ReadyPlanet.com
dot
เครื่องดนตรี เครื่องเสียง บันทึกเสียง
dot
dot
dot
#1 Music Inst. เครื่องดนตรีสากล
กลองชุด Drum Set
กลองไฟฟ้า Electronic Drum
Percussion Acoustic
กีตาร์ไฟฟ้า Electric guitar
กีตาร์โปร่ง Acoustic guitar
เบสไฟฟ้า Electric Bass
คีย์บอร์ด Syn-Keyboard-Piano
แอมป์เครื่องดนตรี Inst. Amp
อุปกรณ์ดนตรี อื่นๆ Others
เครื่องดุริยางค์ Marching
.............................................................
#2 Pro Audio เครื่องเสียง
.............................................................
#3 Recording อุปกรณ์บันทึกเสียง
.............................................................
#4 เครื่องเสียงบ้าน HomeEntertain
.............................................................
#5 เครื่องเล่น DJ
.............................................................
#6 วัสดุซับเสียง กันเสียง
.............................................................
#7 โต๊ะ เวที เอนกประสงค์
.............................................................
#8 สินค้ามือสอง Used Gear
.............................................................
#9 CD เพลง/เสื้อยืด
.............................................................
#10 สินค้าอื่นๆ
โต๊ะ ชั้นวาง เวทีสำเร็จรูป
วัสดุซับเสียง Sound absorber ฉนวนหินภูเขาไฟ ฟองน้ำ โฟม
ตู้ลำโพงพลาสติค Plastic Box Speakers
Studio Microphones
Studio Monitor Speakers
Audio-Interface-อุปกรณ์บันทึกเสียง
Camera-Video Microphones
dot


  [Help]
dot
dot
dot




กันเสียง ซับเสียง

การกันเสียงและการซับเสียงต่างกันยังไง?
(Sound 
proofing/Blocking & Sound absorption)
หัวข้อนี้จะเน้นไปที่กลุ่มคนทำงานในห้องเสียงนะครับ เช่น ห้องซ้อมดนตรี ห้องอัดเสียง หรือห้องฟังเพลง หรือจะนำไปดัดแปลงกับห้องที่ไม่ต้องการให้เสียงรบกวนได้ คุยกันแบบมันส์ๆบ้านๆนะครับ ทั้ง 2 เรื่องนี้ดูเหมือนคล้ายกัน แต่มันมีความแตกต่างกันอยู่ครับ


1-การกันเสียง (Sound Proofing/Blocking) เป็นเรื่อง
การกันไม่ให้ผ่าน "หยุด" block จะต้องหยุดปริมาณเสียง(quantity)ลงให้ได้มากที่สุด ที่จะส่งผ่านพื้น-ผนัง-เพดาน ทุกจุดที่เสียงจะส่งผ่านรวมทั้งประตู-หน้าต่าง ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบโครงสร้างแผ่นผนัง+ฉนวน ทำงานร่วมกันเพื่อจะหยุดเสียงลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องอาศัยวัสดุที่มีมวลมาช่วยที่จะ Block เสียงลงให้ได้เช่น พวกยาง sheet ต่างๆ(Mass loaded vinyl barier) แผ่นยิปซั่มบอร์ดต่างๆ รวมถึงวัสดุยึดโยงลดการส่งผ่านทั้งหลาย (resilient sound isolation clips)  ทำไมต้องกันเสียง ก็เพราะมันดังไปรบกวนคนอื่นครับเช่น ห้องซ้อมดนตรี รวมทั้งที่เราไม่อยากให้คนอื่นได้ยินเราหรือเราไม่ต้องการให้เสียงอื่นๆเข้ามากวนในห้องเช่น ห้องบันทึกเสียง เป็นต้น
2-การซับเสียง (Sound Absorption) เป็นเรื่องการดูดซับ (absorb Echo) ลดการสะท้อนของเสียงในห้อง เป็นการเปลี่ยนพลังงานเสียงให้กลายเป็นพลังงานความร้อนโดยคลื่นจะเสียดสีหักล้างกัน หากเป็นการซับเสียงในเชิง Acoustic ก็จะคำนึงถึงเรื่องคุณภาพ(quality)ของเสียงที่ได้หลังจากการซับแล้วด้วย จะจัดการกับความถี่ตัวปัญหาให้หายไปเหลือแต่ที่เราต้องการ โดยที่ยังมีความรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ซึ่งต้องมีการออกแบบการใช้วัสดุและวัดค่าความก้อง RT ของห้องควบคู่ไป (Reverberation Time) ไม่ใช่นำไปติดๆๆจนเต็ม ผลที่ออกมาอาจจะอุดอู้ ดังนั้นในห้องที่เน้น acoustic เช่นห้องฟังเพลง จึงมีทั้ง Acoustic Panel หลากหลายแบบรวมทั้ง Bass Trab ด้วย ทำไมต้องซับเสียง ก็เพื่อไม่ให้มันก้อง เพราะก้องแล้วฟังไม่ได้ศัพท์หรือฟังกันไม่รู้เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการประชุมหรือซ้อมดนตรี ยิ่งเป็นห้องฟังเพลงด้วยแล้วเราต้องการเสียงที่ออกมาจากลำโพงเท่านั้น ส่วนเสียงสะท้อนมาจากผนังเราไม่อยากให้มันเกิดเพราะมันไปกวนหรือหักล้างกับเสียงจริง และไม่อยากได้ยินมันด้วย

เปรียบเทียบ 2 เรื่องง่ายๆคือ
"การกัน"หากคุณจะสร้างตู้ปลา คุณจะใช้อะไรกันน้ำ? กระจกหรือฟองน้ำ ? กระจกจะกันน้ำ แต่ฟองน้ำไม่ได้กัน แค่ซับน้ำได้แต่ยังรั่วอยู่
"การซับเสียง" ถ้าเรามีห้องผนังแข็งทุกด้าน หากเราโยนลูกบอลไปกระทบผนังมันก็จะเด้งๆๆๆๆ แต่หากเราเอาฟองน้ำไปแปะผนัง การเด้งของลูกบอลก็จะลดลงจนถึงไม่เด้ง (แต่เสียงมีย่านความถี่หลายย่าน ซึ่งลูกบอลไม่มี เพียงแต่เปรียบเทียบให้เห็น)

การกันเสียง(Sound Proofing/Blocking)
คือ การกันไม่ให้ผ่าน หรือลดการส่งผ่าน โดยการลดความเร็วของคลื่นหรือพยามหยุด จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวัสดุแข็งและอ่อน ซึ่งเป้าหมายคือการปิดกั้น เสียงเป็นคลื่นมีทิศทางสามารถเดินทางผ่านอากาศและวัสดุต่างๆ ดังนั้นหากมีการสั่น หรือมีรูรั่ว มีช่อง เสียงก็จะสามารถเล็ดลอดมาได้ เช่น ตามช่องประตูหน้าต่าง สามารถเดินทางหักเหตีอ้อมโค้งวัสดุได้แต่ก็ลดลง เช่น เจอแผ่นบังเสียงบังไว้ เสียงตรงที่มาประทะเราก็ลดลง แต่ยังได้ยินเสียงอ้อมๆมาอยู่ หากแผ่นแข็งสั่นก็สามารถจะส่งต่อพลังงานนั้นได้ การกันเสียงก็จะยุ่งกับห้อง ยุ่งกับผนัง พื้น เพดาน จากการออกแบบโครงสร้างผนังพบว่าจะต้องมีโครงสร้าง
ผนังกันเสียง
ผนังกันเสียง มีใช้ทั้งลดเสียง และกันเสียง
ผนังใช้ลดเสียงเช่น กำแพงสูงข้างถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หรือทางด่วนที่ติดบ้าน เพื่อลดเสียงรบกวนตรงๆ ลง ยังได้ยินอยู่แต่เบาลงจนอยู่ในระดับรับได้

ผนังใช้กันเสียงเลย เช่น ผนังห้องฟังเพลง ห้องซ้อม ห้องเครื่องยนต์  ห้องอะไรที่มีเสียงดังอยู่ภายในไม่ต้องการให้คนนอกได้ยิน หรือไม่อยากได้ยินเสียงจากข้างนอก ก็ต้องใช้ผนังกันเสียง ซึ่งหลักการก็นำไปใช้กับผนังและเพดานด้วย

โครงสร้างพื้นกันเสียง ผนังกันเสียง

ได้มีการสร้างผนังกันเสียงขึ้นแล้ววัดประสิทธิภาพว่ากันได้ขนาดไหน วัดเป็นระดับค่าออกมา เรียกว่า STC โดยเริ่มจากผนังที่ใช้วัสดุก่อสร้างทั่วไป เช่น อิฐ  คอนกรีตบล๊อค จนถึงผนังเบาที่ทำจากแผ่นยิปซั่มบอร์ด ตัวอย่างผนังเบามีค่า STC ออกมาดังนี้

โครงสร้างผนังกันเสียงแบบด้านในเปลือยวัสดุกันเสียงเพื่อให้เป็นตัวซับเสียงในห้องไปในตัว



การซับเสียง(Sound Absorption)
คือ การลดการสะท้อนของเสียงที่ก้องภายในห้อง เป็นการเปลี่ยนพลังงานเสียงให้กลายเป็นพลังงานความร้อนโดยคลื่นจะเสียดสีกัน โดยจะลดลงเท่าไหร่ก็อยู่ที่เราใส่วัสดุซับเสียงเข้าไปในห้องนั้นๆ อาจจะใส่แค่ 30-50
% ก็ ok แล้ว หรือหากยังไม่ OK ก็ใส่ไปจนเราพอใจ ซึ่งห้องแต่ละแบบต้องการการซับเสียงในระดับที่ต่างกัน เช่น ห้องรับแขก ห้องฟังเพลง ห้องซ้อมดนตรี ห้องบันทึกเสียง...
*วัสดุซับเสียงแต่ละแบบจะมีประสิทธิภาพการซับในย่านความถี่ต่างๆแตกต่างกันไป ดังนั้นการใช้วัสดุชนิดเดียวใส่ไปจนเต็มก็จะทำให้ acoustic ของห้องเสียไปได้ เช่น เอา M Sorb (ซับเสียงย่าน mid-hi อย่างเดียว 1Khz-12Khz) ใส่ไปจนเต็มห้อง ความถี่ย่าน mid-hi ก็จะโดนซับหายไปหมดเหลือแต่ย่านเบสที่ยังอึงคนึงอยู่ ดังนั้นควรเลือกใช้วัสดุหลายชนิดช่วยกัน เช่น เสริม Bass Trab เข้าไปตามมุมห้องด้วยก็จะไม่อึดอัด
รูปด้านล่าง คือการซับเสียงภายในห้อง โดยใช้วัสดุที่ทำสำเร็จ ติดตั้งง่าย เช่น แผ่นฟองน้ำ แผ่นโฟม (รูปซ้ายใส่วัสดุชนิดเดียวเยอะไป รูปขวาดีกว่า...)

วัสดุซับเสียง
วัสดุต่างๆที่อ่อนนุ่ม เช่น ผ้าห่ม พรม ม่าน ฟองน้ำ โซฟา แม้ตัวคนเราก็มีคุณสมบัติดูดซับเสียงทั้งนั้นแต่ประสิทธิภาพจะแตกต่างกันไป
แผ่นซับเสียง
เป็นแผ่นที่ทำมาสำหรับซับเสียงโดยเฉพาะ ที่มีขายในตลาดก็จะเป็นวัสดุที่นำไปติดตั้งง่ายๆเช่น แผ่นฟองน้ำ แผ่นโฟม PE หรือหากในกลุ่มก่อสร้างก็จะเป็น Acoustic board ที่นำไปติดโครงฝ้าเพดานได้หรือโครงผนังซึ่งจะเห็นได้ตามโรงเรียน สนามบิน โรงพยาบาล..แผ่นซับเสียงแต่ละแบบก็จะมีประสิทธิภาพในการซับต่างๆกัน แต่โดยส่วนมากจะซับเสียงย่านกลางแหลมเป็นหลัก เพราะย่านเบสจะต้องใช้คนละแบบ แต่ง่ายๆก็จะซับที่มุมห้อง เรียกกันว่า Bass Trab 
แผ่นซับเสียงแบบต่างๆ

ปกติในทางการวัดค่าจริงๆ เขาจะมีค่าวัดพลังงานเสียงที่วัสดุแต่ละอย่างซับได้ เรียกว่า SAC 
Sound Absorption Coefficient (SAC) หมายถึงสัดส่วนของพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับไปเมื่อชนกระทบวัสดุนั้นๆ ซึ่งวัสดุแต่ละอย่างตามรูปข้างบนก็มีค่าต่างๆกัน 
วัสดุซับเสียงสามารถกันเสียงได้มั้ย? 
ในเมื่อมันซับเสียงได้ คือมันสามารถลดพลังงานเสียงลงได้ มันก็อยู่ในข่ายลดเสียงลง แต่ไม่ได้กัน เพราะการกันเสียง ความหมายจริงๆเลย ก็คือไม่ให้เสียงผ่านเลยหรือลดลงให้เหลือน้อยที่สุด  เพราะฉะนั้นวัสดุซับเสียงกันเสียงได้มั้ย? ก็ตอบว่า"ได้"แต่ได้น้อยมาก มันอาจได้แค่ 10% จึงขอเรียกว่า "ลดเสียงลงได้" ดีกว่านะ หน้าที่หลักมันคือ ลดการสะท้อน เสียงยังสะท้อนอยู่แต่ก็สะท้อนน้อยลง ลดลง เข้าใจนะครับ... เพราะมีคนถามเรื่องนี้มาก และวัสดุซับเสียงบางยี่ห้อก็โฆษณาว่า "กันเสียง" ได้ ซึ่งลำพังตัวมันเองยังไม่ได้ ต้องใช้ผนัง+โครงเข้ามาช่วย (ดูหัวข้อกันเสียง)

ห้องกันเสียง-ซับเสียง 100% ในทางทฎษฎี-ปฏิบัติสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เงินมากมายเลย แบบห้อง Lab ที่เค้าใช้ test Product ด้านเสียง) แต่คนทั่วๆไปไม่ได้ทำกันขนาดนั้น ! ล่าง- Testing Room ห้องกันเสียง-ซับเสียงแบบสุดๆ ชนิดที่ได้ยินเพียงเสียงเต้นของหัวใจ





ฉนวนกันเสียงกลุ่มเส้นใย(Mineral wool insulation)

ฉนวนกันเสียง Mineral wool คือ แผ่นฉนวนที่ทำจากเส้นใยต่างๆ ซึ่งให้ค่าการดูดซับเสียงสูง เช่น ใยหิน ใยแก้ว หรือพวกเส้นไย Polyetelene ซึ่งพวกนี้จะเป็นกลุ่ม Insulation ทำออกมาเป็นแผ่นขนาดมาตรฐาน 120x60 ซม. เพื่อนำไปใส่ในช่องโครงเคร่าผนังเบายิปซั่มเพิ่มการลดเสียงส่งผ่าน ซึ่งใช้หลักการเดียวกันนี้กับฝ้าเพดานหรือพื้น 

การเพิ่มช่องว่างของอากาศจะทำให้ประสิทธิภาพการกันเสียงได้ดีขึ้น รวมทั้งการลดการส่งผ่านโครงผนังต่างๆ

Rock Wool & Glass Wool ?
ฉนวนหินภูเขาไฟ และฉนวนใยแก้ว ต่างเป็นฉนวนที่มีประสิทธิภาพ มีการนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายในด้านเสียง ซึ่งทั้งสองมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่โดยสรุปในด้านต้นทุนการนำไปใช้งานพบว่า ฉนวนใยแก้ว เหมาะกับงานด้านกันความร้อน ส่วนฉนวนหินภูเขาไฟ เหมาะกับงานด้านเสียง
ฉนวนหินภูเขาไฟ ผลิตจากหินภูเข้าไฟ โดยการหลอมที่อุณหภูมิสูงที่ 1500 องศา แล้วพ่นออกมาเป็นใย สามารถอัดแน่นได้ถึง 200 kg/m3 กันความร้อนได้สูงถึง 850 องศา
ฉนวนใยแก้ว ผลิตจากแก้ว recycle โดยการหลอมที่อุณหภูมิสูงที่ 1450 องศา แล้วพ่นออกมาเป็นใย สามารถอัดแน่นได้เพียง 110 kg/m3 กันความร้อนได้สูงถึง 230 องศา








คุยกันมันส์ๆเรื่องเครื่องเสียง การบันทึกเสียง

ลำโพงมอนิเตอร์สตูดิโอ !
พื้นฐานการบันทึกเสียง
D.I Box
Microphones
AC distributer