ข้อมูลวัฒนธรรม >> ศิลปะการแสดง
รำบายศรีหม่อนหม่อนไหม

วันที่ 28 พ.ย. 2560

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ) 
          บายศรีสู่ขวัญหม่อน(ม้อน) วิธีการในการสู่ขวัญขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นหลังจากที่เอาตัวหม่อนที่เข้าฝักมาแล้วก็ปล่อยให้มันออกจากฝักมาเป็นตัวบี้ซึ่งตัวบี้นี้ต่อมาก็จะออกไข่ พอ ๗-๘ วันก็จะฟักเป็นตัวหม่อน (ม้อน) เล็กๆ จากนั้นคนเลี้ยงก็จะเอาใบหม่อนอ่อนที่ล้างสะอาดซอยเป็นเส้นเล็กๆ มาให้ตัวหม่อนกิน เมื่อตัวหม่อนกินอิ่มก็จะปัสสาวะ จากนั้นก็เปลี่ยนอาหารใหม่ ซึ่งเปลี่ยนครั้งที่ ๑นี้ เรียกว่านอนหนึ่ง เปลี่ยนครั้งที่ ๒ เรียกนอนสอง เปลี่ยนครั้งที่ ๓ เรียกว่านอนสาม ซึ่งในช่วงนอนสามจะเป็นช่วงที่ทำการสู่ขวัญให้ ซึ่งจะมีการเตรียมเครื่องบายศรีชั้นเดียวอาจเป็นพานเล็กวางอยู่ด้านหน้ากระด้งหรือจ่อเลี้ยงไหม "ตัวม้อนเป็นสัตว์ที่มีคุณต่อคนเรามาก เพราะเขาทำฝักไหมให้เราได้มาทำเป็นเสื้อผ้าใส่ ทั้งนี้ก่อนที่ได้เส้นไหมมานั้นจะต้องเอาไปต้มก่อน คนอีสานก็กลัวบาปก็เลยสำนึกบุญคุณตัวหม่อนจึงตอบแทนคุณด้วยการสู่ขวัญให้ เพื่อเป็นการขอขมาและเสริมขวัญให้ตัวหม่อนมีขวัญกำลังใจดีเพื่อที่จะได้ค้ำได้คูณผลิตฝักไหมใหญ่ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวอีสานที่สืบทอดกกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายที่ไม่ลืมพระคุณของหม่อน(ม้อน) ที่ใช้ประโยชน์กับชาวอีสานมากมายหลายประการพิธีการสู่ขวัญหม่อน (ตัวหม่อน) ม้อนเป็นสัตว์ตัวอ่อนชนิดเดียวที่ชักใยออกมาเป็นรังไหม ซึ่งชาวบ้านสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มหม่อน(ม้อน)เป็นสัตว์ที่มีคุณแก่คน และทำให้ผู้เลี้ยงขายเส้นไหมได้เงินทองและนำมาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มดังความเชื่อที่ว่าการสู่ขวัญให้หม่อน(ม้อน) จะส่งผลให้หม่อน(ม้อน)มีหนังหนาดังเปือกพ้าว (เหมือนเปลือกมะพร้าว) เครื่องเซ่นพาขวัญหรือบายศรี ๑ ข้าวต้ม ๒ ใบหม่อน ๓ ผ้าขาวม้า ๔ ซิ่นทิวไหม ๕ โสร่งไหม ๖ มะพร้าว ๗ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ตกแต่งด้วยดอกไม้สวยงามแล้วนำไปสู่ขวัญให้กับหม่อน(ม้อน)ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่สำคัญคู่กับวิถีชีวิตของชาวอีสานที่จะเลือนหายไปจากชาวอีสานจึงต้องมีการสืบทอดวิธีกรรมนี้ไว้แก่ชนรุ่นหลังต่อไปจึงได้มีการแสดงฟ้อนสู่ขวัญหม่อน(ม้อน)ขึ้นเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมการสู่ขวัญหม่อน(ม้อน)ตลอดจนรำบายศรีสู่ขวัญเป็นการรำเพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนตำบลเมืองหลวงที่ผูกพันกับวิถีชีวิตการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมการทอผ้าไหมเก็บแล้วนำมาย้อมมะเกลือ ซึ่งท่วงท่าการร่ายรำต่างๆแสดงให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในพื้นถิ่นนั้นก็คือเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาวตำบลเมืองหลวงซึ่งนำมาดัดแปลงเป็นท่ารำนั้นเอง โดยมีอุปกรณ์ในการแสดงดังนี้ ๑. เสียม ๒. ต้นหม่อน ๓. ตะกร้าเก็บใบหม่อน ๔. การปลูกหม่อน ๕. การเลี้ยงหม่อน ๖. การสาวไหม ๗. การฟอกเส้นไหม ๘. การกวักเส้นไหม ๙. การมัดหมี่ ๑๐. การย้อมสีเส้นไหม ๑๑. การทอผ้า เป็นการขอขมาลาโทษตัวม้อน (หม่อน) เพราะก่อนที่จะได้เส้นไหมมาจะต้องเอาตัวหม่อนไปต้มเสียก่อน คนอีสานกลัวบาปเลยจัดทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ตัวหม่อน เพื่อเป็นการขอขมาและเสริมขวัญให้ตัวหม่อนมีขวัญกำลังใจดี จะได้คำ้คูณผลิตฝักไหมใหญ่ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนอีสาน
 
อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น)
          ท่วงท่าการร่ายรำแสดงถึงวิถีชีวิตความผูกพันของคนอีสานกับการเลี้ยงไหม การทอผ้า
 
ความสำคัญและคุณค่าทางสังคมและทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ
          เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนมีความเกรงกลัวต่อบาปและสำนึกบุญคุณสัตว์ที่ให้คุณกับเราไม่เฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่สร้างคุณประโยชน์ให้ และเป็นการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนชนบทอีสานผ่านท่วงท่าการร่ายรำที่บ่งบอกถึงความผูกพันและการดำเนินชีวิตของคนอีสานกับการเลี้อยงไหม การทอผ้า
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic
pic

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว



ปฏิทินกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
« พฤษภาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ (อาคารศาลาประชาคม) ถนนเทพา อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๓๓๐๐๐ โทร.๐-๔๕๖๑-๗๘๑๑-๑๒

สายด่วนวัฒนธรรม
Copyright © 2015 m-culture.go.th กระทรวงวัฒนธรรม