You are currently viewing ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มทำธุรกิจชิปปิ้ง

ภาษีอะไรบ้างที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มทำธุรกิจชิปปิ้ง

  • Post author:
  • Post category:e-tax invoice

ธุรกิจ ชิปปิ้ง หรือ Shipping คือ ธุรกิจตัวแทนเพื่อนำเข้าสินค้า ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ  โดยธุรกิจชิปปิ้งจัดอยู่ในประเภทการให้บริการนายหน้าตัวแทน ซึ่งมีรายได้หลักมาจากค่าบริการในการนำเข้าสินค้า  

ในการทำธุรกิจชิปปิ้ง นอกจากการจัดการด้านข้อมูลและเอกสารแล้ว  สิ่งสำคัญที่ควรต้องเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง คือ การจัดการภาษีต่าง ๆ ทั้งการนำเข้าและส่งออก รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าธรมมเนียมอื่น ๆ ที่มีความสำคัญและควรศึกษา วันนี้เราจะมาอธิบายว่า มีภาษีอะไรบ้างที่ต้องเรียนรู้ ก่อนเริ่มทำธุรกิจชิปปิ้ง   

right-arrow

ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร สำหรับธุรกิจ ชิปปิ้ง มีอะไรบ้าง ?

กรมศุลกากร
รูปภาพจาก : กรมศุลกากร

ภาษี ศุลกากร (Customs Duty) หรือ อากรคือ เงินรายได้ของประเทศ โดยหน้าที่ในการจัดเก็บเป็นของกรมศุลกากร  ซึ่งมีการจัดเก็บจากสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร 

อากรขาเข้าคือ การเก็บภาษีจากสินค้าที่นำมาใช้หรือบริโภคในประเทศ โดยการคำนวณค่าภาษีให้คำนวณตามพิกัดของอัตราศุลกากร ราคาสินค้า และสภาพสินค้าที่อยู่ในความรับผิดชอบที่ต้องเสียภาษี โดยปกติจะจัดเก็บก็ต่อเมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในไทยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การนำเข้าสินค้าผ่านชิปปิ้ง มูลค่าของสินค้ารวมกับค่าขนส่งและค่าประกันภัยเกิน 1,500 บาท ถึงจะเสียค่าภาษีอากร  

สำหรับการชำระค่าอากร หากมีการชำระค่าอากรไว้เกิน สามารถขอคืนเงินได้ตามระยะเวลา แต่หากชำระไม่ครบ กรมศุลกากรก็มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าอากรที่ขาดได้ตามกำหนดระยะเวลาเช่นกัน ธุรกิจชิปปิ้งจึงควรเก็บหลักฐานไว้แสดงการนำเข้าและการชำระภาษีอย่างน้อย 5 ปี หากมีการเลิกกิจการก็ต้องมีการเก็บหลักฐานไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกด้วย

อากรขาออกคือ การเสียภาษีหรือจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนนำสินค้าออกนอกประเทศ ซึ่งรวมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยกรมศุลกากรจะเป็นผู้จัดเก็บ ซึ่งมีการกำหนดให้มีสินค้า 9 ประเภทที่ต้องเสียค่าภาษีส่งออก ได้แก่ ข้าว เศษโลหะ หนังโคและหนังกระบือ ไม้ (ไม้แปรรูปทุกชนิด) เส้นไหมดิบที่ไม่ได้ตีเกลี่ยว เส้นด้ายที่ทำด้วยไหม ปลาป่นหรือปลาอบแห้งที่ยังไม่ได้ป่น ของที่ส่งออกจากพื้นที่ที่พัฒนาร่วมตามกฎหมาย และของที่ยังไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในประเภทอื่นใดในพิกัดอัตราอากรขาออก 

right-arrow

ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพสามิต สำหรับธุรกิจ ชิปปิ้ง มีอะไรบ้าง ?

กรมสรรพสามิต
รูปภาพจาก : กรมสรรพสามิต

ภาษี สรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท เช่น สินค้าและบริการ ที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย สินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ สินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพ สินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค เช่น เครื่องดื่ม น้ำมันรถยนต์พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์) น้ำหอมรถจักรยานยนต์แบตเตอรี่ สุรายาสูบและไพ่ซึ่งการคำนวณภาษีสรรสามิตขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยมีกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บแทนกรมสรรพสามิต สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าอีกด้วย 

ภาษี เพื่อมหาดไทย คือ ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปจัดสรรให้กับกรุงเทพมหานคร ราชการส่วนท้องถิ่นและกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา ะต้องมีการชำระก็ต่อเมื่อต้องเสียภาษีสรรพาสามิต ซึ่งสินค้าที่ต้องชำระภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย เช่น น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ แบตเตอรี่  

right-arrow

ภาษี ที่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร สำหรับธุรกิจ ชิปปิ้ง มีอะไรบ้าง ?

กรมสรรพากร
รูปภาพจาก : กรมสรรพากร

ภาษี มูลค่าเพิ่ม หรือ VAT  คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตสินค้าภายในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราการที่จะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย คือ 7% โดยในธุรกิจชิปปิ้งนั้น มีลักษณะเป็นการให้บริการ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ชิปปิ้งออกแทนเจ้าของสินค้า แล้วจึงค่อยเรียกเก็บจากเจ้าของสินค้าเท่าที่จ่ายไป เว้นแต่ค่าภาษีขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ที่ระบุเป็นชื่อของเจ้าของสินค้า ดังนั้นเจ้าของสินค้าจึงีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อของตนได้

ในกรณีที่ธุรกิจชิปปิ้ง มีการขนส่งสินค้าจากโกดังของผู้ว่าจ้างไปยังด่านศุลกากร หรือขนจากด่านศุลกากรไปให้แก่ผู้ว่าจ้าง ไม่ว่าจะขนด้วยยานพาหนะของตนเองหรือไม่ก็ตาม ให้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยนำมูลค่าสินค้าทั้งหมด รวมทั้งค่าขนส่ง มาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย คือ การเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วนจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ได้รับเงินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนำภาษีส่วนนั้นส่งให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

โดยธุรกิจชิปปิ้ง ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เมื่อได้รับค่าดำเนินพิธีการศุลกากรและค่าบริการจากเจ้าของสินค้าที่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของรายรับทั้งหมดนั้น ส่วนกรณีที่ธุรกิจชิปปิ้งเป็นมูลนิธิหรือสมาคม และเจ้าของสินค้าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% 

และจะมีการยกเว้นการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากรายรับทั้งหมดก็ต่อเมื่อเจ้าของสินค้ามีการจ่ายเงินล่วงหน้าในการดำเนินพิธีการศุลกากรให้แก่ชิปปิ้ง เพราะเงินที่จ่ายล่วงหน้าไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของชิปปิ้ง และอีกกรณีคือชิปปิ้งจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนเจ้าของสินค้า โดยจะต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายในนามของเจ้าของสินค้า และเมื่อชิปปิ้งเรียกเก็บค่าบริการจากเจ้าของสินค้าชิปปิ้งจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะค่าบริการทั้งหมดที่ได้รับ และผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเฉพาะค่าบริการทั้งหมดที่จ่าย