The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พระราชประวัติ รัชกาลที่ 4 (ฉบับสมบูรณ์)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tharaphan.prasan, 2022-08-08 08:34:36

พระราชประวัติ รัชกาลที่ 4 (ฉบับสมบูรณ์)

พระราชประวัติ รัชกาลที่ 4 (ฉบับสมบูรณ์)

พระราชประวตั ิ พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั
(ฉบบั สมบรู ณ)์

ผเู้ รยี บเรยี งนายประสาร ธาราพรรค์

พระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ท้ัง 10 พระองค์ แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ หากมีการศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจโดย
ถอ่ งแท้ลึกซึง้ ทุกพระองค์ จะประสบพบวา่ พระมหากษตั รยิ พ์ ระองคห์ น่ึงที่
ผู้ศึกษาจะต้องรู้สึกแปลกใจ พิศวงสงสัย ประสบพบส่ิงท่ีคาดคิดไม่ถึง
หลากหลายประการ อาทิพระองค์เป็นผู้มีสิทธ์ิพร้อมสมบูรณ์ที่จะได้ข้ึน
ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่เม่ือถึงเวลากลับไม่ได้ข้ึนครองราชย์
ต้องหนีราชภัยไปผนวชถึง 27 ปี ตลอดเวลาทีทรงผนวชก็ไม่มีว่ีแวว
หนทางที่จะแสดงให้เห็นว่าพระองค์จะมีโอกาสได้กลับมาขึ้นครองราชย์
แต่ท้ายสุดยังได้กลับข้ึนครองราชย์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงก่อให้เกิด

มหาราช 2 พระองคค์ ือ พ่อขุนรามคาแหงมหาราช และ พระปิยมหาราช
อีกท้ังพระองค์ยังทรงเป็น พระมหากษัตริย์นักบวชผู้ก่อกาเนิด
ธรรมยุติกนิกาย ธารงศาสนาพุทธไว้ให้ม่ันคงแข็งแรงด้วยวัตรปฏิบัติ
เคร่งครัดสืบทอดพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนกระท่ังทุกวันนี้ และหาก
จะกล่าวถึงความรู้ความสามารถพระอัจฉริยภาพในทางวิชาการยุคใหม่
พระองคก์ ็ไมท่ รงดอ้ ยนอ้ ยหน้าใครโดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ ดารา
ศาสตร์ จนได้รับการยกย่องทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชประวัติแปลกพิสดาร พระราชกรณียกิจ
เปีย่ มพระอจั ฉริยภาพท่ีไดก้ ลา่ วไวข้ า้ งต้น พระมหากษตั ริยพ์ ระองค์น้นั คอื
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั รัชกาลท่ี 4 แหง่ ราชจกั รีวงศ์

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ ฯ จกั รวี งศ์
ชนพศิ วง พระราชประวัติ นา่ กลา่ วขาน
ออกผนวช หนรี าชภัย อย่างยาวนาน
ทรงสบื สาน การศาสนา 27 ปี
ทรงก่อเกดิ นกิ าย ธรรมยุติ
ศลี พสิ ทุ ธ์ิ ตามพระธรรมวนิ ัย พสิ ษิ ฐศ์ รี
ทรงธุดงค์ เดนิ ทางไป ทั่วธาตรี
พระบารมี พบศลิ าจารึก พอ่ ขนุ รามฯ

ข้ึนครองราชย์ ทรงปกครอง แบบอารยประเทศ
พระทรงเดช เปล่ยี นช่อื ชาติ เปน็ สยาม
เปลยี่ นธงชาติ เปน็ ชา้ งเผอื ก แสนงดงาม
ทุกเขตคาม ปรบั ทนั สมยั ไทยมน่ั คง
ทรงคานวณ พยากรณ์ สรุ ยิ คราส
ธ ชาญฉลาด แสนแมน่ ยา สมประสงค์
ที่หวา้ กอ เมอื งประจวบ แดนไพรพง
เหตกุ ารณต์ รง ทรงพยากรณ์ เรอ่ื งอศั จรรย์

ทรงแตง่ ทตู เจรญิ พระราชไมตรี หลากหลายชาติ

คานอานาจ ชาตติ ะวันตก ไมแ่ ปรผนั
ทรงฝกึ ทหาร แบบยโุ รป พรอ้ มโรมรนั
คาประพันธ์ ทรงเสกสรร เลศิ วไิ ล
ตลุ าการ ทรงประยุกต์ใช้ แบบตะวนั ตก
เพ่อื พสก ทรงดแู ล และแกไ้ ข
พระอจั ฉรยิ ภาพ เลอ่ื งลอื ระบอื ไกล
นกิ รไทย เทดิ องคไ์ ท้ ไวน้ ิรนั ดร์
.................................................

ประสาร ธาราพรรค์ รอ้ ยกรอง

พระราชประวัติพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นพระราช
โอรสองค์ท่ี 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงประสูติเม่ือวันที่
17 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับข้ึน 14 ค่า เดือน 11 ปีชวด ฉศก จ.ศ.
1166 และมพี ระนามเรยี กขานว่า “ทลู กระหม่อมฟ้าพระองค์ใหญ่”

การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระพระพทุ ธเลศิ หลา้ นภาลยั
เม่ือทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาหาความรู้ด้านอักขรภาษาไทย กับ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) แห่งวัดโมลีโลกยาราม นอกจากน้ัน
พระองคย์ ังได้ทรงศึกษาวิชาสาหรับกษัตริย์ อาทิ ตาราพิชัยสงคราม การ
ฝึกหัดอาวุธ วชิ าคชกรรม วชิ าโหราศาตร์ อีกทงั้ พระองคย์ งั ทรงสนพระทยั
ในการศึกษาภาษาตา่ งประเทศเปน็ อยา่ งย่งิ
ในปี พ.ศ. 2355 เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนก
นาถ พระบาทสมเด็จพระพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์ที่
จะให้เปน็ เกียรติอันยิง่ ใหญ่ แก่พระองคท์ ท่ี รงเป็นพระราชโอรสทท่ี รงศกั ดิ์
เป็นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ โปรดให้ต้ังการพระราชพิธีมหาพิชัยมงคลสรง
สนานรบั พระปรมาภไิ ธย หรอื เรียกยอ่ ๆ วา่ “พระราชพิธลี งสรง” โดยจัด
ตามพระราชประเพณี ซึ่งเป็นการจัดอย่างถูกต้องครบถ้วนกระบวนพิธี
นับเป็นคร้ังแรกท่ีจัดพิธีน้ีข้ึนในกรุงรัตนโกสินทร์ และพระองค์ได้รับ

พระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจา้ ฟ้ามงกฎุ สมมุติเทวาวงศ์ พงศอ์ ศิ วรกษตั รยิ ์ขตั ตยิ ราชกมุ าร”

เสด็จออกศกึ สงคราม

พ.ศ. 2358 สมิงสอดเบา และพวกมอญเมืองเมาะตาเลิม ก่อการ
กบฏต่อพม่า ได้พาครอบครัวเข้ามาพ่ึงพระบรมโพธิสมภารถึง 40,000
คน สมเด็จพระบรมราชชนก รัชกาลท่ี 2 โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้า
มงกุฎ พระราชโอรส ซึ่งขณะน้ันมีพระชนมายุ 11 พรรษา เป็นแม่ทัพคุม
กาลังไพร่พลไปรับครัวมอญ ที่ด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี โดยมี
เจ้าฟา้ กรมหลวงพทิ ักษม์ นตรีเปน็ พระอภิบาล

เมื่อพระองค์ เจริญพระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระราชบิดา
ทรงจัดให้มีพระราช พิธีโสกันต์พระองค์ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีเขาไกรลาศสูง
เจ็ดวา มีมณฑปยอดเขา และมีขบวนแห่ตามระบอบโบราณราช
ประเพณี และในปี พ.ศ.2360 พระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณรโดยมี
สมเด็จพระญาณสังวรณเ์ ป็นพระอปุ ชั ฌายแ์ ละประทับ ณ วดั มหาธาตเุ ปน็
เวลา 7 เดอื น และเม่ือทรงลาผนวชก็เสด็จประทับในพระราชวังฝ่ายหน้า
พระตาหนักอยู่หน้าพระท่ีน่ังดุสิตมหาปราสาท พระองค์ทรงมีพระหฤทัย
ใฝ่ในพระพุทธศาสนาทรงเสด็จไปศึกษาธรรมะท่ีวัดอรุณราชวรารามอยู่
เนือง ๆ คร้ันเม่ือพระชนมพรรษาควรแก่การรับราชการ สมเด็จพระบรม
ชนกนาถโปรดใหท้ รงเข้ารับราชการในหนา้ ที่อธบิ ดีกรมมหาดเลก็

ทรงผนวช

ในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บรรดาโหราจารย์ได้ทานายทายทัก สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎโชคร้ายต้องราหู
อีกท้ังมีลางร้ายคือช้างเผือกคู่บุญบารมีรัชกาลท่ี 2 ล้ม เพื่อแก้ลางร้าย
บรรดาพระญาติเชื้อพระวงศ์จึงอันเชิญให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎผนวชอีกท้ัง
พระชนมายุครบอุปสมบท ได้ทรงผนวช เม่ือ พ.ศ. 2367 ณ วัดพระศรี
รัตนศาสดาราม โดยมีพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุ เป็นพระ
อปุ ฌาย์ และพระองคม์ ีพระฉายาวา่ “วชิรญาณภกิ ขุ” ประทบั วัดมหาธาตุ
3 วัน แลว้ เสดจ็ จาพรรษาท่วี ัดสมอราย (วดั ราชาธริ าช)

พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชได้ 2 สัปดาห์ สมเด็จพระบรม
ราชชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระประชวร
กะทันหนั มพี ระอาการออ่ นซมึ มนึ และเม่อื ยพระองคไ์ ด้เสวยพระโอสถชอื่
ไนเพชรซ่ึงพระองค์เคยเสวย ครั้นเสวยแล้วเกิดพระอาการร้อนเป็นกาลัง
จึงเสวยพระโอสถอกี ขนานชอ่ื ทิพยโ์ อสถ พระอาการก็ไมค่ ลาย เอย่ กระแส
พระราชดารัสไม่ได้ ยังมิทันมอบหมายราชสมบัติให้แก่ผู้ใดก็เสด็จ
สวรรคตเม่ือวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่า เวลาย่าค่าแล้ว 5 บาท ปีวอก
จ.ศ. 1186 พ.ศ. 2367
พระบาทสมเด็จพระนงั่ เกล้าเจา้ อยู่หวั ขนึ้ ครองราชย์

พระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยู่หัว

ในฐานะที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน
สมเด็จพระบรมราชินี ดังน้ัน ราชบัลลังก์จึงสมควรเป็นของพระองค์ แต่
ในขณะน้ันพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสองค์
ใหญ่ท่ีประสูติจากพระสนมเจ้าจอมมารดาเรียม มีพระอานาจเหนือผู้ใด
ทาใหพ้ ระบรมวงศานวุ งศแ์ ละขุนนางผใู้ หญต่ า่ งพากนั เหน็ วา่ พระเจา้ ลูกยา
เธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สมควรจะครองราชสมบัติรักษาแผ่นดินสืบ
บรมราชตระกูลต่อไป จึงอันเชิญเสด็จข้ึนเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระ
นามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงการเปลี่ยนแปลง
แผ่นดินพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้ถูกควบคุมพระองค์ไว้ในโบสถ์วัดพระศรี
รัตนศาสดาราม เม่ือเหตุการณ์สงบก็ได้รับการปล่อยตัวให้เสด็จกลับจา
พรรษาอยู่ท่ีวัดสมอรายตามเดิม รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎจึงครองเพศบรรพชิตตลอด
รัชกาล ซึ่งกินเวลาถึง 27 ปี โดยจาพรรษาอยู่วัดมหาธาตุ วัดสมอราย
12 ปี 6 เดอื น และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารเปน็ เวลา 14 ปี 3 เดือน

วัดสมอรายหรือวดั ราชาธวิ าส

ในพรรษาแรกพระภิกษุสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎได้ทรงศึกษาทาง
สมถวิปัสสนาท่ีวัดสมอราย 1 ปี และในพรรษาต่อมาได้ศึกษาสมถวิปัส
สนาต่อท่ีวัดพลับ(วัดราชสิทธ์ิ) พระองค์ศึกษาได้รวดเร็วจน
แตกฉาน ตอ่ มาได้หนั มาศกึ ษาทางดา้ นคันถะธุระพระไตรปิฎก พระธรรม

วินัย พระปริยัติธรรม จากพระวิเชียรปรีชา (ภู่) เป็นเวลา 3 ปี จนมี
ความรแู้ ตกฉานและสามารถแปลพระปรยิ ตั ธิ รรมไดค้ ลอ่ งแคลว่ รวดเรว็ จน
กิตติศัพท์เล่าลือว่า พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ออกทรงผนวชได้เพียงไม่กี่
พรรษาก็สามารถแปลพระไตรปิฎกได้เช่ียวชาญแตกฉาน จนความทราบ
ไปถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเดจ็ พระน่งั เกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์
ทรงปิติยินดีและโปรดให้พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎเข้าแปลพระปริยัติธรรม
หน้าพระที่น่ังโดยพระราชาคณะผู้ใหญ่เป็นองค์คณะผู้สอบไล่พระปริยัติ
ธรรมซง่ึ ทรงแปลถึงประโยค 4 จึงทรงยุติ เนื่องจากทรงได้ยนิ เสียงกระซิบ
แสดงความไม่พอพระทยั ในการแปลพระปริยตั ิธรรมของพระองคจ์ ากกรม
หลวงรักษ์รณเรศ(หม่อมเจ้าไกรสร โอรสรัชกาลที่ 1 ) ในการแปลครั้งนี้
นับว่าเป็นครั้งแรกในประวิติศาสตร์ที่มีพระภิกษุท่ีเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง
เข้าแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ ต่อมา
พระบาทสมเดจ็ พระน่งั เกลา้ เจ้าอยู่หัว ไดท้ รงแตง่ ตงั้ พระภกิ ษเุ จา้ ฟา้ มงกฎุ
เป็นพระราชาคณะและเป็นคณะกรรมการผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมของ
คณะสงฆ์ไทยด้วยพระองคห์ น่ึง

วดั มหาธาตยุ วุ ราษฎรร์ งั สฤษฎ์ิ

ปีระกา พ.ศ. 2368 ทรงย้ายจากวัดสมอรายมาจาพรรษา ณ วัด
มหาธาตุ จากท่พี ระองค์ได้ทรงศึกษาภาษามคธในพระคัมภีร์พระไตรปิฎก
โดยละเอียดทุกฉบบั ท้ังทรงสอบสวนขอ้ ธรรมวินัยในพระพทุ ธศาสนา ทรง
พบว่าวินัยลัทธิท่ีพระสงฆ์ไทยประพฤติปฏิบัติกันอยู่โดยมากในเวลานั้น
คลาดเคลอ่ื นจากพระพุทธบัญญัตเิ ปน็ อันมาก พระองคจ์ ึงทรงใคร่ครวญท่ี
จะหาผมู้ คี วามรแู้ ตกฉานเช่ียวชาญในพระธรรมวินัยและไตรปิฎกตามพระ
พุทธบัญญัติท่ีแท้จริง และต่อมาก็ทรงได้ทราบข่าวว่ามีพระมอญรูปหน่ึง
ช่ือ ชาย ซ่ึงภาษาไทย แปลว่าผึ้ง มีฉายาทางพระว่า “พุทธวังโส” เป็น

พระราชาคณะมอญ มีสมณศักดิ์ “พระสุเมธาจารย์” เป็นผู้เชี่ยวชาญลุ่ม
ลึกในพระธรรมวินัยพระไตรปิฎกย่ิงนัก โดยเข้ามาจาพรรษา ณ วัดบวร
มงคล ฝ่ังตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ และเมื่อพระองค์ได้เสด็จไปหาแล้วทรง
ธรรมสากัจฉา ซักถามพระธรรมวินัย พระสุเมธาจารย์ก็ตอบได้อย่าง
ชัดเจนแจ่มแจ้งเป็นที่พอพระทัยยิ่งนัก บังเกิดความเลื่อมใสในลัทธิอย่าง
มอญ และทรงตั้งพระทัยที่จะทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยในลัทธิของมอญ
ตั้งแต่บดั น้ันเป็นต้นมา

วดั สมอราย วดั ราชาธวิ าสราชวรวิหาร

ในปี พ.ศ. 2372พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้ออกจากวัดมหาธาตุมา
ประทับจาพรรษาท่ีวัดสมอราย และได้ต้ังคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นโดยมี
พระที่มารว่ มประพฤติวินัยอย่างเคร่งครดั เป็นพระเถระผู้เปน็ ตน้ วงศ์ธรรม
ยุติ 10 รูป อาทิ พระปัญญาอัคคเถระ คือสมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระ
ยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระปุสสเถระ คือ สมเด็จ
พระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ พระพุทธสิริเถระ คือ สมเด็จพระวัน
รัต (ทับ) เป็นต้น อีกทั้งทรงให้การบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรที่ศรัทธา
เล่ือมใสและทรงสงเคราะห์คฤหัสถ์ด้วยธรรมกถาอนุสาสโนวาทในธรรม
วินยั สวนะ ทรงเปลีย่ นแปลงวิธคี รองผา้ เปน็ ครองแหวกตามอย่างพระสงฆ์
รามัญ ทรงทานุบารุงการปฏิบัติของสงฆ์ให้ต้ังอยู่ในสังวร ไม่งมงายนา

ไสยศาสตร์มาเกี่ยวข้อง ใช้ความตริตรองให้เห็นประโยชน์แห่งการปฏิบัติ
โดยเครง่ ครดั ในธรรมวนิ ัย

สงั ฆราชปัลเลกวั ส์(Pallegoiux)
ในคร้ังที่พระองค์ประทับอยู่ ณ วัดสมอราย ได้ทรงรู้จักกับท่าน
สังฆราชปัลเลกัวส์(Pallegoiux) ชาติฝร่ังเศส ท่านสังฆราชได้สอนภาษา
ลาตินให้กับพระองค์ โดยพระองค์ได้ทรงสอนภาษาบาลีเป็นการ
แลกเปล่ียน อีกทั้งเม่ือประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ พระองค์ได้ทรงติดต่อ
หมอสอนศาสนานิกายโปรแตสแตนท์ชาวอเมริกา คือด๊อกเตอร์คาสเวลล์
(Caswell) บรัดเล (Bradley)และเฮาซ์ (House) พระองค์ได้ศึกษา
ภาษาอังกฤษกับท่านเหล่านี้ ได้ทรงเรียนพูดและเขียนได้อย่าง
คล่องแคล่ว นอกจากนั้นพวกหมอสอนศาสนาได้ช่วยเหลือพระองค์ใน

การศกึ ษาวิทยาการแผนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาภูมิศาสตร์และดารา
ศาสตร์ซง่ึ พระองคส์ นพระทัยเป็นอนั มาก

พระปฐมเจดยี ์
ปี พ.ศ. 2374 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้เสด็จไปยังเมืองนครชัยศรี
(จังหวัดนครปฐม)นมัสการพระปฐมเจดีย์ ซึ่งในสมัยน้ันเดินทางไป
ยากลาบากเพราะเปน็ ปา่ รกชัฏ พระองค์ทรงเลือ่ มใสและเชื่อถอื ว่าคงเปน็
เจดีย์สถานของเก่า และใหญ่โตม่ันคงยิ่งกว่าพระเจดียฐานในเขตแดน
สยาม และทรงคาดว่าน่าจะมีพระบรมธาตุของสมเด็จผู้มีพระภาคเจ้า
ประดิษฐาน ณ เจดีย์แห่งน้ี

พระสมั พทุ ธพรรณี

พระองค์ได้ทรงอธิษฐานขอให้เทพยดาผู้ทรงรักษาพระมหาเจดีย์น้ี
จงมีเมตตากรณุ าแบ่งพระบรมธาตุ 2 องค์ เพื่อนาไปบรรจุในพระพุทธรูป
ท่ีหล่อใหม่ มีพระนามว่า “พระสัมพุทธพรรณี” และบรรจุในพระเจดีย์
ทองเหลืองหุ้มเงินองค์หนึ่ง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชาในกรุงเทพฯ ต่อไป
โดยตั้งพานแก้วไว้ในโพรงพระเจดียฐานด้านตะวันออก แต่เม่ือนาพาน
กลับมาก็หามีส่ิงใดไม่ ต่อเมื่อเสด็จนิวัติกลับกรุงเทพฯมาได้เดือนเศษ ณ
หอพระวัดมหาธาตุได้เกิดอัศจรรย์ ประมาณเวลา 5 ทุ่ม ขณะท่ีพระสงฆ์
สวดมนตรไ์ ด้ปรากฏควนั สแี ดงคลุ้งขน้ึ และมกี ล่ินหอมเหมือนควนั ธปู เทยี น

บริเวณพระพุทธรูปประธานพระพุทธเนาวรัตน์ จนดูพระองค์เป็นสีแดง
เหมือนสีนาก วันรุ่งขึ้นพระสงฆ์ในวัดมหาธาตุได้นาความข้ึนกราบทูลให้
พระองค์ทรงทราบ พระองค์จึงเสด็จลงมาทอดพระเนตรพระพุทธ
เนาวรัตน์ทรงเห็นมีพระบรมสาริกธาตุที่บรรจุในองค์พระพุทธรูปนั้นมี
จานวนมากขึ้นกว่าเก่า 2 องค์ เป็นอัศจรรย์และเมื่อเสด็จดารงสิริราช
สมบัติแล้วจึงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์เป็นการใหญ่โดย
สร้างเป็นพระเจดียอ์ งค์ใหญค่ รอบองค์เดิมไว้ทงั้ องค์
เสดจ็ ธุดงคส์ ุโขทยั พบพระแทน่ มนงั คศลิ าบาตรและศลิ าจารกึ พ่อขนุ รามฯ

พระแทน่ มนงั คศลิ าบาตร

ในปี พ.ศ.2376 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้เสด็จธุดงค์ไปยังจังหวัด
สุโขทัย ได้เสด็จไปบริเวณเมืองเก่า ทรงพบแท่นศิลาอันใหญ่ตั้งอยู่ใกล้
ปราสาทเก่า ซ่ึงเป็นสงิ่ ทปี่ ระชาชนในแถบน้นั นบั ถือเป็นของศักดิ์สิทธ์

หลกั ศิลาจารกึ พอ่ ขนุ รามคาแหง
นอกจากแท่นหินแล้วยังทรงพบหลักศิลาจารึกอีก 2 หลัก หลักหนึ่ง
จารึกเป็นอักษรขอม อีกหลักหนึ่งจารึกเป็นภาษาไทยโบราณ พระองค์
โปรดให้นาพระแท่นและหลักศิลาท้ัง 2 หลักลงมากรุงเทพฯ มา
ประดิษฐานไว้ที่วัดสมอราย ซึ่งพระแท่นศิลาน้ันคือ พระแท่นมนังคศิลา
บาตรในสมัยพ่อขุนรามคาแหง ส่วนจารึกหลักที่เป็นอักษรขอมจารึกใน
สมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ส่วนหลักศิลาจารึกอักษรไทยโบราณเป็น

หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคาแหง ซ่ึงต่อมาเป็นหลักฐานสาคัญทาง
ประวัตศิ าสตรแ์ ละอกั ษรศาสตรใ์ นสมัยสุโขทยั ภายหลงั พอ่ ขนุ รามคาแหง
จึงได้รบั การยกย่องเปน็ “พ่อขุนรามคาแหงมหาราช” เนอ่ื งจากศลิ าจารกึ
ทพ่ี ระภกิ ษเุ จ้าฟ้ามงกุฎนากลบั มาจากสโุ ขทยั นั่นเอง

พระราชวงั นารายณร์ าชนเิ วศน์ ลพบรุ ี
จากการเสด็จธุดงค์ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้ทรงค้นพบหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ท่ีสาคัญหลายประการ และโบราณสถานทรงคุณค่า เมื่อ
พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์แล้วกโ็ ปรดให้ซอ่ มแซมโบราณสถานในจังหวัดท่ี
เคยเสด็จธุดงค์ อาทิ ซ่อมแซมพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ท่ี
ลพบรุ ี พระพุทธบาทท่ีสระบรุ ี วิหารวัดพระพุทธชนิ ราชท่ีพิษณุโลก

วัดบวรนเิ วศวิหาร

เม่ือพระเทพโมลี (สิน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารลาสิกขาบท
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอาราธนาพระภิกษุสมเด็จ
เจา้ ฟา้ มงกุฎ ซ่ึงผนวชประทับอยู่วดั สมอราย ใหเ้ สด็จมาครองวัดบวรนเิ วศ
วิหาร และทรงสรา้ งพระตาหนักพระราชทาน คือ พระตาหนักปั้นหยาตึก
ฝรั่งพื้น 3 ชนั้ และพระองคเ์ สด็จมาอยูค่ รองวดั น้เี มอื่ วนั พธุ ที่ 11 มกราคม
2379 วัดบวรนิเวศซ่ึงคนท่ัวไปเรียกกันว่า “วัดบน” เมื่อเสด็จประทับจา
พรรษา ณ วัดแห่งนี้ทรงตั้งขนบธรรมเนียมไว้สาหรับวัดคือ ตั้งการ
นมัสการพระเป็นการทาวัตรทั้งเช้า ค่า ประจาวัน พระองค์ทรงแต่งคา
นมัสการขน้ึ ใหมเ่ ปน็ ภาษามคธ เปน็ คาร้อยแกว้ เปน็ พระคาถา และนยิ มใช้
กันแพร่หลายต่อมาทั้งทรงต้ังการทาบูชาพิเศษในอภิลักขิ ตสมัยแห่ง
สมเดจ็ พระบรมศาสดา คอื ทามาฆบชู าในเพญ็ เดอื น 3 และวิสาขบชู าใน
เพ็ญเดือน 6 ทรงชักนาการบาเพ็ญกุศลต่าง ๆ อย่างอ่ืนอีกตามเทศกาล

อาทิ ถวายสลากภัตรหน้าผลไม้ ถวายผ้าจานาพรรษาเม่ือออก
พรรษา นอกจากนัน้ ยังทรงบารุงการเรียนพระปริยตั ิธรรมใหร้ งุ่ เรอื ง

พระบาทสมเด็จพระนง่ั เกล้าเจา้ อยูห่ วั
ปี พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ
ประชวร มีพระอาการปรากฏให้เห็นคือพระบังคลเบาขุ่นข้นเป็นตะกอน
พระวรกายกท็ รุดโทรม บรรทมไมห่ ลบั ให้ทรงคล่นื เหยี น เสวยพระกระยา
หารไม่ค่อยได้ ไม่สบายพระองค์ ถึงประชุมแพทย์พระโอสถอาการก็ไม่ดี
จึงเสด็จแปรพระราชฐานจากพระท่ีน่ังจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออกซึ่ง
เป็นท่ีบรรทมแต่เดิมมาประทับอยู่ ณ พระที่น่ังตะวันตก เม่ือพระอาการ
ทรุดหนักโดยลาดับใกล้สวรรคตพระองค์มิได้แต่งต้ังองค์รัชทายาทด้วย

พระองค์เองทั้ง ๆที่พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมทั้งส้ิน
51 พระองค์ โดยประสูติก่อนพระบรมราชาภิเษก 38 พระองค์ และ
ประสูติเม่ือบรมราชาภิเษกแล้ว 13 พระองค์ แต่กลับทรงพระราชทาน
พระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์คณะเสนาบดีขุนนางผู้ใหญ่
เลอื กพระเจา้ แผน่ ดินตามเห็นสมควร

ครน้ั ถงึ วันพุธ เดือน 5 ปีกนุ โทศก จุลศกั ราช 1212 เวลา 8 ทุ่ม หา้
บาท ซ่ึงตรงกับ วันท่ี 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเดจ็ พระนัง่ เกล้า
เจา้ อย่หู ัวเสดจ็ สวรรคต
ขึ้นครองราชย์

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัวขน้ึ ครองราชย์

พระภกิ ษเุ จ้าฟา้ มงกฎุ

เม่ือส้นิ รชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว พระบรมวงศา
นุวงศ์และคณะเสนาบดีไดป้ ระชุมพรอ้ มกันมีมตใิ หอ้ ันเชญิ พระภกิ ษเุ จา้ ฟา้
มงกฎุ ขน้ึ ครองราชย์ วันรุง่ ขึน้ เจา้ พระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุห
กลาโหม และข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ ได้ไปท่ีวัดบวรนิเวศน์เพ่ืออันเชิญ
พระภกิ ษเุ จ้าฟ้ามงกุฎข้นึ ครองราชย์ พระองคท์ รงรบั อาราธนาดว้ ยดุษณยี
ภาพยนิ ดีจะเป็นพระมหากษัตริย์จึงเสด็จออกจากวัดบวรนิเวศไปประทับ
อยูใ่ นวัดพระศรรี ตั นศาสดาราม พระบรมมหาราชวังในค่าวันน้ัน และวนั ที่
5 พฤษภาคม 2394 พระองค์ทรงลาผนวชต่อหน้าพระราชาคณะ
ฐานานุกรมเปรียญ 30 รูป อันเป็นพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย แล้วเสด็จไป
ประทับ ณ พลับพลา หน้าคลังศุภรัตน์ข้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พอ
ถึงวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2394 พระองค์เสด็จสรงน้ามุรธาภิเษก

ในการพระราชพิธบี รมราชาภิเษก และเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียรสถาน
ตามโบราณขัตติยราชประเพณี มีจารึกพระบรมนามาภิไธยในพระ
สพุ รรณบัตรวา่

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ สุทธิสมมุติเทพยพง
ศวงศาดิศรกษตั รยิ ์ วรขัตตยิ ราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจกั รพรรดิราช
สังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณีจักรีบรมนารถ อดิศวรราชรามวรัง
กูล สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการ
รังสฤษดิ ธัญญลักษณ์ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชนโนตมางค
ประนต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหา
บุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมล ศุภศีลสมาจารย์ เพ็ช
รญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลยสันดาน ทิพยเทพาวตาร
ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุต
พุทธมหากระวีตรี ปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบันฑิต สุนทรวิจิตร
ป ฏิ ภ า ณ บ ริ บู ร ณ์ คุ ณ ส า รั ส ย า ม า ทิ โ ล ก ย ดิ ล ก ม ห า ป ริ ว า ร
นายก อนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสร
สมมติ ประสทิ ธิวรยศมโหดมบรมราชสมบตั นิ พปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริ
รัตโนปลกั ษณม์ หาบรมราชาภเิ ศกาภษิ ิต สรรพทศทิศวชิ ัตชัย สกลมไหศว
ริยมหาสวามนิ ทรมเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนารถชาตอิ า
ชาวศรยั พุทธาทิไตรรตั นสรณารักษ์ อุกฤษฐศกั ดิ์อัครนเรศราธบิ ดี เมตตา
ก รุณ า สีต ล ห ฤ ทัย อ โ น ป มั ย บุญ ก า ร ส ก ล ไ พ ศ า ล ม ห า รัษ ฎ า ธิ
เบนทร ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอม
เ ก ล้ า เ จ้ า อ ยู่ หั ว ฯ เ ส ด็ จ เ ถ ลิ ง ถ วั ล ร า ช ย์ ใ น
พระบรมมหาราชวัง กรงุ เทพมหานคร อมรรัตนโกสนิ ทรมหนิ ทรายธุ ยา”

กรมหลวงรกั ษรณเรศ (หมอ่ มเจา้ ไกรสร)

การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลท่ี 4 ใช่จะราบรื่นโดยง่ายดาย ได้มีผู้แสดงตนเป็นศตรูขัดขวางคือ
กรมหลวงรักษรณเรศ (หมอ่ มเจ้าไกรสร) พระโอรสในพระบาทสมเดจ็ พระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 กับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ธิดาพระ
จักรีเมืองนครราช ศรีธรรมราช ซึ่งได้แสดงตนเป็นศตรูกับพระองค์ตั้งแต่
คราวที่เสด็จแปลพระปริยัติธรรมหน้าพระที่น่ังรัชกาลที่ 3 เม่ือพระองค์
ได้รับความเห็นชอบจากพระบรมวาศานุวงศ์ให้ข้ึนครองราชย์ทาให้กรม
หลวงรักษรณเรศไมเ่ ห็นชอบไมพ่ อพระทยั จงึ นากาลงั ขดั ขวางทา้ ยสดุ กรม
หลวงรกั ษรณเรศก็ถูกจับและถกู ลงพระราชอาญาสาเรจ็ โทษ

ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระอนุชาให้ดารงพระยศเสมอ
ด้วยพระมหากษตั รยิ ์

พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกลา้ เจา้ อยหู่ ัว
เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ
รงั สรรค์ พระอนุชาให้ดารงพระยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์อีกพระองค์
หน่ึง ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนท่ีจะ
แต่งต้ังให้ข้ึนเป็นสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯตามประเพณีสืบมาเพราะ
ทรงมีความรักใคร่ผูกพันเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขมาแต่ก่อน ท้ังทรงมีพระ
ป รี ช า ส า ม า ร ถ ร อ บ รู้ ก า ร ใ น พ ร ะ น ค ร แ ล ะ ก า ร ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ท้ั ง
ขนบธรรมเนียมและศิลปศาสตร์เป็นอันมากท้ังพระบรมวงศานุวงศ์และ
เสนาบดนี ยิ มยินดนี ับถอื โดยทั่วกัน

พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชย์ เม่ือ
พ.ศ. 2394 ซ่งึ ในชว่ งแรกของการขน้ึ ครองราชยน์ ับวา่ เป็นระยะหวั เล้ยี ว
หัวต่อที่สาคัญย่ิงของประเทศ มหาอานาจในยุโรปแผ่อิทธิพลเข้า
ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย พระองค์ทรงหาหนทาง
แก้ไขโดยทรงปรับเปล่ียนทัศนะในการปกครองประเทศโ ดยทรง
ผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออกคือพร้อมรับอารยธรรม
สมัยใหม่แบบตะวันตกท้ังวางพระองค์ประดุจดังบิดาของประชาชนแบบ
ตะวันออก พระองค์ทรงมีบุญคุณต่อประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ ทรง
เป็นอัจฉริยกษัตริย์นาประเทศชาติให้พ้นจากการเข้าครอบครองของนัก
ล่าอาณานคิ มตะวันตกอาทิ อังกฤษ ฝร่ังเศส

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว

พระองค์เป็นกษัตริย์ในแถบเอเชียเพียงพระองค์เดียวที่สามารถนา
ประเทศชาติให้รอดพ้นจากบรรดานักล่าอาณานิคม ทรงรักษาอิสรภาพ
ของประเทศไทยไว้ได้โดยศึกษาบทเรียนจากประเทศอื่น ๆ ท่ีต้องตกเป็น
เมืองขึน้ อนั เนื่องจากมีวเิ ทโศบายท่ีผดิ พลาดปิดประเทศไม่ยอมรบั อทิ ธพิ ล
ของประเทศทางตะวนั ตก พระองค์ทรงคิดว่าวิธีเดียวท่ีประเทศไทยจะคง
อย่ไู ด้ก็คอื ต้องพยายามรับเอาอทิ ธิพล ความรู้ การปกครองของตะวันตก
มาประยุกต์พัฒนาปรับปรุงประเทศชาติให้ทันสมัย พระองค์ทรง
ตระหนักดีถึงผลที่เกิดข้ึนในประเทศจีน เมื่อประเทศน้ันพยายามผลักดัน
ชาวตะวันตกออกไป ทรงทราบดีว่าประเทศจีนแพ้ในสงคราม
ฝิ่น ประเทศไทยต้องไม่ทาตามอย่างจีนต้องยกเลิกการอยู่อย่างโดด
เดีย่ ว อยา่ งทเี่ คยทากนั มา ตอ้ งยอมเปดิ ประเทศทาการคา้ กับตา่ งชาตแิ ละ

รับความคิดเห็นใหม่ ๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีอันล้าสมัยของ
ตน ทั้งจาต้องศึกษาหาความรู้เข้าใจในวิชาการ ความคิด และการ
ปกครองบ้านเมืองแบบตะวันตก ด้วยการทรงวางนโยบายการปกครองที่
ฉลาดล้าลึกยากท่ีจะหาผู้ใดเสมอเหมือน นอกจากนี้พระองค์ยังทรง
ยอมรับฟงั ความคิดเห็นของคนสว่ นใหญท่ งั้ ไดท้ รงจดั ระบบการปกครองให้
ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ และยังทรงเป็นผู้นาที่ก้าวหน้าทาง
วิทยาการแผนใหม่ ทาให้ชาติไทยเจริญก้าวหน้ารอดพ้นจากการตกเป็น
เมืองขนึ้ ของนักลา่ อาณานิคมตะวันตก

กระบวนเสด็จรชั กาลท่ี 4 เสดจ็ ไปยงั วดั พระเชตุพลวิมลมงั คลาราม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
เปน็ อเนกอนนั ต์หาทสี่ ุดมิได้ ดว้ ยพระราชกรณียกิจใหญ่น้อยท้ังปวงที่ทรง
กระทาอันแสดงถึงพระอัจฉริยะของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง
การทูต หรือทางด้านวิชาการ ซึ่งจะหามหากษัตริย์ที่พระปรีชาสามารถ
เทียบเท่าพระองค์ได้ยากย่ิงและพระราชกรณียกิจที่สาคัญอั นทาให้
ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยประชาไทยประสบสุขเป็นผลมาจาก
หลักธรรมทางศาสนาประกอบกับการใชช้ ีวิตในระหวา่ งท่ีทรงผนวชท่ีต้อง
คลุกคลีกับสามัญชน จึงทาให้พระองค์ท่านทรงเมตตาต่อราษฎรของ
พระองคอ์ ยา่ งแทจ้ ริง ทรงเหน็ ว่าไม่มีประโยชน์ท่ีจะไปยึดตามโบราณราช
ประเพณีท่ีมุ่งจะรักษาความปลอดภัยโดยการห้ามราษฎรเฝ้าใกล้ชิดและ
มองดูพระมหากษัตริย์ของตน จึงมีพระราชดาริเปิดโอกาสให้แก้ไขตาม
ความเหมาะสม

พระราชลัญจกรรัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั

พระราชลญั จกรประจารชั กาลที่ 4
เรยี กวา่ พระราชลญั จกรพระมหามงกุฎ ลักษณะเป็นรูปกลมรี ลาย
กลางเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม
นามาภิไธยวา่ "มงกฎุ " ซึ่งเป็นศิราภรณ์สาคัญของพระมหากษัตริย์ อยู่ใน
เครื่องเบญจราชกุธภัณฑ์ มีฉัตรบรวิ ารตั้งขนาบข้างท่รี ิมขอบทัง้ สองข้าง มี
พานทองสองช้ันวางพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรข้างหน่ึง สมุดตาราข้าง
หน่ึง รูปพระแว่นสุริยกานต์หรือเพชรนี้มาจากฉายาเม่ือผนวชว่า "วชิร
ญาณ" ส่วนสมุดตารามาจากเหตุท่ีได้ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษร
ศาสตร์และดาราศาสตร์ องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่
แนวนอน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 6.8 เซนตเิ มตร

พระบรมราชอิสรยิ ยศ

 สมเดจ็ พระเจ้าหลานเธอ เจา้ ฟา้ (18 ตลุ าคม พ.ศ. 2347 - 8
มนี าคม พ.ศ. 2356)

 สมเดจ็ พระเจา้ ลกู ยาเธอ เจา้ ฟา้ มงกฎุ สมมตเิ ทววงศ์ พงศอ์ ศิ วร
กษัตรยิ ์ วรขตั ตยิ ราชกมุ าร (8 มนี าคม พ.ศ. 2356 - 7 กรกฎาคม
พ.ศ. 2367)

 สมเดจ็ พระเจา้ น้องยาเธอ เจา้ ฟา้ มกฎุ สมมตวิ งศ์ พระวชิรญาณมหา
เถร (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394)

 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎฯ พระจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ ัว
(15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 - 11 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2459)

ภายหลงั การสวรรคต

 พระบาทสมเด็จพระรามาธบิ ดศี รสี ินทรมหามงกุฎ พระจอมเกลา้
เจา้ อยหู่ วั (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมยั รชั กาลที่ 7)

 พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรมหามงกฎุ ฯ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ วั
(สมยั รชั กาลที่ 7 - 18 ตลุ าคม พ.ศ. 2562)

 พระบาทสมเดจ็ พระปรเมนทรรามาธบิ ดศี รสี นิ ทรมหามงกฎุ พระ
จอมเกล้าเจ้าอย่หู วั พระสยามเทวมหามกฏุ วทิ ยมหาราช (18
ตลุ าคม พ.ศ. 2562 - ปจั จบุ นั )

เครือ่ งราชอิสรยิ าภรณ์
เครื่องราชอสิ รยิ าภรณไ์ ทย

 พ.ศ. 2404 – เครอ่ื งราชอิสริยาภรณอ์ นั เปน็ โบราณมงคล

นพรตั นราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝา่ ยหน้า)

 พ.ศ. 2404 – เครอื่ งราชอสิ รยิ าภรณอ์ ันเปน็ ทเ่ี ชดิ ชยู งิ่

ช้างเผอื ก ชนั้ ที่ 1 ประถมาภรณช์ า้ งเผือก (ป.ช.)

 ดาราไอยราพต (เครือ่ งตน้ )

 ดาราไอยราพต (องคร์ อง)

เคร่ืองอิสรยิ าภรณต์ า่ งประเทศ

 ฝรง่ั เศส : เครอ่ื งอิสรยิ าภรณเ์ ลฌยี งดอเนอร์ ชน้ั

ประถมาภรณ์ (พ.ศ. 2406)

พระราชสมญั ญานาม

 พระบดิ าแห่งวทิ ยาศาสตรไ์ ทย
 พระสยามเทวมหามกฏุ วทิ ยมหาราช

ชนั้ ยศ

 จอมพล
 จอมพลเรอื
 จอมพลอากาศ

ธรรมเนยี มพระยศของ
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว

ธงประจาพระอสิ รยิ ยศ

ตราประจาพระองค์
การทลู ใตฝ้ า่ ละอองธุลพี ระบาท
การแทนตน ขา้ พระพทุ ธเจา้
การขานรบั พระพทุ ธเจา้ ขา้ ขอรบั /เพคะ

พระพทุ ธรปู ประจารัชกาลท่ี 4

พระชยั วัฒน์พระประจารชั กาลท่ี 4
และ พระชยั เนาวโลหะ(พระชยั นวโลหะเนอื้ สมั ฤทธเ์ิ หลอื ง)

วัดประจารชั กาลที่ 4

วดั ราชประดษิ ฐสถติ มหาสมี าราม
วดั ราชประดษิ ฐสถติ มหาสมี าราม เปน็ พระอารามหลวงชน้ั เอก ชนดิ
ราชวรวิหาร ท่ีพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ ัวโปรดเกล้าฯ ให้
สรา้ งขน้ึ ตามธรรมเนยี มประเพณโี บราณทวี่ า่ ในราชธานจี ะตอ้ งมวี ัด
สาคญั ประจา 3 วดั คอื วดั มหาธาตุ วดั ราชบรู ณะ และวดั ราชประดษิ ฐาน
เชน่ ท่ีสโุ ขทยั สวรรคโลก พษิ ณุโลก และพระนครศรอี ยธุ ยา แตใ่ นสมยั
รตั นโกสนิ ทร์ สมเดจ็ พระบวรราชเจา้ มหาสรุ สงิ หนาท กรมพระราชวงั บวร
สถานมงคลในรชั กาลที่ 1 โปรดเกลา้ ฯ ใหส้ ถาปนาวัดสลกั เปน็ วดั
นิพพานารามและเปลย่ี นเปน็ วดั พระศรีสรรเพชญ์ แตต่ อ่ มามพี ระราชดาริ

ว่า ในกรงุ เทพฯ ยงั ไมม่ ีวดั มหาธาตุ จงึ เปลยี่ นชอ่ื วัดพระศรสี รรเพชญเ์ ป็น
วดั มหาธาตุ และพระสมั พันธวงศเ์ ธอ กรมหลวงเทพหริรกั ษ์ พระโอรสใน
สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมพระศรสี ดุ ารกั ษ์ พระเชษฐภคนิ ใี น
รชั กาลท่ี 1 ทรงบรู ณะวดั เลยี บ ต่อมา ไดน้ ามว่าวดั ราชบรู ณะ ยงั คงขาด
แตว่ ัดราชประดษิ ฐฯ เทา่ นน้ั จงึ ทรงสรา้ งขน้ึ ใหม่เพ่อื ใหค้ รบตามโบราณ
ราชประเพณี และเพื่อพระอทุ ศิ ถวายแกพ่ ระสงฆฝ์ ่ายธรรมยตุ ิกนกิ าย
เพ่อื ท่พี ระองคเ์ องและเจ้านาย ขา้ ราชการ ทจ่ี ะไปทาบญุ ทว่ี ดั ฝา่ ย
ธรรมยตุ ิกนกิ ายใกล้พระบรมมหาราชวงั ไดส้ ะดวก วดั ราชประดษิ ฐจงึ เปน็
วดั ฝา่ ยธรรมยตุ กิ นกิ ายวัดแรกท่ีสรา้ งขน้ึ เพอื่ พระสงฆ์ในนกิ ายน้ี เพราะวัด
อ่ืน ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเิ ปน็ วดั ท่แี ปลงมาจากวดั ของมหานกิ าย

พระราชกรณยี กิจพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยู่หัว
ด้วยการตดิ ตอ่ กบั ชาตติ ะวันตก

สมเดจ็ พระเจ้านโปเลยี นที่ 3 แหง่ ฝรงั่ เศส ไดแ้ ตง่ ทตู มาแลกเปลยี่ น
หนงั สือสญั ญาทางพระราชไมตรเี มื่อ พ.ศ. 2406 และไดท้ ูลเกล้าถวาย
เคร่อื งราชอสิ รยิ าภรณเ์ ลยอง ดอนเนอร์ และพระบาทสมเด็จพระจอม

เกลา้ เจ้าอยหู่ ัว รัชกาลท่ี 4 เสดจ็ ออก ณ พระทนี่ ง่ั อนนั ตสมาคม
ในหมพู่ ระอภเิ นาวนิเวศน์ ในพระบรมมหาราชวงั เมอื่ พ.ศ. 2410
เพ่ือทรงรบั ราชทตู ฝรั่งเศสอีกคณะหนง่ึ จึงทรงสายสะพายเลยอง

ดอนเนอร์พรอ้ มดารา เพอื่ เปน็ เกยี รตยิ ศแดช่ าวฝรงั่ เศส
(ภาพจากหนงั สอื สมุดภาพเหตกุ ารณส์ าคญั ของกรงุ รัตนโกสนิ ทร์)

การทตู ติดตอ่ ต่างประเทศ
เซอร์ จอห์น บาวรง่ิ เขา้ มาทาสญั ญาให้องั กฤษ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โปรดเกลา้ ฯ ให้เซอร์จอหน์
เบารง่ิ อคั รราชทูตองั กฤษ เขา้ เฝ้า (ภาพจิตรกรรมเทดิ พระเกยี รตกิ ษตั รยิ ์

แหง่ พระบรมราชจกั รวี งศ์ วาดโดย นคร หุราพนั ธ์
ปจั จบุ นั แขวนอยภู่ ายในอาคารรัฐสภา)

ฝ่ า ย อั ง ก ฤ ษ เ ม่ื อ ไ ด้ ท ร า บ ว่ า พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จ อ ม เ ก ล้ า
เจา้ อยูห่ วั ได้ทรงทราบซงึ้ และสดั ทดั ภาษาองั กฤษมาแล้วเป็นอย่างดี อน่ึง
พระองค์ทรงมีพระทัยนิยมต่อการที่จะสมาคมกับฝรั่งอยู่แล้ว เข้าใจว่า
รัฐบาลไทยคงไม่ถือคติอย่างจีนเหมือนแต่ก่อน จึงเลือกได้เซอร์
ยอห์น บาวริง (Sir John Bowring) เจ้าเมืองฮ่องกงให้เป็นอัครราชทูต

เชิญพระราชสาสน์ของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียพร้อมด้วยเคร่ืองราช
บรรณาการเข้ามาเสรจ็ ขอทาหนงั สอื สัญญาทางพระราชไมตรีด้วย

อังกฤษมาทาสัญญาครั้งนี้มีท้ังผลดีและผลร้ายกล่าวคือถ้าไทยขัด
ขืนไม่ยอมอนุโลมแก้สัญญาให้ จะทาอย่างเม่ือเซอร์ เจมส์ บรุก เข้ามา
คราวทแี่ ลว้ ไทยจะตอ้ งรบกบั อังกฤษ แตถ่ ้าหากหวาดเกรงองั กฤษแลว้ กค็ ง
จะเสียเปรียบในกระบวนสัญญาเป็นผลร้ายต่อไป ทางที่จะได้ผลดีจึงต้อง
ให้เป็นการปรึกษาหารือปรองดองมีไมตรีต่อกันทั้ง 2 ฝ่าย ฉะน้ันการ
ที่ เซอร์ ยอห์น บาวริง มาคร้ังนี้เห็นว่าทางฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเลือกได้คน
ที่เหมาะสมแล้ว เพราะท่านเซอร์ผู้นี้ก็เป็นคนที่ฉลาดมีไหวพริบท้ังทาง
ปฏิภาณและพูด ฟังคาพูดคนอ่ืนได้ตั้ง 100 กว่าภาษา ส่วนตัวท่าน เซอร์
เองพูดได้กว่า 50 ภาษา และเป็นราชทูตอังกฤษคนแรกที่เข้ามา
เมืองไทย คร้ังนี้ผิดกับ ดร.ยอห์น ครอว์เฟอรดหรือกับตันเฮนรี เบอร
เนย์ ซ่ึงเป็นเพียงทูตของขุนนางผู้สาเร็จราชการอินเดียวส่งมา ส่วน
เซอร์ เจมส์ บรุกนั้นเป็นแต่ผู้ถือหนังสือของเสนาบดีกว่ากระทรวงการ
ต่างประเทศเท่านั้น หาใช่ราชทูตที่มาจากราชสานักของพระเจ้าแผ่นดิน
องั กฤษไม่ ดงั น้ันจึงเปน็ หน้าท่ขี องเจ้าของเมอื ง จะตอ้ งใชค้ วามระมดั ระวงั
ให้มากเพราะถือกันว่าทูต ก็คือ ผู้แทนพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศ ถ้า
เจ้าของเมืองไม่รับรองหรือประพฤติไม่สมแก่เกียรติยศแล้ว จะเป็นการ
หมิ่นประมาท ไม่นับถอื พระเจา้ แผน่ ดนิ ของเขา ทางพระราชไมตรีอาจจะ
หมองหมางกันได้

สง่ ราชทตู ไปอังกฤษ

คณะราชทตู ไทยเขา้ เฝ้าสมเด็จพระนางวคิ ตอเรีย

วันท่ี 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2400 เวลา 15 น.เศษ พระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้พระยามนตรีสุริ

ยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูต จม่ืนสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณ

เฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูตหม่อมราโชทัย (กระต่าย) เป็นล่าม ไปเจริญทาง

พระราชไมตรียังประเทศอังกฤษ ถวายราชสาสน์ และเครื่องราช

บรรณาธิการแด่สมเด้จพระนางวิคตอเรีย ด้วย พระบาทสมเด็จพระ

เจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะเจริญสัมพันธไมตรีสนิทย่ิงข้ึนจึงเป็นเป็น

การสมควรที่จะแตง่ ราชทูตออกไปเป็นการตอบแทนบ้าง นับเป็นคร้ังแรก
ทรี่ าชทูตไทยไปทวปี ยุโรปในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คณะทูตที่ไปน้ีกลับมา
เม่ือ พ.ศ. 2401 พร้อมด้วยเครื่องจักรที่ให้ซ้ือมาจัดสร้างโรงกษาปณ์ ทา
เงินเหรียญบาทสลงึ และเฟอ้ื งจาหนา่ ยแทนเงินพดดว้ ง

สญั ญาพระราชไมตรกี บั ประเทศตา่ ง ๆ ในรชั กาลท่ี 4 อาทิ

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2399 มิสแฮร่ีเยเนราล กงสุลประเทศ
ญ่ีปุ่น ทูตอเมริกาได้เข้ามาทาหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีว่าด้วย
การค้าขาย, การเมอื ง, การพิกัดอตั ราภาษีและตงั้ กลสุลในประเทศสยาม

วนั ท่ี 15 สงิ หาคม พ.ศ. 2399 มองซเิ ออร มองตคิ นี ทตู ฝรัง่ เศสเข้า
มาทาหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ว่าด้วยการค้าการพิกัดอัตราภาษี
การเมืองและการต้ังกลสุลในประเทศสยาม ได้ทรงอนุญาต และให้สร้าง
วดั สรา้ งโรงสอนเดก็ ๆ และโรงรกั ษาคนปว่ ยไข้ กบั ให้คณะบาดหลวงสอน
ศาสนาไดอ้ ีกด้วย แตต่ ้องปฏิบตั ิตามกฎหมายสยาม

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศศ. 2401 ประเทศฉอนซเิ อตกิ เรปปุ บลกิ มาทา
หนงั สอื สญั ญาทางพระราชไมตรวี า่ ด้วยการคา้ เมอื งการภาษาษแี ละตง้ั
ศาล อนญุ าตใหต้ ง้ั ได้

วันที่ 10 กมุ ภาพนั ธ์ พงศ. 2401 พเิ รนทรท์ ูตโปรตเุ กสมาทา
หนงั สอื สญั ญาทางพระราชไมตรวี ่าด้วยการคา้ การเมืองการภาษีและขอตง้ั
กงสลุ ณ ประเทศสยาม

วันท่ี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 พระเจ้าเฟรเดริกท่ี 7 ประเทศ
เดนมาร์คส่งผู้แทนเป็นทูตเข้ามาทาหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ว่า
ดว้ ยการค้าขาย การเมือง พกิ ัดอัตราภาษาสนิ คา้ และให้ต้ังกงสลุ ได้

วนั ที่ 17 ธนั วาคม พ.ศ. 2403 โยนฮอน เกอรเ์ ชยี ดทตู เนเธอรแลนด์
เขา้ มาทาหนังสือ สญั ญาทางพระราชไมตรวี ่าด้วยการคา้ การพกิ ดั อตั รา
ภาษี ไดท้ รงอนญุ าตและให้ตงั้ กงสุลได้

วนั ที่ 7 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2405 คอลออย เลนเบอร์ต ทุตเยอรมันได้
เขา้ มาทาสัญญาเจริญ ทางพระราชไมตรีว่าด้วยการค้าขายการเมือง การ
พกิ ัดอตั ราภาษแี ละตง้ั กงสลุ ไดม้ ีพระบรมราชานุญาตใหต้ ั้งได้

วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2405 ประเทศสวีเดนนอร์เวย์ ส่งผู้แทน
มาทาหนังสือสัญญาว่าถึงการค้าขาย การเมือง การภาษี และขอตั้งกงสุล
ในประเทศสยาม

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2410 เบลเย่ียมส่งผู้แทนมาทาหนังสือ
สัญญาทางพระราชไมตรีว่าด้วยการค้า การภาษี การเมือง และการตั้ง
กงสลุ

ปรบั ขนบธรรมเนียมประเพณี
ในสมัยรชั กาลท่ี 4 ชาวตะวนั ตกได้รบั ความอนเุ คราะหใ์ ห้พานกั พกั

พงิ และเผยแผศ่ าสนาได้โดยเสรี ตามนโยบายเปดิ ประเทศของพระจอม
เกลา้ ฯ

กระบวนเสดจ็ รชั กาลที่ 4 ไปยงั วดั พระเชตพุ ลวมิ ลมงั คลาราม
มีพระบรมราชโองการใหท้ ุกคนสวมเสอื้ เขา้ เฝา้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงปฏิรูปหลายประการโดย ทรง
ยอมรับขนบธรรมเนยี มประเพณตี ะวนั ตกที่เปน็ การแสดงออกถงึ เกยี รตยิ ศ
ของชาติหรือแสดงให้เห็นถึงการสลัดทิ้งซ่ึงความป่าเถ่ือน ประเพณี
ต่าง ๆ ท่ีทรงรับมาใช้คือประเพณีการสวมเส้ือเข้าเฝ้า มีพระบรมราช
โองการให้ทกุ คนสวมเสือ้ (เส้อื แรก ๆ นั้นตัดแบบพวกแขกบ้าบ๋า) เข้าเฝ้า

และพระราชทานพระบรมราชานญุ าตให้ชาวต่างประเทศยนื เฝ้าไดใ้ นทอ้ ง
พระโรง โปรดใหท้ าเครือ่ งราชอสิ ริยาภรณต์ อบแทนกบั ชาวตา่ งประเทศมี
พระราชดาริให้มีพระราชพิธีฉัตรมงคลข้ึนให้เหมือนกับพระราชพิธีที่
กระทาในวันเสวยราชย์ของพระมหากษตั รยิ ท์ างตะวนั ตก และโปรดให้ทตู
กับขุนนาง ผู้ใหญ่บ้านร่วมโต๊ะเสวยได้ เช่นในงานเฉลิมพระ
ชนมพรรษา การเข้าเฝ้าในขณะท่ีเสด็จประพาส ก็โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้า
ได้อย่างใกล้ชิด ซ่ึงแต่เดิมตามรายทางท่ีเสด็จผ่าน ราษฎรจะต้องปิด
หนา้ ต่างประตูจนหมดส้นิ

รัชกาลที่ 4 ทรงไม่เห็นชอบกับการไล่ราษฎรไม่ให้มารับเสด็จฯ
อย่างใกล้ชิด ดังพระราชดาริว่า “…ก็ไล่คนเสียมิให้อยู่ใกล้ทางเสด็จพระ
ราชดาเนิน แล้วใหช้ าวบ้านปิดประตูโรงประตูร้าน ประตูหน้าถังเสียหมด
ก็มิไดเ้ ปน็ การท่ีจะปอ้ งกันอันตรายอยา่ งไรอยา่ งหนงึ่ ได้ ไมเ่ หน็ เปน็ คณุ เลย
เห็นเปน็ โทษเปน็ หลายประการ…” ทรงมีพระราชประสงค์ทอดพระเนตร
ราษฎรท่ีเคยเฝ้าหรือทรงรู้จักกันมาก่อน อีกท้ังทรงมีพระราชดาริว่า
ราษฎรท่ีเขา้ ไปอยใู่ นอาคารบา้ นเรอื นตามเสน้ ทางเสด็จฯ น้ัน จะเป็นคนดี
หรือคนเสยี จรติ ประการใดที่มาคอยแอบแฝงอยกู่ ไ็ ม่ทราบได้

ดังนั้น รัชกาลท่ี 4 จึงออกประกาศ เร่ือง “ประกาศยกเลิกการยิง
กระสุนแลอนุญาตให้ราษฎรเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดาเนิน” ณ วัน
อาทิตย์ เดือนแปด ขึ้น 7 ค่า ปีมะเส็ง นพศก (28 มิถุนายน พ.ศ. 2400)
สรุปว่า เม่อื มีกระบวนเสดจ็ พระราชดาเนินทางสถลมารคก็ดี ทางชลมารค
ก็ดี ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าท่ีขับไล่ราษฎรไปไกล และอย่าให้ปิดประตูอาคาร
บ้านเรือนรวมถึงประตูแพ และให้ราษฎรออกมาเฝ้ารับเสด็จถวายบังคม
ใหท้ อดพระเนต

ส่วนการถวายฎีกาก็ให้งดเว้นการเฆี่ยน 30 ที ท่ีมีมาแต่เดิม
เสีย พระองค์ท่านเสด็จออกรับการร้องทุกข์ทุกวันโกน เดือนละ 4 ครั้ง
และยังโปรดให้ถวายฎีกาแทนกันได้ ท่ีสาคัญคือการยกย่องฐานะสตรี
เทียบเท่าบุรุษ และขณะเดียวกันก็ยกย่องความเป็นคนของแต่ละบุคคล
ให้เสมอกัน ท้ังยังทรงลดพระราชอานาจท่ีเป็นสิทธิขาดของ
พระมหากษัตริย์ลงหลายประการ ประการที่สาคัญก็คือ ไม่ทรงถือว่า
พระมหากษัตรยิ ์จะเป็นเจ้าของทีด่ ินในพระราช อาณาจักรแตเ่ พยี งผู้เดยี ว
หากมีพระราชประสงค์ที่ดินตรงไหนของใครก็จะมีพระราชอานาจไปยึด
ครองที่ตรงน้ันได้ตามพระราชประสงค์ ท้ังนี้เพราะทรงเห็นว่ากฎหมาย
เช่นน้ีไม่ยุติธรรม ได้โปรดให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาท่ีดินเมื่อ
ปี พ.ศ. 2399 และปี พ.ศ. 2403 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าฯ ทรงครองราชย์พร้อมกับการเริ่มนาการเปล่ียนแปลงเข้า
มา พระองค์จะต้องทาให้เห็นว่าลักษณะของพระมหากษัตริย์แบบน้ีเป็น
แบบท่ีเหมาะสมกับสถานการณ์ ทรงพยายามปฏิบัติพระองค์เพ่ือให้ผู้อื่น
เห็นว่าทรงมีความสามารถใช้ชีวิตทางโลกได้ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทาง
ธรรม ฉะนั้นจึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยอมรับฟังความเห็นของคน
สว่ นใหญ่

ดา้ นการสร้างสถาปัตยกรรมฝรัง่ ในบางกอก

ภาพภายในพระทน่ี ง่ั อนนั ตสมาคม ในพระอภเิ นาวน์ เิ วศน์
(ภาพจาก สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ในสมัยรัชกาลท่ี 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง
ตระหนักถึงความจาเป็นที่จะต้องติดต่อและมีความสัมพันธ์กับชาติทาง
ตะวันตก ทั้งในด้านการค้าขาย การเมือง และการรับวิทยาการ
สมัยใหม่ เพื่อให้ต่างชาติเชื่อถือว่าสยามประเทศได้พัฒนาแล้วไปสู่ความ
เป็นอารยะ และมคี วามคดิ ก้าวหนา้ มใิ ช่ชาติลา้ หลังด้อยพฒั นา เพอ่ื เอาตวั
รอดจากการที่ฝรั่งใช้เปน็ ข้ออ้างในการล่าอาณานิคม และด้วยสาเหตุแห่ง
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นชาติที่พัฒนาแล้วน่ีเอง ทาให้เมืองบางกอก
อันเป็นราชธานีของสยามประเทศจาเป็นต้องปรับปรุงเปล่ียนแปลงด้วย

การรับอารยธรรมจากตะวันตกในรูปแบบศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็น
แบบยุโรปกค็ ืบคลานเข้ามาใหเ้ ห็นอยา่ งรวดเร็วในเขตพระราชฐาน แม้แต่
ในห้องพระบรรทม ในพิพิธภัณฑ์ หรือการอบรมสั่งสอนแบบฝร่ังแก่ชาว
ราชสานักโดยครูแหม่ม

สง่ิ กอ่ สร้างในพระบรมราชวงั สมัยรัชกาลท่ี 4 เช่น การสร้างหมู่พระ
อภิเนาว์นิเวศน์เป็นภาพลักษณ์ใหม่แบบตะวันตกที่ถูกรังสรรค์ขึ้นให้โดด
เด่นและแตกต่างจากท่ีในรว้ั ในวงั เคยมี เป็นข้อสังเกตและได้รับคาเยินยอ
จากราชทูตยุโรปท่ีถูกเชิญให้เข้าไปเยือนภายในอยู่เนืองๆ โดยในสมัย
รชั กาลที่ 4 ซง่ึ กรมขุนราชสีหวิกรมทรงรบั ราชการอยู่น้ี เป็นช่วงเวลาแห่ง
การเปลีย่ นผ่านของการรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้าสู่สยามประเทศใน
หลายๆ ด้าน ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ด้านงานช่างของหลวงซ่ึงนายช่างย่อมต้อง
ปฏิบัติงานถวายให้ได้ต้องตามพระราชประสงค์ ดังปรากฏหลักฐาน
ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าฯ ให้กากับดูแลการกอ่ สรา้ งถาวรวัตถุทส่ี าคัญท้งั พระราชฐานที่
ป ร ะ ทั บ บ า ง แ ห่ ง ใ น พ ร ะ บ ร ม ม ห า ร า ช วั ง แ ล ะ พ ร ะ ร า ช นิ เ ว ศ น์ ใ น
ต่างจังหวัด รวมทั้งพระอารามสาคัญอีกหลายแห่งผลงานของ พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม จึงควรค่าแก่การศึกษาท้ังในส่วนของ
งานชา่ งทีย่ งั คงรูปแบบศลิ ปะอย่างไทยประเพณีเพื่อให้สมพระเกียรติแห่ง
องค์พระมหากษัตริย์ และยังมีส่วนที่ต้องปรับเปล่ียนรูปแบบเพ่ือให้สอด
รับกับการเปล่ียนแปลงของบ้านเมือง รวมทั้งพระราชนิยมในรัชกาล
ท่ี 4 ทม่ี ีพระราชประสงคใ์ หก้ ่อสร้างอาคารรูปแบบตะวันตก

ดา้ นโบราณคดีและประวตั ิศาสตร์

หลกั ศิลาจารกึ พอ่ ขนุ รามคาแหง
พระปรีชาญาณท่ีควรจะกล่าวถึงอีกเร่ืองหนึ่ง คือการที่ทรงเป็น
นักศึกษาค้นคว้า ท้ังทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาศิลา
จารึกน่าจะน้อมราลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณท่ีทรงเป็นธุระจัดการสืบ
คน้ หาศิลาจารึก สมยั สโุ ขทัยแลว้ นามาประดษิ ฐาน ในพิพธิ ภัณฑ์เก็บไวใ้ ห้
คนรุ่นหลงั มีโอกาสศกึ ษากันมาจนทุกวนั นี้
สว่ นทางด้านประวตั ิศาสตร์ พระราชหตั ถเลขาฉบับนี้แสดงให้เห็น
ว่าเมื่อคราวโปรดให้แต่งพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาน้ัน ทรง
คานึงถึงความถูกต้อง มีการตรวจสอบเอกสารจากท่ีต่าง ๆ นับเป็น
คุณประโยชนต์ อ่ นกั ศึกษาประวตั ิศาสตร์ร่นุ ต่อมามใิ ชน่ ้อย


Click to View FlipBook Version