ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

วศ.อว.ลงพื้นที่ตรวจประเมินการควบคุมคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

                             วันที่ 18-19 สิงหาคม 2563 กลุ่มรับรองคุณภาพผล...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี หลักสูตร “วิทยาศาสตร์การหมักอาหารให้ปลอดภัย” ณ จังหวัดนนทบุรี

                         วันที่ 5 สิงหาคม 2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการ...

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

วศ.อว. ถ่ายทอดเทคโนโลยี “การแปรรูปมะนาว” ณ จังหวัดชลบุรี

                            กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทย...

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

วศ.อว. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทอาหาร ณ จังหวัดเพชรบุรี

                          วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ส...

Next Tab

พืชให้สี

สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีความหลากหลาย สามารถแบ่งโดยใช้กรรมวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่มคือ.-

  • การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฏิกิริยาเคมีทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสีที่ได้จากพืช
  • การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยย้อมช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย

ขมิ้น

ขมิ้น

ชื่อสามัญ : Turmeric,Curcuma ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn วงศ์ :&nb...

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ชื่อสามัญ  Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod ชื่อวิทยาศาสตร์ ...

ข่า

ข่า

ชื่อสามัญ  Galanga, Greater Galangal, False Galangal ชื่อวิทยาศาสตร์  Alpinia galanga...

คราม

คราม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigofera tinctoria Linn. วงศ์ : PAPILIONEAE ชื่อท้องถิ...

คำฝอย

คำฝอย

ชื่อสามัญ แซฟฟลาวเวอร์ Safflower, False Saffron, Saffron Thistle คําฝอย ชื่อว...

ฉำฉา

ฉำฉา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanea saman (Jacg) Merr. วงศ์ : MIMOSACEAE ชื่อท้องถ...

ตะโก

ตะโก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyios rhodcalyx. วงศ์ : EBENACEAE ชื่อท้องถิ่น...

ติ้ว

ติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum tormosurn (Jack) Dyer ssp.pruniflorum (Kurz.) Gogelin วงศ์ : GU...

ทองกวาว

ทองกวาว

ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree ชื่อวิทยาศาสตร์...

นนทรี

นนทรี

ชื่อสามัญ  Copper pod, Yellow flame, Yellow Poinciana  ชื่อวิทยาศาสตร์  Peltopho...

ประดู่

ประดู่

ชื่อสามัญ Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood...

ฝาง

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn. วงศ์ : CAESALPINIACEAE ชื่อท้อง...

พะยอม

พะยอม

ชื่อสามัญ  Shorea, White Meranti  ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G. Don. ว...

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อสามัญ  Coconut ชื่อวิทยาศาสตร์  Cocos nucifera L. วงศ์ ARECACEAE...

มะพูด

มะพูด

ชื่อสามัญ  Garcinia  ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz (บ้าง...

มะหาด

มะหาด

ชื่อสามัญ  Lok Hat ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lakoocha Roxb. (ชื่อพ้องว...

มะเกลือ

มะเกลือ

ชื่อสามัญ  Ebony tree ชื่อวิทยาศาสตร์  Diospyros mollis Griff. วงศ์ ...

มังคุด

มังคุด

ชื่อสามัญ :  Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia mangostana Linn. ...

ยอบ้าน

ยอบ้าน

ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry หรือจะเรียกตามแหล่...

ยอป่า

ยอป่า

ชื่อสามัญ : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. วงศ์ : RUBIACEAE ชื่...

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ชื่อสามัญ : Blue gum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eucatyptus glopulus Labill ชื่อท้อ...

สมอไทย

สมอไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. วงศ์ : COMBRETACEAE ชื่อท้องถิ...

สะเดา

สะเดา

ชื่อสามัญ : Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. (Varsiamensis Valeton)...

สะแกนา

สะแกนา

ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz. (ชื่อ...

สัก

สัก

ชื่อสามัญ : Teak ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f. วงศ์ : VERBE...

ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อสามัญ Soap Pod ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิ...

หว้า

หว้า

ชื่อสามัญ : Jambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygi...

หูกวาง

หูกวาง

ชื่อสามัญ : Bengal Almond, Almond, Sea Almon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Treminalia catappa Linn ...

ฮ่อม

ฮ่อม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia (Nees) Bremek Zstrobilanthes flaccidfolius (Nees) Imlay วงศ...

เพกา

ชื่อสามัญ  Broken Bones Tree, Damocles tree, Indian trumpet flower ชื่อวิทยาศาสตร์  O...

แกแล/เข

กาแล/เข

ชื่อสามัญ Cockspur thorn ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner (ชื่อ...

 

 

       ยางธรรมชาติ (Natural rubber; NR) เป็นวัสดุพอลิเมอร์ธรรมชาติชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ได้มาจากต้นยางพารา (Hevea brasilensis) น้ำยางธรรมชาติที่ได้จากการกรีดต้นยางพารามีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม มีสภาพเป็นคอลลอยด์ ในน้ำยางธรรมชาติประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นยางแห้ง (Dry rubber content) ประมาณร้อยละ 25-40 โดยน้ำหนัก และส่วนที่ไม่ใช่ยาง (Non-rubber content) ประมาณร้อยละ 5-10 โดยน้ำหนัก ซึ่งยางธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีสูตรทางเคมี คือ C5H8 และมีการจัดเรียงตัวของโมเลกุลเป็นแบบ cis-1,4-polyisoprene

 

(ที่มา : http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_3_P_567-581.pdf)

 

       โดยยางธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ เนื่องจากมีคุณสมบัติโดดเด่น คือ

       1. ความยืดหยุ่น (Elasticity) ยางธรรมชาติมีความยืดหยุ่นสูง โดยสามารถกลับคืนสู่รูปร่างที่มีขนาดเท่าเดิมหรือขนาดใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเนื่องจากการที่มีแรงภายนอกมากระทำ
       2. ความทนทานต่อแรงดึง (Tensile strength) ยางธรรมชาติมีความทนทานต่อแรงดึงสูง เนื่องจากยางธรรมชาติสามารถเกิดการตกผลึกเมื่อได้รับแรงดึง เชื่อกันว่าการเกิดผลึกนี้ช่วยให้ยางธรรมชาติมีความทนทานต่อแรงดึงที่สูงทั้งก่อนและหลังการทำให้คงรูป
       3. ความทนทานต่อการฉีกขาด (Tear strength) ยางธรรมชาติมีความทนทานต่อการฉีกขาดสูง เนื่องจากความสามารถในการเกิดผลึกเมื่อได้รับแรงดึงของยางธรรมชาติ โดยผลึกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเรียงตัวในแนวเดียวกับแรงดึงและตั้งฉากกับรอยฉีกขาด ทำให้ขัดขวางการฉีดขาดที่เกิดขึ้น
       4. สมบัติเชิงพลวัต (Dynamic properties) ยางธรรมชาติมีสมบัติเชิงพลวัตที่ดี ยางมีการสูญเสียพลังงานในรูปของความร้อนตํ่าในระหว่างการใช้งาน และยังมีความต้านทานต่อการล้าตัว (Fatigue resistance) สูง
       5. ความเหนียวติดกัน (Tack) ยางธรรมชาติมีความเหนียวติดกันสูง โดยเฉพาะในยางที่ไม่ได้ผ่านการคงรูป สามารถยึดติดกับวัสดุอื่นได้ เช่น โลหะ และสิ่งทอ
       6. ความทนทานต่อการขัดถู (Abrasion resistance) ยางธรรมชาติมีความทนทานต่อการขัดถูที่ดี
 
       ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ สามารถแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
       1. ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากยางน้ำข้น ได้แก่
              - ผลิตภัณฑ์จุ่ม เช่น ถุงมือผ่าตัด ถุงมือตรวจโรค ถุงมือแม่บ้าน ถุงมืออุตสาหกรรม ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง จุกนมยาง ท่อสวนปัสสาวะ เป็นต้น
              - ผลิตภัณฑ์นํ้ายางในอุตสาหกรรมพรม เช่น พรม Tufted carpet มีการใช้นํ้ายางอาบหลังพรมเพื่อยึดพรมไว้ 
              - ผลิตภัณฑ์ยางฟองนํ้า (Latex foam) เช่น ใช้ทำที่นอน หมอน เบาะรองนั่ง เป็นต้น
              - สายยางยืด เช่น ยางยืดขอบกางเกงใน ถุงเท้า และเสื้อชั้นใน ยางรัดขาไก่ ยางรัดป้ายติดกระเป๋า เป็นต้น
              - ใช้นํ้ายางเป็นตัวยึดฟูกใยขนสัตว์ และกาบมะพร้าว
 
                                ถุงมือตรวจโรค                                               จุกนมยาง                                                                        หมอนยางธรรมชาติ
 
                                  
           (ที่มา : http://www.skindustry.co.th/                  (ที่มา : https://anfashop.com/shop/                                        (ที่มา : https://www.pchome.co.th/pro/               
                product/ถุงมือยางธรรมชาติ/)                    จุกนมยางธรรมชาติ-100-s-1-dome-type-แพ็/)                                        content/show/3021804107276)
 
       2. ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากยางแห้ง ได้แก่
              - ยางยานพาหนะ เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางล้อเครื่องบิน ยางล้อรถจักรยานยนต์ ยางล้อรถจักรยาน เป็นต้น โดยมีคุณสมบัติยืดหยุ่นทนต่อแรงกระแทกและแรงดึงได้ดี 
              - ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างและวิศวกรรม เช่น แผ่นยางปูพื้น บล็อกยางปูพื้น ยางคั่นรอยต่อคอนกรีต ยางรองคอสะพาน เป็นต้น
              - รองเท้าและพื้นรองเท้า โดยรองเท้าและพื้นรองเท้าที่ผลิตจากยางธรรมชาติ มีความยืดหยุ่นสูง นุ่มสบายเท้า น้ำหนักเบา และป้องกันการลื่นได้ดี 
              - ยางรัดของ 
 
                                                     ยางล้อรถยนต์                                                                                                           ยางรัดของ
                                                                                                
                                  (ที่มา : https://chobrod.com/auto-market/                                               (ที่มา : https://www.janivisoffice.co.th/product/ยางรัดของวงเล็ก/)
                        สมอ-เตรียมออก-4-มอก-คุมมาตรฐานยางล้อรถยนต์ใหม่-3720)
 
       นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปยางธรรมชาติในการสร้างพื้นลู่-ลานกรีฑา สนามกีฬา และลานอเนกประสงค์ โดยใช้ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดยาง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร และลดค่าใช้จ่ายในนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ
 
                                                                  
 
(ที่มา : http://164.115.22.186/webmost/main/index.php/contribution/practical-rd/4337-2015-02-10-06-52-35.html)
 
       นับได้ว่ายางธรรมชาติเป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะผลิตภัณฑ์หลายๆ ชนิดที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันมักถูกผลิตมาจากยางธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติสามารถช่วยส่งเสริมการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศ ลดปริมาณยางในสต๊อกให้น้อยลง ทำให้ส่งผลดีต่อการขยายตัวทางศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การพัฒนาวัสดุยางสังเคราะห์และยางธรรมชาติเพื่อสร้างพื้นลู่-ลานกรีฑา สนามกีฬา และลานอเนกประสงค์.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://164.115.22.186/webmost/main/index.php/contribution/practical-rd/4337-2015-02-10-06-52-35.html
จิตต์ลัดดา  ศักดาภิพาณิชย์. สมบัติของยางธรรมชาติ. เทคโนโลยียางธรรมชาติ : ความรู้ใหม่เกี่ยวกับยางธรรมชาติ จากโครงสร้างโมเลกุลถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม,
       กรุงเทพฯ : เทคโนโนบิช คอมมิวนิเคชั่นส์, 2553, หน้า 39-41.
ภิญโญ  วงษ์ทอง และสุดา  เกียรติกำจรวงศ์. การดัดแปรยางธรรมชาติด้วยวิธีทางเคมี : การทบทวนวรรณกรรมอย่างกระชับ.  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561].  เข้าถึงจาก : file:///C:/Users/SI4-22/Downloads/kmuttv40n4_1.pdf
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ เรื่อง การประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในอุตสาหกรรม (IR 39)
       [ออนไลน์]  [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR%2039.pdf
สุวดี  ก้องพารากุล. เทคโนโลยีการดัดแปรยางธรรมชาติและการประยุกต์ใช้ (Natural rubber modification technology and its applications).  [ออนไลน์] 
       [อ้างถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561].  เข้าถึงจาก : http://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_41_No_3_P_567-581.pdf