สารสกัดจากเสาวรส (Passion Fruit Extract)

ยับยั้งเชื้อรากับแบคทีเรีย และช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
เสาวรส หรือกะทกรกฝรั่ง (Passion fruit) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Passiflora edulis f. flavicarpa O. Deg. (พันธุ์สีเหลือง) หรือ Passiflora edulis Sims. (พันธุ์สีม่วง) อยู่ในวงศ์ Passifloraceae มีถิ่นกำเนิดเขตร้อนของพื้นที่สูงแถบอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีการปลูกมากในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออก เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ และชลบุรี โดยเริ่มจากสถานีเกษตรต่างๆ เช่น สถานีเกษตรหลวงปางดะ, อินทนนท์, ห้วยลึก และแม่ลาน้อย ในทางตำรับสมุนไพรมีการนำผลของเสาวรสไปใช้ในการช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต และช่วยในการระบายได้ รากเสาวรสนิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการไข้ บรรเทาอาการผื่นคัน เป็นยาถ่ายพยาธิโดยคุณค่าทางโภชนาการของเสารสประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไฟเบอร์ Niacin Pyridoxine Riboflavin และ Folates

องค์ประกอบทางเคมีของเสาวรส

องค์ประกอบทางเคมีของเสาวรส ได้แก่ Alkaloids, Harman, Harmine, Harmalol, Harmine, Phenols, Glycosyl flavonoids, Glycosides, Cyanogenic. Myristic acid, Palmitic acid, Dihydromethysticin และ Rutin จึงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) และการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) มีฤทธิ์ในการช่วยในการลดความวิตก (Anti-anxiety) ลดความดันโลหิต (Antihypertensive) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (Anti-diabetes) และลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) และลดปริมาณคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Antimicrobial activity) เช่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา วิตามินซีในเสาวรสยังมีผลให้การดูดซับเหล็กได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มระดับ Hemoglobin ในเลือด
สารสกัดเสาวรส-(Passion-Fruit)
สารสกัดเสาวรส-(Passion-Fruit)2

การประยุกต์ใช้สารสกัดจากเสาวรสในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industries)

 สารสกัดจากเสาวรสมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation) โดยมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่ามะม่วง สัปปะรด กล้วย และลิ้นจี่ มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) ผ่านกลไกการลดระดับ Pro-inflammatory เช่น IL-1β และ TNF-α และยับยั้ง Leukocytes ที่เหนี่ยวนำโดย Bradykinin และ Histamin มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Salmonella enteritidis, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Bacillus cereus การยับยั้งเชื้อรา เช่น Candida albicans, Candida parapsilosis และ Saccharomyces cerevisiae

การประยุกต์ใช้สารสกัดจากเสาวรสในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industries)

สารสกัดจากเสาวรสมีองค์ประกอบของ Polyphenols และ Anthocyanin จึงมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต (Anti-hypertensive activity) ผ่านกระบวนการลดปัจจัยที่ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ, ลดระดับปริมาณ Nitric oxide ช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการลดย่อยและการดูดซึมของสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ช่วยในการผ่อนคลาย (Sedative) โดยมีผลทำให้ระยะเวลาการนอนหลับเพิ่มขึ้นและระบบประสาทผ่อนคลาย และเนื่องจากเสาวรสมีวิตามินเอและวิตามินซีสูงจึงผลในการยับยั้งสารอนุมูลอิสระจึงมีผลในการยับยั้งเนื้อร้าย (Anti-cancer activity) อีกทั้งไฟเบอร์ในเสาวรสยังช่วยในการขับถ่าย
สารสกัดเสาวรส-(Passion-Fruit)

คุณสมบัติของสารกสัดเสาวรส

Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Immunity

เสริมสร้างภุมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
Anti-inflammatory ในสารสกัดใบบัวบก

Anti-inflammatory

บรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ

 

Amti-axiety.jpg

Anti-anxiety

ช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยผ่อนคลายความเครียด

 

Anti-diabetes

Anti-diabete

ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสารสกัดจากเสาวรส

ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบสารสกัดจากเสาวรสและผลิตภัณฑ์จากเสาวรสเพื่อเพิ่มความคงตัวให้กับสารสกัด หรือการพัฒนาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการในการสกัด และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ให้กับสารสำคัญ โดยปัจจุบันบริษัท TIBD ได้มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างๆ ชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศบราซิล ในการพัฒนางานวิจัยและสารสกัดจากธรรมชาติ ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจร่วมลงทุน ในรูปแบบการพัฒนางานวิจัย พัฒนาสิทธิบัตรทางการค้า หรือต่อยอดผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของท่าน สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง

 

Reference

Patel, S. S. (2009). Morphology and pharmacology of Passiflora edulis: a review. Journal of Herbal medicine and Toxicology3(1), 1-6.

Phamiwon, Z. A. S., & John, S. (2015). Diabetes and medicinal benefits of Passiflora edulis. World Journal of Pharmaceutical Research5(3), 453-65.

López-Vargas, J. H., Fernández-López, J., Pérez-Álvarez, J. A., & Viuda-Martos, M. (2013). Chemical, physico-chemical, technological, antibacterial and antioxidant properties of dietary fiber powder obtained from yellow passion fruit (Passiflora edulis var. flavicarpa) co-products. Food Research International51(2), 756-763.

He, X., Luan, F., Yang, Y., Wang, Z., Zhao, Z., Fang, J., … & Li, Y. (2020). Passiflora edulis: an insight into current researches on phytochemistry and pharmacology. Frontiers in pharmacology11, 617.

สอบถามเกี่ยวกับสารสกัดจากเสาวรส (Passion Fruit Extract)

กรอกข้อมูลของคุณในแบบสอบถามด้านล่างเพื่อติดต่อเรา ทางเราจะตอบกลับให้เร็วที่สุด