ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletเตาไฟฟ้าชุบแข็งโลหะ
bulletเตาอบชุบแข็ง-เตาอบคืนไฟ
bulletกระบวนการ ชิ้นงานชุบแข็งโลหะ
bulletอุปกรณ์สำหรับงานชุบแข็งโลหะ
bulletผงถ่านคาร์บอนเพิ่มความแข็งโลหะ
dot
dot
bulletเตาเผาเซรามิก
bulletเตาหล่อ-หลอม
bulletเตาอบลมร้อน
bulletเตาแล๊ปทดลอง
bulletเตาจิวเวอรี่
bulletเตาอบกระจก
bulletเตาโรตารี่
bulletเตาพิซซ่า
dot
dot
bulletอิฐทนไฟ-อิฐฉนวน-วัสดุทนไฟ
bulletCalcium Silicate Board
bulletเซรามิคไฟเบอร์
dot
dot
bulletตู้คอนโทรลเตา
bulletหัวเบอร์เนอร์
bulletอุปกรณ์ควบคุมแก๊ส
bulletอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ
bulletฮิตเตอร์
bulletสายพานลำเลียง
bulletแผ่นรองเตา,ขาตั้ง
bulletเซรามิคโรเลอร์
bulletอุปกรณ์ชุดขับเคลื่อน
bulletเบ้าหลอม
bulletยางซิลิโคนทนความร้อนสูง
bulletเทอร์โมคอบเบิ้ล
dot
dot
bulletการอบ-ชุบแข็งโลหะ
bulletแกลอรี่ รูปภาพ เตา
bulletการเผาแก๊สเซรามิค
bulletอัลบั้มรูป
bulletวัสดุฉนวน
bulletระบบแก๊สสำหรับงานเตา
bulletตู้ควบคุมอุณหภูมิเตา
bulletอุปกรณ์คอนโทรลงานชุบแข็ง
dot
dot
bulletเตาชุบแข็งโลหะ
bulletอุปกรณ์เตาชุบแข็ง
bulletเตาอบลมร้อนหมุนเวียน
bulletMuffle furnace 1200C
bulletDigital Convection Oven
bulletเตาชุบแข็ง TF30-13 "Hot"
bulletเตาเซรามิค TF150-13 "Hot"
bulletเตาชุบ,เตาหลอม,เตาทดลอง
bulletเตาสำหรับเผาเซรามิค
bulletเตาทดลองไฟฟ้า
bulletอุปกรณ์แก๊ส
bulletอุปกรณ์เตา ประเภทต่างๆ
bulletเบอร์เนอร์อินฟาเรต
bulletกระจกทนความร้อน
dot
dot
bulletอิฐทนไฟภาคเหนือ


ฉนวนกันความร้อน,ไฟเบอร์,บอร์ด
อิฐทนไฟ,ปูนก่อเตา,วัสดุทนไฟ
Coating Cement
KAOSTICK
Ceramic Fiber Blanket
Insulating Fire brick
Ceramic Fiber Ropes Braids Main
Ceramic Fiber Cloths tape Sleeving
Ceramic Fiber Textiles
Ceramic Fiber Paper
Ceramic Fiber Module
Ceramic Fiber Board


การอบ-ชุบแข็งโลหะ

 

 

 

 

 

       

download click

สั่งซื้อได้

เนื่องจากการ Download มีผู้สนใจจำนวนมากไม่สามารถส่งให้ทันตามกำหนด จงขอเป็นจัดส่งเล่มเอกสารเป็นรูปเล่มแทนการ download  ซึ่งผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ใน ( ราคา 299 บาท รวมค่าจัดส่ง ) โดยทำการแจ้งที่อยู่พร้อมโอนเงิน ตามอีเมลที่แนบมานี้  montri.eng@gmail.com พร้อมหลักฐานการโอนเงินให้  ทางเราจะรีบจัดส่งให้ทันทีเมื่อได้รับอีเมล

 

 

 

1. ตารางการอบชุบงานโลหะ  click 

2.  กระบวนการชุบแข็งเหล็กแม่พิมพ์ชนิดต่าง ๆ

3.  การชุบแข็งเหล็กประเภทเหล็กสปริง

4. การชุบแข็งเหล็กด้วยวิธี Caburizing เพื่มความแข็งให้กับผิวชิ้นงาน

5. ประเภทเตาอบชุบงานโลหะ      

6. คุณสมบัติ ธาตุ เมื่อนำไปผสมในเนื้อเหล็ก

คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ เมื่อผสมลงไปในเหล็ก

คาร์บอน (Carbon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ C

        เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก มีคุณสมบัติทำให้เหล็กแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากนำไปอบชุบ (Heat Treatment) โดยรวมตัวกับเนื้อเหล็ก เป็นสารที่เรียกว่า มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตด์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถรวมตัวกับเหล็ก และธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น (Elasticity) ความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forging) และความสามารถในการเชื่อม (Welding) และไม่มีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน

อลูมิเนียม (Aluminium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Al       

        เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่แก็สออกซิเจน และไนโตรเจน (Deoxidizer และ Denitrizer) มาก ที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลงในเหล็กที่จะนำไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิ้ง (Nitriding) ทั้ง นี้เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อนบางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น

โบรอน (Boron) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ B

        ช่วย เพิ่มความสามารถชุบแข็งแก่เหล็ก ที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป จึงทำให้ใจกลางของงานที่ทำด้วยเหล็กชุบผิวแข็ง มีความแข็งสูงขึ้น โบรอนสามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์

เบริลเลียม (Beryllium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Be

   สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต่อต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด 

แคลเซียม (Calcium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ca

        แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi) เพื่อลดออกซิเดชั่น (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียม ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิดสเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำความร้อน 

ซีเรียม (Cerium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ce

        เป็นตัวลดออกซิเจนและกำมะถันได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็กทนความร้อน

 

 

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co

        ไม่ ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู 

 โครเมียม (Chromium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cr

        ทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการเย็นตัววิกฤตลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำมันหรืออากาศได้ (Oil or Air Quenching) เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลดความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลง โครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เป็นสารประกอบพวกคาร์ไบด์ ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็นรอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 ทองแดง (Copper) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu    

       เพิ่ม ความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียงเล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถในการเชื่อมของเหล็กแต่อย่างไร 

แมงกานีส (Manganese) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mn

        ใช้เป็นตัวไล่กำมะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการในเนื้อเหล็ก จะถูกกำจัดออกในขณะหลอม ทำให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical Cooling Rate) ทำ ให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน นอกจากนั้น แมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้น จะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก 

โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo

        ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำ ให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก

ไนโตรเจน (Nitrogen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ N

        ขณะทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรด์ ซึ่งทำให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทานการสึกหรอได้ดีเยี่ยม

 

นิกเกิล (Nickel) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ni

        เป็น ตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียม ทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน

ออกซิเจน (Oxigen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ O

        ออกซิเจน เป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำให้คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะยิ่งขึ้น

ตะกั่ว (Lead) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb

        เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free-Machining Steel) มีตะกั่วผสมอยู่ประมาณ 0.20 - 0.50 % โดย ตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในเนื้อเหล็ก เมื่อนำไปกลึง หรือตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และกำมะถัน (Sulphur) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ P และ S ตามลำดับ

        เป็น ตัวทำลายคุณสมบัติของเหล็ก แต่มักผสมอยู่ในเนื้อเหล็กโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องพยายามให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน (Impurities) เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.03 - 0.05 % ส่วนกำมะถันจะทำให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไปจึงจำกัดปริมาณกำมะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03 % ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free Machining) ที่เติมกำมะถันถึง 0.30 % เพื่อให้เกิดซัลไฟด์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก ทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย

ซิลิคอน (Silicon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Si 

        ซิ ลคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็กมักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิ่ง (Oxidizing) ทำให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก (Yield Point) ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำเหล็กสปริง (Spring Steels) ช่วยทำให้เหล็กทนทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน   เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ

ไทเทเนียม (Titanium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ti

        ไทเทเนียม เป็นโลหะที่แข็งมาก ทำให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี เป็นธาตุผสมที่สำคัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น ไทเทเนียมยังช่วยทำให้เหล็กมีเกรนละเอียด

วาเนเดียม (Vanadium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ V 

        ทำ ให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็ก โดยไม่ทำให้คุณสมบัติในการเชื่อม และการดึงเสียไป ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็กขึ้นรูปร้อน (Hot Working Steels) และเหล็กไฮสปีด

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W

        สามารถรวมตัวกับคาร์บอน เป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป

ท่านสามารถขอข้อมูลการอบชุบแข็งเหล็กประเภทต่าง โดยการส่ง Email มาหาเรา ๆ จะจัดส่งเอกสารให้ท่าน มีเหล็กทุกเกรดทุกประเภท วิธีการชุบแข็ง สามารถนำไปใช้ในการศีกษา และกระบวนการชุบแข็ง.