แนวข้อสอบตัวแทนประกันชีวิต

 

ส่วนที่ 1 – จรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต 

1. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้แนะนำให้นาย ข. ทำประกันชีวิตทั้งๆ ที่ทราบว่านาย ข. เป็นโรคมะเร็งโดยบอกแก่นาย ข. ว่า ถ้าบริษัทไม่บอกเลิกสัญญาภายใน 2 ปี ผู้รับประโยชน์ของ นาย ข. จะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัยเมื่อเสียชีวิต แต่หากบริษัทสืบทราบว่า นาย ข. เป็นโรคมะเร็งมาก่อน นาย ข. ก็จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ถามว่า นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีหรือไม่

ก. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ไม่ดี เพราะการแนะนำเช่นนั้น เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อบริษัท
ข. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี ที่พยายามช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ค. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะพยายามช่วยเหลือนาย ข. และไม่ได้ปกปิดความจริง
ง. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะซื่อสัตย์ต่อบริษัท
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

2. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ขายประกันชีวิตให้นาง ข. และ นาง ข. ตกลงทำประกันชีวิต จึงได้กรอกรายละเอียดในใบคำขอเอาประกันชีวิต พอนาย ก. กลับบ้านจึงไปตรวจความเรียบร้อยในใบคำขอนั้น ปรากฏว่า นาง ข. ลืมลงชื่อในใบคำขอเอาประกันชีวิต นาย ก. จึงตัดสินใจลงชื่อแทน เพื่อยืนใบคำขอทำประกันชีวิตในวันรุ่งขึ้น ถามว่า นาย ก. สามารถลงชื่อแทน นาง ข.ได้หรือไม่

ก. นาย ก. สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ผู้เอาประกันภัย
ข. นาย ก. สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ เพราะผู้เอาประกันภัยตกลงทำประกันชีวิตแล้ว
ค. นาย ก. ไม่สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต
ง. นาย ก. ไม่สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ เพราะผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต แต่ไม่ผิดกฎหมาย
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

3. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ได้ขายประกันชีวิตให้กับ นาง ข. โดยได้บอกกับนาง ข. ว่าต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละ 6,000 บาท แต่เมื่อนาง ข. ได้รับใบเสร็จรับเงินเป็นจำนวน 12 ใบ (ใบเสร็จ 1 ใบ ต่อเบี้ยประกันภัย 1 เดือน) นาง ข. จึงหยิบกรมธรรม์มาอ่านดู ในกรมธรรม์ระบุจ่ายเบี้ยประกันภัยเดือนละ 500 บาท โดยต้องจ่ายภายในวันที่ 1 ของทุกเดือน ท่านคิดว่า นาย ก. ทำผิดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะถึงอย่างไรนาง ข. ก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัย 6,000 บาท ต่อปี
ข. ผิด เพราะนาย ก. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ค. ไม่ผิด เพราะนาง ข. ยินดีจ่ายเงินให้นาย ก. ก่อน เพื่อว่านาย ก. จะได้ไม่ต้องมาเก็บเงินทุกเดือน
ง. ผิด เพราะนาย ก. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันชีวิต
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

4. นาย ก. เป็นผู้เอาประกันภัย ซึ่งกรมธรรม์ได้ถึงกำหนดวันชำระเบี้ยประกันภัยตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว จึงได้โทรศัพท์ไปบอก นาย ข. ผู้เป็นตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเคยมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นประจำให้มาเก็บเบี้ยประกันภัย และนาย ข. ตกลงรับว่าจะมาเก็บเบี้ยประกันภัยในวันรุ่งขึ้น แต่ นาย ข. ไม่ได้ไปตามนัด ถามว่า นาย ข. ผิดจรรยาบรรณ หรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย และไม่ขาดความรับผิดชอบเรื่องการบริการ
ข. ผิด เพราะแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบในเรื่องการบริการ
ค. ไม่ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ได้โกหก ตั้งใจไปแต่เผอิญลืม
ง. ผิด เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์ เนื่องจากทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

5. ส่วนใหญ่เมื่อตัวแทนประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันชีวิตไปแล้ว ในปีต่อไปตัวแทนประกันชีวิตมักจะละเลยไม่ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัย ทั้งๆ ที่บอกกับผู้เอาประกันภัยว่าจะเป็นผู้มาเก็บประกันภัยเอง ถามว่าการละเลยไม่ไปเก็บเบี้ยประกันภัยของตัวแทนประกันชีวิตเป็นการขาดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความหมั่นเพียรในการให้บริการ
ข. ขาดจรรยาบรรณ เพราะไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ค. ไม่ขาดจรรยาบรรณ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่จะต้องไปชำระเบี้ยเอง
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

6. จรรยาบรรณข้อใดที่ตัวแทนประกันชีวิตควรปฏิบัติมากที่สุดในการขายประกันชีวิต

ก. ลดเบี้ยประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้จ่ายเบี้ยประกันภัยน้อยลง
ข. ช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย ให้ได้ทำประกันชีวิต
ค. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัย โดยมีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตที่สูงมากเพื่อจะได้ผลประโยชน์สูง
ง. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

7. นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ขายกรมธรรม์ประกันภัยให้กับนาง ข. หลังจาก นาง ข. ทำประกันชีวิตได้ 3 ปี ก็ป่วยเป็นโรคร้ายแรง นางสาว ก. ได้จัดการเรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทให้นาง ข. จึงทราบเรื่องการป่วยของนาง ข. และได้นำเรื่องดังกล่าวไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การกระทำของนางสาว ก. ผิดจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะเป็นการเปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
ข. ไม่ผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือบริษัทประกันชีวิตอื่นไม่ให้รับประกันภัยนาง ข. ถ้าหากนาง ข. จะทำประกันชีวิตใหม่
ค. ผิด เพราะทำให้สังคมรังเกียจนาง ข. และครอบครัว
ง. ผิด เพราะเปิดเผยความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

8. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวนให้นาย ข. เพื่อนของตนทำประกันชีวิต และในใบคำขอเอาประกันชีวิต นาย ข. กรอกข้อมูลว่ามีบิดาป่วยเป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น นาย ก. รู้ดีว่าเพื่อนผู้นี้ต้องดูแลบิดาทุกวันอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าเพื่อน ๆ ไม่รู้เรื่องการป่วยของบิดานาย ข. จึงเป็นห่วงเพื่อนคนอื่น ๆ ซึ่งรับประทานอาหารกับนาย ข. ทุกวัน และกลัวว่าเพื่อนอาจมีโอกาสรับเชื้อโรคจาก นาย ข. จึงบอกกล่าวแก่เพื่อน ๆ การกระทำของนาย ก. ผิดหรือถูกตามจรรยาบรรณอาชีพตัวแทนประกันชีวิตเพราะอะไร

ก. ผิด เพราะว่าเปิดเผยความลับของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
ข. ถูก เพราะว่ามีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อเพื่อนร่วมอาชีพ
ค. ผิด เพราะว่ามีพฤติกรรมที่ตั้งใจยั่วยุให้เกิดความรังเกียจเพื่อน
ง. ผิด จรรยาบรรณอาชีพตัวแทนประกันชีวิตตามเหตุผลที่กล่าวถึงในข้อ ก. และ ข้อ ค. รวมกัน
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

9. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ขายกรมธรรม์ประกันภัยให้กับ นาง ข. หลังจาก นาง ข. ทำประกันชีวิตได้ 3 ปี ก็ประสบปัญหาทางด้านการเงินจึงไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ตรงตามกำหนดที่นัดหมายเสมอ ๆ นาย ก. จึงบ่นเรื่องนี้ให้บุคคลอื่นฟัง การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะการผิดนัดของผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องธรรมดา
ข. ไม่ผิด เพราะการกล่าวเช่นนั้นไม่ได้ทำให้นาย ก. เสียหาย
ค. ผิด เพราะเปิดเผยความลับอันไม่สมควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก
ง. ผิด เพราะเป็นการให้ร้ายผู้เอาประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

10. “นางสาว ก. ได้ทำประกันชีวิตกับตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมารดาของนางสาว ก. ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อนางสาว ก. สอบถามตัวแทนว่าจะแจ้งไปในใบคำขอเอาประกันชีวิตหรือไม่ ตัวแทนประกันชีวิตบอกว่าไม่ต้องแจ้งเพราะอาจจะทำให้บริษัทไม่รับทำประกันชีวิตให้กับนางสาว ก.” ท่านคิดว่าตัวแทนประกันชีวิตผู้นี้ทำผิดจรรยาบรรณเพราะเหตุใด

ก. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ข. ให้บริการที่ดี และรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
ค. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
ง. ไม่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันหรือความสมบูรณ์ของกรมธรรม์
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

11. นาย ก. ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง โดยได้แจ้งแก่ตัวแทนประกันชีวิตว่าตนเป็นโรคเบาหวาน ตัวแทนประกันชีวิตเกรงว่าถ้าแจ้งความจริงให้บริษัททราบแล้วจะทำให้การพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ ล่าช้า จึงไม่แจ้งแก่บริษัท ในกรณีนี้ตัวแทนประกันชีวิตทำถูกหรือไม่

ก. ถูก เนื่องจากเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ขอทำประกันชีวิต
ข. ถูก เนื่องจากตัวแทนต้องการรักษาความลับของผู้เอาประกันภัย
ค. ผิด เนื่องจากตัวแทนไม่เปิดเผยข้อความจริงของนาย ก. แก่บริษัทในส่วนที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันภัย
ง. ผิด เนื่องจากตัวแทนเสนอขายกรมธรรม์โดยไม่แจ้งเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

12. ข้อใดเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ และศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต

ก. ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อจูงใจให้ทำประกันชีวิต
ข. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น
ค. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
ง. ช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้ทำประกันภัยโดยการปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญบางอย่าง
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

13. นาย ก. ต้องการทำประกันชีวิต นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งได้ชักชวนให้ นาย ก. ทำประกันชีวิตเป็นแบบที่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน เดือนละ 2,300 บาท นาย ก. บอกว่าตนเองไม่สามารถทำประกันชีวิตแบบนี้ได้ เนื่องจากจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนมากเกินไป แต่นาย ข. ก็บอกว่ากรมธรรม์แบบนี้ดีให้ความคุ้มครองหลายอย่าง และประโยชน์ที่จะได้รับดีมาก ท่านจงพิจารณาว่านาย ข. ประพฤติผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ผิด เพราะเป็นการเสนอแนะผู้เอาประกันภัยภัยให้ทำสัญญาประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย
ข. ไม่ผิด เพราะเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ดีให้แก่ผู้เอาประกันภัย
ค. ไม่ผิด เพราะนาย ข. เสนอแนะให้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบนี้เท่านั้น ผู้เอาประกันภัยจะทำหรือไม่ก็ได้
ง. ผิด เพราะไม่ทำตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

14. นาย ก. ชักชวนให้นาย ข. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทแห่งหนึ่ง นาย ข. ตกลงใจจะทำประกันชีวิต และต้องการทุนประกันสูงๆ ทำให้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยที่สูงเกินความสามารถที่จะจ่ายได้ นาย ก. ควรแนะนำนาย
ข. อย่างไร

ก. ไม่ต้องแนะนำ ทำตามความต้องการของนาย ข.
ข. แนะนำให้นาย ข. แจ้งรายได้สูงกว่าความเป็นจริง
ค. แนะนำนาย ข. ให้ใช้สิทธิในการชำระเบี้ยประกันภัยช้า เนื่องจากมีช่วงเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย
ง. แนะนำให้นาย ข. ทำประกันภัยตามความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

15. นาย ก. เป็นตัวแทนบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง รักใคร่ชอบพอกับนางสาว ข. แนะนำให้นางสาว ข. ทำประกันชีวิตโดยจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงกว่ารายได้ของนางสาว ข. และเสนอจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้ครึ่งหนึ่ง นาย ก. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ผิด เพราะนาย ก. จ่ายเบี้ยประกันภัยให้นางสาว ข. ทำประกันภัย
ข. ผิด เพราะนาย ก. ขายประกันที่เบี้ยประกันชีวิตสูงกว่ารายได้ของนางสาว ข.
ค. ไม่ผิด เพราะนาย ก. และนางสาว ข. รักใคร่ชอบพอกัน
ง. ผิด เพราะนาย ก. และ นางสาว ข. ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

16. ตัวแทนประกันชีวิตลดค่าบำเหน็จให้ผู้เอาประกันภัยถูกหรือไม่

ก. ถูก เพราะเป็นการช่วยเหลือให้ผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันชีวิตน้อยลง
ข. ถูก เพราะทำให้ตัวแทนประกันชีวิตขายกรมธรรม์ประกันภัยได้มากขึ้น
ค. ผิด เพราะเป็นการลดบำเหน็จเพื่อจูงใจให้เอาประกันภัย
ง. ที่กล่าวมาแล้วถูกทุกข้อ
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

17. ข้อใดเป็นสิ่งที่ตัวแทนประกันชีวิตไม่พึงปฏิบัติ

ก. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น
ข. ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อจูงใจให้เอาประกันภัย
ค. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย
ง. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

18. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่คุณสมบัติที่ดีของตัวแทนประกันชีวิต

ก. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
ข. มีคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิภาณ
ค. ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อจูงใจให้เอาประกันภัย
ง. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนหรือบริษัทอื่น
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

19. นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต มีความประสงค์จะขายประกันชีวิตให้กับเพื่อน ซึ่งเคยเรียนสถาบันเดียวกันแต่ทราบว่าเพื่อนได้ทำประกันชีวิตอยู่กับบริษัทหนึ่งแล้ว นางสาว ก. จึงบอกให้เพื่อนยกเลิกกรมธรรม์เดิม แล้วมาทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ตนสังกัดอยู่ ท่านคิดว่านางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีหรือไม่

ก. ดี เพราะจะได้บริการเพื่อนได้สะดวก
ข. ดี เพราะนางสาว ก. มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทที่ตนสังกัดอยู่
ค. ดี เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์มากขึ้น
ง. ไม่ดี เพราะมีพฤติกรรมขัดต่อหลักจรรยาบรรณที่ว่าไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

20. บริษัทแห่งหนึ่งอยู่ในช่วงการแข่งขันผลงาน นาย ก. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตจึงพยายามเสนอขายกรมธรรม์ใหม่ให้แก่ลูกค้าเก่าที่ทำมา 2-3 ปี โดยนาย ก. ได้บอกแก่นาย ข. ลูกค้าเก่าว่ากรมธรรม์เดิมล้าสมัย กรมธรรม์แบบใหม่ให้ผลประโยชน์มากกว่า แต่นาย ข. บอกว่าขณะนี้เขายังไม่มีเงิน จะมีเงินก็อีก 2 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะหมดระยะเวลาแข่งขันแล้ว นาย ก. จึงแนะนำนาย ข. ให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อนำเงินมาชำระเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ใหม่ การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณเพราะอะไร

ก. เพราะนาย ก. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ข. เพราะนาย ก. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อซื้อกรมธรรม์ใหม่
ค. เพราะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

21. ข้อใดไม่ใช่จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต

ก. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ
ข. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิตหรือบริษัทอื่น
ค. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิม เพื่อทำสัญญาใหม่
ง. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

22. นาย ก. เคยเป็นตัวแทนประกันชีวิตกับบริษัท หนึ่ง จำกัด และลาออกมาเป็นตัวแทนประกันชีวิต บริษัท สอง จำกัด เนื่องจากมีปัญหากับบริษัท หนึ่ง จำกัด ต่อมานาย ก. ไปชักชวนให้เพื่อนคนหนึ่งทำประกันชีวิตกับบริษัท สอง จำกัดแต่เพื่อนบอกว่ากำลังตัดสินใจทำประกันชีวิตกับบริษัท หนึ่ง จำกัด จึงพยายามคัดค้านไม่ให้เพื่อนทำประกันชีวิตกับบริษัท หนึ่ง จำกัด โดยให้เหตุผลว่าบริษัทนั้นไม่มีความยุติธรรมต่อลูกค้าในขณะเดียวกันได้ชักชวนให้เพื่อนทำประกันชีวิตกับบริษัท สอง จำกัด โดยให้เหตุผลว่าการบริการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ดีกว่า การกระทำของนาย ก. เช่นนี้ ถูกหรือผิดจรรยาบรรณศีลธรรมผู้ประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิตอย่างไร

ก. ถูก เพราะว่าให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และพยายามรักษาผลประโยชน์ของผู้ทำประกันชีวิต
ข. ผิด เพราะกล่าวให้ร้ายกับบริษัทประกันชีวิตอื่น
ค. ถูก เพราะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ค.
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

23. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จำกัด นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท สอง จำกัด ทั้งสองอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ดังนั้นจึงมีการแข่งขันกันในการชักชวนคนให้มาทำประกันชีวิตกับตนอยู่เสมอๆ นาย ก. มีวิธีในการชักชวนคนให้มาทำประกันชีวิตกับตน โดยบอกแก่คนที่ไปชักชวนว่า นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ไม่ดี ไม่สนใจเอาใจใส่ผู้เอาประกันภัย และบริษัท สอง จำกัด ที่นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตอยู่ก็จ่ายเงินล่าช้า ไม่สนใจผู้เอาประกันชีวิต ต้องการเพียงแค่เบี้ยประกันภัยเท่านั้น ท่านจงพิจารณาว่านาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีและมีจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี และมีจรรยาบรรณ เพราะสามารถชักชวนให้คนทำประกันภัยกับตนและทำให้บริษัทได้ผลประโยชน์
ข. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีและมีจรรยาบรรณ เพราะมีวิธีในการชักชวนคนให้เอาประกันภัยด้วย
ค. นาย ก. ไม่ใช่ตัวแทนประกันชีวิตที่ดี และไม่มีจรรยาบรรณ เพราะตัวแทนประกันชีวิตที่ดีและมีจรรยาบรรณต้องไม่กล่าวให้ร้ายตัวแทนหรือบริษัทอื่น
ง. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี และมีจรรยาบรรณ เพราะสามารถกำจัดคู่แข่งขันได้
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

24. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จำกัด แม้ว่านาย ก. จะมีนิสัยเจ้าชู้และมีภรรยาหลายคนแต่นาย ก. ก็ให้บริการแก่ลูกค้าของตนด้วยดีตลอดมา นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท สอง จำกัด ทราบพฤติกรรมการเจ้าชู้และการมีภรรยาหลายคนของนาย ก. จึงเล่าเรื่องดังกล่าวให้นาย ค. ซึ่งเป็นลูกค้าของนาย ก. ฟัง การกระทำของนาย ข. ขัดกับหลักจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ไม่ขัด เพราะพูดความจริง
ข. ไม่ขัด เพราะคนเราทุกคนมีสิทธิพูดภายในกรอบของกฎหมาย
ค. ขัด เพราะไม่ได้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
ง. ขัด เพราะเป็นการกล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิตอื่น
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

25. ถ้าตัวแทนประกันชีวิตหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการให้บริการลูกค้า แสดงให้เห็นว่าตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้น

ก. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า เพราะว่าได้ให้บริการที่ดีและเชื่อถือได้ ต่อลูกค้า
ข. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้นจะรับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์สังคม
ค. มีความรับผิดชอบต่ออาชีพ เพราะอาชีพตัวแทนประกันชีวิตเป็นอาชีพอิสระเช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบอาชีพต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

26. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแห่งหนึ่ง นาย ก. เป็นคนขยันสามารถชักชวนคนให้มาทำประกันชีวิตด้วยได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วก็ยังขยันหาความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตอยู่เสมอ เมื่อมีการอบรมเกี่ยวกับการประกันชีวิตที่นาย ก. เห็นว่าเกี่ยวข้องและมีประโยชน์กับตนเองก็จะเข้าร่วมอบรมด้วย และก็นำความรู้ที่ได้มานี้มาบอกเล่าให้ผู้เอาประกันภัยและบุคคลอื่นทราบด้วย ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีหรือไม่

ก. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ไม่ดี ควรใช้เวลาในการบริการผู้เอาประกันภัยจะดีกว่า
ข. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี สมควรที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างและกระทำตาม
ค. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีรู้จักหาความรู้เพิ่มเติมให้แก่ตนเอง
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

27. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทน

ก. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยในส่วนที่ถือเป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันชีวิตของผู้เอาประกันภัย ต่อบริษัทและบุคคลอื่น
ข. แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์เดิม เพื่อทำสัญญาใหม่ หากผู้เอาประกันภัยไม่พอใจในผลประโยชน์ของกรมธรรม์เดิม
ค. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
ง. คล้อยตามผู้เอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยกล่าวตำหนิตัวแทนฯ บริษัทอื่น
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

28. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตซึ่งบริการลูกค้าของตนเองดีมาก แต่นาย ก. มีนิสัยเจ้าชู้ และมี ภรรยาหลายคน พฤติกรรมของนาย ก. นี้ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

ก. ผิด เพราะไม่ได้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก. ยังให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
ค. ไม่ผิด เพราะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวต้องแยกออกจากกัน
ง. ผิด เพราะเมื่อมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็จะมีค่าใช้จ่ายมาก อาจเป็นผลก่อให้เกิดการทุจริตในเรื่องเงินได้
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

29. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ไปชักชวนให้นาง ข. ทำประกันชีวิต และนาง ข. รู้สึกพอใจ ตามข้อเสนอเรื่องผลประโยชน์และความคุ้มครองที่จะได้รับจากการทำประกันชีวิต ดังนั้นนาง ข. จึงกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิต และลงชื่อในใบคำขอนั้นเป็นหลักฐาน แต่ในวันนี้นาง ข. ยังไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกันภัยและคาดการณ์ว่าในเดือนหน้าอาจจะมีรายได้พิเศษจำนวนหนึ่งมาชำระเบี้ยประกันภัยได้ นาย ก. จึงเสนอว่าจะจ่ายเบี้ยประกันภัยแทนนาง ข. ก่อน เพราะต้องการให้นาง ข. ได้รับความคุ้มครองโดยเร็ว และอีก 1 สัปดาห์ต่อมานาย ก. ได้นำกรมธรรม์ประกันภัยมาส่งมอบให้นาง ข. และอธิบายสิทธิเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยให้นาง ข. โดยละเอียด การกระทำของนาย ก. ถูกหรือผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของผู้ประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิตอย่างไร

ก. ถูก เพราะเป็นการให้บริการที่ดีแก่ผู้เอาประกันภัย
ข. ถูก เพราะรักษาความลับของผู้เอาประกันภัยอันไม่ควรเปิดเผยแก่บริษัท เรื่องยังไม่มีเงินชำระเบี้ยประกันภัย
ค. ผิด เพราะนาย ก. ประพฤติผิดศีลธรรมเนื่องจากหลอกลวงบริษัทผู้รับประกันชีวิต
ง. ผิด เพราะเสนอแนะให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันชีวิตขณะที่มีความต้องการทำประกันชีวิต
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

30. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จำกัด รู้จักและเป็นเพื่อนบ้านกับนาย ข. ซึ่งทำประกันชีวิตกับ บริษัท สอง จำกัด ต่อมานาย ข. ประสบอุบัติเหตุเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล นาย ก. ทราบข่าวจึงไปเยี่ยมและช่วยเหลือต่าง ๆ แต่ไม่ได้ชักจูงให้ นาย ข. มาทำประกันชีวิตกับตนโดยที่ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท สอง จำกัด ไม่ดูแลลูกค้าเลย นาย ก. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะนาย ข. ให้บริการลูกค้าของตน
ข. ไม่ผิด เพราะนาย ก. ธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ
ค. ผิด เพราะนาย ก. กล่าวร้ายตัวแทนหรือบริษัท สอง จำกัด
ง. ผิด เพราะนาย ก. แนะนำให้นาย ข. สละกรมธรรม์เดิมและมาซื้อกรมธรรม์ใหม่กับตน
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

 

 ส่วนที่ 2 – หลักการประกันชีวิต (ปรับปรุงล่าสุด ม.ค. 2561)

1. ข้อใดคือความหมายของประกันชีวิต

ก. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งร่วมกันป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ข. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยจากการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะและทุพพลภาพ
ค. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันขึ้นเพื่อช่วยกันเฉลี่ยภัยทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ง. วิธีการที่คนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้น
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

2. ประโยชน์ของการประกันชีวิต คือ

ก. ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ข. เป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว
ค. ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ธุรกิจต้องประสบปัญหาในการดำเนินงาน
ง. ถูกทุกข้อ
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

3. บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการใดในการกระจายความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต

ก. เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น
ข. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยเพื่อจะได้ลดความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต
ค. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนมากเพื่อจะได้เฉลี่ยภัยที่จะเกิดขึ้นจากการรับประกันชีวิต
ง. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยและเก็บเบี้ยประกันภัยสูง
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

4. ในการทำประกันชีวิตนั้น ท่านสามารถจะเอาประกันชีวิตบุคคลอื่นได้ ถ้าท่านมีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลนั้นบุคคลใดในข้อต่อไปนี้ที่มีส่วนได้เสียในชีวิตซึ่งกันและกัน

ก. สามีภรรยา
ข. พนักงานขับรถกับพนักงานเก็บค่าโดยสาร
ค. คู่หมั้น
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

5. หลักการประกันชีวิตนั้น สัญญาประกันชีวิตจะเกิดขึ้นได้ต้องมีความสุจริตใจต่อกันอย่างยิ่ง ข้อใดต่อไปนี้ขาดหลักการดังกล่าว

ก. ผู้เอาประกันภัยให้ผู้อื่นกรอกใบคำขอเอาประกันชีวิตแทน
ข. ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จในใบคำขอเอาประกันชีวิต
ค. ผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อนโดยไม่ได้เจตนา
ง. ผู้เอาประกันภัยระบุชื่อผู้รับประโยชน์เป็นบุตรนอกสมรส
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

6. กรณีที่บริษัทประกันชีวิตตรวจสอบพบว่าผุ้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จซึ่งเป็นสาระสำคัญภายใน 1 ปี นับจากวันทำสัญญา บริษัทประกันชีวิตสามารถดำเนินการอย่างไร

ก. บอกล้างสัญญา
ข. คืนเบี้ยประกันภัยที่รับไว้ทั้งหมดแก่ผู้เอาประกันภัย
ค. บอกล้างสัญญาและคืนมูลค่าใช้เงินสำเร็จแก่ผู้เอาประกันภัย
ง. บอกล้างสัญญาและคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมดแก่ผู้เอาประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

7. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายให้ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์นั้นเป็นข้อใด

ก. จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
ข. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยเห็นสมควรกับสาเหตุการเสียชีวิต
ค. จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยกำหนด
ง. จำนวนเงินที่ผู้รับประโยชน์เห็นควรได้รับ
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

8. เงื่อนไขข้อใดที่บริษัทประกันชีวิตใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายเงินตามกรมธรรม์

ก. การมีชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัยหรือการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
ข. การมีชิวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัยและการมีชีวิตอยู่ของผู้รับประโยชน์
ค. การเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยและการมีชีวิตอยู่ของผู้รับประโยชน์
ง. ไม่มีข้อใดถูก
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

9. การประกันชีวิตต่างกับการประกันภัยวินาศภัย คือ

ก. การประกันชีวิตจ่ายตามจำนวนเงินเอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชิวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริง ไม่ว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยจะเป็นเท่าไร
ข. การประกันชีวิตจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัย จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
ค. การประกันชีวิตจ่ายเงินตามเบี้ยประกันที่จ่ายไป เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่แท้จริงไม่ว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยจะเป็นเท่าไร
ง. การประกันชีวิตจ่ายตามจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ส่วนการประกันวินาศภัย จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย
[ คำตอบ = ข้อ ข.]

10. ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต จะเป็นบุคคลใดต่อไปนี้

ก. สามีหรือภรรยาของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ข. บุคคลที่มีส่วนได้เสียกับผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ค. ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น
ง. บุคคลใดก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยจะระบุให้เป็นผู้รับประโยชน์และได้รับความ เห็นชอบจากบริษัท
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

11. ประเภทของการประกันชีวิตแบ่งเป็น

ก. สามัญ อุตสาหกรรม กลุ่ม
ข. มีเงินปันผล ไม่มีเงินปันผล
ค. ตลอดชีพ สะสมทรัพย์ ชั่วระยะเวลา
ง. ประเภทรายได้ประจำ ประเภทเงินรายปี ประเภทรายได้ครึ่งปี
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

12. ข้อต่อไปนี้ข้อใดเป็นลักษณะของการประกันชีวิตประเภทสามัญ

ก. การประกันชีวิตรายบุคคล มีระยะเวลารอคอย และระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกัน
ข. ชำระเบี้ยประกันภัยรายเดือน รับประกันชีวิตเป็นกลุ่ม จำนวนเงินเอาประกันกันภัยต่ำ
ค. การประกันชีวิตรายบุคคล จำนวนเงินเอาประกันภัยสูง ไม่ตรวจสุขภาพ มีระยะเวลารอคอย
ง. เป็นการประกันชีวิตรายบุคคล จำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง และอาจมีการตรวจสุขภาพ
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

13. การประกันชวิตประเภทอุตสาหกรรมมีลักษณะตรงกับข้อใด

ก. จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ ชำระเบี้ยประกันภัยรายเดือน มีระยะเวลารอคอย
ข. กำหนดให้จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นงวดรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน
ค. ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระเบี้ยประกันภัยกับบริษัทประกันภัยโดยตรงเท่านั้น
ง. จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ มีระยะเวลารอคอย 2 ปี มีระยะเวลาผ่อนผัน 60 วัน
[ คำตอบ = ข้อ ก.]

14. การประกันชีวิตประเภทใดที่ไม่มีการตรวจสุขภาพ

ก. ประเภทสามัญ ประเภทอุตสาหกรรม
ข. ประเภทสามัญ ประเภทกลุ่ม
ค. ประเภทอุตสาหกรรม
ง. ถูกทั้ง 3 ข้อ
[ คำตอบ = ข้อ ค.]

15. การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม มีระยะเวลารอคอยกี่วัน

ก. 90 วัน
ข. 120 วัน
ค. 150 วัน
ง. 180 วัน
[ คำตอบ = ข้อ ง.]

16. การประกันชีวิตประเภทกลุ่มมีลักษณะเป็นอย่างไร

ก. บริษัทจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้กับสมาชิกคนละกรมธรรม์
ข. บริษัทจะออกใบสำคัญในการประกันชีวิตให้สมาชิกทุกคนภายใต้กรมธรรม์หลัก
ค. บริษัทออกกรมธรรม์หลักให้สมาชิกและออกใบสำคัญประกันชีวิตให้นายจ้าง
ง. ข้อ

Visitors: 63,037