SlideShare a Scribd company logo
1 of 54
Download to read offline
1
2
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระนาฏศิลป์ )
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101
ชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง
โดย
นางเย็นจิตร บุญศรี
ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชานาญการ
โรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
3
ข้าพเจ้า นายไพสิน นกศิริ ผู้อํานวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา สังกัดองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสระแก้ว ขอรับรองว่าชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง นี้ เป็นนวัตกรรม
ที่ นางเย็นจิตร บุญศรี ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูชํานาญการ โรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา ได้จัดทําและใช้ประกอบการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนจริง
นายไพสิน นกศิริ
ตําแหน่งผู้อํานวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา
คํารับรองของผู้บริหาร
4
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ ) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5
รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา
นาฏศิลป์ ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว โดยได้รวบรวมและสรุปเนื้อหาสาระจากหนังสือและ
แหล่งข้อมูลต่างๆพร้อมรูปภาพมาจัดทํา เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ ซึ่งนักเรียนสามารถนําไปศึกษาเพิ่มเติมทั้งในห้องเรียน
และนอกห้องเรียน ได้ในโอกาสต่อไปชุมชน ซึ่งเอกสาร มีทั้งหมด 4 ชุด
ชุดที่ 1 บุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ และการแสดง
ชุดที่ 2 การอนุรักษ์นาฏศิลป์ ไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดที่ 3 การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์
ชุดที่ 4 การประดิษฐ์ท่ารําสร้างสรรค์ ชุดเซิ้ง ปลูกอ้อย
สําหรับเล่มนี้เป็นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระนาฏศิลป์ ) ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1 ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
1.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย
3.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน
4.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง
ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการศึกษาอ่านเพิ่มเติมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ต่อไปในโอกาสต่อไป
คานา
เย็นจิตร บุญศรี
5
เรื่อง หน้า
คู่มือครู 6
คู่มือนักเรียน 10
ใบความรู้ที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 12
ใบความรู้ที่ 1. 2 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 20
ใบความรู้ที่ 1.3 ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 37
ใบความรู้ที่ 1.4 ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง 41
แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ตอนที่ 1 53
แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ตอนที่ 2 55
เฉลย แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ 56
บรรณานุกรม 61
ประวัติผู้จัดทํา 62
สารบัญ
6
คาชี้แจงสาหรับครู
1.ส่วนประกอบในชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เล่มที่ 1 ประกอบด้วย
1.1 คู่มือครู
1.2 คู่มือนักเรียน
1.3 ใบความรู้
1.4 แบบฝึกหัด
1.5 แบบทดสอบท้ายชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ( ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ)
2. ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเรียน
ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง ดังนี้
2.1 .ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2.2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย
2.3.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน
2.4.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง
คู่มือครู
7
คําชี้แจง ให้ครูผู้สอน ดําเนินกิจกรรมดังนี้
1. ศึกษาชุดการสอน ประกอบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ สาระสําคัญ จุดประสงค์การ
เรียนรู้ สาระการเรียน การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล
ประกอบชุดการสอนประกอบการเรียนให้เข้าใจ
2. ศึกษา ตรวจสอบและเตรียมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เครื่องมือ และ
ประเมินผล ประกอบชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ให้เข้าใจ
3. ก่อนสอน ครูควรชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของผู้เรียน และกําหนดข้อตกลง ร่วมกัน
4. ขั้นตอนการสอนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ 2 สอน (กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ / กระบวนการสอนแบบอภิปราย /
กระบวนการสอนแบบสืบสวนสอบถาม / กระบวนการสอนแบบบรรยาย / กระบวนการสอนแบบ
ศึกษาด้วยตนเอง / กระบวนการสอนแบบโซเครติส)
ขั้นที่ 3 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะบูรณาการภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม
ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้แล้ว
ขั้นที่ 5 ขั้นให้นักเรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆเป็นทักษะที่สมบรูณ์
ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผล
5. ควรดูการทํางานขณะปฏิบัติกิจกรรมในชุดการสอนนี้อย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดปัญหา ครูควรเป็น
ที่ปรึกษา หรือให้คําแนะนํา ในการแก้ไขในการเรียนได้ทันที โดยเน้นให้นักเรียนได้ร่วม ร่วมปฏิบัติ
และสรุป และ ประเมินผล
6. สรุปคะแนนลงในแบบสรุปคะแนนในแบบบันทึกการเรียนรู้ของแต่ละชุด
7. หลังจากที่นักเรียนดําเนินชุดการสอนประกอบการเรียนรู้นี้เรียบร้อยแล้วทําการทดสอบ
ภาคปฏิบัติ
8. ทําแบบประเมินผลการเรียนเพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการก้าวหน้าทางการเรียน
ของนักเรียน
บทบาทของครูผู้สอน
8
สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. ครูตรวจชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ให้มีครบทุกกิจกรรม เช่น
1.1 บัตรเนื้อหา
1.2 บัตรคําสั่ง บัตรกิจกรรม พร้อมอุปกรณ์สื่อ ซีดี ประจํา ชุดการ
สอน แผนการจัดการเรียนรู้
1.3 แบบทดสอบประจําชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ พร้อมเฉลย
1.4 แบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม
2. ห้องเรียนกว้างและโล่งสําหรับการปฏิบัติการทํางานกลุ่ม
3. สื่อที่ใช้ประกอบชุดการสอนกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น
3.1 แผ่นภาพบุคคลสําคัญ
3.2 ที่ตั้งวางภาพ
3.3 อุปกรณ์บทบาทสมมติ
9
การประเมินผลการเรียน
1. ประเมินจากการสังเกต
2. ประเมินจากการอภิปรายกลุ่ม
3. ประเมินจากการสัมภาษณ์
4. ประเมินจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียน
5. ประเมินจากการทําแบบทดสอบ ท้ายชุดการสอน
ประกอบการเรียนรู้
6. ประเมินจากทักษะในการปฏิบัติ ( วัดทักษะ ภาคปฏิบัติ)
7. ประเมินผลงานจากความสําเร็จจากการปฏิบัติ
10
คาชี้แจงสาหรับนักเรียน
1ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
2.จุดประสงค์การเรียนรู้ของชุดการสอนประกอบการเรียนรู้
1. นักเรียนจําแนกประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย(K)
2. นักเรียนแสดงความคิดเห็น สรุปความสําคัญของบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย(P)
3. ตอบคําถามความสําคัญเกี่ยวกับเรื่องประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ ไทย(A)
3. นักเรียนรับชุดการสอนประกอบการเรียนรู้
3.1 คู่มือนักเรียน
3.2 บัตรเนื้อหาได้แก่
3.2.1 บัตรเนื้อหาที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
3.2.2 บัตรเนื้อหาที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
3.2.3 บัตรเนื้อหาที่ 1. 2 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย
3.2.4 บัตรเนื้อหาที่ 1.3 เรื่องประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน
3.2.5 บัตรเนื้อหาที่ 1.4 เรื่องประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง
3.2.6 แบบฝึกหัด ตอนที่ 1 ตอนที่ 2
คู่มือนักเรียน
ร่วมกันเรียนรู้ไปกับชุดการสอนประกอบการ
เรียนรู้เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์ และการ
แสดง ฝึกการเข้าใจเชิญฝึกไปพร้อมๆกันกับพวกเรานะ
ค่ะ
11
คําชี้แจง ให้นักเรียนดําเนินการในชุดการสอนชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการ
แสดง ดังนี้
1. ศึกษาสาระสําคัญ จุดประสงค์ กิจการเรียนรู้ และประเมินผล
สาระสาคัญ
นาฏศิลป์ ไทยมีประวัติอันยาวนานคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้มีการสืบทอดจากบุคคลหลายรุ่นเป็น
การอนุรักษ์ไม่ให้สูญหายจึงจําเป็นต้องเข้าใจประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ ไทยตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดง
ละครไทย ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง
กิจการเรียนรู้ของนักเรียนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ 2 เรียนรู้ (กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการเรียนแบบสืบสวนสอบถาม /
กระบวนการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง )
ขั้นที่ 3 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะบูรณาการภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม พลศึกษา
ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้แล้ว
ขั้นที่ 5 ขั้นให้นักเรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆเป็นทักษะที่สมบรูณ์
ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผล
3.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนจําแนกประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย
2. นักเรียนเขียนสรุปความสําคัญของบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย
3. ตอบคําถามเกี่ยวกับเรื่องประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ ไทย
บทบาทของนักเรียน
ประเมินผล
1. ประเมินจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียน
2. ประเมินจากการทําแบบทดสอบ ท้ายชุดการสอนประกอบการเรียนรู้
3. ประเมินจากทักษะในการปฏิบัติ ( วัดทักษะ ภาคปฏิบัติ)ประเมินผลงานจากความสําเร็จ
12
นาฏศิลป์ ไทยมีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะมีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับ
ลูกศิษย์จากรุ่นต่อร่น
1.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย
3. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน
4. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง
บัตรเนื้อหาที่ 1.1 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง
1.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
1.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงนาฏศิลป์ ไทย
13
เจ้าอยู่หัว ได้รับการฝึกหัดให้แสดงละครดึกดําบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติ
วงศ์ หม่อมต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็นอย่างดีเยี่ยมเคยแสดงมาแล้วแทบทุกบทบาท ในสมัยรัชกาลที่
7 ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพ ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละครดึกดําบรรพ์ตัวนาง เมื่อมีการยุบกระทรวงวัง ก็ออก
จากราชการ แต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปัจจุบัน) กรมศิลปากร หม่อมต่วนก็
ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู ตั้งแต่ พ.ศ.2478 ได้รับความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย จนได้รับการยกย่อง
ด้วยความนับถือว่า ‚หม่อมครูต่วน‛ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‚ศุภลักษณ์‛
เนื่องจากเคยรับบทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
สิริรวมอายุได้ 73 ปี 4 เดือน 14 วัน
1.1 หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก
นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ชื่อเดิม ต่วน เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น 1
คํ่าเดือน 8 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2462 ณ บ้านเหนือ
วัดทองธรรมชาติ อําเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก
ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลําไย เป็น
ชาวพระนครศรีอยุธยา
นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 5 คน หม่อมครู
ต่วนมีความสนใจในด้านละครและเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่ อายุ 9 ขวบ
ฝึกหัดเป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดาของพระยาวชิต
ชลธาร (ม.ล. เวศน์ กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝน
จนสามารถแสดงเป็นตัวนางได้อย่างดี และเป็นที่เมตตาปราณีของท่าน
เจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี
ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์
หม่อมต่วนรับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่อง
เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระ
หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก
ที่มาของภาพ : www.changrum.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
1.1 หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก
ที่มาของภาพ : www.monnut.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
14
1.2 ครูมัลลี คงประภัศร์
ที่มาของภาพ : www.theart.pimkong.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์มีนามเดิมว่า ‚ปุย‛ เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ
นายกุกและนางนวม ช้างแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2426 มีภูมิลําเนา
อยู่ที่บ้านปากคลองวัดรั้วเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดประยุรวงศาวาส) อําเภอบางกอก-
ใหญ่ จังหวัดธนบุรี
เมื่อเด็กหญิงปุยอายุ 8 ขวบบิดาก็เสียชีวิต นางนวมผู้เป็นมารดาจึงได้
สมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานประจําห้องเสวยของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ฯได้
พาเด็กหญิงปุยไปอยู่ด้วย เด็กหญิงปุยได้มีโอกาสชม
ละครรําของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ฯ ที่เข้าไปแสดงประจํา
ในวังหลวงจึงมีความหลงใหลพอใจในบทบาทของตัว
ละครมากจนถึงกับแอบหนีมารดาติดตามคณะละครเจ้า
ขาวไปได้รับการฝึกสอนจาก ‚หม่อมแม่เป้า‛ ครูละคร
คนสําคัญของวังเจ้าขาว แม้มารดาจะมารับตัวกลับ แต่เด็กหญิงปุยก็ไม่ยอมขออยู่หัดละครให้ได้จนมารดายอมแพ้ ให้หัด
ละครอยู่ในวังเจ้าขาว(ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) เมื่ออายุ 10 ขวบได้มีโอกาสไปแสดงในงานต่างๆ
มากมาย ครั้งหนึ่งได้แสดงหน้าพระที่นั่งเป็นตัว ‚สมันน้อย‛ ในละครเรื่องดาหลัง ปรากฏว่าเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ จนทรงจําได้และเรียกเด็กหญิงปุยด้วยความเอ็นดูว่า ‚ไอ้หมัน‛จนเป็นเหตุให้ใครต่อ
ใครเรียกตามกันจนเคยชิน และเจ้าตัวก็พอใจชื่อใหม่นี้ เพราะถือเป็นมงคลนาม ได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงแก่กรรม
ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ก็ได้กราบทูลขอลาออกมาแต่งงานกับนายสม คงประภัศร์ โดยยังยึดอาชีพรับจ้างแสดงละคร
ตามปกติ ต่อมาประมาณปีพ.ศ.2477 เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนยาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา หม่อมครูต่วนและ
อาจารย์ละม่อม วงทองเหลือง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ได้มาชักชวน ‚ครูหมัน‛ ให้ไปช่วยสอนนักเรียน
หว่านล้อมนานพอสมควร แม่ครูหมันจึงยอมไปสอน หม่อมครูต่วนจึงพาไปพบกับหลวงวิจิตรวาทการและสมัครเข้ารับ
ราชการเป็นศิลปินชั้น 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2477 ทําหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แม่ครูหมันได้ร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ประดิษฐ์ท่ารํา แม่บทใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในหลักสูตรสอนนักเรียนและใช้
มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่รับราชการเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ครูหมันปฏิบัติหน้าที่ด้วยดี
ตลอดมา ท่านได้รับราชการจนกรทั่งอายุ 80 ปี จึงได้ถูกเลิกจ้างเพราะได้มีอาการหลงลืม ในวาระสุดท้ายแม่ครูหมันได้ถึง
แก่กรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สิริรวมอายุได้ 89 ปี
1.2 ครูมัลลี คงประภัศร์
15
คุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งครูลมุลได้ความรู้เกี่ยวกับ
นาฏยศิลป์ ล้านนาและพม่า ครูลมุลได้นําคณะละครไปแสดงที่เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร อยู่ 1 ปี ซึ่งคงได้
ประสบการณ์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของเขมรมาบ้าง ต่อมาเข้ารับราชการเป็นครูแผนกนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และ
ทํางานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ผลงานนาฎยประดิษฐ์ของครูลมุล ยมะคุปต์
พ.ศ. 2477-2525 มากกว่า 50 ชุด แบ่งได้เป็น 6 ประเภท คือ
1. ระบําที่ยึดแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย
2. ระบําที่ผสมผสานทั้งอาศัยและไม่ได้อาศัยแบบแผนนาฏยศิลป์ ไทย
3. ระบําจากภาพแกะสลักโบราณคดี
4. ระบําประกอบเครื่องดนตรี
5. ระบํากํา-แบ
6. ระบําเลียนแบบท่าทางของสัตว์
ผลงานเหล่านี้ผู้วิจัยพบว่ามี 2 แนว คือ แนวอนุรักษ์และแนวพัฒนา ระบําพม่า-
มอญ ที่ผู้วิจัยใช้เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นระบําประเภทผสมผสานลักษณะท่ารําของพม่าและ
ท่ารําของมอญ ท่ารําของมอญในละครพันทาง ท่ารําของพม่าในละครพันทาง
ท่ารําของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาทางภาคเหนือ ระบําพม่า-มอญเป็นระบําในละครพันทาง
1.3 คุณครูลมุล ยมะคุปต์
ประวัติ
นางลมุล ยมะคุปต์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะขนาน
นามให้ท่านด้วยความเคารพรักอย่างยิ่งว่า “คุณแม่ลมุล” เป็นธิดาของร้อยโท
นายแพทย์จีน อัญธัญภาติ กับ นางคํามอย อัญธัญภาติ (เชื้อ อินต๊ะ) เกิดเมื่อ
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2448 ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงคราม
ปราบกบฏเงี้ยว (กบฏ จ.ศ.1264 ปีขาล พ.ศ. 2445)
(พ.ศ. 2448-2525) เกิดที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาได้พามา
ถวายตัวเป็นละครที่วังสวนกุหลาบ และที่วังสวนกุหลาบ ครูลมุลได้ความรู้ทาง
ละครในรูปแบบของละครนอก ละครในและละครพันทาง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่
วังเพชรบูรณ์ และได้ความรู้ในเรื่องของละครดึกดําบรรพ์
เมื่อออกจากวังเพชรบูรณ์ ครูลมุลได้สมรสกับครูสงัด
ยมะคุปต์ และได้ขึ้นไปเป็นครูสอนละครที่เชียงใหม่ใน
1.3 คุณครูลมุล ยมะคุปต์
ที่มาของภาพ : www. sites.google.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
16
1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช
นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2447
การศึกษาได้เรียนวิสามัญระดับประถม ศึกษา ที่โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้าน
มีความรู้พอ อ่านออกเขียนได้เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ มารดาได้พาไป
ฝากไว้ให้อยู่ในความอุปการะของคุณ หญิงจรรยายุทธกิจ
ได้รับบทเป็นตัวนางตามความถนัด เช่น ละครใน เรื่อง
อิเหนา รับบทเป็น ประไหม สุหรี มะเดหวี (เอี่ยม ไกรฤกษ์) ต่อมา ได้
ติดตามไปอยู่กับคุณท้าวนารีวรคณา รักษ์ (เจ้าจอมแจ่มในรัชกาลที่ 5) ซึ่ง
เป็นพี่สะใภ้ของคุณหญิงจรรยาฯ เพื่อฝึก หัดละครเมื่อได้มาอยู่กับคุณท้าว
นารีฯ ณ วังสวนกุหลาบแล้วนายเฉลยก็ได้มีโอกาส ฝึกหัดละคร
จนกระทั่งได้รับ การถวายตัวกับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา
และได้อยู่ใน ความดูแลรับการฝึกฝนเป็นพิเศษจากท่านครูและท่าน
ผู้ชํานาญการละครอีกหลายท่าน การทํางาน ต่อมาได้มีโอกาส แสดงละคร
ประเภทต่างๆเช่น ละครนอก ละครใน และ ละครดึกดําบรรพ์โดยได้รับ
บทเป็นตัวเอก ของเรื่องแทบทุกครั้งจนกระทั่งอายุได้21 ปี จึงได้สมรส
กับพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวณิช) ซึ่งดํารงตําแหน่งเจ้ากรมกอง
ผลประโยชน์ พระคลังข้างที่ หลังจากสมรส สามีขอร้องให้ เลิกการแสดง
ท่านจึงต้องอําลาจากเวทีละครและ ปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านเพียงอย่างเดียว
นางเฉลยมี บุตรและธิดากับพระยาอมเรศร์สมบัติ 4 คน และ เมื่ออายุ 43 ปี
พระยาอมเรศร์สมบัติผู้สามีถึง แก่อนิจกรรม นางเฉลยจึงได้กลับคืนมาสู่
วงการนาฏศิลป์ อีกครั้งหนึ่ง
นางเฉลย ศุขะวณิช เข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2500 ขณะ มีอายุ
53 ปี ในตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรม
ศิลปากร
-เรื่องอุณรุท รับบทเป็น ศุภลักษณ์
-เรื่องรามเกียรติ์ รับบทเป็น ชมพูพาน และหัวหน้า
รากษส ละครนอก
1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช กับความภูมิใจ/ รางวัลสําคัญ
ที่มาของภาพ : www.culture.go.th
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
17
-เรื่องสังข์ทอง รับบทเป็น มณฑา จันทา
-เรื่องคาวี รับบทเป็น คันธมาลี เฒ่าทัศ ประสาท
-ได้คิดและประดิษฐ์ท่ารําและระบําใหม่ ๆ ร่วมกับนางลมุล ยมะคุปต์ ขึ้นหลายชุดเช่น
-ระบํากินนร รําประกอบเพลงหน้าพาทย์กินนร (ในละครดึกดําบรรพ์เรื่อง จันทกินรี) แสดงเป็นครั้ง
แรกในงานปิดภาคเรียน ณ หอประชุมโรงเรียนนาฏศิลป์ พ .ศ. 2508
-ระบําโบราณคดี 4 ชุด คือ ระบําทวารวดี ระบําศรีวิชัย ระบําลพบุรี และเชียงแสน จากผลงานต่าง ๆ นี้
ทําให้นางเฉลย ศุขะวณิช ได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เช่น ได้รับเครื่องราชอิสริยารณ์ตริตรา
ภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
-พ.ศ. 2525 ไดรับพระราชทานโล่เกียรติคุณด้านนาฏศิลป์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกมาร เนื่องในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
การสั่งสมประสบการณ์
1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช ตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
ที่มาของภาพ : www.culture.go.th
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
18
การสั่งสมประสบการณ์
เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ ออกแบบนาฏศิลป์ ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร เป็นศิลปินอาวุโส ซึ่ง
มีความรู้ความสามารถสูง ในกระบวนท่ารําทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนเก่า และยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์
ผลงานด้านนาฏศิลป์ ขึ้นใหม่มากมาย ซึ่งกรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์ ทั่วประเทศได้ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะการ
ร่ายรําสืบทอดต่อมาจน ถึงทุกวันนี้ ทางราชการได้มอบหมายให้ เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียน การสอน
วิชานาฏศิลป์ ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงขั้น ปริญญา นิเทศการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทุกสาขาทั้งใน ส่วนกลางและภูมิภาค
ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ แก่นักศึกษามาตลอดเวลากว่า 40 ปี จนถึงปัจจุบัน ให้คําปรึกษาด้านวิชาการแก่
สถาน ศึกษาและสถาบันต่าง ๆ เป็นผู้มีความเมตตาเอื้อ อารี อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์ อย่าง
ต่อเนื่อง จนสามารถแสดงให้แพร่หลายออกไป อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้รับปริญญาครุ
ศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช ตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
ที่มาของภาพ : www.culture.go.th
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
19
1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช กับ เนื้อหาสําหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สําหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4
ที่มาของภาพ : www.su-usedbook.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
20
นาฏศิลป์ ไทยมีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะมีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดความรู้
ให้กับลูกศิษย์จากรุ่นต่อร่น
เจ้าจอม หม่อมละคร ในกรุงรัตนโกสินทร์ อธิบายเจ้าจอม หม่อมละคร
เจ้าจอมหม่อมละคร เป็นคําที่หมายถึงสตรีในราชสํานักตั้งแต่ชั้นพระภรรยาเจ้า เจ้าจอมรวมถึงข้าราช
บริพารฝ่ายในที่ถวายตัวทําหน้าที่แสดงละครหลวงประดับพระเกียรติยศ และปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ด้าน
อื่นๆ ด้วย มีเบี้ยหวัดเงินปี มีทั้งกลุ่มที่เป็นพระภรรยาเจ้า อันได้แก่ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม และนางพนักงานที่
ทําหน้าที่ด้านการละครโดยเฉพาะ มีศักดิ์เป็นหม่อมละคร บ้างก็เรียกนําหน้านามว่า ‚หม่อม‛ หรือ ‚คุณ‛ ก็มี สตรี
เหล่านี้มีเกียรติศักดิ์เพราะเล่นหลวงประดับพระบารมี เฉกเช่นเดียวกับช้างเผือกซึ่งเป็นของสํารับกันกับละครผู้หญิง
ของหลวงหรือละครหลวง
สตรีเหล่านี้เมื่อเข้าวังมาแล้ว จะได้รับการฝึกหัดกิริยามารยาทแบบ ‚ชาววัง‛ หรือแบบ ‚ผู้ดี ต้องหัดอ่าน
เขียนหนังสือ หัดปรนนิบัติเจ้านาย หากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางการขับร้องฟ้อนรํา ก็อาจได้รับการ
สนับสนุนจากผู้อุปการะให้ได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน มีตําแหน่งหน้าที่ ได้รับเบี้ยหวัดเงินปี เช่นกัน และที่
สําคัญก็คือ อาจได้มีโอกาสเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าจอม หากเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย
ละครหลวงแห่งพระราชสานัก
นอกเหนือจากงานราชการที่เป็นหน้าที่ประจําแล้ว สตรีในราชสํานักยังใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ก็
เพื่อเป็นการถวายทรงพระสําราญอิริยาบถเมื่อเสด็จประทับอยู่ในฝ่ายใน ทั้งยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจให้กับชีวิตที่
ต้องจําอยู่แต่ในวัง กิจกรรมที่สําคัญของสตรีในพระราชสํานักฝ่ายใน คือ การละครฟ้อนรํา ซึ่งเป็นธรรมเนียมแต่
โบราณเพื่อถวายขับกล่อมพระมหากษัตริย์ให้สําราญพระราชหฤทัย โดยภายในวังหลวงนั้นจะมีกลุ่มนางละครและ
นักดนตรีเข้าถวายตัวอยู่เป็นจํานวนไม่น้อย และนางละครเหล่านี้ต่อมาหลายท่านก็ได้มีโอกาสถวายตัวเป็นเจ้าจอม
และมีการขยายงานด้านละครและดนตรีที่ตนถนัดให้กว้างขวางขึ้น กลายเป็นสํานักดนตรีและละครประจําวังไปใน
ที่สุด
บัตรเนื้อหาที่ 1.2 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง
2. ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงละครไทย
2. ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงละครไทย
21
ธิดาพระอินทอากร (เจ๊สัวเตากระทะ – นิยะวานนท์) มีน้องชายร่วมมารดา ชื่อ มุ่ย นิยะวานนท์ ได้เป็น
ขุนวรจักรธรานุภาพ เป็นบิดาเจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า รวม 6 พระองค์คือ
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายกปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์(ต้นราชสกุล กปิตถา)
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (ต้นราชสกุล ปราโมช)
3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเกยูร
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัณฐา
5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี
6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐน้อยนารี
เป็นละครหลวงรุ่นเล็ก ในรัชกาลที่ 1 เล่นเป็นตัวนางกาญจะหนา เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และมี
ผู้คนเคารพยําเกรงมาก เพราะเป็นเจ้าจอมที่โปรดปราน และมีพระเจ้าลูกเธอมากผู้หนึ่ง
เมื่อรัชกาลที่ 3 ท่านออกจากวังหลวง แล้วหัดละครนอกขึ้นมาโรงหนึ่ง ซึ่งตัวละครโรงนี้ ต่อมาได้
เป็นครูละครนอกโรงอื่นอีกหลายโรง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องเจ้าจอมมารดาอัมพา โปรดให้เป็นผู้รับเสด็จ
พระเจ้าลูกเธอแรกประสูติในรัชกาลที่ 4 หลายพระองค์ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
สับเปลี่ยนกันรับอุ้มกับเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ (เจ้าจอมมารดาในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท)
แก้ไขเมื่อ 23 ธ.ค. 52 22:17:51
2.1 เจ้าจอมหม่อมละคร เจ้าจอมมารดาอัมพา กาญจนา เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 2
2.1 เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมมารดาอัมพาในรัชกาลที่ 2 กําลังจะเข้าช่วงรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเฟื่องฟู
ที่มาของภาพ : www.su-usedbook.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
22
2.2 เจ้าจอมหม่อมละคร ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)
ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) เกิดเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ.
2384 เจ้าจอมมารดาวาด มีนามเดิมว่า "แมว" เป็นบุตรของนาย สมบุญ งาม
สมบัติ (มหาดเล็กในรัชกาลที่ 3) กับนาง ถ้วย งามสมบัติ (ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน)
[1] เจ้าจอมมารดาวาด เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว มีพระเจ้าลูกยาเธอ 1 พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
โสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
ญาติได้นําเข้าไปถวายตัวในวังหลวงตั้งแต่วัยเด็ก เข้าไปเป็น
ข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในยามว่างก็ทรงให้ฝึกหัดละคร
เคยรับบทเป็นพระเอกเรื่องอิเหนา เล่นได้ดีเยี่ยมจนพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกเล่นๆ ว่า "แมวอิเหนา" ต่อมาจึง
ได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนตําแหน่งเป็นท้าววรจันทร์ เป็น
ตําแหน่งชั้นสูงของข้าราชการฝ่ายใน หม่อมศรีพรหมา
กฤดากร ณ อยุธยาเสียชีวิต เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482(รวมอายุได้98 ปี)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2.2 ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)ที่มา
ของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
2.2 ทาหน้าขาว ละครรําในวัดโพธิ์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 - 6
ที่มาของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
23
ยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ซึ่งเป็นสมเด็จ
พระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชมารดาในดังนั้น พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรม
ขุนนริศรานุวัติวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรม
หลวงนริศรานุวัตติวงษ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2448
ด้านบทละครทรงนิพนธ์บทละครดึกดําบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น
- สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
- คาวี ตอนเผาพระขรรค์ชุบตัว และตอนหึง
- อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอน
บวงสรวง
- รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา
2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ
วงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ประสูติแต่พระสัมพันธ์วงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เมื่อวัน
อังคารเดือน 6 ขึ้น 11 คํ่า ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 28
เมษายน พ.ศ. 2406 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ
ในปี พ.ศ. 2428 พระองค์ได้รับการสถาปนาจาก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่าง
กรม มีพระนามว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์
หลังจากที่พระองค์ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณใน
ตําแหน่งต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมี
พระราชดําริเห็นควรที่จะสถาปนาให้ดํารง
พระอิสริยยศที่ "กรมหลวง" ได้กอปรกับ
การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าน้อง
2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ที่มาของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ที่มาของภาพ : www.vcharkarn.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
24
ตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับราชการจวบจนปัจจุบัน อาจารย์เสรี หวังในธรรม นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญอย่างสูงยิ่ง
ทั้งในฐานะ นักแสดง นักประพันธ์ นักดนตรี นักร้อง นักพูด นักบรรยาย ผู้อํานวยการสร้าง ผู้กํากับการแสดง และ
นักบริหารที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนสร้างความบันเทิง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่นิยม
แพร่หลายในหมู่คนไทย และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ในด้านการแสดงนั้น ท่านศิลปินผู้มีความสามารถหลากแขนง และหลายบทบาท ทั้งบทพระ นาง ยักษ์ ลิง
กษัตริย์ฤษี พราหมณ์ ขุนนาง ตัวดี ตัวโกง ตัวตลก ฯลฯ จนเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้ชมและถือเป็นตัวชูโรงของ
ละครกรมศิลปากรมาเป็นเวลายาวนาน บทบาทดีเด่นที่เป็นที่กล่าวขวัญของคนดูได้แก่ บท ‚พระมหาเถรกุโสดอ‛
ในละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศ ‚เถรขวาด‛ ในเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ‚ชูชก‛ ในเรื่อง พระเวสสันดร ‚ท้าวเสนากุฏ‛ ใน
เรื่อง สังข์ศิลป์ ชัย ‚นางมณฑา‛ ในเรื่อง สังข์ทอง ตอน มณฑาลงกระท่อมหาเนื้อหาปลา ฯลฯ
ส่วนในด้านการประพันธ์ ท่านก็ได้แต่งบทโขน ละคร ลิเก เพลงไทยสากล บทอวยพร และบทเบ็ดเตล็ดอีก
เป็นจํานวนมาก ดังจะขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้
บทโขน ได้แก่ เรื่องรามเกียรติ์ทุกตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และบทโขนที่แต่งจากเรื่องนารายณ์สิบปาง และ
บทโขนตามตํานานพื้นเมืองของจังหวัดลพบุรี เป็นต้น
บทละคร ได้แก่ บทละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด เรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด
เรื่องหนึ่ง ได้แก่ บทละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ
บทลิเก ได้แก่ เรื่องจันทโครพ และพระหันอากาศ เป็นต้น
บทเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงรอยเบื้องยุคลบาท สถิตในหทัยราษฎร์ กล่อมพระขวัญเพื่อผู้มีดนตรีการ เรา
คือคนไทย สมเด็จพระมิ่งแม่ มหาวชิราลงกรณ์ สมเด็จพระปิยชาติ อิฐเก่าก้อนเดียว ฯลฯ
2.4 ครูเสรี หวังในธรรม
อาจารย์เสรี หวังในธรรม เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2480 ที่
กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ 64 ปี ได้รับการศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียน
ศรีจรุง จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนปิยวิทยา ชั้นมัธยมต้น
ที่โรงเรียนชิโนรส แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนนาฏศิลป์ ของกรม
ศิลปากร ตามลําดับ ณ ที่นั้น ท่านได้ศึกษาศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ ทั้ง
ดุริยางค์ไทยและสากล คีตศิลป์ไทย ศิลปะการแสดงละคร และโขน เป็น
ต้น เมื่อจบการศึกษา ในปี 2497 แล้ว ท่านได้เข้ารับราชการในแผนก
ดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร จนกระทั่งถึงปี2505 ท่านก็ได้รับ
ทุนให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอีสต์เวสต์เซนเตอร์
มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นเวลา 3 ปีจึงได้กลับมา
รับราชการต่อที่ต้นสังกัดเดิม
2.4 ครูเสรี หวังในธรรมศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
ที่มาของภาพ : www. khunmaebook.tarad.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
25
บทอวยพร ได้แก่ บทถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และพระบรมวงศานุวงศ์ในมงคลวโรกาสต่างๆ
นอกจากผลงานในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจารย์เสรี หวังในธรรม ยังเป็นศิลปินที่มีความคิดริเริ่มดีเด่น
และมี ‘ไฟ’ ในการทํางานที่โชติช่วงอยู่ตลอดเวลา โดยท่านได้ริเริ่มจัดทํารายการแสดงประเภทต่างๆ ที่ให้ทั้ง
สาระประโยชน์และความบันเทิง เช่น รายการชุด ดนตรีไทยพรรณนา ซึ่งเป็นรายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย
ในแง่มุมต่างๆ รายการชุดนาฏยาภิธาน อันเป็นรายการที่ว่าด้วยเรื่องการแสดงละครแบบต่างๆ รายการชุดขับขาน
วรรณคดี อันว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีต่างๆ ที่นํามาจัดทําเป็นบทนาฏกรรม ทั้งยังได้คิดริเริ่มจัดทํารายการ ศรี
สุขนาฏกรรม ซึ่งเป็นรายการที่ประกอบการละเล่นต่างๆ เช่น โขน ละคร ลิเก ฟ้อน รํา ระบํา เซิ้ง ในรูปแบบสารพัน
บันเทิงจนเป็นรายการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง รวมทั้งรายการธรรมะบันเทิง ซึ่งเป็นรายการแสดงที่ว่าด้วย
เรื่องของธรรมะ และศีลธรรม อันล้วนแต่ยังประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งสิ้น
ในด้านการเป็นนักบริหารนั้น อาจารย์เสรี หวังในธรรม ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งสําคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตําแหน่งผู้อํานวยการกองการสังคีตอยู่เป็นเวลานานปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ท่านได้บริหาร
ราชการด้วยความสามารถจนงานในหน้าที่รุดหน้าไปเป็นอย่างดี สร้างชื่อเสียงให้แก่กรมศิลปากรเป็นอันมาก งาน
สําคัญในหน้าที่ที่รับผิดชอบดังกล่าว ได้แก่ การจัดการแสดงในวโรกาสและโอกาสสําคัญต่างๆ ของชาติ การนํา
คณะนาฏศิลป์ ไทยไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในต่างประเทศหลายครั้ง และการจัดกิจกรรมพิเศษ
ต่างๆ ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
2.4 ครูเสรี หวังในธรรม ได้แสดงเรื่องรามเกียรติ์ทุกตอน เริ่มต้นจนจบ
ที่มาของภาพ : www.board.narak.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
26
จากเกียรติประวัติดังกล่าว ทําให้ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา
ศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) เมื่อปีพุทธศักราช 2531
2.4 ครูเสรี หวังในธรรม ตําแหน่งผู้อํานวยการกองการสังคีตอยู่เป็นเวลานานปี
ที่มาของภาพ : www. natpiyaacademic.igetweb.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
27
ได้เพียง 6 ปีโดยมี คุณมณฑาฯ นักแสดงละครหลวง ผู้ซึ่งท่านนับถือเป็นพี่ เป็นผู้พาเข้าไปชม เมื่อได้ไปเห็นการ
ฝึกซ้อมละครในครั้งนั้น ท่านก็รู้สึกชอบขึ้นมาทันทีจึงได้ขอร้องให้คุณมณฑาพาไปสมัครเป็นตัวละครหลวงภายใต้
การควบคุมดูแลของพระยานัฏกานุรักษ์ และคุณหญิงเทศ ในที่สุด ท่านก็ได้เข้ารับการฝึกฝนเป็นตัวละครหลวงรุ่น
จิ๋วในราชสํานัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมดังปรารถนา โดย ท่านเจ้าคุณและคุณหญิงนัฏกานุรักษ์ได้
คัดเลือกให้ท่านหัดเป็นตัวนาง โดยมี ครูวิไล และครูจาด เป็นผู้ฝึกสอนเบื้องต้น
การศึกษา : ครูสุวรรณีเข้ารับการฝึกหัดละครอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น
เมื่อปี 2475 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้นํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ราชสํานัก ยังผลให้คณะละครหลวงต้องมีอันล้มเลิกไปโดยปริยาย บิดาของครูสุวรรณีจึงได้พาท่านไปสมัครเข้า
เรียนที่โรงเรียนราษฎร์สามัคคีอยู่ระยะหนึ่ง
ในระหว่างที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ ของกรมศิลปากรนี้ ครูสุวรรณีได้มีโอกาสเล่าเรียนครูนาฏศิลป์
หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครูทางนาฏศิลป์ ไทยในยุคนั้นทั้งสิ้นอันได้แก่
คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ หม่อมครูต่วน ภัทรนาวิก ครูลมุล ยมะคุปต์ ครูมัลลี คงประภัศร์ (ครูหมัน) ครูหุ่น ปัญญาพล
ครูน้อม และ ครูเกษร เป็นต้น ซึ่งท่านครูทั้งหลายเหล่านี้ได้ทุ่มเททั้งกายและใจถ่ายทอดความรู้ตามระเบียบแบบ
แผนที่สืบทอดต่อกันมาแต่ครั้งโบราณอย่างเคร่งครัด ทําให้ความสามารถในเชิงนาฏศิลป์ ของครูสุวรรณี ค่อยๆ
พัฒนาขึ้น ครูสุวรรณีได้เล่าเรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เมื่อปี 2485 และในปี 2486
ท่านก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นศิลปินได้รับตําแหน่งศิลปินจัตวาอันดับ 3 ในแผนกนาฏศิลป์ กองการสังคีต
กรมศิลปากรในปีต่อมา ในขณะที่รับราชการอยู่ที่กรมศิลปากรนั้น ท่านยังได้มีโอกาสเล่าเรียนเพิ่มเติมกับ ท่าน
ผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี หลวงวิลาศวงศ์งาม และ ครูอร่าม อินทรนัฏ ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นปรมาจารย์ผู้มี
ความสามารถพิเศษ และมีลีลา ตลอดจนชั้นเชิงอันเป็นแบบฉบับเฉพาะตัว
2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์
ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช
2469 ที่กรุงเทพมหานคร มีเด็กหญิงตัวเล็กๆ วัยเพียง 6 ขวบ คนหนึ่ง ได้มี
โอกาสเข้าไปชมการฝึกซ้อมของคณะละครหลวงในพระบรมมหาราชวัง
จนเกิดความสนใจอยากจะเป็นนักแสดงละครบ้าง ในวันนี้ เด็กหญิงคน
นั้นได้กลายมาเป็นศิลปินอาวุโสวัย 75 ปีบริบูรณ์ ผู้สมปรารถนาด้วยสิ่งที่
หวังไว้แต่วัยเด็ก ทว่าท่านหาได้เป็นเพียงนักแสดงละครธรรมดาตามที่เคย
ใฝ่ฝันไม่ หากได้เป็นถึงศิลปินแห่งชาติผู้เปี่ยมด้วยความสามารถจนเป็นที่
ประจักษ์โดยทั่วไปนามว่า ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์
แรงบันดาลใจ : ท่านเริ่มมีความสนใจทางด้าน
นาฏศิลป์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปชมการฝึก
ซ้อมละครหลวงที่ท้ายพระบรมมหาราชวังเมื่ออายุ
2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์
ที่มาของภาพ : www.facebook.com.
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
28
ผลงาน
ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ มีผลงานทั้งทางด้านการเป็นนักแสดง ผู้ฝึกซ้อม และผู้กํากับการแสดงมากมาย
โดยผลงานด้านการแสดงนั้น ท่านเคยแสดงทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง ละครพูด ตลอดจนระบําต่างๆ ทั้ง
แบบราชสํานัก และพื้นเมืองนับพันครั้ง โดยในการแสดงละครส่วนใหญ่ท่านจะได้รับบทเป็นพระเอก เช่น อิเหนา
พระไวย พระลอ สุวรรณหงษ์พระสังข์ฯลฯ และนานๆครั้งก็จะได้รับบทเป็นตัวนาง เช่น นางละเวง เป็นต้น ส่วน
ในการแสดงระบําแบบราชสํานัก ท่านมักจะได้รับมอบหมายให้แสดงเป็นผู้ชายคู่หน้า แต่หากเป็นการแสดงระบํา
พื้นเมือง ท่านก็มักจะแสดงเป็นผู้หญิงคู่หน้าเสมอ นอกจากการแสดงในประเทศแล้ว ครูสุวรรณียังเคยเดินทางไป
แสดงนาฏศิลป์ ในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินเดีย
สหรัฐอเมริกา และ สิงคโปร์ เป็นต้น
ส่วนผลงานด้านการเป็นผู้ฝึกซ้อมและกํากับการแสดงนั้น ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้รับมอบหมายให้
เป็นผู้ฝึกซ้อมและกํากับการแสดงประเภทต่างๆ ให้กับคณะนักแสดงของกรมศิลปากร นักเรียนของวิทยาลัย
นาฏศิลป์ ตลอดนักแสดงสมัครเล่น และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ มากมายนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งยังเคยเป็นผู้ควบคุมคณะ
นักแสดงไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และ สิงคโปร์ เป็น
ต้น นอกจากนั้น ท่านยังเคยแสดงท่ารําประกอบในหนังสือ เพื่อเป็นแม่แบบให้นักเรียนนาฏศิลป์ และผู้สนใจได้
ศึกษาค้นคว้าหลายเล่มอีกด้วย ท่านได้ลาออกจากราชการก่อนครบเกษียณอายุเพียงไม่กี่เดือน หลังจากนั้นมา ท่านก็
ได้อุทิศตนถ่ายทอดความรู้ทางนาฏศิลป์ ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปตราบจนปัจจุบัน ทั้งยัง
ได้ประดิษฐ์ท่ารําชุดต่างๆ ขึ้นมาใหม่หลายชุด
ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักแสดงที่มีความสามารถเป็นเลิศทางกระบวนรํา เป็นครู
ที่อุทิศตนให้กับศิษย์อย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่อนุรักษ์แบบแผนของนาฏศิลป์ ไทยไว้ได้อย่างถูกต้องแม่นยํา ทั้งยังเป็นผู้ที่มี
ความคิดสร้างสรรค์อย่างยอดเยี่ยม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ -
ละครรํา) เมื่อปีพุทธศักราช 2533
2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์กับผลงาน
ที่มาของภาพ : www.facebook.com.
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
29
ตลอดระยะเวลาเกือบ 70 ปี ของชีวิตการเป็นนักแสดงนาฏศิลป์ไทย ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้เรียนรู้
และสร้างสมประสบการณ์ในวิชาชีพมาจนกล้าแกร่งและก้าวมาถึงจุดสูงสุดแห่งเกียรติยศ ซึ่งนามและเกียรติคุณของ
ท่านจะได้รับการจารึกไว้บนแผ่นดินไทยในฐานะปรมาจารย์แห่งวงการนาฏศิลป์ ไทยในยุคสมัยของท่านอันสืบ
ทอดรับช่วงจากยุคของบรมครูทั้งหลายในอดีตกาล
2.5 ดร.สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขานาฏยศิลป์ ไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2546
ที่มาของภาพ : www. fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
30
ราชดําเนินตรงสนามมวยในปัจจุบันถึง ชั้นประถมปีที่ 2 จึงลาออกไปสมัครเรียนโขนที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์
พิพัฒน์ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ถนนพระอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2472 และได้เรียนหนังสือที่โรงเรียน
ศรีอยุธยาควบคู่กันไปกับการฝึกหัดโขน จนจบมัธยมปีที่ 3 ได้เป็นโขนหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ขึ้นตรงต่อพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) อดีตเจ้ากรมโขนหลวงในรัชกาลที่ 6 ผู้กํากับกรมปี่
พาทย์และโขนหลวงในรัชกาลที่ 7 กับ คุณหญิงเทศ นัฏกานุรักษ์เมื่อเริ่มฝึกหัดโขนนั้นครูอาคม อายุ 12 ปี ตั้งต้น
จากการตบเข่าเพื่อให้รู้จังหวะ ถอนสะเอวเพื่อให้อวัยวะมีการสัมพันธ์กับการยักไหล่ ยักเอวและลักคอ นาน
ประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงเริ่มหัดรําเพลงช้า เพลงเร็ว เชิดและเสมอ เพื่อให้ได้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ หลังจากนั้นจึง
คัดเลือกว่าจะเหมาะกับการหัดเป็นตัวใด ครูอาคมนั้นให้หัดเป็นตัวพระ ครูอาคมออกแสดงครั้งแรกเมื่ออายุ
ประมาณ 14 ปี เป็นตัวพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ตอนขาดเศียรขาดกรโดยสวมหน้าเล่นโขนนั่งราวแสดงหน้าพระที่
นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานต้อนรับแขก
3.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงโขน
3.1 นายอาคม สายาคม
นายอาคม สายาคม เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ณ บ้านใกล้
สี่แยกถนนหลานหลวง บิดาชื่อ นายเจือ ศรียาภัย มารดาชื่อ นางผาด (อิศราง
กูร ณ อยุธยา) ศรียาภัย เดิมชื่อ บุญสม ได้สมรสกับนางเรณู วิเชียรน้อย เมื่อ
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 มีบุตร 3 คน คือ นางเรวดี สายาคม พันเอก
พิเศษ อนิรุธ สายาคม และนายอัคนิวาต สายาคม นายสายและนางเฟี้ ยน สา
ยาคม เป็นผู้ที่ไม่มีบุตร และนางเฟี้ ยนก็เป็นป้าของเด็กชาย บุญสม จึงขอ
เด็กชายบุญสมเป็นบุตรตั้งแต่ยังเล็กๆ และใช้นามสกุลของนายสายว่า สายา
คม นายสาย นางเฟี้ ยน รักและเลี้ยงดูเด็กชายบุญสมอย่างบุตรที่แท้จริง
เด็กชายบุญสมก็เข้าใจว่า นายสาย นางเฟี้ ยน เป็นบิดามารดา ให้ความรักและ
เคารพอย่างสนิทสนมเด็กชายบุญสม สายาคม
ได้เริ่มเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียน
พร้อมวิทยามูล ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน
3.1 นายอาคม สายาคม
ที่มาของภาพ : www.missladyboys.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
บัตรเนื้อหาที่ 1.3 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง
3.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงโขน
31
เมืองคือ นายดักลาส แฟร์แบงค์นักแสดงภาพยนตร์อเมริกา ต่อมาได้แสดงหน้าพระที่นั่งอีกหลายครั้ง ที่โรงโขน
หลวงสวนมิสกวัน ครูอาคมเริ่มเปิดหน้าเล่นโขนเมื่ออายุประมาณ 15-16 ปี เพราะพระยานัฏกานุรักษ์เห็นว่าครู
อาคมหน้าสวยขนาดผู้หญิงเทียบไม่ติด ครูอาคมเข้ารับราชการในกรมมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2472 ในแผนกโขนหลวง
ตําแหน่งเด็กชา เงินเดือน 4 บาท
ผลงานด้านประดิษฐ์ท่ารา
1. ประดิษฐ์ท่ารํา คือ ท่าตระนาฏราช นําออกแสดงครั้งแรกในงานฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ ของพระ
เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร
2.ประดิษฐ์ท่าลีลาประกอบท่าเชื่อมภาพลายเส้นในตําราฟ้อนรํา โดยใส่สร้อยท่ารําต่อให้สามารถรํา
ติดต่อกันจนตลอดไปจนจบ
3.ประดิษฐ์ท่ารําในเพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก ให้แก่ศิลปินรุ่นครูใช้รําในงานวันเกิดครบ 5 รอบ ของ
นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร
4.ประดิษฐ์ท่ารําในเพลงหน้าเชิดจีนตัว 3 ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี ในลีลาของขุนแผนนางวันทอง
และม้าสีหมอก ให้ประสาทกลมกลืนกันในด้านท่ารํา เช่น ท่าสรรเสริญครู ท่าโคมสามใบท่ายันต์สี่ทิศ ในรายการ
ศรีสุขนาฏกรรมซึ่งแสดง ณ โรงละครแห่งชาติและในรายการอื่นอีกหลายครั้ง
คุณครู อาคม สายาคม ขณะประกอบพิธีไหว้ครู-ครอบครู นาฏศิลป์ไทย
ที่มาของภาพ : www.4shared.com
นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง

More Related Content

What's hot

หลักการของไดนาโม
หลักการของไดนาโมหลักการของไดนาโม
หลักการของไดนาโม
panupong
 
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptxตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
Jessie SK
 
Power point งานสุขศึกษา 2
Power point งานสุขศึกษา 2Power point งานสุขศึกษา 2
Power point งานสุขศึกษา 2
natnicha rurkrat
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
KiiKz Krittiya
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
Poppy Nana
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
Sivagon Soontong
 
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบทดสอบวิชาลูกเสือ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
watdang
 
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
waranyuati
 

What's hot (20)

เส้นขนาน ม.2
เส้นขนาน ม.2เส้นขนาน ม.2
เส้นขนาน ม.2
 
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปีตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
 
หลักการของไดนาโม
หลักการของไดนาโมหลักการของไดนาโม
หลักการของไดนาโม
 
อินธนูครู
อินธนูครูอินธนูครู
อินธนูครู
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
 
ฟังก์ชันเชิงเส้น
ฟังก์ชันเชิงเส้นฟังก์ชันเชิงเส้น
ฟังก์ชันเชิงเส้น
 
แบบระบายสีดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
แบบระบายสีดอกไม้ประจำชาติอาเซียนแบบระบายสีดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
แบบระบายสีดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
 
สรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษาสรุปวิชาการศึกษา
สรุปวิชาการศึกษา
 
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptxตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
ตัวอย่าง PPT นำเสนอประเมินการพัฒนางาน ว.PA (15 นา.pptx
 
สถิติ
สถิติสถิติ
สถิติ
 
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
เกณฑ์การประกวดผลงานวันภาษาไทย 55
 
Power point งานสุขศึกษา 2
Power point งานสุขศึกษา 2Power point งานสุขศึกษา 2
Power point งานสุขศึกษา 2
 
แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์บูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์บูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์บูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์บูรณาการการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วยแผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2  ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
แผ่นพับแนะนำตนเอง สำหรับประเมิน คศ.2 ประเมิน คศ.3 แผ่นพับสัมภาษณ์ครูผู้ช่วย
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
 
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
(M5) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบทดสอบวิชาลูกเสือ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบทดสอบวิชาลูกเสือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
ตัวอย่างข้อสอบ Gsp งานศิลปะหัตกรรม ปีการศึกษา 2552
 

Similar to ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง

ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ครูเย็นจิตร บุญศรี
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u soundแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
pantiluck
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
Thitiwat Paisan
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e soundแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
pantiluck
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
parichat441
 
ปกหน้า-ทัศนธาตุ
ปกหน้า-ทัศนธาตุปกหน้า-ทัศนธาตุ
ปกหน้า-ทัศนธาตุ
Nattapon
 

Similar to ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง (20)

เอกสารประกอบการเรียน เล่ม 3-สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เผยแพร่
เอกสารประกอบการเรียน เล่ม 3-สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เผยแพร่เอกสารประกอบการเรียน เล่ม 3-สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เผยแพร่
เอกสารประกอบการเรียน เล่ม 3-สร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เผยแพร่
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ เซิ้งหนุ่มสาวชาวไร่อ้อย
เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ เซิ้งหนุ่มสาวชาวไร่อ้อยเอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ เซิ้งหนุ่มสาวชาวไร่อ้อย
เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำ เซิ้งหนุ่มสาวชาวไร่อ้อย
 
Math 6 unit 1
Math 6 unit 1Math 6 unit 1
Math 6 unit 1
 
Math 6 unit 1
Math 6 unit 1Math 6 unit 1
Math 6 unit 1
 
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
1.วิเคราะห์หลักสูตร วิทย์ ม.1 เรื่อง เซลล์
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u soundแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 phonics i, o and u sound
 
ปก+รายงาน..[1]
ปก+รายงาน..[1]ปก+รายงาน..[1]
ปก+รายงาน..[1]
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e soundแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 phonics a and e sound
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
 
Plan 04 (2)
Plan 04 (2)Plan 04 (2)
Plan 04 (2)
 
Classroom research paper
Classroom research paperClassroom research paper
Classroom research paper
 
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7.pdfแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7.pdf
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7.pdf
 
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7(1).pdf
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7(1).pdfแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7(1).pdf
แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่7(1).pdf
 
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
มาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
 
Ssr รร 2555
Ssr รร 2555Ssr รร 2555
Ssr รร 2555
 
ปกหน้า-ทัศนธาตุ
ปกหน้า-ทัศนธาตุปกหน้า-ทัศนธาตุ
ปกหน้า-ทัศนธาตุ
 
แฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน
 
Asean Lesson Plan
Asean Lesson PlanAsean Lesson Plan
Asean Lesson Plan
 

ครูเย็นจิตร บุญศรี เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง

  • 1. 1
  • 2. 2 ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระนาฏศิลป์ ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง โดย นางเย็นจิตร บุญศรี ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชานาญการ โรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
  • 3. 3 ข้าพเจ้า นายไพสิน นกศิริ ผู้อํานวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้ว ขอรับรองว่าชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง นี้ เป็นนวัตกรรม ที่ นางเย็นจิตร บุญศรี ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูชํานาญการ โรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา ได้จัดทําและใช้ประกอบการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนจริง นายไพสิน นกศิริ ตําแหน่งผู้อํานวยการเชี่ยวชาญโรงเรียนไทรเดี่ยววิทยา คํารับรองของผู้บริหาร
  • 4. 4 ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์ ) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชา นาฏศิลป์ ช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว โดยได้รวบรวมและสรุปเนื้อหาสาระจากหนังสือและ แหล่งข้อมูลต่างๆพร้อมรูปภาพมาจัดทํา เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ ซึ่งนักเรียนสามารถนําไปศึกษาเพิ่มเติมทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ได้ในโอกาสต่อไปชุมชน ซึ่งเอกสาร มีทั้งหมด 4 ชุด ชุดที่ 1 บุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ และการแสดง ชุดที่ 2 การอนุรักษ์นาฏศิลป์ ไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุดที่ 3 การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ ชุดที่ 4 การประดิษฐ์ท่ารําสร้างสรรค์ ชุดเซิ้ง ปลูกอ้อย สําหรับเล่มนี้เป็นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระนาฏศิลป์ ) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ศ 32101 ชุดที่ 1 ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง 1.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 3.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 4.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง ผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาอ่านเพิ่มเติมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ต่อไปในโอกาสต่อไป คานา เย็นจิตร บุญศรี
  • 5. 5 เรื่อง หน้า คู่มือครู 6 คู่มือนักเรียน 10 ใบความรู้ที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 12 ใบความรู้ที่ 1. 2 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 20 ใบความรู้ที่ 1.3 ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 37 ใบความรู้ที่ 1.4 ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง 41 แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ตอนที่ 1 53 แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ตอนที่ 2 55 เฉลย แบบฝึกหัดชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ 56 บรรณานุกรม 61 ประวัติผู้จัดทํา 62 สารบัญ
  • 6. 6 คาชี้แจงสาหรับครู 1.ส่วนประกอบในชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง เล่มที่ 1 ประกอบด้วย 1.1 คู่มือครู 1.2 คู่มือนักเรียน 1.3 ใบความรู้ 1.4 แบบฝึกหัด 1.5 แบบทดสอบท้ายชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ( ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ) 2. ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ในการเรียน ใช้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง ดังนี้ 2.1 .ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 2.2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 2.3.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 2.4.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง คู่มือครู
  • 7. 7 คําชี้แจง ให้ครูผู้สอน ดําเนินกิจกรรมดังนี้ 1. ศึกษาชุดการสอน ประกอบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ สาระสําคัญ จุดประสงค์การ เรียนรู้ สาระการเรียน การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ประกอบชุดการสอนประกอบการเรียนให้เข้าใจ 2. ศึกษา ตรวจสอบและเตรียมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เครื่องมือ และ ประเมินผล ประกอบชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ ให้เข้าใจ 3. ก่อนสอน ครูควรชี้แจงบทบาทและหน้าที่ของผู้เรียน และกําหนดข้อตกลง ร่วมกัน 4. ขั้นตอนการสอนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 สอน (กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ / กระบวนการสอนแบบอภิปราย / กระบวนการสอนแบบสืบสวนสอบถาม / กระบวนการสอนแบบบรรยาย / กระบวนการสอนแบบ ศึกษาด้วยตนเอง / กระบวนการสอนแบบโซเครติส) ขั้นที่ 3 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะบูรณาการภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้แล้ว ขั้นที่ 5 ขั้นให้นักเรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆเป็นทักษะที่สมบรูณ์ ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผล 5. ควรดูการทํางานขณะปฏิบัติกิจกรรมในชุดการสอนนี้อย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดปัญหา ครูควรเป็น ที่ปรึกษา หรือให้คําแนะนํา ในการแก้ไขในการเรียนได้ทันที โดยเน้นให้นักเรียนได้ร่วม ร่วมปฏิบัติ และสรุป และ ประเมินผล 6. สรุปคะแนนลงในแบบสรุปคะแนนในแบบบันทึกการเรียนรู้ของแต่ละชุด 7. หลังจากที่นักเรียนดําเนินชุดการสอนประกอบการเรียนรู้นี้เรียบร้อยแล้วทําการทดสอบ ภาคปฏิบัติ 8. ทําแบบประเมินผลการเรียนเพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการก้าวหน้าทางการเรียน ของนักเรียน บทบาทของครูผู้สอน
  • 8. 8 สิ่งที่ครูต้องเตรียม 1. ครูตรวจชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ให้มีครบทุกกิจกรรม เช่น 1.1 บัตรเนื้อหา 1.2 บัตรคําสั่ง บัตรกิจกรรม พร้อมอุปกรณ์สื่อ ซีดี ประจํา ชุดการ สอน แผนการจัดการเรียนรู้ 1.3 แบบทดสอบประจําชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ พร้อมเฉลย 1.4 แบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม 2. ห้องเรียนกว้างและโล่งสําหรับการปฏิบัติการทํางานกลุ่ม 3. สื่อที่ใช้ประกอบชุดการสอนกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เช่น 3.1 แผ่นภาพบุคคลสําคัญ 3.2 ที่ตั้งวางภาพ 3.3 อุปกรณ์บทบาทสมมติ
  • 9. 9 การประเมินผลการเรียน 1. ประเมินจากการสังเกต 2. ประเมินจากการอภิปรายกลุ่ม 3. ประเมินจากการสัมภาษณ์ 4. ประเมินจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียน 5. ประเมินจากการทําแบบทดสอบ ท้ายชุดการสอน ประกอบการเรียนรู้ 6. ประเมินจากทักษะในการปฏิบัติ ( วัดทักษะ ภาคปฏิบัติ) 7. ประเมินผลงานจากความสําเร็จจากการปฏิบัติ
  • 10. 10 คาชี้แจงสาหรับนักเรียน 1ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 2.จุดประสงค์การเรียนรู้ของชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ 1. นักเรียนจําแนกประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย(K) 2. นักเรียนแสดงความคิดเห็น สรุปความสําคัญของบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย(P) 3. ตอบคําถามความสําคัญเกี่ยวกับเรื่องประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ ไทย(A) 3. นักเรียนรับชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ 3.1 คู่มือนักเรียน 3.2 บัตรเนื้อหาได้แก่ 3.2.1 บัตรเนื้อหาที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการแสดง 3.2.2 บัตรเนื้อหาที่ 1 .1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 3.2.3 บัตรเนื้อหาที่ 1. 2 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 3.2.4 บัตรเนื้อหาที่ 1.3 เรื่องประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 3.2.5 บัตรเนื้อหาที่ 1.4 เรื่องประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง 3.2.6 แบบฝึกหัด ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 คู่มือนักเรียน ร่วมกันเรียนรู้ไปกับชุดการสอนประกอบการ เรียนรู้เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์ และการ แสดง ฝึกการเข้าใจเชิญฝึกไปพร้อมๆกันกับพวกเรานะ ค่ะ
  • 11. 11 คําชี้แจง ให้นักเรียนดําเนินการในชุดการสอนชุดที่ 1 เรื่อง ประวัติบุคคลสําคัญในนาฏศิลป์และการ แสดง ดังนี้ 1. ศึกษาสาระสําคัญ จุดประสงค์ กิจการเรียนรู้ และประเมินผล สาระสาคัญ นาฏศิลป์ ไทยมีประวัติอันยาวนานคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้มีการสืบทอดจากบุคคลหลายรุ่นเป็น การอนุรักษ์ไม่ให้สูญหายจึงจําเป็นต้องเข้าใจประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ ไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดง ละครไทย ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง กิจการเรียนรู้ของนักเรียนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 เรียนรู้ (กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการเรียนแบบสืบสวนสอบถาม / กระบวนการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง ) ขั้นที่ 3 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทักษะบูรณาการภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม พลศึกษา ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้แล้ว ขั้นที่ 5 ขั้นให้นักเรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยๆเป็นทักษะที่สมบรูณ์ ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผล 3.จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนจําแนกประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย 2. นักเรียนเขียนสรุปความสําคัญของบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย 3. ตอบคําถามเกี่ยวกับเรื่องประวัติบุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์ ไทย บทบาทของนักเรียน ประเมินผล 1. ประเมินจากการลงมือปฏิบัติของนักเรียน 2. ประเมินจากการทําแบบทดสอบ ท้ายชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ 3. ประเมินจากทักษะในการปฏิบัติ ( วัดทักษะ ภาคปฏิบัติ)ประเมินผลงานจากความสําเร็จ
  • 12. 12 นาฏศิลป์ ไทยมีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะมีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับ ลูกศิษย์จากรุ่นต่อร่น 1.ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 2. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงละครไทย 3. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงโขน 4. ประวัติบุคคลสําคัญในการแสดงพื้นเมือง บัตรเนื้อหาที่ 1.1 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง 1.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงนาฏศิลป์ไทย 1.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงนาฏศิลป์ ไทย
  • 13. 13 เจ้าอยู่หัว ได้รับการฝึกหัดให้แสดงละครดึกดําบรรพ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติ วงศ์ หม่อมต่วนมีความเชี่ยวชาญในบทบาทตัวนางเป็นอย่างดีเยี่ยมเคยแสดงมาแล้วแทบทุกบทบาท ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการจัดตั้งกองมหรสพ ก็ได้รับมอบหน้าที่เป็นผู้ฝึกหัดละครดึกดําบรรพ์ตัวนาง เมื่อมีการยุบกระทรวงวัง ก็ออก จากราชการ แต่เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ (วิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปัจจุบัน) กรมศิลปากร หม่อมต่วนก็ ได้ถูกเชิญให้เข้ามารับราชการครู ตั้งแต่ พ.ศ.2478 ได้รับความเคารพรักจากบรรดาศิษย์มากมาย จนได้รับการยกย่อง ด้วยความนับถือว่า ‚หม่อมครูต่วน‛ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หม่อมครูต่วนได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‚ศุภลักษณ์‛ เนื่องจากเคยรับบทเป็นนางศุภลักษณ์ในละครเรื่องอุณรุท หม่อมครูต่วนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สิริรวมอายุได้ 73 ปี 4 เดือน 14 วัน 1.1 หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ชื่อเดิม ต่วน เกิดวันพฤหัสบดีขึ้น 1 คํ่าเดือน 8 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2462 ณ บ้านเหนือ วัดทองธรรมชาติ อําเภอคลองสาน ฝั่งธนบุรี บิดาชื่อนายกลั่น ภัทรนาวิก ซึ่งเป็นบุตรพระยา ภักดีภัทรากร (จ๋อง ภัทรนาวิก) มารดาชื่อลําไย เป็น ชาวพระนครศรีอยุธยา นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 5 คน หม่อมครู ต่วนมีความสนใจในด้านละครและเข้ารับการฝึกหัดตั้งแต่ อายุ 9 ขวบ ฝึกหัดเป็นตัวนางโดยรับการฝึกหัดจากหม่อมวัน มารดาของพระยาวชิต ชลธาร (ม.ล. เวศน์ กุญชร) หม่อมครูต่วน มีความพยายามในการฝึกฝน จนสามารถแสดงเป็นตัวนางได้อย่างดี และเป็นที่เมตตาปราณีของท่าน เจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์มาก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี ก็ได้เป็นหม่อมของท่านเจ้าพระยาเทเวศน์ วงศ์วิวัฒน์ หม่อมต่วนรับบทบาทเป็นตัวนางเอกหลายเรื่อง เคยแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระ หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก ที่มาของภาพ : www.changrum.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 1.1 หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก ที่มาของภาพ : www.monnut.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 14. 14 1.2 ครูมัลลี คงประภัศร์ ที่มาของภาพ : www.theart.pimkong.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 ครูมัลลี (หมัน) คงประภัศร์มีนามเดิมว่า ‚ปุย‛ เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ นายกุกและนางนวม ช้างแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2426 มีภูมิลําเนา อยู่ที่บ้านปากคลองวัดรั้วเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดประยุรวงศาวาส) อําเภอบางกอก- ใหญ่ จังหวัดธนบุรี เมื่อเด็กหญิงปุยอายุ 8 ขวบบิดาก็เสียชีวิต นางนวมผู้เป็นมารดาจึงได้ สมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานประจําห้องเสวยของพระองค์เจ้าสุริยวงศ์ฯได้ พาเด็กหญิงปุยไปอยู่ด้วย เด็กหญิงปุยได้มีโอกาสชม ละครรําของพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ฯ ที่เข้าไปแสดงประจํา ในวังหลวงจึงมีความหลงใหลพอใจในบทบาทของตัว ละครมากจนถึงกับแอบหนีมารดาติดตามคณะละครเจ้า ขาวไปได้รับการฝึกสอนจาก ‚หม่อมแม่เป้า‛ ครูละคร คนสําคัญของวังเจ้าขาว แม้มารดาจะมารับตัวกลับ แต่เด็กหญิงปุยก็ไม่ยอมขออยู่หัดละครให้ได้จนมารดายอมแพ้ ให้หัด ละครอยู่ในวังเจ้าขาว(ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) เมื่ออายุ 10 ขวบได้มีโอกาสไปแสดงในงานต่างๆ มากมาย ครั้งหนึ่งได้แสดงหน้าพระที่นั่งเป็นตัว ‚สมันน้อย‛ ในละครเรื่องดาหลัง ปรากฏว่าเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย ของเจ้านายฝ่ายในหลายพระองค์ จนทรงจําได้และเรียกเด็กหญิงปุยด้วยความเอ็นดูว่า ‚ไอ้หมัน‛จนเป็นเหตุให้ใครต่อ ใครเรียกตามกันจนเคยชิน และเจ้าตัวก็พอใจชื่อใหม่นี้ เพราะถือเป็นมงคลนาม ได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่ออายุ 22 ปี ก็ได้กราบทูลขอลาออกมาแต่งงานกับนายสม คงประภัศร์ โดยยังยึดอาชีพรับจ้างแสดงละคร ตามปกติ ต่อมาประมาณปีพ.ศ.2477 เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนยาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นมา หม่อมครูต่วนและ อาจารย์ละม่อม วงทองเหลือง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ได้มาชักชวน ‚ครูหมัน‛ ให้ไปช่วยสอนนักเรียน หว่านล้อมนานพอสมควร แม่ครูหมันจึงยอมไปสอน หม่อมครูต่วนจึงพาไปพบกับหลวงวิจิตรวาทการและสมัครเข้ารับ ราชการเป็นศิลปินชั้น 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2477 ทําหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่ครูหมันได้ร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ประดิษฐ์ท่ารํา แม่บทใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในหลักสูตรสอนนักเรียนและใช้ มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่รับราชการเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ครูหมันปฏิบัติหน้าที่ด้วยดี ตลอดมา ท่านได้รับราชการจนกรทั่งอายุ 80 ปี จึงได้ถูกเลิกจ้างเพราะได้มีอาการหลงลืม ในวาระสุดท้ายแม่ครูหมันได้ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สิริรวมอายุได้ 89 ปี 1.2 ครูมัลลี คงประภัศร์
  • 15. 15 คุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งครูลมุลได้ความรู้เกี่ยวกับ นาฏยศิลป์ ล้านนาและพม่า ครูลมุลได้นําคณะละครไปแสดงที่เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร อยู่ 1 ปี ซึ่งคงได้ ประสบการณ์ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของเขมรมาบ้าง ต่อมาเข้ารับราชการเป็นครูแผนกนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และ ทํางานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ผลงานนาฎยประดิษฐ์ของครูลมุล ยมะคุปต์ พ.ศ. 2477-2525 มากกว่า 50 ชุด แบ่งได้เป็น 6 ประเภท คือ 1. ระบําที่ยึดแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย 2. ระบําที่ผสมผสานทั้งอาศัยและไม่ได้อาศัยแบบแผนนาฏยศิลป์ ไทย 3. ระบําจากภาพแกะสลักโบราณคดี 4. ระบําประกอบเครื่องดนตรี 5. ระบํากํา-แบ 6. ระบําเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ผลงานเหล่านี้ผู้วิจัยพบว่ามี 2 แนว คือ แนวอนุรักษ์และแนวพัฒนา ระบําพม่า- มอญ ที่ผู้วิจัยใช้เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นระบําประเภทผสมผสานลักษณะท่ารําของพม่าและ ท่ารําของมอญ ท่ารําของมอญในละครพันทาง ท่ารําของพม่าในละครพันทาง ท่ารําของฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาทางภาคเหนือ ระบําพม่า-มอญเป็นระบําในละครพันทาง 1.3 คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ประวัติ นางลมุล ยมะคุปต์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่บรรดาศิษย์ทั้งหลายจะขนาน นามให้ท่านด้วยความเคารพรักอย่างยิ่งว่า “คุณแม่ลมุล” เป็นธิดาของร้อยโท นายแพทย์จีน อัญธัญภาติ กับ นางคํามอย อัญธัญภาติ (เชื้อ อินต๊ะ) เกิดเมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2448 ณ จังหวัดน่าน ในขณะที่บิดาขึ้นไปราชการสงคราม ปราบกบฏเงี้ยว (กบฏ จ.ศ.1264 ปีขาล พ.ศ. 2445) (พ.ศ. 2448-2525) เกิดที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาได้พามา ถวายตัวเป็นละครที่วังสวนกุหลาบ และที่วังสวนกุหลาบ ครูลมุลได้ความรู้ทาง ละครในรูปแบบของละครนอก ละครในและละครพันทาง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ วังเพชรบูรณ์ และได้ความรู้ในเรื่องของละครดึกดําบรรพ์ เมื่อออกจากวังเพชรบูรณ์ ครูลมุลได้สมรสกับครูสงัด ยมะคุปต์ และได้ขึ้นไปเป็นครูสอนละครที่เชียงใหม่ใน 1.3 คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ที่มาของภาพ : www. sites.google.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 16. 16 1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2447 การศึกษาได้เรียนวิสามัญระดับประถม ศึกษา ที่โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้าน มีความรู้พอ อ่านออกเขียนได้เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ มารดาได้พาไป ฝากไว้ให้อยู่ในความอุปการะของคุณ หญิงจรรยายุทธกิจ ได้รับบทเป็นตัวนางตามความถนัด เช่น ละครใน เรื่อง อิเหนา รับบทเป็น ประไหม สุหรี มะเดหวี (เอี่ยม ไกรฤกษ์) ต่อมา ได้ ติดตามไปอยู่กับคุณท้าวนารีวรคณา รักษ์ (เจ้าจอมแจ่มในรัชกาลที่ 5) ซึ่ง เป็นพี่สะใภ้ของคุณหญิงจรรยาฯ เพื่อฝึก หัดละครเมื่อได้มาอยู่กับคุณท้าว นารีฯ ณ วังสวนกุหลาบแล้วนายเฉลยก็ได้มีโอกาส ฝึกหัดละคร จนกระทั่งได้รับ การถวายตัวกับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา และได้อยู่ใน ความดูแลรับการฝึกฝนเป็นพิเศษจากท่านครูและท่าน ผู้ชํานาญการละครอีกหลายท่าน การทํางาน ต่อมาได้มีโอกาส แสดงละคร ประเภทต่างๆเช่น ละครนอก ละครใน และ ละครดึกดําบรรพ์โดยได้รับ บทเป็นตัวเอก ของเรื่องแทบทุกครั้งจนกระทั่งอายุได้21 ปี จึงได้สมรส กับพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวณิช) ซึ่งดํารงตําแหน่งเจ้ากรมกอง ผลประโยชน์ พระคลังข้างที่ หลังจากสมรส สามีขอร้องให้ เลิกการแสดง ท่านจึงต้องอําลาจากเวทีละครและ ปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านเพียงอย่างเดียว นางเฉลยมี บุตรและธิดากับพระยาอมเรศร์สมบัติ 4 คน และ เมื่ออายุ 43 ปี พระยาอมเรศร์สมบัติผู้สามีถึง แก่อนิจกรรม นางเฉลยจึงได้กลับคืนมาสู่ วงการนาฏศิลป์ อีกครั้งหนึ่ง นางเฉลย ศุขะวณิช เข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2500 ขณะ มีอายุ 53 ปี ในตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรม ศิลปากร -เรื่องอุณรุท รับบทเป็น ศุภลักษณ์ -เรื่องรามเกียรติ์ รับบทเป็น ชมพูพาน และหัวหน้า รากษส ละครนอก 1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช กับความภูมิใจ/ รางวัลสําคัญ ที่มาของภาพ : www.culture.go.th นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 17. 17 -เรื่องสังข์ทอง รับบทเป็น มณฑา จันทา -เรื่องคาวี รับบทเป็น คันธมาลี เฒ่าทัศ ประสาท -ได้คิดและประดิษฐ์ท่ารําและระบําใหม่ ๆ ร่วมกับนางลมุล ยมะคุปต์ ขึ้นหลายชุดเช่น -ระบํากินนร รําประกอบเพลงหน้าพาทย์กินนร (ในละครดึกดําบรรพ์เรื่อง จันทกินรี) แสดงเป็นครั้ง แรกในงานปิดภาคเรียน ณ หอประชุมโรงเรียนนาฏศิลป์ พ .ศ. 2508 -ระบําโบราณคดี 4 ชุด คือ ระบําทวารวดี ระบําศรีวิชัย ระบําลพบุรี และเชียงแสน จากผลงานต่าง ๆ นี้ ทําให้นางเฉลย ศุขะวณิช ได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เช่น ได้รับเครื่องราชอิสริยารณ์ตริตรา ภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) -พ.ศ. 2525 ไดรับพระราชทานโล่เกียรติคุณด้านนาฏศิลป์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกมาร เนื่องในวโรกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การสั่งสมประสบการณ์ 1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช ตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ที่มาของภาพ : www.culture.go.th นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 18. 18 การสั่งสมประสบการณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ ออกแบบนาฏศิลป์ ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร เป็นศิลปินอาวุโส ซึ่ง มีความรู้ความสามารถสูง ในกระบวนท่ารําทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนเก่า และยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์ ผลงานด้านนาฏศิลป์ ขึ้นใหม่มากมาย ซึ่งกรมศิลปากรและวงการนาฏศิลป์ ทั่วประเทศได้ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะการ ร่ายรําสืบทอดต่อมาจน ถึงทุกวันนี้ ทางราชการได้มอบหมายให้ เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียน การสอน วิชานาฏศิลป์ ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงขั้น ปริญญา นิเทศการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทุกสาขาทั้งใน ส่วนกลางและภูมิภาค ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ แก่นักศึกษามาตลอดเวลากว่า 40 ปี จนถึงปัจจุบัน ให้คําปรึกษาด้านวิชาการแก่ สถาน ศึกษาและสถาบันต่าง ๆ เป็นผู้มีความเมตตาเอื้อ อารี อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์ อย่าง ต่อเนื่อง จนสามารถแสดงให้แพร่หลายออกไป อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้รับปริญญาครุ ศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช ตําแหน่งครูพิเศษสอน นาฏศิลป์ ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ที่มาของภาพ : www.culture.go.th นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 19. 19 1.4 ครูเฉลย ศุขวณิช กับ เนื้อหาสําหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สําหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3-4 ที่มาของภาพ : www.su-usedbook.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 20. 20 นาฏศิลป์ ไทยมีการสืบทอดกันมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ เพราะมีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ถ่ายทอดความรู้ ให้กับลูกศิษย์จากรุ่นต่อร่น เจ้าจอม หม่อมละคร ในกรุงรัตนโกสินทร์ อธิบายเจ้าจอม หม่อมละคร เจ้าจอมหม่อมละคร เป็นคําที่หมายถึงสตรีในราชสํานักตั้งแต่ชั้นพระภรรยาเจ้า เจ้าจอมรวมถึงข้าราช บริพารฝ่ายในที่ถวายตัวทําหน้าที่แสดงละครหลวงประดับพระเกียรติยศ และปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ด้าน อื่นๆ ด้วย มีเบี้ยหวัดเงินปี มีทั้งกลุ่มที่เป็นพระภรรยาเจ้า อันได้แก่ เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม และนางพนักงานที่ ทําหน้าที่ด้านการละครโดยเฉพาะ มีศักดิ์เป็นหม่อมละคร บ้างก็เรียกนําหน้านามว่า ‚หม่อม‛ หรือ ‚คุณ‛ ก็มี สตรี เหล่านี้มีเกียรติศักดิ์เพราะเล่นหลวงประดับพระบารมี เฉกเช่นเดียวกับช้างเผือกซึ่งเป็นของสํารับกันกับละครผู้หญิง ของหลวงหรือละครหลวง สตรีเหล่านี้เมื่อเข้าวังมาแล้ว จะได้รับการฝึกหัดกิริยามารยาทแบบ ‚ชาววัง‛ หรือแบบ ‚ผู้ดี ต้องหัดอ่าน เขียนหนังสือ หัดปรนนิบัติเจ้านาย หากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางการขับร้องฟ้อนรํา ก็อาจได้รับการ สนับสนุนจากผู้อุปการะให้ได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน มีตําแหน่งหน้าที่ ได้รับเบี้ยหวัดเงินปี เช่นกัน และที่ สําคัญก็คือ อาจได้มีโอกาสเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าจอม หากเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ละครหลวงแห่งพระราชสานัก นอกเหนือจากงานราชการที่เป็นหน้าที่ประจําแล้ว สตรีในราชสํานักยังใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ก็ เพื่อเป็นการถวายทรงพระสําราญอิริยาบถเมื่อเสด็จประทับอยู่ในฝ่ายใน ทั้งยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจให้กับชีวิตที่ ต้องจําอยู่แต่ในวัง กิจกรรมที่สําคัญของสตรีในพระราชสํานักฝ่ายใน คือ การละครฟ้อนรํา ซึ่งเป็นธรรมเนียมแต่ โบราณเพื่อถวายขับกล่อมพระมหากษัตริย์ให้สําราญพระราชหฤทัย โดยภายในวังหลวงนั้นจะมีกลุ่มนางละครและ นักดนตรีเข้าถวายตัวอยู่เป็นจํานวนไม่น้อย และนางละครเหล่านี้ต่อมาหลายท่านก็ได้มีโอกาสถวายตัวเป็นเจ้าจอม และมีการขยายงานด้านละครและดนตรีที่ตนถนัดให้กว้างขวางขึ้น กลายเป็นสํานักดนตรีและละครประจําวังไปใน ที่สุด บัตรเนื้อหาที่ 1.2 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง 2. ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงละครไทย 2. ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงละครไทย
  • 21. 21 ธิดาพระอินทอากร (เจ๊สัวเตากระทะ – นิยะวานนท์) มีน้องชายร่วมมารดา ชื่อ มุ่ย นิยะวานนท์ ได้เป็น ขุนวรจักรธรานุภาพ เป็นบิดาเจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า รวม 6 พระองค์คือ 1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายกปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์(ต้นราชสกุล กปิตถา) 2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (ต้นราชสกุล ปราโมช) 3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเกยูร 4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัณฐา 5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี 6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐน้อยนารี เป็นละครหลวงรุ่นเล็ก ในรัชกาลที่ 1 เล่นเป็นตัวนางกาญจะหนา เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และมี ผู้คนเคารพยําเกรงมาก เพราะเป็นเจ้าจอมที่โปรดปราน และมีพระเจ้าลูกเธอมากผู้หนึ่ง เมื่อรัชกาลที่ 3 ท่านออกจากวังหลวง แล้วหัดละครนอกขึ้นมาโรงหนึ่ง ซึ่งตัวละครโรงนี้ ต่อมาได้ เป็นครูละครนอกโรงอื่นอีกหลายโรง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องเจ้าจอมมารดาอัมพา โปรดให้เป็นผู้รับเสด็จ พระเจ้าลูกเธอแรกประสูติในรัชกาลที่ 4 หลายพระองค์ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สับเปลี่ยนกันรับอุ้มกับเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ (เจ้าจอมมารดาในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท) แก้ไขเมื่อ 23 ธ.ค. 52 22:17:51 2.1 เจ้าจอมหม่อมละคร เจ้าจอมมารดาอัมพา กาญจนา เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 2 2.1 เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมมารดาอัมพาในรัชกาลที่ 2 กําลังจะเข้าช่วงรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงเฟื่องฟู ที่มาของภาพ : www.su-usedbook.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 22. 22 2.2 เจ้าจอมหม่อมละคร ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) เกิดเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2384 เจ้าจอมมารดาวาด มีนามเดิมว่า "แมว" เป็นบุตรของนาย สมบุญ งาม สมบัติ (มหาดเล็กในรัชกาลที่ 3) กับนาง ถ้วย งามสมบัติ (ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน) [1] เจ้าจอมมารดาวาด เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระเจ้าลูกยาเธอ 1 พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ญาติได้นําเข้าไปถวายตัวในวังหลวงตั้งแต่วัยเด็ก เข้าไปเป็น ข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในยามว่างก็ทรงให้ฝึกหัดละคร เคยรับบทเป็นพระเอกเรื่องอิเหนา เล่นได้ดีเยี่ยมจนพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกเล่นๆ ว่า "แมวอิเหนา" ต่อมาจึง ได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนตําแหน่งเป็นท้าววรจันทร์ เป็น ตําแหน่งชั้นสูงของข้าราชการฝ่ายใน หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาเสียชีวิต เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482(รวมอายุได้98 ปี) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2.2 ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4)ที่มา ของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 2.2 ทาหน้าขาว ละครรําในวัดโพธิ์ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 - 6 ที่มาของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 23. 23 ยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ซึ่งเป็นสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชมารดาในดังนั้น พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนนริศรานุวัติวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรม หลวงนริศรานุวัตติวงษ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2448 ด้านบทละครทรงนิพนธ์บทละครดึกดําบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น - สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป - คาวี ตอนเผาพระขรรค์ชุบตัว และตอนหึง - อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอน บวงสรวง - รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา 2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ วงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระสัมพันธ์วงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เมื่อวัน อังคารเดือน 6 ขึ้น 11 คํ่า ปีกุน เบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ในปี พ.ศ. 2428 พระองค์ได้รับการสถาปนาจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่าง กรม มีพระนามว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ หลังจากที่พระองค์ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณใน ตําแหน่งต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมี พระราชดําริเห็นควรที่จะสถาปนาให้ดํารง พระอิสริยยศที่ "กรมหลวง" ได้กอปรกับ การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าน้อง 2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่มาของภาพ : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 2.3 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่มาของภาพ : www.vcharkarn.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 24. 24 ตั้งแต่เริ่มต้นเข้ารับราชการจวบจนปัจจุบัน อาจารย์เสรี หวังในธรรม นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญอย่างสูงยิ่ง ทั้งในฐานะ นักแสดง นักประพันธ์ นักดนตรี นักร้อง นักพูด นักบรรยาย ผู้อํานวยการสร้าง ผู้กํากับการแสดง และ นักบริหารที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนสร้างความบันเทิง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่นิยม แพร่หลายในหมู่คนไทย และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในด้านการแสดงนั้น ท่านศิลปินผู้มีความสามารถหลากแขนง และหลายบทบาท ทั้งบทพระ นาง ยักษ์ ลิง กษัตริย์ฤษี พราหมณ์ ขุนนาง ตัวดี ตัวโกง ตัวตลก ฯลฯ จนเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของผู้ชมและถือเป็นตัวชูโรงของ ละครกรมศิลปากรมาเป็นเวลายาวนาน บทบาทดีเด่นที่เป็นที่กล่าวขวัญของคนดูได้แก่ บท ‚พระมหาเถรกุโสดอ‛ ในละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศ ‚เถรขวาด‛ ในเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ‚ชูชก‛ ในเรื่อง พระเวสสันดร ‚ท้าวเสนากุฏ‛ ใน เรื่อง สังข์ศิลป์ ชัย ‚นางมณฑา‛ ในเรื่อง สังข์ทอง ตอน มณฑาลงกระท่อมหาเนื้อหาปลา ฯลฯ ส่วนในด้านการประพันธ์ ท่านก็ได้แต่งบทโขน ละคร ลิเก เพลงไทยสากล บทอวยพร และบทเบ็ดเตล็ดอีก เป็นจํานวนมาก ดังจะขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้ บทโขน ได้แก่ เรื่องรามเกียรติ์ทุกตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และบทโขนที่แต่งจากเรื่องนารายณ์สิบปาง และ บทโขนตามตํานานพื้นเมืองของจังหวัดลพบุรี เป็นต้น บทละคร ได้แก่ บทละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด เรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด เรื่องหนึ่ง ได้แก่ บทละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ บทลิเก ได้แก่ เรื่องจันทโครพ และพระหันอากาศ เป็นต้น บทเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลงรอยเบื้องยุคลบาท สถิตในหทัยราษฎร์ กล่อมพระขวัญเพื่อผู้มีดนตรีการ เรา คือคนไทย สมเด็จพระมิ่งแม่ มหาวชิราลงกรณ์ สมเด็จพระปิยชาติ อิฐเก่าก้อนเดียว ฯลฯ 2.4 ครูเสรี หวังในธรรม อาจารย์เสรี หวังในธรรม เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2480 ที่ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ 64 ปี ได้รับการศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียน ศรีจรุง จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนปิยวิทยา ชั้นมัธยมต้น ที่โรงเรียนชิโนรส แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนนาฏศิลป์ ของกรม ศิลปากร ตามลําดับ ณ ที่นั้น ท่านได้ศึกษาศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ ทั้ง ดุริยางค์ไทยและสากล คีตศิลป์ไทย ศิลปะการแสดงละคร และโขน เป็น ต้น เมื่อจบการศึกษา ในปี 2497 แล้ว ท่านได้เข้ารับราชการในแผนก ดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร จนกระทั่งถึงปี2505 ท่านก็ได้รับ ทุนให้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอีสต์เวสต์เซนเตอร์ มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 3 ปีจึงได้กลับมา รับราชการต่อที่ต้นสังกัดเดิม 2.4 ครูเสรี หวังในธรรมศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ที่มาของภาพ : www. khunmaebook.tarad.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 25. 25 บทอวยพร ได้แก่ บทถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ในมงคลวโรกาสต่างๆ นอกจากผลงานในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว อาจารย์เสรี หวังในธรรม ยังเป็นศิลปินที่มีความคิดริเริ่มดีเด่น และมี ‘ไฟ’ ในการทํางานที่โชติช่วงอยู่ตลอดเวลา โดยท่านได้ริเริ่มจัดทํารายการแสดงประเภทต่างๆ ที่ให้ทั้ง สาระประโยชน์และความบันเทิง เช่น รายการชุด ดนตรีไทยพรรณนา ซึ่งเป็นรายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย ในแง่มุมต่างๆ รายการชุดนาฏยาภิธาน อันเป็นรายการที่ว่าด้วยเรื่องการแสดงละครแบบต่างๆ รายการชุดขับขาน วรรณคดี อันว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีต่างๆ ที่นํามาจัดทําเป็นบทนาฏกรรม ทั้งยังได้คิดริเริ่มจัดทํารายการ ศรี สุขนาฏกรรม ซึ่งเป็นรายการที่ประกอบการละเล่นต่างๆ เช่น โขน ละคร ลิเก ฟ้อน รํา ระบํา เซิ้ง ในรูปแบบสารพัน บันเทิงจนเป็นรายการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง รวมทั้งรายการธรรมะบันเทิง ซึ่งเป็นรายการแสดงที่ว่าด้วย เรื่องของธรรมะ และศีลธรรม อันล้วนแต่ยังประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งสิ้น ในด้านการเป็นนักบริหารนั้น อาจารย์เสรี หวังในธรรม ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตําแหน่งสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตําแหน่งผู้อํานวยการกองการสังคีตอยู่เป็นเวลานานปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ท่านได้บริหาร ราชการด้วยความสามารถจนงานในหน้าที่รุดหน้าไปเป็นอย่างดี สร้างชื่อเสียงให้แก่กรมศิลปากรเป็นอันมาก งาน สําคัญในหน้าที่ที่รับผิดชอบดังกล่าว ได้แก่ การจัดการแสดงในวโรกาสและโอกาสสําคัญต่างๆ ของชาติ การนํา คณะนาฏศิลป์ ไทยไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในต่างประเทศหลายครั้ง และการจัดกิจกรรมพิเศษ ต่างๆ ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น 2.4 ครูเสรี หวังในธรรม ได้แสดงเรื่องรามเกียรติ์ทุกตอน เริ่มต้นจนจบ ที่มาของภาพ : www.board.narak.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 26. 26 จากเกียรติประวัติดังกล่าว ทําให้ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) เมื่อปีพุทธศักราช 2531 2.4 ครูเสรี หวังในธรรม ตําแหน่งผู้อํานวยการกองการสังคีตอยู่เป็นเวลานานปี ที่มาของภาพ : www. natpiyaacademic.igetweb.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 27. 27 ได้เพียง 6 ปีโดยมี คุณมณฑาฯ นักแสดงละครหลวง ผู้ซึ่งท่านนับถือเป็นพี่ เป็นผู้พาเข้าไปชม เมื่อได้ไปเห็นการ ฝึกซ้อมละครในครั้งนั้น ท่านก็รู้สึกชอบขึ้นมาทันทีจึงได้ขอร้องให้คุณมณฑาพาไปสมัครเป็นตัวละครหลวงภายใต้ การควบคุมดูแลของพระยานัฏกานุรักษ์ และคุณหญิงเทศ ในที่สุด ท่านก็ได้เข้ารับการฝึกฝนเป็นตัวละครหลวงรุ่น จิ๋วในราชสํานัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมดังปรารถนา โดย ท่านเจ้าคุณและคุณหญิงนัฏกานุรักษ์ได้ คัดเลือกให้ท่านหัดเป็นตัวนาง โดยมี ครูวิไล และครูจาด เป็นผู้ฝึกสอนเบื้องต้น การศึกษา : ครูสุวรรณีเข้ารับการฝึกหัดละครอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น เมื่อปี 2475 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้นํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ราชสํานัก ยังผลให้คณะละครหลวงต้องมีอันล้มเลิกไปโดยปริยาย บิดาของครูสุวรรณีจึงได้พาท่านไปสมัครเข้า เรียนที่โรงเรียนราษฎร์สามัคคีอยู่ระยะหนึ่ง ในระหว่างที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ ของกรมศิลปากรนี้ ครูสุวรรณีได้มีโอกาสเล่าเรียนครูนาฏศิลป์ หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครูทางนาฏศิลป์ ไทยในยุคนั้นทั้งสิ้นอันได้แก่ คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ หม่อมครูต่วน ภัทรนาวิก ครูลมุล ยมะคุปต์ ครูมัลลี คงประภัศร์ (ครูหมัน) ครูหุ่น ปัญญาพล ครูน้อม และ ครูเกษร เป็นต้น ซึ่งท่านครูทั้งหลายเหล่านี้ได้ทุ่มเททั้งกายและใจถ่ายทอดความรู้ตามระเบียบแบบ แผนที่สืบทอดต่อกันมาแต่ครั้งโบราณอย่างเคร่งครัด ทําให้ความสามารถในเชิงนาฏศิลป์ ของครูสุวรรณี ค่อยๆ พัฒนาขึ้น ครูสุวรรณีได้เล่าเรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เมื่อปี 2485 และในปี 2486 ท่านก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นศิลปินได้รับตําแหน่งศิลปินจัตวาอันดับ 3 ในแผนกนาฏศิลป์ กองการสังคีต กรมศิลปากรในปีต่อมา ในขณะที่รับราชการอยู่ที่กรมศิลปากรนั้น ท่านยังได้มีโอกาสเล่าเรียนเพิ่มเติมกับ ท่าน ผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี หลวงวิลาศวงศ์งาม และ ครูอร่าม อินทรนัฏ ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นปรมาจารย์ผู้มี ความสามารถพิเศษ และมีลีลา ตลอดจนชั้นเชิงอันเป็นแบบฉบับเฉพาะตัว 2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2469 ที่กรุงเทพมหานคร มีเด็กหญิงตัวเล็กๆ วัยเพียง 6 ขวบ คนหนึ่ง ได้มี โอกาสเข้าไปชมการฝึกซ้อมของคณะละครหลวงในพระบรมมหาราชวัง จนเกิดความสนใจอยากจะเป็นนักแสดงละครบ้าง ในวันนี้ เด็กหญิงคน นั้นได้กลายมาเป็นศิลปินอาวุโสวัย 75 ปีบริบูรณ์ ผู้สมปรารถนาด้วยสิ่งที่ หวังไว้แต่วัยเด็ก ทว่าท่านหาได้เป็นเพียงนักแสดงละครธรรมดาตามที่เคย ใฝ่ฝันไม่ หากได้เป็นถึงศิลปินแห่งชาติผู้เปี่ยมด้วยความสามารถจนเป็นที่ ประจักษ์โดยทั่วไปนามว่า ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ แรงบันดาลใจ : ท่านเริ่มมีความสนใจทางด้าน นาฏศิลป์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปชมการฝึก ซ้อมละครหลวงที่ท้ายพระบรมมหาราชวังเมื่ออายุ 2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ที่มาของภาพ : www.facebook.com. นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 28. 28 ผลงาน ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ มีผลงานทั้งทางด้านการเป็นนักแสดง ผู้ฝึกซ้อม และผู้กํากับการแสดงมากมาย โดยผลงานด้านการแสดงนั้น ท่านเคยแสดงทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง ละครพูด ตลอดจนระบําต่างๆ ทั้ง แบบราชสํานัก และพื้นเมืองนับพันครั้ง โดยในการแสดงละครส่วนใหญ่ท่านจะได้รับบทเป็นพระเอก เช่น อิเหนา พระไวย พระลอ สุวรรณหงษ์พระสังข์ฯลฯ และนานๆครั้งก็จะได้รับบทเป็นตัวนาง เช่น นางละเวง เป็นต้น ส่วน ในการแสดงระบําแบบราชสํานัก ท่านมักจะได้รับมอบหมายให้แสดงเป็นผู้ชายคู่หน้า แต่หากเป็นการแสดงระบํา พื้นเมือง ท่านก็มักจะแสดงเป็นผู้หญิงคู่หน้าเสมอ นอกจากการแสดงในประเทศแล้ว ครูสุวรรณียังเคยเดินทางไป แสดงนาฏศิลป์ ในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ สิงคโปร์ เป็นต้น ส่วนผลงานด้านการเป็นผู้ฝึกซ้อมและกํากับการแสดงนั้น ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้รับมอบหมายให้ เป็นผู้ฝึกซ้อมและกํากับการแสดงประเภทต่างๆ ให้กับคณะนักแสดงของกรมศิลปากร นักเรียนของวิทยาลัย นาฏศิลป์ ตลอดนักแสดงสมัครเล่น และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ มากมายนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งยังเคยเป็นผู้ควบคุมคณะ นักแสดงไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และ สิงคโปร์ เป็น ต้น นอกจากนั้น ท่านยังเคยแสดงท่ารําประกอบในหนังสือ เพื่อเป็นแม่แบบให้นักเรียนนาฏศิลป์ และผู้สนใจได้ ศึกษาค้นคว้าหลายเล่มอีกด้วย ท่านได้ลาออกจากราชการก่อนครบเกษียณอายุเพียงไม่กี่เดือน หลังจากนั้นมา ท่านก็ ได้อุทิศตนถ่ายทอดความรู้ทางนาฏศิลป์ ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปตราบจนปัจจุบัน ทั้งยัง ได้ประดิษฐ์ท่ารําชุดต่างๆ ขึ้นมาใหม่หลายชุด ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักแสดงที่มีความสามารถเป็นเลิศทางกระบวนรํา เป็นครู ที่อุทิศตนให้กับศิษย์อย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่อนุรักษ์แบบแผนของนาฏศิลป์ ไทยไว้ได้อย่างถูกต้องแม่นยํา ทั้งยังเป็นผู้ที่มี ความคิดสร้างสรรค์อย่างยอดเยี่ยม ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ - ละครรํา) เมื่อปีพุทธศักราช 2533 2.5 ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์กับผลงาน ที่มาของภาพ : www.facebook.com. นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 29. 29 ตลอดระยะเวลาเกือบ 70 ปี ของชีวิตการเป็นนักแสดงนาฏศิลป์ไทย ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ได้เรียนรู้ และสร้างสมประสบการณ์ในวิชาชีพมาจนกล้าแกร่งและก้าวมาถึงจุดสูงสุดแห่งเกียรติยศ ซึ่งนามและเกียรติคุณของ ท่านจะได้รับการจารึกไว้บนแผ่นดินไทยในฐานะปรมาจารย์แห่งวงการนาฏศิลป์ ไทยในยุคสมัยของท่านอันสืบ ทอดรับช่วงจากยุคของบรมครูทั้งหลายในอดีตกาล 2.5 ดร.สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขานาฏยศิลป์ ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2546 ที่มาของภาพ : www. fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557
  • 30. 30 ราชดําเนินตรงสนามมวยในปัจจุบันถึง ชั้นประถมปีที่ 2 จึงลาออกไปสมัครเรียนโขนที่บ้านเจ้าพระยาวรพงศ์ พิพัฒน์ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ถนนพระอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2472 และได้เรียนหนังสือที่โรงเรียน ศรีอยุธยาควบคู่กันไปกับการฝึกหัดโขน จนจบมัธยมปีที่ 3 ได้เป็นโขนหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นตรงต่อพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) อดีตเจ้ากรมโขนหลวงในรัชกาลที่ 6 ผู้กํากับกรมปี่ พาทย์และโขนหลวงในรัชกาลที่ 7 กับ คุณหญิงเทศ นัฏกานุรักษ์เมื่อเริ่มฝึกหัดโขนนั้นครูอาคม อายุ 12 ปี ตั้งต้น จากการตบเข่าเพื่อให้รู้จังหวะ ถอนสะเอวเพื่อให้อวัยวะมีการสัมพันธ์กับการยักไหล่ ยักเอวและลักคอ นาน ประมาณ 2-3 สัปดาห์จึงเริ่มหัดรําเพลงช้า เพลงเร็ว เชิดและเสมอ เพื่อให้ได้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ หลังจากนั้นจึง คัดเลือกว่าจะเหมาะกับการหัดเป็นตัวใด ครูอาคมนั้นให้หัดเป็นตัวพระ ครูอาคมออกแสดงครั้งแรกเมื่ออายุ ประมาณ 14 ปี เป็นตัวพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ตอนขาดเศียรขาดกรโดยสวมหน้าเล่นโขนนั่งราวแสดงหน้าพระที่ นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในงานต้อนรับแขก 3.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงโขน 3.1 นายอาคม สายาคม นายอาคม สายาคม เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ณ บ้านใกล้ สี่แยกถนนหลานหลวง บิดาชื่อ นายเจือ ศรียาภัย มารดาชื่อ นางผาด (อิศราง กูร ณ อยุธยา) ศรียาภัย เดิมชื่อ บุญสม ได้สมรสกับนางเรณู วิเชียรน้อย เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 มีบุตร 3 คน คือ นางเรวดี สายาคม พันเอก พิเศษ อนิรุธ สายาคม และนายอัคนิวาต สายาคม นายสายและนางเฟี้ ยน สา ยาคม เป็นผู้ที่ไม่มีบุตร และนางเฟี้ ยนก็เป็นป้าของเด็กชาย บุญสม จึงขอ เด็กชายบุญสมเป็นบุตรตั้งแต่ยังเล็กๆ และใช้นามสกุลของนายสายว่า สายา คม นายสาย นางเฟี้ ยน รักและเลี้ยงดูเด็กชายบุญสมอย่างบุตรที่แท้จริง เด็กชายบุญสมก็เข้าใจว่า นายสาย นางเฟี้ ยน เป็นบิดามารดา ให้ความรักและ เคารพอย่างสนิทสนมเด็กชายบุญสม สายาคม ได้เริ่มเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียน พร้อมวิทยามูล ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน 3.1 นายอาคม สายาคม ที่มาของภาพ : www.missladyboys.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 บัตรเนื้อหาที่ 1.3 เรื่อง ประวัติบุคคลสาคัญในนาฏศิลป์ และการแสดง 3.ประวัติบุคคลสาคัญในการแสดงโขน
  • 31. 31 เมืองคือ นายดักลาส แฟร์แบงค์นักแสดงภาพยนตร์อเมริกา ต่อมาได้แสดงหน้าพระที่นั่งอีกหลายครั้ง ที่โรงโขน หลวงสวนมิสกวัน ครูอาคมเริ่มเปิดหน้าเล่นโขนเมื่ออายุประมาณ 15-16 ปี เพราะพระยานัฏกานุรักษ์เห็นว่าครู อาคมหน้าสวยขนาดผู้หญิงเทียบไม่ติด ครูอาคมเข้ารับราชการในกรมมหรสพเมื่อ พ.ศ. 2472 ในแผนกโขนหลวง ตําแหน่งเด็กชา เงินเดือน 4 บาท ผลงานด้านประดิษฐ์ท่ารา 1. ประดิษฐ์ท่ารํา คือ ท่าตระนาฏราช นําออกแสดงครั้งแรกในงานฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ ของพระ เจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร 2.ประดิษฐ์ท่าลีลาประกอบท่าเชื่อมภาพลายเส้นในตําราฟ้อนรํา โดยใส่สร้อยท่ารําต่อให้สามารถรํา ติดต่อกันจนตลอดไปจนจบ 3.ประดิษฐ์ท่ารําในเพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก ให้แก่ศิลปินรุ่นครูใช้รําในงานวันเกิดครบ 5 รอบ ของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร 4.ประดิษฐ์ท่ารําในเพลงหน้าเชิดจีนตัว 3 ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี ในลีลาของขุนแผนนางวันทอง และม้าสีหมอก ให้ประสาทกลมกลืนกันในด้านท่ารํา เช่น ท่าสรรเสริญครู ท่าโคมสามใบท่ายันต์สี่ทิศ ในรายการ ศรีสุขนาฏกรรมซึ่งแสดง ณ โรงละครแห่งชาติและในรายการอื่นอีกหลายครั้ง คุณครู อาคม สายาคม ขณะประกอบพิธีไหว้ครู-ครอบครู นาฏศิลป์ไทย ที่มาของภาพ : www.4shared.com นางเย็นจิตร บุญศรี สืบค้นวันที่ 25 กรกฎาคม 2557