตร์ไทย . กรุงเทพฯ : บรษิ ทั ตน้ ออ้ แกรมมจี่ ากัด , 2539 .
สุวรรณ เพชรนลิ รศ . พระจอมปิน่ 200 ปี พระบดิ าแห่งวทิ ยาศาสตรไ์ ทย 196 ปี สมเดจ็ พระปนิ่ เกลา้ .

กรงุ เทพฯ : โรงพิมพก์ ารศาสนา , 2547 .
อรรถจกั ร์ สัตยานุรักษ์ . การเปลีย่ นแปลงโลกทศั น์เอกชนชั้นผุ้นาไทยตงั้ แต่รชั กาลที่ 4 พ.ศ.2475 .

กรงุ เทพฯ : สานกั พมิ พจ์ ฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลัย , 2538.
newdelight.co.th › ... › พระราชประวตั ิ รัชกาลที่ 4
norapontorn.wordpress.com › รชั กาลท-ี่ 4
SCi.udru.ac.th>newsci
sites.google.com › site › kingofth › rachkal-thi-4-phrab
th.wikipedia.org
www.pinterest.com › pin

ขอขอบคณุ ภาพและเน้ือหาจากเวบ็ ไซตต์ า่ งๆ

.


Click to View FlipBook Version