ประวัติระบำอัปสรา
สมาชิกเลขที่58067 | 19 ส.ค. 54
28.2K views

สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะนารีรัตน์ พระราชมารดาของเจ้าสีหนุ พระนางทรงทำนุบำรุงการละครเขมรให้รุ่งเรือง พระนางจึงทรงเป็นพระมารดาแห่งนาฏศิลป์กัมพูชาก็ว่าได้

ระบำอัปสราเกิดขึ้นด้วยคุณูปการของพระนาง โดยนางอัปสราตัวเอกองค์แรกคือเจ้าหญิงบุพผาเทวี พระราชธิดาในเจ้าสีหนุ เป็นระบำที่กำเนิดขึ้นเพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดที่กำกับโดย Marchel Camus ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า L"Oiseau du Paradis ก็คือ The Bird of Paradise หลังจากนั้นระบำอัปสราก็เป็นระบำขวัญใจชาวกัมพูชา ใครได้เป็นตัวเอกในระบำอัปสรานั้นเชื่อได้ว่าเป็นตัวนางชั้นยอดแห่งยุคสมัย



นครวัดเป็นอุดมคติแห่งชาติกัมพูชา นางอัปสราในนครวัดก็เป็นอุดมคติแห่งสตรีเขมร ดังนั้นการชุบชีวิตนางอัปสราออกมาเป็นระบำระดับชาตินั้นมีความหมายในเชิงชาติพันธุ์นิยม เพื่อให้เข้าถึงสัญลักษณ์สูงสุดแห่งสตรีแขมร์ ระบำอัปสรามีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการอิงบนความยิ่งใหญ่ของนครวัด และระบำอัปสราก็จำลองภาพสลักที่แน่นิ่งไร้ความเคลื่อนไหวในนครวัดให้หลุดออกมามีชีวิต

ดอกไม้เหนือเศียรนางอัปสราส่วนใหญ่ในปราสาทนครวัดคือดอกฉัตรพระอินทร์ เนื่องจากรูปทรงของดอกชนิดนี้พ้องกันกับภาพสลัก เขมรเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเสนียดสก" เสนียด คือสิ่งที่เอามาเสียด และสก คือผม ชื่อของดอกไม้บ่งบอกว่าเป็นดอกสำหรับเสียดผม เข้าใจว่าสมัยโบราณสตรีชั้นสูงของเขมรคงประดับศีรษะด้วยดอกไม้หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือดอกฉัตรพระอินทร์ ดังหลักฐานภาพสลักนางอัปสราที่พบในปราสาทหินขอม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของช่างสลักจากที่ได้เห็นของจริง

นาฏศิลป์ของเขมรนั้นมีดีอยู่อย่าง คือคนที่มารำไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนต้องได้รับฝึกมาเป็นอย่างดีก่อนขึ้นเวที และมักเป็นนักเรียนนาฏศิลป์โดยตรง หามีซ้อมก่อนออกงานเดือนสองเดือนแล้วขึ้นเวทีไปควักกะปิให้คนดูรำคาญตารำคาญใจอย่างใดไม่ 






ระบำนางอัปสราในปัจจุบัน ในรูปแบบเดียวกันกับภาพสลักปราสาทขอมโบราณ

ภาพนางอัปสราที่ร่ายรำอยู่แทบทุกปราสาท แต่อัปสราทุกนางจะไม่ยิ้มเห็นฟัน แม้แต่นางรำที่แสดงให้เราดูเวลารำก็จะไม่ยิ้มเลย แต่จะมีอัปสราอยู่สามนาง ที่มีลักษณะพิเศษ คือ



นางหนึ่งจะยิ้มเห็นฟันอยู่ที่โคปุระชั้นแรก 



นางที่สองจะแลบลิ้นเห็นเป็นสองแฉกอยู่บนประสาทชั้นสูงสุด 



และนางที่สามจะนุ่งมินิสเกิร์ต เป็นผ้านุ่งเหนือเข่า น่าจะเป็นอารมณ์ขันของผู้แกะสลักเหมือนจิตรกรรมฝาผนัง

ท่ารำ


เนียงอัปสราดำเนิร ( นางอัปสรก้าวเดิน)


เนียงอัปสราเปือดขาง ( นางอัปสรบิดข้าง)


เนียงอัปสราอาตึสเตียน (นางอัปสรอธิฐาน)



เนียงอัปสราจูนปอร (นางอัปสรส่งพร)


เนียงอัปสราบังกมกรอม (นางอัสรบังคมล่าง)


เนียงอัปสราลืกว็องมุขประกับ (นางอัปสรตั้งวงหน้าคว่ำ)


เนียงอัปสราลืกว็องมุข (นางอัปสรตั้งวงหน้า)


เนียงอัปสราลืกว็องบันตูล (นางอัสรตั้งวงทูล)


เนียงอัปสราอรฤเตือย (นางอัปสรดีใจ)


เนียงอัปสราโจลรูป (นางอัปสรเข้ารูป)


เนียงอัปสราจอลกรอย (นางอัปสรทิ้งข้างหลัง)


เนียงอัปสราลืกว็องมุขประหาล (นางอัปสรตั้งวงหน้าหงาย)


เนียงอัปสราเฮาะเฮิร (นางอัปสรเหาะเหิร)


เนียงอัปสราสำแดง (นางอัปสรแสดง)




ระบำอัปสรา สมัยตอนที่พระธิดาของพระเจ้าสีหนุ รำ

Share this